บทที่ 6 การเขียนผังงาน (Flowchart)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 8 : Logic Modeling & Data Modeling
Advertisements

การจำลองความคิด รายวิชา ง40102 หลักการแก้ปัญหาและการโปรแกรม
เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษา C++
บทที่ ๖ หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
การเขียนผังงาน.
ขั้นตอนวิธี Algorithms.
แผนผัง FlowChart Flow Chart คือ ขั้นตอนที่นำผลที่ได้จากการกำหนดและการ วิเคราะห์ปัญหามาเขียนเป็นแผนภาพหรือสัญลักษณ์ ประโยชน์ของผังงาน -ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม.
วิชา การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
Flowchart Drawing By DIA
Flow Chart INT1103 Computer Programming
การเขียนอัลกอริทึม แบบโฟลวชาร์ต
การออกแบบโครงสร้าง (Structured Design)
การพัฒนาระบบประยุกต์
คำสั่งแบบมีเงื่อนไข Conditional Statements
Chapter 04 Flowchart ผู้สอน อ.ยืนยง กันทะเนตร
การแก้ปัญหาโปรแกรม (Flowchart)
การเขียน แบบวนซ้ำ , วนลูป
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเขียน Flow Chart.
Programming & Algorithm
Week 6 For loop, break and continue (Control Structure 3)
การเขียนผังงาน ผังงาน (Flowchart)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
การเขียนผังงาน (Flowchart)
Computer Programming การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
Chapter 05 Selection structure ผู้สอน อ. ยืนยง กันทะเนตร สาขาวิชาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ng.
Computer Program คือ ขั้นตอนการทำงาน ของคอมพิวเตอร์
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานเครื่องดับเพลิง แบบเคลื่อนย้ายได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 11 มีนาคม 2556.
Introduction to Flowchart
ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ความปลอดภัยแรงงาน สำนักความปลอดภัยแรงงาน
หน่วยที่ 3 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
การประมวลผลแบบวน ( LOOP )
สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล
Concept of Programing.
INC 161 , CPE 100 Computer Programming
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : Introduction to Data Communication and Computer Network Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
การประชุมวิชาการประจำปี ศสท
บทที่ 7 หลักการบริหารงานคุณภาพ
การเขียนผังงาน (Flowchart)
คำอธิบายรายวิชา การเขียนผังงาน รหัสเทียม ตรรกศาสตร์เบื้องต้น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบโครงสร้าง ชนิดตัวแปร ตัวดำเนินการทางตรรกะ ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ.
โครงสร้างการทำงานแบบทางเลือก
ความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรม
สัญลักษณ์.
บทที่ 2 การบริหารจัดการข้อมูลและลำดับชั้นของการจัดเก็บข้อมูล
ประสบการณ์การทำงาน ชื่อ – ชื่อสกุล นายมานะ ครุธาโรจน์
ขั้นตอนวิธี Algorithms.
บทที่ 7 การเขียนโปรแกรม แบบวนรอบทำซ้ำ (Loop) Part1
บทที่ 2 หลักการแก้ปัญหา
กรอบแนวคิดในการพัฒนา มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย
การจัดการศูนย์สารสนเทศ
Problem Solving ขั้นตอนวิธีและการแก้ปัญหาสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์
การสร้างความตระหนักในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของ
Development Strategies
การเขียนผังงาน (Flow Chart)
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การตรวจสอบภายในภาครัฐ
การเขียนซูโดโค้ด และการเขียนโฟลชาร์ต
หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
บทที่ 5 ระบบเลขฐานและรหัสแทนข้อมูล
ประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ณ โรงแรมเอวาน่า บางนา กทม
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของ Meetings
บทที่ 7 การเขียนผังงานระบบ.
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
การสร้างผังงานโปรแกรม
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
Decision: Single and Double Selection (if and if-else statement)
(Flowchart) ผังงาน.
อัลกอริทึม (Algorithm) ???
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 6 การเขียนผังงาน (Flowchart)

6.1 บทนำ คอมพิวเตอร์จะช่วยประมวลผลได้ก็ต่อเมื่อมีการกำหนดโปรแกรมคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งในการเขียนโปรแกรมคำสั่งจะทำอย่างมีระบบและมีความแน่นอนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันวัน จำเป็นต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหานั้น ซึ่งอาจใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเราหรือนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการแก้ปัญหา ซึ่งแนวความคิดเหล่านี้รวมกันเป็นขั้นตอนในการแก้ปัญหา

6.1 บทนำ ขั้นตอนในการแก้ปัญหา หมายถึง ลำดับของคำสั่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ถูกต้องตามต้องการซึ่งวิธีการนำเสนอลำดับของคำสั่งนี้มีหลายวิธี แต่นิยมใช้ในการนำมาเขียนนั้นตอนการแก้ไขปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ คือ การเขียนผังงาน

6.2 ความหมายของผังงาน ผังงาน หมายถึง รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ลำดับขั้นตอนการทำงาน รูปภาพและสัญลักษณ์ที่ใช้จะต้องเป็นเอกลักษณ์ คือ แทนความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น หมายถึง การประมวลผลหรือการคำนวณ งานทุกชนิดที่มีการวิเคราะห์เป็นลำดับขั้นตอนแล้ว สามารถนำมาเขียนผังงานได้

6.2 ความหมายของผังงาน ตัวอย่างที่ 6.1 ขั้นตอนการเดินข้ามถนนที่มีไฟจราจร - รอสัญญาณไฟ - ถ้าสัญญาณไฟเป็นสีเขียว ให้เดินข้ามถนนได้ - ถ้าสัญญาณไฟไม่ใช่ไฟเขียว ให้รอสัญญาณไฟต่อไป จากขั้นตอนดังกล่าว สามารถเขียนเป็นผังงานได้ดังนี้

ผังงาน ขั้นตอนการเดินข้ามถนนที่มีไฟจราจร เริ่มต้น รอสัญญาณไฟ ไฟเขียว ? ไม่ใช่ ใช่ ข้ามถนน จบ

6.3 ประเภทของผังงาน ผังงาน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 6.3.1 ผังงานระบบ (System Flowchart) หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการทำงานของภาพกว้าง ๆ โดยไม่ต้องแสดงรายละเอียดว่าระบบงานย่อย ๆ นั้นมีการทำงานอย่างไร ผังงานระบบจะแสดงทิศทางการทำงานในระบบ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับคน วัสดุ หรือเครื่องจักร ซึ่งแต่ละจุดประกอบไปด้วยการนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์

6.3 ประเภทของผังงาน 6.3.2 ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) แสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้โปรแกรมผังงานนี้อาจสร้างมาจากผังงานระบบ โดยนำมาใช้เฉพาะจุดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทราบว่า ควรมีขั้นตอนคำสั่งอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ แล้วนำไปใช้เขียนโปรแกรมต่อไป

6.4 ประโยชน์ของผังงาน 1. สามารถเรียนรู้แลเข้าใจง่าย เพราะผังงานไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ 2. ผังงานเป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน ต่างกับการบรรยายเป็นตัวอักษร เพราะอาจสื่อความหมายผิดไปได้ 3. ในโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อน สามารถใช้ผังงานตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่ายถ้ามีข้อผิดพลาด สามารถแก้ไขได้สะดวกและรวดเร็ว

6.4 ประโยชน์ของผังงาน 5. การเขียนโปรแกรมโดยพิจารณาผังงาน สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว 6. การบำรุงรักษาโปรแกรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรม สามารถดูผังงานเพื่อทบทวนนำสั่งในโปรแกรมก่อนแก้ไขได้

6.5 ข้อจำกัดของผังงาน 1. ผังงานเป็นการสื่อสารความหมายระหว่างบุคคลต่อบุคคลมากกว่าที่จะสื่อความหมายระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ เพราะผังงานไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ มาสามารถรับรู้และเข้าใจว่าในผังงานต้องการอะไร 2. ในผังงานไม่สามารถบอกให้ทราบว่า ขั้นตอนการทำงานใดสำคัญกว่ากัน เพราะทุก ๆ ขั้นตอนในรูปภาพหรือสัญลักษณ์ในลักษณะเดียวกัน

6.5 ข้อจำกัดของผังงาน 3. กรณีที่งานมีขนาดใหญ่ ผังงานจะมีขนาดใหญ่ด้วย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข สามารถทำได้ยาก 4. ผังงานไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์บางคำสั่งได้อย่างชัดเจน

6.6 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน การเขียนผังงาน ต้องใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ นำมาเรียงกัน เพื่อแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน โดยมีลูกศรเชื่อมระหว่างภาพต่าง ๆ สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานที่นิยมใช้กันนั้นเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่มีชื่อว่า American National Standard Institute (ANSI) และ International Standard Organization (ISO) ได้ทำการรวบรวมและกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานที่ใช้ในการเขียนผังงาน

6.6 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน ความหมาย แสดงจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของผังงาน (Start หรือ Stop) การกำหนดค่าต่าง ๆ ล่วงหน้า ซึ่งเป็นการทำงานภายในช่วงหนึ่งที่ซ้ำ ๆ กัน การรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์

6.6 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน ความหมาย การรับข้อมูลหรือแสดงข้อมูลโดยไม่ระบุสื่อ (Input หรือ Output) การรับข้อมูลโดยใช้บัตรเจาะรู (Punch Card)

6.6 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน ความหมาย การรับข้อมูลหรือแสดงข้อมูลโดยใช้เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) การอ่าน/บันทึกข้อมูลโดยใช้ฮาร์ดดิสก์ การประมวลผลข้อมูล

6.6 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน ความหมาย การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ การแสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ การเปรียบเทียบหรือการตัดสินใจ

6.6 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน ความหมาย จุดต่อเนื่องจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง จุดต่อเนื่องที่อยู่คนละหน้ากระดาษ เส้นแสดงทิศทางลำดับของการทำงานตามลูกศร

6.6 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน ความหมาย โปรแกรมย่อย การอธิบายส่วนใดส่วนหนึ่งในผังงานเพิ่มเติมหรือเป็นการหมายเหตุ

6.7 หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน การเขียนผังงาน ควรใช้คำสั่งใดบ้างขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำ ซึ่งโดยทั่วไปละดับการปฏิบัติการนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการรับข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผลและขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ การเขียนผังงานที่ดี ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. เลือกใช้สัญลักษณ์ที่มีการกำหนดรูปแบบไว้เป็นมาตรฐานและมีการกำหนดความหมายไว้แล้ว ส่วนขนาดของสัญลักษณ์ที่ใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

6.7 หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน การเขียนผังงานที่ดี ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 2. ควรเขียนทิศทางการไหลของผังงาน เริ่มจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวาและควรใช้หัวลูกศรกำกับทิศทางของผังงานด้วย 3. เขียนข้อความที่ต้องการอธิบายการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนภายในกรอบรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ โดยเลือกใช้ข้อความที่เข้าใจง่าย สั้น ชัดเจน 4. การเขียนผังงานควรลีกเลี่ยงการโยงเส้นไปมา ทำให้เกิดจุดตัดมาก เพราะอาจทำให้เกิดขอผิดพลาดได้ง่าย ควรใช้สัญลักษณ์ตัวเชื่อม (Connector) แทน และถ้าเป็นไปได้ควรเขียนผังงานให้จบภายในหนึ่งหน้ากระดาษ

6.7 หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน การเขียนผังงานที่ดี ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 5. ต้องแน่ใจว่าสามารถเชื่อมโยงการปฏิบัติงานทุกจุดในผังงาน ไม่มีการปล่อยจุดใดจุดหนึ่งไว้เฉย ๆ 6.ในการตรวจสอบเงื่อนไข ต้องแน่ใจว่า เงื่อนไขที่กำหนดสามารถครอบคลุมเงื่อนไขทุกกรณี 7. ผังงานที่ควรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดและชัดเจน สามารถเข้าใจและติดตามขั้นตอนได้ง่าย

6.8 ลักษณะของผังงานที่ดี 1. ออกแบบให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ 2. ชัดเจนและเป็นระเบียบ เส้นไม่ควรโยงทับกัน 3. มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอย่างละ 1 จุดเท่านั้น 4. ผังงานต้องวางตามแนวตั้ง เพื่อให้ลำดับขั้นตอนการทำงานจากบนลงล่างได้ 5. ทิศทางลูกศรที่โยงแต่ละรูป ควรสัมผัสพอดีกับรูปไม่ควรเหลือช่องระยะห่างหรือโยงล้ำเข้าไปในรูป

6.8 ลักษณะของผังงานที่ดี 7. ทุกสัญลักษณ์ต้องมีทางเข้าและทางออก อย่างละ 1 ทางเท่านั้น ยกเว้นสัญลักษณ์การตัดสินใจที่มีทางเข้าทางเดียวและทางออกได้ 2 ทาง 8. สัญลักษณ์ที่ทำหน้าที่ได้ 2 หน้าที่ เช่น รับข้อมูลหรือแสดงผลลัพธ์ ต้องระบุทุกครั้งว่าขณะนั้นทำหนาที่อะไร ส่วนสัญลักษณ์ที่ทำหน้าที่เพียงหน้าที่เดียว ไม่จำเป็นต้องระบุ

6.9 รูปแบบของผังงาน ในการเขียนผังงาน มีรูปแบบพื้นฐานของผังงาน 3 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบเรียงตามลำดับ (Sequence Structure) เป็นรูปแบบที่มีลักษณะการทำงานแบบเรียงลำดับลงมาตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้นขั้นตอน ไม่มีการเปรียบเทียบเงื่อนไขใด ๆ มีรูปแบบง่าย ๆ มีทิศทางการไหลไปทางเดียวเรื่อย ๆ

6.9 รูปแบบของผังงาน ตัวอย่างที่ 6.2 จงเขียนผังงานเพื่อแสดงการคำนวณหาผลบวกของตัวแปรสองตัว คือ A และ B โดยเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปร C และแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ จากปัญหาดังกล่าว สามารถเขียนเป็นขั้นตอน ดังนี้ - ถ้าสัญญาณไฟเป็นสีเขียว ให้เดินข้ามถนนได้ - ถ้าสัญญาณไฟไม่ใช่ไฟเขียว ให้รอสัญญาณไฟต่อไป จากขั้นตอนดังกล่าว สามารถเขียนเป็นผังงานได้ดังนี้

ผังงาน แสดงการคำนวณหาผลบวกของตัวแปรสองตัว เริ่มต้น A = 10, B = 20 C = A + B C จบ

6.9 รูปแบบของผังงาน 2. รูปแบบที่มีการกำหนดเงื่อนไข (Decision Structure) เป็นรูปแบบที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่ารูปแบบเรียงลำดับ เพราะมีการเพิ่มเกี่ยวกับการสร้างเงื่อนไข (Condition) ให้เลือกทำงาน มีการตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อหาคำตอบว่า จริงหรือไม่ (True or False) ถ้าได้คำตอบใดให้ไปทำงานที่เลือกไว้ เงื่อนไขที่กำหนดขึ้น จะอยู่ในสัญลักษณ์การตัดสินใจ (Decision Symbol)

6.9 รูปแบบของผังงาน ตัวอย่างที่ 6.3 จงเขียนผังงานแสดงค่าของตัวเลขที่รับมาว่ามีค่าบวกหรือลบ จากปัญหาดังกล่าว สามารถเขียนเป็นขั้นตอน ดังนี้ - รับค่าตัวเลข เก็บไว้ในตัวแปร A - ถ้า A มีค่ามากกว่า 0 พิมพ์คำว่า POSITIVE - ถ้า A มีค่าน้อยกว่า 0 พิมพ์คำว่า NEGATIVE จากขั้นตอนดังกล่าว สามารถเขียนเป็นผังงานได้ดังนี้

6.9 รูปแบบของผังงาน 3. รูปแบบที่มีการทำงานวนรอบ (Iteration Structure) เป็นรูปแบบที่มีการทำงานซ้ำ ๆ กัน หลาย ๆ ครั้งตามที่ต้องการ โดยมีลักษณะของการตัดสินใจว่าจะทำงานซ้ำอีกหรือไม่

6.9 รูปแบบของผังงาน ตัวอย่างที่ 6.4 จงเขียนผังงานแสดงการคำนวณหาผลบวกของตัวเลข 1 ถึง 10