การขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืช หมายถึง วิธีการที่ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของต้นพืชให้มากขึ้น เพื่อดำรงสายพันธุ์ พืชชนิดต่าง ๆ ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ ซึ่งวิธีการที่นิยมปฏิบัติโดยทั่วไป
ประเภทของการขยายพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ 2. การขยายพันแบบไม่อาศัยเพศ
การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศคือ การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์วิธีนี้มีข้อดี คือ ทำง่าย สะดวกรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายน้อย ผลเสียคือ ได้ผลล่าช้า แต่แท้จริงการกลายพันธุ์ของลองกองเกิดขึ้นได้ แต่มีโอกาสน้อย การขยายพันธุ์ของลองกองด้วยเมล็ดนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะลองกองมีเมล็ดน้อย ควรคัดเลือกจากพันธุ์ที่ผลดกผลผลิตสม่ำเสมอ การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศทำได้โดย
การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ 1.การเพาะเมล็ด 1.1 การเพาะเมล็ดในภาชนะ คือการนำภาชนะ เช่น กระถาง ถุงพลาสติก ตะกร้า กระบะไม้ เป็นต้น ใส่วัสดุปลูกมาใช้ในการเพาะเมล็ด 1.2 การเพาะเมล็ดในแปลง มีขั้นตอนในการเตรียมแปลงดังนี้
ขั้นตอนการเตรียมแปลง 1 การกำหนดพื้นที่โดยพื้นที่นั้นต้องไม่เคยปลูกพืชมาก่อนหรือไม่เคยเกิดโรคระบาดในพื้นที่นั้นทำการกำจักวัชพืชออกให้หมด 2. ทำการขุดเบิกหน้าดินให้ทั่วทั้งแปลงโดยขุดลงลึกประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร หรือประมาณหนึ่งหน้า จอบ 3. ทำการตากดินที่ทำการขุดไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์เพื่อกำจัดเชื้อโรคแมลงและวัชพืช 4. ยกดินให้เป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วนำปุ๋ยคอกมาผสมให้ทั่วทั้งแปลงใช้จอบสับดินให้ระเอียด
ขั้นตอนการเตรียมแปลง 5. ทำการเกลี่ยดินให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1x4 เมตร(ขนาดแปลงมาตรฐาน)โดยให้แปลงมีความสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร 6. นำปุ๋ยหมักมาหว่านให้ทั่วบริเวณบนแปลงห้ามใช้ปุ๋ยคอกเนื่องจากจะมีผลต่อเมล็ดผักในการงอกได้ 7. หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลงปลูกแล้วคุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแหงเพื่อช่วยควบคุมความชื้นริเวรบนแปลงและลดการชะล้างหน้าดินในขณะรดน้ำ
การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ 2.การเกิดเมล็ดโดยไม่มีการผสม การเกิดของเมล็ด ถ้าเป็นพืชทั่วไปจะต้องมีการถ่ายเกสร เว้นแต่ผลไม้กลุ่มเดียวกับลองกอง จากการศึกษาพบว่าในกลุ่มนี้มีเกสรตัวผู้มีความเป็นหมันสูง ผลเป็นชนิดผลเทียม คือ รังไข่ สามารถพัฒนาเป็นผลโดยไม่ต้องมีการผสม ส่วนไข่อ่อนและคัพภะก็สามารถพัฒนาได้เอง
การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การตอนกิ่ง (Layering) หมายถึง วิธีการทำให้กิ่งพืชออกรากในขณะอยู่ติดกับต้นแม่ เมื่อกิ่งตอนนั้นออกรากดีแล้ว จึงตัดไปปลูกต่อไป ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอนกิ่ง 1) การทำให้เกิดการสะสมอาหารและสารบางชนิดที่จำเป็นต่อการงอกราก ในบริเวณที่ทำการตอน โดยวิธีการทำให้กิ่งเกิดแผล เพื่อตัดท่อลำเลียงอาหารของพืชในส่วนอื่นๆ จึงเกิดการสะสมอาหารและสารบางอย่างขึ้นเหนือแผลที่ทำการตอน
2) การสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการงอกรากของพืช เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และแสงสว่าง 3) การดูแลรักษา ควบคุมความชื้นหรือการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย อันเกิดจากศัตรูอื่นๆ เช่น มด แมลง สัตว์เลี้ยง เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่ง 1) มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์ (Cutter) หรือมีดติดตาต่อกิ่ง 2) ถุงพลาสติกขนาด 2x4 นิ้ว หรือ 3x5 นิ้ว 6x8 นิ้ว 3) วัสดุหุ้มกิ่งตอน เช่น กาบมะพร้าว ถ่านแกลบหรือขุยมะพร้าว 4) เชือกมัดวัสดุหุ้มกิ่งตอน เช่น เชือกฟาง 5) ฮอร์โมนเร่งราก(NAA,IBA)
รูปแบบการตอนกิ่ง มีหลายวิธี ที่นิยมกันได้แก่ 1) การตอนกิ่งในอากาศ (Air Layering) 2) การตอนกิ่งแบบฝังยอด (Tip Layering) 3) การตอนกิ่งแบบฝังกิ่งให้ยอดโผล่พ้นดิน (Simple Layering) 4) การตอนกิ่งแบบงูเลื้อย (Compound Layering) 5) การตอนกิ่งแบบขุดร่อง (Trench Layering) 6) การตอนกิ่งแบบสุมโคน (Mound or Stool Layering)
1 การตอนกิ่งในอากาศ (Air Layering) การตอนกิ่งในอากาศ โดยเฉพาะแบบควั่นกิ่ง เหมาะสำหรับไม้ดอกไม้ระดับ เช่น กุหลาบ โมก โกสน แสงจันทร์ เล็บครุฑ ฯลฯ และไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง ลำไย มังคุด มะเฟือง ฯลฯ เป็นต้น มีขั้นตอน ดังนี้
1 การตอนกิ่งในอากาศ (Air Layering) 2) ควั่นเปลือกกิ่ง ความยาวของรอยแผล ประมาณเส้นรอบวงของกิ่ง ทั้งด้านบนและล่างของกิ่ง แล้วลอกเอาเปลือกออกและขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่นๆ รอบกิ่งออกให้หมด 1) เลือกกิ่งที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี หรืออยู่ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจะออกรากได้ดีกว่ากิ่งที่มีอายุมาก และควรเป็นกิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง ที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง
1 การตอนกิ่งในอากาศ (Air Layering) 4) เมื่อกิ่งตอนงอกรากซึ่งจะเกิดตรงบริเวณรอยควั่นด้านบน และรากเริ่มแก่เป็นสีเหลือง หรือมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาวและมีจำนวนรากมากพอ จึงตัดกิ่งตอนไปชำหรือปลูกได้ 5) ตัดกิ่งตอนไปชำในภาชนะ ในกระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป 3) นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวเก่าที่แช่น้ำจนอิ่มตัว แล้วบีบน้ำออกพอหมาดๆ อัดลงในถุงพลาสติกแล้วผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผลที่ควั่น
2 การตอนกิ่งแบบฝังยอด (Tip Layering) การตอนกิ่งแบบนี้ รากจะออกตรงบริเวณใกล้กับยอดที่นำฝังลงดิน เหมาะกับพืชบางชนิด เช่น ต้นประทัดจีน มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ใช้เสียมหรือพลั่วกาบอ้อย ขุดดินให้เป็นหลุมลึก ประมาณ 7 – 8 เซนติเมตร 2) สอดปลายยอดเข้าไปในหลุม แล้วกลบดินทับ 3) รดน้ำทุกวัน และดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นบดบังแสง 4) ประมาณ 30 – 45 วัน เมื่อยอดใหม่โผล่ขึ้นมาจากดิน จะมีราก พร้อมที่จะย้ายปลูกได้ทันที
3 การตอนกิ่งแบบฝังกิ่งให้ยอดโผล่พ้นดิน (Simple Layering) การตอนกิ่งแบบนี้ เหมาะสำหรับพืชที่มีกิ่งยาวและมีลักษณะดัดโค้งได้ง่าย เช่น มะลิชนิดต่างๆ เป็นต้น มีขั้นตอน ดังนี้ 1) เลือกกิ่งที่มีอายุมากกว่า 1 ปี 2) ทำแผลให้เกิดขึ้นโดยการบิดให้แตกหรือใช้มีดปาด 3) โน้มกิ่งลงหาพื้นดิน แล้วกลบดินบริเวณบางส่วนของกิ่ง โดยให้ยอดโผล่ขึ้นเหนือดิน ยาวประมาณ 15 –30 เซนติเมตร 4) ใช้ไม้ปัก ผูกมัดยอดให้ตรง เพื่อให้รากเกิดขึ้นเร็วบริเวณกิ่งที่กลบดิน 5) รดน้ำทุกวัน และดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นบดบังแสง 6) ประมาณ 50 - 60 วัน จะมีรากเกิดขึ้นบริเวณที่เป็นแผล พร้อมที่จะย้ายปลูกได้ทันที
4 การตอนกิ่งแบบงูเลื้อย (Compound Layering) การตอนกิ่งแบบนี้ คล้ายกับวิธีที่ 3 เหมาะกับชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น มะลิ เล็บมือนาง การเวก พลูชนิดต่างๆ ตีนตุ๊กแก และไม้ผลชนิดต่างๆ เช่น องุ่น มันเทศ พริกไทย เป็นต้น มีขั้นตอนดังนี้ 1) เลือกกิ่งยาวและมีลักษณะดัดโค้งได้ง่ายแบ่งเป็นตอนๆยาวประมาณ 30 เซนติเมตร 2) ใช้มีดปาดให้เกิดแผล แล้วกลบดินทับ เป็นตอน ๆ ตลอดความยาวของกิ่ง 3) รดน้ำทุกวัน และดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นบดบังแสง 4) ประมาณ 30 – 45 วัน เมื่อยอดใหม่โผล่ขึ้นมาจากดิน จะมีรากพร้อมที่จะย้ายปลูกได้ทันที
5 การตอนกิ่งแบบขุดร่อง (Trench Layering) การตอนกิ่งแบบนี้ เหมาะสำหรับไม้ผลเมืองหนาวบางชนิด เช่น ท้อ สาลี่ และเชอรี่ เป็นต้น มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ขุดร่องลึก ประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับโน้มกิ่งไว้ก่อน 2) เมื่อกิ่งต้นแม่ เริ่มแตกยอดอ่อน ให้โน้มกิ่งขนาดติดกับผิวหน้าดิน โดยใช้ตะขอเหล็กเส้น รูปตัว ยู (U) ปักยึดโคนกิ่งไว้ ให้กิ่งนอนราบกับพื้นร่องที่เตรียมไว้ 3) ตัดปลายกิ่งออกเล็กน้อย แล้วใช้ดินร่วนกลบให้หนา ประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร 4) รดน้ำทุกวัน และดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นบดบังแสง
5) เมื่อตากิ่งเริ่มแตกยอดพ้นผิวดินที่กลบครั้งแรก ให้กลบดินเพิ่มขึ้นอีก และต้องรีบกลบก่อนที่ยอดจะเริ่มคลี่ใบ (6) ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ ให้กลบดินแบบนี้อยู่เรื่อย ๆ ไป จนกว่าจะแน่ใจว่า บริเวณของกิ่งที่แตกยอดนั้น ไม่ได้รับแสงแดด การกลบดินแต่ละครั้งให้กลบประมาณ ½ ของยอดที่โผล่ออกมาพ้นดิน 7) การเกิดราก จะเกิดขึ้นที่บริเวณฐานของกิ่งที่แตกยอดใหม่ ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 50 - 60 วัน 8 ) การย้ายปลูก ให้ขุดเอาดินที่กลบออก แล้วตัดกิ่งออกเป็นท่อน ๆ ตามจำนวนต้นที่เกิดใหม่ นำไปชำในถุงดำ ดูแลรักษา จนกว่าต้นสมบูรณ์ดี จึงนำไปปลูกต่อไป
6 การตอนแบบสุมโคน (Mound or Stool Layering) การตอนกิ่งแบบนี้ จะต้องตัดต้นพืชที่ต้องการออกให้เหลือสั้น ติดผิวดิน ในขณะที่ต้นพืชอยู่ในระยะพักตัว ส่วนมากทำกับต้นพืชที่มีกิ่งแข็งแรง ไม่สะดวกต่อการโน้มกิ่งลงมายังพื้นดินหรือตัดกิ่งได้ยาก แต่มีความสามารถที่จะแตกกิ่งก้านจากต้นตอคอดิน พืชที่นิยมทำส่วนมากเป็นไม้ผล เช่น พุทรา แอปเปิ้ล ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น มีขั้นตอน ดังนี้
1) เมื่อตัดต้นที่ต้องการออกแล้ว จะสังเกตเห็นตามที่โคนต้น เริ่มแตกเป็นต้นอ่อน 2) เมื่อต้นอ่อนที่เกิดใหม่ ยาวประมาณ 6 – 12 เซนติเมตร ใช้ดินร่วนสุมโคน ประมาณ ½ ของยอดที่เกิดใหม่ 3) เมื่อต้นสูง ประมาณ 25 เซนติเมตร ให้สุมโคนครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 เมื่อ กิ่งยาวประมาณ 50 เซนติเมตร 4) รดน้ำทุกวัน และดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นบดบังแสง
การตัดชำ
การตัดชำ (Cutting) หมายถึง การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช แล้วนำไปปักไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ปักไว้ในที่มีความชุ่มชื้นหรือแช่ไว้ในน้ำ ส่วนนั้นจะสามารถเกิดราก และแตกยอด กลายเป็นพืชต้นใหม่ได้ ซึ่งจะมีคุณสมบัติและคุณลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ การขยายพันธุ์พืช โดยการตัดชำ เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากทั้งพืชใบกว้างและใบแคบที่มีใบเขียวตลอดปีโดยเฉพาะเหมาะสำหรับขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เทียนทอง ไทร ชบา เข็ม โกสน เล็บครุฑ สาวน้อยประแป้ง หูปลาช่อน หลิว เบญจมาศ มะลิ กุหลาบ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ขยายพันธุ์ไม้ผลที่ออกรากง่าย เช่น องุ่น สาเก มะนาวและส้มบางชนิด ได้
การตัดชำ จะมีความหมายเดียวกับ การปักชำ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การปักชำ จะใช้กับส่วนที่เป็นลำต้น กิ่ง หรือใบพืช ที่นำไปปักลงในวัสดุชำ เพื่อให้เกิดรากเท่านั้น ดังนั้น ความหมายของคำว่า ตัดชำ จึงกว้างกว่า ปักชำ เพราะสามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่อยู่บนดิน เป็น ลำต้น กิ่ง และใบ และส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็น ราก เหง้า แง่ง และหัวพืช การตัดชำ มีความสำคัญ คือ สามารถทำได้ง่าย และเพิ่มปริมาณพืชได้รวดเร็ว ใช้ต้นทุนต่ำ และได้พันธุ์ไม้ที่ตรงตามพันธุ์เดิม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดชำ การตัดชำจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการออกรากของพืช ดังนี้ 1) คุณลักษณะของชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาตัดชำ ส่วนต่างๆ ของพืชนั้น จะต้องตัดมาจากต้นแม่ที่สมบูรณ์ อายุยังน้อย ไม่มีโรคและแมลงทำลาย ไม่เป็นต้นพืชที่อยู่ในระยะพักตัวและเป็นต้นพืชที่มีการสะสมอาหารไว้เต็มที่ 2) ตำแหน่งของรอยตัด ควรตัดด้วยกรรไกรหรือมีดคมๆ โดยให้ฐานรอยตัดด้านล่างอยู่ใต้ข้อหรือชิดข้อ รอยแผลที่ตัดต้องเรียบ ไม่ฉีกขาดหรือช้ำ ซึ่งจะช่วยให้ส่วนของพืชออกรากได้ดี
การตัดชำ แบ่งออกเป็น 1. การตัดชำกิ่ง (Stem cuttings) 2. การตัดชำราก (Root cuttings) 3. การตัดชำใบ (Leaf cuttings) 4. การตัดชำใบที่มีตาติด (Leaf with bud cuttings)
1. การตัดชำกิ่ง (Stem cuttings) แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ 1.1 การตัดชำกิ่งแก่ เป็นการตัดชำกิ่งแก่ที่ไม่มีใบติด แต่ต้องเป็นกิ่งที่มีอาหารสะสมอยู่ต้องตัดชำกิ่งที่ไม่มีตาข้างที่กำลังแตกออกมาใหม่ ๆ ความยาวของกิ่งที่ตัดประมาณ 15-20เซนติเมตร ควรตัดเฉียงเป็นรูปปากฉลาม ทำมุมประมาณ 45-60องศา ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยส่วนด้านล่างของกิ่งที่เป็นส่วนปักชำในวัสดุเพาะชำนั้นต้องพยายามตัดให้ปากแผลชิดกับข้อ ส่วนบนควรตัดเหนือตาสุดท้ายของกิ่งประมาณ 1-1.5เซนติเมตร เพราะตาส่วนบนของกิ่งที่ปักชำจะแตกก่อนตาที่อยู่ด้านล่าง และควรชุบสารเคมีป้องกันเชื้อราเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราเข้าทางปากแผล แล้วจึงนำไปปักชำในกระบะปักชำที่มีวัสดุพรางแสง รดน้ำเช้า-เย็น สังเกตดูหากวัสดุเพาะชำแห้งควรเพิ่มช่วงการให้น้ำให้ถี่ขึ้น เมื่อกิ่งปักชำเริ่มมีการแตกตาเป็นยอดใหม่ รวมทั้งระบบรากที่เกิดใหม่เริ่มแก่และแข็งแรงแล้วจึงทำการย้ายต้นพืชใหม่ลงปลูกในภาชนะที่เตรียมไว้ ช่วงนี้ควรนำไปไว้ที่ร่มรำไรสักระยะหนึ่งก่อนจนกว่าต้นพืชใหม่จะแข็งแรงดีจึงให้รับแสงเต็มที่ พืชที่เหมาะจะใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ เฟื่องฟ้า กุหลาบ ฯลฯ
ตัดกิ่งยาว15-20 เซนติเมตร ปักชำในวัสดุเพาะชำกิ่งที่ได้หลังจากปักชำแล้ว ตัดกิ่งยาว15-20 เซนติเมตร ปักชำในวัสดุเพาะชำกิ่งที่ได้หลังจากปักชำแล้ว
1.2 การตัดชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ หรือกิ่งเพสลาด (semi-hardwood cuttings) การตัดชำกิ่งประเภทนี้ สำหรับพืชบางชนิดต้องมีใบติดอยู่ด้วยเพื่อช่วยปรุงอาหาร โดยให้ริบใบเฉพาะส่วนโคนกิ่งที่ต้องปักชำในวัสดุเพาะชำออกประมาณ 2-3ใบ แล้วตัดปลายกิ่งและโคนกิ่งเฉียงทำมุม 45-60องศา เช่นเดียวกับการตัดชำกิ่งแก่ ความยาวของกิ่งประมาณ 15-20เซนติเมตร เนื่องจากกิ่งตัดชำที่มีใบติดอยู่จะมีการคายน้ำค่อนข้างสูง ดังนั้นต้องให้น้ำเพื่อให้เกิดความชื้นตลอดเวลาหรือปักชำในกระบะพ่นหมอกจะดีที่สุดเนื่องจากมีความชื้นสูง ควรดูแลและป้องกันเชื้อราที่จะเข้ามาทำลายกิ่งที่ทำการปักชำ ให้ได้รับความเสียหาย หลังจากกิ่งปักชำเจริญเป็นต้นพืชใหม่และมีระบบรากแข็งแรงสมบูรณ์แล้วก็ทำการย้ายปลูกต่อไป พืชที่เหมาะจะใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ ส้ม ฝรั่ง มะกอก ฯลฯ
ตัดกิ่งยาว15-20 เซนติเมตร ปักชำในวัสดุเพาะชำกิ่งที่ได้หลังจากปักชำแล้ว
1.3 การตัดชำกิ่งอ่อนและยอดอ่อน (softwood cuttings) นิยมใช้ในการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ การตัดชำวิธีนี้จะออกรากได้ง่าย ความยาวของกิ่งประมาณ 3-5นิ้ว ริบใบบริเวณโคนกิ่งออกเล็กน้อย ควรปักชำในที่ที่มีความชื้นสูงหรือกระบะพ่นหมอก พืชที่เหมาะจะใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ เบญจมาศ เข็มญี่ปุ่น สน คาร์เนชั่น ฯลฯ
ตัดกิ่งยาว3-5นิ้ว ปักชำในวัสดุเพาะชำกิ่งที่ได้หลังจากปักชำแล้ว ตัดกิ่งยาว3-5นิ้ว ปักชำในวัสดุเพาะชำกิ่งที่ได้หลังจากปักชำแล้ว
2. การตัดชำราก (Root cuttings) การตัดชำรากจะทำได้เสร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเกิดตา ซึ่งจะให้กำเนิดต้นและราก บนรากของพืชที่จะนำมาตัดชำ พืชที่มีแนวโน้มตามธรรมชาติในการเกิดหน่อที่ราก ได้แก่ สน แคแสด สัก สาเก เป็นต้น การตัดควรเลือกรากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/4 – ½ นิ้ว ตัดให้มีความยาว 2 นิ้ว การตัดมักจะจัดตรง ๆ การเกิดต้นค่อนข้างจะเกิดทางด้านโคนราก ส่วนการเกิดรากจะเกิดทางด้านปลายราก และการเกิดต้นมักจะเกิดได้เร็วกว่าการเกิดราก
รากของต้นสาเกปักชำในวัสดุเพาะชำต้นใหม่ที่ได้จากการปักชำราก
3. การตัดชำใบ (Leaf cuttings) เป็นวิธีที่ใช้ขยายพันธุ์พืชพวกที่มีใบอวบน้ำ โดยทั่วไปการตัดชำแบบนี้รากและยอดจะเกิดมาจากฐานรอยตัดของใบ โดยเฉพาะตรงที่อยู่ของเส้นใบหรือเส้นกลางใบ ซึ่งจะทำให้ใบพืชเดิมที่ปักชำอยู่กลายเป็นส่วนหนึ่งของต้นใหม่ การตัดชำใบจะแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
3.1 การตัดชำแผ่นใบ โดยการนำแผ่นใบไปทำการตัดชำให้เกิดเป็นต้นใหม่ แบ่งการตัดชำใบแบบนี้ออกเป็น 2 พวก ก. พวกที่ใบเกิดตาอยู่ก่อนแล้ว ใบพืชพวกนี้จะมีบริเวณของใบบางส่วนโดยเฉพาะที่เป็นจักใบของใบแก่ จะมีจุดกำเนิดตาอยู่แล้ว การนำใบไปปักชำเป็นเพียงช่วยกระตุ้นให้ตาที่มีอยู่แล้วเจริญออกมาเป็นต้นเท่านั้น ได้แก่ การตัดชำใบโคมญี่ปุ่นหรือต้นคว่ำตายหงายเป็น การตัดชำใบพืชพวกนี้จะทำได้ง่ายโดยนำใบแก่มาวางบนพัสดุเพาะชำที่ชื้น คอยรดน้ำเป็นครั้งคราวเพื่อไม่ให้ใบเหี่ยวประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะสังเกตเห็นต้นเล็ก ๆ เกิดขึ้นตรงบริเวณจักใบ ต้นเล็ก ๆ เหล่านี้เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาศัยน้ำและอาหารจากใบเดิม ขณะเดียวกันก็จะหยั่งราก (root) ลงหาอาหารจากวัสดุเพาะชำ และเมื่อต้นโตมีใบ ๒2-3 ใบและมีรากหยั่งลงวัสดุเพาะชำบางส่วน ต้นเหล่านี้ก็จะเริ่มแยกตัวเองและเลี้ยงตัวเองโดยอิสระ เป็นระยะเวลาที่เหมาะที่จะย้ายไปปลูกต่อไป
คว่ำตายหงาย พืชตระกูลกุหลาบหิน
ข. พวกที่ใบยังไม่เกิดตา ใบพืชพวกนี้จะต้องตัดใบไปปักชำระยะเวลาหนึ่งก่อนใบจึงจะสร้างจุดกำเนิดขึ้นที่ฐานรอยตัด ที่ปักอยู่ในวัสดุเพาะชำ ได้แก่ การตัดชำใบว่านลิ้นมังกรในการตัดชำก็จะเลือกใบที่แก่ ถ้าใบมีความยาวมากเกินไปก็จะตัดออกเป็นท่อน ๆ ให้แต่ละท่อนยาวประมาณ 3-5 นิ้ว แล้วนำไปปักในวัสดุเพาะชำ โดยปักให้ลึกประมาณ 1/3 ของแผ่นใบ และเมื่อใบเริ่มแทงยอดโผล่จากวัสดุเพาะชำและที่ฐานรอยตัดเกิดรากมากพอก็จะย้ายปลูกได้
ใบลิ้นมังกร ปักชำในกระบะเพาะชำ ใบใหม่ที่มีรากเกิดขึ้น
3.2 การตัดชำก้านใบ การตัดชำแผ่นใบให้มีก้านใบติดอยู่ที่โคนใบ เหมาะสำหรับใบพืชที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ปกติมักจะใช้ในการปักชำใบพืชชุ่มน้ำ ได้แก่ การตัดชำใบเพปเพอโรเมีย ใบอัฟริกันไวโอเล็ท นอกจากนี้อาจใช้กับใบพืชเนื้อแข็งบางชนิด เช่น มะนาว (lemon) เป็นต้น การตัดชำจะเลือกใบค่อนข้างแก่ที่มีความสมบูรณ์ ขนาดใบปานกลาง โดยตัดโคนก้านใบให้เหลือประมาณ ½-1 นิ้ว ด้วยมีดคม ๆ นำไปปักชำในวัสดุเพาะชำที่โปร่งและมีความชื้นสูง ปักใบให้ลึกพอมิดก้านใบแล้วนำไปไว้ที่ชื้น ๆ
ก้านใบเพปเพอร์โรเมียปักชำในกระบะเพาะชำใบที่เกิดรากและต้นใหม่
3.3 การตัดชำส่วนของใบ เป็นการตัดชำใบที่คล้ายการตัดชำก้านใบ แต่จะแตกต่างกันที่เป็นการตัดชำใบที่มีขนาดโต ดังนั้นจึงต้องทำการตัดใบออกเป็นส่วนย่อย ๆ ให้แต่ละส่วนมีส่วนของเส้นใบและแผ่นใบติดอยู่ด้วย เช่น การตัดชำใบกล๊อกซีเนีย และใบบีโกเนีย เป็นต้น โดยที่การตัดใบแบบนี้จะมีส่วนของรอยตัดมาก ประกอบกับพืชทั้งสองเป็นพืชชุ่มน้ำที่มีโอกาสเน่าเสียง่าย ดังนั้นจึงอาจใช้ปลายมีดตัดส่วนของเส้นใบให้ขาดและห่างจากกัน ส่วนบริเวณแผ่นใบซึ่งเป็นบริเวณที่จะสร้างอาหาร จะไม่ถูกตัดจึงช่วยลดการเน่าเสียของแผ่นใบลงได้มาก และทำให้การตัดชำได้ผลดีขึ้น ส่วนการปักชำนั้นก็จะวางใบไว้ในวัสดุเพาะชำที่ชื้นและร่ม หลังจากที่ฐานรอยตัดเกิดต้นและราก ใบเก่าก็จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพไปในที่สุด แต่ละต้นที่เกิดจากฐานรอยตัดก็จะแยกตัวเป็นอิสระและเลี้ยงตัวเองได้ ในระยะนี้ต้นที่เกิดก็จะเจริญเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งสามารถจะแยกแต่ละกลุ่มไปปลูกได้
การตัดชำใบกล๊อกซีเนีย
4. การตัดชำใบที่มีตาติดอยู่ (leaves with bud cuttings) เป็นวิธีการที่เปลี่ยนมาจากการตัดชำใบ คือนอกจากจะมีใบพร้อมด้วยก้านใบแล้วจะต้องมีส่วนของต้นและตาที่โคนก้านใบติดไปด้วย การตัดชำวิธีนี้อาจใช้ได้กับทุกพืชที่ออกรากได้ไม่ยากด้วยการตัดชำต้น เหมาะอย่างยิ่งกับต้นพืชที่หาได้ยากและใบมีขนาดโตพอ เช่น ยางอินเดีย โกศล ตลอดจนในส้มบางชนิดที่ออกรากง่ายและมีใบโต
การตัดชำใบยางอินเดีย
การต่อกิ่ง การต่อกิ่ง คือ การต่อต้นพืชโดยใช้กิ่งพันธุ์ดีที่มีตามากกว่า ๑ ตาขึ้นไป แบ่งประเภทของการต่อกิ่งตามตำแหน่งที่ทำการต่อออกเป็น ๓ แบบ คือ
การต่อกิ่ง ๑. การต่อราก (root grafting) คือ การนำเอากิ่งพันธุ์ดีมาต่อกับรากของต้นพืชโดยตรง ซึ่งรากที่นำมาต่อนั้น อาจจะเป็นรากทั้งหมด (whole root) หรืออาจเป็นท่อนราก (piece root) ก็ได้ เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในการต่อไม้ผลเมืองหนาว เช่น แอปเปิ้ล และแพร์ และโดยทั่วๆ ไปมักจะใช้รากต้นพืชที่เพาะจากเมล็ด และเมื่อจะต่อมักจะขุดรากที่กำลังอยู่ในระยะพักตัวมาต่อในโรงเรือน เรียกการต่อ กิ่งแบบนี้ว่า เบนซ์กราฟท์ (bench graft) ๒. การต่อต้นตอคอดิน (crown grafting) คือ การนำกิ่งพันธุ์ดีมาต่อบนต้นตอในระดับคอดิน (crown) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการเปลี่ยนพันธุ์องุ่นที่มี อายุมากๆ ให้เป็นพันธุ์ใหม่ที่ต้องการ ๓. การต่อยอด (top grafting) คือการนำกิ่งพันธุ์ดีมาต่อบนต้นตอเหนือระดับผิวดิน รวมทั้งการต่อต้นพืชเหนือระดับผิวดินมากๆ และเป็นต้นพืชที่มีขนาดโต ซึ่งมักจะให้ผลแล้ว เรียกการต่อเช่นนี้ว่าการต่อเปลี่ยนยอด (top working)
การต่อกิ่ง ๑. การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม (cleft grafting) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการต่อแบบต่อยอดเป็นส่วนใหญ่ สามารถต่อได้ตั้งแต่กิ่งขนาด ๑ นิ้ว ถึง ๔ นิ้ว ใช้กับพันธุ์พืชที่มีเสี้ยนเนื้อไม้ตรง กิ่งพันธุ์ดีควรเป็นกิ่งแก่ และควรต่อขณะที่พืชชะงัก หรือหยุดการเจริญซึ่งเป็นระยะที่เปลือกไม่ล่อนจากเนื้อไม้หรือเปลือกติด โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้ การเตรียมต้นตอ ๑. ตัดต้นตอให้มีบริเวณที่จะต่อเป็นส่วนของปล้องที่ตรง ๒. ผ่าต้นตอให้เป็นแผลลึก ๒-๓ นิ้ว แล้วแต่ขนาดของกิ่งการเตรียมกิ่งพันธุ์ดีเฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเฉียงลงให้เป็นปากฉลามทั้งสองด้าน โดยเฉือนให้มีสันด้านหนึ่งหนากว่าอีกด้านหนึ่ง
การต่อกิ่ง การสอดกิ่งพันธุ์ดี ๑. เผยอรอยผ่าบนต้นตอ โดยใช้ใบมีดหรือที่เผยอรอยแผลสอดเข้าไปในรอยผ่า แล้วบิดใบมีดให้รอยผ่าเผยอออก ๒. สอดโคนกิ่งพันธุ์ดี โดยเอาด้านสันหนาไว้ริมนอก แล้วจัดให้แนวเยื่อเจริญของรอยเฉือนบนต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีทับกันด้านใดด้านหนึ่ง ๓. พันด้วยผ้าพลาสติก หรือเชือกปอแล้วอุดรอยต่อด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่ง และควบคุมกิ่งตาด้วยถุงพลาสติกหรือก้านกล้วย
การต่อกิ่ง ๒. การต่อกิ่งแบบเสียบข้าง (side grafting) การต่อกิ่งแบบนี้ มักนิยมใช้กับต้นพืชขนาดเล็กซึ่งส่วนใหญ่มักจะปลูกอยู่ในกระถาง เป็นการต่อขณะที่เปลือกยังไม่ล่อนเช่นเดียวกัน และไม่ตัดยอดต้นตอจนกว่ากิ่งที่ต่อติดเรียบร้อยแล้ว จึงตัดต้นตอและบังคับให้กิ่งพันธุ์ดีแตกตา โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้ การเตรียมต้นตอ ๑. เลือกต้นตอที่มีขนาดประมาณ ๑ ซม.หรือขนาดดินสอดำ ๒. เฉือนต้นตอเฉียงลงเป็นมุมราว ๓๐° ให้รอยเฉือนยาวประมาณ ๑-๒ นิ้ว และลึกเข้าในเนื้อไม้ประมาณ ๑/๓ ของเส้นผ่านศูนย์กลางของต้น
การต่อกิ่ง การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี ๑. เลือกกิ่งพันธุ์ดีขนาด ๑/๒ ซม. ยาวประมาณ ๒-๓ นิ้ว (๕-๗ ซม.) และมีตาอยู่บนกิ่ง ๒-๓ ตา ๒. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มให้มีแผลยาวประมาณ ๑-๒ นิ้ว แล้วแต่แผลบนต้นตอ การสอดกิ่งพันธุ์ดี ๑. สอดกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลของต้นตอ โดยโน้มต้นตอไปทางด้านตรงข้ามรอยเฉือนเล็กน้อยแล้วจึงสอดกิ่งพันธุ์ดี จัดรอยเฉือนให้แนวเยื่อเจริญทับกันด้านใดด้านหนึ่ง แล้วจึงปล่อยให้ต้นตอกลับที่เดิม ๒. พันด้วยพลาสติกหรือเชือก แล้วหุ้มรอยต่อด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่ง
การต่อกิ่ง ๓. การต่อกิ่งแบบเสียบเปลือก เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในการต่อยอดไม้ผลที่กิ่งมีขนาดโตประมาณ ๑/๒ - ๔ นิ้ว เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีทั้งพืชที่มีเปลือกหนาและเปลือกบาง ข้อดีของการต่อกิ่งวิธีนี้ก็คือ เนื้อไม้จะไม่ถูกผ่าออกจากกันโอกาสที่รอยต่อจะเน่าหรือถูกทำลายจากเชื้อโรคจึงมีน้อย ข้อเสียเปรียบของการต่อกิ่งวิธีนี้ก็คือจะต้องต่อขณะที่ต้นตอมีเปลือกล่อน ซึ่งจะเป็นระยะที่ต้นพืชมีการเจริญเติบโตดีเท่านั้น สำหรับวิธีต่ออาจทำได้ ๒ แบบดังนี้
การต่อกิ่ง ๑ แบบตัดยอดต้นตอ การเตรียมต้นตอ ๑. เลือกต้นตอที่มีเปลือกล่อน แล้วกะดูบริเวณที่จะต่อซึ่งจะต้องเรียบและตรงโดยเฉพาะ ได้รอยตัดตรงบริเวณที่จะต่อ ระยะ ๑-๒ นิ้ว จะต้องไม่มีข้อ ๒. ตัดต้นตอให้ตั้งฉากกับกิ่งหรือต้น แล้วกรีดเปลือกต้นตอจากหัวรอยตัดลงมาด้านโคน กิ่งให้ยาว ๑-๒ นิ้ว แล้วเผยอเปลือกต้นตอที่หัวรอยตัดเล็กน้อย การเตรียมกิ่งพันธุ์ดีเฉือน โคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นปากฉลาม ให้ยาว ๑-๒ นิ้ว แล้วเฉือนด้านหลังของปลายรอยเฉือนเล็กน้อย
การสอดกิ่งพันธุ์ดี การต่อกิ่ง การสอดกิ่งพันธุ์ดี สอดปลายรอยเฉือนของกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลของต้นตอให้ด้านรอยเฉือนด้านยาวหันเข้าหาต้นตอ กดกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลและรอยเฉือนจนโคนของรอยเฉือนเสมอกับหัวรอยตัดของต้นตอพอดี พันด้วยพลาสติก หรือเชือก แล้วหุ้มด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่ง
การต่อกิ่ง ๒. แบบไม่ตัดยอดต้นตอ ๑. เลือกต้นตอที่เปลือกล่อน และมีขนาดค่อนข้างโต ๒. กรีดเปลือกต้นตอบนบริเวณที่จะต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานเปิด คล้ายการติดตาแบบเพลทแต่ให้มีขนาดของรอยแผลโตกว่าขนาดกิ่งพันธุ์ดีเล็กน้อย ๓. เผยอและลอกเปลือกลงมาประมาณ ๑ ๑/๒-๒ นิ้ว ๔. เฉือนแผ่นเปลือกเหนือหัวรอยเฉือนเฉียงลงให้จดหัวรอยกรีดพอดี
การต่อกิ่ง การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นปากฉลาม และปาดปลายด้านหลังรอยเฉือนออกเล็กน้อย เช่นเดียวกับ วิธีแรกการสอดกิ่งพันธุ์ดี ๑. ดึงแผ่นเปลือกของต้นตอที่ลอกลงมาให้เผยอออก ๒. สอดกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลของต้นตอจนโคนรอยเฉือนเสมอกับหัวรอยเฉือนบนต้นตอพอดี ๓. พับแผ่นเปลือกต้นตอทับบนกิ่งพันธุ์ดีแล้วพันพลาสติกหรือเชือกและอุดด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่ง
การทาบกิ่ง การทาบกิ่ง จะมีส่วนยอดเป็นพันธุ์ดี และมีรากเป็นพันธุ์ต้นตอเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การทาบกิ่งก็มีข้อแตกต่างไปจากการติดตาและการต่อกิ่งอยู่ ๒ ประการ คือ ก. การทาบกิ่ง เมื่อจะทาบจะต้องนำต้นตอเข้าไปหากิ่งพันธุ์ดี แทนที่จะนำกิ่งพันธุ์ดีเข้าไปหาต้นตอเหมือนการติดตาและการต่อกิ่ง ข. การทาบกิ่ง ทั้งต้นตอและกิ่งพันธุ์ดียังมีรากเลี้ยงต้นและเลี้ยงกิ่งอยู่ทั้งคู่ ส่วนการติดตา และการต่อกิ่งจะตัดกิ่งพันธุ์ดีจากต้นที่ต้องการมาติดหรือต่อ จึงต้องรักษากิ่งให้มีชีวิตอยู่ได้นานที่สุดจนกว่าจะเกิดการเชื่อมกับต้นตอได้ ฉะนั้นโอกาสการติดหรือต่อได้สำเร็จจึงมีโอกาสน้อยกว่าการทาบกิ่ง
การทาบกิ่ง วัตถุประสงค์ของการทาบกิ่ง พอจะแบ่งออกเป็น ๒ ประการ คือ ๑. การทาบกิ่งเพื่อการขยายพันธุ์ ๒. การทาบกิ่งเพื่อเปลี่ยนพันธุ์
การทาบกิ่ง สำหรับการทาบกิ่งเพื่อการขยายพันธุ์ มีวิธีการที่นิยมใช้อยู่ ๒ แบบ คือ ๑. การทาบกิ่งที่คงยอดต้นตอไว้ เป็นวิธีทาบกิ่งแบบประกับ (spliced-approach graft) ที่นิยมปฏิบัติกันดั้งเดิมทั่วๆ ไป การมียอดหรือมีใบของต้นตอไว้ก็เพื่อที่จะให้ใบได้สร้างอาหารไปเลี้ยงรอยต่อให้เกิดเร็วขึ้น และแม้การทาบจะไม่สัมฤทธิผลในครั้งแรก ก็ยังมีโอกาสที่จะทาบแก้ตัวได้ใหม่อีกโดยที่ต้นตอไม่ได้รับการกระทบกระเทือนมากนักการทาบกิ่งวิธีนี้ ข้อยุ่งยากอยู่ที่จะต้องคอยรดน้ำต้นตอขณะทาบอยู่เสมอๆ ฉะนั้นจึงไม่ใคร่นิยมทำกันในปัจจุบัน
การทาบกิ่ง ส่วนวิธีการทาบนั้น ปฏิบัติดังนี้ ๑. เลือกต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดีให้บริเวณที่จะทาบกันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว ๑/๒-๑ ซม. ๒. เฉือนต้นตอบริเวณที่จะทาบกันได้สนิทและกะให้ชิดโคนต้นตอโดยเฉือนให้ลึกเข้าไปในเนื้อไม้เล็กน้อยและให้เป็นแผลยาวราว ๕-๘ ซม. ๓. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีในทำนองเดียวกันและให้มีความยาวเท่ากับแผลรอยเฉือนบนต้นตอ ๔. มัดหรือพันต้นตอและยอดพันธุ์ดีเข้าด้วยกันให้แผลรอยเฉือนทับกัน โดยให้แนวเยื่อเจริญสัมผัสกันด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน ๕. เมื่อแผลรอยเฉือนประสานกัน (ประมาณ ๓-๔ สัปดาห์) จึงบากเตือนทั้งต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ๖. หลังจากบากเตือนได้ ๑-๒ สัปดาห์ ตัดโคนกิ่งพันธ์ดีออกจากต้นแม่
การทาบกิ่ง ๒. การทาบกิ่งแบบตัดยอดต้นตอออก การทาบกิ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่เปลี่ยนแปลงมาจากการทาบกิ่งแบบมียอดต้นตอ โดยการปาดยอดต้นตอออกเพื่อป้องกันการคายน้ำจากต้น พร้อมกันนั้นก็จะมัดปากถุงปลูกของต้นตอ มิให้น้ำหรือความชื้นจากเครื่องปลูกระเหยออกข้างนอกได้ การทาบกิ่งวิธีนี้สะดวกที่ไม่ต้องรดน้ำให้ต้นตอจนกว่าจะตัดกิ่งที่ติดเรียบร้อยแล้วมาปลูก ฉะนั้นจึงสามารถทำได้ตลอดปี และถ้าใช้เครื่องปลูกต้นตอที่มีน้ำหนักเบาๆ แล้วจะสามารถผูกต้นตอติดกับกิ่งพันธุ์ดีได้ โดยไม่ต้องใช้ไม้พยุงหรือผูกค้ำต้นตอ
การทาบกิ่ง สำหรับวิธีการทาบ ปฏิบัติดังนี้ ๑. เลือกต้นตอที่มีขนาดต้นประมาณดินสอดำหรือเล็กกว่าเล็กน้อย ๒. ตัดต้นตอให้เหลือยาวประมาณ ๓-๖ นิ้วริดใบที่เหลือออกให้หมด ๓. รดน้ำดินปลูกให้ชื้นแล้วนำขึ้นห่อหรืออาจสวมถุงพลาสติกทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วมัดปากถุงปลูกให้แน่น ๔. นำต้นตอขึ้นทาบกับกิ่งพันธุ์ดี โดยเลือกกิ่งพันธุ์ดีให้มีขนาดใกล้เคียงกัน ๕. ทำแผลบริเวณโคนกิ่งพันธุ์ดีที่เลือกไว้โดยเฉือนกิ่งเป็นรูปโล่ให้ยาวประมาณ ๕-๘ ซม. ๖. ปาดปลายกิ่งต้นตอเป็นปากฉลามให้มีความยาวประมาณ ๕-๘ ซม. เช่นเดียวกัน
การทาบกิ่ง ๗. นำต้นตอขึ้นทาบกับกิ่งพันธุ์ดี ให้รอยเฉือนทับกันและจัดให้แนวเยื่อเจริญของทั้งสองทับกันด้านใดด้านหนึ่ง แล้วมัดด้วยพลาสติกให้แน่น และตรึงต้นตอให้อยู่กับที่ ๘. มัดหรือตรึงกิ่งพันธุ์ดีกับต้นตอให้แน่นและอุดรอยแผลด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่ง ๙. ปล่อยไว้จนแน่ใจว่ากิ่งพันธุ์ดีติดกับต้นตอได้ หรือจนรากของต้นตอเจริญได้ดีพอจึงตัดโคนกิ่งพันธุ์ดีใต้รอยต่อ ๗. นำต้นตอขึ้นทาบกับกิ่งพันธุ์ดี ให้รอยเฉือนทับกันและจัดให้แนวเยื่อเจริญของทั้งสองทับกันด้านใดด้านหนึ่ง แล้วมัดด้วยพลาสติกให้แน่น และตรึงต้นตอให้อยู่กับที่ ๘. มัดหรือตรึงกิ่งพันธุ์ดีกับต้นตอให้แน่นและอุดรอยแผลด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่ง ๙. ปล่อยไว้จนแน่ใจว่ากิ่งพันธุ์ดีติดกับต้นตอได้ หรือจนรากของต้นตอเจริญได้ดีพอจึงตัดโคนกิ่งพันธุ์ดีใต้รอยต่อ
การติดตา หมายถึง การนำส่วนตาพันดีของพืชชนิดเดียวกันไปติดกับต้นตอและแตกเป็นกิ่งใหม่ มี 3 ประเภทดังนี้
การติดตาแบบตัวที (T. budding) สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาต้นพืชแบบ ตัวที ๑. ต้นตอจะต้องมีเปลือกล่อนสามารถลอกเปลือกต้นตอได้ง่าย ๒. ต้นตอไม่ควรมีขนาดโตเกินไป ควรจะมีขนาดเท่าดินสอดำหรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณไม่เกิน ๑/๒ นิ้ว
การติดตา ๓. ไม่เป็นพืชที่มีเปลือกบาง หรือเปลือกเปราะ หรือมีเปลือกหนาเกินไป ๔. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชทั่วๆ ไปเช่น ใช้กับกุหลาบ พุทรา ส้ม เป็นต้น
การติดตา วิธีติดตาแบบตัวที ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ ๑. เลือกต้นตอบริเวณที่เป็นปล้องแล้วกรีดเปลือกให้ถึงเนื้อไม้เป็นรูปตัวที (T) โดยให้หัวของตัวทีที่กรีดยาวประมาณ ๑/๒ นิ้ว และความยาวของตัวทียาว ๑ - ๑ ๑/๒ นิ้ว ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดของต้นตอ ๒. ใช้ปลายมีดแงะบริเวณหัวตัวทีให้เปลือกเผยอเล็กน้อย แล้วล่อนเปลือกของต้นตอด้วยปลายเขาที่ติดอยู่ที่ด้ามมีด
การติดตา ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี ๑. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่ให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อย ในกรณีที่พืชนั้นมียางควรจะลอกเนื้อไม้ทิ้งเพื่อให้มีบริเวณของการเกิดรอยต่อมากขึ้น ค. การสอดกิ่งพันธุ์ดีบนต้นตอ ๑. สอดแผ่นตาลง บนแผลรูปตัวทีที่เตรียมไว้ แล้วค่อยๆ กดแผ่นตาลงไปในแผลให้สนิท และลึกราว ๑/๒ นิ้ว เหนือตา ๒. ถ้าเปลือกแผ่นตายังเหลือเลยหัวตัวทีให้ตัดส่วนที่เหลือออกพอดีกับหัวตัวที
การติดตา ๓. ใช้ผ้าพลาสติกที่ตัดเป็นชิ้นขนาดกว้าง๑-๑.๕ ซม. ยาวราว ๒๐-๒๕ ซม. พันทับแผ่นตาให้แน่น และควรพันจากข้างล่างขึ้นข้างบน ๔. หลังจาก ๑๐ วัน จึงตรวจ ถ้าตาใดยังสดก็แสดงว่าติด จึงเปิดผ้าพันตาแล้วพันใหม่ให้คร่อมตา
การติดตา ๒. การติดตาแบบชิพ (chip budding) สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบชิพก็คือ ๑. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชที่ลอกเปลือกไม่ได้ เป็นพืชที่มีเปลือกบางหรือเปลือกหนาหรืออยู่ในระยะพักตัว ๒. มักใช้กับพืชที่ไม่มียาง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นตอประมาณ ๒/๓ - ๑/๒ นิ้ว ๓. มักใช้ในการติดตา องุ่น ชบา ฯลฯ
การติดตา วิธีติดตา ปฏิบัติดังนี้ (modified chip) ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ ๑. เลือกต้นตอที่เปลือกติด หรือที่ชะงักการเจริญ ๒. เฉือนต้นตอเฉียงลงให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย และยาวประมาณ ๑ นิ้ว ๓. เฉือนตัดขวางให้จดโคนแผลที่เฉือนครั้งแรก โดยให้รอยเฉือนนี้ทำมุม ๔๕° กับลำต้นแล้วแกะชิ้นส่วนของพืชที่เฉือนออก
การติดตา ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี เฉือนแผ่นตาบนกิ่งพันธุ์ดีให้มีความยาวเท่ากับรอยแผลที่เตรียมบนต้นตอ โดยกะให้ตาอยู่ตรงกลางพอดี ค. การสอดแผ่นตา ๑. ประกบแผ่นตาบนต้นตอ โดยให้เยื่อเจริญด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านสัมผัสกับเยื่อเจริญของต้นตอ ๒. ใช้ผ้าพลาสติกพันตา เช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวที
การติดตา ๓. การติดตาแบบเพลท (Plate budding) สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบเพลท คือ ๑. มักใช้กับต้นตอที่มีขนาดโต คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว ๑/๒ - ๑ นิ้ว ๒. ต้นตอต้องลอกเปลือกได้หรือมีเปลือกล่อน ๓. เป็นพืชที่มีเปลือกหนาและเหนียวพอสมควร ๔. นิยมใช้กับพืชมียาง เช่น มะม่วง ขนุนยางพารา หรือพืชบางชนิดที่เกิดเนื้อเยื่อช้า เช่นมะขามหรือน้อยหน่า เป็นต้น
การติดตา วิธีติดตาแบบเพลท ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ ๑. เลือกต้นตอบริเวณที่จะทำแผลให้เป็นปล้องที่เรียบและตรง ๒. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานเปิดดังภาพ ๓. เผยอเปลือกต้นตอออกจากเนื้อไม้ ทางด้านบนหรือด้านล่างของรอยกรีด แล้วลอกเปลือก ขึ้นหรือลงตามรอยกรีดที่เตรียมไว้แล้ว
การติดตา ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี เฉือนแผ่นตากิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ ยาวประมาณ ๑ นิ้ว แล้วแกะเนื้อไม้ออก ค. การสอดแผ่นตาบนแผลของต้นตอ ๑. ประกบแผ่นตาลง บนแผลของต้นตอ จัดแผ่นตาให้อยู่กลางแผลแล้วประกบแผ่นเปลือกของต้นตอทับแผ่นตา แต่ถ้าใช้ตาอ่อนจะต้องตัดแผ่นเปลือกต้นตอตอนบนออก ๓ ส่วนเหลือไว้ ๑ ส่วน ๒. พันผ้าพลาสติกเช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวทีหรือแบบชิพ และต้องใช้พลาสติกใส เมื่อใช้ตาอ่อน
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช เพื่อให้ได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น โดยเป็นการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเฉพาะส่วนเท่านั้น ไม่ใช่พืชทั้งต้น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ทำโดยนำเอาเนื้อเยื่อของพืชในส่วนที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ที่ปลายยอดอ่อน ตาข้าง ดอก ใบ เนื้อเยื่อ หรือส่วนประกอบของพืชที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญมา เพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ที่อยู่ในสภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งเป็นอาหารที่เนื้อเยื่อนั้นต้องการ พร้อมทั้งสารที่กระตุ้น โดยจัดและควบคุมสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ปลอดเชื้อ มีอุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง ที่ต้องเอื้อต่อชิ้นส่วนของพืชจะเจริญเติบโตได้
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อนั้น ๆ ทำให้เซลล์ของพืชแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากมายเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า แคลลัส (Callus) เราจึงสามารถบังคับให้เนื้อเยื่อนี้เจริญเติบโตขึ้นเป็นต้นอ่อนได้เมื่อมีสภาวะที่ เหมาะสมและแบ่งเนื้อเยื่อเหล่านี้ ไปเลี้ยงในอาหารใหม่จนเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่จำนวนมากมายตามต้องการ วิธีนี้ใช้กันมากในการกระจายพันธุ์พืชบางชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น กล้วยไม้ หน้าวัว ต้นสัก หวาย กล้วย ข้าว เป็นต้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้พืชผลิตสาร สำคัญบางชนิด เช่น ยารักษาโรค หรือเพื่อให้ได้พืชที่มีลักษณะพึงประสงค์ เช่น การใช้สารเคมีหรือรังสี ชักนำให้พืชที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งอาจทำให้ได้ดอกหรือผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ GMOs (Genetic Modified Organism) เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน ได้แก่การใช้วิธีทางพันธุวิศวกรรม โดยการตัดต่อ จีน (Gene) ที่เรียกว่า GMOs เป็นการดัดแปลงสารพันธุกรรมหรือการตัดแต่งจีน โดยการตัดเอาชิ้นส่วนของจีนที่ต้องการของพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ไปใส่ในโครโมโซมภายในเซลล์ของพืช เพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่ แล้วนำเซลล์ใหม่ไปเพาะเลี้ยง จะได้พันธุ์พืชที่มีจีนซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น คุณสมบัติในการต้านทานต่อสารเคมี คุณสมบัติในการต้านทานแมลง เป็นต้น พืชที่ได้เรียกว่า พืชจำลองพันธุ์ พืชที่นำมาใช้ในการตัดแต่งจีนในปัจจุบัน ได้แก่ ฝ้าย มะเขือเทศ มะละกอถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น