ด่านศุลกากรจันทบุรี
1. ประวัติด่านศุลกากรจันทบุรี ด่านศุลกากรจันทบุรี เป็นด่านศุลกากรทางทะเลด้านอ่าวไทย ในอดีตเป็น “ด่านเก็บภาษี ” ขึ้นอยู่กับมณฑลจันทบุรี สังกัดกรมสรรพากร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2463 ได้มีการโอนด่านเก็บภาษีในมณฑลจันทบุรีทั้งหมดจากกรมสรรพากรมาขึ้นอยู่กับกรมศุลกากร ตั้งแต่นั้นมา “ด่านเก็บภาษีจันทบุรี” จึงสังกัดกรมศุลกากร ต่อมาได้ตั้งขึ้นเป็น “ด่านศุลกากรจันทบุรี” ตามกฎกระทรวงพระคลังมหาสมบัติลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 โดยเป็นด่านฝากอำเภอเมืองจันทบุรี ซึ่งมีนายอำเภอเมืองจันทบุรีทำหน้าที่นายด่านศุลกากรโดยตำแหน่ง ภายหลังได้มีกฎกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2481 ตั้งขึ้นเป็น “ด่านศุลกากร ท่าแฉลบ” แต่ก็ยังคงฝากอำเภอเมืองจันทบุรี
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2493 กรมศุลกากรได้สร้างที่ทำการด่านศุลกากรท่าแฉลบขึ้นเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ปลูกยื่นลงไปในน้ำริมคลองท่าแฉลบ ต่อมาภายหลังการขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกทางทะเลด้านจังหวัดจันทบุรี ลดน้อยลงจนไม่มีการขนส่งอีกเลย เส้นทางการค้าได้ปรับเปลี่ยนมาทางด้านชายแดนทางบกที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา การติดต่อค้าขายและขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกระหว่างกันเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นลำดับ กรมศุลกากรได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในอันที่จะช่วยส่งเสริมให้การค้าชายแดนด้านนี้ให้เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เพิ่มปริมาณมากขึ้น ประกอบกับสภาพที่ทำการด่านศุลกากรท่าแฉลบได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมากจึงได้ขอรับจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นชื่อ “ด่านศุลกากรจันทบุรี” ตามกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 125 พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2542
2. รายนายนายด่านศุลกากรในอดีตจนถึงปัจจุบัน 2. รายนายนายด่านศุลกากรในอดีตจนถึงปัจจุบัน ลำดับที่ ชื่อ นามสกุล ตั้งแต่ ถึง นายปัญโญ โพธิ์รอด 27 พ.ค.40 - 8 ธ.ค. 42 นายประสงค์ศักดิ์ บุญมา 9 ธ.ค. 42 - 7 ม.ค. 45 นายประวัติ กงเกตุแก้ว 7 ม.ค. 45 - 7 ม.ค. 46 นายอนุสรณ์ ศรีมาลา 7 ม.ค. 46 - 16 มิ.ย. 48 นายประยุทธ์ โกญจนาวรรณ 16 มิ.ย. 48 - 30 ก.ย. 48 นายประสงค์ ประสงค์ผล รษก. 1 ต.ค.48 - 10 ม.ค. 49 นายสิทธิศักดิ์ ใจเอื้อ 10 ม.ค. 49 - 1 มี.ค. 50 นายศรชัย สร้อยหงส์พราย 1 มี.ค. 50 - 22 ต.ค. 51 นายชัยฤทธิ์ แพทย์สมาน 22 ต.ค. 51 - 1 ธ.ค. 53 นายโสรัจ สังขวรรณ 1 มี.ค. 54 - 15 ต.ค. 57 นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ 15 ต.ค. 57 - 25 ม.ค. 59 นายประสงค์ศักดิ์ บุญมา 31 มี.ค. 59 - ปัจจุบัน
3. แผนที่ตั้งด่านศุลกากรจันทบุรี 3. แผนที่ตั้งด่านศุลกากรจันทบุรี Chanthaburicustoms จุดผ่านแดน จังหวัดพระตะบอง 3395 บ้านซับตารี 3405 317 ศูนย์ราชการชายแดนบ้านแหลม 3426 3424 บ้านสวนส้ม จุดผ่อนปรน บ้านแหลม 3193 3193 3210 บ้านบึงชนังล่าง จุดผ่านแดนถาวร 3193 317 3247 บ้านผักกาด 3193 3193 จังหวัดไพลิน อยู่ในระหว่างก่อสร้าง อาคารด่านพรมแดน (OSS) งบ จว. 317 3299 ระยะทางระหว่างด่านศุลกากรจันทบุรีกับจุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรน 1. บ้านผักกาด 52 กม. 2. บ้านบึงชนังล่าง 60 กม. 3. บ้านแหลม 60 กม. 4. บ้านสวนส้ม 65 กม. 5. บ้านซับตารี 72 กม. ด่านศุลกากรจันทบุรี 3299 อ่าวไทย จังหวัดตราด
ที่ตั้งด่านศุลกากรจันทบุรี ด่านศุลกากรจันทบุรี มีเนื้อที่ 5 ไร่ ตั้งอยู่บนเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 สายจันทบุรี – สระแก้ว บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 – 14 บ้านทุ่งด่าน หมู่ที่ 10 ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
1. จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด 2. จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม ตั้งอยู่พื้นที่ ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ตรงข้ามกับ บ้านปรม อ.ศารากราว จ.ไพลิน ประเทศกัมพูชา ห่างจากที่ทำการด่านฯ ประมาณ 52 กม. เปิดทำการทุกวัน ระหว่าง เวลา 06.00น.-22.00น. ตั้งอยู่พื้นที่ ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ตรงข้ามกับ บ้านตวง อ.กร็อมเรียง จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา ห่างจากที่ทำการด่านฯ ประมาณ 60 กม. เปิดทำการทุกวันระหว่าง เวลา 06.00-22.00 น.
3. จุดผ่อนปรนทางการค้าบ้านซับตารี ตั้งอยู่พื้นที่ ต.ทุ่งขนาน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ตรงข้ามกับ บ้านโอนลำดวน อ.พนมปึก จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา ห่างจากที่ทำการด่านฯ ประมาณ 72 กม. เปิดทำการทุกวันระหว่างเวลา 06.00น.–18.00น. 4. จุดผ่อนปรนทางการค้าบ้านสวนส้ม ตั้งอยู่พื้นที่ ต.สะตอน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ตรงข้ามกับ บ้านสังกะสี อ.กร็อมเรียง จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา ห่างจากที่ทำการด่านฯ ประมาณ 65 กม. เปิดทำการทุกวันระหว่างเวลา 06.00 – 18.00 น. 5. จุดผ่อนปรนทางการค้าบ้านบึงชนังล่าง ตั้งอยู่พื้นที่ ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้ำร้อน จ. จันทบุรี ตรงข้ามกับ บ้านสวายเวง อ.กุมเรียง จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา ห่างจากที่ทำการด่านฯ ประมาณ 60 กม. เปิดทำการทุกวันระหว่างเวลา 06.00น.– 18.00 น.
4. ภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของด่านศุลกากรจันทบุรี - ปฏิบัติพิธีการศุลกากร จัดเก็บค่าภาษีอากร ตรวจปล่อยสินค้านำเข้า - ส่งออก - ให้บริการด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร - ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง - ดำเนินการเกี่ยวกับคดีทางศุลกากร ของกลาง และของตกค้าง - ประสานงานให้คำปรึกษาที่เกี่ยวกับการศุลกากร - ปฏิบัติงานร่วมหรือ สนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เขตพื้นที่รับผิดชอบ ด่านศุลกากรจันทบุรี รับผิดชอบในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี มีเขตแดนทางบกติดกับประเทศกัมพูชา ระยะทาง 86 กิโลเมตร มีจุดผ่านแดนทั้งหมด 5 แห่ง โดยแยกเป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 แห่ง และจุดผ่อนปรน 3 แห่ง
สถิติมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก มูลค่าการส่งออก ปีงบประมาณ มูลค่า (ล้านบาท) 2556 635.429 2557 589.872 2558 2559 669.480 ปีงบประมาณ มูลค่า (ล้านบาท) 2556 6,798.698 2557 5,688.596 2558 2559 10,965.306
ผลการจัดเก็บรายได้ ปีงบประมาณ อากร (ล้านบาท) ค่าธรรมเนียมฯ รวม ปีงบประมาณ 2556 5.811 2.480 ปีงบประมาณ 2557 7.179 0.423 ปีงบประมาณ 2558 8.215 0.849 ปีงบประมาณ 2559
การป้องกันและปราบปราม Chanthaburicustoms การป้องกันและปราบปราม ผลการจับกุมการกระทำความผิดกฎหมายศุลกากรคดีลักลอบ และหลีกเลี่ยง ผลการดำเนินงาน (คดี) มูลค่า (ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2556 59 1.570 ปีงบประมาณ 2557 61 2.415 ปีงบประมาณ 2558 60 .680
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2559 นายกุลิศ สมบัติศิริ พร้อมคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรจันทบุรี พร้อมทั้งปรึกษาหารือเกี่ยวกับการนำเข้า - ส่งออก
การจัดกิจกรรม “การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี “ เนื่องด้วยในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 กิจกรรมบำเพ็ญ สาธารณประโยชน์ ทำบุญตักบาตรเพื่อ ถวายเป็นพระราชกุศล เคารพธงชาติ ในเวลา 08.00 น
อาสนวิหาร พระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เป็นโบสถ์คริสต์นิกายคาทอลิก ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ตำบลจันทนิมิตร สามารถเข้าทางเดียวกับวัดไผ่ล้อม เมื่อถึงวัดไผ่ล้อมแล้วเดินทางต่อไปอีกราว 1 กม. หรือจากตัวเมืองเดินทางข้ามสะพานวัดจันท์ไปตามถนนจันนิมิตรจะพบทางแยกขวาไปโบสถ์คาทอลิก สถานที่แห่งนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล ได้ชื่อว่าเป็นโบสถ์คาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่เรียกว่า ศิลปะแบบโกธิค ตบแต่งด้วยกระจกสีติดผนังเป็นภาพทางคริสต์ศาสนา สวยงามมาก
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองจันท์ บ่งบอกถึงความผูกพันของชาวเมืองนี้ที่มีต่อพระเจ้าตาก โดยมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่ได้มาสักการะพระเจ้าตาก ก็ถือว่ายังมาไม่ถึงเมืองจันท์ ประวัติ : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดิมเป็นศาลไม้อยู่ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ต่อมาในปี 2463 สมัย ม.จ. สฤษดิเดชชยางกูร เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ได้สร้างศาลขึ้นใหม่บริเวณด้านหน้าค่าย ทหารกองพันนาวิกโยธิน คนละฝั่งถนนกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยอาศัยอาคารเป็นศาลาคอนกรีตสี่เหลี่ยมจัตุรมุข มีบันไดด้านหน้าและด้านข้างรวม 3 ด้าน กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ภายในเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป ซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำพระองค์พระเจ้าตาก
อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฎ อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฎ อยู่ในท้องที่อำเภอมะขามและกิ่งอำเภอเขาคิชกูฏ การเดินทางใช้ถนนสุขุมวิท ถึง กม. 324 บริเวณสี่แยกเขาไร่ยา แยกซ้ายไป 21 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอุทยานเลี้ยวขวาอีก 1.5 กิโลเมตร (สามารถนั่งรถสองแถวจันทบุรี-น้ำตกกระทิง ค่าโดยสาร 20 บาทต่อคน ธาริณี 30 พ.ค.40) อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2520 มีเนื้อที่ 58 ตารางกิโลเมตร สภาพป่าในบริเวณนี้มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขาและป่าไม้ผลัดใบมีสมุนไพรและกล้วยไม้ป่านานาชนิด รวมทั้งมีพันธุ์ไม้หายากคือ ไม้กฤษณา เนื่องจากเป็นป่าที่อยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน จึงมีสัตว์ป่าชุกชุม เช่น กระทิง เสือ หมี กวาง เก้ง เลียงผา และนกชนิดต่างๆ ตามลำห้วยมีปลาพลวง ปลาก้าง ปลาหนวด ปลาดุกรำพัน อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
วัดมังกรบุปผาราม (วัดเล่งฮัวยี่) ตั้งอยู่ที่ถนนเบญจมราชูทิศในตัวเมืองจันทบุรี เป็นวัดญวนซึ่งก่อสร้างเป็นศิลปแบบจีนปนไทย วัดนี้มีสิ่งน่าแปลกอย่างหนึ่งคือ มีนกนางแอ่นป่ามาสร้างรังสีดำขนาดใหญ่ห้อยย้อยลงมาจากกลางเพดานโบสถ์และยังมีรังเล็ก ๆ อยู่ตามหัวเสาที่อยู่ด้านหน้าโบสถ์ด้วย นกนางแอ่นเหล่านี้มาอาศัยทำรังที่วัดแห่งนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว โดยจะบินออกไปหาอาหารในตอนเช้าและบินกลับมาเข้ารังในตอนเย็น
จบการนำเสนอขอบคุณ