กลยุทธ์ เทคนิค และเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน
การสืบค้นสารสนเทศ เครื่องมือสำหรับการสืบค้น รายการสืบค้น (Search list) บัตรรายการ (Catalog cards) เครื่องมือสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์(OPAC) ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online database) อินเทอร์เน็ต (Internet)
การสืบค้นสารสนเทศ การสืบค้นสารสนเทศ เป็นกระบวนการค้นหาข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารสนเทศ เช่น บัตรรายการ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ฐานข้อมูล เทคโนโลยีเครือข่ายและโทรคมนาคม และอื่นๆ เป็นเครื่องมือช่วยค้น และมีวิธีการค้นหาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามความต้องการ
กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศ กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศนั้นเป็นกระบวนการหลังจากที่เราเข้าใจความต้องการสารสนเทศแล้ว จะต้องกำหนดความต้องการนั้นออกมาเป็นแนวคิดและคำค้น และโยงไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การค้น โดยที่จะไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การค้นนั้น ผู้ค้นต้องรู้เทคนิคที่สำคัญที่ช่วยให้การค้นประสบความสำเร็จได้
เทคนิคการสืบค้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้น อ่านคำถาม/สารสนเทศที่สนใจ ให้เข้าใจในแนวคิด กำหนดแนวคิดของเรื่องที่จะสืบค้น กำหนดคำค้นของแนวคิดที่กำหนดไว้ กำหนดคำค้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้สืบค้นได้มากขึ้น พิจารณาการใช้คำเชื่อม เริ่มต้นการสืบค้น ดูผลการสืบค้น สืบค้นใหม่โดยใช้คำค้นอื่นๆ
การพิจารณาก่อนการสืบค้นสารสนเทศ เลือกระบบที่จะสืบค้น โดยเลือกว่าเรื่องที่ต้องการหาสารสนเทศนั้นจะสืบค้นจากฐานข้อมูลใด เลือกฐานข้อมูล โดยในการเลือกฐานข้อมูลนั้นให้พิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ขอบเขตของฐานข้อมูล จุดเข้าถึง (Access point) เช่น ชื่อผู้แต่ง คำ สำคัญ หัวเรื่อง ประเภทของทรัพยากรที่มีในฐานข้อมูล เช่น วารสาร งานวิจัย
การพิจารณาก่อนการสืบค้นสารสนเทศ ประเภทของข้อมูลที่ได้ เช่น บรรณานุกรม เอกสารฉบับเต็ม เวลา คือ เวลาที่ได้รับสารสนเทศ การปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูล
ปัญหาในการสืบค้นสารสนเทศ ไม่ทราบความต้องการที่แท้จริง ไม่ทราบว่าจะใช้คำใดค้น ไม่ทราบว่าจะค้นจากแหล่งข้อมูลใด หรือใช้เครื่องมือใดช่วยค้น ไม่ทราบวิธีการค้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.1 ทราบชื่อผู้แต่ง ชาวไทย สามัญชน วินทร์ เลียววาริน วสิษฐ เดชกุญชร (พล.ต.อ.) พรทิพย์ โรจนสุนันท์ (แพทย์หญิง)
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.1 ทราบชื่อผู้แต่ง ชาวไทย บุคคลที่มีฐานันดรศักดิ์ ภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ (ม.ร.ว.) ปิ่น มาลากุล (ม.ล.)
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.1 ทราบชื่อผู้แต่ง ชาวต่างประเทศ เช็คสเปียร์, วิลเลียม บราวน์, แดน
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.1 ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อองค์กรหรือหน่วยงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย ศาลปกครอง กรมการปกครอง
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.2 ทราบชื่อเรื่อง ผู้ชายที่ตามรักเธอทุกชาติ หลั่งเลือดที่นานกิง แหยมยโสธร ส่มผักเสี่ยน
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.3 ไม่ทราบชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง คิด คำ หรือ วลี ที่มีข้อความตรงตามเรื่องที่ต้องการ คิด คำ หรือ วลี ที่มีข้อความใกล้เคียง หรือ เกี่ยวข้อง คิด คำ หรือ วลี ที่มีข้อความครอบคลุมเรื่องที่ต้องการ คิด คำ หรือ วลี จากที่เป็นแก่นของเรื่องที่ต้องการ
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.3 ไม่ทราบชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง ตัวอย่าง การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทยในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา วิถีชีวิตและการดำรงชีพของชนพื้นเมืองในเขตภาคเหนือของประเทศไทย เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของมนุษยชาติ
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.3 ไม่ทราบชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง คิด คำ หรือ วลี เกี่ยวกับเรื่องนั้นหลายๆ คำ เช่น การค้นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล การคิดคำค้นสำหรับเรื่องบางประเภท เช่น เรื่องทางประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว การเมืองการปกครอง ให้ค้นตามชื่อภูมิประเทศ
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.3 ไม่ทราบชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง การคิดคำค้นสำหรับเรื่องบางประเภท เช่น เรื่องเกี่ยวกับวิธีการสอน การวิจัย ประวัติความเป็นมา ของวิชาความรู้ต่างๆ ให้ค้นด้วยชื่อวิชา ต้องการค้นสารานุกรม พจนานุกรมของวิชาต่างๆ ให้ค้นด้วยชื่อวิชานั้นๆ ต้องการค้นจรรยาบรรณของอาชีพต่างๆ ให้ค้นคำว่า จรรยาบรรณ ของอาชีพนั้น
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 1. กำหนดแนวทางในการค้น 1.4 คำสำคัญ การใช้สารสนเทศด้านการปลูกพืชของชาวสวนในจังหวัดนครปฐม คำสำคัญ ได้แก่ การใช้สารสนเทศ การปลูกพืช ชาวสวน
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 2. กำหนดคำค้นให้เหมาะสม 2.1 การกำหนดคำค้นที่มีความหมายแคบกว่า (Narrow term) หรือคำค้นที่มีความหมายกว้างกว่า (Broader term) เช่น สัตว์ สัตว์บก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สุนัข อาหาร พืช พืชยืนต้น มะม่วง ดนตรี ดนตรีไทย ลำตัด
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 2. กำหนดคำค้นให้เหมาะสม 2.2 การกำหนดคำค้นที่มีความหมายเหมือนกัน หมา สุนัข ทางด่วน ทางยกระดับ รถเมล์ รถโดยสารประจำทาง รถเก๋ง รถยนต์ส่วนบุคคล โรคเอดส์ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 3. เทคนิคการสืบค้น ตรรกะบูลีน การเชื่อมด้วย AND การเชื่อมด้วย OR การเชื่อมด้วย NOT
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ การเชื่อมด้วย AND ต้องมีทั้งสองคำ เช่น สารสนเทศ + สังคมสารสนเทศ Natural gas AND Thailand
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ การเชื่อมด้วย OR มีคำใดคำหนึ่ง เช่น หมา หรือ สุนัข man OR male
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ การเชื่อมด้วย NOT ตัดคำที่ไม่ต้องการออกไป เช่น ผลไม้ – เงาะ Microsoft office NOT Excel
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ NEAR เพื่อระบุตำแหน่งของคำค้นตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปทำให้อยู่ใกล้กันภายในประโยคเดียวกัน โดยอาจมีคำอื่นคั่นอยู่ตรงกลางได้ และจะเรียงลำดับอย่างไรก็ได้ เช่น information (2N) retrieval เอกสารที่ได้ information retrieval information storage and retrieval retrieval of information
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ ( ) ใช้ในการรวมคำค้นเข้าด้วยกัน กรณีมีหลายคำและมีการใช้ตรรกบูลีน เช่น (car OR pickup) AND traffic
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ “ ” ใช้คร่อมวลีที่ต้องการรวบเป็นคำเดียว เช่น “information technology” “Korean pop star”
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ *, $, ! ใช้ในการละตัวอักษรโดยทั่วไปจะใช้สำหรับการค้นจากรากศัพท์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น เช่น compu* ห้องสมุด* libra$ มหาวิทยาลัย*
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ ?, # ใช้แทนที่ตัวอักษร ใช้กับคำที่มีการสะกดหลากหลาย หรือไม่แน่ใจในการสะกดคำ เช่น colo?r cent??
เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ 4. การแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดจากการสืบค้น 4.1 กรณีที่ได้ผลการสืบค้นมากเกินไป 4.2 กรณีที่ได้ผลการสืบค้นน้อยเกินไป 4.3 ได้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องควรตรวจสอบและแก้ไข
กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศ คำหรือวลีที่ตรงกับความต้องการ + ฐานข้อมูล+เทคนิคการสืบค้น=ผลการค้น+ตรวจสอบ
ก่อนจะมาสู่ยุคคอมพิวเตอร์
เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ
รายการสืบค้น
บัตรรายการ (Catalog cards) บัตรที่บันทึกและพรรณนารายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญของหนังสือแต่ละเล่มหรือวัสดุแต่ละชิ้น ตามรูปแบบของโครงสร้างมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการค้นหาหนังสือหรือวัสดุสารสนเทศที่ต้องการ (สุพัฒน์ ส่องแสงจันทร์ 2544 : 22)
บัตรรายการ (Catalog cards) 1. เลขเรียกหนังสือ 2. ผู้แต่ง 3. ชื่อเรื่อง 4.การแจ้งความรับผิดชอบประกอบด้วย ผู้แต่ง ผู้แต่งร่วม ผู้แปล ผู้รวบรวม ผู้เขียนภาพ 5. ครั้งที่พิมพ์ 6. สถานที่พิมพ์ 7. สำนักพิมพ์ 8. ปีที่พิมพ์หรือปีลิขสิทธิ์ 9. จำนวนหน้า/เล่ม จำนวนวัสดุ 10. ภาพประกอบ ขนาด 11. ชื่อชุด 12. หมายเหตุ 13. หมายเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 14. แนวสืบค้น เป็นรายการเพิ่มของ 14.1 หัวเรื่อง 14.2 ผู้แต่งร่วม 14.3 ชื่อเรื่อง 14.4 ชื่อชุด
บัตรผู้แต่ง (Author card) คือบัตรที่มีรายการชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลอยู่บรรทัดแรก บัตรผู้แต่งนี้จะช่วยให้ทราบว่าห้องสมุดมีผลงานที่เขียนโดยผู้แต่งหรือผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบคนนั้นหรือไม่ บัตรผู้แต่งนอกจากจะมีชื่อผู้แต่งปรากฏอยู่บรรทัดแรกแล้วยังรวมถึงชื่อผู้มีส่วนร่วมในการเขียนหนังสือชื่อนั้นๆด้วย ได้แก่ ผู้แต่งร่วม ผู้แปล ผู้รวบรวม หรือผู้เขียนภาพ
บัตรหัวเรื่อง(Subject heading) คือบัตรที่มีคำหัวเรื่องอยู่บรรทัดแรกซึ่งพิมพ์ด้วยอักษรสีแดง หรือขีดเส้นใต้หรืออักษรตัวหนา บัตรหัวเรื่องจะช่วยให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ว่าด้วยเรื่องที่ต้องการหรือไม่
บัตรชื่อเรื่อง (Title card) คือบัตรที่มีชื่อหนังสือรวมถึงชื่อชุดอยู่บรรทัดแรกของบัตร บัตรชื่อเรื่องจะทำให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือชื่อเรื่องหรือชื่อชุดที่ต้องการนั้นหรือไม่
เครื่องมือสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์(OPAC)
ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online database)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
เสร็จแล้วส่งและไปทานข้าวได้ งานที่ 5 แบบทดสอบความเข้าใจ โปรดเขียนชื่อ-สกุล รหัสนักศึกษา และวิชาเอก ให้ชัดเจน แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ สารสนเทศคืออะไร...................... ทรัพยากรสารสนเทศมีกี่ประเภท................ ได้แก่อะไรบ้าง......................... พร้อมยกตัวอย่างประกอบแต่ละประเภท...................... ระบบการจัดหมวดหมู่ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรใช้คืออะไร................... เสร็จแล้วส่งและไปทานข้าวได้ งานที่ 5