การทำภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำ การทำภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำ ภาพพิมพ์อุกิโยะ / Ukiyo ที่มา http://portal.edu.chula.ac.th/skaoo/blog/view.php?Bid=1277694763175092&msite=skaoo&bp=1&np=2
วัสดุอุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ 1. แผ่นไม้อัดยางพารา 10 มิลลิเมตร หรือไม้ชนิดอื่น ตามต้องการหนา 6 มิลลิเมตร ** เดิมญี่ปุ่นใช้ไม้ซากุระ (ต้นเชอรี่) ที่ตัดแบบไม้กระดานทำแม่พิมพ์ ในเมืองไทย อาจใช้ไม้อัดยางพาราหนา 10 มิลลิเมตรก็ได้ แต่มีความแข็งและแกะยากพอสมควรหรือไม้ อัดหนา 6 มิลลิเมตร ชนิดที่เนื้อไม้นิ่มกว่าและซึมซับน้ำได้ดี ไม้สนใช้ได้ดีกว่าไม้ยางพารา ส่วนแผ่นไม้โมกไม่เหมาะเพราะไม่ทนน้ำ โก่งงอง่าย
วัสดุอุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ 2. กระดาษคาร์บอน 1 แผ่น 3. เครื่องมือแกะไม้ 1 ชุด 4. กระดาษทรายสำหรับขัดไม้ และกระดาษทรายน้ำเบอร์ 1200 5. กระดานรองแกะแม่พิมพ์ 1 แผ่น 6. น้ำมันจักร 1 ขวด 7. หินลับมีดหยาบและละเอียด
วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเคลือบกระดาษ 1. กาวหนังวัว (nigawa) 20 กรัม และสารส้ม (myuban) 10 กรัม น้ำ 1 ลิตร 2. กระดาษสา หรือกระดาษอื่นๆ 3. แปรงขนกระต่ายขนาด 4-5 นิ้ว หรือแปรงทาสีขนสีขาว (ใช้แทนแปรงขนแกะ ของญี่ปุ่น DOSA BAKE) 4. ภาชนะใส่น้ำรูปสี่เหลี่ยม 1 ใบ 5. หม้อ และเตาไฟฟ้า สำหรับต้มน้ำ 6. ถ้วยเซรามิค 1 ใบ และเศษผ้าใช้รองใต้ถ้วย 7. ราวไม้หนีบผ้าเพื่อตากกระดาษ
การเคลือบกระดาษ วิธีการการเคลือบกระดาษ การเคลือบกระดาษทำเพื่อไม่ให้สีน้ำที่พิมพ์บนกระดาษชื้นซึมกระจายบนกระดาษนอก พื้นที่ที่ต้องการ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “การทำ DOSA” ภาษาอังกฤษเรียก “SIZING” ส่วน กระดาษที่เคลือบแล้วเรียกว่า “SIZED PAPER” วิธีการการเคลือบกระดาษ 1. นำกระดาษที่ต้องการใช้พิมพ์ เช่น กระดาษสาไทยอย่างหนามาเข้าแท่นพิมพ์เอชชิ่ง รีดให้กระดาษเรียบเพราะกระดาษสาอย่างหนาจะเรียบไม่สม่ำเสมอกัน
การเคลือบกระดาษ (ต่อ) 2. ผสมน้ำยาเคลือบกระดาษ อัตราส่วน น้ำ 1 ลิตร : กาวเม็ด (nigawa) 20 กรัม : สารส้ม 10 กรัม วิธีทำ ก . ใส่กาวเม็ดในถ้วยเซรามิคแล้วเติมน้ำให้ท่วม แช่ทิ้งไว้ 1 คืนให้กาวนิ่มและ ละลาย
การเคลือบกระดาษ (ต่อ) 2. ผสมน้ำยาเคลือบกระดาษ (ต่อ) ข . ใช้หม้อต้มน้ำ วางถ้วยเซรามิคที่มีกาวในหม้อ ( ระดับน้ำในหม้อต้องต่ำ กว่าขอบถ้วย ) รองก้นถ้วยด้วยเศษผ้าไม่ให้ก้นถ้วยสัมผัสหม้อ ซึ่งอาจจะทำให้กาวไหม้ ต้ม จนกาวละลาย ค . ต้มน้ำ 1 ลิตร ใส่สารส้ม คนให้ละลาย แล้วปิดไฟเตา ง . เทกาวที่ละลายแล้วลงในน้ำข้อ 3 คนให้ผสมกันดี เทใส่ภาชนะรูปสี่เหลี่ยม
การเคลือบกระดาษ (ต่อ) 3. ใช้แปรงหน้ากว้าง เช่นแปรงขนกระต่าย หรือแปรงทาสีขนขาวจุ่มน้ำยาเคลือบ กระดาษ ทาบนแผ่นกระดาษสาโดยลากตามทางขวางเป็นแถบจบทั่วกระดาษ ทำเพียงด้าน เดียว 4. นำกระดาษไปตากผึ่งให้แห้ง ** กระดาษบางชนิดไม่ต้องเคลือบกาวเพราะมีกาวอยู่แล้ว โดยเฉพาะกระดาษที่ ผลิตจากเครื่องจักร (machine made) เช่น กระดาษพิมพ์ Fabriano หรือ BFK หรือ กระดาษเขียนสีน้ำชนิดเรียบ ไม่ต้องเคลือบกาว
ขั้นตอนการเตรียมชื้นกระดาษ 1. นำกระดาษที่ตัดขนาดไว้ตามต้องการ มาทำเครื่องหมายบนด้านหลังกระดาษด้วย ดินสอเพื่อกันความผิดพลาดจากการวางกระดาษบนแม่พิมพ์ 2. ตัดกระดาษปรู๊ฟให้มีขนาดใหญ่กว่ากระดาษพิมพ์ 3. ตัดพลาสติกห่อกระดาษให้มีขนาดใหญ่กว่ากระดาษพิมพ์ประมาณ 4 เท่า 4. วางกระดาษปรู๊ฟ 1แผ่น ลงบนแผ่นพลาสติก ทำให้เปียกด้วยการฉีดพ่นน้ำด้วย สเปรย์หรือลูบด้วยแปรงใหญ่แล้ววางกระดาษพิมพ์ 1 แผ่น ทับลงไป จากนั้นวางปรู๊ฟ 1 แผ่น ทำให้เปียก ทำสลับกันไปจนหมดกระดาษแล้วห่อพลาสติกไม่ให้อากาศเข้า
ขั้นตอนการเตรียมชื้นกระดาษ (ต่อ) 5. ทับด้วยไม้แผ่นและของหนัก ทิ้งไว้ก่อนพิมพ์อย่างน้อย 3 ชั่วโมง ถึง 1 คืน ** อาจไม่ต้องขั้นกระดาษพิมพ์ด้วยกระดาษอื่นสลับเป็นชั้นๆ สามารถวาง กระดาษพิมพ์อย่างเดียว ซ้อนกันโดยพ่นน้ำด้วยสเปรย์บนแต่ละแผ่นได้เลย
ขั้นตอนการพิมพ์ 1. นำเอาแม่พิมพ์ที่แกะเสร็จและล้างสะอาดแล้ว มาทำให้เปียกทั้ง 2 ด้าน วางแม่พิมพ์ บนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่เปียก พรมน้ำบนแม่พิมพ์อีกครั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที เพื่อให้ น้ำซึมให้ทั่ว 2. สีพิมพ์ เช่น หมึกจีน หมึกญี่ปุ่น (sumi) สีน้ำ (water color) สีน้ำทึบ (gouache) สี ฝุ่นผสมน้ำ (tempera) หรืออาจใช้สีโปสเตอร์ก็ได้ นำสีพิมพ์มาผสมน้ำเล็กน้อยแต้มสีบน บริเวณที่เป็นภาพ 3. แต้มกาวแป้งเปียกที่ผสมน้ำแล้วลงบนแม่พิมพ์เล็กน้อย
ขั้นตอนการพิมพ์ (ต่อ) 4. ใช้แปรงขัดรองเท้า (ซึ่งใช้แทนแปรงขนหางม้า) ลูบสีให้ติดสม่ำเสมอทั่วแม่พิมพ์หาก สีน้อยเกินไปให้เติมสีอีกแล้วถูแปรงอีกครั้ง 5. หากเป็นแม่พิมพ์ชนิดมี register mark ในตัวให้วางกระดาษพิมพ์ ที่เตรียมชื้นแล้ว บนแม่พิมพ์ตรงกันรอย register mark แต่ถ้าเป็นแม่พิมพ์แบบแยก register mark ต้องนำ แม่พิมพ์ไปวางชิดแผ่น register mark แล้วจึงวางกระดาษ (คว่ำด้านที่เคลือบกาวหรือด้าน ถูกบนแม่พิมพ์)
ขั้นตอนการพิมพ์ (ต่อ) 6. วางแผ่นกระดาษไขสำหรับทำอาหาร (cooking paper) บนด้านหลังกระดาษพิมพ์ ลูบให้กระดาษติดแม่พิมพ์เบาๆ (หรืออาจใช้แผ่นพลาสติกแทนก็ได้) 7. ใช้บาเรง (BAREN) ถูกับแผ่นสักหลาดที่หยดน้ำมันมะกอกไว้เพื่อการหล่อลื่น นำ บาเรงไปถูบนกระดาษที่คว่ำติดบนแม่พิมพ์เบาๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มแรงกด ถูวนให้ทั่วแม่พิมพ์ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นภาพ เมื่อกดถูทั่วภาพแล้วใช้มือกดด้านริมกระดาษแล้วค่อยๆ แง้มดู ภาพ หากสีไม่ค่อยติดควรเพิ่มแรงกดหรืออาจเติมสีแล้วกดพิมพ์อีกครั้ง ภาพที่ได้จะปรากฏ เป็นภาพกลับซ้ายขวากับแม่พิมพ์
การขึงแผ่นภาพพิมพ์ ภาพพิมพ์ที่พิมพ์เสร็จแล้วต้องทำให้เรียบ อาจใช้วิธีทับด้วยของหนัก หรือใช้วิธีการขึง แผ่นภาพพิมพ์ให้ตึงบนแผ่นไม้ก็เป็นวิธีที่สะดวก ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. นำภาพพิมพ์ที่ยังชื้นอยู่มาคว่ำด้านถูกบนแผ่นไม้ที่สะอาด ถ้าไม่สะอาดควรวาง กระดาษปรู๊ฟที่มีขนาดเท่ากันก่อนวางกระดาษพิมพ์ 2. ปิดขอบงานด้วยกระดาษกาวน้ำทั้ง 4 ด้าน 3. ตากทิ้งไว้ให้แห้ง 4. ลอกกระดาษกาวออก