บทที่ 3 ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) ของ Howard Gardner
Advertisements

วิวัฒนาการทฤษฎีการจัดการ
หลักการตลาด บทที่ 4 พฤติกรรมผู้บริโภค.
เรียนรู้ลูกค้า – เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค
อารมณ์ (Emotion) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เชาวน์ปัญญา(Intelligence) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
Games, Fun ! Dr.Yodthong Rodkaew Computer Animation, UTCC
Multiple Intelligence
ทฤษฎีพัฒนาการของ Piaget (Piaget’s Theory of Cognitive Development)
( Theory of Multiple Intelligences ) Gardner (การ์ดเนอร์)
ความแตกต่างส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้บริโภค
ตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค (Model of Consumer Behavior)
การฝึกอบรมคืออะไร.
โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ
ทฤษฎีทางจริยธรรม.
Principle of Marketing
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา
Management Tools & Models Episode IV
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดด้วยรูปแบบต่าง ๆ
ความรู้เบื้องต้นการส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพเด็ก
บริการด้วยใจ ห่างไกลข้อร้องเรียน
Peace Theory.
การส่งเสริมสุขจิต วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
จุดประสงค์การเรียนรู้
พฤติกรรมการซื้อ Buyer Behavior
แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ความสมดุลของชีวิต 2) ด้านจิตใจ 3) ด้านสังคม 4) ด้านเศรษฐกิจ
เรื่อง สารเสพติด จัดทำโดย
การรับรู้สุนทรียภาพในงานศิลปะ
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร 2552 VS 2558
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
การวัดผลและประเมินผลพฤติกรรมของมนุษย์
การแนะแนวอาชีพในศตวรรษที่ 21
พระเจ้าต้องการความช่วยเหลือของท่าน ตอนที่ 1
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
การแบ่งส่วนตลาดและการตลาดเป้าหมาย (Market Segmentation and Targeting)
การบริหาร ความขัดแย้ง ความสามารถและการพัฒนาเชาว์อารมณ์
บทที่ 5 ภาวะผู้นำ และการจูงใจ
การพยาบาลผู้ที่มีนึกคิดและการรับรู้ผิดปกติ : Dementia, Delirium
กระบวนการเรียนรู้ของผู้บริโภค
การบริหารทีมงานและภาวะผู้นำ
พฤติกรรมผู้บริโภค.
หัวข้อในการบรรยาย 1. จำนวนบุคลากรสายสนับสนุน 2. เส้นทางความก้าวหน้า 3. องค์ประกอบของคณะกรรมการประเมินค่างาน 4. ขั้นตอนการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น.
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
TIM2303 การขายและการตลาด ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
พฤติกรรมผู้บริโภค 8 ตลาดผู้บริโภคและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
ตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค (Model of Consumer Behavior)
พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)
By ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีระ พันลูกท้าว
รหัสวิชา ศิลปกรรมกับการสื่อสาร Fine and Applied Arts and Communication
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
บทที่ 5 ตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค
ปัญหา อุปสรรคและแนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์
เปิดทัศนคติและการวิเคราะห์บุคคล และมองคนด้วยหลักจิตวิทยาและพฤติกรรมบุคคลเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในงาน รศ.ดร.ทองฟู ศิริวงศ์
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 5
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
งานการเงินนักศึกษา ส่วนการเงินและบัญชี
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
บทที่ 3.
ลักษณะทั่วไปของการขนส่ง Transport General Features
เกษตรอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
วิวัฒนาการทฤษฎีการจัดการ
บทที่ 2 ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตร
TQS : Total Quality Service การบริการคุณภาพทั่วองค์การ
โดย สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดจันทบุรี
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 3 ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ บทที่ 3 ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ 1. การรับรู้ (Perception) 2. สติปัญญาและความคิด (Intelligence and Thought) 3. อารมณ์ (Emotion) 4. เจตคติ (Attitude) 5. ค่านิยม (Value) 6. แรงจูงใจ (Motivation)

1. การรับรู้ (Perception) การรับรู้ คือจุดเริ่มต้นของการเกิดพฤติกรรม การรับรู้ หมายถึง การแปลความหมายจากการสัมผัส โดยเริ่มตั้งแต่ การมีสิ่งเร้ามา กระทบกับอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า และส่งกระแสประสาท ไปยังสมอง เพื่อการแปลความ ทำให้เกิดความเข้าใจว่าสิ่งเร้านั้นคืออะไร การแปลความหมาย ต้องใช้ประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิม

กระบวนการรับรู้ การสัมผัส การรับรู้ (Perception) สิ่งเร้า อวัยวะรับสัมผัส ระบบประสาท แปลความหมาย การสัมผัส การรับรู้ (Perception) การตอบสนอง

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ดอกกุหลาบ หมายถึง ? คุณลักษณะของผู้รับรู้ 1. ด้านกายภาพ สมบูรณ์ดี / ไม่ 2.ด้านจิตวิทยา ประสบการณ์เดิม ความต้องการในขณะนั้น ความใส่ใจ คุณลักษณะของสิ่งเร้า 1. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า เคลื่อนไหวได้ ดี 2. ขนาด ใหญ่ ดี 3. ระดับความเข้ม แสง/สี ดี 4. กระทำซ้ำๆ

ขนาดของเหรียญ 10 บาท ก ข

การรับรู้ที่ผิดพลาด 1. ประสาทสัมผัส = ไม่สมบูรณ์ เกิดจาก 1. ประสาทสัมผัส = ไม่สมบูรณ์ 2. สภาพของสิ่งเร้า = ภาพลวงตา 3. ประสบการณ์เดิม = ไม่ถูกต้อง

การเกิดมุมหรือการตัดกันของเส้นตรง

การรับรู้ภาพลวงตาพอนโซ (Ponzo Illusion) ผู้รับรู้ ตีความหมาย ลึกตามหลักสัดส่วนที่ปรากฎแก่สายตา

คุณเห็นอะไรจากรูปนี้ ???

ความสำคัญของการรับรู้ 1 สิ่งเร้า การสัมผัสกับสิ่งเร้านั้น รู้ความหมายจากการสัมผัส เกิดการรับรู้ การเรียนรู้ (จำเป็นมโนภาพ)

ความสำคัญของการรับรู้ 2 การรับรู้ เกิดความคิด อารมณ์ความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม แรงจูงใจ เกิดพฤติกรรม

(Intelligence and Thought) 2. สติปัญญาและความคิด (Intelligence and Thought) กลุ่มที่1 เป็นความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่2 เป็นความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มที่3 เป็นเรื่องของความสามารถในการคิดแบบนามธรรม กลุ่มที่4 เป็นความสามารถในการเรียนรู้ ผู้ที่มีสติปัญญาสูงจะมีความสามารถต่างๆ มากกว่า เร็วกว่าผู้ที่มีสติปัญญาต่ำ

ทฤษฎีทางสติปัญญา สเบียร์แมน (Spearman) ผู้ตั้งทฤษฎี 2 องค์ประกอบ ซึ่งสรุปว่าสติปัญญาประกอบด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่ 1. องค์ประกอบทั่วไป (General factor หรือ g factor) คือ ความสามารถพื้นฐานในการกระทำต่างๆที่ทุกคนต้องมี 2. องค์ประกอบเฉพาะ (Specific factor หรือ s factor) คือ ความสามารถเฉพาะที่แต่ละคนมีแต่ต่างออกไป หรือเรียกกันว่าความถนัดหรือพรสวรรค์

ทฤษฎีทางสติปัญญา 2. ด้านความคล่องแคล่วในการใช้ถ้อยคำ (Word fluency) เธอร์สโตน (Thurstone) เจ้าของทฤษฏีหลายองค์ประกอบ แยกองค์ประกอบของสติปัญญามนุษย์ออกเป็น 7 ด้านได้แก่ 1. ด้านความเข้าใจในภาษา (Verbal comprehension) 2. ด้านความคล่องแคล่วในการใช้ถ้อยคำ (Word fluency) 3. ด้านตัวเลข การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Number) 4. ด้านมิติสัมพันธ์ การรับรู้รูปทรง ระยะ พื้นที่ ทิศทาง (Spatial) 5. ด้านความจำ (Memory) 6. ด้านความรวดเร็วในการรับรู้ (Perceptual speed) 7. ด้านการให้เหตุผล (Reasoning)

ทฤษฎีทางสติปัญญา การ์ดเนอร์ (Gardner) เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple intelligences) ซึ่งสรุปว่าสติปัญญาประกอบไปด้วยความสามารถที่แสดงออกในรูปของทักษะ 7 ด้านได้แก่ 1. สติปัญญาด้านดนตรี (Music intelligence) 2. สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily kinesthetic intelligence) 3. สติปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ (Logical-mathematical intelligence) 4. สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence) 5. สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence) 6. สติปัญญาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น (Interpersonal intelligence) 7. สติปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence)

พัฒนาการทางสติปัญญา ขั้นที่1 ...Sensorimotor (แรกเกิด - 2 ขวบ)                    เพียเจต์ เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ศึกษาระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยนี้ไว้อย่างละเอียดจากการสังเกตบุตร 3 คน โดยทำบันทึกไว้และสรุปว่าวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย      ขั้นที่2 ...Preoperational (อายุ18 เดือน - 7 ปี)           เด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาล มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้ หรือ มีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างเด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาล มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้ หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการ พูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง     ขั้นที่3 ...Concrete Operations (อายุ 7 - 11 ปี)           พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้แตกต่างกันกับเด็กในขั้น Preperational มาก เด็กวัยน ี้จะสามารถสร้างกฎเกณฑ์ และตั้งกฎเกณฑ์ ในการ แบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ คือ เด็กจะสามารถที่จะอ้างอิงด้วยเหตุผลและไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กวัยนี้สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับ (Reversibility) ได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและความสัมพันธืของตัวเลขก็เพิ่มมากขึ้น     ขั้นที่4 ...Formal Operations (อายุ 12 ปีขึ้นไป)                    ในขั้นนี้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาและความคิดเห็นของเด็กเป็นขั้นสุดยอด คือ เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กสิ้นสุดลง เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดเป็นนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีและเห็นว่าความจริงที่เห็นด้วยกับการรับรู้ไม่สำคัญเท่ากับการคิดถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้(Possibility) เพียเจต์ได้สรุปว่า"เด็กวัยนี้เป็นผู้ที่คิดเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง และมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม"  

สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสติปัญญา 1. พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะทางสายพันธ์จากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน ซึ่งพิจารณาได้จาก ระดับของสติปัญญา เพศ วัย และเชื้อชาติ 2. สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสติปัญญานั้น เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ จนถึงการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สิ่งแวดล้อมที่สำคัญได้แก่ ความพร้อมในการตั้งครรภ์ อาหาร โรคภัยไข้เจ็บ การอบรมเลี้ยงดู การจัดสิ่งแวดล้อมหรือเงื่อนไขในการเรียนรู้

IQ

การคิด (Thinking) การคิดเป็นกระบวนการของสมอง ในการสร้างสัญลักษณ์ หรือภาพให้ปรากฏในสมอง ความสามารถในการคิดนั้นมีความสัมพันธ์ระดับสติปัญญา 1. ความคิดรวบยอด (concept) เป็นลำดับขั้นที่เกิดจากการทำงานของสมอง ในการจัดกลุ่มหรือประเภทของสิ่งเร้าโดยมีการรับรู้คุณสมบัติบางอย่างรวมกัน 2. คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical) เป็นการคิดไตร่ตรองอย่างรอบครอบ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล 3. ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) เป็นการคิดที่มีความแปลกใหม่ หรือประยุกต์สิ่งเดิมให้ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อมนุษย์

จงบอกประเภทของการคิด 1. ให้จัดกลุ่มของสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ 2. ข้อใดคือสัตว์ 4 เท้า ก. หมู ข. เป็ด ค. ไก่ ง. งู 3. จงบอกประโยชน์ของหนังสือพิมพ์ให้มากที่สุด

วันนี้อารมณ์ดี , ไม่มีอารมณ์ 3. อารมณ์ (Emotion) วันนี้อารมณ์ดี , ไม่มีอารมณ์ ความหมาย สภาวะทางร่างกายและจิตใจถูกกระตุ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกล้ามเนื้อ และต่อมต่างๆ หรือทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ

ลักษณะสำคัญของอารมณ์ 1. เป็นความรู้สึกส่วนบุคคล 2. เมื่อมีอารมณ์จะมีการแสดงออก 3. มีการเปลี่ยนแปลงสรีระในร่างกาย ความสำคัญของอารมณ์ เป็นเครื่องชี้ความรู้สึกนึกคิด ทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น -เป็นแรงผลักดันให้กระตือรือร้น - ทำให้เกิดการต่อสู้ - ทำให้มีการเอาตัวรอด

อารมณ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท อารมณ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. อารมณ์ที่ให้ความสุข ได้แก่ อารมณ์สนุก อารมณ์รัก เป็นต้น 2. อารมณ์ที่ให้ความทุกข์ ได้แก่ อารมณ์โกรธ อารมณ์เศร้า อารมณ์ กลัว อารมณ์กังวล อารมณ์สงสาร

อารมณ์และหน้าที่ของอารมณ์ อารมณ์พื้นฐาน หน้าที่ กลัว ปกป้อง โกรธ ทำลาย รื่นเริง ความร่วมมือ รังเกียจ ปฏิเสธ ยอมรับ แพร่พันธุ์ เศร้า รู้สึกสูญเสีย ประหลาดใจ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ความคาดหวัง การสำรวจค้นหา

จงบอกประเภทของอารมณ์

ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับอารมณ์ ทฤษฎีของเจมส์ - แลงค์ (James - Lange Theory) ทฤษฎีของแคนนอน-บาร์ด (Canon-Bard Theory) ทฤษฎีอารมณ์ของแมคดูกัลล์ (McDougall Theory)

ทฤษฎีอารมณ์ ทฤษฎีอารมณ์ของเจมส์-แลงง์ (Jemes-Lange Theory) เชื่อว่า อารมณ์ เกิดจากมีสิ่งเร้ามาเร้าอินทรีย์ ร่างกายเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดพลังประสาท ส่งต่อไปยังสมอง เกิดอารมณ์เกิดขึ้น

ทฤษฎีของเจมส์ - แลงค์ (James - Lange Theory) เป็นทฤษฎีที่วิลเลี่ยม เจมส์ (William James) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน และคาร์ล จี แลงค์ (Carl G.Lange) แพทย์ชาวเดนมาร์ก ทั้ง 2 มีแนวคิดที่ตรงกันข้ามกันว่า อารมณ์เป็นผลที่เกิดเนื่องมาจาก มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ในขณะที่ระบบประสาทรับการสัมผัสจากสิ่งเร้า และสั่งการไปยังกล้ามเนื้อให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างทันทีทันใด แล้วจึงเกิดอารมณ์ (Baron,1996:354) เช่น เรารู้สึกว่ามีสิ่งเปียกๆ เหนียวๆ หล่นใส่แขนเราจะสลัดแขนทันที เมื่อเรารู้ภายหลังว่าสิ่งนั้นคืออะไรเราจึงเกิดอารมณ์ต่างๆ ตามมา อาจกลัวถ้าเป็นงู อาจเกลียดถ้าเป็นตุ๊กแก อาจขยะแขยงถ้าเป็นน้ำมูก หรือขบขันถ้าเป็นยางที่ทำเป็นรูปคล้ายสัตว์ เลื้อยคลานต่างๆ สิ่งเร้า  อินทรีย์  พฤติกรรม  อารมณ์

ทฤษฎีอารมณ์ 2. ทฤษฎีอารมณ์ของแคนนอน-บาร์ด (Cannon-Bard Theory) เชื่อว่า สมองส่วนHypothalamus เป็นส่วนควบคุมอารมณ์ของมนุษย์และสัตว์ ถ้าตัดสมองส่วนนี้ออก มนุษย์/สัตว์จะไม่มีการแสดงอารมณ์

ทฤษฎีของแคนนอน-บาร์ด (Canon-Bard Theory) ผู้ตั้งทฤษฎีนี้คือ วอลเตอร์ บี แคนนอน (Walter B.Canon) และบาร์ด (Bard) ซึ่งเป็นศิษย์ของ แคนนอน เขาได้อธิบายการเกิดอารมณ์ว่า เมื่ออินทรีย์ หรือร่างกายรับสัมผัสจากสิ่งเร้าภายนอกแล้ว จะรายงานมายังสมองส่วนกลาง (Thalamus) แล้วส่งต่อไปยังสมองส่วนกลางภายใน (Hypothalamus) ซึ่งเป็นแหล่งที่เกิดของอารมณ์ จากนั้นเป็นการสั่งการให้กล้ามเนื้อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทฤษฎีนี้บางทีเรียกว่า Canon's Thalamic Theory (Shaver,1993:152) อารมณ์ สิ่งเร้า ---> อินทรีย์ ----> Thalamus ----> Hypothalamus พฤติกรรม

ทฤษฎีอารมณ์ 3. ทฤษฎีอารมณ์ของแมคดูกัลล์ (McDougall Theory) เน้นเรื่อง อารมณ์และสัญชาติญาณ อารมณ์จะอยู่ในจิตสำนึก สัญชาติญาณติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด ทั้งสองอย่างทำหน้าที่ควบคู่กัน เช่น หนีภัย คู่กับ อารมณ์กลัว , ต่อสู้ คู่กับ อารมณ์โกรธ สำรวจและกระทำ คู่กับ ความอยากรู้อยากเห็น

ทฤษฎีของชัคเตอร์ - ซิงเกอร์ (Schachter - Singer Theory) บางที่เรียกว่า "ทฤษฎีการที่แสดงถึงการรู้การเข้าใจ" (Cognitive Labeling Theory) ซึ่งเสนอโดย ชัชเตอร์ (Schachter) และซิงเกอร์ (Singer) เป็นทฤษฎีที่เน้นใน 2 องค์ประกอบที่สำคัญ (Baron,1996:355) คือการรู้การเข้าใจและ สถานการณ์ในสังคม ที่มีบทบาทต่อการกำหนดสภาวะอารมณ์ คือการที่บุคคลจะมีอารณ์แบบใดขึ้นอยู่กับการรู้และเข้าใจสิ่งแวดล้อมทางสังคม และการเลือกตอบสนองของบุคคล ทฤษฎีนี้มีการเปรียบเทียบมนุษย์เหมือนตู้เพลง การหยอดเหรียญลงไป เท่ากันเป็นการถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก เข้าไปปลุกระบบที่ทำให้เกิดอารมณ์ แต่จะเป็นเพลงแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่เลือกเพลง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ทฤษฎีอารมณ์ตู้เพลง" (Jukebox Theory of Emotional) ทางสังคมเรียกอย่างไร จึงจะดูดีและเป็นที่ยอมรับ

4. เจตคติ (Attitude) หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็นหรือท่าทีของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ในทางบวกหรือทางลบ ชอบหรือไม่ชอบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พฤติกรรม เจตคติ ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติกับพฤติกรรม

ความรู้สึกเป็นองค์ประกอบทางด้านอารมณ์ ความคิดเห็นเป็นองค์ประกอบด้านปัญญา ท่าทีเป็นองค์ประกอบด้านพฤติกรรม

ลักษณะของเจตคติ 1. เป็นสภาพการณ์ทางจิตใจที่เกิดจากการเรียนรู้ ไม่ใช่สิ่งที่มีมาแต่เกิด 2. เจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นทั้งทางบวกและทางลบ 3. เจตคติเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม รับรู้ได้จากการแสดงออก 4. เจตคติเปลี่ยนแปลงได้ทั้งชั่วคราวและถาวร ขึ้นอยู่กับระดับของเจตคติ 5. เจตคติสามารถถ่ายทอดและเลียนแบบจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลอื่นได้

เจตคติของนักศึกษาที่มีต่อวิชาพฤติกรรมมนุษย์ฯที่สอนโดย อ.พรเทพ ตัวอย่างแบบสอบถาม เจตคติของนักศึกษาที่มีต่อวิชาพฤติกรรมมนุษย์ฯที่สอนโดย อ.พรเทพ ที่ ข้อความ ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง 1. ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจที่ได้เรียนวิชานี้ 2. บรรยากาศในห้องเรียนและอาจารย์ช่วยส่งเสริมการเรียนวิชานี้ 3. ข้าพเจ้าได้รับความรู้ในวิชานี้มากขึ้นจากอาจารย์ผู้สอน 4. ข้าพเจ้าคิดว่าจะมีผลการเรียนวิชานี้ดี 5. อาจารย์ผู้สอนวิชานี้หน้าตาดี

แบบทดสอบทัศนคติของบุคคล Are you Type A or Type B? ให้วงกลมคุณลักษณะที่ใกล้เคียงตัวคุณเองมากที่สุด และรวมคะแนน ไม่เคยสาย 1 2 3 4 5 6 7 8 สายเป็นประจำ ไม่ชอบการแข่งขัน 1 2 3 4 5 6 7 8 ชอบการแข่งขัน ไม่เคยรู้สึกเร่งรีบ 1 2 3 4 5 6 7 8 เร่งรีบตลอดเวลา ชอบทำงานอย่างเดียว 1 2 3 4 5 6 7 8 ทำงานหลายอย่าง ทำงานช้า 1 2 3 4 5 6 7 8 ทำงานเร็ว ชอบแสดงความรู้สึก 1 2 3 4 5 6 7 8 เก็บความรู้สึก มีงานอดิเรกหลายอย่าง 1 2 3 4 5 6 7 8 ไม่มีงานอดิเรกหรือมีน้อย Take it from Green textbook 38

คนที่มีทัศนคติแบบ Type A และ Type B กล้าแสดงความคิดเห็นและเรียกร้อง ความอดทนต่ำ มุ่งเน้นเป้าหมายและผลงาน ตั้งใจทำงานสูง คำนึงเรื่องเวลา ชอบทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน Type B ไม่รู้สึกเร่งรีบ ไม่จำเป็นต้องแสดงผลงาน หรือความสำเร็จ ใช้เวลาตามสบาย ผ่อนคลาย แข่งขันเพื่อความสนุกไม่ใช่เพื่อเอาชนะ

องค์ประกอบของเจตคติ การพัฒนาเจตคติ 1. การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม 1. ด้านความรู้เชิงประเมินค่า 2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก 2. การให้ข้อมูลในขณะที่เด็กอารมณ์ดี 3. ด้านความพร้อมที่จะกระทำ 3. การแสดงบทบาทสมมุติ

กระบวนการเปลี่ยนเจตคติ 5. ขั้นการกระทำ 4. ขั้นความจำ 3. ขั้นการยอมรับ 2. ขั้นความเข้าใจ 1. ขั้นการเอาใจใส่

5. ค่านิยม (Value) ค่านิยม คือ ความเชื่อพื้นฐานซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมของบุคคลหรือสังคม หรือความรู้สึกนิยมชมชอบหรือเห็นคุณค่าในบุคคล สิ่งของ หรือความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยค่านิยมจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ว่า “สิ่งใดถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง”

ที่มาของค่านิยม (Sources of value system) ครอบครัว ครูอาจารย์ กลุ่มเพื่อน กลุ่มสังคม

จุดเด่นของค่านิยม (Features of values) ค่านิยมของบุคคลส่วนใหญ่จะมั่นคง ค่านิยมจะถูกสร้างขึ้นโดยครอบครัว เพื่อน โรงเรียน และสังคม ค่านิยมของบุคคลแต่ละประเทศจะแตกต่างกันเนื่องจากค่านิยมถูกกำหนดโดยวัฒนธรรมที่แตกต่างในแต่ละประเทศ ค่านิยมยากที่จะเปลี่ยนแปลง

ค่านิยมส่วนบุคคลของ Rokeach [Rokeach Value Survey (RVS)] ค่านิยมปลายทาง (Terminal values) หมายถึง ความปรารถนาขั้นสูงสุดของชีวิต หรือเป้าหมายซึ่งบุคคลต้องการที่จะประสบความสำเร็จระหว่างช่วงเวลาของชีวิต ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ (Instrumental values) หมายถึง แบบของพฤติกรรมหรือวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ สู่ค่านิยมปลายทางของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ ค่านิยมปลายทาง vs. ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ (Terminal vs. Instrumental values) ค่านิยมปลายทาง มีความสุข มีสติปัญญา มีชีวิตที่ตื่นเต้น มีชีวิตที่ปลอดภัย มีความเป็นอิสรเสรีภาพ ความเสมอภาค ร่ำรวย ชีวิตที่สะดวกสบาย ประเทศชาติปลอดภัย ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ ความสามารถ ความทะเยอทะยาน ความสะอาด ประณีต ความรับผิดชอบ รู้จักการขอโทษผู้อื่น มีความรักและอ่อนโยน รู้จักการควบคุมตนเอง มีวินัย เชื่อฟัง มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์

ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ ค่านิยมปลายทาง vs. ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ (ต่อ) (Terminal vs. Instrumental values) ค่านิยมปลายทาง ครอบครัวมีความมั่นคง มีวุฒิภาวะด้านความรัก ต้องการมีมิตรภาพที่แท้จริง การยกย่องนับถือในตัวเอง ต้องการให้โลกมีความสงบ อิสระจากความขัดแย้งภายใน ต้องการให้โลกมีความสวยงาม ต้องการประสบความสำเร็จ ต้องการให้สังคมยกย่อง นับถือ ชื่นชม ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ ความร่าเริง ความสุภาพ ความซื่อสัตย์ ใจกว้าง มีเหตุผล กล้าหาญ ให้ความช่วยเหลือ ใช้สติปัญญา ไม่พึ่งพาผู้อื่น

ค่านิยมของฉัน : เรียงลำดับค่านิยมที่คุณให้ความสำคัญจากมากไปน้อย ค่านิยมปลายทาง (อะไรที่ฉันปรารถนาจะสำเร็จ) ______________ ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ (วิธีที่ที่จะทำให้ความปรารถนาสำเร็จ) ______________

Let’s do some exercises!! โจทย์: ให้นักศึกษาบอกค่านิยมปลายทางและค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือของบุคคลที่กล่าวคำดังต่อไปนี้ อาจารย์ A กล่าวว่า “นักศึกษาควรอ่านหนังสือทุกวันเพื่อจะได้เกรดดีในวิชาพฤติกรรมบุคคลในองค์การ” อาจารย์ B กล่าวว่า “ฉันอยากให้คุณเรียนวิชาพฤติกรรมบุคคลอย่างสนุกสนานในห้องเรียน คุณไม่จำเป็นต้องเครียดในการทำการบ้านและรายงาน คุณควรผ่อนคลายและมีความสุขในการเรียน”

คำตอบ ข้อที่1 ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ มีระเบียบวินัยในตนเอง ค่านิยมปลายทาง (อะไรที่ฉันปรารถนาจะสำเร็จ) ความสำเร็จ มีสติปัญญา ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ (วิธีที่ที่จะทำให้ความปรารถนาสำเร็จ) มีระเบียบวินัยในตนเอง เชื่อฟัง ความทะเยอทะยาน

คำตอบ ข้อที่ 2 ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ มีจินตนาการ ร่าเริง ค่านิยมปลายทาง (อะไรที่ฉันปรารถนาจะสำเร็จ) มีความสุข ความอิสระ สุนทรียภาพ มีส่วนร่วมต่อสังคม ค่านิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือ (วิธีที่ที่จะทำให้ความปรารถนาสำเร็จ) มีจินตนาการ ร่าเริง เปิดกว้าง ใจกว้าง

6. การจูงใจ (motivation) การจูงใจ เป็นกระบวนการที่บุคคลถูก กระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจ ให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง พฤติกรรมต้องความเข้มข้น มีทิศทางจริงจัง มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการไปสู่จุดใด และ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เป็นผลสืบเนื่องมาจาก แรงผลักดัน หรือ แรงจูงใจ ด้วย

ลักษณะของการจูงใจ 1. การจูงใจภายใน (intrinsic motivation) เป็นสภาวะที่บุคคลต้องการที่จะกระทำหรือเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างด้วยตนเอง โดย ไม่ต้องอาศัยการชักจูงจากสิ่งเร้าภายนอกได้แก่ ความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด ความสนใจ หรือเจตคติของแต่ละบุคคล 2. การจูงใจภายนอก(extrinsic motivation) เป็นสภาวะที่บุคคลรับการกระตุ้นจาก สิ่งเร้าภายนอก เร้าให้เกิดความต้องการ และแสดงพฤติกรรมไปสู่เป้าหมายนั้น ได้แก่ การเสริมแรงด้วยสิ่งล่อใจ รางวัล

แรงจูงใจภายใน / ภายนอก เงิน ความสนใจ ความต้องการส่วนตัว ความรัก คะแนน อาหาร

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs Theory) การเข้าใจตนเอง (Self Actualization) ได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem needs) ความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and love needs) ความปลอดภัย (Safety needs) ทางด้านร่างกาย (Physiological needs)

สาระสำคัญของทฤษฎีมาสโลว์ 1. ความต้องการของบุคคลจัดลำดับความสำคัญจากต่ำสุดไปสู่ระดับสูงสุด 2. เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนอง ความต้องการนั้นจะลดความสำคัญลง แต่จะเกิดความต้องการอย่างอื่นเข้ามาแทนที่ 3. ความต้องการยิ่งอยู่ในระดับสูงความรีบด่วนที่จะตอบสนองเพื่อคงชีวิตอยู่จะยิ่งน้อยลง เลื่อนระยะเวลาออกไปได้มาก และมีโอกาสหายไปได้ง่าย 4. ความต้องการต่างๆในแต่ละระดับจะเกี่ยวเนื่อง และเหลื่อมล้ำกัน

ความต้องการ แรงขับ หรือแรงจูงใจ พฤติกรรมที่ถูก จูงใจหรือถูกเร้า เกิดความพึงพอใจ เป้าหมาย รางวัล หรือสิ่งล่อใจ

ความต้องการ * กระบวนการจูงใจจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเนื่องจากร่างกายมีความต้องการและแรงขับ * ความต้องการเกิดจากความขาดแคลนภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดความสมดุลย์

ความต้องการแบ่งเป็น 2 ประเภท ความต้องการแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย เป็นความต้องการเพื่อให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานตามปกติหรืออยู่ในภาวะสมดุล เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ การพักผ่อนนอนหลับ การขับถ่าย การออกกำลังกาย ความต้องการทางเพศ ความต้องการการเคลื่อนไหว 2. ความต้องการทางด้านจิตใจและสังคม เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ และอารมณ์ ได้แก่ ความต้องการความ ปลอดภัย ความรักความอบอุ่น การยอมรับนับถือ ความสำเร็จ ความต้องการให้สังคมยอมรับ ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรม 1. พฤติกรรมย่อมมีสาเหตุมาจากแรงจูงใจ / ความต้องการ 2. แรงจูงใจเหมือนกัน แต่พฤติกรรมอาจไม่เหมือนกัน 3. พฤติกรรมอย่างเดียวกัน อาจเกิดจากแรงจูงใจต่างกัน 4. พฤติกรรมของคนคนเดียวกัน อย่างเดียวกัน อาจเกิดจากแรงจูงใจหลาย ๆ อย่าง

บรรณานุกรม http://www.dpu.ac.th/business1/upload/tutorial/48/Ch5_OB.ppt#273,1,Chapter 5 ค่านิยมและวัฒนธรรม (Value & Culture) http://www.novabizz.com/NovaAce/Motives.htm http://www.dpu.ac.th/business1/upload/tutorial/48/Ch6_OB.ppt#256,1,Chapter 6 การรับรู้และการเรียนรู้ (Perception and Learning) http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Perception.htm