การขอรับชำระหนี้ มาตรา 91 ถึง มาตรา 108.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Strength of Materials I EGCE201 กำลังวัสดุ 1
Advertisements

Spectrofluorimeter และ Spectrophosphorimeter.
Conic Section.
โครงการบ่มเพาะ ผู้ประกอบการกองทุนตั้ง ตัวได้ต้นแบบ.
จุมพฏ พงศ์ศักดิ์ศรี จุมพฏ พงศ์ศักดิ์ศรี
9.1 นิยามและ ความหมาย Evaportranspiration = Evaporation + Transpiration Evaporation = The transfer of water into the atmosphere from the free water surface,
Dates and plans Dates and plans.
สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ รอบที่ 1/2558 คณะที่ 4 ด้านระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ อาหารและ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ.
Unit 4 : Job Application Letter
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดคำสั่งประมวลผลข้อมูล
นำเสนอ “นวัตกรรมดีเด่น” และ
ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ Computer Information Systems
การจัดการศึกษาในโรงเรียนท้องถิ่น (การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน)
Economy Update on Energy Efficiency Activities
Intel Quick Path (QPI).
การสร้างและใช้ QR code ย่อ Link และ Google Form
สายพานลำเลียง (Belt Conveyor)
Radar Data Visualization Tableau User Manual.
ภาพรวมตลาดทุนไทย เชิงเปรียบเทียบ
Tableau Installation.
Radar Pentaho User Manual.
กำเนิดภาษา ประโยชน์ของภาษา อิทธิพลของภาษา
Microsoft PowerPoint 2013 Part 1
ผลการดำเนินงานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดสงขลา
R & R Studio Program Installation.
Spatial Analysis Surfer User Manual.
Research of Performing Arts
Executive Presentation
โดย พระมหาปรีชา ปภสฺสโร พระวิทยากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
JSON API Pentaho User Manual.
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย
การเลี้ยงไก่ไข่.
การซักซ้อมความเข้าใจในการเบิกค่าตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่ ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน.
ซักซ้อมแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข.
การตัดสินผล และ การเขียนรายงาน การประเมินโครงการ
การนำเสนอผลงานการวิจัย
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts
การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (oral presentation)
Map Visualization Tableau User Manual.
จังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการ (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์(SAT) ที่สามารถปฏิบัติการได้จริง 1.
โดยสำนักอนามัย สิ่งแวดล้อมกรมอนามัย
การเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
ระบบการตรวจราชการและนิเทศงานกรมอนามัย
นางบุญชอบ เกษโกวิท ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี
“สถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคของไทยล่าสุด”
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ” สำนักโภชนาการ.
การเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ
By Personal Information Management
กระบวนการเรียนการสอน
การพัฒนาหลักสูตร ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับแผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
เจริญเติบโตเต็มศักยภาพและมีทักษะสุขภาพ
ความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลังมีอัตราโทษปรับทางการปกครอง 4 ชั้นคือ
มาทำความรู้จักกับ เห็ดเผาะดาว.
บรรยายครั้งที่ 7 - กราฟิกวิศวกรรม 1
การนำเสนอแบบโปสเตอร์
Algebraic Fractions – Adding & Subtracting – Tarsia Jigsaw
เทคนิคการนำเสนองาน Research Methodology.
เซอร์ ไอแซค นิวตัน Isaac Newton
สไลด์นำเสนอข้อมูล 3 กลุ่ม
วัน เวลา และห้องสอบ เวลาสอบวันอังคารที่ 30 เมษายน 2562 เวลา 8.00 – สอบที่อาคารคณะนิติศาสตร์ (ห้อง 1401 และ 1404) ที่ปกสมุดคำตอบทุกเล่ม ต้องเขียนsection.
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
Determine the moment about point A caused by the 120 kN
การเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์
ซาตานและพรรคพวกของมัน
กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน
การจัดการการระบาด ของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การขอรับชำระหนี้ มาตรา 91 ถึง มาตรา 108

เนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีประกัน การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน การขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วม และ ผู้ค้ำประกัน กระบวนการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ Free template from www.brainybetty.com

จุดเริ่มต้นการขอรับชำระหนี้ มาตรา 27 เจ้าหนี้ ไม่มีประกัน ยื่นขอรับชำระหนี้ จพท. เจ้าหนี้มีประกัน ลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 4276/2531 ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์และธนาคารส่งเงินของจำเลยมาให้ตามหมายอายัดของศาลแล้ว ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายซึ่งผู้คัดค้านเป็นโจทก์ ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในอีกคดีหนึ่งจะขอรับเงินดังกล่าวส่วนที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ ผู้ร้องได้แต่ขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการ และกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ 28 เท่านั้น และผู้คัดค้านจะขอให้ศาลส่งเงินที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ ในคดีนี้ไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายก็ไม่ได้เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา22(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินที่จะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 4942/2533 ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด และได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้เงินที่มีอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จึงต้องไปดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ Free template from www.brainybetty.com

การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีประกัน มาตรา 94 Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com มาตรา 94 เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้า มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระ หรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่ หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ Free template from www.brainybetty.com

คุณสมบัติเพิ่มเติมของเจ้าหนี้ไม่มีประกัน บุคคลที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต้องมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่อ้างได้ตามกฎหมาย แม้บุคคลนั้นจะไม่ใช่เจ้าหนี้ลูกหนี้โดยตรงกันมาก่อนก็ตาม บุคคลที่ขอรับชำระหนี้ต้องมีฐานะเป็นบุคคลตามกฎหมาย (บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 3425/2528 เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้ไป แม้จะไม่ได้ความว่าลูกหนี้ได้ให้ความเห็นชอบแต่จำนวนเงินที่ชำระเป็นหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้เดิม การชำระหนี้ของเจ้าหนี้ย่อมสมประโยชน์และตามความประสงค์อันแท้จริงของลูกหนี้ ลูกหนี้จึงมีหน้าที่ชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้และการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 94(2) เพราะมิใช่ลูกหนี้ก่อหนี้โดยตรงกับเจ้าหนี้ หากแต่ลูกหนี้มีหนี้ที่จะต้อง ชำระให้แก่บุคคลภายนอกแล้วเจ้าหนี้ชำระหนี้นั้นแทนไปเจ้าหนี้ จึงมีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 7196/2539 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคลโดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้เมื่อกลุ่มครูโรงเรียนอุดรเจ้าหนี้มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพราะเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดรไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนแม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวมแต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่าผู้ขอรับชำระหนี้คือ"กลุ่มครูโรงเรียนอุดรโดยนายเรืองยศรมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ"ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ Free template from www.brainybetty.com

หนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ได้ มีลักษณะดังนี้ คือ ต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้น หนี้อย่างอื่นไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และไม่เป็นหนี้ตามข้อยกเว้นในมาตรา 94 (1) หรือ มาตรา 94(2) Free template from www.brainybetty.com

หนี้เงินเท่านั้นที่ขอรับชำระหนี้ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 990/2509 การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้โดยเฉลี่ยตามส่วนของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้นจะนำมาใช้แก่กรณีการโอนที่ดินตามคำพิพากษาไม่ได้ (หากเป็นหนี้กระทำการ งดเว้นกระทำการ ส่งมอบทรัพย์ ต้องฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยในคดีนั้นต่างหากได้) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1517/2525 หนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายล้มละลายนั้นต้องเป็นหนี้เงิน ส่วนหนี้ที่บังคับให้ลูกหนี้กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการ หรือหนี้ซึ่งบังคับให้ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่เงินเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ การที่เจ้าหนี้ฟ้องว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ตกลงกับห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.ว่าห้างหุ้นส่วนฯจะยกที่ดินพิพาทให้ห้าง และห้างใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งโรงน้ำแข็งของห้าง เมื่อเลิกห้างแล้วถ้าหากมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงินเข้ากองทรัพย์สินของห้าง 50,000 บาท แล้วห้างจะโอนที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ ต่อมาห้างถูกศาลแพ่งสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายคดีถึงที่สุด โจทก์ขอชำระเงิน 50,000 บาทให้แก่ห้างและขอให้ห้างจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างไม่ยอมปฏิบัติตามที่โจทก์ขอ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com โจท์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดตราด(ที่ที่พิพาทตั้งอยู่) ขอให้บังคับจำเลยรับเงิน และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์กับขอบังคับให้ห้างออกไปจากที่ดินพิพาทด้วย ศาลได้พิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า เจ้าหนี้มีอำนาจฟ้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 26 มาตรา 27 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็ห้ามเฉพาะหนี้เงิน ไม่ได้ห้ามฟ้องหนี้เกี่ยวด้วยการกระทำ งดเว้นกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินอื่นซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ Free template from www.brainybetty.com

มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การเกิดมูลแห่งหนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะมูลหนี้แต่ละประเภทตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น มูลหนี้ตามสัญญาทั่วไป ให้พิจารณาจากคำเสนอ สนองถูกต้องตรงกัน คำพิพากษาฎีกาที่ 6066/2539 หนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27 มาตรา 91 และมาตรา 94 Sec001/27 March 2017 Free template from www.brainybetty.com

“มูลแห่งหนี้” มิใช่วันที่หนี้ถึงกำหนดชำระ ดังนั้นเราจึงต้องนำความรู้เบื้องต้นในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด เช่น หลักนิติกรรมสัญญา คำเสนอ คำสนองถูกต้องตรงกันเมื่อใด หรือหลักเรื่องเจตนา หรือกรณีละเมิดถือว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นและถึงกำหนดชำระทันที Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 6748/2541 (ตัดตอนบางส่วนมา) ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่าถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานเสร็จสมบูรณ์ เห็นได้ว่าการที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างเพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 Free template from www.brainybetty.com

“ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์” กฎหมายบัญญัติชัดแจ้งว่า ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ กรณีจึงต้องพิจารณาจากบทนิยาม คำว่า “คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์” หมายถึง วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว หรือเด็ดขาด (ขึ้นอยู่กับแต่ละคดี) ดังนั้นในการพิจารณามูลหนี้นั้นต้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว หรือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด(กรณีไม่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อสังเกต กฎหมายบัญญัติชัดแจ้งว่า มูลหนี้ที่จะอาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นต้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่คำนึงว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้นในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้จะได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหรือไม่ก็ตาม Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 249/2527 เมื่อมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 2 ฉบับที่เจ้าหนี้นำมาชำระหนี้เกิดขึ้นหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แม้เจ้าหนี้จะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ลูกหนี้รับไปโดยสุจริตและไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะขณะนั้นยังไม่มีประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษา คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ก็ต้องห้ามตามมาตรา 94 Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 4555/2539 เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อกรมสรรพากรเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็ย่อมีสิทธิรับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อสังเกต หนี้ที่เกิดขึ้นโดยชอบในวัน หรือภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้เจ้าหนี้ไม่อาจนำไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ แต่หนี้นั้นก็ยังไม่ระงับ ลูกหนี้ยังคงต้องผูกพันชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามกฎหมาย เพียงแต่กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้เหล่านี้นำหนี้ดังกลาวมายื่นขอรับชำระหนี้เท่านั้น แต่หากลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายไม่ว่าจะด้วยเหตุใดแล้ว เจ้าหนี้เหล่านี้ก็สามารถใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องจากลูกหนี้ได้ เช่น มูลหนี้ละเมิด Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อสังเกต ในกรณีที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นค่าปรับรายวันเนื่องจากการผิดสัญญา ถือว่ามูลหนี้เงินค่าปรับได้เกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนั้นแม้ลูกหนี้จะผิดสัญญาก่อนศาลพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้เบี้ยปรับได้จนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 6748/2541 แม้เหตุผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก่เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนี้มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 Free template from www.brainybetty.com

ข้อควรพิจารณาสำหรับการเกิดมูลหนี้บางประเภท 1. มูลหนี้ตามเช็ค ให้พิจารณาว่า ลูกหนี้ยืมเงินเจ้าหนี้ ลูกหนี้ออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ หรือลงวันที่ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ไว้เป็นการชำระหนี้ ถือว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ได้ออกเช็ครับเงินจากเจ้าหนี้ไป ส่วนวันที่ลงในเช็คเป็นเพียงกำหนดการชำระหนี้เงินกู้เท่านั้น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 2969/2531 การที่ลูกหนี้ออกเช็คให้เจ้าหนี้ เพราะลูกหนี้ได้รับเงินไปจากเจ้าหนี้ตามที่ตกลงยืมกัน อันมีลักษณะเป็นการขายลดเช็ค หรือนำเช็คไปแลกเงินสดจากเจ้าหนี้ มิใช่กรณีออกเช็คโดยไม่ปรากฎมูลหนี้ จึงถือได้ว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ลูกหนี้รับเงินไปและมอบเช็คให้แก่เจ้าหนี้ยึดถือไว้ อันเป็นเวลาก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังนื้ ถือได้ว่ามูลหนี้ตามเช็คเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ลูกหนี้รับเงินและมอบเช็คให้แก่เจ้าหนี้ไว้ กรณีจึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ แม้เช็คจะลงวันที่ล่วงหน้าอันเป็นเวลาหลังจากที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 3565/25 ในการเล่นแชร์ที่ลูกหนี้เป็นเจ้ามือ ลูกหนี้ได้มอบเช็คให้ ซ.ผู้ร่วมเล่นหลายฉบับ ซ.สลักหลังเช็คนำไปแลกเงินสดจากผู้ขอรับชำระหนี้ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อเป็นเช็คลงวันสั่งจ่ายล่วงหน้าต้องถือว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ออกเช็คและมอบให้ ซ.ไปวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คเป็นเพียงวันถึงกำหนดชำระหนี้ ลูกหนี้ออกเช็คและมอบให้ ซ. เมื่อ พ.ศ. 2521และ ซ.นำไปแลกเงินสดในปีเดียวกันลูกหนี้เพิ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อ พ.ศ. 2522 แม้เช็คจะถึงกำหนดสั่งจ่ายหลังจากศาลมีคำสั่งดังกล่าวก็ไม่ทำให้มูลแห่งหนี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนกลับกลายเป็นเกิดขึ้นภายหลังศาลอนุญาตให้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 374/2511 เอาเช็คของลูกหนี้มาขอรับชำระหนี้ เช็คนั้นลงวันที่หลังวันพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อผู้ร้องขอรับชำระหนี้สืบไม่ได้ตามที่อ้างว่าลูกหนี้ออกเช็คให้เป็นการชำระราคาผ้าซึ่งลูกหนี้ซื้อจากผู้ร้องก่อนวันพิทักษ์ทรัพย์ ต้องถือว่ามูลหนี้เกิดในวันที่ลงเช็ค คำขอรับชำระหนี้ต้องห้ามตามมาตรา ๙๔ นี้ Free template from www.brainybetty.com

ข้อสังเกต : กรณีมูลหนี้ตามเช็ค หากเป็นกรณีมูลหนี้ตามเช็คโดยตรง เช่น ได้รับโอนเช็คมาจากผู้ทรงคนก่อนที่มิใช่จากลูกหนี้โดยตรง เจ้าหนี้หรือผู้ทรงเช็คที่รับโอนมาจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 964/2524 เช็คที่นำมาขอรับชำระหนี้เป็นเช็คซึ่งลงวันที่สั่งจ่ายเป็นวันภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วดังนี้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิจะอาศัยมูลหนี้ตามเช็คที่เกิดขึ้น ภายหลังจากวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมาขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ม.94ได้ ข้อสังเกต ตามคำพิพากษาฎีกานี้มีแต่มูลหนี้ตามเช็คที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น เพราะเจ้าหนี้ไม่ได้รับโอนเช็คมาจากลูกหนี้โดยตรง จึงไม่อาจอ้างว่ามีมูลหนี้เดิมระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ซึ่งเกิดก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้ ฉะนั้น เมื่อมีแต่มูลหนี้ตามเช็ค เจ้าหนี้ก็ไม่มี Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com 2. หนี้ภาษีอากร หนี้ภาษีอากรของปีใด ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าเพิ่งทำการประเมิน หรือคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บุคคลที่เป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายต้องชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระ หรือชำระไม่ถูกต้องครบถ้วน ถือว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 753/2526 จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้ (ต่อ) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน ถือเป็นเรื่องที่ให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช้มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1826/2511 การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า จึง(ใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร ประเมินภาษี)มีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว กรณีไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิดขึ้นขณะเจ้าพนักงานได้ประเมินภาษี แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยึงจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 4555/2539 เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสืบเนื่องมาจากลูกหนี้มีรายได้จากการขายบ้านและที่ดิน แต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2530 เบี้ยปรับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2530 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 ,57จัตวา เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย แม้เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย (แต่กรณีเบี้ยปรับหากเป็นรายวันให้คิดคำนวณได้ถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com 3. หนี้ตามคำพิพากษา โดยหลัก แม้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ก็ต้องแสดงให้เห็นว่า มูลแห่งหนี้เดิมเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ (อย่าเอาไปปนกับเรื่องระยะเวลาการขอรับชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้สิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ภายหลังจากมาตรา 91ได้ ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่ง) Free template from www.brainybetty.com

คำพิพากษาฎีกาที่ 1384/2525 (ประชุมใหญ่) การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งพิพากษาหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มาขอรับชำระหนี้ แต่มิได้ร้องขอรับชำระหนี้โดยอาศัยมูลหนี้เดิมว่า เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น เมื่อคำพิพากษานั้นแสดงถึงมูลหนี้เดิมอยู่แล้วว่าเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ดังนี้ถือว่าหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ขอรับชำระนั้นมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 Free template from www.brainybetty.com

หนี้ตามมาตรา 100 พระราชบัญญัติล้มละลายฯ หนี้ตามมาตรา 100 พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ดอกเบี้ย หรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ย ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้นไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ กรณีตามมาตรา 100 กฎหมายห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์นั้นให้ผลเฉพาะลูกหนี้ในคดีล้มละลายนี้เท่านั้น หมายความว่า บุคคลอื่น ๆ ที่มิได้เป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายนี้และต้องร่วมรับผิดในมูลหนี้นั้น ๆ ด้วย ยังคงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ตามกฎหมาย Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506 พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 100 บัญญัติว่าดอกเบี้ย หรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้นั้น เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้เหมือนคดีแพ่งสามัญเท่านั้น หาใช่บทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่าในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิใดๆ เรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ทบทวน หนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ภายใต้มาตรา 94 ต้องมีลักษณะอย่างไร? Free template from www.brainybetty.com

หนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ มาตรา 94 (ต่อ) หนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ หนี้ที่มีมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นในวัน หรือภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมขอรับชำระหนี้ไม่ได้เช่นกัน Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ประการแรก : (มาตรา 94 (1)) หนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ประการแรก พิจารณาแบ่งได้ดังนี้ คือ หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือฝ่าฝืนศีลธรรมอันดี หรือ หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ Free template from www.brainybetty.com

หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี บรรดาหนี้เงินเหล่านี้ตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ถือว่าการก่อภาระหนี้ขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีย่อมตกเป็นโมฆะ หรืออาจเป็นหนี้ที่ตกเป็นโมฆียะและถูกบอกล้างแล้วและไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว แม้มูลแห่งหนี้จะเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม ถือว่าเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ ตามมาตรา 94[1] เช่น หนี้สินที่เกิดจากการค้าขายสินค้าผิดกฎหมาย หนี้การพนัน หนี้จากการค้าประเวณี หนี้เกิดจากการจ้างฆ่าคน Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1890/2537 หนี้การพนันหรือขันต่อซึ่งไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่จะมีผลบังคับต่อกัน เช็คที่ออกให้แก่กันอันเกี่ยวกับการนั้นจึงไม่สมบูรณ์ แม้จะทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้ต่อกันด้วย ก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1) Free template from www.brainybetty.com

หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ หนี้ที่เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายในตอนแรก แต่มีเหตุปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมาย เช่น หนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่น หนี้กู้ยืมแต่ขาดหลักฐานเป็นหนังสือ ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดี หนี้ที่เกิดขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ขาดอายุความ หนี้ที่ไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุตามกฎหมาย หนี้ที่มีหลักฐานการฟ้องร้อง แต่มิได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย จึงต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในสำนวน หนี้ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ดำเนินการบังคับคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา Free template from www.brainybetty.com

ตัวอย่าง หนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ คำพิพากษาฎีกาที่ 997/2501 ตัวอย่าง หนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้มีความประสงค์จะขอรับชำระหนี้ในเรื่องการกู้ยืม แต่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้มาแสดง ถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 Free template from www.brainybetty.com

ตัวอย่าง หนี้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย คำพิพากษาฎีกาที่ 824/2518 ตัวอย่าง หนี้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้ 4 เดือน เจ้าหนี้ของจำเลยซึ่งฟ้องคดีไว้อีกเรื่องหนึ่งได้ประนีประนอมยอมความกับจำเลย และให้ศาลพิพากาตามยอมนั้น ดังนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามมาตรา 22(3) แม้ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 94(1) สัญญานี้เป็นการสมยอมพึงถือเป็นหลักฐานในการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 วรรค 2 มิได้ เจ้าหนี้ไม่ได้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้เดิมก่อนพิพากษาตามยอม จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1890/2537 หนี้การพนันหรือขันต่อซึ่งไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่จะมีผลบังคับต่อกัน เช็คที่ออกให้แก่กันอันเกี่ยวกับการนั้นจึงไม่สมบูรณ์ แม้จะทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้ต่อกันด้วย ก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1) Free template from www.brainybetty.com

หนี้ขาดอายุความ : คำพิพากษาฎีกาที่ 875/2536 หนี้ขาดอายุความ : คำพิพากษาฎีกาที่ 875/2536 ปัญหาว่ามูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 เกินไปโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกิน จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ตัวว่ามีสิทธิเรียกคืน คดีขาดอายุความ เจ้าหนี้ไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 3945/2541 ลูกหนี้ตกลงชำระหนี้งวดแรกตามคำพิพากษาตามยอมในวันที่ 30 สิงหาคม 2528 แต่ลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะบังคับคดีเพื่อรับชำระหนี้ดังกล่าวทั้งหมดได้ ภายในกำหนดอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2528 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 [2] ดังนั้น การที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2538 ซึ่งอยู่ในกำหนด 10 ปีจึงสามารถกระทำได้ (คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย ทำให้อายุความบังคับคดีสะดุดหยุดลง ตาม ปพพ.193/14[2] แม้จะยื่นขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี แม้จะเป็นการต้องห้ามตาม ปวิพ.271 ก็ไม่เป็นการต้องห้ามตาม มาตรา 94[1]) Free template from www.brainybetty.com

หนี้ประการที่สอง มาตรา 94(2) หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ Sec 001/ 31 March 2017 Free template from www.brainybetty.com

แนวคิดในการบัญญัติเงื่อนไขนี้ หนี้ดังกล่าวกฎหมายไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ก็เพราะ เพื่อไม่ให้ลูกหนี้ก่อหนี้ให้เป็นภาระแก่ตนมากขึ้นไปกว่านี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เจตนาร้ายก่อหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อให้เจ้าหนี้เก่าทั้งหลายเสียหายเพิ่มขึ้น เพราะจะได้รับชำระหนี้เฉลี่ยน้อยลง และ ไม่ให้เจ้าหนี้รายใหม่ต้องเข้ามาเสียหายเพิ่มขึ้นจากการได้รับชำระหนี้คืนไม่เต็มจำนวน สุดท้ายเพื่อป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับประเทศโดยรวมด้วย Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ประเด็นพิจารณา กฎหมายบัญญัติว่า “เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้น” ดังนี้หากหนี้ที่จะถือว่าต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) นั้นต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้น หรือก่อหนี้ขึ้นเท่านั้น หากเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ก่อขึ้นเอง ย่อมไม่อยู่ในบังคับต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 3400/2528 เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้ไป แม้จะไม่ได้ความว่าลูกหนี้ได้ให้ความเห็นชอบ แต่จำนวนเงินที่ชำระเป็นหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้เดิม การชำระหนี้ของเจ้าหนี้ย่อมสมประโยชน์และตามความประสงค์อันแท้จริงของลูกหนี้ ลูกหนี้จึงมีหน้าที่ชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้ และการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔(๒) เพราะมิใช่ลูกหนี้ก่อหนี้โดยตรงกับเจ้าหนี้ หากแต่ลูกหนี้มีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลภายนอกแล้วเจ้าหนี้ชำระหนี้นั้นแทน ไปเจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ประเด็นพิจารณา (ต่อ) กฎหมายบัญญัติว่า นอกจากเจ้าหนี้จะยอมให้ลูกหนี้กระทำ หรือก่อหนี้ขึ้นแล้ว ต้องประกอบด้วย ประเด็นที่สำคัญอีกประการคือ “เจ้าหนี้ได้รู้อยู่แล้วว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว” ประเด็นนี้ถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงพอสมควร เราลองพิจารณาจากคำพิพากษาฎีกาตัวอย่าง Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1282-1288/2502 วินิจฉัยว่า หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจะขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2) นั้น ไม่จำเป็นต้องปรากฏว่ามีการสมยอมกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการก่อหนี้ขึ้น เพียงแต่ว่าในเวลาที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ขอรับชำระหนี้นั้นไม่ได้ (ประเด็นคือ เพราะว่า หากได้ข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้สมยอมกันจริง ๆ กรณีก็จะกลายเป็นเรื่องนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง ซึ่งตกเป็นโมฆะเพราะถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 94(1) แล้ว ) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1273/2527 สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันต้องยกเลิกกันไปโดยปริยายนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอากับลูกหนี้ได้จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น การที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมากและไม่ได้ติดต่อกับธนาคารเจ้าหนี้ทางบัญชีมาประมาณ ๒ ปีทั้งไม่เคยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนกระทั่งวันที่มาทำสัญญากู้ ซึ่งลักษณะการติดต่อทางบัญชีเช่นนี้ ผู้ประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าลูกหนี้ขณะนั้นมีสภาพเช่นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เป็นเวลาถึง ๒ ปี เมื่อลูกหนี้มาขอกู้เงินจากธนาคารเพิ่มอีก ธนาคารเจ้าหนี้ยังให้กู้ไป เช่นนี้ ถือได้ว่าธนาคารเจ้าหนี้รู้ถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ในขณะที่ยินยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามสัญญากู้ขึ้นอีก หนี้ดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.๒๔๘๓มาตรา ๙๔(๒) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com Section801 March 28 2017 คำพิพากษาฎีกาที่ 6052/2531 เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นกรรมการของบริษัทลูกหนี้ย่อมจะต้องทราบถึงฐานะของลูกหนี้ได้ดีกว่าตกอยู่ในสภาพ เช่นไร การที่เจ้าหนี้ได้รับชำระดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินแต่เพียงบางส่วนตลอดจนลูกหนี้ต้องไปกู้ยืมเงินจากที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาพยุงฐานะของลูกหนี้ที่กำลังทรุดลงจนในที่สุดทางราชการได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินธุรกิจของลูกหนี้เช่นนี้ เจ้าหนี้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารบริษัทลูกหนี้จะปฏิเสธว่าไม่ทราบถึงฐานะอันแท้จริงของลูกหนี้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหาได้ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ได้นำเงินเข้าฝากกับลูกหนี้หลังจากที่ทราบดีว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เงินฝากดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.๒๔๘๓ มาตรา ๙๔(๒) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 3576/2532 หนี้ที่ธนาคารฟ้องให้เจ้าหนี้รับผิดเป็นหนี้ที่เกิดจากการจัดทำกิจการที่ลูกหนี้ตัวการมอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นตัวแทนทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารเพื่อสั่งซื้อฝ้ายให้ลูกหนี้ เจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ลูกหนี้รับผิดได้โดยตรง แต่เมื่อได้ความว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้เป็นธุรกิจในเครือญาติกัน ลูกหนี้หมดวงเงินสินเชื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไม่ได้ ก. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการลูกหนี้และเป็นกรรมการคนหนึ่งของเจ้าหนี้ได้ขอให้เจ้าหนี้สั่งซื้อฝ้ายให้ลูกหนี้ เช่นนี้ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ทราบถึงฐานะของลูกหนี้แล้วว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วยังยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ดังกล่าวอีก จึงเป็นกรณีต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔(๒) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 382/2550 ...เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น Free template from www.brainybetty.com

คำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยถึงการไม่รู้ของเจ้าหนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 3933/2533 วินิจฉัยว่า กรณีที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลูกหนี้ชำระเงินตามฟ้องให้เจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระและเจ้าหนี้มิได้ดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้กลับให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีก แต่เมื่อปรากฎว่าหนี้ดังกล่าวมีที่ดินซึ่งมีมูลค่ามากกว่าจำนวนหนี้จำนองเป็นประกัน และไม่ปรากฎว่าเจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ มากมายไม่มีทางชำระหนี้ ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่า หนี้รายดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ทำขึ้นเมื่อได้รู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำหนี้ไปขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อพิจารณา (ต่อ) ข้อยกเว้นที่ แม้เจ้าหนี้จะยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้น ทั้งรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็สามารถขอรับชำระหนี้ได้ หากว่า หนี้ดังกล่าวเจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ ข้อยกเว้นนี้ บัญญัติเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ Free template from www.brainybetty.com

หนี้ประการที่สาม หนี้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 94วรรคแรก หนี้ที่มีมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นในวัน หรือภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมขอรับชำระหนี้ไม่ได้เช่นกัน หนี้ประเภทนี้โดยสภาพถือว่าเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ ชอบด้วยกฎหมาย และ/หรืออาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ เช่น ไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หนี้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่ขาดอายุความ หากเพียงแต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ระยะเวลาที่มูลหนี้เกิดขึ้นกฎหมายล้มละลายไม่อนุญาตให้ขอรับชำระหนี้ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com หนี้มูลละเมิด กรณีลูกหนี้กระทำละเมิดต่อเจ้าหนี้ในวันที่เดียวกับที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ เห็นได้ว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ย่อมขอรับชำระหนี้ไม่ได้ แต่ก็ไม่ห้ามเจ้าหนี้ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากลูกหนี้ เพราะกรณีเป็นคดีแพ่งที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 26 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้ามาต่อสู้คดีแทนลูกหนี้ หากลูกหนี้ต้องชดใช้ค่าเสียหาย แม้คำพิพากษานั้นจะผูกพันลูกหนี้ให้ต้องชดใช้ แต่เจ้าหนี้มูลละเมิดก็จะขอรับชำระหนี้ไม่ได้ ทำได้แต่เพียงต้องรอบังคับคดีต่อไปเมื่อลูกหนี้พ้นจากการล้มละลายเสียก่อน Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com เจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิเกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย 2 วิธี ดังนี้คือ กรณีไม่ต้องขอรับชำระหนี้ แต่อาศัยสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ตามมาตรา 95 กรณีประสงค์จะขอรับชำระหนี้เป็นไปภายใต้หลักเกณฑ์ มาตรา 96 ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด Free template from www.brainybetty.com

เจ้าหนี้มีประกัน หมายถึง ? Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com บทนิยาม ในมาตรา 6 เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทาง จำนอง จำนำ สิทธิยึดหน่วง เจ้าหนี้บุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ (อย่างไรก็ตาม หลักประกันที่ได้นั้น ลูกหนี้ต้องให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น) Free template from www.brainybetty.com

เจ้าหนี้มีประกัน กรณีตามมาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อพิจารณา เจ้าหนี้มีประกัน หากไม่ประสงค์จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ก็สามารถใช้สิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากหลักประกันได้ ตามมาตรา 95 ได้ โดยไม่ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ เพียงแต่ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าตนจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเท่านั้น แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบดูทรัพย์สินได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่รับทราบ หามีอำนาจอนุญาตหรือไม่ให้ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 ไม่ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 10429/2557 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยโจทก์เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้หรือไม่ คำสั่งของ จพท.ที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้อง ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายและไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิหรือเสียสิทธิ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใดๆจากคำสั่งของ จพท.... Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 6722/2544 การใช้สิทธิตามมาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียงแต่แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันผู้เลือกใช้สิทธิตามมาตรา 95 ได้รับชำระหนี้หรือไม่ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้อง ...ความจริงไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติล้มละลายฯที่บัญญัติให้หน้าที่ให้เจ้าหนี้มีประกันต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงการใช้สิทธิในมาตรา 95 คงมีเพียงแต่หน้าที่ยอมให้ตรวจสอบดูทรัพย์สินเท่านั้น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อพิจารณา(ต่อ) กฎหมายบัญญัติต่อไปว่า “(ทรัพย์หลักประกัน) ซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์” ดังนั้นกรณีจะใช้สิทธิตามมาตรา 95 นี้ได้อย่างสมบูรณ์ ลูกหนี้ต้องให้ทรัพย์หลักประกันแก่เจ้าหนี้ก่อนเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ไม่ว่าชั่วคราวหรือเด็ดขาด Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com กฎหมายมิได้ใช้คำว่า “ก่อนวันถูกพิทักษ์ทรัพย์” ในลักษณะอย่างมาตรา 94 ดังนั้น แม้ได้มาก่อนเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 95 ได้ (เพียงแต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ความจริงเช่นนั้น) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 2968/2522 การที่เจ้าหนี้จำนองนำพยานมาให้การเพียงว่า รับจำนองทรัพย์สินจากลูกหนี้เสร็จในวันเดียวกันกับวันที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น หมายความว่า ได้จดทะเบียนจำนองเสร็จก่อนสิ้นเวลาราชการในวันนั้น แต่ศาลอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเวลา 13.30 น. จึงฟังไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้จดทะเบียนจำนองเสร็จก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงจะถือว่าเจ้าหนี้จำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิจำนองเหนือทรัพย์สินจำนอง ซึ่งลูกหนี้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 95 ไม่ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com เจ้าหนี้มีประกันจะต้องเลือกใช้สิทธิตามมาตรา 95 หรือ 96 เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น กรณีที่เจ้าหนี้มีประกันไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้มีประกันคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เป็นหลักประกันเท่านั้น หากบังคับคดีเอาแก่หลักประกันแล้วได้เงินไม่คุ้มหนี้ เจ้าหนี้มีประกันนั้นก็หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาด แม้เจ้าหนี้มีประกันจะมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามสัญญาจำนองก็ตาม ถ้าเจ้าหนี้มีประกันประสงค์จะได้รับชำระหนี้เกินกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เป็นหลักประกันด้วย เจ้าหนี้มีประกันจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 96 Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อสังเกต ประเด็นคือ เจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 จะต้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีลักษณะ “มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน” (เหมือนอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 (1)) ด้วยหรือไม่ Free template from www.brainybetty.com

เจ้าหนี้มีประกัน ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 หากเจ้าหนี้มีประกันประสงค์จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลายซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 96 ต่อไป ดังนี้ ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้เต็มจำนวน (กลายเป็นเจ้าหนี้สามัญ) หรือ Section001/ 4 April 2017 Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ขอรับชำระหนี้ที่ยังขาดอยู่ หลังจากที่บังคับเอาจากทรัพย์ที่เป็นประกันแล้ว หรือ ขอรับชำระหนี้ที่ยังขาดอยู่ หลังจากที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกัน Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ตีราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้ที่ยังขาดอยู่ซึ่งในกรณีนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิกระทำการได้ดังนี้ ไถ่ถอนทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามราคาที่เจ้าหนี้ตีราคาไว้ (กรณีน่าจะเห็นว่าราคานั้นต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สิน) ขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน โดยวิธีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้ตกลงกันในวิธีการขาย เช่นขายทอดตลาดก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะใช้วิธีการขายใด ๆ จะต้องไม่ขายไปในราคาต่ำกว่าที่เจ้าหนี้ได้ตีราคาไว้ หากขายได้ราคาสุทธิเท่าใดให้ถือว่าราคานั้นเป็นราคาที่เจ้าหนี้ตีราคามาในคำขอ (แล้วจึงนำไปหักกับหนี้นั้น ส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ขอรับชำระหนี้ได้) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com และหากภายในกำหนด 4 เดือนนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการแจ้งว่าจะใช้สิทธิไถ่ถอน หรือแจ้งว่าจะขายทรัพย์สินนั้น ให้ถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยินยอมให้ทรัพย์หลักประกันนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าหนี้ในราคาที่เจ้าหนี้ได้ตีราคาไว้ในคำขอ (เมื่อหักกับหนี้ ก็ขอรับชำระหนี้ได้ในส่วนที่ยังขาดอยู่) นอกจากนี้ถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมดสิทธิไถ่ถอน หรือขายทรัพย์สินนั้น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อสังเกต เจ้าหนี้มีประกันที่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ได้จะต้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้เกินกว่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน หรือไม่ ? พิจารณา มาตรา 96 (2)(3) และวรรคท้าย Free template from www.brainybetty.com

การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน ประกอบด้วย 4 ทางเลือก ดังนี้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com วิธีที่ 1 ยินยอมสละหลักทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายแล้ว ขอรับชำระหนี้ได้เต็มจำนวน กรณีเป็นขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ ได้รับส่วนแบ่งชำระหนี้เฉลี่ยเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ไม่มีประกันทั่วไป เพียงแต่จะได้สิทธิเต็มจำนวน Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อสังเกต กรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งมีหลักประกันของบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประกันหนี้ จะยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้ กรณีนี้ต้องถือว่าเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ดังนั้นต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 โดยมีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน ส่วนทรัพย์ที่เป็นหลักประกันก็สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามสิทธิเอากับเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประกัน โดยไม่ต้องแบ่งหรือเฉลี่ยกับเจ้าหนี้รายใด (ดู คำพิพากษาฎีกาที่ 1550/2513) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1550/2513 ...เจ้าหนี้มีประกัน เกี่ยวกับการจำนอง หมายความว่า ผู้ล้มละลายซึ่งเป็นลูกหนี้ได้จำนองทรัพย์สินไว้กับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้โดยตรง การที่ผู้ร้องแต่ผู้เดียวได้จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยจะเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ไม่ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ต่อมาเมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ย่อมถือว่าเป็นการขอรับชำระหนี้อย่างมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยินยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายตามมาตรา 96(1) หนี้จำนองระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ยังมีอยู่ตามสัญญาจำนอง โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com วิธีที่ 2 บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ การบังคับแก่ทรัพย์สินหลักประกัน ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายนั้น ๆ เช่น หากบังคับจำนอง ก็ต้องฟ้องร้องบังคับจำนอง หากบังคับจำนำ ก็สามารถนำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดได้เองโดยไม่ต้องฟ้องศาล (ปพพ. มาตรา 764) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com วิธีที่ 3 ขอรับชำระหนี้ที่ยังขาดอยู่ หลังจากที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกัน วิธีการนี้ เจ้าหนี้ไม่ต้องบังคับชำระหนี้ด้วยตนเอง แม้การบังคับชำระหนี้นั้นกฎหมายบัญญัติให้ต้องฟ้องศาล ก็ตาม เช่น จำนอง เพราะเจ้าหนี้สามารถขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล แม้เป็นจำนำก็เช่นกัน Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1725/2528 การที่เจ้าหนี้เป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน ย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน คือ หุ้น แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตามมาตรา 96(3) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com วิธีที่ 4 ตีราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ภายใต้เงื่อนไขมาตรา 96(4) ไถ่ถอนทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามราคาที่เจ้าหนี้ตีราคาไว้ (กรณีน่าจะเห็นว่าราคานั้นต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สิน) ขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน โดยวิธีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้ตกลงกันในวิธีการขาย Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าหนี้ทราบว่าจะใช้สิทธิไถ่ถอนหรือตกลงให้ขายทรัพย์สินหลักประกันภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ข้อสังเกต ในการตีราคาทรัพย์สิน(ด้วยตนเอง)นั้น เจ้าหนี้ต้องตีราคาตามความจริง เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หากตีราคาทรัพย์ต่ำเกินไป โดยหวังให้เกิดส่วนต่างของหนี้ที่ขาดจำนวนมาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจจะใช้สิทธิไถ่ถอนตามราคาที่เจ้าหนี้ตีราคามา และขอรับหลักประกันนั้นเข้ารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ หากตีราคาสูงไป(เกินกว่าราคาทรัพย์) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็อาจจะปล่อยให้เจ้าหนี้ได้ทรัพย์สินนั้นไปในราคาที่ตีไว้ ย่อมส่งผลเสียต่อเจ้าหนี้ เพราะจะเหลือส่วนต่างที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ประเด็นที่น่าสนใจ เจ้าหนี้มีประกันจะแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วน แล้วขอใช้สิทธิตามมาตรา 95 ในหนี้บางส่วน และขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ในหนี้ส่วนที่เหลือได้หรือไม่ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1711/2535 เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 95 หรือมาตรา 96 เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพียงมาตราเดียว หากเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 แล้วย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นตามมาตรา 95 อีกต่อไป และต้องขอรับชำระหนี้ทั้งหมดของตนที่มีทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามมาตรา 91 Free template from www.brainybetty.com

เหตุตัดสิทธิขอรับชำระหนี้ฐานะเจ้าหนี้มีประกัน (มาตรา 97) มาตรา 97 การที่เจ้าหนี้มีประกันมาขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้นั้นต้องคืนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และสิทธิเหนือทรัพย์นั้นเป็นอันระงับ เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะแสดงต่อศาลได้ว่า การละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ ในกรณีเช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้เสียใหม่ให้ถูกต้องได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com หลักประกันที่ลูกหนี้ได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้มีประกันอาจเป็นทรัพย์สินที่ยากในการตรวจสอบเพราะ ไม่มีการจดทะเบียน หรือกรณีเป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอาจมีมูลค่ามากกว่ามูลหนี้ที่เป็นประกันไว้ กรณีจึงอาจมีเจ้าหนี้บางรายอาศัยโอกาสเช่นนี้ไม่แจ้งทรัพย์ที่เป็นประกันให้ปรากฏในคำขอรับชำระหนี้และแสดงตนเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกัน โดยมีเจตนาทุจริตยึดถือทรัพย์อันเป็นประกันนั้นไว้เป็นของตนเองโดยไม่ผ่านการรับรู้หรือตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกระบวนการแต่อย่างใด ดังนั้นหากมีการพบพฤติการณ์ดังกล่าวไม่ว่าขณะใดในเวลาภายหลังที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว มาตรา 97 มีผลทางกฎหมายให้สิทธิในทรัพย์อันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้รายนั้น ๆ เป็นอันสิ้นผลไป และส่งผลให้เจ้าหนี้นั้นมีสิทธิได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกัน Free template from www.brainybetty.com

ความผลั้งเผลอ (ปัญหาข้อเท็จจริง) และผลทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามการละเลยไม่แจ้งความเป็นเจ้าหนี้มีประกันอาจเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ เจ้าหนี้รายนั้น ๆ สามารถใช้สิทธิยื่นขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ในส่วนของหลักประกันได้ ทั้งนี้เจ้าหนี้จะต้องแสดงเหตุผลหรือหลักฐานใด ๆ อันแสดงถึงความพลั้งเผลอ ศาลอาจพิจารณาให้แก้ไข หรือสั่งในลักษณะอนุญาตแบบมีเงื่อนไขอย่างใด ๆ ก็ได้ตามที่เห็นสมควร หรืออาจมีคำสั่งในทำนองเป็นการลงโทษเจ้าหนี้มีประกันได้ตามที่เห็นสมควร เช่น กรณีความผิดได้ตรวจพบเมื่อมีการได้รับเฉลี่ยชำระหนี้คืนในฐานะเจ้าหนี้ธรรมดาไปบางส่วนแล้ว ศาลอาจสั่งให้คืนส่วนที่ได้รับแบ่งไปแล้วกลับเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ หรืออาจสั่งเป็นอย่างอื่น เช่น สั่งให้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนแห่งจำนวนหนี้มีประกันก็ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 2909/2522 เจ้าหนี้มีจำนองเป็นประกันไม่แจ้งในคำขอรับชำระหนี้ว่าเป็นหนี้มีจำนอง ใบกรอกรายละเอียดหลักประกันในบัญชีประกอบคำขอเห็นได้ชัดว่าประสงค์ขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ศาลไม่อนุญาตให้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันและให้สิทธิจำนองระงับไป Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1051/2537 ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันด้วยความพลั้งเผลอ ไม่ได้มีเจตนาปกปิดเรื่องการจำนองเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่นเนื่องจากผู้ร้องได้ระบุหมายเลขคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองมาในช่องหลักฐานประกอบหนี้ของคำขอรับชำระหนี้ซึ่งปรากฏรายการจำนองทรัพย์ในคำพิพากษาดังกล่าว และผู้ที่ผู้ร้องมอบหมายก็ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนว่า หนี้ของผู้ร้องเป็นหนี้มีประกัน และอ้างส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์และสัญญาจำนองต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้เป็นขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันได้ (795/2553) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com ความตอนท้ายของมาตรา 97 ที่บัญญัติว่า “โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร” นั้นหมายความว่า “แม้จะมีการขายและแบ่งทรัพย์สินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้กันไปบ้างแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้ ดังนั้นแม้ศาลจะได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้ได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความในคำขอรับชำระหนี้ได้ Free template from www.brainybetty.com

คำพิพากษาฎีกาที่ 1097/2536 การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆแม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ

กำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ กำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้ทั่วไป มาตรา 27 มาตรา 28 และมาตรา 91 กำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้พิเศษ มาตรา 27 มาตรา 92 และมาตรา 93 Free template from www.brainybetty.com

กำหนดเวลายื่นขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้ปกติทั่วไป มาตรา 28 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำสั่งนั้นในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับในคำโฆษณานั้นให้แสดงการขอให้ล้มละลาย วันที่ศาลมีคำสั่ง ชื่อ ตำบลที่อยู่ และอาชีพของลูกหนี้ ในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น ให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย  มาตรา 91 เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตามต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกินสองเดือน  

คำว่า “เจ้าหนี้” ตามมาตรา 91 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ. ศ คำว่า “เจ้าหนี้” ตามมาตรา 91 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หมายถึงเจ้าหนี้ทั้งหลายที่มีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ธรรมดาและไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน กำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้ในมาตรา 91 จะไม่ได้บัญญัติคำว่า “เจ้าหนี้ในราชอาณาจักร” ไว้แต่อย่างใด แต่ถือเป็นที่ยอมรับในทางตำรากฎหมาย ที่สามารถนำมาใช้เพื่ออธิบายเรื่องกำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในชั้นนี้ได้ เพราะมาตรา 91 มีการบัญญัติถึงสิทธิที่ “เจ้าหนี้นอกราชอาณาจักร” อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ช้ากว่ากำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้

เจ้าหนี้ในราชอาณาจักร คำว่า "เจ้าหนี้ในราชอาณาจักร" บทนิยามในมาตรา 6 พระราชบัญญัติล้มละลายมิได้กำหนดหรือบัญญัติให้ความหมายไว้ แต่ได้มีการให้ความหมายคำว่า “เจ้าหนี้นอกราชอาณาจักร” ไว้ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาในทางตรงข้ามเพื่อให้ได้ความหมายของคำว่า “เจ้าหนี้ในราชอาณาจักร” ดังนี้  "เจ้าหนี้นอกราชอาณาจักร" ตามความหมายของมาตรา 91 หมายถึง เจ้าหนี้ซึ่งมีสัญชาติไทยหรือสัญชาติต่างประเทศ แต่ว่าอยู่นอกราชอาณาจักร คำว่า “อยู่นอกราชอาณาจักร” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่ามีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงเจ้าหนี้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร แต่ว่าในขณะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เจ้าหนี้มิได้อยู่ในราชอาณาจักรก็น่าจะเพียงพอแล้ว (ดูแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 2110/2540)ปรีชา พานิชวงศ์, คำอธิบายกฎหมายล้มละลาย กรุงเทพ สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ สิงหาคม 2546, หน้า 364.

กำหนดเวลา 2 เดือนเริ่มนับเมื่อใด? กำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้จะบัญญัติไว้เช่นนี้แต่กฎหมายมิได้กำหนดเวลาในการประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่แน่นอนว่าหมายถึงวันใดอันจะทำให้ทราบวันเวลาเริ่มต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นประเด็น "วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด" จึงมีความสำคัญต่อการยื่นคำขอรับชำระหนี้

"วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด" หมายถึง วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ลงประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษา และหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ (มาตรา 28) แต่เนื่องจากการลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันอาจไม่สามารถลงโฆษณาคำสั่งได้ตรงกันซึ่งอาจขึ้นอยู่กับขั้นตอน ระเบียบปฏิบัติที่ซับซ้อนต่างกัน เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ให้นับวันโฆษณาหลังสุดเป็นวันเริ่มต้นของการนับระยะเวลา 2 เดือนที่เจ้าหนี้จะสามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ข้อสังเกต เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว แม้ว่ายังไม่มีการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดด้วยวิธีการใดๆเลย เจ้าหนี้ก็สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้แล้ว เพราะนับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ได้แล้ว การกำหนดเกณฑ์ให้นับวันประกาศหลังสุดเป็นเกณฑ์ก็เพื่อให้สามารถระบุวันสิ้นสุดการยื่นขอรับชำระหนี้ได้เป็นสำคัญ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2392/2528 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยสุจริตหาได้ไม่ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้โจทก์ทราบหาได้ไม่ เพราะจะเท่ากับเป็นการขยายระยะเวลาตามมาตรา 91 ออกไปโดยมีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1237/2532 ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วจะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 2 เดือนตามบทบัญญัติมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายหาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติได้กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตาม มาตรา 179 หรือมาตรา 180 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมได้อีก ข้อสังเกต กรณีเป็นการห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมในส่วนของจำนวนหนี้เมื่อพ้นระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว หากเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยื่นขอแก้ไขข้อความอื่น ๆ ที่เกิดข้อผิดพลาดจากการพิมพ์โดยมิได้มีการเพิ่มเติมจำนวนหนี้เข้ามาใหม่ กรณีจึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 และถือเป็นการแก้ไขคำคู่ความอย่างหนึ่งในคดีล้มละลาย จึงสามารถนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้โดยอนุโลม

เจ้าหนี้นอกราชอาณาจักร เจ้าหนี้ที่เป็นคนไทย หรือคนสัญชาติต่างประเทศอยู่นอกราชอาณาจักร อาจร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขยายเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ได้อีกไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

คำพิพากษาฎีกาที่ 2110/2540 เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่ง หมายถึง เจ้าหนี้ทั้งที่เป็นคนไทย และต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความจริงของ เจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาคำสั่งให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาตามกฎหมายของเจ้าหนี้ดังกล่าวว่า อยู่ ณ ที่ใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในช่วงระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ผู้ร้องอยู่ในราชอาณาจักร

ดุลพินิจของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อการขยายเวลา สิทธิในการยื่นขอรับชำระหนี้ได้ช้ากว่า 2 เดือนสำหรับเจ้าหนี้นอกราชอาณาจักรนั้นเป็นสิทธิภายใต้เงื่อนไขการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะเห็นสมควรอนุญาตให้หรือไม่ ดังนั้นความเหมาะสมและพฤติการณ์ของเจ้าหนี้จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป

คำพิพากษาฎีกาที่ 2537/2534 การขอรับชำระหนี้ในกรณีเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้ดุลพินิจขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน 2 เดือนนั้นมิใช่บทบังคับต้องขยายกำหนด เวลาให้เสมอไป การจะขยายให้หรือไม่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและเหตุผลอันสมควร ดังนี้ แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร แต่ก็มีตัวแทนประกอบธุรกิจอยู่ในราชอาณาจักร หนี้ที่ขอรับชำระหนี้ก็เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ก่อขึ้นกับสำนักงานตัวแทนของผู้ร้องในราชอาณาจักร การที่ตัวแทนของผู้ร้องดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ก็ได้อาศัยใบมอบอำนาจของ ผู้ร้อง ซึ่งมีอยู่แต่เดิมตัวแทนผู้ร้องก็สามารถรับรู้กำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เท่ากับเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ที่อยู่ในราชอาณาจักร หากจะขยายกำหนดเวลาให้ผู้ร้องและรับคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องย่อมไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้รายอื่น

คำพิพากษาฎีกาที่ 127/2525 การที่เจ้าหนี้นอกราชอาณาจักรได้ยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลามาพร้อมกับคำขอรับชำระหนี้ แม้จะเกินกำหนด 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วก็ยังอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะพิจารณาขยายกำหนดเวลาให้ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 ไม่ต้องยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลาก่อน 2 เดือน เพราะไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือมีคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย

การยื่นคำร้องต่อศาลขอยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนด มาตรา 91/1 ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 วรรคหนึ่งให้เจ้าหนี้มีคำขอโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลว่าเจ้าหนี้ประสงค์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้และแสดงถึงเหตุสุดวิสัยที่ตนไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันภายในกำหนดเวลา เมื่อศาลเห็นว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยและมีเหตุผลอันสมควรที่จะให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้รายนั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด (เฉพาะสิทธิในการยื่นคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นไม่ใช่เป็นการรับรองให้ได้รับชำระหนี้)

(วรรคสอง) เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่ภายหลังการแบ่งทรัพย์สินก่อนที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการใดที่ศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว

Free template from www.brainybetty.com ประเด็นว่า “มีเหตุสุดวิสัย” ต้องได้ความว่ามีเหตุผลอันเพียงพอที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนด ประเด็นว่า “มีเหตุอันสมควร” ต้องได้ความทำนองว่าการที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดนั้นมิได้เกิดจากการที่จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้อยแรง Free template from www.brainybetty.com

กำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้พิเศษ มาตรา 27 มาตรา 92 และมาตรา 93 ประเภทเจ้าหนี้ที่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้ระยะเวลาเฉพาะของตนเองมีดังนี้คือ เจ้าหนี้ผู้ได้รับความเสียหาย ตามมาตรา 92 เจ้าหนี้ผู้ชนะคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดี ตามมาตรา 93 เจ้าหนี้ซึ่งเกิดในระหว่างเวลาศาลมีคำสั่งเห็นชอบการประนอมหนี้ จนถึงวันที่ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลาย (มาตรา 60, มาตรา 63) เจ้าหนี้ซึ่งเกิดในระหว่างศาลสั่งปลดการล้มละลายจนถึงเวลาที่ศาลสั่งเพิกถอนการปลดการล้มละลาย (มาตรา 81)

Free template from www.brainybetty.com

กรณีแรก : บุคคลที่ได้รับความเสียหายเพราะสิ่งของตนถูกยึดไปตามมาตรา 109 (3) หลัก : บุคคลที่ได้รับความเสียหายเพราะสิ่งของตนถูกยึดไปตามมาตรา 109 (3) สามารถยื่นขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ หรือนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี มาตรา 109 (3)

วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้? กรณีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ผู้เสียหายกรณีนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ หรือนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณีมีความหมายอย่างไร ? หากเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดเพราะเป็นทรัพย์สินตามมาตรา 109 (3) ไม่ประสงค์จะขอให้ปล่อยการยึดนั้นก็ชอบที่จะเรียกค่าเสียหายอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ๆ โดยให้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ตามจำนวนที่เห็นว่าเป็นค่าเสียหายยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกำหนดตามมาตรา 91 นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ซึ่งหมายถึง นับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นถูกยึดไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง หากเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดดังกล่าวประสงค์ที่จะได้ทรัพย์สินนั้นคืนก็สามารถยื่นคำร้องขอให้ปล่อยการยึดได้ตามมาตรา 158 (ร้องขัดทรัพย์) ซึ่งจะต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำคัดค้านการยึดและสอบสวนแล้วเห็นว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้คัดค้านจริงก็สามารถสั่งถอนการยึดได้เอง ผู้คัดค้านก็จะได้รับทรัพย์สินนั้นคืน แต่หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้พิจารณาแล้วไม่ถอนการยึด ผู้คัดค้านจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้พิจารณาอย่างคดีธรรมดา หากศาลมีคำสั่งอย่างไรและผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ยังคงเสียหายอยู่ก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในความเสียหายนั้นได้ภายในกำหนดมาตรา 91 นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

กรณีที่สอง : บุคคลที่ได้รับความเสียหาย กรณีที่สอง : บุคคลที่ได้รับความเสียหาย เพราะการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ถูกเพิกถอนตามมาตรา 115 หลัก : กรณีที่ลูกหนี้ได้กระทำการโอนทรัพย์สิน หรือการกระทำใด ๆ หรือลูกหนี้ยินยอมให้กระทำการดังกล่าวในระหว่าง 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้น โดย (ลูกหนี้)มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น กรณีเช่นนี้ศาลจะเป็นผู้พิจารณาเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ดังกล่าว หากศาลได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนถึงที่สุด มาตรา 92 ให้สิทธิเจ้าหนี้ดังกล่าวกำหนดความเสียหายและยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันคดีถึงที่สุด   พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น โดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้ ถ้าเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบเป็นบุคคลภายในของลูกหนี้ ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำตามวรรคหนึ่งที่ได้กระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลาหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น

วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้? กรณีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ผู้เสียหายกรณีนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ หรือนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณีมีความหมายอย่างไร ? พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้บัญญัติถึง การกระทำใด ๆ อันมิชอบและอาจถูกเพิกถอนได้ในภายหลังซึ่งปรากฎในมาตรา 113, มาตรา 114, มาตรา 115 และมาตรา 116 แต่มีเพียงการเพิกถอนตามมาตรา 115 เท่านั้นที่ให้สิทธิเจ้าหนี้ที่ถูกเพิกถอนขอรับชำระหนี้สำหรับมูลหนี้เดิมได้ เพราะเมื่อพิจารณามาตรา 115 จะเห็นว่า บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ที่ถูกศาลเพิกถอนเหล่านี้มิได้เป็นผู้เจตนาทุจริตในการก่อนิติสัมพันธ์ขึ้นก่อนที่จะถูกเพิกถอน หากแต่เป็นนิติกรรมการโอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆ อันเกิดจากเจตนาทุจริตของลูกหนี้ฝ่ายเดียวเป็นสำคัญ แต่ก็ถือว่าเป็นผลเสียหายและไม่เป็นธรรมจึงจำเป็นต้องเพิกถอนการโอน หรือการกระทำเพื่อประโยชน์เจ้าหนี้ทั้งหลาย แต่ก็ยังคงคุ้มครองหรือเยียวยาความเสียหายให้เจ้าหนี้ผู้สุจริตที่ถูกเพิกถอนด้วยการให้สิทธิยื่นขอรับชำระหนี้นั้นเอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 109/2522 ลูกหนี้โอนสิทธิการเช่าตีราคา 1,500,000บาทหักกลบลบหนี้เงินกู้กับผู้คัดค้านโดยรีบร้อนก่อนโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายไม่กี่วัน ลูกหนี้ไม่ใช้หนี้แก่เจ้าหนี้อื่นเลยจำนวน 15 ราย 20ล้านบาท เป็นการได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนการหักกลบลบหนี้ได้โดยต้องคืนเงิน 1,500,000 บาทแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และพิสูจน์หนี้ของตนในคดีล้มละลาย คำพิพากษาฎีกาที่ 1444/2523 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 92 บัญญัติถึงวิธีการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไว้โดยเฉพาะแล้ว การที่ศาลเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ เพราะเหตุเจ้าหนี้ได้กระทำโดยไม่สุจริตตาม มาตรา 114 นั้นเป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรา 92 ดังกล่าว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ถูกเพิกถอน

(สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 92 ไม่รวมถึงบุคคลตามมาตรา 116 นั้นเอง) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2526 ผู้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้เป็นผู้รับโอนที่ดินไว้จากลูกหนี้โดยตรง แต่ได้รับโอนจากบุคคลภายนอกหลังจากที่ลูกหนี้ถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว แม้ต่อมาศาลจะได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ถือไม่ได้ว่าผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา115 ที่จะให้สิทธิแก่ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม มาตรา 92 เพราะผู้ขอรับชำระหนี้กับลูกหนี้ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกันอันเป็นมูลหนี้ก่อให้เกิดความเสียหาย (สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 92 ไม่รวมถึงบุคคลตามมาตรา 116 นั้นเอง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2531 หนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจำนวน 300,000 บาท แม้ต่อมาสัญญาจำนองจะถูกเพิกถอนก็ไม่กระทบกระเทือนถึงข้อความที่ระบุไว้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน ถือได้ว่าการกู้ยืมมีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 92 --------------- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2539 เมื่อการโอนทรัพย์พิพาทถูกเพิกถอนแล้วผู้คัดค้านจะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมาย การที่ศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้มิใช่เป็นการตัดสิทธิของผู้คัดค้านแต่อย่างใด นอกจากนี้บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเพราะการโอนถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา114 เป็นบุคคลผู้ไม่สุจริตขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะเป็นกรณีนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้จึงชอบแล้ว (นำเทียบเคียงกับกรณีมาตรา 115 ได้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2531 การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะเป็นผลให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้นั้น ต้องเป็นการเพิกถอนตามมาตรา 115 คือเป็นเรื่องที่ลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆ ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น ซึ่งหมายถึงการโอนที่กระทำก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมถึงการโอนที่กระทำภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ดังนั้นหากมีการชำระหนี้ภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การชำระหนี้นั้นก็เป็นโมฆะไม่มีผลบังคับแม้เจ้าหนี้จะรับชำระหนี้ไว้ ก็ไม่ทำให้หนี้นั้นระงับไป เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้นั้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 การที่เจ้าหนี้ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแม้ต่อมาศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนการชำระหนี้รายนี้เสีย เมื่อการเพิกถอนไม่เกี่ยวกับปัญหาตามมาตรา 115 เจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 92 ได้

กรณีที่สาม : บุคคลที่ได้รับความเสียหายเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับทรัพย์สิน หรือ ปฏิเสธสิทธิตามสัญญาที่มีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่ลูกหนี้จะพึงได้ตามมาตรา 122 หลัก : กรณีนี้เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกที่เป็นคู่สัญญากับลูกหนี้มาก่อนและได้รับความเสียหายเพราะถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้อำนาจ ตามมาตรา 122 ไม่ยอมรับทรัพย์สิน หรือปฏิเสธสิทธิตามสัญญาที่มีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่ลูกหนี้จะพึงได้ บุคคลนั้นอาจยื่นขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดมาตรา 91 นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ หรือนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญานั้นได้ บุคคลใดได้รับความเสียหายโดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับดังกล่าว มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ 801 / 19 April 2017

มาตรา 122 มีหลักกฎหมายในรายละเอียดอย่างไรจะได้กล่าวต่อไปในภายหลัง แต่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า บุคคลผู้ได้รับความเสียหายในกรณีนี้ชอบที่จะใช้สิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ได้นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้หรือนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณีมีลักษณะเป็นอย่างไร? หากผู้ใดถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้สิทธิตามมาตรา 122 และทำให้ได้รับความเสียหายและไม่โต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งก็ชอบที่จะคิดคำนวณค่าเสียหายและนำไปยื่นขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดตามมาตรา 91 นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งคำสั่งมาถึงให้ทราบแล้ว หากบุคคลใดเมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา 122 จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วและประสงค์จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งก็ชอบที่จะยื่นคำร้องไปยังศาลล้มละลายเพื่อคัดค้านการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามมาตรา 146 ซึ่งต้องมีการพิจารณาคดีและศาลล้มละลายต้องมีคำวินิจฉัยแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากคดีถึงที่สุดผู้ร้องยังคงเสียหายก็ชอบที่จะยื่นขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 91 นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

คำพิพากษาฎีกาที่ 2634/2535 กรณีที่เจ้าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 122 เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระให้แก่ลูกหนี้ไปแล้ว และค่าเสียหายที่ได้รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันทีตามมาตรา 91 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2553 ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ระบุว่า เจ้าหนี้ได้ชำระเงินมัดจำและราคาบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ (จำเลย) ทั้งสองไปแล้วเป็นเงิน 819,840 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำห้องชุดที่จะซื้อขายออกขายทอดตลาดโดยมีผู้อื่นซื้อไปแล้ว การชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งสองจึงตกเป็นพ้นวิสัยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายจึงขอรับชำระหนี้ตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ทั้งสองเป็นการประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้ในหนี้เงินอย่างเห็นได้ชัด โดยไม่มีเจตนาที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสองเด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2546 ซึ่งครบกำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2546 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแล้ว แม้เจ้าหนี้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาตามมาตรา 91 ออกไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้ (อาจมีประเด็น 91/1) ที่เจ้าหนี้อ้างว่ามีสิทธิขอรับชำระหนี้กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 92 นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดก่อน จึงไม่ต้องด้วยกรณีเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายตามมาตรา 122 เจ้าหนี้จึงไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้

2.เจ้าหนี้ผู้ชนะคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เข้า ดำเนินคดีตามมาตรา 93 มาตรา 93 ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่แทนลูกหนี้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 แต่ให้นับจากวันคดีถึงที่สุด หลัก : กรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งแทนลูกหนี้(ดู มาตรา 25)และศาลแพ่งพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เฉพาะหนี้เงินเท่านั้นที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด แม้จะเป็นระยะภายหลัง 2 เดือนนับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดไว้ในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพียงใดก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2534 ผู้ร้องยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่ง ระหว่างพิจารณาศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงต่อศาลในคดีแพ่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลย ขอให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลย ผู้ร้องแถลงคัดค้าน ขอให้ดำเนินคดีต่อไปศาลมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามคำคัดค้านของผู้ร้อง ย่อมมีผลเท่ากับศาลไม่อนุญาตตามคำแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบคำสั่งแล้วแม้ในวันนัดต่อ ๆ มา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้มาศาล แต่ศาลก็ได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลทุกครั้ง กรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแทนจำเลยแล้วเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันที่คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 93.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2547 บทบัญญัติมาตรา 93 แห่ง พ. ร. บ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2547 บทบัญญัติมาตรา 93 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ หมายความว่า กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แทนลูกหนี้และศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนกระทั่งพิพากษาตามประเด็นแห่งคดีนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่การที่ศาลจังหวัดเชียงรายซึ่งผู้ร้องทั้งสิบสองได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยออกจากสารบบความนั้น ย่อมไม่มีคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาระหว่างโจทก์ (ผู้ร้องในคดีนี้) กับจำเลยอีกต่อไปไม่มีการแพ้ชนะคดี และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 25 หรือไม่นั้นย่อมเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอประการใดต่อศาล ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรดังที่ศาลจังหวัดเชียงรายได้ใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยออกจากสารบบความ ซึ่งมิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี ผู้ร้องทั้งสิบสองจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 93 แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสิบสองต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาแทนจำเลยตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) และ 122

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2497 ในกรณีที่เจ้าหนี้ของผู้ล้มละลายกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีเป็นการพิพาทในประเด็นว่า เจ้าหนี้จะมีบุริมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้ล้มละลายหรือไม่ ส่วนหนี้ที่เจ้าหนี้มีอยู่แก่ผู้ล้มละลายนั้นเป็นอันรับรองว่าได้มีอยู่จริงนั้น แม้ศาลจะตัดสินว่าเจ้าหนี้ไม่มีบุริมสิทธิ ก็คงถือได้ว่าเจ้าหนี้คงเป็นเจ้าหนี้ธรรมดาผู้ล้มละลายอยู่ คดีจึงเข้าอยู่ใน พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา 93 คือเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือนนับแต่วันคดีถึงที่สุด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/97)

ข้อสังเกต มาตรา 93 บัญญัติให้สิทธิเฉพาะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น   คำพิพากษาฎีกาที่ 501/2536 เจ้าหนี้ของลูกหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาแทนลูกหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เจ้าหนี้จะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างเพื่อขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือนนับจากที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดโดยอนุโลมตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 93 หาได้ไม่ (กรณีนี้ต้องขอรับชำระหนี้ตามหลักในมาตรา 91)

3. เจ้าหนี้ในกรณีที่ศาลสั่งยกเลิกการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ผลของการที่ศาลเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายประการหนึ่งคือ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะสิ้นผลบังคับและส่งผลให้ลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนเองได้ดังเดิม ดังนั้นลูกหนี้จึงอาจก่อหนี้กับเจ้าหนี้บุคคลภายนอกขึ้นได้ใหม่อีก และหากภายหลังมีเหตุให้ศาลสั่งยกเลิกการประนอมหนี้ที่เคยเห็นชอบและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย บรรดาเจ้าหนี้รายใหม่ที่มูลหนี้เกิดขึ้นในช่วงระหว่างหลังวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้จนถึงก่อนวันที่ศาลสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และมีคำพิพากษาให้ล้มละลายจะมีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่อย่างไร แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จะมิได้บัญญัติให้สิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ไว้ แต่ให้อนุโลมนำบทบัญญัติใน 91 มาบังคับใช้โดยให้สิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือนแต่ให้นับจากวันโฆษณาคำพิพากษาให้ล้มละลายแทน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 60 เอื้อน ขุนแก้ว, คู่มือการศึกษากฎหมายล้มละลาย, พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2548, หน้า 136.

4. เจ้าหนี้ในกรณีที่ศาลสั่งยกเลิกการปลดจากล้มละลาย (มาตรา 81) 4. เจ้าหนี้ในกรณีที่ศาลสั่งยกเลิกการปลดจากล้มละลาย (มาตรา 81) คำสั่งปลดลูกหนี้จากการเป็นบุคคลล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากคดีล้มละลายและสามารถกลับเข้ามีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนเองได้ดังเดิม รวมตลอดถึงมีอำนาจทำนิติกรรมสัญญาใด ๆ ด้วย ดังนั้นบุคคลจึงอาจก่อหนี้ขึ้นใหม่ได้อีก และภายหลังมีเหตุใด ๆ ทำให้ศาลสั่งยกเลิกคำสั่งปลดลูกหนี้จากล้มละลายซึ่งส่งผลให้ลูกหนี้ต้องกลับเข้าสู่การเป็นบุคคลล้มละลายอีก เจ้าหนี้รายใหม่ที่มูลหนี้เกิดขึ้นระหว่างที่ศาลปลดจากล้มละลายไปจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการปลดจากล้มละลายมีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน แต่ให้นับแต่วันโฆษณาคำสั่งเพิกถอนการปลดลูกหนี้จากล้มละลายตามมาตรา 81 มาตรา 81 เมื่อศาลได้เพิกถอนคำสั่งปลดจากล้มละลายแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ทั้งให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย ก่อนที่ศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนนั้นด้วย

5. การขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันลูกหนี้ มาตรา 101 ถ้าลูกหนี้ร่วมบางคนถูกพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ร่วมคนอื่นอาจยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว  บทบัญญัติในวรรคก่อนให้ใช้บังคับแก่ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันร่วม หรือบุคคลที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้โดยอนุโลม ---------------- ลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอาจมีหนี้บางรายที่ต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น ๆ อีก หรือหนี้บางรายอาจมีผู้ค้ำประกันที่อาจรับผิดแทนลูกหนี้ได้ แม้บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้จะไม่ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องเป็นคดีล้มละลายด้วยก็ตาม แต่ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้ที่จะฟ้องร้องบังคับคดีแพ่งกับบุคคลเหล่านี้ในอนาคต

ดังนั้นหากภายหลังลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันเหล่านี้ถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับคดีและได้ชำระหนี้ไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งรวมถึงส่วนที่ลูกหนี้ในคดีล้มละลายมีส่วนต้องร่วมรับผิดด้วย ผู้เป็นลูกหนี้ร่วมย่อมรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้หรือผู้ค้ำประกันย่อมเกิดสิทธิไล่เบี้ยเรียกให้ลูกหนี้ในคดีล้มละลายชำระหนี้คืนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 การรับช่วงสิทธิย่อมมีขึ้นด้วยอำนาจกฎหมาย และย่อมสำเร็จเป็นประโยชน์แก่บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ...(3) บุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับผู้อื่น หรือเพื่อผู้อื่นในอันจะต้องใช้หนี้มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้นั้น และเข้าใช้หนี้นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น...

ประเด็นคือ การใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในฐานะลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกันลูกหนี้คดีล้มละลาย อาจยังไม่เกิดสิทธิไล่เบี้ยในขณะกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 อาจเกิดขึ้นเมื่อพ้นระยะเวลาขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91ไปแล้ว ความเป็นธรรมคืออะไร? มาตรา 101 ให้สิทธิลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกันลูกหนี้ในคดีล้มละลายยื่นขอรับชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าสำหรับหนี้ที่อาจสิทธิไล่เบี้ยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเว้นแต่เจ้าหนี้ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวน

ตัวอย่าง กรณีลูกหนี้ร่วม นาย ก. และนาย ข. ร่วมกันกู้เงินของ ค. เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ซึ่งในหนี้จำนวนดังกล่าวทั้ง นาย ก. และนาย ข. ต้องร่วมกันรับผิดตามสัญญาคนละจำนวนเท่า ๆ กัน คือ 50,000 บาท (มาตรา 296 ป.พ.พ) หากเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว นาย ค. เจ้าหนี้สามารถฟ้อง นาย ก. แต่ผู้เดียวให้รับผิดในหนี้ทั้งจำนวนได้ และหากนาย ก. ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้วทั้งสิ้น 100,000 บาท นาย ก. ก็สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก นาย ข. ลูกหนี้ร่วมได้ในจำนวนเงินเฉพาะที่ใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ คือ 50,000 บาท หากปรากฏว่า นาย ข. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และ นาย ค. ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีที่ นาย ข. ลูกหนี้ร่วมถูกฟ้องคดีล้มละลาย ก็เท่ากับว่า นาย ค. จะฟ้องบังคับหนี้ได้เฉพาะจาก นาย ก. ตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งฯ เท่านั้น ดังนั้น กรณีเช่นนี้ นาย ก. ก็ย่อมเห็นได้ว่าตนเองจะต้องถูกนาย ค. ฟ้องให้รับผิดเต็มจำนวนแน่นอน แต่ในขณะนี้ซึ่ง นาย ข. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตนเองยังไม่ได้ชำระหนี้ให้ นาย ค. แต่อย่างใดเลย แต่นาย ก. ก็สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ นาย ข. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ โดยอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 101 แต่หากเป็นกรณีดังต่อไปนี้

หาก นาย ค. ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย 70,000 บาทจะเห็นได้ว่าเหลือหนี้อีก 30,000 บาท ซึ่ง นาย ก. ต้องใช้ให้กับนาย ค. ดังนั้น นาย ก. ก็ไม่มีสิทธิไล่เบี้ย นาย ข. เพราะ นาย ก. ไม่ได้รับผิดเกินกว่าส่วนที่ตนต้องรับผิด กล่าวคือ รับผิดน้อยกว่าที่ตนต้องรับผิดด้วยซ้ำ (แต่อย่างไรก็ดี กรณีเช่นนี้น่าจะถือว่า นาย ก. มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อ นาย ข. ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดด้วยซ้ำไป ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยของลูกหนี้มาไล่เบี้ยให้นาย ก. ชำระหนี้ที่ นาย ข. ชำระหนี้แทนไป แต่อย่างไรก็ดีน่าจะขึ้นอยู่กับว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไปเต็มจำนวนที่ขอรับชำระหนี้จริงหรือไม่ด้วย) หาก นาย ค. ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จำนวน 40,000 บาท นาย ก. ก็ต้องใช้หนี้ส่วนที่เหลืออีก 60,000 บาท ดังนั้น นาย ก. ก็สามารถขอรับชำระหนี้ได้ในจำนวน10,000 บาท เพราะ นาย ก. ต้องรับผิดเกินส่วนที่ตนต้องรับผิดในจำนวนหนี้ดังกล่าว หาก นาย ค. ขอรับชำระหนี้เต็มจำนวน 100,000 บาท ดังนั้น นาย ก. ก็ไม่เกิดสิทธิไล่เบี้ยแต่อย่างใด เพราะ นาย ข. เป็นผู้รับผิดในหนี้นั้นแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2530 เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาประนีประนอมยอมความของลูกหนี้ในวงเงิน 200,000 บาท ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่บริษัท ส.(เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้) ไปเป็นเงิน 22,500 บาทแล้ว จึงเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิไล่เบี้ยในมูลหนี้ที่ตนได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จำนวน 22,500 บาท ส่วนหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดต่อบริษัท ส. ที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้นั้น เมื่อบริษัท ส. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามจำนวนที่ลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่จริงก็ต้องหักยอดเงินที่บริษัท ส.ได้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้จำนวน 22,500 บาทออกเสียก่อนและถือได้ว่าบริษัท ส.ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 101

คำพิพากษาฎีกาที่ 2111/2551 เจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 ส. และ ว คำพิพากษาฎีกาที่ 2111/2551 เจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 ส. และ ว. ได้ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 กับโจทก์ จึงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 682 วรรคสอง ถ้าเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามมาตรา 693 วรรคหนึ่ง และรับช่วงสิทธิของโจทก์ไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันได้ตามส่วนเท่าๆ กันตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 อีกด้วย เมื่อลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ในภายหน้าได้ทั้งจำนวนหรือตามส่วนแล้วแต่กรณี เว้นแต่โจทก์ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 หรือที่ 2 แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 เมื่อบริษัท พ. ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ชั้นต้นอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค้ำประกันอันมีต่อลูกหนี้ที่ 2 ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อลูกหนี้ที่ 2 ได้...

ข้อสังเกต แม้จะมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจ่ายเฉลี่ยหนี้คืนให้กับลูกหนี้ร่วมที่ยื่นขอรับชำระหนี้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ร่วมผู้นั้นได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้แทนผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว(จริง) พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 125   การเข้ารับช่วงสิทธิดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อลูกหนี้ร่วมคนนั้นได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้วเท่านั้น กล่าวคือ หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าหนี้ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมหรือ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในทางแพ่งเลย หรือการรับผิดนั้นไม่เกินกว่าส่วนที่ตนต้องรับผิดอยู่แล้วในฐานะลูกหนี้ร่วม แม้จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าแล้วก็ตาม ก็หามีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ เพราะเป็นกรณีไม่มีมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นเอง

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18801/2555 เมื่อผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ต่อเจ้าหนี้รายที่ 3 ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 3 ย่อมมีผลให้ผู้ร้องได้รับช่วงสิทธิตามกฎหมายของเจ้าหนี้รายที่ 3 ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเพื่อรับช่วงสิทธิในคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 สำหรับจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 3 ได้ Free template from www.brainybetty.com

คำพิพากษาฎีกาที่ 4633/2541 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าเอากับลูกหนี้ต่างต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็ต้องทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้เสียก่อนตามมาตรา 105

คำพิพากษาฎีกาที่ 3023/2539 ผู้ร้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาร่วมกับลูกหนี้(จำเลย)เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องเนื่องจากเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา101แล้ว แม้ต่อมาผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอรับช่วงสิทธิคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้แล้วเพราะไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลายฯบัญญัติให้กระทำได้และหากจะถือว่าเป็นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ร้องเป็นผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ก็พ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา27,91แล้วผู้ร้องจึงขอเข้ารับช่วงสิทธิคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ได้

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10105/2555 เจ้าหนี้เป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ต่อธนาคาร ก. เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 ปรากฏว่าธนาคาร ก. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย และวรรคสอง การที่เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ตามหนังสือค้ำประกันถึงแม้มีผลให้เจ้าหนี้เข้ารับช่วงสิทธิของธนาคาร ก. บรรดามีเหนือลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 แต่เจ้าหนี้ชำระหนี้แทนลูกหนี้หลังพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แล้ว ดังนี้ ขณะยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้จึงยังไม่ได้รับช่วงสิทธิที่จะมาขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยอาศัยคำขอรับชำระหนี้เดิมของเจ้าหนี้ได้ การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในกรณีนี้เจ้าหนี้ชอบที่จะต้องเข้ารับช่วงสิทธิของธนาคาร ก. ในส่วนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้แล้ว Free template from www.brainybetty.com

ข้อสังเกต การขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วมยังคงอยู่ภายใต้หลัก ทั่วไปในการขอรับชำระหนี้ คือ ต้องเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้และได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้กำหนดระยะเวลาขึ้นอยู่กับว่าเป็นลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน

กรณีสามีภริยานั้นอาจต้องรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 บัญญัติว่า “หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาได้ก่อให้เกิดขึ้นระหว่างสมรสต่อไปนี้ หนี้ที่เกี่ยวกับการจัดกิจการอันจำเป็นในครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรโดยควรแก่อัตภาพ หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน หนี้ที่สามี หรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน” ดังนั้น หากสามีหรือภริยาฝ่ายใดถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมได้เช่นกัน และอาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 101 ได้ แต่อย่างไรก็ตาม แม้สามีหรือภริยาจะสามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็มิใช่จะได้รับชำระหนี้เหมือนเช่นเจ้าหนี้อื่นทั่วไป เพราะ ในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายให้กับเจ้าหนี้ ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 129 สามี หรือภริยาของบุคคลล้มละลายจะได้รับส่วนแบ่งในฐานะเจ้าหนี้ต่อเมื่อเจ้าหนี้อื่นได้รับชำระหนี้เป็นที่พอใจแล้ว

ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันตามความหมายของมาตรา 101 หมายถึง ผู้ค้ำประกันร่วม และบุคคลที่อยู่ในลักษณะเดียวกับผู้ค้ำประกัน เช่นที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้รับอาวัลตามมาตรา 940 ผู้สลักหลังตั๋วเงิน ตามมาตรา 923 มาตรา 985 มาตรา 989 ผู้รับรองตั๋วตามมาตรา 931 มาตรา 937 และมาตรา 967

ข้อสังเกต การรับช่วงสิทธิของผู้ค้ำประกันอาจมีข้อต่างกับกรณีลูกหนี้ร่วม ในประการสำคัญคือ หากผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไปแล้วไม่ว่าบางส่วนหรือเต็มจำนวนก็ตาม ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกหนี้ในจำนวนเท่าที่ได้ชำระหนี้แทนไปทั้งสิ้น (ต้นเงินและดอกเบี้ย) หากกรณีเป็นลูกหนี้ร่วมอาจต้องพิจารณาหักส่วนที่ตนต้องร่วมรับผิดก่อนและไล่เบี้ยกับลูกหนี้ร่วมอีกฝ่ายในจำนวนที่ตนได้ชำระหนี้แทนไปเท่านั้น ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมคิดคำนวณส่วนที่ตนอาจต้องรับผิดแทนลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันและยื่นขอรับชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าในจำนวนที่คิดคำนวณได้นั้นไว้ก่อน หากข้อเท็จจริงผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปจริงเป็นจำนวนเพียงใดก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้คืนจากคดีล้มละลายนี้เพราะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว

หากเป็นกรณีผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกันสองคน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งจำนวน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 (3) และมาตรา 296

การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่างประเทศ สำหรับ “เจ้าหนี้ต่างประเทศ” ก็อาจยื่นขอรับชำระหนี้ภายใต้คดีล้มละลายในประเทศไทยได้เช่นกัน เพียงแต่เจ้าหนี้เหล่านี้นอกจากจะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 และต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามมาตรา 91 หรือมาตรา 92-มาตรา 93 เฉกเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ๆ แล้ว เจ้าหนี้ต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 178 ด้วยในขณะที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ อธิบายได้ดังนี้   Free template from www.brainybetty.com

“เจ้าหนี้ต่างประเทศ” หมายถึง เจ้าหนี้ซึ่งเป็นคนต่างประเทศ หรือเจ้าหนี้ที่ไม่มีสัญชาติไทยทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าหนี้ต่างประเทศเมื่อจะยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายใดในประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้ง 2 ประการตามที่กำหนดในมาตรา 178 คือ “จะต้องพิสูจน์ว่า เจ้าหนี้ในประเทศไทยก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมายและในศาลแห่งประเทศของตนได้ในทำนองเดียวกัน” “ต้องแถลงว่า ตนได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้คนเดียวกันนั้นนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเท่าใดหรือไม่ และถ้ามี ตนยอมส่งมอบทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวแล้วมารวมในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในราชอาณาจักร”

กฎหมายในประเด็นนี้บัญญัติขึ้นจาก “หลักต่างตอบแทนระหว่างประเทศ” ที่ประเทศหนึ่ง ๆ จะยอมให้สิทธิใด ๆ ต่อคนสัญชาติอื่นก็ต่อเมื่อประเทศอื่นนั้นยอมให้สิทธิเช่นเดียวกันนั้นกับคนสัญชาติของตน ดังนั้นการที่เจ้าหนี้ต่างประเทศจะยื่นขอรับชำระหนี้จะต้องนำพยานหลักฐานที่พิสูจน์ให้ศาลในคดีล้มละลายของไทยเห็นว่า กฎหมายล้มละลายของประเทศที่เจ้าหนี้มีสัญชาติอยู่นั้นก็อนุญาตให้เจ้าหนี้สัญชาติไทยสามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศที่เจ้าหนี้มีสัญชาติได้ หลักต่างตอบแทนระหว่างประเทศ หรือ หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ คือ หลัก“reciprocity” In international relations and treaties, the principle of reciprocity states that favours, benefits, or penalties that are granted by one state to the citizens or legal entities of another, should be returned in kind. For example, reciprocity has been used in the reduction of tariffs, the grant of copyrights to foreign authors, the mutual recognition and enforcement of judgments, and the relaxation of travel restrictions and visa requirements.  

คำพิพากษาฎีกาที่ 699/2503 ในคดีล้มละลายศาลของประเทศที่ ผู้ขอรับชำระหนี้มีภูมิลำเนานั้น ให้เจ้าหนี้ในประเทศไทยมีสิทธิขอรับชำระหนี้ ในคดีล้มละลายตามกฎหมายในศาลแห่งประเทศของตนได้ทำนองเดียวกัน คือ ถือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นว่ากฎหมายในประเทศนั้นไม่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่ก็บัญญัติให้มีการพิสูจน์หนี้ได้ทั่ว ๆ ไป ซึ่งเมื่อไม่ห้ามเจ้าหนี้ที่อยู่ต่างประเทศ เจ้าหนี้ที่อยู่ต่างประเทศก็มาขอพิสูจน์หนี้ได้ ก็ได้ ตามกฎหมายล้มละลายของมลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ให้เจ้าหนี้ในต่างประเทศขอพิสูจน์หนี้ของตนเอาแก่ลูกหนี้ผู้ล้มละลายที่อยู่ในมลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ในศาลซึ่งพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ฉะนั้น เจ้าหนี้ซึ่งอยู่ในมลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของลูกหนี้ในศาลไทยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 178 (1)

คำพิพากษาฎีกาที่ 1483/2535 กฎหมายล้มละลายของประเทศฝรั่งเศสคล้ายกับกฎหมายล้มละลายของประเทศไทย แต่ไม่มีมาตราใดบัญญัติไว้ชัดแจ้งเช่นกฎหมายล้มละลายของประเทศไทย คงมีแต่หลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศส มาตรา 11และมาตรา 2123ระบุว่า ชาวต่างชาติมีสิทธิที่จะยื่นขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในประเทศฝรั่งเศส ได้ ดังนั้น แม้จะไม่มีมาตราใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมาย ล้มละลายของประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกับกฎหมายล้มละลายแห่งประเทศไทย แต่เมื่อเจ้าหนี้พิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าเจ้าหนี้ในประเทศไทยมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศฝรั่งเศสได้ ทั้งเจ้าหนี้ไม่เคยได้รับหรือมีสิทธิรับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 นอกราชอาณาจักร กรณี ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในมาตรา 178 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอ รับชำระหนี้ในประเทศไทยได้

Free template from www.brainybetty.com การหักกลบลบหนี้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลายอาจเกิดขึ้นได้และมีผลให้เจ้าหนี้บางรายอาจไม่จำต้องยื่นขอรับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยการหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา 102-103 ดังนี้ มาตรา 102 เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถึงแม้ว่ามูลแห่งหนี้ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันก็ดี หรืออยู่ในเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาก็ดี ก็อาจหักกลบลบหนี้กันได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว มาตรา 103 เมื่อบุคคลซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้ที่อยู่ในเงื่อนไขบังคับก่อนขอหักกลบลบหนี้ บุคคลนั้นจะต้องให้ประกันสำหรับจำนวนที่ขอหักกลบลบหนี้นั้น 21 April 2017 / 001 Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com การหักกกลบลบหนี้ในคดีล้มละลายจะกระทำได้ต่อเมื่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้นต่างต้องเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่าชั่วคราวหรือเด็ดขาดแล้วแต่กรณี กล่าวคือ เจ้าหนี้จะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 94 ส่วนลูกหนี้ต้องมีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้าหนี้อยู่ก่อนเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นกัน เว้นแต่หนี้ของเจ้าหนี้เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งจะเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ดังนั้นหนี้ลักษณะนี้ย่อมไม่อาจนำมาขอหักกลบกับมูลหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องจากเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่า เจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวและต้องชำระหนี้ให้กับกองทรัพย์สินของลูกหนี้เพราะถือเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถยึดมารวมในกองทรัพย์สินและแบ่งให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ หากเจ้าหนี้เพิกเฉยไม่ดำเนินการจะถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้อำนาจในการเรียกให้ชำระหนี้ตามมาตรา 22 มาตรา 118 มาตรา 119 ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 1720/2525 แม้ว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จะให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้หักกลบลบ หนี้กันได้ แต่วิธีหักกลบลบหนี้ก็จะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์มาตรา 342โดยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ปรากฏว่าเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยอายัดเงิน(ฝาก)ที่ผู้ร้อง (ธนาคาร)เป็นลูกหนี้จำเลย และให้ส่งเงินนั้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องได้ส่งเงินฝากดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แสดง เจตนาขอหักกลบลบหนี้ หนี้เงินฝากระหว่างจำเลยที่ 1กับผู้ร้องเป็นอัน ระงับลงสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ย่อมสิ้นสุดลง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอหักกลบ ลบหนี้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 4603/2542 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับ ชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะขอใช้ สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบ หนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้หรือไม่ กรณีจะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้นผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบ หนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ได้ ดังนั้นผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้   Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com การหักกลบลบหนี้กันสามารถกระทำได้แม้หนี้ทั้งสองจะมีวัตถุแห่งหนี้คนละอย่างกัน หรือเป็นมูลหนี้ที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอยู่ก็ตาม เพียงแต่ตามมาตรา 103 กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้ใดที่ประสงค์จะนำหนี้อันมีเงื่อนไขบังคับก่อนมาขอหักกลบลบหนี้ เจ้าหนี้จะต้องให้ประกันไว้ตามจำนวนที่ขอหักกลบลบหนี้นั้น เพราะหนี้ที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนนั้นมีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า นิติกรรมที่ลูกหนี้กระทำกับเจ้าหนี้นั้นอาจเป็นผลบังคับได้หรือไม่อาจบังคับกันได้จนกว่าเงื่อนไขตามที่ตกลงกันจะเกิดขึ้นเสียก่อน ดังนั้นเมื่อจะนำหนี้ที่ขาดความแน่นอนเช่นนี้มาขอหักกลบลบหนี้จึงจำเป็นที่เจ้าหนี้ต้องให้ประกันไว้ การหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 กำหนดให้หนี้ที่จะหักกลบลบกันได้ต้องเป็นหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกันและหนี้ทั้งสองฝ่ายต้องถึงกำหนดชำระหนี้แล้ว   Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 4603/2542 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้ สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้ง ดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมา หักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้ Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 102 มีลักษณะเป็นการบัญญัติเพื่ออนุญาตให้บรรดามูลหนี้ทั้งหลายที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 และมาตรา 342 ห้ามมิให้หักกลบลบหนี้กันนั้นให้มูลหนี้ดังกล่าวสามารถหักกลบลบกันได้ในคดีล้มละลาย แต่มิได้หมายความรวมถึงหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้กับบริษัท ดั้งนั้น หากผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้จะขอหักหนี้ที่บริษัทเป็นหนี้ตนอยู่หักกับหนี้ค่าหุ้นที่ตนค้างชำระแก่บริษัทลูกหนี้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 102 ย่อมกระทำไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 1303/2501 ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดและยังค้าง ชำระเงินค่าหุ้นอยู่แต่ผู้ร้องก็เป็นเจ้าหนี้บริษัทเพราะได้ชำระหนี้แทนไปในฐานะผู้ ค้ำประกัน ต่อมาเมื่อบริษัทล้มละลายและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ชำระ เงินค่าหุ้นผู้ร้องจะขอให้เอาหนี้ดังกล่าวนี้หักกลบลบกันหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2513) Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com การหักกลบลบหนี้ย่อมกระทำได้โดยเจ้าหนี้แสดงเจตนาไปยังลูกหนี้หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ และไม่จำต้องแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ภายในกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 3356/2524 การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เป็น ส่วนหนึ่งของวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 ให้กระทำได้แม้มูลแห่งหนี้ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีวัตถุอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาก็ตาม ธนาคารผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้และมีหน้าที่ จะต้องคืนเงินที่รับฝากแก่จำเลย จึงมีสิทธิหักกลบลบหนี้ โดยแสดงเจตนาขอหักกลบ ลบหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 102 ได้ แม้ จะไม่ได้แสดงเจตนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่ วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 ก็ตาม เพราะกรณีมิใช่ธนาคารผู้ ร้องร้องขอรับชำระหนี้ Free template from www.brainybetty.com

กระบวนการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และชั้นศาล มาตรา 104-108 เราได้ทราบมาแล้วว่าเจ้าหนี้ประเภทใดบ้างที่มีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายและต้องยื่นภายในกำหนดเวลา หรือเงื่อนไขปลีกย่อยอย่างไรบ้าง ไม่ว่าเจ้าหนี้ที่มีสิทธิทั้งหลายเหล่านี้จะมีมากน้อยรายเพียงใดก็ตาม เจ้าหนี้ทั้งหมดจะต้องจัดทำคำขอรับชำระหนี้และยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อสอบสวนและทำความเห็นเสนอศาลเพื่อพิจารณาออกคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้แต่ละรายอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นกระบวนการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และชั้นศาลล้มละลายมีหลักกฎหมายกำหนดเงื่อนไข วิธีการอย่างไร พิจารณาได้ดังนี้คือ การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (มาตรา 104-105) การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ในชั้นศาลล้มละลาย (มาตรา 106-108)

กระบวนการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ จพท.พิจารณาคำขอ เอกสาร ออกหมายเรียก สอบสวนเพิ่มเติม และออกความเห็น (ทั้งกรณีมีผู้โต้แย้งหรือไม่มีผู้โต้แย้ง) มาตรา 104-106 ให้เต็ม ให้บางส่วน ไม่ให้เลย อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษ 2558 ทั้งนี้ทุนทรัพย์ต้องเกิน 50,000 บาท (ปัญหาข้อเท็จจริง) วิฯล้ม มาตรา 24, 25 ศาลล้มละลายกลาง มาตรา 106 วรรคสาม ภายใน 14 วัน

  มาตรา 105 ในการพิจารณาและมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาหรือไม่ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนหรือให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับหนี้สินได้ (ความเดิม มาตรา 105 ยกเลิกและให้ใช้ความใหม่โดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ(ฉบับที่ 8 2558)

เมื่อระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 สิ้นสุดลงแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมดและกำหนดวันนัดพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แต่ละรายว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร และควรจะทำความเห็นให้ได้รับชำระหนี้เท่าใดหรือไม่อย่างไร เพื่อให้การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้เป็นไปอย่างถูกต้องมากที่สุด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลใด ๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเจ้าหนี้ ลูกหนี้มาสอบสวนได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องทำความเห็นเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้แต่ละรายเสนอต่อศาลล้มละลายพร้อมสำนวนทั้งหมดเพื่อพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง   ในการตรวจและพิจารณาคำขอรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้เป็นสำคัญ แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือกรณีเป็นหนี้ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วก็ตาม หาเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถือตามเช่นนั้นไม่  

คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2523 ถึงแม้ว่าหนี้ที่ขอรับชำระต่อเจ้า พนักงานพิทักษ์จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามแต่ก็ไม่มีผลผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์หรือศาลจำต้องถือตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลูกหนี้มิได้มี เจตนาซื้อและขายที่ดินและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินไว้ลูกหนี้จึงมิใช่ ผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ตามบัญชี อัตราภาษีการค้าและไม่มีเงินได้พึงประเมินจากการขายทรัพย์สินไม่มี หน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งสองประเภท ส่วนเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างของลูกหนี้ในปี 2510เป็นเงิน ประมาณ 3,000บาทก็ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงิน ได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 56

คำพิพากษาฎีกาที่ 6555/2544 แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับ ชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่ เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็หาผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจึงมี อำนาจจะฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้สินตลอดจนหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งยื่นขอรับ ชำระนั้นมีมูลหนี้อันจะพึงอนุญาตให้รับชำระหนี้ตามคำขอหรือไม่ เจ้าหนี้ผู้ เป็นโจทก์นำหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วมาขอรับชำระหนี้ จึง ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาฎีกาที่ 1736/2544 ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 104 แม้จะไม่มีผู้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นหรือเป็นผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ก็มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว ...การที่เจ้าหนี้มีเพียงสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นยังไม่เพียงพอที่ให้เชื่อได้ว่าลูกหนี้ทั้งสองเป็นหนี้ตามจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94

มาตรา 106 คำขอรับชำระหนี้รายใด ถ้าเจ้าหนี้อื่น ลูกหนี้ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อื่นไม่โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจเป็นผู้พิจารณาสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ได้ เว้นแต่มีเหตุอันสมควรสั่งเป็นอย่างอื่น คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายใด ถ้ามีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บางส่วน การคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนด14วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคัดค้านตามวรรคสามให้ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนคำขอรับชำระหนี้มาตรวจและสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำชี้แจงในเรื่องที่เป็นปัญหาตามที่เห็นสมควรได้ หากศาลเห็นสมควรไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการไต่สวนโดยเร็วเท่าที่จำเป็น

มาตรา 107 (ยกเลิก) มาตรา 108 คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วนั้น ถ้าต่อมาปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สั่งไปโดยผิดหลง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้มีคำสั่งอนุญาตไปแล้วได้ (ความเดิมของมาตรา 108 ยกเลิกและให้ใช้ข้อความใหม่ตามมาตรา 10 พระราชบัญญัติล้มละลายฯ (ฉบับที่ 8)2558)

Free template from www.brainybetty.com มาตรา 108 บัญญัติขึ้นเพื่อให้การขอรับชำระหนี้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด กล่าวคือ กรณีที่ปรากฎว่า จพท.(ศาล)ได้มีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดไปโดยผิดหลงจากความเป็นจริงแล้วแต่กรณี เช่น จพท. (ศาล)ได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แต่บางส่วน แต่ความจริงปรากฎต่อจพท. (ศาล)ในภายหลังว่าเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ทั้งหมดตามที่ยื่นมาในคำขอ หรือข้อเท็จจริงปรากฏในภายหลังว่าหนี้ที่นำมายื่นขอรับชำระหนี้ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่จพท. (ศาล) ได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ไปแล้วเต็มจำนวน เป็นต้น Free template from www.brainybetty.com

Free template from www.brainybetty.com คำพิพากษาฎีกาที่ 859/2518 พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 108 หมายความถึง ศาลสั่งอนุญาต คำขอรับชำระหนี้โดยผิดหลงว่าลูกหนี้เป็นหนี้จริงตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับ แต่ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่ได้รับอนุญาตให้รับชำระหนี้นั้น ศาลจึงสั่งใหม่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ หรือจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ ศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดที่ได้สั่งไปโดยผิดหลงได้ แม้คดีล้มละลายนั้นจะถึงที่สุดไปแล้ว Free template from www.brainybetty.com

คำพิพากษาฎีกาที่ 1322/2542 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ. ศ คำพิพากษาฎีกาที่ 1322/2542 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 108ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ แม้คำสั่งศาลดังกล่าวจะถึงที่สุดก็ตาม ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้โดยหลงผิดว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งใหม่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ขอรับชำระหนี้ คดีนี้ปรากฏว่าผู้ร้องตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านอ้างต่อผู้ร้องในชั้นสอบสวนและเห็นว่าใบกำกับสินค้าอันเกี่ยวกับหนี้ที่ผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้ไม่มีลายมือชื่อของลูกหนี้ ทั้งแถบบันทึกเสียงการสนทนาระหว่าง อ.กับลูกหนี้และท.ที่เมืองฮ่องกงนั้นลูกหนี้ก็ได้อ้างหนังสือเดินทางของตนเป็นพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในวันดังกล่าวลูกหนี้ไม่ได้เดินทางออกจากประเทศไทย อันแสดงให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้มีข้อพิรุธสงสัย น่าเชื่อว่าจะไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงผู้ร้องจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคำขอรับชำระหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้

Free template from www.brainybetty.com