สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระนอง บรรยาย มาตรา 103 และ มาตรา 103/7 แห่ง พ.ร.บ. ป.ป.ช. โดย สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระนอง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บทบัญญัติมาตรา 103 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์ อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การ รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตาม หลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดระนอง บทบัญญัตินี้ใช้บังคับกับการรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาแล้วยังไม่ถึง 2 ปีด้วยโดยอนุโลม สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดระนอง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประกาศคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดย ธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวน ที่เหมาะสมตามฐานานุรูป สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ (๒) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติมีราคาหรือ มูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท (๓) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะ ให้กับบุคคลทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บทบัญญัติมาตรา 103/1 บรรดาความผิดที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ให้ถือเป็นความผิด ฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บทกำหนดโทษ บทบัญญัติมาตรา 122 เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐ มาตรา ๑๐๑ หรือมาตรา ๑๐๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีความผิดตามมาตรา ๑๐๐ วรรคสาม หาก เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดพิสูจน์ได้ว่า ตน มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ในการที่คู่สมรสของตนดำเนินกิจการ ตามมาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีความผิด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
แนวทางการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง ราคากลาง และการคำนวณราคากลาง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๔ มาตรา ๑๐๓/๗ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้ จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ใน ระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในกรณีที่มีการทำ สัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐ ให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ นั้น มีหน้าที่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงาน ของรัฐต่อกรมสรรพากร นอกเหนือจากบัญชีงบดุลปกติที่ยื่นประจำปี เพื่อให้มีการ ตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการคำนวณภาษีเงินได้ในโครงการที่เป็น คู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐดังกล่าวทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช กำหนด
ในกรณีที่ปรากฏจากการตรวจสอบหรือการไต่สวน ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าบุคคลหรือนิติบุคคลใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกรณีมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินหรือการชำระภาษีเงินได้ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจประสานงานและสั่งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ แล้วให้หน่วยงานของรัฐนั้นมีหน้าที่ รายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ในกรณีที่คณะกรรมการ ป. ป. ช นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควร เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เนื่องจากการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรในการกำหนดมาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ รับไปปฏิบัติ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจสั่งให้หน่วยงานของรัฐนั้นดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดมาตรการในเรื่องนั้นแล้วรายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบก็ได้
มาตรา ๑๐๓/๘ ให้คณะกรรมการ ป. ป. ช มาตรา ๑๐๓/๘ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูล เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา ๑๐๓/๗ วรรคหนึ่งโดยหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการดังกล่าว และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่ติดตามผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในกรณีดังกล่าวด้วย หน่วยงานของรัฐใดฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องมีความผิดทางวินัยหรือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งหรือต้องพ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
เงื่อนไขการประกาศ เงื่อนไขการประกาศ วงเงินที่ต้องประกาศ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางและการคำนวณราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกินกว่า หนึ่งแสน (๑๐๐,๐๐๐) บาท ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกส์ (ต้องปฏิบัติภายใน ๑๑ ส.ค.๕๖) วิธีการประกาศ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคำนวณ ราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างในระบบฐานข้อมูล (เว็บไซต์) 2 แห่ง ดังนี้ ๑. ในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (ระบบ e-GP) เงื่อนไขการประกาศ
*หมายเหตุ* การประกาศฯ จะต้องใช้แบบฟอร์มของสำนักงาน ป.ป.ช. เงื่อนไขการประกาศ ๒. ในเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐที่จัดซื้อจัดจ้าง หรือในกรณีที่ หน่วยงานของรัฐไม่มีเว็บไซต์ของตนเอง ให้ประกาศหน้าเว็บไซต์ของ หน่วยงานของรัฐที่เป็นต้นสังกัด เช่น บริษัทในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ หากไม่มี เว็บไซต์เป็นของตัวเองให้ประกาศที่หน้าเว็บไซต์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือบริษัทอันที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นต้น แต่ขอให้แจ้งในเว็บไซต์ ด้วยว่าจะประกาศเปิดเผยราคากลาง การคำนวณราคากลางของบริษัท หรือหน่วยงานใดบ้าง *หมายเหตุ* การประกาศฯ จะต้องใช้แบบฟอร์มของสำนักงาน ป.ป.ช.
ตัวอย่างการประกาศราคากลาง
แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานรัฐตามหลักเกณฑ์การแสดงบัญชีรายการรับจ่าย ของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคล เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
มูลค่าสัญญาที่ต้องแสดงบัญชีรับรายจ่าย ๑. ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ใช้บังคับกับสัญญา ที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาท) ขึ้นไป ๒. ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ใช้บังคับกับสัญญาที่มูลค่าตั้งแต่ ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท) ขึ้นไป (ปัจจุบันมีประกาศฉบับที่ ๕ ใช้บังคับกับสัญญาที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป เท่านั้น) ** มูลค่าสัญญาให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม **
มาตรการที่เกี่ยวกับการจัดซื้อภาครัฐ - บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายของโครงการต่อ กรมสรรพากร (บังคับใช้วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕)
ติดต่อ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ช.) www.nacc.go.th หัวข้อ ศูนย์กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือ โทร. ๐๒ ๕๒๘๔ ๘๐๐ ต่อ ๔๒๓๒,๔๒๓๔
สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดระนอง “ป.ป.ช. มุ่งมั่นรักษาผลประโยชน์ประเทศชาติ และประชาชน” ขอบคุณครับ สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดระนอง