ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 1. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
ความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คำว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” สรุปได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง ความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งศักยภาพที่มีอยู่จะต้องประกอบด้วยความสามารถในการปฏิบัติงานและความรู้สึกนึกคิด ซึ่งจะนำไปสู่ การผลิต การจัดการ และการบริหารที่เป็นผลผลิตที่เกิดจากทรัพยากรมนุษย์
ปรัชญาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สามารถแบ่งออกเป็น 5 แบบ ดังนี้คือ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นนักแก้ปัญหาให้กับองค์กร (Organizational Problem Solver) นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้จุดประกายการเปลี่ยนแปลงให้องค์กร (Organizational Change Agent) ในบางสถานการณ์ หากองค์กรปราศจากผู้ริเริ่มจุดประกายการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่อึมครึมและมีระยะเวลาที่ทอดยาวออกไป
ปรัชญาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นนักออกแบบองค์กร (Organizational Designer) ซึ่งต้องใช้ความรู้และเข้าใจในศาสตร์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น ทฤษฎีและหลักการในการเรียนรู้ กระบวนการในการวิเคราะห์ วินิจฉัย นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้เพิ่มพลังอำนาจให้กับองค์กร(Organizational Empowerer /Meaning Maker) นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้พัฒนาทุนมนุษย์(Developer of Human Capital) ผู้พัฒนาทุนมนุษย์จะเข้าใจที่มาของคำว่า” ทุนมนุษย์ ” ซึ่งเป็นคำที่มาจากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยทฤษฎีทุนมนุษย์
เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 2 ประการ ประการแรก เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างการเรียนรู้ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และในระดับองค์กร ซึ่งการเรียนรู้ในระดับบุคคล ประการที่สอง เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างผลงานที่ดีกว่าเดิมทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและผลงานโดยรวมขององค์กร
หลักการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความเป็นธรรมในเรื่องอัตราค่าจ้างชั่วโมงการทำงานและสภาพในที่ทำงานเรื่องของความเป็นธรรมนั้นเป็นความต้องการของทุกๆคน ให้พนักงานได้รู้ข่าวคราวความเป็นไปต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนได้เสียฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างการเปิดเผยข่าวให้คนงาน ทำให้คนงานมีความรู้สึกว่าตนเองมีค่าและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหลักข้อนี้เป็นการยอมรับทางด้านความต้องการของคน มีความเป็นกันเองกับพนักงานในการติดต่อกับพนักงานในเรื่องงานถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นโดยมีระเบียบแบบแผนกำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
บทบาทของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. ธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงในทุกด้านซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินการให้สามารถแข่งขันกันได้ 2. มีการทำสงครามทางการค้าระหว่างประเทศและองค์กรที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีมีคุณค่าย่อมสามารถนำพาประเทศชาติและองค์กร 3. ประเทศชาติและองค์กรได้ทุ่มเทความพยายามที่จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์มีความรับผิดชอบปฏิบัติงานอย่างมีส่วนร่วม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของงานองค์กรและประเทศชาติ 4. การพัฒนาทางเทคโนโลยีทำให้ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กันไปด้วย
บทบาทของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 5. องค์กรและประเทศชาติต้องมีการพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กรและประเทศชาติ 6. ฝ่ายจัดการต้องรับผิดชอบผลการดำเนินงานต่อผู้ถือหุ้น จึงทำให้ต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 7. องค์กรธุรกิจจะต้องก้าวรุดหน้า เพื่อความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งขัน
หน้าที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยหน้าที่หลัก 3 ประการ ดังนี้คือ 1. หน้าที่ในการกำหนดความต้องการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร 2. หน้าที่ในการสรรหาและเลือกสรรทรัพยากรมนุษย์ตามที่องค์กรต้องการ 3. หน้าที่ในการธำรงรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หน้าที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ออกเป็น 10 หน้าที่ หน้าที่ในการกำหนดความต้องการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรมีความต้องการทรัพยากรมนุษย์ประเภท ระดับใด และต้องการเมื่อใด สร้างความชัดเจนแน่นอนในการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ ขจัดปัญหาการจัดหาทรัพยากรมนุษย์มาทดแทน ป้องกันการลาออกจากงานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า
หน้าที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน้าที่ในการจัดหาคนเข้าทำงาน (Procurement Function) ในหน้าที่นี้จะประกอบด้วยการสรรหา ซึ่งเป็นการแสวงหาและจูงใจให้ทรัพยากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นทรัพยากรที่เหมาะสมลงในตำเหน่งงาน หน้าที่การฝึกอบรมและพัฒนา (Training and Development Function) เป็นหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หลังจากที่ได้เลือกทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการเข้ามาแล้ว ซึ่งสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการให้การปฐมนิเทศ หน้าที่ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal Function) เป็นหน้าที่ในการประเมินความรู้ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์และว่ามีความสามารถระดับใด และขาดอะไร
หน้าที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง (Transfer Function) เป็นหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งกระทำได้ 4 แนวทาง ดังนี้คือ การเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) คือการเลื่อนตำแหน่งบุคลากรไปในตำแหน่งที่สูงขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์โดยมีความรับผิดชอบและอำนาจมากขึ้น การโยกย้าย (Transfer) เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในแนวนอน การลดตำแหน่ง (Demotion) การให้ออกจากงาน (Layoff) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การ ลาออก การให้ออก การปลดออก การลาออก การเกษีณอายุ การเลิกจ้าง และการตายแล้วแต่กรณี
หน้าที่ในการให้ผลตอบแทน (Compensation Function) เป็นหน้าที่ในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับการทำงาน การจ่ายค่าตอบแทนอาจกระทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้คือ จ่ายเป็นค่าตอบแทนปกติ ซึ่งหมายถึงการจ่ายให้กับการทำงานเป็นค่าจ้างและเงินเดือน การจ่ายค่าตองแทนในลักษณะนี้ค่าตอบแทนจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ค่าตอบแทนพิเศษ เป็นค่าตอบแทนจูงใจ ซึ่งเป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน
หน้าที่ในการจัดประโยชน์และบริการ (Benefits and Services Function) เป็นหน้าที่ในการให้ผลตอบแทนกับทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในทางอ้อมนอกเหนือไปจากการจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน หน้าที่เกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety Function) สำหรับสุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก ประกอบกับทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรที่ควรต่อการรักษาและหวงแหน
หน้าที่เกี่ยวกับวินัย (Discipline) เป็นหน้าที่ในการควบคุมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามวินัยในการปฏิบัติ เพื่อให้งานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่กำหนด หน้าที่แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation Function) เป็นหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับทรัพยากรมนุษย์ คืออย่างน้อยต้องให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน
กระบวนการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การกำหนดความต้องการทรัพยากรมนุษย์ เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องกระทำก่อนกิจกรรมใด การตอบสนองความต้องการของทรัพยากรมนุษย์ เมื่อได้กำหนดความต้องการทรัพยากรมนุษย์เป็นกรอบอัตรากำลังไว้ การธำรงรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของกระบวนการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
กระบวนการของการพัฒนาประเทศสมัยใหม่นั้น ซึ่งสามารถจัดแบ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมหรือมิติหลักได้ 4 กลุ่มกิจกรรม ดังนี้คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development) การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural Development) การพัฒนาการเมือง (Political Development) การพัฒนาการศึกษา (Education Development)
ความสัมพันธ์ของกระบวนการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม กระบวน การพัฒนา การเมือง การศึกษา
แนวโน้มของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. ทุนด้านการเงิน (Financial Capital) หมายถึง มีการวางแผนเศรษฐกิจ แบบมหภาคที่ดีและบริหารจัดการการเงินการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ทุนด้านกายภาพ (Physical Capital) หมายถึง ทรัพย์สินโครงสร้างภายใน เช่น อาคาร เครื่องมือ ถนน เตาพลังงาน ท่าเรือ 3. ทุนด้านมนุษย์ (Human Capital) หมายถึง คนมีสุขภาพดี การศึกษาดี เพื่อรักษาไว้ซึ่งตลาดแรงงาน 4. ทุนด้านสังคม (Social Capital) หมายถึง ทักษะความสามารถของบุคคล สถาบัน ความสัมพันธ์ การควบคุมคุณภาพ และปริมาณการปฏิสัมพันธ์ของสังคม 5. ทุนด้านธรรมชาติ (Natural Capital) หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งเพื่อการค้าและไม่ใช้เพื่อการค้า และบริการทางนิเวศวิทยาที่มีความจำเป็นต่อชีวิต
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความหลากหลายของกำลังแรงงาน (Work force Diversity) หมายถึง กลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ องค์ประกอบของกำลังแรงงานจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แนวโน้มทางด้านเทคโนโลยี ( Technological Trends) เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ เครื่องมือ เทคนิค และกิจกรรม ความเป็นโลกาภิวัตน์ (Globalization) เป็นการขยาย การขาย หรือการผลิตออกสู่ตลาดใหม่ในต่าง ประเทศ จะมีการติดต่อโดยไร้พรมแดน
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนวโน้มเกี่ยวกับลักษณะของงาน (Trends in the Nature of Work) แนวโน้มด้านเทคโนโลยีและโลกาภิวัตน์ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มอื่นๆที่มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Other Trends Affecting Human Resource Management) แนวโน้มอื่นๆที่สร้างให้เกิดจากการบริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ได้ดี คือ มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น
คุณธรรม จริยธรรมของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำหรับความหมายของคำว่า “คุณธรรม จริยธรรม” ได้มีการให้คำจำกัดความไว้ เช่น คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี ซึ่งอาจพิจารณาได้จากอุปนิสัยและความประพฤติของบุคคลนั้นๆ ส่วนจริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เช่น ศีล และหลักธรรมคำสอนต่างๆ จริยธรรม ช่วยทำให้เกิดพื้นฐานการแยกแยะว่าสิ่งใดถูกหรือผิด และนำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้องว่าต้องทำอย่างไร เป็นพื้นฐานป้องกันไม่ให้เห็นแก่ตัว และไม่ทำ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองโดยสร้างความเสียหายต่อส่วนรวมและต่อผู้อื่น คำที่สื่อสารถึงการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เช่น ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม การให้ความเคารพต่อผู้อื่น การรักษาสัจจะ ความเชื่อถือไว้วางใจ
คุณธรรม จริยธรรมของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความเชื่อและทัศนคติที่ดีงามและถูกต้องด้วย ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 3 กลุ่ม ค่านิยม (Values) ความเชื่อ (Beliefs) ทัศนคติ (Attitudes ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) สามเส้าของการจัดการศึกษา
ความเชื่อมโยงของทัศนคติ ความเชื่อกับความรู้และทักษะที่จำเป็น มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด โดย โทมัส อาร์ ไพเพอร์ ทัศนคติ (Attitudes) ค่านิยม (Values) และความเชื่อ (Beliefs) ซึ่งหัวข้อการเรียนรู้ ได้แก่ การทำงานอย่างมีเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์ ความกล้าหาญ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความรู้ (Knowledge) ซึ่งหัวข้อการเรียนรู้ ได้แก่ ความเข้าใจโลกและสากล เรียนรู้สภาพแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม รู้เรื่องเทคโนโลยี ทักษะที่สำคัญ (Critical Skills) ซึ่งหัวข้อการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล ภาวะผู้นำ การมองภาพรวม การบริหารทรัพยากรบุคคล การพัฒนาบุคคล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันเพื่ออนาคต การปฏิบัติการด้านการบริหารแบบใหม่ (New management practices) จะเห็นว่าแนวโน้มด้านความเป็นโลกาภิวัตน์ (Globalization) และนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านเทคโนโลยี (Technological innovation) กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการของบริษัท การเปลี่ยนบทบาทในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (The changing role of HR management) ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์มรการเพิ่มบทบาทในการคัดเลือกพนักงาน การฝึกอบรม และการเลื่อนตำแหน่ง
ประโยชน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ช่วยให้ระบบวิธีการทำงานมีสมรรถภาพสูงขึ้น เพราะเมื่อได้รับความรู้จาการฝึกอบรม ก็จะสามารถนำเทคนิค และวิธีการใหม่ ๆ ไปใช้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้เกิดการประหยัด เมื่อได้รับการพัฒนาแล้วความผิดพลาดที่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองเสียหายย่อมลดน้อยลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ช่วยลดเวลาในการเรียนงานให้น้อยลง เมื่อได้รับการพัฒนาแล้วจะสามารถปฏิบัติงานได้ผลดี
ประโยชน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา เมื่อได้รับการพัฒนาแล้ว ย่อมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการทำงานเพิ่มขึ้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการแนะแนวทางในความก้าวหน้าของบุคคลทางหนึ่ง เมื่อได้รับการพัฒนาแล้วย่อมจะได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งและโยกย้ายเพื่อความก้าวหน้า