วัฒนธรรมทางการเมือง ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็น ความหมายของวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) ประเภทของวัฒนธรรมทางการเมืองของ Almond วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Political Culture) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม (Authoritarian Political Culture) การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่น
ความหมายของวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) Almond and Powell (1966) ให้คำจำกัดความวัฒนธรรมทางการเมืองว่าเป็นเรื่องของแบบอย่างของทัศนคติ (Attitudes) และความโน้มเอียง ซึ่งบุคคลในฐานะสมาชิกของระบบการเมืองมีต่อการเมือง ทั้งนี้ความโน้มเอียงก็คือ ท่าที (Presuppositions) ที่จะมีการกระทำทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่ง และทัศนคติก็อาจจะไม่แสดงออกชัดเจน แต่ อาจแฝงอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับระบบการเมืองนั้น เพราะฉะนั้นวัฒนธรรม ทางการเมืองจึงถือเป็นเครื่องมือชี้แนะแนวทางในการประพฤติปฏิบัติทางการเมืองแก่บุคคล โดยช่วยตีความสิ่งที่เป็น การเมืองสำหรับสังคมส่วนรวม วัฒนธรรมทางการเมืองเปรียบเหมือนแผนที่ของค่านิยมและปทัสถานทางการเมืองที่ แสดงถึงความสอดคล้องของทั้งปัจเจกบุคคลและสถาบันหรือองค์กรทางการเมืองต่างๆ มีความสอดคล้องกัน พอสมควร
ประเภทของวัฒนธรรมทางการเมืองของ Almond Almond & Verba (1963) ได้แบ่งประเภทของวัฒนธรรมการเมือง ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.แบบคับแคบ (Parochial political culture) 2.แบบไพร่ฟ้า (Subjective political culture) 3.แบบมีส่วนร่วม (Participant/ civic political culture)
1.วัฒนธรรมแบบคับแคบ (Parochial Political Culture) หมายถึง การที่คนในสังคมมีความโน้มเอียงต่อความรู้สึกต่อระบบการเมืองน้อยมาก กล่าวคือ บุคคลแทบจะไม่มี ความสัมพันธ์กับระบบการเมืองเลย เขาจะไม่คิดว่าการเมืองในระดับชาติจะกระทบเขาได้และเขาก็ไม่หวังว่าระบบ การเมืองระดับชาติจะตอบสนองความต้องการอะไรของเขา สังคมที่อาจมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ ก็คือ บรรดาสังคมเผ่าทั้งหลายในแอฟริกาหรือชาวเขาต่างๆ ซึ่งคนในแต่ละเผ่าอาจไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบการเมือง ระดับชาติเลย มีการรับรู้ที่แคบอยู่แต่ในเฉพาะกิจการของเผ่าตน วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบมักจะปรากฏในสังคมที่ไม่มีการแบ่งแยกบทบาททางการเมืองออกจากบทบาทอื่น กล่าวคือ การเป็นหัวหน้าเผ่า เป็นการผสมผสานบทบาทต่างๆ ทั้งในด้านการเมือง-เศรษฐกิจ-ศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน ดังนั้นความโน้มเอียงทางการเมืองของคนในสังคมจึงแยกไม่ออกจากความโน้มเอียงทางสังคมและศาสนา
2.วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject Political Culture) หมายถึง เมื่อคนส่วนใหญ่ในสังคมรู้จักสถาบันทางการเมืองเฉพาะอย่าง และมีความรู้สึกต่อสถาบันทางการเมือง เหล่านี้ ทั้งในแง่บวกหรือแง่ลบ อีกทั้งสามารถประเมินค่าว่าชอบธรรมหรือไม่ แต่เขาจะมีความสัมพันธ์กับระบบ การเมืองโดยทั่วไป และกับปัจจัยนำออกจากสถาบันเท่านั้น กล่าวคือ ผู้ที่อยู่ในฐานะผู้รอรับผลจากระบบการเมืองโดย ที่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการของตนต่อระบบ แม้เขาจะเคารพเชื่อฟังระบบแต่ก็มองว่าเขาเองแทบจะ ไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อระบบ
3.วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participant Political Culture) หมายถึง เมื่อคนในสังคมมีความรู้สึก เกี่ยวกับระบบการเมืองและส่วนต่างๆ ของมันมาก จะเป็นทางบวกหรือทางลบก็ ได้ และมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีบทบาททางการเมือง
ข้อค้นพบเพิ่มเติม ในสภาพความเป็นจริง ไม่มีสังคมใดที่จะมีวัฒนธรรมทางการเมืองเหมือนกันกับตัวแบบข้างต้นไปเสียทีเดียว หรือ วัฒนธรรมการเมืองอย่างเดียวกันทั่วสังคม สิ่งที่เป็นไปได้มากกว่าคือ การมีวัฒนธรรมการเมืองแบบผสมต่างๆ ดังนี้ 1.วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมแบบไพร่ฟ้า (Parochial-Subject) 2.วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ผสมแบบมีส่วนร่วม (Subject-Participant) 3.วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมแบบมีส่วนร่วม (Parochial-Participant)
1.วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมแบบไพร่ฟ้า (Parochial-Subject) มีลักษณะประชาชนพลเมืองกำลังเริ่มผูกพันน้อยลงกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบของท้องถิ่นตนเอง และเริ่ม มีความจงรักภักดีมากขึ้นต่อสถาบันทางการเมืองการปกครองของส่วนกลาง แต่ความสำนึกว่าตนเองเป็นพลังทาง การเมืองหนึ่ง ยังคงมีน้อย กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือมีการยอมรับนับถือและปล่อยให้อภิสิทธิ์ชนทางชนชั้นทางการเมืองทำ การปกครองไปโดยตนไม่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย วัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้คือ แบบที่ปรากฏมากในช่วงแรกๆ ของ การรวมท้องถิ่นต่างๆ เป็นอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยโบราณ.
2.วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ผสมแบบมีส่วนร่วม (Subject-Participant) มีลักษณะประชาชนพลเมืองจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พวกที่มีความเข้าใจถึงบทบาททางการปัจจัยการนำเข้า มากและมีความไวต่อสถาบันทางการเมืองทุกชนิด และมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมทางการเมือง กับอีกพวก คือ ยังคงยอมรับในอำนาจของอภิสิทธิ์ชนทางการเมืองและมีความเฉื่อยชาทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้ ปรากฏในในยุโรปตะวันตก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี ในศตวรรษที่ 19
3.วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมแบบมีส่วนร่วม (Parochial-Participant) มีลักษณะที่พบได้ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่แต่เดิมอำนาจของรัฐบาลกลางอ่อน มีท้องถิ่น ต่างๆ ที่มีวัฒนธรรมแบบคับแคบดำรงอยู่มาก เมื่อจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสมัยใหม่ให้ประชาชนได้มีส่วน ร่วม จึงเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมใหม่กับวัฒนธรรมเก่าที่คับแคบ ปัญหาในกรณีนี้มิใช่แต่ปัญหาการ สร้างกระบวนการในการที่ประชาชนจะเข้าร่วมทางการเมืองเท่านั้น หากแต่รวมถึงปัญหาในการสร้างโครงสร้างด้าน ปัจจัยนำออกหรือด้านการปกครองควบคู่กันไปด้วย
ข้อสังเกต ระดับของวัฒนธรรมทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วนร่วม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบผสมไพร่ฟ้า วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบผสมมีส่วนร่วม
ทัศนะของ Almond &Verba (1963) มองว่า วัฒนธรรมการเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประชาธิปไตยมากที่สุด คือวัฒนธรรมการเมืองแบบผสม หรือ ที่ เรียกว่า Civic Culture ซึ่งเป็นอัตราส่วนการผสมผสานของวัฒนธรรมการเมือง คือ คับแคบ : ไพร่ฟ้า : มีส่วนร่วม ใน อัตราส่วน 10 : 30 : 60 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เน้นให้ประชาชนส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม และมี ประชาชนอีกกลุ่มมีความสนใจการเมืองการปกครองแบบไพร่ฟ้า ซึ่งจะสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีวัฒนธรรม ทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมในอนาคตได้ ขณะเดียวกันยังคงยอมรับว่าในสังคมยังมีคนอีกกลุ่มที่เป็นคนส่วนน้อยที่ไม่ สนใจประเด็นใดๆ ในทางการเมือง
Pye and Verba (1965:529-550) ได้สรุปให้เห็นว่า วัฒนธรรมทางการเมืองนั้นส่งผลกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไว้หลายประการ กล่าวคือ ประการแรก ความรู้สึกถึงอัตลักษณ์ของชนชาติ (National Identity) ซึ่งหากประชาชนกลุ่มต่างๆ ขาดความรู้สึก ความผูกพัน ความสำนึกถึง ความสำคัญของรัฐชาติร่วมกันแล้ว ก็ย่อมนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกแยกหรือความล่มสลายของรัฐชาติ ประการที่สอง ความรู้สึกผูกพันกับเพื่อนร่วมชาติและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งถือเป็นความสัมพันธ์ในแนวนอน อันสะท้อนถึงพื้นฐาน ของการสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ ประการที่สาม ความรู้ ความเข้าใจ และความคาดหวังเกี่ยวกับบทบาท และผลกระทบของรัฐบาลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และสังคมของ ประเทศ ซึ่งการที่ประชาชนในประเทศไม่ให้ความสนใจต่อการทำงานของรัฐบาลย่อมสะท้อนให้เห็นว่า วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชาตินั้นอยู่ใน แบบที่เรียกว่าคับแคบ อันส่งผลให้การปกครองมีแนวโน้มในแบบเผด็จการหรืออำนาจนิยมได้ แต่ถ้าประชาชนในฐานะพลเมืองเล็งเห็นว่า สิ่งที่ตน คาดหวังจากรัฐบาลนั้นไม่สามารถบรรลุผลได้ก็ย่อมนำไปสู่ปัญหาที่เรียกว่า การดื้อแพ่ง (Civil Disobedience) ขึ้นตามมาได้เช่นกัน เพราะถือเป็น เครื่องมือหนึ่งในการตอบโต้รัฐบาล
Pye and Verba (1965:529-550) ประการที่สี่ ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกต่อกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายทางการเมือง ตลอดจนการประเมินบทบาทของ ตนเองต่อนโยบาย ซึ่งภายใต้กระบวนการนโยบายแบบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนต้องสามารถเข้ามีส่วนร่วมคิด รับรู้ แสดงหรือเสนอต่อสาธารณะ ได้ ประการสุดท้าย รูปแบบของการแสดงออกทางการเมือง ควรอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมทั้งในแง่อุดมการณ์ (Ideological Style) และในแง่การ ยึดบรรทัดฐานประเพณีที่พึงปฏิบัติกันมา (Pragmatic Style) ซึ่งหมดอาจนำไปสู่ความแตกแยกและความขัดแย้งในทางการเมืองได้ เพราะฉะนั้นจากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า วัฒนธรรมทางการเมืองนั้นมีผลต่อการสร้างประชาธิปไตยให้มั่นคงได้ ซึ่งรวมไปถึงเสถียรภาพทาง การเมืองของรัฐบาลด้วย เนื่องจากวัฒนธรรมคือความโน้มเอียงที่เป็นรากฐานของการประพฤติและปฏิบัติของประชาชนในสังคม
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Political Culture) 1)ปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism) 2)เสรีภาพ (Liberty or Freedom) 3)เหตุผล (Reason) 4)ความเสมอภาค (Equality) 5)ขันติธรรม (Toleration) อดทนต่อความคิดเห็นของผู้อื่น 6)ฉันทานุมัติ (Consent) และ 7)รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism)
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม (Authoritarian Political Culture) 1)ต่อต้านลัทธิเสรีนิยม (Anti-Liberalism) เพราะทำให้ขาดเอกภาพทางสังคมเนื่องจากมีบทบาทปัจเจกบุคคลมากเกินไป 2)ต่อต้านลัทธิสังคมนิยม (Anti-Socialism) ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แต่ข้อหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาคือสังคมนิยมทำ ให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้น 3)สังคมเป็นอินทรียภาพ (Organicism) มองสังคมเป็นสิ่งมีชีวิต 4)รัฐนิยม (Statism) 5)ชาตินิยม (Nationalism) 6)ผู้นำ (Leader) และ 7)บรรษัทนิยม (Corporatism) รัฐตั้งบรรษัทขึ้นมาเพื่อดูแลกิจกรรมที่สำคัญของประเทศ โดยมีตัวแทน 3 กลุ่ม คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และ ตัวแทนฝ่ายรัฐ
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) Almond and Powell (1966:64) ได้ให้ความหมาย การกล่อมเกลาทางการเมือง ไว้ว่าเป็นการนำมาซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแก่ ประชาชนในระบบการเมือง โดยเป็นกระบวนการสร้างและการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมืองจาก คนรุ่นไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง หรือทำให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งของระบบการเมือง ที่ได้รับจาก ประสบการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะช่วยรักษาวัฒนธรรมทางการเมืองเดิมเอาไว้ หรือนำมาซึ่งความ เปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมทางการเมืองเดิม หรือก่อให้เกิดการก่อตัวของวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ขึ้นมาก็ได้ Easton and Dennis (1969:7) อธิบายว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นวิธีการที่สังคมส่งผ่านความโน้มเอียงทางการเมือง อัน ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ปทัสถาน และค่านิยม จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีกระบวนการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ สมาชิกใหม่ ของระบบการเมืองซึ่งได้แก่ เด็กๆ ก็จะต้องแสวงหารูปแบบความโน้มเอียงเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา อันจะย่อม มีผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเมือง
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) ดังนั้นการกล่อมเกลาทางการเมือง ก็คือ กระบวนการถ่ายทด กล่อมเกลา และส่งผ่านความคิดทางการเมือง จากบุคคล รุ่นหนึ่งไปยังบุคคลอีกรุ่นหนึ่งผ่านทางสถาบันทางสังคมต่างๆ ในสังคม ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นๆ เกิดความรู้ ทัศนคติ ปทัสถาน และค่านิยมที่เกี่ยวกับระบบการเมืองตามสิ่งที่ได้รับมาจากกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง ทั้งนี้สามารถ กล่าวได้ว่า การที่พลเมืองในแต่ละสังคมจะมีวัฒนธรรมทางการเมืองในลักษณะใดนั้น ต่างก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง หรือการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งมีสถาบันทางสังคมต่างๆ ทำหน้าที่ในการ ถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง เช่น ครอบครัว โรงเรียน ความสัมพันธ์ทางสังคม สถาบันต่างๆ ศาสนา และ สื่อมวลชน เป็นต้น
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) 1.องค์กร (Organization) ได้แก่ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ระบบราชการ สหภาพแรงงาน และโรงเรียน เป็นต้น โครงสร้างในการรวมตัวค่อนข้างจะเป็นทางการ องค์กรนั้นอาจไม่ได้อยู่ในโครงสร้างของระบบการเมืองก็ได้ เช่น โรงเรียน แต่ก็สามารถทำหน้าที่ในฐานะช่องทางสื่อสารทางการเมืองที่สำคัญได้ (ได้แก่ การเรียนรู้ทางการเมือง) องค์กร แม้จะมีโครงสร้างคล้ายกัน แต่ก็อาจมีศักยภาพในการสื่อสารต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ใช้ และรูปแบบของ ระบบการเมือง
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) 2.กลุ่ม (Group) กลุ่มจะต่างจากองค์กรในฐานะที่มีความมั่นคง ความเป็นสถาบัน และความร่วมมือน้อยกว่า แต่ก็มีบทบาทสำคัญ ในการสื่อสาร ดังที่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารไม่ได้ผ่านจากสื่อมวลชนไปยังประชาชนโดยตรง แต่จะผ่านจาก บุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้นำความคิดเห็นไปยังอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะเผชิญหน้ากัน พฤติกรรมดังกล่าวมาปรากฏในกลุ่ม ครอบครัว กลุ่มเพื่อน เป็นต้น ลักษณะการสื่อสารแบบนี้เรียกว่า “การสื่อสารสองขั้นตอน” (Two-Step Flow of Communication) การที่ต้องมีกลุ่มก็เพราะช่องทางในการสื่อสารที่เป็นทางการ (องค์การ) ไม่สามารถรวบรวม และวิเคราะห์ข่าวสารได้อย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยกลุ่มช่วย แต่กลุ่มก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไปสำหรับระบบการเมือง เพราะกลุ่มจะทำหน้าที่ในการสื่อสารทาง การเมืองน้อยมาก และไม่ต่อเนื่อง ผู้นำในระบบการเมืองแบบปิดนิยมใช้องค์การและสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการควบคุม ประชาชนมากกว่าช่องทางอื่นๆ ในขณะที่ผู้นำในระบบการเมืองแบบเปิดและมีความคิดแบบพหุนิยม (Pluralism) สูง จะให้ ความสำคัญกับกลุ่มมาก เพื่ออาศัยเป็นช่องทางในการสื่อสารทางการเมือง
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) 3.สื่อมวลชน (Mass Media) สื่อมวลชนจะทำหน้าที่รายงานข่าวสารหรือ เหตุการณ์ต่างๆ ให้คนในระบบการเมืองได้รับรู้ ในทาง ปฏิบัติแล้วคนที่จะพึ่งสื่อมวลชนก็เฉพาะข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น เช่น การรณรงค์เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะช่องทางการ สื่อสารอื่นๆก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ดังนั้น สื่อมวลชนจะเป็นเพียงตัวเชื่อมระหว่างบุคคล กลุ่ม และรัฐบาล เพื่อให้ได้มาซึ่ง ข่าวสารต่างๆ เช่นการแถลงนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนก็ได้ถูกนำมาใช้ในวิถีทางการเมืองมาก เช่น หนังสือพิมพ์ จะเป็นตัวชี้ให้ผู้ปกครองหรือรัฐบาลรู้ว่า ปัญหาใดเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยดูจากการพาดหัวข่าวซึ่งเท่ากับเป็นการ สะท้อนให้เห็นมติมหาชน นอกจากนั้นยังกระตุ้นให้ประชาชนรู้ว่า เขาควรจะให้ความสนใจประชาชนในเรื่องใด ซึ่งมีผลกระทบต่อ วิถีชีวิตของตน การให้ข่าวต่อสื่อมวลชนของนักการเมืองก็อาจเป็นการทดสอบปฏิกิริยาของมติมหาชนก่อนที่จะมีการเสนอ นโยบายอย่างเป็นทางการ จึงอาจกล่าวได้ว่าสื่อมวลชนในฐานะช่องทางสื่อสารทางการเมืองได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อ วิถีชีวิตทางการเมืองของส่วนรวม แต่การจะให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อมวลชนจำเป็นต้องประสานความร่วมมือ หรือเชื่อมโยงกับช่องทางอื่นๆ ด้วย เช่นองค์การ
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) 4.ช่องทางพิเศษ (Special Channel) ได้แก่ การแสดงออกต่างๆ ของประชาชน เช่น การเดินขบวนประท้วงซึ่งถือว่าเป็น ช่องทางพิเศษในการสื่อสาร เพื่อเรียกร้องและรวบรวมผลประโยชน์ของประชาชนเข้าด้วยกัน ให้ผู้ปกครองหรือรัฐบาล ได้รับรู้ความต้องการ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์พิเศษเพียงครั้งคราวไม่คงทนถาวร แต่ก็อาจจะก่อให้เกิด ผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของระบบการเมือง และวิถีทางการเมืองของประชาชน
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) ตัวแทน (Agent) ที่ทำหน้าที่ในกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง 1.ครอบครัว ในทุกสังคมการขัดเกลาขั้นปฐมภูมิจะเกิดขึ้นในครอบครัว เครือญาติ ในขั้นนี้เด็กจะเริ่มเรียนรู้ถูกผิดตาม ความหมายของวัฒนธรรมนั้น รวมทั้งเรียนรู้วัฒนธรรมบางประการที่เป็นแบบแผนในการแสดงบทบาทที่เหมาะสม สำหรับวัยและเพศของตน การกล่อมเกลาทางการเมืองที่แจ้งชัด เกิดขึ้นน้อยมาก แต่แนวการวิเคราะห์ทางจิตวิทยาจะ เน้นว่าครอบครัวมีความสำคัญมาก เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่บุคคลได้เรียนจากครอบครัวจะได้รับการถ่ายเทไปสู่ บทบาททางการเมืองต่อไป เพราะการเรียนรู้ทางปฐมภูมิเป็นการเรียนรู้ที่สนิทสนม เป็นการเรียนรู้ที่ฝังรากลึกมากกว่า การเรียนรู้จากทุติยภูมิ ซึ่งเป็นกลุ่มที่บุคคลมีความสัมพันธ์ด้วยแต่เฉพาะในบทบาทหนึ่งอีกทั้งขาดความต่อเนื่องไม่เป็น ประจำด้วย
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) 2.กลุ่มเพื่อน กลุ่มเพื่อน เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะเท่าเทียมกันและมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นต่อกัน เป็นตัวแทนการกล่อมเกลาทาง สังคมขั้นปฐมภูมิ ที่มีความสำคัญตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไปและมีอิทธิพลตลอดชีวิต ในด้านการเมือง กลุ่มเพื่อนจะให้บทเรียนทางการ เมืองขั้นต้นแก่บุคคล อีกทั้งยังสามารถเตรียมบุคคลให้พร้อมที่จะรับประสบการณ์ที่มีความเป็นการเมืองโดยเฉพาะได้ เช่นการหล่อ หลอมให้เขามีความรู้สึกว่าเขาเป็นคนจำพวกใด ชาติพันธุ์ใด นับถือศาสนาใด เป็นต้น 3.สถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียน เป็นตัวแทนในการกล่อมเกลาที่เป็นทางการ เป็นการกลุ่มเกลาที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างปฐมภูมิกับทุติยภูมิ สถาบันการศึกษาทำหน้าที่กล่อมเกลาทางการเมือง 3 ทางคือ 1) โดยการจำลองรูปแบบสังคม การเมือง 2) ในทางตรง โดยการสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ และบทเรียนต่างๆ 3) ในทางอ้อม เป็นการเรียนรู้ผ่านวิถีปฏิบัติภายใน สถาบันการศึกา เช่น การเคารพกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นต้น
การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) 4.สื่อมวลชน ในสังคมสมัยใหม่ สื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทในการกล่อมเกลาทางการเมืองมากขึ้น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นตัวการทำให้การสื่อสารเกี่ยวกับเหตุการณ์และปรากฏการณ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นจากรัฐบาลถึง ประชาชนหรือจากกลุ่มคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง หรือแม้แต่มุมหนึ่งของโลกถึงอีกมุมหนึ่งเป็นได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น 5.สถาบันทางการเมือง และองค์กรการเมืองต่างๆ ทั้งนี้สถาบันทางการเมืองต่างๆ เช่น รัฐบาล รัฐสภา พรรคการเมือง ถือเป็นตัวแทนในการกล่อมเกลาทางการเมืองที่เป็นทางการ และมีลักษณะทุติยภูมิ มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ กล่อมเกลาทางการเมืองประชาชนพลเมืองโดยตรง และมีส่วนเชื่อมสัมพันธ์กับการสร้างให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ทางการเมืองด้วย
วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่น
วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่น การเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยมีแบบแผนวัฒนธรรมการเมืองแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 3 แบบคือ (1) วัฒนธรรมการเมืองแบบปรึกษาหารือ ซึ่งพัฒนามาจากความโดดเด่นของการมีองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง (2) วัฒนธรรมการเมืองแบบแข่งขัน-ทำลายล้าง ซึ่งพัฒนามาจากการแย่งชิงและยึดครอง ฐานเสียงและผลประโยชน์ ทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองในระดับชาติ และท้องถิ่น และ (3) วัฒนธรรมการเมืองแบบรวมศูนย์-ผูกขาดอำนาจทางการเมือง ซึ่งพัฒนามาจากการรวมศูนย์อำนาจและการ จัดระบบความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครองแนวดิ่งในอดีต
วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่น วัฒนธรรมการเมือง ท้องถิ่นทั้ง 3 แบบนี้พบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทต่างๆ ใน สัดส่วนที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมการเมืองแบบปรึกษาหารือมักจะพบใน อบต. มากกว่าที่อื่นๆ วัฒนธรรมการเมืองแบบรวมศูนย์-ผูกขาด อำนาจมักจะ พบในเทศบาล สำหรับ อบจ. นั้น ยังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์เพียงพอที่จะสรุป ได้ แ บ บ แ ผ น วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร เ มื อ ง ข อ ง ท้ อ ง ถิ่ น มี ค ว า ม สั ม พั น ธ์ กั บ ขี ด ความสามารถในการริเริ่มนโยบายการพัฒนาใหม่ๆ ของท้องถิ่นค่อนข้าง ชัดเจน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรมแบบปรึกษาหารือมีขีด ความสามารถในการริเริ่ม และขับเคลื่อนนโยบายในเชิงนวัตกรรมได้สูงกว่า วัฒนธรรมแบบอื่นๆ
THANKS