การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
“การบริหารและพัฒนาบุคลากร (การจัดทัพ)”
Advertisements

Performance Management and appraisal systems
16. กลยุทธิ์ที่มุ่งเน้น ความสำเร็จ. Background การเปลี่ยนทัศนคติ จาก แรงงาน เป็นผลการปฏิบัติงาน แรงจูงใจบนพื้นฐานความเข้าใจ เพื่อบรรลุสู่ความสำเร็จ แบบญี่ป่น.
Tawatchai Iempairote วันที่ 3 กรกฎาคม 2556
ประเด็น 1. ที่มาและความสำคัญของสมรรถนะ 2. ประโยชน์และการประยุกต์ใช้
ทิศทางการศึกษา ในโลกยุคใหม่ ดร. สุรัตน์ ดวงชาทม ผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.
ร่าง- แผนยุทธศาสตร์ HR นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
PMQA Organization เอกสารประกอบการชี้แจงตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับส่วนราชการระดับกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ วันที่ 28 ตุลาคม.
1. การแนะแนวและระบบช่วยเหลือ
ศึกษานิเทศน์และเจ้าหน้าที่จากองค์การแพธ
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan - IDP
Prof.Emeritus Dr.ANURAK PANYANUWAT CAMT, CHIANG MAI UNIVERSITY
โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก
การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
การบรรยายพิเศษ สหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อุปนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย โครงการเตรียมความพร้อมสู่สหกิจศึกษานานาชาติ
Training การฝึกอบรม.
รายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
Human Resource Management การจัดการทรัพยากรมนุษย์
จิตวิทยาการเรียนรู้.
Action Research รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
Human resources management
การจัดการองค์ความรู้
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
การใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
Dr. Mano Choondee. By Director of Angthong
ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
โดยสรุป 10 ขั้นตอนในการ implement
learning theory ทฤษฎีการเรียนรู้
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร, DMS. Excellence Training Institution
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
Student activity To develop in to the world community
การบริหารกำลังคนภาครัฐ
แนะนำรายวิชา การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย
การบริหารผลการปฏิบัติงาน
Hilda  Taba  (ทาบา).
เดินหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สู่ทศวรรษที่ 8
KNOWLEDGE MANAGEMENT (KM)
สู่สุขภาพและคุณภาพชีวิต
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  IFM4302 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้  การเลือกใช้เครื่องมือ (Tools) ในการจัดการความรู้
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
ความสำคัญและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
Techniques Administration
กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรณีการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
การบริหารการปฏิบัติงานของทรู (Cycle of Performance Management System)
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร. DMS.
การขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์
บทที่ 5 ภาวะผู้นำ และการจูงใจ
Guidance Psychology and Services
บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรบุคคล
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
กระบวนการเรียนรู้ของผู้บริโภค
นโยบายและทิศทางการส่งเสริมสุขภาพในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
การบริหารทีมงานและภาวะผู้นำ
MGT 228 การจัดการสมัยใหม่
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management
ปัญหา อุปสรรคและแนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์
- การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์ บทที่ 3. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

ความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เป็นการพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถ และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์โดยมีความเชื่อโยงกับกลยุทธ์ขององค์การและกลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการได้ และจะเห็นได้ว่าในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์จะให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในนโยบายและการปฏิบัติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบรรลุซึ่งเป้าหมายในระยะยาว

เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ เพื่อให้องค์การมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน จากการมีทัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีการพัฒนาอยู่ตลออดเวลา เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง สอดคล้อง และคลอบคลุมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับกลยุทธ์ขององค์การ และกลยุทธ์การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรหลักที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การฝึกอบรม (Training) เป็นแผนการและระบบการปรับปรุงพฤติกรรมซึ่งผ่านการเรียนรู้หรือเป็นโปรแกรมหรือรายการที่บุคลสามารถพัฒนาไปในแต่ละระดับความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2. การศึกษา (Education) เป็นการพัฒนาของการเรียนรู้ที่เป็นความนิยม และความเข้าใจที่เป็นความต้องการในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะต่างกับความรู้และทักษะที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกิจกรรมในการดำเนินชีวิตเพียงอย่างเดียว

แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การพัฒนา (Development) เป็นการเจริญเติบโตหรือการตระหนักถึงความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล โดยผ่านการเรียนรู้และได้ประสบการณ์จากการเรียนรู้ การเรียนรู้ (Learning) คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดแบบถาวร ที่มีผลต่อการปฏิบัติหรือประสบการณ์

ปรัชญาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ก่อให้เกิดการสนับสนุนซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ควรจะใช้ในการประสานความร่วมมือ และสนับสนุนถึงความสำเร็จในธุรกิจโดยเน้นถึงประสิทธิภาพ ได้แก่ การทำงานในลักษณะเป็นกลุ่ม การทำงานในลักษณะของบุคคล และควรจะมีการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในทุกระดับขององค์การ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เป็นการสนับสนุนให้ทรัพยากรมนุษย์ทุกคนในองค์การมีโอกาสในการพัฒนาทักษะ และความสามารถให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ปรัชญาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ควรสร้างหลักสูตรในการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีเงื่อนไขซึ่งจะให้ความสำคัญไปที่การจัดการในการพัฒนากาเรียนรู้ด้วยตนเอง และควรจะมีการสนับสนุนโดยผู้ฝึกสอน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษา และมีรูปแบบการฝึกสอนที่เหมาะสม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ต้องมีการสนับสนุนทางด้านงบประมาณในการเรียนรู้และพัฒนา โดยจะต้องมีผู้รับผิดชอบอยู่ในหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นผู้ที่สามารถให้คำแนะนำและสนับสนุนในการจัดการ

องค์ประกอบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การเรียนรู้ (Learning) คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดแบบถาวร ที่มีผลต่อการปฏิบัติหรือประสบการณ์ การฝึกอบรม (Training) เป็นแผนการและระบบการปรับปรุงพฤติกรรมซึ่งผ่านการเรียนรู้ หรือเป็นโปรแกรมหรือรายการที่บุคคลสามารถพัฒนาไปในแต่ละระดับความรู้ ทักษะ การพัฒนา (Development) เป็นการเจริญเติบโตหรือการตระหนักถึงความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล โดยผ่านการเรียนรู้และได้ประสบการณ์จากการเรียนรู้ การศึกษา (Education) เป็นพัฒนาการของการเรียนรู้ที่เป็นความนิยม และความเข้าใจที่เป็นความต้องการในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะต่างกับความรู้และทักษะ

กลยุทธ์เฉพาะด้านทรัพยากรมนุษย์ การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) เป็นกลยุทธ์ที่แสดงให้เห็นถึงทิศทางในการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรมนุษย์ การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการตัดสินใจในการดำเนินการ การจัดการมุ่งผลการปฏิบัติงานระดับสูง (High-performance Management) เป็นกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาและการนำเอาระบบมุ่งผลการปฏิบัติงานระดับสูงไปปฏิบัติใช้กับทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้องค์การมีผลงานที่ดีและสูงขึ้น ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) เป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมและสร้างให้ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั้น

การพัฒนาองค์การ (Organization Development) เป็นกลยุทธ์หรือโปรแกรมที่ออกแบบขึ้นโดยการวางแผน พัฒนา และการปฏิบัติให้องค์การมีประสิทธิผลมากขึ้น ความผูกพันในงาน (Engagement) เป็นกลยุทธ์หรือนโยบายที่ออกแบบขึ้นเพื่อการพัฒนาและการนำไปปฏิบัติ เพื่อเพิ่มระดับความผูกพันของพนักงานในการทำงานและองค์การ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกลยุทธ์ในการสร้าง ได้มีการเก็บรักษา และการถ่ายโอนและใช้ความรู้ของทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์การ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และผลการปฏิบัติงาน

การจัดหาพนักงาน (Resourcing) เป็นกลยุทธ์เพื่อการดึงดูดและการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้องค์การสามารถแข่งขันไ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูง (Talent Management) เป็นกลยุทธ์หรือวิธีการที่องค์การจะจัดการกับการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้องค์การมีความได้เปรียบทางการแข่งขันและประสบความสำเร็จ การเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Development) เป็นกลยุทธ์ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่จะส่งผลให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การให้รางวัล (Reward) เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนานโยบายและการดำเนินการด้านการให้รางวัลกับทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้องค์การบรรลุซึ่งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานในระยะยาว พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relations) เป็นกลยุทธ์หรือแนวทางที่องค์การจะต้องดำเนินการในการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์การ พนักงาน และสหภาพแรงงาน

การเรียนรู้ (Learning) คำว่า “การเรียนรู้ (Learning)” คือ เป้าหมายสำคัญที่สุดของการพัฒนามนุษย์ มนุษย์จะเปลี่ยนพฤติกรรมจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ นิยาม “การเรียนรู้” ให้ไว้โดยไซเกิลแมนและแชฟเฟอร์ (Sigelman, and Shaffer, 2003 cited in Delahaye, 2005: 32) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรเชิงสัมพันธ์ของพฤติกรรมและความสามารถที่ไม่ได้เป็นผลลัพธ์ของการเจริญเติบโตทางร่างกาย การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคิด การรับรู้ และการโต้ตอบต่อสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ของแต่ละคน

นักทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นศาสตร์ที่นำเอาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้มาจากสาขาวิชาการศึกษา หรือครุศาสตร์ (education) จิตวิทยา (psychology) และศาสนา (religion) ซึ่งมีแนวคิดและคำสอนของนักวิชาการที่สำคัญหลายท่าน

ลีโอนาร์ด แนดเลอร์ (Leonard Nadler,1970) บิดาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย คือ ลีโอนาร์ด แนดเลอร์ ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ไว้ในนิยามของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากวลี “Organized Learning Experiences” ว่าหมายถึงประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์และไดรับการจัดระบบมาก่อน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Nadler, Nadler, 1990:1.3-1.4) มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้หลากหลายวิธี เช่น การเรียนรู้โดยบังเอิญ (incidental Learning) การรับฟังข่าวสาร การอ่านหนังสือพิมพ์ การสนทนากับผู้อื่น การดูรายการโทรทัศน์ การฟังรายการวิทยุ การเรียนรู้ของบุคคล

ศาสตราจารย์เบนจามิน เอส ศาสตราจารย์เบนจามิน เอส.บลูมและคณะ ทำการศึกษาและจำแนกผลลัพธ์ของการศึกษาตามวัตถุประสงค์ (Taxonomy of Educational Objectives; The Classification of Educational Goals) และใช้เป็นรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับปัจเจกบุคคล ทั้งนี้บลูมและคณะได้จำแนกจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ไว้ 3 ส่วน ส่วนที่เกี่ยวกับความรู้ การจำ ความคิด ทักษะทางเชาว์ปัญญาเน้นไปยังการพัฒนาสมอง ส่วนที่เกี่ยวกับจิตใจ ค่านิยม ความเชื่อ อารมณ์ ความรู้สึก ส่วนที่เกี่ยวกับทักษะ ความชำนาญในการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

คริส อากีริส เสนอรูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์และขององค์การไว้ 2 ลักษณะคือ การเรียนรู้แบบวงจรเดี่ยว เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่น รู้และเข้าใจมาตรฐานและปทัสถานต่าง ๆ ของสังคมและองค์การ (standards and norms) เพื่อทำความรู้จัก มีความเข้าใจ แบบวงจรคู่ เป็นการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานและปทัสถานที่มีอยู่ เป็นลักษณะการประยุกต์ความรู้และวิธีปฏิบัติสู่สิ่งใหม่

เกรกอรี เบตสัน (Gregory Bateson, 1972) เกรกอรี เบตสันได้แนะนำการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ คือ เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ซึ่งเรียกว่า การเรียนรู้สามวงรอบ (triple-loop leaning/deuteron- learning how to learn) เบตสันศึกษาว่าถ้าหากผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้เข้าใจอย่างแท้จริงแล้ว เป็นการเรียนรู้ถึงวิธีคิด การทำสิ่งใหม่ เขาจะสามารถแกะร่องรอยหรืออธิบายวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในสิ่งอื่นได้ด้วย การเรียนรู้ความสำเร็จของผู้เป็นเจ้าของความรู้ ความคิด สิ่งประดิษฐ์ ผลงาน สิ่งประดิษฐ์คิดค้น

เร็ก รีแวนส์ (Reg Revans, 1965) เร็ก รีแวนส์ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้จากการลงมือทำ การเรียนรู้จากการปฏิบัติซึ่งอธิบายได้จากสมการการเรียนรู้ L = P + Q โดยตัว L หมายถึง การเรียนรู้ (L: Learning) จะมีค่าเท่ากับผลรวมของการเรียนรู้จากการเรียนตามแผนหรือการเรียนรู้ตามที่ได้จัดแจงไว้ล่วงหน้า (P: Programmed Learning) กับการเรียนรู้จากการค้นคว้า ซักถาม อภิปราย และการค้นหาคำตอบ ค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง (Q: Questioning) หรือ L = P + Q; where L = Learning, P = programmed, and Q = Questioning, Discussing, and Researching

ปีเตอร์ เซ็นเจ (Peter M. Senge, 1990) เซนเจ กล่าวว่า เรียนรู้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นได้จริง เพราะสมาชิกขององค์การทุกคนเรียนรู้ และมีอุปนิสัยรักการเรียนรู้เป็นปกติวิสัย นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมีการเรียนรู้อย่างแท้จริง

โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner, 1989) ศาสตราจารย์ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด การ์ดเนอร์ หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานในสถานการณ์ต่าง ๆ การ์ดเนอร์เสนอผลการศึกษาเรื่องปัญญา หรือ “ความฉลาด”

ศาสตราจารย์ไบรแอน แอล ศาสตราจารย์ไบรแอน แอล. ดีลาฮาเย ได้สร้างตัวแบบองค์รวมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Holistic Adult Learning Model) เพื่อใช้ในการศึกษาและประยุกต์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ครบเป็นองค์รวมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

ดีลาฮาเยได้อธิบายองค์ประกอบทีเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบนสุด (อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นระดับที่อยู่ลึกที่สุด) คือ (1) ระดับจิตใต้สำนึก (subconscious level) เป็นสภาวะของจิตใจและความรู้ที่เจ้าตัวไม่รู้ตัว เพราะอยู่ในส่วนลึกของระดับจิตใจที่แฝงเร้นอยู่ ประกอบด้วย 2 ส่วนคาบเกี่ยวกัน คือ 1. ความรู้แฝงเร้น (tacit knowledge) สำหรับนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบเชิงสติปัญญาหรือความรู้ในเรื่องงานที่สั่งสมไว้ โนนากะกล่าวว่า จะเป็นแกนกลางของแบบแผนทางความคิดและจิตใจ กับองค์ประกอบในเชิงเทคนิคหรือทักษะความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับงาน 2. ฐานคติหรือระบบความคิด ความเชื่อ ทัศนะคติที่เป็นพลวัต ทั้งความรู้แฝงเร้น กับระบบความคิด ความเชื่อ หรือฐานคติที่เป็นพลวัตจะมีความเกี่ยวเนื่องกัน

ระดับจิตที่รู้สำนึก (conscious level) คือ จิตที่มีความรู้ตัวส่วนประกอบย่อย ๆ ของการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ในระดับนี้มีอยู่ 4 องค์ประกอบได้แก่ 1. อารมณ์ (emotions) มนุษย์ส่วนใหญ่จะดำเนินชีวิตหรือทำงานต่าง ๆ ด้วยระดับของการรู้สำนึก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างมนุษย์กับสัตว์อื่นโดยทั่วไปที่ดำเนินชีวิตไปตามสัญชาตญาณ 2. การคิดอย่างมีเหตุมีผล เชิงตรรกะและวิจารณญาณ คิดเชิงแก้ปัญหา คิดเชิงสร้างสรรค์ คิดเชิงประเมินคุณค่า คิดเชิงวิพากษ์ 3.การไต่ตรองชิงตรรกะ (logical reflection) การคิดใครครวญอย่างมีวิจารณญาณอีกด้านหนึ่งคือการคิดเชิงแก้ปัญหา และการคิดเชิงเหตุและผลองค์ประกอบทั้งหมดจากระดับบนแล้วค่อย ๆ สั่งสมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ จนสามารถตกผลึกออกมาเป็นความรู้ที่ประจักษ์ชัด ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ 4. ในระดับจิตที่รู้สำนึก30

ระดับกิจกรรม (activity level) ในระดับล่างสุด เป็นการเรียนรู้ระดับที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ระดับของกิจกรรมจะเป็นผลผลิตที่เกิดจากการทำหน้าที่และกระบวนการต่าง ๆ จากระดับบน ๆ รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบต่าง ๆ ในระดับจิตใต้สำนึกและระดับจิตสำนึก

จุดมุ่งหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ สวอนสันและฮอลตัน ใน “Foundations of Human Resource Development” (2001; 2009) ระบุจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ไว้ 3 ระดับ การเรียนรู้ในระดับปัจเจกบุคคล (individual learning) เนื่องจากการเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร ในความรู้ ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่ได้เป็นผลโดยตรงมาจากการเจริญเติบโตของร่างกาย การเรียนรู้โดยมีงานที่ทำเป็นฐานหรือการเรียนรู้ในสถานประกอบการ (workplace learning) ย่อมอยู่ภายในขอบเขตของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เมื่อพิจารณาจากคำนิยามของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งที่เป็นนิยามซึ่งเน้นที่การเรียนรู้หรือเน้นที่ผลงาน

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theories) ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ของสกินเนอร์ (skinner, 1953) ศึกษาถึงพฤติกรรมมนุษย์ว่ามักจะมีการเรียนรู้อันเกิดจากผลลัพธ์ของการกระทำในอดีต ถ้าหากได้รับการเสริมแรงในทางบวก เช่น การได้รับคำชม ได้รับรางวัล มนุษย์ก็มักจะกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) (Bandura, 1956;1982) อธิบายว่าผู้คนจะเรียนรู้โดยการสังเกตคนอื่นๆ ที่อยู่ในสังคม ทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย (Goal Theories) (Locke, and Latham, 1990) หรือการกำหนดเป้าหมายตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า พฤติกรรมมนุษย์เป็นผลมาจากความตั้งใจและการดำเนินการตามเป้าหมาย

การนำเอาความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ไปสู่การใช้งานจริง (transfer of learning) การนำเอาความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ไปสู่การใช้งานจริง(transfer of learning) เช่น คุณลักษณะของผู้เรียนรู้ (transfer of learning) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้(program design) สภาพแวดล้อมใน(workenvironment) การทำงานจากตัวแบบของการ

สรุป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแง่มุมและทัศนะต่างๆ ของนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญไว้ 11 ท่านทำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงความหมาย จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ วงจรการเรียนรู้ ประเภทต่างๆ ของผู้เรียนรู้ตลอดจนหลักการ หรือวิธีการเรียนรู้ที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถนำมาปรับใช้เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงอย่างไรก็ตามการเรียนรู้จัดว่าเป็น กิลลีย์และคณะ(2002:27-55) กล่าวถึงการพัฒนาปัจเจกบุคคล ว่าให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตก้าวหน้าของบุคคลและการพัฒนาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการมุ่งเน้นที่ความพยายามของบุคคลที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงทั้งในแง่ความรู้สมรรถนะทักษะและพฤติกรรมที่เหมาะสม