งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม สำหรับเด็กปฐมวัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม สำหรับเด็กปฐมวัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม สำหรับเด็กปฐมวัย
รศ. บรรพต พรประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

2 ความหมายของการพัฒนารูปแบบจัดประสบการณ์
การพัฒนารูปแบบจัดประสบการณ์การเรียนรู้ หมายถึง การวางโครงสร้างหรือกรอบแนวคิดการพัฒนา โดยกำหนดกิจกรรมที่ครอบคลุม ตั้งแต่ปัญหาการพัฒนา เพื่อให้มีกรอบในการค้นหาคำตอบของการพัฒนา และได้ผลการพัฒนาที่ถูกต้องเชื่อถือได้

3 เด็กปฐมวัย เรียนอะไร เรียนอย่างไร และได้อะไร
เด็กปฐมวัย เรียนอะไร เรียนอย่างไร และได้อะไร -พ่อแม่ -ครู -ผู้ปกครอง -ชุมชน เรียนอะไร ใครเกี่ยวข้อง เรียนอย่างไร - ตัวเด็ก - บุคคลและสถานที่ แวดล้อม - ธรรมชาติรอบตัว - สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ -ด้านร่างกาย -ด้านอารมณ์และจิตใจ -ด้านสังคม -ด้านสติปัญญา เด็ก ปฐมวัย - การใช้ประสาทสัมผัส - การเล่น - การสำรวจ - การทดลอง - ประสบการณ์ตรง ฯลฯ ได้อะไร พัฒนาด้านร่างกาย - สุขนิสัย - กล้ามเนื้อใหญ่ - กล้ามเนื้อเล็ก - ความปลอดภัย พัฒนาด้านอารมณ์ และจิตใจ - สุขภาพจิต - คุณธรรม จริยธรรม พัฒนาด้านสังคม - ช่วยเหลือตนเอง - อยู่ร่วมกับผู้อื่น - รักความเป็นไทย - อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาด้านสติปัญญา - คิดแก้ปัญหา - คิดสร้างสรรค์ - ใช้ภาษาสื่อสาร

4 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การจัดประสบการณ์ หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ให้เด็กอายุ ๓-๕ ปีมีโอกาสได้กระทำกิจกรรมด้วยตัวเอง กิจกรรมการเรียนรู้จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์

5 การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย
จุดประสงค์การเรียนรู้ เชิงพฤติกรรม การวัดผลและ ประเมินผล กิจกรรมและประสบการณ์ การเรียนรู้

6 รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการวางแผนเพื่อพิสูจน์ว่านวัตกรรม / วิธีการ ที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพหรือไม่ โดยนำไปใช้ในสถานการณ์จริง แล้วเก็บ รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ ประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน

7 ความมุ่งหมายของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ได้คำตอบตามประเด็นปัญหาโดยออกแบบบนพื้นฐานของทฤษฎี และประสบการณ์ เพื่อกำหนดแบบแผนการจัดประสบการณ์อย่างรอบคอบ 2. เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรโดยเลือกเทคนิคการสุ่ม และแบบแผนการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม 3. เพื่อให้การวัดตัวแปรถูกต้องแม่นยำ เป็นการลดความแปรปรวน และความคลาดเคลื่อนได้

8 ความมุ่งหมายของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
4. เพื่อให้การพัฒนาดำเนินการอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน คือ จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร การออกแบบแผนการจัดประสบการณ์ที่ดี จะช่วยให้ผู้ศึกษาดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 5. เพื่อประหยัดทรัพยากร ทั้งในส่วนของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา

9 การออกแบบการพัฒนา วงจรการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ การเตรียม การพัฒนา
ผลลัพธ์ ความรู้ ทักษะ ความพึงพอใจ ฯลฯ วงจรการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ การวางแผน(Planing) การปฏิบัติตามแผน(Acting) การสังเกตและบันทึกผล (Observing) การสะท้อนผล(Reflecting) การเตรียม การพัฒนา

10 ตัวอย่างการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการออกแบบจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร

11 กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ และรูปแบบการสอนแบบต่างๆ มาใช้ออกแบบการเรียนรู้ โดยกำหนดสถานการณ์หรือสภาพการณ์ต่างๆ ที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติ แล้วทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวัง

12 รุปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
แนวคิด ในการจัด ประสบการณ์ โดยใช้ นวัตกรรม ที่ใช้พัฒนา ผู้เรียน ปัญหาของผู้เรียน ที่ต้องการพัฒนา การวางแผนและ ออกแบบ ในการพัฒนา ศึกษาข้อมูลเอกสารที่ เกียวข้องกับปัญหาผู้เรียน และการจัดประสบการณ์ โดยใช้นวัตกรรม วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวคิด ในการพัฒนาผู้เรียน การจัดประสบการณ์ โดยใช้นวัตกรรม

13 รูปแบบการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดในการจัด ประสบการณ์ โดยใช้ กิจกรรม การเล่านิทาน ด้วยแผ่นรูปภาพ ประกอบการเล่น บทบาทสมมติ เพื่อพัฒนา ความเชื่อมั่น ในตนเอง ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 การวางแผนและออกแบบ ในการพัฒนา ศึกษาข้อมูลเอกสารที่ เกียวข้องกับปัญหาผู้เรียน และการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน ด้วยแผ่นรูปภาพ ประกอบการเล่น บทบาทสมมติ - วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวคิด ความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ความเชื่อมั่นในตนเอง กิจกรรมการเล่านิทาน ด้วยแผ่นรูปภาพประกอบ การเล่นบทบาทสมมติ ตามแนวคิดการเรียนรู้ ดยใช้สมองเป็นฐาน BBL

14 แนวคิดรูปแบบการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองโดยใช้กิจกรรม การเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง การจัดกิจกรรมการเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้ศึกษา แนวคิดการเล่านิทานโดยใช้บทบาทสมมติของอนงค์ ตันติวิชัย (2549 : 99 – 101) ขั้นตอนการเล่านิทานคติธรรมประกอบการเล่นบทบาทสมมติของวราภรณ์ ปานทอง (2548 : 87 – 88) ขั้นตอนการเล่านิทานของ รักตวรรณ ศิริถาพร (2548 : 71) แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง และขั้นตอนการแสดงบทบาทสมมติของชิตาพร เอี่ยมสะอาด (2548 : 83) ตลอดจนแนวคิดของทฤษฎีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg อ้างถึงใน กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 ข : 5) มาเป็นแนวคิดในการสร้างขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง

15 รูปแบบการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองโดยใช้กิจกรรม การเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL ขั้นตอน การเล่านิทาน ด้วยแผ่นรูปภาพ ประกอบการเล่น บทบาทสมมติ ขั้นนำ ขั้นเล่า ขั้นสรุป แนวคิดของ การส่งเสริม พัฒนาความ เชื่อมั่นในตนเอง และทฤษฎีการใช้ เหตุผลเชิงจริยธรรม ของโคลเบอร์ก ขั้นหลีกเลียง การลงโทษ ( 2-7 ปี ) แนวคิดการ เรียนรู้โดยใช้ เศรษฐกิจพอเพียง ขั้นนำ ขั้นกิจกรรม ขั้นสรุป แนวคิดการเล่านิทาน โดยใช้บทบาทสมมติ ของอนงค์ ตันติวิชัย (2549 : 99 – 101) ขั้นนำ ขั้นเล่า ขั้นสรุป ขั้นตอนการแสดง บทบาทสมมติของ ชิตาพร เอี่ยมสะอาด (2548 : 83) ขั้นนำ ขั้นแสดง ขั้นสรุป

16 ขั้นนำ 1. เตรียมความพร้อมของนักเรียน และเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์
1. เตรียมความพร้อมของนักเรียน และเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ในการเล่านิทานและการแสดงบทบาทสมมติที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน 2. นักเรียนเข้าสู่เรื่องราวของนิทานโดยใช้การร้องเพลงประกอบท่าทาง ท่องคำคล้องจอง การใช้ปริศนาคำทาย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ และความพร้อมที่จะเข้าสู่กิจกรรมการเล่านิทาน

17 ขั้นเล่านิทาน 3. นักเรียนฟังนิทานและเรื่องราว ตัวละคร เหตุการณ์
โดยใช้แผ่นรูปภาพประกอบการเล่านิทาน เมื่อเล่านิทานมาถึง จุดที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตนเอง ครูให้นักเรียนแสดง ความคิดเห็นของเรื่องราวนิทานที่จะดำเนินการต่อไป จะเป็นอย่างไรแล้วนักเรียนฟังนิทานต่อไปจนจบเนื้อเรื่อง 4. นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4 – 5 คน ตามความสมัครใจ เพื่อช่วยกันวางแผนแสดง บทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องของนิทานที่ฟังไป แล้วช่วยกันสร้างข้อตกลงในการแสดงบทบาทสมมติ

18 ขั้นเล่าเรื่องย้อนกลับ
5. นักเรียนได้รับสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเล่น บทบาทสมมติ ได้แก่ ที่คาดศีรษะหน้ากาก และเครื่องแต่งกาย ทำจากถุงกระดาษ แล้วแต่ละกลุ่มวางแผนแสดงตามความคิด และจินตนาการของตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัส ให้มากที่สุด 6. นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ พร้อมกันตามข้อตกลงของชั้นเรียนโดยระมัดระวัง พื้นที่ที่ใช้แสดงบทบาทสมมติ

19 ขั้นสรุป 7. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นที่มีต่อตัวละครในเนื้อเรื่อง
ว่าเป็นอย่างไรที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นในตนเองว่ามีข้อดี อย่างไร ในบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร 8. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปถึง พฤติกรรมในการแสดงออกที่เกี่ยวกับ ความเชื่อมั่นในตนเองที่อยากกระทำนั้น มีอะไรบ้าง ตามความคิดที่ถูกต้อง และเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติที่เป็นผลดีต่อตนเองและผู้อื่น

20 จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติ
1. นักเรียนสามารถกล้าแสดงออกถึงพฤติกรรมการเข้าร่วมในกิจกรรมการเล่านิทานได้ 2. นักเรียนสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมความเป็นตัวของตัวเองในกิจกรรม การเล่านิทานได้ 3. นักเรียนสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในกิจกรรมการเล่านิทานได้ 4. นักเรียนสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมความภาคภูมิใจในตนเองในกิจกรรม การเล่านิทานได้ 5. นักเรียนสามารถเล่นบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องนิทานตามความคิดและจินตนาการได้ 6. นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน

21 การเขียนการวัดและประเมินผล
๑. ระบุวิธีวัดให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ๒. ระบุวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ประเมินผล ๓. ระบุพฤติกรรม หรือ สิ่งที่มุ่งวัด

22 พฤติกรรมกล้าแสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรม
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนแสดงความกระตือรือร้น อยากเข้าร่วมกิจกรรม กล้าทดลอง กล้าพูดหรืออธิบายอย่างมั่นใจ สบตาครูและเพื่อนในขณะทำกิจกรรม พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนแสดงความกระตือรือร้น อยากเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมั่นใจ แต่ไม่สบตาครูและเพื่อนในขณะทำกิจกรรม พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนแสดงความกระตือรือร้น อยากเข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น

23 พฤติกรรมความเป็นตัวของตัวเอง
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนกล้าตัดสินใจทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีความสนใจและตั้งใจในการทำกิจกรรมตลอดเวลา พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนกล้าตัดสินใจทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีความสนใจและตั้งใจในการทำกิจกรรมในบางช่วงเท่านั้น พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนกล้าตัดสินใจทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีความสนใจในการทำกิจกรรมในบางช่วงเท่านั้น แต่ไม่ค่อยมีความตั้งใจในการทำกิจกรรม

24 พฤติกรรมการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้โดยยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้ฟังที่ดี ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มได้ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและยอมรับการช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดกิจกรรม พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้ โดยยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้ฟังที่ดี ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มได้ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและยอมรับการช่วยเหลือจากผู้อื่นเป็นบางช่วงของกิจกรรม พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้ เป็นผู้ฟังที่ดี ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มได้ แต่ไม่ให้ความช่วยเหลือและยอมรับการช่วยเหลือจากผู้อื่น

25 พฤติกรรมความภาคภูมิใจในตนเอง
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจในตนเอง ยอมรับการกระทำของตนเองและพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมให้สำเร็จโดยไม่ท้อถอยตลอดกิจกรรม พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจในตนเอง ยอมรับการกระทำของตนเองและพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมให้สำเร็จโดยไม่ท้อถอยในบางช่วงของกิจกรรม พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจในตนเอง และยอมรับการกระทำของตนเองเท่านั้น

26 การเล่นบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่อง
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนช่วยกันวางแผนแสดงบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องของนิทาน และแสดงการเล่นบทบาทสมมติตามความคิดและจินตนาการของกลุ่มได้อย่างดีและอย่างเหมาะสมตลอดกิจกรรมการแสดง พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนช่วยกันวางแผนแสดงบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องของนิทาน และแสดงการเล่นบทบาทสมมติตามความคิดและจินตนาการของกลุ่มได้ บางช่วงของกิจกรรมการแสดง พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนช่วยกันวางแผนแสดงบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องของนิทาน แต่แสดงการเล่นบทบาทสมมติของกลุ่มไม่ได้

27 การปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ ด้วยความสนุกสนาน
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติด้วยความกระตือรือร้น ความสนใจ มีความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยตลอด พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติด้วยความกระตือรือร้นความสนใจ มีความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรมการเล่านิทานเป็นบางช่วงของกิจกรรม พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้บ้าง มีท่าทางไม่เต็มใจในการเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ

28 การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องปลาสายรุ้ง โดย นฤมล เนียมหอม   
แนวคิดพื้นฐาน         "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็กการนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

29 ความหมาย        การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นหลักในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างเป็นองค์รวม

30 หลักการ 1. การจัดการเรียนรู้ควรตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของเด็กในการค้นหาความหมาย การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก การฟังคือที่มาสำคัญของการพัฒนาภาษาคำ ความหมาย และภาษาที่งดงามสร้างขึ้นได้จากนิทาน เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า

31 วิธีการ 1. เลือกวรรณกรรมที่ดีมาอ่านให้เด็กฟังไม่ต้องกังวลที่จะให้เด็กอ่านตามไม่ต้องให้เด็กคอยตอบคำถามไม่ต้องจำเรื่องให้ได้ทำให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะฟังเรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง *** ภาพประกอบในหนังสือจะสื่อความหมายให้สมองรับรู้เรื่องราวที่ได้ฟังและแม้มีคำยากปนอยู่บ้างสมองก็จะพยายามเชื่อมโยงความหมายของคำนั้นกับเรื่องราววิธีเรียนรู้แบบนี้เป็นวิธีเรียนภาษาที่ได้ผลสัมฤทธิ์สูง *** ** เมื่ออ่านให้เด็กฟังติดต่อกันยาวนานพอเด็กจะเริ่มจดจำเรื่องได้ในที่สุดเด็กจะหยิบหนังสือมาเปิดอ่านการสะกดได้จะตามมาภายหลังการสอนอ่านและสอนสะกดทำได้ง่ายมากเมื่อเด็กรักที่จะอ่านแล้ว ***

32 วิธีการ 2. กระตุ้นให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับตัวละครวัตถุสิ่งของ ฉาก หรือสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม โดยใช้คำถามหลายๆ ระดับ ** ลักษณะของคำถาม : ความจำ, ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การนำไปใช้, การประเมินค่า, การสร้างสรรค์ **

33 วิธีการ 3. วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม และสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรมประจำวัน โดยมีศิลปะและละครเป็น องค์ประกอบสำคัญ

34 เด็กๆ ถ่ายทอดความรู้สึกและลำดับเรื่องราวผ่านละครสร้างสรรค์ หลังจาก ได้ฟังนิทานเรื่องปลาสายรุ้ง เป็นการเรียนรู้ที่จะเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสมใน การนำเสนอความคิดด้วยสีหน้า ท่าทาง และคำพูดให้เหมาะสมกับสิ่งที่เด็กๆ ต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ

35 เด็กสนใจที่จะวาดภาพปลาที่เลี้ยงไว้ ทำให้มีโอกาสสังเกตปลาจากมุมมอง ที่ต่างๆ กัน ได้อธิบายในเรื่องตำแหน่งและทิศทางการเคลื่อน ที่ของปลา และได้ สื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด

36 เด็กๆ ช่วยกันตัดกระดาษเป็นเกล็ดปลาสายรุ้งแล้วนำสร้างสรรค์งานร่วมกับเพื่อน เด็กได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำให้เกิดความพอใจ และสนุกสนาน

37 เด็กๆ สนใจเล่นเกมการศึกษาจากวรรณกรรมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็ก มีประสบการณ์ทางภาษาผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน และสื่อความหมายกับเด็ก

38 การให้เด็กเล่นเกมการศึกษาซึ่งเป็นเกมภาษา จากวรรณกรรม ทำให้เด็กได้รับความพึงพอใจ และ ความสนุกสนานผ่านทางภาษาที่มีความหมายต่อเด็ก

39 เด็กสร้างสรรค์ปลาสายรุ้งด้วยขนมปังและแยมสีต่างๆ เด็กรู้จักรูปทรงเรขาคณิต ของขนมปังทั้งที่เป็นแผ่นสี่เหลี่ยม และถูกตัดเป็นสามเหลี่ยมเพื่อเป็นหางปลา

40 หนังสือเล่มใหญ่ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของเด็ก เป็นสื่อที่เด็กให้ความสนใจมาก เด็กๆ มี โอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ และความ ต้องการของเพื่อน

41 4. จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้
จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้โดยทบทวนกิจกรรมที่จัดแล้วร่วมกับเด็กให้เด็กช่วยกันเลือก สิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้เกี่ยวกับวิธีการที่เด็กเรียนรู้และสิ่งที่เด็กเรียนรู้ และร่วมกันจัดนิทรรศการ

42 ผลลัพธ์สำคัญจากการจัดประสบการณ์
เด็กมีนิสัยรักการอ่าน     เด็กมีพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมกับวัย

43 รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง

44 การวางแผนเพื่อพัฒนาสมอง (BBL)
สมองซีกขวา(เหตุผล) (อารมณ์-ความรู้สึก) สมองซีกซ้าย(เหตุผล) (เหตุผล-ตรรกะ) ลักษณะรูปร่าง/ส่วนประกอบ ของมะพร้าว/การเรียงลำดับ การปั้นกากมะพร้าวตากแห้ง/การประดิษฐ์ของเล่นจากมะพร้าว การปลูกมะพร้าว และ ประโยชน์จากมะพร้าว การศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เรื่องมะพร้าว การพัฒนา การคิด และจินตนาการจากการเรียนรู้เรื่องมะพร้าว การเล่นเสรีและเล่นตามมุ/ กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง/เกมการเล่นต่างๆ ปฏิบัติตามข้อตกลง และ กติกาการเล่น เกมต่างๆ จากเกมการศึกษาและ การเล่นตามมุมในกิจกรรมเสรี การพัฒนาการใช้สัญลักษณ์แทนผลของการคิด

45 แนวคิดในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ตามแนวคิด BBL
สร้างความสนใจและเร้าความยากรู้ โดยใช้สื่อหลากหลายในการกระตุ้นการรับรู้ ด้วยประสาทสัมผัส ขั้นนำ: สร้างความสนใจ และเร้าความยากรู้ เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยพยายามให้ใช้หลายอย่างร่วมกัน เพื่อความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ ขั้นกิจกรรม : ผู้เรียนผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 เด็กมีโอกาสได้แสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยการพูด/แสดงผลงานด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น และรับฟังชื่นชมสิ่งที่ได้เรียนรู้ ขั้นสรุป : สร้างความรู้และความชื่นชม

46 การวางแผนประเมินพัฒนาการ
ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ -การปั้นกากมะพร้าวตากแห้งผสมกาว -การวาดภาพระบายสีด้วยส่วนประกอบของมะพร้าว -การประดิษฐ์ของเล่นจากมะพร้าว -เกมการเล่นกลางแจ้งเกี่ยวกับมะพร้าว -การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย -การเล่นเสรี/เล่นตามมุม -การเล่นเกมกลางแจ้งเกี่ยวกับมะพร้าว -การสานใบมะพร้าว - ฯ ล ฯ มะพร้าว ด้านสังคม ด้านสติปัญญา -การเล่นเสรี และเล่นตามมุม -การปฏิบัติตามข้อตกลง -การปฏิบัติตามคำสั่ง -การเล่นเป็นมุม -การศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น - ฯ ล ฯ -การพัฒนา การคิด และจินตนาการ -การศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น -การสนทนาอภิปรายในเนื้อหา/มะพร้าว -เกมทักษะการสังเกตต่างๆ -เกมต่างๆ ที่เด็กได้ฝึกการคิด - ฯ ล ฯ

47 รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์) ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

48 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัว พอประมาณ ทางสายกลาง  พอเพียง เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ ปัญญา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ก้าวหน้า สมดุล มั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

49 ลักษณะของกิจกรรม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ พอเหมาะกับสภาพของตน(ปัจจัยภายใน) พอควรกับภูมิสังคม(ปัจจัยภายนอก) (สมดุล) ความมีเหตุผล รู้สาเหตุ-ทำไม รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิชาการ/กฎหมาย/ความเชื่อ/ประเพณี รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ (รอบรู้/สติ ปัญญา) มีภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทัน และเตรียมความพร้อม (วางแผน/รอบคอบ/เรียนรู้/พัฒนาตน/ทำประโยชน์ให้กับสังคม/รักษ์สิ่งแวดล้อม) คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ

50 - สภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์
ข้อมูลพื้นฐาน - สภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ - องค์ประกอบ / กระบวนการของการคิดวิเคราะห์ แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - คุณลักษณะที่สำคัญคือความพอประมาณ / ความมีเหตุผล / การมีภูมิคุ้มกัน - เงื่อนไขการตัดสินใจที่สำคัญ คือ ความรู้ / คุณธรรม การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้สรุปความรู้ด้วยตนเอง เห็นการคิดวิเคราะห์จากคุณลักษณะของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ให้เป็นคนพอเพียง รู้จักแสวงหาความรู้โดยใช้คุณธรรมกำกับความรู้ ฝึกการคิดวิเคราะห์ ทำอย่างพอดีพอเหมาะบนหลักของเหตุผล ความสามารถการคิดวิเคราะห์ 1. การคิดวิเคราะห์ความสำคัญหรือเนื้อหาของสิ่งต่าง ๆ 2. การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ 3. การคิดวิเคราะห์เชิงหลักการจากสิ่งต่าง ๆ

51 เงื่อนไขความรู้ - รอบรู้ - รอบคอบ - ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม
- ซื่อสัตย์ - สุจริต - ขยัน - พากเพียร - มีสติ - อดทน - ความรับผิดชอบ - ฯลฯ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ สร้างความสนใจและเร้าความอยากรู้ (ความพอประมาณ) ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสังเกตเปรียบเทียบ (ความมีเหตุผล) ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป สร้างความรู้และความชื่นชม (การมีภูมิคุ้มกัน) ความสามารถการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของคนพอเพียงที่สามารถคิดไตร่ตรองก่อนทำ มีเหตุผล หมั่นแสวงหาความรู้โดยมีคุณธรรมกำกับ

52 กากมะพร้าวแห้งผสมกาว ด้วยการปะตัวเลขปฏิทิน
แผนผังความคิดที่จะนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในจัดกิจกรรมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ กิจกรรมประดิษฐ์ ตุ๊กตาจากใบไม้ กิจกรรมปั้นผลไม้จาก กากมะพร้าวแห้งผสมกาว กิจกรรม สร้างสรรค์ กิจกรรมวาดภาพ ด้วยการปะตัวเลขปฏิทิน กิจกรรมวาดภาพ ด้วยผักและผลไม้ กิจกรรมสร้างภาพด้วย ละอองสีจากขวดพ่นน้ำ กิจกรรมประดิษฐ์หมวก จากใบไม้ขนาดใหญ่

53 ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
คำถาม : เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร คำตอบ : การอบรมสั่งสอน พูดบอก การเลียนแบบสิ่งที่พบเห็น สังเกต การค้นพบด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก การฝึกหัด การฝึกฝน

54 : เด็กเรียนรู้ได้ดีเมื่อไร
คำถาม : เด็กเรียนรู้ได้ดีเมื่อไร คำตอบ : มีความสนใจ ทำแล้วสนุกมีความสุข มีความเป็นอิสระ พบความสำเร็จ

55 รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (เพื่อพัฒนา ) ตาม

56 ข้อมูลพื้นฐาน - สภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา แนวคิด

57 ขั้นที่ ขั้นที่ ขั้นที่

58 แผนผังความคิดที่จะนำแนวคิด
แผนผังความคิดที่จะนำแนวคิด ไปใช้ในจัดกิจกรรมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนา กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม

59 สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม สำหรับเด็กปฐมวัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google