บทที่ 9 ชีวิตง่ายๆ ในโลกดิจิทัล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
E+M Commerce.
Advertisements

Seminar in Information Knowledge and Technology Management ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงคมนาคม 1 โดย ดร.สมนึก คีรีโต ผู้อำนวยการ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
E-Commerce Chapter 1 Introduction to e-commerce
การสื่อสารข้อมูล.
บทที่ 9 ความปลอดภัยระบบเครือข่าย
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม
สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
การรักษาความปลอดภัย ในอีคอมเมิร์ซ
Information Systems Development
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
บทนำ การทำธุรกิจในปัจจุบันมีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคนในโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น.
อยู่ระหว่างดำเนินการ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ
Information Technology For Life
ระบบการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Payment System
: หลักการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Electronic Payment System การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
The Digital Firm : Electronic Business and Electronic Commerce
บทที่ 11 กฎหมายและจริยธรรม ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
Cryptography & Steganography
บทที่ 6 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce
อาจารย์ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Market System Promotion & Development Devision
Pattanachai Huangkaew Kapchoeng Wittaya School
Road to the Future - Future is Now
Information and Communication Technology Lab3 New
หัวข้อ “ทำ e-Commerce อย่างไร”
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ * Management Information Systems
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
การบริหารความปลอดภัยสารสนเทศ
โครงการอบรม e-commerce สำหรับประชาชน
ระบบการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซ (Electronic Commerce Payment System)
Electronic Commerce Law กฏหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 1 ความหมายขอบเขต และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ.
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
(ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ....
Chapter 7 การสร้างร้านค้าบนเว็บ Edit
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด Marketing Environmental Analysis
ระบบการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ สุทธิรัตน์ รัตนโชติ 16 สิงหาคม 2559
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550, 2560
โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Yeunyong Kantanet School of Information and Communication Technology
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
สิทธิทางปัญญาและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของธุรกิจขายสินค้าออนไลน์
การจัดการความปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Information Security Management System : ISMS) ด้วย เกณฑ์มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ISO/IEC และ ISO/IEC
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
การวิเคราะห์ข้อมูล เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 5 : การประยุกต์ใช้คริพโตกราฟี Part2 สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
วิชา การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับ อีคอมเมิร์ซ
แนวทางปฏิบัติด้านการเงินของ ศบท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
การจัดเตรียมเอกสาร ประกอบการจัดหาพัสดุของหน่วยงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย
หลักและศิลปะ ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
กลยุทธ์ธุรกิจ.
การขายสินค้าออนไลน์.
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตใน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การขายสินค้าออนไลน์.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 9 ชีวิตง่ายๆ ในโลกดิจิทัล

สารบัญ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลโกง การป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาจากการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ข้อดี และข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กว้างไกล ทำให้ผู้คนในพื้นที่ต่าง ๆ ใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวางไร้พรมแดน มีผู้ที่นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทำให้เกิดพัฒนาการในเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบการทำธุรกิจ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นการค้าผ่านทางช่องทางอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce : E-Commerce)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การซื้อขายสินค้าบางครั้งสามารถทำผ่านเว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลาง ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์อีเบย์ (www.ebay.com) เป็นเว็บไซต์ตลาดกลางที่มีขนาดใหญ่ระดับโลก มีผู้สนใจที่ไม่ใช่เจ้าของเว็บไซต์เข้าไปขายและซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังมีการขายสินค้าประเภทซอฟต์แวร์ หรือเกมส์ ซึ่งอาศัยการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจาก App Store ของ แอบเปิ้ล หรือ จาก Google Play ของ กูเกิล

ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาได้จากคุณสมบัติของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 8 ประการ ดังนี้ 1. ใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา (Ubiquity) 2. เข้าถึงได้ทั่ว (Global reach) 3. การมีมาตรฐานสากล (Universal standards) 4. การรองรับสื่ออย่างครบถ้วนสมบูรณ์ (Richness) 5. การมีปฏิสัมพันธ์ (Interactivity) 6. การมีข้อมูลที่รองรับการใช้งานมาก (Information density) 7. การตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคล(Personalization/Customization) 8. การมีเทคโนโลยีสังคม (Social technology)

ความหมายของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้าและลูกค้าให้ตรงใจและรวดเร็ว เพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้าและการบริการ

ความหมายของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะได้แก่ 1. การติดต่อสื่อสารและประสานการทำงานร่วมกัน (Communication and Collaboration) 2. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) 3. ระบบธุรกิจภายในองค์การ ( Internal Business System)

ความหมายของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) World Trade Organization (WTO) ให้ความหมายว่า “การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ให้ความหมายว่า “ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์การและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิตอลที่มีทั้งข้อความเสียงและภาพ”

ความหมายของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สรุปได้ว่า พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบ (การซื้อขายสินค้าบริการ, การชำระเงิน, การโฆษณา, และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ) ที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  

รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาในมุมมองของผู้จำหน่ายสินค้า สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ 1. มีร้านจำหน่ายสินค้าและขายผ่านเว็บไซต์ด้วย (Click and Mortar) ผู้จำหน่ายสินค้ามีการเปิดร้านจำหน่ายสินค้าอยู่จริง มีเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางในการทำการค้า มีการเชื่อมโยงทั้งสองทางเข้าด้วยกัน ขยายความสามารถของร้านค้าให้เข้าถึงผู้ซื้อได้มากขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้มาก  เช่น เว็บไซต์เคเอฟซี (www.kfc.co.th) เว็บไซต์ซีเอ็ด(www.se-ed.com) เป็นต้น

รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. มีการจำหน่ายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว (Click and Click) ผู้จำหน่ายสินค้ามีเพียงเว็บไซต์เพียงช่องทางเดียวในการทำการค้า เช่นเว็บไซต์Tarad (www.tarad.com) เป็นต้น สะดวกสำหรับผู้ที่เริ่มลงทุนเพราะใช้ต้นทุนน้อย และใช้บุคคลน้อยกว่า 

รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณารูปแบบในมุมมองของความจำเป็นในการที่ต้องมีเว็บไซต์ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถพิจารณาได้เป็น 2 รูปแบบ 1. การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เป็นการขายสินค้าโดยอาศัยบริการของเว็บไซต์ตลาดกลาง เช่น  Pantip Market ผู้จำหน่ายสินค้ามีค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เว็บไซต์ตลาดกลางมักจะเป็นที่รู้จักของผู้ซื้ออยู่แล้วทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการหาผู้ซื้อ การขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ตลาดกลางมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาที่แสดงข้อมูลต่อลูกค้า พื้นที่ในการโฆษณา เงื่อนไขบริการของตลาดกลาง รวมถึงถ้าผู้ซื้อสนใจจะซื้อสินค้าเพิ่มเติมจะทำได้ยาก

รูปแบบของการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง ผู้จำหน่ายสินค้ามีการสร้างเว็บไซต์ของร้านค้าของตนเอง มีหลากหลายลักษณะเช่น การพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาโดยเฉพาะ การเช่าบริการผู้ให้บริการเว็บไซต์ เป็นต้น มีอิสระในการจัดการขายสินค้ามากกว่าเนื่องจากสามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง ถ้าหากเป็นเว็บไซต์เปิดให้บริการใหม่ก็ยากที่จะมีลูกค้ารู้จัก ดังนั้นผู้จำหน่ายสินค้าบางรายจึงมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ โฆษณาแนะนำสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ตลาดกลางด้วย 

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากหลักการของคู่ค้าเมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วจะแบ่งกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มธุรกิจ (Business) กลุ่มรัฐบาล (Government) กลุ่มประชาชน (Citizen) ผู้บริโภค (Consumer) หรือ ลูกค้า (Customer)

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มี 5 ลักษณะดังนี้  1. Business to Consumer หรือ Business to Customer (B2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการขายสินค้าแก่ลูกค้าหรือผู้บริโภค เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Zalora (http://www.zalora.co.th) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จำหน่ายสินค้าเครื่องประดับเครื่องแต่งกายให้กับลูกค้าทั่วไป

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. Business to Business (B2B) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการขายสินค้ากับกลุ่มธุรกิจด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะขององค์การขนาดใหญ่ที่มีการซื้อขายวัตถุดิบระหว่างกัน  เช่น ธุรกิจซีพีออลล์ ธุรกิจ Microsoft ธุรกิจ Cisco เป็นต้น   3. Business to Government (B2G) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการกับกลุ่มรัฐบาล อำนวยความสะดวกแทนหน่วยงานภาครัฐที่จะต้องเป็นผู้การดำเนินเองทั้งหมด ให้กลุ่มธุรกิจเอกชนดำเนินการลงทุนเทคโนโลยีต่าง ๆ แทนให้ ตัวอย่างเช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการในการซื้อจัดจ้างในลักษณะการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้หน่วยงานภาครัฐ

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4. Government to Citizen (G2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มรัฐบาลให้บริการ (ฟรี) กับกลุ่มประชาชน ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์กรมสรรพากร ให้บริการยื่นแบบ-ชำระภาษีออนไลน์ (http://rdserver.rd.go.th)

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5. Consumer to Consumer (C2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มผู้บริโภคขายสินค้าให้กับกลุ่มผู้บริโภคด้วยกันเอง ส่วนใหญ่จะเป็นการค้าปลีก สินค้าทำเอง หรือสินค้ามือสอง อาศัยเว็บไซต์ตลาดกลางในการขายสินค้า เช่น การซื้อขายสินค้าด้วยกันเองของผู้ บริโภคโดยผ่านบริการของเว็บไซต์ Pantip Market (http://www.pantipmarket.com)

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภทสินค้าและบริการที่พบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1) กลุ่มสินค้าที่จับต้องได้ เป็นสินค้าในรูปวัตถุสิ่งของ เช่น นาฬิกา โทรศัพท์ หนังสือ เป็นต้น ใน ผู้ซื้อจะต้องอาศัยการสังเกตและความรอบคอบต่อผู้จำหน่าย ผู้ซื้อไม่สามารถจับต้องหรือเห็นสินค้าจริงก่อนสั่งซื้อ มีโอกาสได้สินค้าไม่ตรงกับความต้องการ ต้องอาศัยการจัดส่งมายังลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ผู้จำหน่ายได้จัดเตรียมไว้

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2) กลุ่มสินค้าที่จับต้องไม่ได้ ให้ผู้ซื้อทำการดาวน์โหลด ภายหลังการชำระเงิน สินค้าได้แก่ เกมส์ เพลง หรือโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ข้อดี อาจมีตัวทดลองในลักษณะแชร์แวร์ (Share Ware) ไว้ให้ทดลองใช้ก่อนตามเงื่อนไข หากพึงพอใจค่อยติดต่อซื้อในภายหลัง สิ่งที่ต้องระวังการซื้อสินค้าคือ การเชื่อมต่อสัญญาณเพื่อดาวน์โหลด เนื่องจากบางครั้งถ้าผู้ซื้อดาวน์โหลดด้วยระบบโทรศัพท์อาจจะมีค่าบริการโทรศัพท์ในการดาวน์โหลดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไฟล์ที่มีขนาดใหญ่และสัญญาณอาจไม่คมชัด

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3) กลุ่มบริการ ไม่ได้ขายสินค้า แต่เน้นให้บริการ เช่น บริการจองตั๋วภาพยนตร์ จองตั๋วคอนเสิร์ต จองซื้อทัวร์ หรือตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น การบริการเหล่านี้ผู้ใช้บริการจะต้องตรวจสอบผู้ให้บริการก่อนถึงความน่าเชื่อถือ การรับประกันบริการ รวมถึงเงื่อนไขความรับผิดชอบของการให้บริการ

กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นที่ 1 การค้นหา เป็นการค้นหาเว็บไซต์และระบุเว็บไซด์ที่ตรงกับความต้องการในการเลือกซื้อของลูกค้า  ขั้นที่ 2 การเลือก เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าได้เห็นคุณสมบัติของสินค้าในด้านต่าง ๆ เช่น ภาพสินค้า รายละเอียดสินค้า คุณภาพสินค้า และราคาสินค้า เป็นต้น ขั้นที่ 3 การซื้อสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากลูกค้าเลือกสินค้าแล้ว ก็จะระบุวิธีการจัดส่งและการชำระเงิน 

กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นที่ 4 การจัดส่งสินค้า หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้า ผู้จำหน่ายจะดำเนินการจัดส่งสินค้าซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าซื้อ ถ้าเป็นสินค้าในกลุ่มที่จับต้องไม่ได้ ลูกค้าจะสามารถดาวน์โหลดนำไปใช้หรือตรวจสอบผลการให้บริการได้ ถ้าเป็นสินค้าที่จับต้องได้ผู้จำหน่ายจะดำเนินการจัดส่งตามวิธีการและสถานที่จัดส่งที่ลูกค้าได้แจ้งไว้

กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดส่งนั้นผู้จำหน่ายอาจใช้บริการจากผู้ให้บริการในการจัดส่งซึ่งมีหลายบริษัท เช่น ไปรษณีย์ไทย DHL หรือ FedEx เป็นต้น บริษัทเหล่านี้มีกระบวนการให้ผู้ขายและผู้ซื้อติดตามการจัดส่งสินค้า

กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการ ซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นที่ 5 การบริการหลังการขาย เป็นขั้นตอนในการให้ความคุ้มครองและสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า โดยที่ลูกค้าสามารถติดต่อคืนสินค้า เปลี่ยนสินค้า ซ่อมแซมสินค้า หรือขอคำปรึกษาในเรื่องสินค้า บริการตามระยะเวลาข้อตกลง ขั้นที่ 6 การประเมินผลหลังการขาย อาจมีช่องทางในการประเมินผลหลังการขาย โดยอาจจะเป็นการจัดอันดับเรตติ้งของผู้จำหน่าย ความชอบในสินค้า ซึ่งผู้ซื้อจะเป็นผู้ทำการประเมิน ซึ่งส่งผลดีต่อลูกค้ารายอื่น ๆ ที่มีความสนใจจะได้เข้ามาพิจารณาการประเมินผลของลูกค้าที่เคยใช้บริการ และเป็นผลดีต่อร้านค้า 

การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Wallets) เป็นแนวคิดในการสร้างข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตของลูกค้าแต่ละคนให้เสมือนเป็นกระเป๋าเงินตามปกติ ภายในระบบประกอบด้วยข้อมูล เช่น ข้อมูลตัวบุคคลเจ้าของระบบ ข้อมูลที่อยู่ ข้อมูลบัตรเครดิต เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash) เป็นต้น เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ คือ จำนวนเงินที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการคำนวณการเก็บ และการใช้การจ่ายผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Wallets) (ต่อ) สามารถทำได้ โดยลูกค้าจะเปิดบัญชีกับธนาคาร และกำหนดเอกลักษณ์ขึ้นมาเอง จากนั้นจะได้รับเงินสดอิเล็กทรอนิกส์มา เมื่อลูกค้าต้องการถอนเงินออกจากธนาคาร หรือซื้อสินค้าก็สามารถทำผ่านอินเทอร์เน็ต โดยแสดงสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อตรวจสอบ สำหรับการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า เว็บไซต์ได้มีการจัดเตรียมหน้าการชำระเงินที่สามารถเชื่อมโยงกับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์

การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Checks) มีพื้นฐานจากเช็คที่เป็นกระดาษ แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยนำเทคโนโลยีมาประกอบการทำงานให้มีความสะดวกขึ้น เช่น เทคโนโลยีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signatures) นำมาใช้ตรวจสอบข้อมูลการชำระเงินของผู้ซื้อสินค้าแทนการลงชื่อกำกับบนเช็คแบบปกติ ซึ่งจะเป็นการรับรองผู้ชำระเงิน รับรองธนาคารของผู้ชำระเงิน และบัญชีธนาคาร

การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การชำระผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทย บริษัทไปรษณีย์ไทยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดส่งเงินหรือเอกสารแทนเงิน จากผู้ซื้อไปยังผู้จำหน่าย มีบริการที่หลายลักษณะ เช่น บริการธนาณัติ บริการตั๋วแลกเงิน บริการไปรษณีย์เก็บเงิน รวมไปถึงบริการเพย์ แอท โพสท์ การใช้บริการทางการเงินของบริษัทไปรษณีย์ไทยปัจจุบันมีความสะดวกเนื่องจากมีหน่วยให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆค่อนข้างมาก

การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงินผ่านธนาคาร การใช้บริการชำระค่าสินค้าผ่านทางธนาคารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการโอนเงิน ลูกค้าต้องทราบหมายเลขบัญชี หรือข้อมูลผู้จำหน่ายก่อนจึงจะชำระเงินได้ มีความสะดวก เนื่องจากในปัจจุบันมีบริการของธนาคารออนไลน์ หรือตู้ ATM มากขึ้น มีความเสี่ยง ถ้าหากผู้ซื้อโอนเงินไปให้ก่อนแต่ผู้จำหน่ายไม่ส่งสินค้ามาให้

การชำระเงินผ่านบัตรชำระเงิน 1. บัตรเครดิต (Credit Card) เป็นบัตรที่มีการให้วงเงินพิเศษกับผู้ถือบัตร ใช้ในการซื้อสินค้า และเมื่อถึงกำหนดจ่ายเงิน จึงจ่ายเงิน ซึ่งสามารถจ่ายแบบเต็มจำนวนหรือบางส่วนก็ได้ตามแต่เงื่อนไขของบริษัทผู้ออกบัตร ความปลอดภัยของข้อมูลที่มีการถ่ายโอนทางอินเทอร์เน็ตยังเป็นที่วิตกสำหรับลูกค้า ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ได้แก่ บริษัทวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดก็ได้ใช้วิธีการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า SET (Secure Electronic Transaction) ทำให้มีความมั่นใจในการใช้บริการได้มากยิ่งขึ้น

การชำระเงินผ่านบัตรชำระเงิน 2. บัตรเดบิต (Debit Card) เป็นบัตรที่มีการเชื่อมโยงวงเงินเข้ากับบัญชีเงินฝาก ในการใช้บัตรในการซื้อสินค้า จะต้องมีเงินคงเหลือในบัญชีและเมื่อซื้อสินค้าก็จะตัดวงเงินจากบัญชีโดยทันที

การชำระเงินผ่านบัตรชำระเงิน 3. บัตรชาจต์ (Charge Card) เป็นบัตรที่ใช้ซื้อสินค้าก่อนแล้วจ่ายภายหลัง คล้ายบัตรเครดิต ไม่มีการจำกัดวงเงินในการใช้จ่าย และเมื่อถึงกำหนดชำระเงินจะต้องจ่ายเต็มจำนวน เช่น บัตร American Express เป็นต้น

การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการ 1. PayPal (www.paypal.com) เป็นบริษัทระดับโลกที่เป็นตัวกลาง ให้บริการโอนเงินและรับชำระเงินในการซื้อสินค้า

การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการ 2. PaySbuy (www.paysbuy.com) เป็นบริษัทที่ให้บริการคล้ายคลึงกับ PayPal แต่เป็นบริษัทในประเทศไทย

ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)

ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ความปลอดภัย (Security) การใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะมีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของการใช้งาน เช่น การจารกรรมข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น ทรัพย์สินทางปัญญา (Theft of intellectual property) การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงออนไลน์ การขายสินค้าปลอม การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า เป็นต้น การซื้อขายดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และสินค้าที่เป็นของปลอมแปลงนั้น อาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภค

ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    กลโกงทางอินเทอร์เน็ต (Fraud) มีหลายลักษณะ เช่น การฉ้อโกงทางโทรศัพท์ โดยการหลอกคืนภาษีและให้ทำธุรกรรมผ่านตู้ATM การส่งข่าวสารปลอมผ่านทางอีเมล์ (Phishing) โดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่ามาจากองค์การที่น่าเชื่อถือ สร้างเว็บไซต์ปลอมที่เหมือนกับเว็บไซต์จริงแล้วหลอกให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่มีความสำคัญลงไป การโกงของมือสองออนไลน์ เช่น การสร้างเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า แต่ไม่มีสินค้าอยู่จริง ๆ ซึ่งถ้าลูกค้าจะติดตามก็ทำได้ยาก เพราะข้อมูลที่ปรากฏทางเว็บไซต์อาจจะเป็นข้อมูลปลอม เป็นต้น

ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    การคุกคามความเป็นส่วนตัว (Invasion of privacy) การคุมคามความเป็นส่วนตัว เช่น สแปมเมล์ (Spam Mail) เป็นประเภทหนึ่งของอีเมล์ขยะ จุดประสงค์ของผู้ส่งสแปมเมล์ ต้องการโฆษณาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ไปหาคนจำนวนมาก โดยผู้ส่งไม่จำเป็นต้องรู้จักเป้าหมายมาก่อน การละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค เช่น การดักฟังโทรศัพท์ หรือ การบันทึกพฤติกรรมการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า เป็นต้น

ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ความไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Lack of internet access) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถ้าหากพื้นที่ในการให้บริการของอินเทอร์เน็ตไม่ครอบคลุม จะส่งผลต่อการทำธุรกิจ รวมถึงความคมชัด หรือความแรงของสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ส่งผลต่อการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ขอบเขตอำนาจของกฎหมายและภาษี (Legal jurisdiction and taxation) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แม้จะเป็นการทำการค้าไร้พรมแดน แต่ในบางประเทศจะมีการกำหนดข้อกฎหมายควบคุม หรือห้ามจำหน่ายสินค้าบางอย่าง เช่น อาวุธ หรือยา เป็นต้น รวมไปถึงอาจมีการกำหนดอัตราภาษีต่าง ๆ ไว้ เพื่อควบคุมการจำหน่ายสินค้า

กลโกง การป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาจากการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)

กลโกง การหลอกลวงของผู้จำหน่าย การหลอกลวงให้เปิดเผยข้อมูลทางการเงินหรือบัตรเครดิต อาจพบได้ในกรณีที่ลูกค้าซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือเว็บไซต์ที่ไม่มีวิธีการป้องกันในการส่งข้อมูลทางการเงิน การเปิดร้านค้าปลอม โดยอาจเปิดเว็บไซต์เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ หลอกให้ลูกค้า โอนเงิน แต่ไม่ส่งสินค้าไปให้  การส่งสินค้าปลอม สินค้าไม่ถูกลิขสิทธิ์ หรือสินค้าที่ไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ   

กลโกง การหลอกลวงของผู้จำหน่าย การหลอกประกาศขายสินค้า ใช้ข้อความประกาศว่าเป็นสินค้าราคาถูก บางครั้งร้านค้ามีการให้ที่อยู่ปลอมเพื่อความน่าเชื่อถือ และหลอกให้โอนเงินไปให้ ส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มสินค้าราคาสูง เช่น กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นต้น การโฆษณาสินค้าที่หลอกลวงในสรรพคุณมากเกินจริง เช่น ยา วิตามิน อาหารเสริมต่าง ๆ

กลโกง การหลอกลวงของผู้จำหน่าย การหลอกลวงในการประมูลสินค้า เช่น ผู้จำหน่ายไม่ส่งสินค้าให้ผู้ชนะการประมูลเพราะไม่มีสินค้าจริง, การปั่นราคาให้ราคาสูงเกินจริง เป็นต้น

การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า 1. ผู้ซื้อควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ของผู้จำหน่ายสินค้า หรือวิธีที่สามารถติดต่อได้ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ หากไม่มั่นใจผู้จำหน่าย ก็ควรหลีกเลี่ยงไปใช้บริการร้านค้าที่รู้จัก 2. อย่าเห็นแก่ราคาสินค้าที่ถูกเกินไป ระมัดระวังในการซื้อสินค้า ต้องเก็บหลักฐานการซื้อสินค้าเอาไว้เสมอ

การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า 3. ห้ามให้ข้อมูลสำคัญ เช่น หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น ถ้าเป็นการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ต ผู้ซื้อต้องระวังการให้ข้อมูลบัตรเครดิต ควรตรวจสอบสัญญาหรือเงื่อนไขบัตรชนิดต่าง ๆ กับธนาคารหรือบริษัทที่ออกบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรที่สามารถชำระเงินทางอินเทอร์เน็ต ได้ว่าผู้ถือบัตรจะได้รับความคุ้มครองในกรณีใดบ้าง และมีข้อควรปฏิบัติอะไรบ้าง  

การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า 4. ถ้าหากเป็นผู้จำหน่ายสินค้ารายใหม่ หรือยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด ก็ไม่ควรโอนเงินหากยังไม่ได้รับสินค้า ถ้าเป็นไปได้ควรนัดรับสินค้าและตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนการชำระเงิน 5. สังเกตการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้จำหน่ายสินค้า เพื่อสร้างความน่าไว้วางใจ ผู้จำหน่ายสินค้าควรจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า 6. สังเกตการใช้โปรโตคอล SSL (Secure Sockets Layer) เพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์มีการรักษาความปลอดภัย เช่นเว็บไซต์ของธนาคาร หรือ เว็บไซต์ขายสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือมักจะมีการรักษาความปลอดภัยด้วยโปรโตคอล SSL สังเกตได้จาก การมีสัญลักษณ์รูปแม่กุญแจปิดล็อค  และที่ URL จะเปลี่ยนจาก โปรโตคอล http:// เป็น https://

การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า เว็บไซต์ที่มีการรักษาความปลอดภัยแบบ SSL และการใช้โปรโตคอล https://

การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า 7. มีการใช้ใบรับรองดิจิตอล (Digital Certificate) เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจความปลอดภัยในเว็บไซต์ หรือยืนยันตัวตนของผู้ที่เป็นเจ้าของ ผู้ให้บริการได้มีการจดทะเบียนใบรับรองดิจิตอล จากบริษัทหรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือซึ่งเรียกว่า Certificate Authority (CA )

วิธีการแก้ปัญหาเมื่อพบว่าโดนโกง ถ้าลูกค้าพบปัญหาว่าตนเองโดนโกงไปแล้วควรรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อติดตามคนร้าย หมายเลข IP address ของคนร้าย (ช่วงเวลาและสถานที่) หมายเลขโทรศัพท์คนร้าย E-Mail คนร้าย บัตรประชาชนที่คนร้ายใช้อ้าง วัน เวลา สถานที่ ลงประกาศ นัดเจอ โอนเงิน เลขบัญชี การเดินทางของเงินในบัญชี ทั้งข้อมูลธนาคาร สาขา การโอนเงิน การสังเกตน้ำเสียงและลักษณะของคนร้าย

วิธีการแก้ปัญหาเมื่อพบว่าโดนโกง ดำเนินการแก้ปัญหาได้ ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ เก็บรวมรวมหลักฐานต่าง ๆ แล้วไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากนั้นติดต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(http://www.tcsd.in.th) เพื่อประสานติดตามเรื่องต่อไป

วิธีการแก้ปัญหาเมื่อพบว่าโดนโกง ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อคุ้มครองการซื้อสินค้าจากตัวแทนขายตรง คุ้มครองตัวแทนขายตรงจากเจ้าของสินค้าและยังครอบคลุมถึงการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย กรณีชำระค่าสินค้าโดยการโอนเงิน ให้รีบติดต่อธนาคารโดยอาจติดต่อขอระงับการโอนเงิน ซึ่งทางธนาคารจะทำการยกเลิกการโอนเงินให้โดยติดตามนำเงินจากบัญชีปลายทางที่โอนไปกลับมาคืน ซึ่งวิธีการนี้โดยส่วนมากมักได้ผลถ้าหากรีบดำเนินการเมื่อพบความผิดปกติ กรณีชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือธนาคารที่ออกบัตรทราบ และทำหนังสือปฏิเสธการใช้บัตรเพื่อระงับรายการนั้นไว้ชั่วคราว

ข้อแนะนำในการพิจารณาความปลอดภัยในการใช้บริการ ราคาขายถูกกว่าราคาท้องตลาดมาก จนผิดสังเกต ทดลองสั่งซื้อสินค้าจำนวนน้อย ๆ ก่อน อย่าไว้ใจข้อมูลในเว็บไซต์ (รีวิว) ตรวจหาประวัติผู้ขาย ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ (http://dawhois.com หรือ https://www.thnic.co.th/whois ) การอัพเดทเว็บไซต์ มีผู้เคยได้รับสินค้าแล้วหรือไม่ เว็บไซต์ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถตรวจสอบได้ที่ http://www.trustmarkthai.com

จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   

จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ด้านการสนทนา ทั้งผู้ซื้อและผู้จำหน่ายควรรักษามารยาทในการสนทนา เลือกใช้ภาษาที่สุภาพ ในการโต้ตอบและการเจรจา เนื่องจากในอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใครก็สามารถเข้ามาอ่าน และอาจมีเด็กเข้ามาอ่านได้ ตลอดจนข้อมูลใด ๆ ที่นำเสนอบนอินเทอร์เน็ตอาจมีผลผูกพันทางกฎหมายได้ ด้านการเลือกซื้อสินค้า ผู้ซื้อสินค้าควรเลือกซื้อสินค้าที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ

จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ด้านการชำระเงิน ผู้ซื้อสินค้าควรชำระเงินให้ตรงตามกำหนดวันเวลาที่ผู้จำหน่ายสินค้าแจ้งไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการยกเลิกการขายโดยไม่ชำระเงิน ถ้าไม่ต้องการซื้อสินค้าแล้วควรแจ้งแก่ผู้จำหน่าย เพื่อจะได้ไม่เป็นการกีดกันผู้ซื้อรายอื่นที่ต้องการได้รับสินค้าจริง ๆ ต้องตรวจสอบการชำระเงินและเก็บเอกสารไว้เผื่อเกิดปัญหา ด้านการให้ข้อมูล ผู้ซื้อควรให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ผู้จำหน่ายเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจการซื้อสินค้า ถ้าผู้จำหน่ายมีบริการการสอบถามความพึงพอใจ ในฐานนะลูกค้าควรให้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้จำหน่ายสินค้า และผู้ซื้อรายอื่น ๆ

จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์    ด้านความไว้วางใจ เลือกซื้อจากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ อย่าเห็นแก่ของราคาถูก อย่าเชื่อใจและไว้ใจมากเกินไป หากเกิดปัญหาขึ้นภายหลังอาจจะยุ่งยากในการติดตาม ข้อสุดท้ายผู้ซื้อควรจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในวิวัฒนาการของเทคโนโลยี และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่เสมอ   

ข้อดี และข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า 2. ประหยัดเวลาในการติดต่อซื้อสินค้า 3. ร้านค้าในอินเตอร์เน็ตขยายตลาดสู่ทั่วโลก และผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น 4. เปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงและซื้อสินค้าได้ทุกวัน    

ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. ผู้ซื้ออาจซื้อแล้ว แต่ไม่ได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย  2. สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือไม่มีคุณภาพ 3. เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย 4. ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้ 5. ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ 

คำถาม