การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า (Transaction Exposure)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การประเมินโครงการลงทุน Capital Budgeting
Advertisements

Bond Pricing Services Department ThaiBMA November 13th, 2007
หลักเกณฑ์การรายงาน การทำธุรรรมเงินสกุลหยวน
Lesson 11 Price.
อาจารย์ มธ. อธิบายการใช้ โมเดลของ
การจัดประชุมชี้แจง รายงานการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
Financial Management.
ทุนทางปัญญา Intellectual Capital KM 743 Session 2
สมาชิกกลุ่ม จุฑาภรน์ อารียะ นิสายชล ศิริวาท
วิชา การเป็นผู้ประกอบการและการลงทุนทางธุรกิจ
5FORCE Analysis Kleokamon boonyeun
Rimping Five-forces Analysis
Option Risk Managemetn
Depreci ation. Wh at * การจัดสรรมูลค่าของ สินทรัพย์ในช่วงระยะเวลา การใช้งานของทรัพย์สิน.
LIABILITIES Chapter 10. I.O.U. Defined as debts or obligations arising from past transactions or events. Maturity = 1 year or lessMaturity > 1 year Current.
INVESTMENTS Chapter 6 (2) Understanding the Business A company may invest in the securities of another company to: Earn a return on idle funds.
การแข่งขันทาง การตลาด และตัวแปรทาง เศรษฐกิจ. การแข่งขันทางการตลาด (Competition) พฤติกรรมของผู้บริโภคไทยได้มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ในช่วง.
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
การบริหารงานพัสดุภายใต้ พ. ร. บ
ลักษณะเฉพาะของการเงินสหกรณ์
การพัฒนาระบบ e-GP ในระยะที่ 3
หลักการและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี
Risk Based Capital by Thanachart Life Assurance
Cash Flow Case Study.
ส่วนประสมการตลาด ( Marketing Mix )
The Comptroller General’s Department
บทที่ 7 ราคา Price.
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุ
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ระยะที่ 3
พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
การวิเคราะห์งบการเงิน
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
บัญชีเบื้องต้น 1 (Basis Accounting I)
A.Petcharee Sirikijjakajorn
การพัฒนาระบบ e-GP ในระยะที่ 3
“ระบบการจัดเก็บข้อมูลบริการ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบบัญชี”
บทที่ 9 งบประมาณการลงทุน.
การจัดการการเงินการคลังท้องถิ่น
บทที่ 10 การวางแผนธุรกิจ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
บทที่ 4 การจัดการสินค้าคงคลัง
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การคำนวณต้นทุนผลผลิต วันที่ ก. พ
เข้าสู่วาระการประชุม
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 25..
เปรียบเทียบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
๓.จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
เอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่อง
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สัมมนาเชิงปฏิบัติการเกษตรสมัยใหม่ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
ความเสี่ยงเรื่อง เงินตราต่างประเทศ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development or NPD)
การประชุมชี้แจงศูนย์สอบ O-NET ชั้น ป.6 และ ชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2560
Competitive advantage Team Financial
สถาบันการเงิน และนโยบายการเงิน
ทิศทางการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2551
รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับ อีคอมเมิร์ซ
การจัดการเงินสด และหลักทรัพย์ ในความต้องการของตลาด
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุ
การเงินระหว่างประเทศ
เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น
การจัดการเงินทุนหมุนเวียน
เสนอขอรับทุนท้าทายไทยและโครงการวิจัยตอบสนองนโยบาย
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์
บรรยายสรุป ประมวลความรู้วิชาการจัดการการเงิน Advanced Program อ. ดร
โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการเงินและการธนาคาร
ชีวิตใหม่ของฝ่ายจัดซื้อ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า (Transaction Exposure) บทที่ 8 การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า (Transaction Exposure)

ความหมายของการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือ การวัดการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการทำกำไร (Profitability) กระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) และมูลค่าตลาด (Market Value) ของกิจการอันเป็นผลสืบเนื่องจาก การที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้เปลี่ยนแปลง

2. การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า 2.1 ลักษณะการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า ตัวอย่างที่ 1 บริษัทส่งออกสินค้าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตกลงทำสัญญาขายผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้กับบริษัทนำเข้าแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าสินค้าที่คิดเป็นเงินสกุลบาทเท่ากับ 8,000,000 บาท จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ตกลงทำธุรกรรมซื้อขายเท่ากับ 40 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ สรอ. บริษัทไทยได้ยอมให้กับบริษัทอเมริกันจ่ายชำระเงินค่าสินค้าเป็นเงินเท่ากับ 200,000 ดอลลาร์ สรอ. และยังได้ให้สินเชื่อทางการค้าเป็นระยะเวลา 3 เดือนด้วย ถ้าในวันครบกำหนดการชำระเงินค่าสินค้า เงินสกุลบาทได้อ่อนค่าลงเป็น 50 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ สรอ. บริษัทส่งออกของไทยจะได้รับเงินค่าสินค้าเป็นเงินสกุลบาทเท่ากับ 10,000,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าที่บริษัทคาดว่าจะได้รับถึง 2,000,000 บาท ในทางกลับกัน ถ้าค่าเงินสกุลบาทแข็งค่าขึ้นจนทำให้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่มีการชำระเป็น 30 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ สรอ. บริษัทส่งออกของไทยก็จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินตราต่างประเทศ เนื่องจาก บริษัทจะได้รับการชำระเงินค่าสินค้าเป็นเงินสกุลบาทเพียง 6,000,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่าบริษัทคาดว่าจะได้รับถึง 2,000,000 บาท ดังนั้น การที่บริษัทมีกระแสเงินสดรับจริงต่างไปจากที่คาดว่าจะได้รับ เนื่องจากรายการค้าที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้าแล้ว จึงถือว่าได้ว่าบริษัทส่งออกสินค้าของไทย มีการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า

2.2 รายการที่มีการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า 1.ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการที่เป็นเงินเชื่อโดยกำหนด ราคาค่าสินค้าในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศ 2.ธุรกรรมเกี่ยวกับการกู้ยืมและการให้กู้ยืมในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศ 3.ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 4.ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อสินทรัพย์หรือรายการหนี้สินต่างๆ

2.3 ช่วงอายุ (Life Span) ของการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า

2.3.1ส่วนประกอบของการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า ก. การเปิดรับความเสี่ยงจากการเสนอราคา (Quotation Exposure) ข. การเปิดรับความเสี่ยงระหว่างการผลิตสินค้า (Backing Exposure) ค. การเปิดรับความเสี่ยงจากการวางใบชำระราคาค่าสินค้า (Billing Exposure)

3.การบริหารเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า การบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า สามารถทำได้ด้วยการเลือกใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการเงินในรูปสัญญา ที่มีอยู่ในตลาดการเงินต่างๆดังต่อไปนี้ ก.การไม่บริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Remain Unhedged) ข.การบริหารความเสี่ยงโดยใช้อัตราตลาดแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Market) ค.การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดเงิน (Money Market) ง.การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดตราสารสิทธิ (Options Market)

3.1 การบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าด้านลูกหนี้ กรณีศึกษาที่ 1 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม บริษัท แมนเฟรด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในประเทศเยอรมันได้ขายเครื่องจักรกลคิดเป็นมูลค่า 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ.ให้กับบริษัท เมโทรอิเลกตริกส์ จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีกำหนดการชำระเงินเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ในอีกสามเดือนข้างหน้า คือวันที่ 15 มิถุนายน ดังนั้น บริษัท แมนเฟรด จึงทำการบันทึกบัญชีให้บริษัท เมโทรอิเลกตริกส์ เป็นลูกหนี้การค้าจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากรายการบัญชีลูกหนี้การค้าดังกล่าว เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศสำหรับบริษัท แมนเฟรด จึงทำให้บริษัทมีการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกิจการค้าขึ้น ดังนั้น บริษัท แมนเฟรด จึงต้องพิจารณาหาวิธีป้องกันการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า ของลูกหนี้การค้ารายการนี้ ทั้งนี้ บริษัทมีข้อมูลทางการเงินเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ วิธีบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าดังต่อไปนี้

1. อัตราแลกเปลี่ยนทันที (Spot Rate) = €0. 8735/$ 2 1.อัตราแลกเปลี่ยนทันที (Spot Rate) = €0.8735/$ 2.อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) สามเดือน = €0.8656/$ - €0.8755/$ (เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง 3.66 % ต่อปี) 3. ค่าของทุน (Cost of Capital) ของบริษัท แมนเฟรด = 10% ต่อปี (2.5 % ต่อไตรมาส) 4.อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมระยะเวลาสามเดือน ในตลาดเงินดอลลาร์ สรอ. =6.0% ต่อปี (1.5% ต่อไตรมาส) 5. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนระยะเวลาสามเดือน ในตลาดเงินดอลลาร์ สรอ. = 4.0% ต่อปี (1% ต่อไตรมาส)

6. อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมระยะเวลาสามเดือน ในตลาดเงินยูโร = 4 6.อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมระยะเวลาสามเดือน ในตลาดเงินยูโร = 4.0% ต่อปี (1% ต่อไตรมาส) 7. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนระยะเวลาสามเดือน ในตลาดยูโร = 2.0% ต่อปี (0.5% ต่อไตรมาส) 8. ตราสารสิทธิประเภทสิทธิที่จะขาย (Put Options) สิ้นสิทธิในเดือนมิถุนายน ซึ่งทำการซื้อขายในตลาด Over-the-Counter โดยตกลงกับธนาคาร สำหรับเงินจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ.มีสิทธิ (Strike Price) เท่ากับ €0.87/$ (Nearly-at-the-Money) โดยมีค่าธรรมเนียม (Premium) เท่ากับ 1.70% 9. ตราสารสิทธิประเภทสิทธิที่จะขาย (Put Options) สิ้นสิทธิในเดือนมิถุนายน ซึ่งทำการซื้อขายในตลาด Over-the-Counter โดยตกลงกับธนาคาร สำหรับเงินจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ.มีสิทธิ (Strike Price) เท่ากับ €0.84/$ (Nearly-at-the-Money) โดยมีค่าธรรมเนียม (Premium) เท่ากับ 1.20% 10. ที่ปรึกษาด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของ บริษัท แมนเฟรด ได้พยากรณ์ว่าอัตราแลกเปลี่ยนทันทีในอีกสามเดือนข้างหน้า (Future Spot Rate) คือ ณ วันที่ 15 มิถุนายน จะเท่ากับ €0.87/$ - €0.88/$

3.2 การไม่บริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

3.3 การบริหารความเสี่ยง โดยใช้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Market) การบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า โดยใช้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Market) หมายถึง การทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราสกุลต่างประเทศไว้ล่วงหน้า ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) ที่ได้ทำการตกลงกันไว้ ณ วันที่ทำสัญญา (ณ ปัจจุบัน) ส่วนการส่งมอบเงินตราสกุลต่างประเทศนั้น จะทำในวันที่สัญญาครบกำหนด

3.4 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดเงิน (Money Market) มีหลักสำคัญ คือ เมื่อกิจการมีภาระผูกพันทางการเงินที่เป็นตราสกุลเงินต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทางด้านลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ กิจการนั้นจะต้องสร้างภาระผูกพันทางการเงินขึ้นมาใหม่อีกด้านหนึ่ง ที่เป็นเงินตราสกุลเดียวกัน และวันครบกำหนดการชำระราคาตรงกัน โดยเมื่อถึงวันครบกำหนดการชำระหนี้นั้น ภาระผูกพันทางการเงินที่กิจการมีอยู่เดิมและที่ได้สร้างขึ้นใหม่อีกด้านหนึ่ง ในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศสกุลเดียวกันนั้นสามารถนำมาหักลบกันจนหมดไป ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหมดไปด้วย

3.5 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดตราสารสิทธิ (Options Market) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ โดยบริษัทสามารถเลือกใช้ ตราสารสิทธิประเภทสิทธิที่จะขาย (Put Options) ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง (Derivatives) ที่ให้สิทธิแก่บริษัทในการขายสินทรัพพย์อ้างอิง (Underlying Assets) ซึ่งในที่นี้ คือ เงินตราสกุลดอลลาร์ สรอ. ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด (Stike Price) ตามจำนวนเงิน (Contract Size) และระยะเวลา (Maturity) ที่ได้ทำการตกลงกันไว้กับผู้ออกหรือผู้ขายตราสาร (Writer or Seller)

3.6 การเปรียบเทียบกระแสเงินสดรับสุทธิและ ระดับความเสี่ยงของตัวเลือกต่างๆในการบริหาร การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าด้านลูกหนี้

4.การบริหารการ เปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าด้านเจ้าหนี้ 4.1การไม่บริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Remain Unhedged) หากบริษัทแมนเฟรด เลือกที่จะไม่บริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทรอจนครบกำหนดระยะเวลาสามเดือน จึงนำเงินสกุลยูโรไปซื้อเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. จำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่บริษัท เมโทรอิเลกตริกส์ ในกรณีนี้ หากอัตราแลกเปลี่ยนทันที่ด้านราคาเสนอขาย (Spot-Offer) ในอีกสามเดือนข้างหน้า เป็นไปตามที่ฝ่ายที่ปรึกษา ของบริษัทได้คาดการณ์ไว้ คือ ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยน €0.88/$ นั้น บริษัท แมนเฟรด จะต้องนำเงินสกุลเพื่อไปแลกเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนเท่ากับ $1,000,000 X €0.88/$ = €880,000

4.2 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Market) หากบริษัท แมนแฟรด เลือกที่จะบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ โดยการใช้ตลาดอีตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ณ วันนี้ บริษัทจะต้องทำสัญญาซื้อเงินจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. ล่วงหน้า โดยมีกำหนดการส่งมอบในอีกสามเดือนข้างหน้า ที่อัตราแลกเปลี่ยน ล่วงหน้าด้านราคาเสนอขาย (Froward-Offer) ซึ่งเท่ากับ €0.8755/$ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาสาม เดือน บริษัทจะจ่ายชำระคืนหนี้สินเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ด้วยเงินสกุลยูโร เป็นจำนวนเท่ากับ $1,000,000 X €0.8755/$ = €875,500

4.3 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดเงิน (Money Market) ตามหลักการในการบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้ตลาดเงิน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในกรณีการบริหารลูกหนี้การค้า หากบริษัท แมนเฟรด มีเจ้าหนี้เป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. จำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. บริษัทจะต้องสร้างภาระทางการเงินด้านลูกหนี้ขึ้นใหม่ในรูปเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. โดยให้มีจำนวนเงินและระยะเวลาที่เท่ากันอีกด้วย

4.4 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดตราสารสิทธิ (Potions Market) ในกรณีบริษัท แมนเฟรด มีเจ้าหนี้เป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. นั้น บริษัทจำเป็นต้องนำเงินสกุลยูโร ไปซื้อเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เพื่อนำไปจ่ายชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้เมื่อถึงกำหนดการชำระเงินในเดือน มิถุนายน ดังนั้น การบริหารการเปิดรับความเสี่ยงโดยใช้ตลาดตราสารสิทธิ จึงสามารถทำได้โดยการเลือกใช้ ตราสารสิทธิประเภทสิทธิที่จะซื้อ (Call Option) ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง (Derivatives) ที่ ให้สิทธิแก่บริษัท แมนเฟรด ในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Assets) ซึ่งในที่นี้คือ เงินตราสกุลดอลลาร์ สรอ.

4.5 การเปรียบเทียบเงินสดจ่ายสุทธิและระดับความเสี่ยงของทางเลือกต่าง ๆ ในการบริหารการปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าด้านเจ้าหนี้

สรุป การที่บริษัทจะเลือกใช้การบริหารแบบเปิดรับความเสี่ยงแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความคาดหมายทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยมีระดับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้และก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทมากที่สุด

คำถามท้ายบท 1.ประเภทของการเปิดรับความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีกี่ประเภท 2. ส่วนประกอบของการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า มีอะไรบ้าง