บทที่ 10 การบริหารระบบเครือข่าย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล ( File System)
Advertisements

การตรวจสอบ CRC บน ROUTER
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ภัยคุกคามด้านความปลอดภัย
การสร้างระบบการป้องกันการบุกรุกโดยใช้ Open Source Software
TCP/IP.
การบริหารจัดการระบบเครือข่าย (Network Management)
เกียรติพงษ์ ยอดเยี่ยมแกร
การเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ
Introduction to Server Services
Software ส. อ. ประกาศิต วรนุช ไมโครคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเฉลิมกาณจนา บุรีรัมย์ ลิขสิทธิ์ โดย ส. อ. ประกาศิต วรนุช ไมโครคอมพิวเตอร์ วิทยาลัย เฉลิมกาณจนา บุรีรัมย์
Enhancement of sustainable Tourism in Nakhon Phanom through Quality Development of Small and Medium Community Enterprise Management.
OSI 7 LAYER.
Faculty of Information Science and Technology, MUT 13/8/59 IS/Thesis OverviewIS/Thesis Overview.
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
หน่วยที่ 1 ซอฟต์แวร์.
ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.
การสื่อสารข้อมูล.
ระบบคอมพิวเตอร์.
บทที่ 4 กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ
ประสบการณ์และเทคนิคทำวิจัยสถาบัน
Wireless Network เครือข่ายไร้สาย
แบบจำลองเครือข่าย (Network Models)
Crowded Cloud e-services: Trust and Security
การเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
Data Management (การจัดการข้อมูล)
Thai Quality Software (TQS)
การปรับปรุงระบบ GIS e-Learning
2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)
บทที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์
การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
การบริหารความปลอดภัยสารสนเทศ
การจัดหาหรือจัดให้มีการพัฒนา และการบํารุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามวิธีการแบบปลอดภัย.
13 October 2007
ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ.
บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
การพัฒนางานผู้ป่วยนอก
Generic View of Process
Independent Study (IS)/Thesis
(ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ....
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
บทที่ 3 การจัดการความเสี่ยง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนะนำรายวิชา การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย
โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
เหตุใด... ต้องมีการประกาศราคากลาง
บทที่ 4 ฐานข้อมูล.
Yeunyong Kantanet School of Information and Communication Technology
การจัดการระบบฐานข้อมูล
การสร้างความตระหนักในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของ
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การจัดการไฟล์ File Management.
การบริหารระบบเครือข่าย
นางสาวชุติมา โพธิ์ป้อม นางสาวรุ่งนภา นาคเพ่งพิศ
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : การรักษาความปลอดภัยข้อมูล Part1 สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
MG414 Supply Chain and Logistics Management
วิชา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูล สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ชื่อเรื่องวิจัย ชื่อผู้วิจัย
นายเกรียงไกร แก้วมีศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
[ บทที่ 3 ] ระบบสารสนเทศ.
การออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้งาน (USER INTERFACE DESIGN)
ระบบรักษาความปลอดภัย FIREWALL กำแพงไฟ
Introduction to Structured System Analysis and Design
บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 10 การบริหารระบบเครือข่าย

การบริหารเครือข่าย ผู้บริหารระบบเครือข่าย (Network Manager) มีหน้าที่ดูแลทั้งส่วนที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เพื่อให้สอดคล้องกับกิจการขององค์กร หน้าที่ของผู้บริหารเครือข่าย วางแผนและเลือกใช้อุปกรณ์เครือข่าย สร้าง ทดสอบ และดูแลอุปกรณ์ระบบเครือข่าย ติดตั้งและดูแลความปลอดภัยของเครือข่าย ประสานงานกับลูกค้า และผู้ให้บริการสื่อสารทางไกล บริหารงบประมาณ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย วัตถุประสงค์ของการบริหารระบบเครือข่าย มี 2 อย่างคือ การทำให้ผู้ใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารมีความพึงพอใจมากที่สุด ทำให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยงบประมาณที่กำหนด ลูกค้า (ผู้ใช้ระบบ) ร้านค้า (ระบบเครือข่าย) สินค้า (บริการเครือข่าย) 3

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย ความพึงพอใจของผู้ใช้ จะแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งานเครือข่าย ลูกค้าในตลาดหลักทรัพย์ ต้องการผลตอบที่รวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง ไม่เน้นกราฟฟิก ลูกค้าในวงการแฟชั่น ต้องการภาพกราฟฟิกสวยงาม ไม่ต้องการความเร็ว ปัจจัยที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้ แบ่งออกได้เป็น 6 หัวข้อคือ ประสิทธิภาพ ความสามารถในการใช้งานได้ ความเชื่อถือได้ การสำรองข้อมูล ช่วงเวลาที่สามารถใช้ระบบเครือข่ายได้ การจัดเตรียมข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ 4

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย ประสิทธิภาพ ดูได้จากระยะเวลาในการตอบสนอง (Response Time) ซึ่งมีวิธีคิดแตกต่างกันไป เช่น การนับระยะเวลาตั้งแต่การกดปุ่มทำงาน จนกระทั้งข้อมูลที่ต้องการปรากฏขึ้น โดยทั่วไปจะต้องตั้งระยะเวลาในการตอบสนองไว้ตั้งแต่ตอนออกแบบเครือข่าย ปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง อาจจะมีสาเหตุได้ทั้ง ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟแวร์ 5

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย ประสิทธิภาพ ระยะเวลาการตอบสนองได้รับผลกระทบจากหลายสาเหตุ เช่น จำนวนผู้ใช้ (Clients) ถ้าผู้ใช้มาก ระยะเวลาก็จะนานไปด้วย จำนวนโหนด (Node) ถ้ามีโหนดมาก ระยะเวลาก็จะนานขึ้น ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ รวมถึงการตั้งค่าในโปรแกรม 6

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย ความสามารถในการใช้งานได้ ปัจจัยนี้มีความสำคัญต่อความพึงพอใจของผู้ใช้มาก เพราะถ้าผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานได้บ่อยครั้ง ก็จะยกเลิกการใช้บริการกับเครือข่ายได้ มีสาเหตุหลายประการที่เครือข่ายไม่สามารถใช้งานได้ เช่น การบำรุงรักษา (Maintenance) เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ควรต้องมีการวางแผนล่วงหน้า แจ้งผู้ใช้ให้ทราบ และทำอย่างรวดเร็ว 7

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย ความสามารถในการใช้งานได้ เอ็มทีบีเอฟ (Mean Time Between Failures) คือเวลาเฉลี่ยระหว่างการเสียหาย (แตกต่างจาก MTTF คือค่าเฉลี่ยของเวลาก่อนการเกิดการเสียหายครั้งแรก) เอ็มทีทีอาร์ (Mean Time To Repair) คือ ค่าเฉลี่ยของเวลาที่ต้องใช้ในการซ่อมแซม ความสามารถในการใช้งานได้ (Availability) Availability = MTBF / [MTBF + MTTR] หน่วยเป็น % 8

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย ความเชื่อถือได้ ความเชื่อถือได้ (Reliability) คือ ความน่าจะเป็นที่เครือข่ายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติและต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ความน่าเชื่อถือนี้ แตกต่างจากความสามารถในการใช้งาน เพราะจะดูที่ความผิดพลาดของข้อมูล เช่น ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้ แต่ข้อมูลที่ได้รับผิดพลาดไปจากที่ควรจะเป็น ลักษณะนี้ถือว่าความน่าเชื่อถือไม่ดี 9

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย ระบบสำลอง ระบบสำลอง (Backup) ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะช่วยทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือในการใช้บริการ การทำระบบสำลองสามารถทำได้ทั้ง ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟแวร์ เทคนิคการสำลองข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์อย่างต่อเนื่องมี 2 วิธี คือ ดิสก์มิเรอริ่ง (Disk Mirroring) มีอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน 1 ชุด ดิสก์ดูเพล็กซิ่ง (Disk Duplexing) มีอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน 2 ชุด ต้องมีการวางแผน ระยะเวลา และปริมาณที่ต้องการสำลองข้อมูลไว้ด้วย 10

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย ช่วงเวลาที่สามารถใช้เครือข่ายได้ เป็นปัจจัยที่ต้องรักษาไว้ให้นานที่สุด เมื่อระบบเครือข่ายแสดงอาการที่ไม่ปกติ จะมีวิธีการแก้ปัญหา 3 อย่าง คือ กลบเกลื่อนปัญหา (Patch around the problem) เช่น การย้ายเส้นทางอ้อมส่วนที่เสีย จัดหาอุปกรณ์ใหม่มาทดแทน เป็นวิธีที่นิยมมากเพราะได้ผลทันที แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และของที่สำลองไว้อาจจะไม่ได้ใช้งานเลย การซ่อมแซม เป็นวิธีที่ประหยัด แต่ข้อเสียคือไม่สามารถกำหนดเวลาได้ 11

10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย การจัดเตรียมข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ ระบบจะต้องมีข่าวสารแจ้งแก่ผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา ต้องแจ้งกำหนดล่วงหน้า ถ้าจะทำการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และต้องปฏิบัติงานตามกำหนดที่แจ้งผู้ใช้ให้ตรงเวลาที่สุด รวมถึงมีช่องทางที่ผู้ใช้งานสามารถ สอบถามเกี่ยวกับข่าวสารต่างๆ ที่ต้องการทราบได้โดยสะดวก 12

10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย ถือว่าเป็นวัตถุประสงค์ข้อที่สองของการบริหารเครือข่าย วิธีการพิจารณาการใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประการด้วยกัน คือ การวางแผนล่วงหน้า การปรับปรุงขีดความสามารถของอุปกรณ์ การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม การย้ายตำแหน่งอุปกรณ์ 13

10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย การวางแผนล่วงหน้า การวางแผนที่ดี ย่อมทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพ และคุ้มกับเงินลงทุนได้ การวางแผนนี้จะต้องเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทุกส่วนในระบบเครือข่าย และต้องสอดคล้องต่อชนิด และปริมาณการส่งข้อมูลด้วย การวางแผนเลือกซื้ออุปกรณ์นั้นจะมีอยู่ 2 แนวทาง คือ การเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อรองรับการใช้งานในปัจจุบันเท่านั้น ต้นทุนต่ำ แต่ขยายไม่ได้ การเลือกซื้ออุปกณ์เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต ต้นุทนสูง แต่เสี่ยงต่อการเปลี่ยน 14

10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย การปรับปรุงขีดความสามารถของอุปกรณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บางอย่างที่จำเป็นเข้าไปในระบบเดิม เพื่อทำให้รองรับการใช้งานที่มากขึ้น ใช้งบประมาณน้อย แต่ได้ประสิทธิภาพสูง แต่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสมัยของระบบเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างรูปที่ 10.1 15

10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ในกรณีที่อุปกรณ์เดิมไม่สามารถขยายขีดความสามารถได้แล้ว วิธีนี้จึงจำเป็น วิธีนี้จะต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่เฉพาะที่จำเป็นเพื่อติดตั้งเพิ่มเติม แล้วทำให้ระบบเดิมมีขีดความสามารถสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ประสิทธิภาพโดยรวมอาจจะลดลงได้ เนื่องจากการทำงานของระบบเก่ากับอุปกรณ์ใหม่ไม่ตรงกัน 16

10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย การย้ายตำแหน่งอุปกรณ์ เป็นวิธีการสุดท้าย ที่จะช่วยลดต้นทุนได้ เมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ที่มีสมรรถนะสูง เข้ามาแทนในระบบ อุปกรณ์เก่าที่ยังใช้งานได้อยู่ก็สามารถย้ายไปอยู่ในส่วนที่สามารถให้บริการได้ ทำให้เป็นการขยายความสามารถโดยรวมของระบบ และใช้งบอย่างคุ้มค่า 17

10.3 การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆ เช่น คณะทำงาน (Staff) และการวิเคราะห์ระบบเครือข่าย (Network Analysis) คณะทำงาน ประกอบด้วย ช่างเทคนิค (Technician) เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา (Helpdesk) ผู้ควบคุมระบบเครือข่าย (Network Administrator) การวิเคราะห์ระบบเครือข่าย มีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ ค่าสถิติเกี่ยวกับการใช้งาน การปรับปรุงระบบเครือข่าย 18

10.3 การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ค่าสถิติเกี่ยวกับการใช้งาน ต้องอาศัยโปรแกรมซอฟแวร์เพื่อเก็บค่า และวิเคราะห์ มีหลายประเภท เช่น ซอฟแวร์สำหรับการวิเคราะห์ค่าสถิติ (Statistical Analysis System) ซอฟแวร์สำหรับสร้างแบบจำลอง (Wokload Generator) ซอฟแวร์สำหรับบันทึกเหตุการณ์ (Log Files) ผู้ดูแลเครือข่าย จะต้องหมั่นตรวจสอบค่าทางสถิติเหล่านี้เพื่อจะได้วางแผนสำหรับการขยายตัว และป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย 19

10.3 การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ การปรับปรุงระบบเครือข่าย เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบเครือข่าย เพื่อมาปรับปรุงเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพดีมากขึ้น การปรับปรุงระบบเครือข่ายนี้ สามารถทำได้ตั้งแต่ การเปลี่ยนซอฟแวร์ หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่าง จนกระทั้งในระดับที่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเครือข่าย ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์ งบประมาณ และเวลาในการดำเนินงานด้วย 20

10.5 เครื่องมือสำหรับตรวจสอบเครือข่าย โดยมากเครื่องมือนี้จะอยู่ในรูปของซอฟแวร์ ทำหน้าที่ตรวจหาข้อบกพร่อง และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เครื่องมือตรวจสอบสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ซอฟแวร์บริหารอุปกรณ์ (Device Management Software) ซอฟแวร์บริหารองค์กร (Enterprise Management Software) ซอฟแวร์บริหารโปรแกรมประยุกต์ (Application Management Software) 21

10.5 เครื่องมือสำหรับตรวจสอบเครือข่าย โปโตคอลสำหรับระบบบริหารเครือข่ายที่นิยมใช้งานมี 2 อย่าง โปโตคอลเอสเอ็นเอ็มพี (Simple Network Management Protocol : SNMP) ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้งานร่วมกับ TCP/IP โดยที่จะมีซอฟแวร์นี้ติดที่ตัวอุปกรณ์ และแต่ละอุปกรณ์ก็จะส่งข้อมูลมายังคลังส่วนกลางที่เรียกว่า MIB (Management Information Base) เพื่อทำรายงานสถานะเครือข่ายต่อไป เดิมทีมีการพัฒนาเพื่อให้ใช้งานแบบง่าย ต่อมาบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ได้พัฒนาส่วนเพิ่มเติม (Extension) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ แต่มีปัญหาที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับบริษัทอื่นๆได้ ตัวอย่างส่วนเพิ่มเติมที่นิยม ได้แก่ อาร์มอน (Remote Monitoring : RMON) เป็นการอนุญาตให้เก็บข้อมูลไว้ที่ MIB ใกล้เคียงได้ แทนที่จะส่งไปที่ MIB ส่วนกลาง 22

10.5 เครื่องมือสำหรับตรวจสอบเครือข่าย โปโตคอลเอสเอ็นเอ็มพี (Simple Network Management Protocol : SNMP) 23

10.5 เครื่องมือสำหรับตรวจสอบเครือข่าย 2. โปโตคอลซีเอ็มไอพี (Common Management Interface Protocol : CMIP) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย ISO ใช้งานบน OSI มีการรักษาความปลอดภัยดีกว่า SNMP แต่ละเอียด และซับซ้อนกว่ามาก ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ 24

คำถามท้ายบท จงบอกวัตถุประสงค์ของการบริหารระบบเครือข่าย จงบอกความหมายของคำต่อไปนี้ MTBF MTTR Availability SNMP CMIP เทคนิควิธีการสำลองข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์มีกี่แบบ อะไรบ้าง ซอฟแวร์เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบเครือข่ายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง