ความรู้และการจัดการความรู้

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ข้อสรุปหลักสูตรการอบรมการผลิต รายการเด็ก TV4Kids.
Advertisements

สัมมนาทางการประกอบการธุรกิจ
อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
มาตรฐานคุณภาพการสอน ของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู (The National Board for Professional Teaching Standards) วิกฤติอาชีพครู พัฒนาวิชาชีพครู
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
ที่มา หลักการและ เหตุผล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สามารถทำ ให้การแบ่งปันความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะนอกจากจะ ทำให้เราประหยัดเวลาและสามารถทำลายกำแพงต่างๆ.
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
กระบวนการของการอธิบาย
๑ ทศวรรษของ สถาบัน. ๑ ) ด้านการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา บุคลากรด้านการพัฒนามนุษย์ ๒ ) ผลิตและเผยแพร่ความรู้ด้านการ พัฒนามนุษย์ ๓ ) บริการสาธิตและวิจัยโดยศูนย์พัฒนา.
Community of Practice CoP มีหลายรูปแบบ เล็ก หรือ ใหญ่ มีอายุยืนยาว หรือ มีอายุสั้น อยู่รวมกัน หรือ กระจายตัว เป็นเนื้อเดียวกัน หรือ เป็น ส่วนผสมที่หลากหลาย.
จัดทำโดย นางสาวพิจิตรา ปันเต เลขที่ 18 นางสาวปิยธิดา อุตมา เลขที่ 19 ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
KM Refreshing Course การจัดการความรู้ กรมชลประทาน.
การจัดกิจกรรม ชุมนุม Science Club. การจัดกิจกรรมชุมนุมสนองตอบ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ตามมาตรา ๒๔ ได้อย่างครบถ้วน.
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
การประเมินผลโครงการ คป สอ. เกาะช้าง ปี การดำเนินงาน 1. แต่งตั้งคณะกรรมการ ประธาน คปสอ. เกาะช้าง ประธาน คณะกรรมการ ผอ. รพ. เกาะช้างรองประธาน เลขานุการผู้รับผิดชอบงาน.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ทฤษฏีการเรียนรู้ กลุ่มพฤติกรรมนิยม
การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการความเสี่ยง
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
โดย อาจารย์เสาวณีย์ พุ่มท้วม
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
ฝึกวิเคราะห์ย่อหน้า 1 การศึกษาทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งยังช่วยพัฒนาทางด้านความคิด สติปัญญา และสังคม ทั้งนี้การศึกษายังมีความสำคัญต่อการเป็นอยู่ เพราะรากฐานของความมั่นคงมาจากการได้รับการศึกษา.
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
Strategic Line of Sight
รูปแบบและประเภท ของกิจกรรมนันทนาการ.
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
รายวิชา แหล่งสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
เรียนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
การคิดเชิงสร้างสรรค์
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ประวัติวิทยากร ปริญญาเอก ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการประเมินภาคปฏิบัติ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สรุปบทเรียน และแนวทางการนำไปใช้
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
Supply Chain Management
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
พุทธวิธีในการสอน.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความรู้และการจัดการความรู้ ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-Based Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัย การสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการเติบโต ความรู้จึงเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีอีทธิพลสำคัญอย่างมาก และเป็นปัจจัยชี้ขาดของความได้เปรียบในการแข่งขัน

ความรู้คืออะไร เป็นสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับประสบการณ์การเรียนรู้และบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้อื่นๆ จนเกิดเป็นความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ดังนั้น “ความรู้” จึงถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่ายิ่งขององค์การ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์การสามารถพัฒนาได้เหนือคู่แข่ง  

ลำดับขั้นของความรู้ Zack ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

Hideo Yamazaki (2006) ที่อธิบายถึง ลำดับขั้นของความรู้ ซึ่งมักจะเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูล (data) แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เป็นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่องาน จากนั้นหากมีการนำข้อมูลและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้งานจริง ก็จะเกิดเป็นความรู้ และความรู้เป็นสิ่งที่ฝั่งอยู่ในตัวบุคคลจนเกิดเป็นปัญญา (Wisdom) คือ องค์ความรู้ที่ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติหรือความรู้ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ประสบการณ์ที่นำมาประยุกต์ใช้ เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้

ยุคของความรู้ ความรู้ยุคที่ 1 เป็นความรู้ที่สร้างขึ้นโดยนักวิชาการ มีความเป็นวิทยาศาสตร์ เน้นความเป็นเหตุผล พิสูจน์ได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิชาการ มีการจำแนกแยกแยะเป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชาการ เป็นความรู้ที่เน้นความลึก ความเป็นวิชาการเฉพาะด้าน (specialization) เน้นความรู้ในกระดาษ (explicit knowledge) ความรู้ยุคที่ 2 เป็นความรู้ที่ผูกพันอยู่กับงานหรือกิจกรรมของบุคคลและองค์การ เป็นความรู้ที่ใช้งานและสร้างขึ้นโดยผู้ปฏิบัติงานหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเอง โดยอาจสร้างขึ้นจากการเลือกเอาความรู้เชิงทฤษฎีหรือความรู้จากภายนอกมาปรับแต่งเพื่อการใช้งาน หรือสร้างขึ้นโดยตรงจากประสบการณ์ในการทำงาน ความรู้เหล่านี้มีลักษณะบูรณาการและมีความจำเพาะต่อบริบทของงาน กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานและองค์การนั้นๆ ความรู้ยุคที่ 2 เน้นความรู้ในคน (tacit knowledge)

ประเภทของความรู้ 1. Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สร้างขึ้นโดยนักวิชาการ มีความเป็นวิทยาศาสตร์ เน้นความเป็นเหตุผล 2. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ผูกพันอยู่กับงานหรือกิจกรรมของบุคคลและองค์การเป็นความรู้ที่ใช้งานและสร้างขึ้นโดยผู้ปฏิบัติงานหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเอง ความรู้ที่ถูกผลิตและเป็นที่นิยมในการบริโภคจึงกลายเป็นความรู้แบบ “how to” ที่เน้นเทคนิควิธีการทำมากกว่าการเสริมสร้างสติปัญญาให้เกิดการรู้เท่าทัน หรือการสร้างฐานรากของความรู้ที่จะสามารถนำไปคิดให้งอกงามต่อได้ หรือเรียกว่า เป็นระบบที่เน้นการเรียนเรื่อง Know-how มากกว่า Know-why

เพิ่มเติม know-what: เป็นความรู้เชิงทฤษฎีล้วนๆ เปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาตรีมาหมาดๆ เมื่อนำความรู้เหล่านี้ไปใช้งาน ก็จะได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง know-how: เป็นความรู้ที่มีทั้งเชิงทฤษฎี และเชิงบริบทเปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาและมีประสบการณ์การทำงานระยะหนึ่ง เช่น 2-3 ปี ก็จะมีความรู้ในลักษณะที่รู้จักปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือบริบท know-why: เป็นความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผลได้ ว่าทำไมความรู้นั้นๆ จึงใช้ได้ผลในบริบทหนึ่ง แต่ใช้ไม่ได้ผลในอีกบริบทหนึ่ง care-why: เป็นความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ ซึ่งจะเป็นแรงขับดันมาจากภายในจิตใจให้ต้องกระทำสิ่งนั้นๆ เมื่อเผชิญสถานการณ์

ดังนั้น “ความรู้” สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit) และความรู้ฝังลึก (Tacit) Hirotaka Takeuchi และ Jkujiro Nonaka ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้ สามารถเปลี่ยนสถานะระหว่างกันได้ตลอดเวลา โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “เกลียวความรู้” (Knowledge Spiral) หรือ SECI Model

กระบวนการเกลียวความรู้ 1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการแบ่งปันและในการสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานหรือผู้ที่สื่อสารระหว่างกันโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่ 2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้จาก Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge 3. Combination เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการสร้าง Explicit Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้ เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ ๆ 4. Internalization เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลงความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge ซึ่งจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือใช้ในชีวิตประจำวัน

ทักษะการเรียนรู้ในชีวิตสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงภายนอก และแรงผลักดันต่างทำให้องค์การต้องมีการปรับตัว หรือตายจากไป มีเพียงแค่องค์การที่สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้ถึงจะอยู่รอด แรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้องค์การต้องมีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 คือ 1. กระแสโลกาภิวัตน์ และสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก 2. เทคโนโลยี 3. การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของการทำงานทั่วโลก 4. ลูกค้าจะมีอิทธิพลต่อองค์การเพิ่มขึ้น 5. ความรู้ และการเรียนรู้จะเป็นสินทรัพย์หลักขององค์การ 6. การเปลี่ยนแปลงของบทบาท และความคาดหวังของพนักงาน 7. ที่ทำงานที่มีความหลากหลาย และความเปลี่ยนแปลง 8. การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และสับสน

ความหมายและความสำคัญของการเรียนรู้ การเรียนรู้ จึงเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นโดยเป็นผลมาจากประสบการณ์ และเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนรู้ในอนาคต จากคำนิยามดังกล่าวการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ 1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการไม่ใช่ผล 2. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเชื่อ พฤติกรรม หรือทัศนคติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะต่อยเป็นค่อยไป แต่จะมีผลต่อวิธีคิดและการกระทำระยะยาว 3. การเรียนรู้ไม่ใช่สิ่งที่ให้แก่นักศึกษา แต่เป็นสิ่งที่นักศึกษาลงมือทำให้แก่ตนเอง เป็นผลโดยตรงจากสิ่งที่นักศึกษาตีความ และตอบสนองต่อประสบการณ์ของตน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

Hergenhahn ได้แยกลักษณะของการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1. การเรียนรู้เป็นการบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการเรียนรู้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร หรือค่อนข้างถาวร 3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้นในทันทีทันใด แต่จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป 4. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด 5. การเสริมแรงมีความสำคัญมากสำหรับการจัดประสบการณ์หรือการฝึกฝน เพื่อให้มีการเรียนรู้เกิดขึ้น

การเรียนรู้จึงมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ด้านการตามทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2. ด้านการปรับตัว 3. ด้านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร 4. ด้านการเลือกรับและปฏิเสธ 5. ด้านการพัฒนาต่อยอดความรู้

องค์ประกอบของการเรียนรู้ 1. ผู้เรียน (The Learner) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ หากจัดการเรียนรู้ให้ดี แต่ไม่มีผู้เรียนก็จะไม่มีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในแต่ละด้านต่างๆ ของผู้เรียน 2. กระบวนการเรียนรู้ (The Learning Process) หมายถึง พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนในขณะที่กำลังเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 3. สภาพการเรียนรู้ (The Learning Situation) หมายถึง สภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนในขณะที่กำลังเรียน  

จากองค์ประกอบของการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถจัดเป็นขั้นตอน 1. การรับรู้ การเปิดใจรับข้อมูล บุคคลต้องสนใจ ตั้งใจที่จะรับและเห็นคุณค่าความสำคัญของข้อมูล เห็นคุณค่าความสำคัญของความรู้ 2. การบูรณาการความรู้ โดยการคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรองจนเข้าใจ เมื่อเปิดใจรับข้อมูลแล้วต้องคิดใคร่ครวญ แยกแยะ วิเคราะห์หาเหตุผลจนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือนำข้อมูล ข่าวสารความรู้ใหม่ที่ได้รับมาผสมผสานเชื่อมโยงกับประสบการณ์หรือโครงสร้างของความรู้เดิม เพื่อขยายหรือสร้างความรู้ใหม่ 3. การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วไปปรับใช้ในเชิงสร้างสรรค์/เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม การนำความรู้มาใช้ในการดำรงชีวิต หรือการแก้ปัญหาในการทำงาน ซึ่งการปรับใช้ในทางสร้างสรรค์

แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ 1. ปิรามิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid) - การเรียนในห้องเรียน (Lecture) นั่งฟังบรรยาย จะจำได้เพียง 5% - การอ่านด้วยตัวเอง (Reading) จะจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10% - การฟังและได้เห็น (Audiovisual) เช่น การดูทีวีฟังวิทยุ จำได้ 20% - การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) จะช่วยให้จำได้ 30% - การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม จะช่วยให้จำได้ถึง 50% - การได้ทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จะจำได้ถึง 75% - การได้สอนผู้อื่น (Teaching) เช่น การติว หรือการสอน จะช่วยให้จำได้ถึง 90%

2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้และพัฒนาการทางทักษะด้านเชาวน์ปัญญา สามารถด้านการระลึกหรือสังเกตจดจำข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ ในการเรียนรู้ทางเชาวน์ปัญญา มี 6 ลำดับขั้นคือ ความรู้ ความเข้าใจความ การประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน จิตพิสัยหรือการเรียนรู้ทางอารมณ์ เป็นการเรียนรู้อารมณ์ และเจตคติ ถูกจัดรูปแบบการเกิดเป็นลำดับขั้นดังนี้ การรับรู้สึกปรากฏการณ์ การตอบสนองต่อปรากฏการณ์ การให้คุณค่า การจัดระบบ ค่านิยมฝังลึกภายใน

ทักษะพิสัย เป็นการเรียนรู้ทักษะทางกาย การพัฒนาพิสัยเกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติซึ่งมีขั้นตอนการพัฒนา 7 ขั้นตอนดังนี้ 1. การรับรู้ (Perception) 2. การตั้งค่า (Set) หรือความพร้อมในการกระทำ 3. การตอบสนองจากตัวชี้แนะ (Guided Response) 4. กลไก (Mechanism) 5. พฤติกรรมซับซ้อน (Complex Overt Response) 6. การปรับเปลี่ยน (Adaptation) 7. ต้นฉบับ (Origination)  

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม Humanism มีสมมติฐานความเป็นมนุษย์เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องความเป็นอิสระ และความเป็นตัวของมนุษย์ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความดี มีความเป็นอิสระ มีทางเลือกของตน และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนอย่างไม่มีขีดจำกัด มี มโนทัศน์ว่าตนเองเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตและพัฒนาไปสู่ความเข้าใจตนเอง (Self – Actualization) มนุษย์จะให้คำจำกัดความต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นต่างกัน และมโนทัศน์ของการเรียนรู้แบบนำตนเอง มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม (คณาพร คมสัน, 2540: 31) ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า ดีงาม มีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพตนหากมีอิสระและเสรีภาพ

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญา ทฤษฎีปัญญาหรือทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theory) หรือกลุ่มพุทธินิยม ทฤษฎีนี้เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ ทฤษฎีปัญญาเป็นกระบวนการทางสติปัญญาในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองด้วยการสร้างเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ 2 ลักษณะ คือ การหยั่งรู้ (Insight) และการรับรู้ (Perception) ได้ดีขึ้น ผู้เรียนจะเข้าใจและมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น  

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์การ 1. I am in my position คือ การที่คนในองค์การตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ของตนเองให้แล้วเสร็จ แต่ไม่เข้าใจถึงเป้าหมายรวมของการทำงานว่าทำไปเพื่ออะไร 2. The Enemy is out there คือการที่คนในองค์การเมื่อมีปัญหาไม่มองกลับมาปัญหาที่เกิดขึ้นว่าส่วนหนึ่งมาจากความบกพร่องของการทำงานของพนักงานแต่กลับมองว่าเป็นปัญหาจากสิ่งที่นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเขาที่จะควบคุมได้ 3. The Illusion of Taking Charge: การที่เกิดความล้มเหลวอันเนื่องมาจากการที่คนไม่รู้ตัว 4. The Fixation on The event: การที่ยอมให้สถานการณ์มากำหนดเรา มากกว่าการเรียนรู้ที่จะป้องกันและกำหนดสถานการณ์

5. The Parable of The Boiled Frog: เป็นสุภาษิตที่ใกล้เคียงกับสุภาษิตไทยว่า น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย 6. The Delusion of Learning from Experience: การเรียนรู้ที่มีดีที่สุดก็คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 7. The Myth of The Management Team: การไม่มีการทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริง ซึ่งก็คือการทำงานเป็นทีมแต่เพียงในนามซึ่งเป็นการทำงานประจำ แต่เมื่อมีวิกฤต หรือเหตุการณ์ที่มีความหลากหลายแตกต่างเกิดขึ้นก็ไม่อาจแก้ปัญหาหรือทำงานเป็นทีมได้

ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โลกยุคปัจจุบันกําลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งสถานการณ์ของโลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 ระบบการศึกษาจําเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงของสังคม คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 20 ขององค์การ UNESCO รายงานว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เป็นกุญแจสําคัญที่ใช้สําหรับเปิดเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ตอบสนองโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยให้ความสําคัญกับสี่เสาหลักที่เป็นรากฐานของการศึกษาในศตวรรษนี้ ได้แก่ 1. การเรียนเพื่อรู้ (learning to know) 2. การเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติ (learning to do) 3. การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม (learning to live together) 4. การเรียนเพื่อชีวิต (learning to be)

ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องมีมุมมองแบบองค์รวม ที่ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ทุกด้าน โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความรู้และความสามารถในการแข่งขันของบุคคลที่ปรารถนาเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้คุณลักษณะ 4 ประการของแนวคิดการเรียนรู้ ได้แก่ 1. มีมุมมองอย่างเป็นระบบ 2. มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3. มีแรงจูงใจที่จะเรียน 4. มีวัตถุประสงค์ของนโยบายการศึกษาที่หลากหลาย

เทคนิคและวิธีการสร้างการเรียนรู้ในชีวิตสมัยใหม่ 1. ความรู้เดิมส่งผลต่อการเรียนรู้ 2. ความพร้อมในการเรียนรู้ - การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ - การมีมโนทัศน์ของตนเองในการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ - การมีความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ - การยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของตนเอง - ความรักในการเรียน - ความคิดสร้างสรรค์ - การมองอนาคตในแง่ดี - ความสามารถในการใช้ทักษะทางการศึกษาการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา

เทคนิควิธีหัวใจนักปราชญ์ สุ. จิ. ปุ. ลิ. สุ คือ สุตะ แปลว่า ฟัง (รวมทั้งอ่านด้วย) ได้แก่ การแสวงหาความรู้ การฟังเป็นข้อสำคัญ คนที่จะเป็นปราชญ์ได้ก็ต้องได้ฟังมามาก จิ คือ จินตะ แปลว่า จินตนาการ ซึ่งหมายความว่า เมื่อฟังหรืออ่านแล้วต้องคิดตาม รู้จักไตร่ตรอง คิดใช้เหตุผลวิเคราะห์ ช่วยให้เกิดจิตนาการ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ปุ คือ ปุจฉา แปลว่า การถาม ต้องพยายามหาความรู้ในการถามเมื่อฟังหรืออ่าน ถ้าไม่เข้าใจก็ค้นคว้าหาความเข้าใจ ลิ คือ ลิขิต แปลว่า การเขียน บันทึกข้อที่ควรรู้และ ควรจำไว้ การเขียนมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงผลของการฟัง การอ่าน

คาถา “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านการสื่อสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ ทักษะการเปลี่ยนแปลง ทักษะการเรียนรู้ ภาวะผู้นำ

เทคนิคการอ่านแบบ SQ 3 R S = Survey การสำรวจ คือ การอ่านแบบสำรวจเป็นการอ่านผ่าน ๆ อย่างรวดเร็วว่าต้องเรียนอะไร โดยการกวาดสายตาไปยังหัวข้อ สรุปประเด็นสำคัญ Q = Question การตั้งคำถาม ได้แก่การนำหัวข้อย่อยต่าง ๆ มาทำเป็นคำถาม เช่น การเติมคาว่า “ทำไม?” “อย่างไร” R 1 = Read การอ่าน อ่านช้า ๆ เพื่อค้นหาคำตอบให้แก่คำถาม R 2 = Recall การจำได้ ในการอ่านหนังสือแล้วจำได้นั้นผู้อ่านพยายามระลึกถึงสิ่งที่ตนอ่านไปอย่างสม่ำเสมอ R 3 = Reviews การทบทวน เป็นการตรวจสอบความถูกต้องในการจำสิ่งที่อ่านไปแล้ว