Click to edit Master title style Competitors You may want to allocate one slide per competitor Strengths Your strengths relative to competitors Weaknesses Your weaknesses relative to competitor Company Logo
บรรยายพิเศษ เรื่อง ข้อสังเกตจากการตรวจสอบบัญชีกองทุน พัฒนาฝีมือแรงงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โรงแรมดิเอมเมอรัลต์ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 1๖ มกราคม 256๒ โดย...นางกุลิสราพ์ บุญทับ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการเงินและบริหารพัสดุที่ ๘ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
กระบวนการบริหารจัดการ วัตถุดิบ/วัสดุอุปกรณ์ การบรรลุวัตถุประสงค์ แผนภาพการบริหารงบประมาณจากปัจจัยนำเข้า ถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ หรือ ผลสัมฤทธิ์ ประหยัด Economy ประสิทธิภาพ Efficiency ประสิทธิผล Effectiveness Input ปัจจัยนำเข้า Management Process กระบวนการบริหาร Management Process กระบวนการบริหารจัดการ Output ผลผลิต Out comes ผลลัพธ์ Impacts ผลกระทบ คน เงิน วัตถุดิบ/วัสดุอุปกรณ์ อื่นๆ ปัจจัยนำเข้า ที่ถูกแปรสภาพ Transferred Inputs เป้าหมาย Target ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การบรรลุวัตถุประสงค์ Objective goals เป้าประสงค์ สุดท้าย Ultimateaim
ผลลัพธ์ OUTCOME จัดทำหรือดำเนินงานโดยหน่วยงานรัฐ ผลประโยชน์ที่สาธารณะชนและองค์กร ภายนอกได้รับจากการใช้ประโยชน์จากผลผลิต/บริการ จัดทำหรือดำเนินงานโดยหน่วยงานรัฐ เป็นผลที่ตามมาจากการใช้ผลผลิต/บริการ เป็นการตอบคำถามว่า “ ทำไมจึงต้องดำเนินการให้ได้ผลผลิตนั้น ” (Why?)
ผลกระทบ IMPACT ผลที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องจากการดำเนินงานของรัฐโดยตรง เกิดจากผลลัพธ์อีกทอดหนึ่ง อาจมีลักษณะเป็นผลพลอยได้ นอกเหนือจากที่ตั้งใจจะให้เกิดขึ้นโดยตรง เป็นทั้งทางบวกและลบ ที่รัฐต้องตัดสินใจ
ตัวชี้วัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) ปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quality) เวลา/สถานที่ (Timeliness/Place) ต้นทุน (ค่าใช้จ่าย) Cost (Price) กลุ่มเป้าหมาย (Target)
B. ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เป็นการเปลี่ยนแนวทางการจัดทำงบประมาณที่เน้นการควบคุมทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานมาเป็นการมุ่งเน้นการดำเนินงานและผลสำเร็จของผลผลิตผลลัพธ์โดยมีการวัดผลสำเร็จ(Performance Measures) ของผลงานดังกล่าวด้วยหน่วยนับการวัดและประเมินผลหรือตัวชี้วัดที่ชัดเจนสมบูรณ์ ใช้ได้จริงและเหมาะสมกับเวลารวมทั้งต้องครอบคลุมทั้งปริมาณ คุณภาพ เวลา สถานที่ เป้าหมาย กลุ่มผู้รับประโยชน์ และค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ระบบงบประมาณแบบใหม่ ให้ความสำคัญในเรื่อง ผลผลิต ผลลัพธ์ (Output and Outcomes) ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส และการรายงาน การมอบอำนาจการจัดทำและการบริหารงบประมาณ การเพิ่มขอบเขตครอบคลุมงบประมาณ การจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะสั้น (แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี) และระยะปานกลาง
เกณฑ์การตรวจสอบ ความประหยัด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า ความประหยัด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า ความเพียงพอ ความคุ้มค่าของการใช้จ่าย ต้นทุนต่อประสิทธิผล ความเสมอภาค หลักเกณฑ์และวีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
หลักธรรมมาภิบาล (Good Governance) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เน้นให้ทุกส่วนราชการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้การเบิกจ่าย เงินงบประมาณ หรือเงินนอกงบประมาณการบริหารจัดการพัสดุ ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และประกาศสั่งการที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้องปฏิบัติงาน ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้รับบริการ และไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน
หลักธรรมรัฐ Good Governance การกำกับดูแลที่ดีในภาครัฐ บริหารดี (งาน คน เงิน เวลา) มีเสรีทางการเมือง ทำให้เกิดความรุ่งเรืองในเศรษฐกิจ มีสิทธิในสังคม (เสรีภาพ เสมอภาค เป็นธรรม) ธำรงวัฒนธรรม นำมาซึ่ง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด ขจัดปัญหาคอร์รัปชั่น มุ่งมั่นให้มีการตรวจสอบ ความชอบด้วยกฎหมาย โปร่งใสและเป็นธรรม นำมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล หลักธรรมมาภิบาล มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการดังนี้ 1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักความโปร่งใส 4. หลักความมีส่วนร่วม 5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความคุ้มค่า
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 1. หลักนิติธรรม คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับ และกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม กล่าวโดยสรุป คือ สถาปนาการปกครอง ภายใต้กฎหมาย มิใช่กระทำกันตามอำเภอใจ หรืออำนาจของบุคคล
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 2. หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้อง ดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงาม ให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคม ถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 3. หลักความโปร่งใส คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานขององค์กร ให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผล ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน และช่วยให้การทำงานของภาครัฐและภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 4. หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชน มีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญ ๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทาง ในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็นการไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์การแสดงประชามติ หรือ อื่น ๆ และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำ ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออำนวย ความสะดวกต่าง ๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่อง ในหน้าที่การงาน ที่ตนรับผิดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหารต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจาเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่าซึ่งจำเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมาย ไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 22
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ การบังคับใช้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ คำนิยาม “หน่วยรับตรวจ” หมายความว่า 1. กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเป็น กระทรวง ทบวง หรือกรม 2. หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค 3. หน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น 4. รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ และตามกฎหมาย อื่น
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ คำนิยาม (ต่อ) “หน่วยรับตรวจ” หมายความว่า 5. ทุนหมุนเวียน 6. หน่วยงานอื่นของรัฐ 7. หน่วยงานที่รัฐมิได้จัดตั้งขึ้นแต่ได้รับเงินอุดหนุน หรือกิจการที่ได้รับเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจาก หน่วยรับตรวจตาม (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินอุดหนุนหรือกิจการ ดังกล่าว 8. หน่วยงานอื่นใดหรือกิจการใดที่มีกฎหมาย กําหนดให้สํานักงานเป็นผู้ตรวจสอบ หรือที่มี กฎหมายกําหนดให้มีสิทธิร้องขอให้สํานักงานเป็น ผู้ตรวจสอบ
“ตรวจเงินแผ่นดิน” หมายความว่า ตรวจสอบการเงินของหน่วยรับ ตรวจ ซึ่งรวมถึงตรวจ การจัดเก็บรายได้ การรับ การใช้จ่าย การใช้ประโยชน์ การเก็บรักษา และ การบริหารซึ่งเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ และ ผลประโยชน์ของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความ ครอบครองหรืออํานาจใช้จ่ายของหน่วยรับตรวจว่า เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ คณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ หรือไม่ และตรวจว่า การใช้จ่ายเงินหรือการใช้ ประโยชน์นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพหรือไม่ รวมตลอดถึง การตรวจสอบรายงานการเงิน ของหน่วยรับตรวจและแสดงความเห็นต่อผลของการ ตรวจสอบ และการตรวจสอบอื่นที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
หมวด 1 บททั่วไป มาตรา ๑๐ การตรวจเงินแผ่นดินต้องกระทําด้วย ความสุจริต รอบคอบ โปร่งใส เที่ยงธรรม กล้าหาญ ปราศจากอคติ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
หมวด 1 บททั่วไป มาตรา ๑๐ วรรคสอง การตรวจสอบต้องคํานึงถึงการดําเนินการตาม หน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงความคุ้มค่า ความสงบเรียบร้อย ความไว้วางใจ ของสาธารณชน การดําเนินงานโดยสุจริต ผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของหน่วยรับตรวจ และการป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงิน การคลังของรัฐด้วย
หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 11 ในการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน และให้โอกาสเจ้าหน้าที่ของหน่วย รับตรวจได้ชี้แจงเหตุผลและแสดงพยานหลักฐานของตน
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน หมวด ๓ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
มาตรา ๒๗ ๒. เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย ๑. เงินที่โอนมาจากเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีและดำเนินการบริหารกองทุนตามระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2539 ๒. เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ ๓. เงินสมทบที่ผู้ประกอบกิจการส่งเข้ากองทุน
มาตรา ๒๗ ๔. เงินและหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้กองทุน กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย (ต่อ) ๔. เงินและหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้กองทุน ๕. ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน ๖. เงินและหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนนอกจาก (๑) ถึง (๕) ที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด
มาตรา ๒๘ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (๑) ให้ผู้รับการฝึกกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการเข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้ (๒) ให้ผู้ดำเนินการฝึก ผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและผู้ประกอบกิจการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกอบรมฝีมือแรงงานหรือการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๘ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (ต่อ) (๓) ช่วยเหลือหรืออุดหนุนกิจการใดๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (๔) ใช้จ่ายในการบริหารกองทุน การให้กู้ยืมเงินกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง คณะกรรมการอาจจัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละห้าของเงินกองทุนแต่ละปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน
มาตรา ๒๙ ให้ผู้ประกอบกิจการซึ่งประกอบกิจการในประเภท ชนิด ขนาด และมีจำนวนลูกจ้าง รวมทั้งมีสัดส่วนของจำนวนผู้รับการฝึกกับจำนวนลูกจ้างทั้งหมด และอยู่ในท้องที่ตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกาศกำหนด ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในมาตรา ๓๐ เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๑ แล้ว
มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบจากผู้ประกอบกิจการตามมาตรา ๒๙ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดอัตราเงินสมทบไม่เกินร้อยละหนึ่งของค่าจ้างที่ผู้ประกอบกิจการจ่ายในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการส่งเงินสมทบรวมทั้งวิธีการเรียกเก็บเงินสมทบจากผู้ประกอบกิจการ ค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๓๑ ผู้ประกอบกิจการรายใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในเวลาที่กำหนด หรือจ่ายไม่ครบตามสัดส่วนจำนวนผู้รับการฝึกอบรมกับจำนวนลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนของเงินสมทบที่ยังไม่ได้นำส่งหรือของเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบสำหรับเศษของเดือนถ้าถึง ๑๕ วันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง
มาตรา ๓๑ (ต่อ) ในกรณีที่อธิบดีมีคำสั่งให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบหรือเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้มีหน้าที่ไม่ยอมชำระเงินดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับ และในกรณีไม่มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับตามคำสั่ง ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อบังคับชำระเงินได้
มาตรา ๓๒ ภายใน ๖ เดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้คณะกรรมการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ งบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินดังกล่าว ให้รัฐมนตรีเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ และจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อสังเกตจากการตรวจสอบ 4. ผลกระทบ ที่เป็นตัวเงินและไม่สามารถคิดมูลค่าได้ (Risk/ความเสี่ยง) 2. สิ่งที่เป็นอยู่ (ข้อตรวจพบ) 3. สาเหตุ 1. สิ่งที่ควรจะเป็น (กฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ หนังสือสั่งการ คู่มือ) 5. นำสาเหตุของปัญหา มากำหนดแนวทางแก้ไข เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุมเพียงพอ ทำให้เกิดการฝ่าฝืนการปฏิบัติ
ข้อสังเกตจากการตรวจสอบงบการเงิน ผู้ประกอบกิจการที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ให้ยืม - ตาม พ.ร.บ. 2545 ไม่ส่งหลักฐานการใช้จ่ายเงินให้ตรวจสอบ การแสดงรายการในงบการเงินไม่ถูกต้อง 3. - 5. ลูกหนี้เงินกู้ - ตามพรบ. 2539
1. ผู้ประกอบกิจการที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ให้ยืม – ตาม พ. ร. บ 1. ผู้ประกอบกิจการที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ให้ยืม – ตาม พ.ร.บ. 2545 ไม่ส่งหลักฐานการใช้จ่ายเงินให้ตรวจสอบ จากการตรวจสอบการอนุมัติการให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานแก่ผู้ประกอบกิจการตาม พ.ร.บ. 2545 พบว่า ในปีงบประมาณ 2560 มีผู้ประกอบกิจการที่ขอกู้ยืมเงินจำนวน 2 ราย (ลูกหนี้ทั้งหมด 190 ราย) ได้แก่ บริษัท เอ เคเคเอ จำกัด และบริษัท แอ็คแมน เฟอร์นิคอน จำกัด กู้ยืมเงินจากกองทุนรายละ 1,000,000 บาท ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งของคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และสัญญากู้ยืมเงิน ดังนี้
1. ผู้ประกอบกิจการที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ให้ยืม – ตาม พ. ร. บ 1. ผู้ประกอบกิจการที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ให้ยืม – ตาม พ.ร.บ. 2545 ไม่ส่งหลักฐานการใช้จ่ายเงินให้ตรวจสอบ (ต่อ) 1.1 ไม่จัดส่งเอกสารหลักฐานการดำเนินการฝึกอบรมฝีมือแรงงานหรือการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้กองทุนตรวจสอบ
1. ผู้ประกอบกิจการที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ให้ยืม – ตาม พ. ร. บ 1. ผู้ประกอบกิจการที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ให้ยืม – ตาม พ.ร.บ. 2545 ไม่ส่งหลักฐานการใช้จ่ายเงินให้ตรวจสอบ (ต่อ) 1.2 ผู้กู้ยืมเงินส่งแบบติดตามประเมินผลการให้กู้ยืม (แบบ กย.6) ไม่ครบถ้วน โดยแจ้งผลการดำเนินการจัดฝึกอบรมและการใช้จ่ายเงินรวมทั้งสิ้น 431,585 บาท และ 800,000 บาท ตามลำดับ จากจำนวนเงินที่ขอกู้ไป 1,000,000 บาท - ทำให้ไม่ทราบว่า ผู้ประกอบกิจการมีการจัดฝึกอบรมเสร็จสิ้นทุกหลักสูตรหรือสาขาอาชีพตามที่ขอกู้ยืมเงินไปหรือไม่ - กรณีที่จัดอบรมครบทุกหลักสูตรแล้วแต่มีเงินเหลือจ่ายกองทุนยังไม่มีการกำหนดแนวทางการติดตามเร่งรัด และแจ้งให้ผู้กู้ยืมส่งคืนเงินเหลือจ่ายให้กับกองทุน
2. การแสดงรายการในงบการเงิน กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานไม่ได้เปิดเผยข้อมูลภาระผูกพันเกี่ยวกับผลการดำเนินการทางคดีไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน สาเหตุ เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ผลกระทบ มีผลให้ผู้ใช้งบการเงินไม่ได้รับทราบข้อมูล และผู้บริหารไม่มีเครื่องมือและข้อมูล เพื่อใช้ในการกำกับติดตาม และรายงานการเงินไม่เป็นไปตามหลักการและนโยบายการบัญชีของหน่วยงานภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
3. ไม่ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ– ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมระยะยาว จากการตรวจสอบสุ่มลูกหนี้เงินให้กู้ยืมระยะยาวของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง ยังไม่ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สาเหตุ เนื่องจากจัดทำรายงานอายุหนี้ค้าง (แบบ กกท.6) ของลูกหนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ผลกระทบ กรณีดังกล่าวมีผลทำให้ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมระยะยาวแสดงยอดที่สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้รายการในงบการเงินไม่สะท้อนมูลค่าที่ถูกต้อง
4. การแสดงยอดตามบัญชีลูกหนี้ไม่ถูกต้อง ลูกหนี้เงินกู้ – ตาม พ.ร.บ. 2539 จำนวน 36,682,545.54 บาท และลูกหนี้ตามคำพิพากษา จำนวน 209,182,512.24 บาท แสดงมูลค่าในงบการเงินต่ำกว่ายอดคงเหลือตามรายละเอียดประกอบลูกหนี้ (แบบ กกท.4) จำนวน 1,212,898.42 บาท
5. การจัดประเภทลูกหนี้ตาม พ. ร. บ 5. การจัดประเภทลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. 2539และลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จากการตรวจสอบรายละเอียดลูกหนี้รายตัวตามรายงานรายละเอียดประกอบ (กกท.4) และรายงานอายุหนี้ค้าง (กกท.6) พบว่า กองทุนมีการจัดกลุ่มและรับรู้ลูกหนี้ทั้ง 2 ประเภทแตกต่างกันดังนี้ 1) ลูกหนี้ที่ประนอมหนี้โดยเจ้าหน้าที่กองทุนและอัยการก่อนส่งฟ้องศาล กองทุนจะรับรู้เป็นลูกหนี้เงินกู้ – ตาม พ.ร.บ. 2539
5. การจัดประเภทลูกหนี้ตาม พ. ร. บ 5. การจัดประเภทลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. 2539และลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 2) ลูกหนี้ที่ประนอมหนี้หลังศาลมีคำพิพากษากองทุนจะบันทึกรับรู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา สาเหตุ การรับรู้ลูกหนี้ทั้ง 2 ประเภท มีความแตกต่างกัน เนื่องจากกองทุนยังไม่มีการกำหนดแนวทางการรับรู้ลูกหนี้แต่ละประเภทให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้รับทราบและถือปฏิบัติ ผลกระทบ ทำให้ยอดบัญชีลูกหนี้แสดงยอดไม่ถูกต้องตามความจริง
สวัสดี