งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิกฤติ (และโอกาส) จากโลกร้อน?

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิกฤติ (และโอกาส) จากโลกร้อน?"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิกฤติ (และโอกาส) จากโลกร้อน?
ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ วิกฤติ (และโอกาส) จากโลกร้อน? อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติ โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (

2 เนื้อหา ปัจจัยคุกคามจากระดับโลกและระดับท้องถิ่น
บทเรียนจากการพัฒนาที่ผ่านมา กระบวนการสังเคราะห์ความรู้ ศูนย์ข้อมูลภูมิอากาศชุมชน ความเสี่ยงและความเปราะบางของพื้นที่ราบชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนต่อการเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวมในอนาคตระยะยาว

3 ภูมิอากาศและลักษณะอากาศ
(Climate and Weather) ภูมิอากาศ = ค่าตัวแทนเชิงปริมาณ (เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ความถี่ หรือพารามิเตอร์ทางคณิตศาสตร์อื่นๆ) ของตัวแปรของลักษณะอากาศ (เช่น อุณหภูมิ ปริมาณฝน ความเร็วลม ฯลฯ) ของบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ภายใต้ช่วงเวลาที่ยาวนานพอสมควร (เช่น 30 ปี)

4 ลักษณะอากาศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ขึ้นกับปัจจัยใหญ่ๆ ที่มีวงรอบการเกิดซ้ำต่างกัน เช่น ปัจจัยระดับภูมิภาค มรสุม (1 ปี) แนวปะทะของมวลอากาศ (ร่องมรสุม) (ปีละ 2 ครั้ง) พายุเขตร้อน (1 ปี) ปัจจัยระดับโลก 4. เอลนิญโญ/ลานิญญา (3-5 ปี) 5. การสลับขั้วในมหาสมุทรอินเดีย (1-2 ปี) 6. คลื่นความร้อน Madden-Julian Oscillation ตามแนวเส้นศูนย์สูตร (2-3 เดือน) 7. การแปรผันระยะยาวในมหาสมุทรแปซิฟิค (20-30 ปี)

5 ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

6

7 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิรายวันสูงสุด-ต่ำสุด-เฉลี่ยของประเทศไทย (50 ปี)
+0.30 /50y +0.13 /50y -0.04 /50y Limsakul and Goes (2008)

8 Comparison between observed and model calculated average global temperature
Calculated using both natural forcings and anthropogenic greenhouse gases Calculated using natural forcings only (From IPCC AR4)

9 The Greenhouse Effect

10 SRES Projections of Emission and Atmospheric Concentration of CO2

11 แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต โดยการใช้ Global Circulation Models (GCM)
ตัวอย่าง อุณหภูมิ Source:

12 การจำลองการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับภูมิภาคจากโมเดลการไหลเวียนอากาศโลก
ECHAM4 2.8o GCM PRECIS 0.22o RCM (Surface Temperature in Kelvin)

13 การจำลองการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับภูมิภาคเนื่องมาจากภาวะเรือนกระจกแบบ A2 และ B2
ใช้ GCM ECHAM4 เป็นตัวตั้ง ใช้โปรแกรม PRECIS เพื่อเพิ่มความละเอียดของการคำนวณจาก 250 กม.ให้เป็น 22 กม. คำนวณค่าสภาพอากาศรายวันที่ช่วงปีฐาน (พ.ศ ) และสำหรับช่วงอนาคตถึง พ.ศ. 2643 ตัวแปรที่สำคัญได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝน ทิศทางความเร็วลม มีผลการจำลองทั่วประเทศแจกจ่ายผ่านอินเทอร์เน็ต (

14 ผลการจำลองภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต
A2 B2 ปริมาณฝนรวมรายปีเฉลี่ย (มม./ปี)

15 ผลการจำลองภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต
A2 B2 จำนวนวันฝนตกต่อปี (เฉลี่ย)

16 ผลการจำลองภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต
A2 B2 จำนวนวันที่ฝนตกมากกว่า 50 มม./วัน (เฉลี่ย)

17 ผลการจำลองภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต
A2 B2 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย (oC)

18 ผลการจำลองภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต
A2 B2 อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย (oC)

19 ผลการจำลองภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต
A2 B2 จำนวนวันร้อน (>35 oC) ในรอบปี

20 ผลการจำลองภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต
A2 B2 จำนวนวันเย็น (<16oC) ในรอบปี

21 El Nino and La Nina Events

22 พายุระดับไต้ฝุ่นที่ขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้ (พ.ศ. 2497-2551)
จำนวนต่อ 5 ปี วงรอบทางภูมิอากาศ (ประมาณ 30 ปี) ผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ???

23 พายุที่ขึ้นฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันตก (พ.ศ. 2506-2550)
พายุที่ขึ้นฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันตก (พ.ศ ) วงรอบทางภูมิอากาศ (ประมาณ 30 ปี) จำนวนต่อ 5 ปี

24 การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับทะเลปานกลาง
SRES A2 (High Emission) from DIVA

25 ปัจจัยพื้นฐานของประเทศที่น่าจะ อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
น้ำ: ปริมาณ (มรสุมและพายุ) ฤดูกาล การระเหย (ET) คุณภาพน้ำ (ตะกอน เคมีเกษตร เกลือ) ระบบนิเวศพื้นที่ต้นน้ำ แสงสว่าง: ปริมาณเมฆ ละอองในบรรยากาศ ที่ดิน: เสถียรภาพทางกายภาพ (ชายฝั่ง พื้นที่เขา) กระบวนการทางเคมีชีววิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ (บก/ทะเล): สภาพแวดล้อมทางกายภาพเคมี การอพยพย้ายถิ่น กำลังผลิตขั้นต้น (การสังเคราะห์แสง) Extreme events: มรสุม พายุเขตร้อนและพายุฤดูร้อน ทิศทาง ความเร็วและฤดูกาล แรงงาน: สุขอนามัย โรคระบาด ความร้อน อุบัติภัย

26 การเกษตร: ปริมาณน้ำ ฤดูกาล Extreme events โรคพืช วัฏจักรธาตุอาหารในดิน การติดดอกออกผล การสังเคราะห์แสง แรงงาน พลังงาน: Hydropower: ปริมาณฝนและการระเหยสุทธิ ลาว พม่า มีแนวโน้มสูงขึ้น ยูนนาน ไทย แนวโน้มลดลง พืชพลังงาน: ผลผลิต Solar: ศักยภาพลดลง ลม: มากขึ้นบริเวณชายฝั่ง ระบบสายส่งและบริการ: พายุ ลมกระโชก ฝนฟ้าคะนอง น้ำท่วม ดินถล่ม การขนส่ง (บก/ทะเล): ฝน ฤดูกาล อุตสาหกรรม: supply chain เปลี่ยน น้ำ แรงงาน

27 ปัจจัยเสริม/ลด ความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
การเคลื่อนย้ายประชากรที่เสรีมากขึ้น (+/-) สัดส่วนประชากรเมืองสูงขึ้น มีความเป็น homogeneous มากขึ้น (+/-) Stabilized population และสัดส่วนผู้สูงอายุที่มากขึ้น (-/-) พฤติกรรมต่างคนต่างอยู่มากขึ้น การแบ่งปันเกื้อกูลในสังคมน้อยลง (-) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใกล้หรือเกินศักยภาพสูงสุด เช่น ที่ดิน น้ำ ชีวภาพทั้งบนบกและในทะเล (-) ความร่วมมือในภูมิภาคมากขึ้น (+) การกระจายอำนาจ ท้องถิ่นสามารถจัดการเรื่องต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ (+) เทคโนโลยีใหม่ เช่น ICT Nanotech ฯลฯ (+/?)

28 ช่วงเวลา (ปี) พื้นที่ (ไร่)
สเกลเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ (ภูมิศาสตร์) สำหรับการตอบสนองต่อปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศ/ลักษณะอากาศ ศตวรรษ ภาค/ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ วงรอบทางภูมิอากาศ จังหวัด ทศวรรษ ตำบล เอลนิโญ/ ลานิญา หมู่บ้าน ปี ช่วงเวลา (ปี) ฤดู ลักษณะอากาศ ไร่นา เดือน วัน/สัปดาห์ ครัวเรือน พื้นที่ (ไร่)

29 ประเด็นปัญหาพื้นฐานระดับชุมชน
ระบบเศรษฐกิจที่อิงกับตลาดและระบบทุนภายนอก มากกว่าความสัมพันธ์ภายในชุมชน สังคมโลกาภิวัติ สูญเสียองค์ความรู้และวิถีชีวิตดั้งเดิม (ที่มักจะสอดคล้องกับภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น) สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและระบบนิเวศเสื่อมคุณภาพ

30 ประเด็นปัญหาระดับภาค/ลุ่มน้ำ
ความแปรปรวนของมรสุมและพายุ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและเทคโทนิค โครงการพัฒนาขนาดยักษ์ การเติบโตของเมืองใหญ่ การโยกย้ายของคน การบริโภคทรัพยากรและพลังงาน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเกษตร พืชอาหาร/พืชพลังงาน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและอุทกวิทยา

31 ประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ปริมาณและคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร ระบบนิเวศและทรัพยากรที่มีชีวิตทางบกและทางทะเล เสถียรภาพ คุณภาพและการสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน คุณภาพของอากาศในเชิงกายภาพและองค์ประกอบ ภัยพิบัติจากสภาพอากาศรุนแรง

32 ความเปราะบาง (vulnerability) ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

33 การลดการเปิดรับ (Exposure) ต่อภูมิอากาศ
ย้ายถิ่น (ชั่วคราว ถาวร) ปกป้องตัวเองหรือแยกตัวออกจากภูมิอากาศ

34 การลดความอ่อนไหว (Sensitivity) ต่อภูมิอากาศ
เปลี่ยนวิถีชีวิต วิธีทำกิน มีระบบการพยากรณ์ กระจายความเสี่ยง เพิ่มทางเลือกของทุนและปัจจัยของการผลิต การดำรงชีวิต เพิ่มภูมิคุ้มกันระดับบุคคล สังคม

35 การเพิ่มความสามารถในการรับมือ (Coping Capacity) ต่อภูมิอากาศ
ระบบประกันภัย ชดเชยความเสียหาย การกู้ภัยและฟื้นฟู

36 ประเด็นทางสังคมที่สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ปริมาณและความถูกต้องแม่นยำของความรู้ ความเป็นธรรมและโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและปัจจัยพื้นฐานเพื่อการรับมือ ความขัดแย้งจากการรับมือโดยขาดการคำนึงถึงประเด็นทางสังคม วัฒนธรรมความเชื่อ

37 ความมั่นคงของมนุษย์ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
คือการที่ปัจเจกบุคคลหรือชุมชนมีพร้อมซึ่ง แนวทางเพื่อหยุดหรือควบคุมหรือปรับตัวต่อภาวการณ์ที่คุกคามต่อสิทธิของความเป็นมนุษย์หรือสิทธิทางสิ่งแวดล้อม (และทรัพยากร) หรือสิทธิทางสังคม ขีดความสามารถและเสรีภาพในการดำเนินแนวทางเหล่านั้น มีส่วนร่วมในการดำเนินแนวทางเหล่านั้น (จาก Global Environmental Changes and Human Security Project (GECHS) of the International Human Dimension Programme)

38 บทเรียนจากความขัดแย้งระหว่างการพัฒนากับความยั่งยืนของสังคม
ภาคราชการ: ข้อจำกัดด้านงบประมาณและการเมือง จึงต้องการให้มีผลงานทางกายภาพที่มองเห็นหรือวัดได้โดยง่ายและเร็ว ภาคประชาสังคม: ขาดความเชื่อถือในภาครัฐ รวมทั้งข้อมูลหรือเทคโนโลยีที่ภาคราชการนำเสนอ ใช้อารมณ์ความรู้สึกมาประกอบ ยึดติดกับตัวบุคคล นักลงทุนและภาคธุรกิจ: ขาดความมั่นใจถึงบรรยากาศของการพัฒนาในระยะยาว ต้องการผลประโยชน์ให้คุ้มต่อการลงทุนโดยเร็ว ภาควิชาการ: เอาตัวเข้าไปเป็นส่วนของปัญหา เลือกข้างแบบไม่เป็นกลาง มองปัญหาในมุมแคบแยกส่วน ขาดการบูรณาการข้ามสาขา พยายามทำงานกับปัญหาที่ใหญ่เกินกว่าทรัพยากร (งบประมาณ ความรู้พื้นฐาน ฯลฯ) ที่มี ขาดความสามารถในการสื่อสารกับฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนได้เสีย

39 กระบวนการสร้างความรู้ระดับชุมชนแบบมีส่วนร่วม
เป็นมาตรการเชิงรุกเพื่อคาดการณ์ถึงปัญหาในอนาคตก่อนสถานะการณ์จะเกิดขึ้นจริง จึงเป็นการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันความขัดแย้งที่จะมาจากการพัฒนา เป็นการลดช่องว่างและปรับทัศนคติความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้เกี่ยวข้องต่างๆ สร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของและการทำงานร่วมกัน ใช้วิธีการสื่อสารความรู้ที่เหมาะสม

40 เงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญบางประการของกระบวนการสร้างความรู้เพื่อการพัฒนา
ทุกฝ่ายมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้ถูกพัฒนาขึ้นจากข้างในออกมาโดยไม่เร่งชี้นำ เน้นความคิดสร้างสรรและตรรกะถึงอนาคตที่อาจจะนอกกรอบเดิมๆ มากกว่าความแม่นยำ ใช้แผนที่และกราฟิกเพื่อสร้างและสื่อความเข้าใจ ยอมรับความหลากหลายและการพัฒนาที่มีได้หลายทางเลือกและยังไม่จำเป็นต้องหาข้อสรุปในวันนี้

41 เครือข่ายศูนย์ข้อมูลภูมิอากาศชุมชน
เพื่อเสริมความสามารถระดับท้องถิ่นในการรับมือกับความแปรปรวนของลักษณะอากาศ

42 หลักคิด ชุมชนเกษตรกรรมและประมงขนาดเล็กทั่วประเทศประมาณ 10,000+ แห่ง หรือประมาณ 5 ล้านครัวเรือน การประกอบอาชีพ วิถีชีวิตและความมั่นคงทางสังคม ขึ้นกับลักษณะอากาศท้องถิ่นอย่างมาก (รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต) ระบบการพยากรณ์อากาศระดับประเทศในปัจจุบันยังไม่สามารถลงไปถึงลักษณะอากาศระดับท้องถิ่นได้ เนื่องจากเครือข่ายตรวจวัดทางอุตุนิยมวิทยาหลักยังไม่ละเอียดพอ รวมทั้งขาดความรู้ในรายละเอียดของลักษณะอากาศ/ภูมิอากาศระดับชุมชน

43 โอกาส สถานการณ์เอลนิญโญ พ.ศ เป็นโอกาสในการทดลองระบบการพยากรณ์ระดับชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการรับมือและจัดการตนเองกับภาวะสภาพอากาศไม่ปกติ เครือข่ายตรวจวัดลักษณะอากาศนอกเหนือจากสถานีหลักของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมชลประทาน โครงการหลวง ฯลฯ

44 ระบบการพยากรณ์อากาศระดับประเทศ
การใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดผนวกเข้าไปในโมเดลการพยากรณ์ที่ต้นทาง จึงต้องใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง สถานีมาตรฐานตามเกณฑ์ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก มีประมาณ 100 สถานี แต่ละสถานีเป็นตัวแทนประมาณ ~5,000 ตาราง กม. หรือ ~100 หมู่บ้าน

45 สถานีตรวจวัดแบบ real-time ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสสนก.
12 TMD 42 HAII

46 ระบบการพยากรณ์อากาศท้องถิ่นแบบผนวกข้อมูลที่ปลายทาง
ใช้ข้อมูลการตรวจวัดเพื่อปรับผลการจำลองด้วยโมเดลเชิงตัวเลขต่างๆ (เช่น TMD Unified Model, MM5, WRF, etc) ที่ปลายทาง จึงไม่รบกวนความถูกต้องของโมเดลที่ต้นทาง และไม่มีผลกับที่อื่นๆ ของประเทศ อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักการทางฟิสิกส์ ไม่ต้องจำกัดกับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงมากๆ แบบมืออาชีพ มีความยืดหยุ่นในการเพิ่ม ลดสถานี และออกแบบการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการในพื้นที่

47 ระบบการพยากรณ์อากาศท้องถิ่นแบบเครือข่ายใยประสาทเทียม
ใช้ข้อมูลการตรวจวัดของพื้นที่มาสร้างความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ของพื้นที่เอง ใช้ได้ดีกับพื้นที่ที่ความแปรปรวนแบบอุบัติเหตุมีไม่มาก ต้องมีข้อมูลย้อนหลังนาน (>10 ปี) มีความยืดหยุ่นในการเพิ่ม ลดสถานี และออกแบบการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการในพื้นที่

48 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลผลิตและความเสียหายในกลุ่มเกษตรกรที่เข้าถึงการพยากรณ์และความรู้ทางภูมิอากาศท้องถิ่นดีกว่ากลุ่มที่ไม่เข้าถึง แนวทางในการขยายผลไปยังที่อื่นๆ

49 การสร้างความรู้ที่ชัดเจนเพื่อการคาดการณ์ความเสี่ยงและความเปราะบางของพื้นที่ราบชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนต่อการเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวมในอนาคต

50

51 การทรุดตัวของแผ่นดิน (ผิวดิน)

52

53 การคาดการณ์ระดับทะเลปานกลางของชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (เทียบกับปี 1990)

54 Force Balance Along the Coast
Wave Gravity Gravity Wave

55 Area affected by erosion
Increased Erosion Brunn’s Law Area affected by erosion

56 การเปลี่ยนแปลงอัตราไหลและปริมาณตะกอนนำเข้า

57 Sediment Rating Curves

58 ข้อมูลจาก อนุเผ่า อบแพทย์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

59

60

61 การทรุดตัวของชั้นหินในประเทศไทย
From cGPS data Phuket Sattahip Chumporn

62 การเตรียมการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงและความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
วิสัยทัศน์ ภายในปี พ.ศ ที่ราบลุ่มชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนมีระบบการจัดการเชิงพื้นที่และเชิงสังคมที่สอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในอย่างมีประสิทธิภาพและทุกฝ่ายยอมรับ

63 แผนงาน ระยะเวลา กิจกรรม เป้าหมาย ปีที่ 1-3
การรวบรวมข้อมูล การติดตามตรวจวัดอย่างละเอียด ความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงของพื้นที่ต่อการเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอกและภายใน ปีที่ 4-8 เวทีสาธารณะและเวทีเฉพาะกลุ่มเพื่อหารือและอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการ แนวทางการดำเนินงานที่ทุกฝ่ายยอมรับ ปีที่ 6-10 การออกแบบ การเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร บุคลากร งบประมาณ กฎระเบียบ โครงสร้างองค์กร ฯลฯ ความพร้อมเพื่อการดำเนินการในทุกด้าน ปีที่ 11-20 การดำเนินการ ระบบการบริหารจัดการทั้งทางกายภาพ ทางนิเวศและทางสังคมเพื่อให้พื้นที่สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก

64 การสร้างความรู้ที่ชัดเจน (3 ปี)
• ระดับทะเลทั้งระดับทะเลปานกลางและความแปรปรวนของระดับทะเลตามฤดูกาลหรือการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นเนื่องจากปัจจัยทางภูมิอากาศ • ระดับของชั้นตะกอนตื้นและปัจจัยทางธรณีวิทยา อุทกวิทยา สมุทรศาสตร์และนิเวศวิทยาที่กำหนดเสถียรภาพและสมดุลย์ของแรงที่กระทำต่อชั้นตะกอน • ระดับของชั้นทรายและปัจจัยทางอุทกธรณีของชั้นน้ำบาดาล • ระดับของชั้นหินเปลือกโลกและกระบวนการทางธรณีฟิสิกส์และเทคโทนิคที่เกี่ยวข้อง

65 ขอบคุณ www.thaiclimate.net
ศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และ ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้


ดาวน์โหลด ppt วิกฤติ (และโอกาส) จากโลกร้อน?

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google