สารและสสาร
สสาร คือ อะไร ?? สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ เช่น อากาศ ดินสอ ดิน หญ้า เป็นต้น
สาร คือ อะไร ?? สสารที่ทราบสมบัติชัดเจน มีสมบัติเฉพาะตัว มีองค์ประกอบที่แน่นอน เป็นธาตุ และ สารประกอบ เช่น เกลือ น้ำตาล ออกซิเจน น้ำ เป็นต้น
สมบัติทางกายภาพ เป็นสมบัติทั่วๆ ไปของสารที่สามารถสังเกตได้จากภายนอกโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสาร เช่น กลิ่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว สถานะ ความหนาแน่น
สมบัติทางเคมี สมบัติเฉพาะตัวของสาร เป็นองค์ประกอบภายในของสาร จะแสดงออกให้เห็นเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสนิม การเผาไหม้ การสุกหรือเน่า ของผลไม้ เป็นต้น ** การเปลี่ยนแปลงทางเคมีสังเกตจาก การเปลี่ยนแปลงของสาร และมีสารใหม่เกิดขึ้น **
ทบทวนความรู้ที่จะใช้เรียน
ความหนาแน่น สมบัติเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิด เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตร
ความหนาแน่น สารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจะลอยน้ำได้ ความหนาแน่นของน้ำ = 1 กรัม / ลูกบาศก์เซนติเมตร (g/cm3) สารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจะลอยน้ำได้ และสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ จะจมน้ำเสมอ
ตัวอย่าง 1 เหล็กแผ่นหนึ่งมีมวล 156 กรัม และมีปริมาตร 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร จงคำนวณหาความหนาแน่นของเหล็ก
ตัวอย่าง 2 ของเหลวชนิดหนึ่งมีความหนาแน่น 0 ตัวอย่าง 2 ของเหลวชนิดหนึ่งมีความหนาแน่น 0.5 g/cm3 ถ้าใช้ของเหลวนี้ จำนวน 50 cm3 จงคำนวณหามวลของของเหลว
ตัวอย่าง 3 โลหะแผ่นหนึ่งมีมวล 250 กรัม มีพื้นที่ 50 ตารางเซนติเมตร ถ้าโลหะแผ่นนี้มีความหนาแน่น 2.5 g/cm3 จงหาความหนาของโลหะแผ่นนี้
ปรากฏการณ์ต่อไปนี้เป็นสมบัติทางกายภาพหรือสมบัติทางเคมี การสุกของผลไม้ การหลอมเหลวของน้ำแข็ง การเกิดควันในรถยนต์ น้ำมันสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แกรไฟต์สำหรับใช้ทำไส้ดินสอเปราะ แตกหักได้ง่าย การเกิดหินงอกหินย้อยในถ้ำไทร การสังเคราะห์แสงของพืช
อุณหภูมิ อุณหภูมิ คือ ปริมาณ หรือ ระดับความร้อนของสิ่งต่างๆ อุปกรณ์ที่ใช้วัด คือ เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) หน่วยวัดอุณหภูมิที่สำคัญ คือ เซลเซียส (Celcius) เคลวิน (Kelvin) และฟาเรนไฮต์(Fahrenheit)
หน่วยวัดอุณหภูมิที่สำคัญ
การเปลี่ยนหน่วยอุณหภูมิ หลักการคำนวณเปรียบเทียบมาตรส่วนวัดอุณหภูมิ อุณหภูมิที่อ่านได้ − จุดเยือกแข็ง จุดเดือด −จุดเยือกแข็ง
การเปลี่ยนหน่วยอุณหภูมิ อุณหภูมิที่อ่านได้ − จุดเยือกแข็ง จุดเดือด −จุดเยือกแข็ง หลักการคำนวณเปรียบเทียบมาตรส่วนวัดอุณหภูมิ C−0 100 = F −32 180 = K−273 100 C 5 = F −32 9 = K−273 5
ตัวอย่าง 4 อ่านค่าอุณหภูมิของน้ำได้ 140˚F จะอ่านค่าในระบบองศาเซลเซียส(˚C) เป็นเท่าใด
ตัวอย่าง 5 อ่านค่าอุณหภูมิของน้ำได้ 140˚F จะอ่านค่าในระบบเคลวิน(K) เป็นเท่าใด
ตัวอย่าง 6 เทอร์มอมิเตอร์อันหนึ่งมีจุดเยือกแข็ง -40˚ มีจุดเดือดที่ 60˚ จงหาว่าที่ -20˚ ของเทอร์มอมิเตอร์อันนี้จะเท่ากับกี่องศาเซลเซียส