การจัดกิจกรรมห้องสมุด โดย นางสาวพูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ กรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
หัวข้อบรรยาย (น. 35-44) - สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการจัดกิจกรรมห้องสมุด - รูปแบบการจัดกิจกรรม 1. การจัดป้ายนิเทศ 2. การจัดนิทรรศการ 3. การจัดกิจกรรมบนเวที - ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม (น. 41-44)
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการจัดกิจกรรมห้องสมุด กิจกรรม คือ การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้ กิจกรรมห้องสมุดที่จัด ต้องสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ห้องสมุด โดยที่ผู้จัดอาจเป็น บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ผู้ใช้ที่สนใจบริการของห้องสมุด ข้อควรคำนึงถึงในการจัดกิจกรรม 1. วัตถุประสงค์ในการจัด 2. จัดเพื่อใคร: ผู้ร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย 3. จัดอะไร: รูปแบบของการจัดกิจกรรม 4. ระยะเวลาในการจัด 5. สถานที่จัด 6. งบประมาณในการจัด 7. การประชาสัมพันธ์
รูปแบบการจัดกิจกรรม รูปแบบของกิจกรรมที่นิยมจัดกัน มากในห้องสมุด ได้แก่ 1. การจัดป้ายนิเทศ (Bulletin Board) 2. การจัดนิทรรศการ (Exhibit Service) 3. การจัดกิจกรรมบนเวที (Stage Acting Service)
1. การจัดป้ายนิเทศ (Bulletin Board) ป้ายนิเทศ คือ แผ่นป้ายโฆษณาความรู้ ประกอบด้วยภาพและ ตัวอักษร และวัสดุอื่น ๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ใช้ห้องสมุดใน เรื่องต่าง ๆ ขอบเขตของการจัดป้ายนิเทศ วัตถุประสงค์ในการจัดป้ายนิเทศ ข้อควรคำนึงถึงในการจัดป้ายนิเทศ 1. ความต้องการและรสนิยมของผู้รับบริการ 2. จุดประสงค์ในการจัด 3. วิธีการจูงใจ ประโยชน์ของป้ายนิเทศ
2. การจัดนิทรรศการ (Exhibition Service) นิทรรศการ หมายถึง การนำวัสดุ สิ่งของต่าง ๆ มาตั้งแสดง เพื่อให้ผู้ชมได้เห็น ได้ฟัง ได้รับทราบสารสนเทศเฉพาะเรื่อง หรือหลายเรื่อง ที่ผู้จัดประมวลไว้ให้ผู้เสพสารสนเทศ เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว และสมบูรณ์ ขอบเขตของการจัดนิทรรศการ ประเภทของนิทรรศการ 1. นิทรรศการถาวร 2. นิทรรศการชั่วคราว 2.1 นิทรรศการย่อย 2.2 นิทรรศการใหญ่ 2.3 นิทรรศการเคลื่อนที่
3. การจัดกิจกรรมบนเวที (Stage Acting Service) กิจกรรมบนเวที เป็นกิจกรรมที่จัดแสดงบนเวที เป็นกิจกรรมอีก ลักษณะหนึ่งที่สามารถดึงดูดผู้รับบริการให้เข้ามาใช้ห้องสมุดเพื่อการ อ่านได้ ประเภทของกิจกรรมบนเวทีที่นิยมจัด 1. การอภิปราย 2. การเล่านิทาน 3. การแสดงละคร
การอภิปราย การอภิปราย ต้องจัดบนเวทีเพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นหน้าและท่าทางของผู้อภิปราย โดยบรรณารักษ์อาจ เป็นผู้อภิปรายเอง หรือเชิญผู้มีชื่อเสียงมาร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการเพื่อเป็นจุดขาย หรือดึงดูดผู้เข้า ชมอีกทางหนึ่ง วัตถุประสงค์ในการจัด ประเภทของการอภิปราย 1. การอภิปรายเดี่ยว หรือการบรรยาย 2. การอภิปรายหมู่ สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดอภิปราย 1. หัวข้อ 2. วิทยากร 3. สถานที่จัด 4. ผู้เข้าฟัง 5. ปัญหาและอุปสรรค
ตัวอย่างโครงการ โครงการกิจกรรมทวีปัญญา (เป็นโครงการใหญ่ที่รวมโครงการย่อยไว้ในโครงการ เดียวกัน) - หลักการและเหตุผล - วัตถุประสงค์ - หน่วยงานที่รับผิดชอบ - สถานที่ดำเนินการ - ผลที่คาดว่าจะได้รับ