แปลว่าความรู้(Knowledge)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย จิรวัฒน์ พรหมพร แผนกสนับสนุนฝ่ายทรัพยากร อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ปรับปรุงครั้งล่าสุด.
Advertisements

โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย(ThaiLIS)
วิธีการแสวงหาความรู้
โดย อาจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์
What is MEQ Workshop on “MEQ Examination for Preclinical Years”
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาพรวมพฤติกรรมองค์กร
มโนทัศน์เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
มศว 142 วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
โดย... จิรวัฒน์ พรหมพร แผนกสนับสนุนฝ่ายทรัพยากร อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โดย... จิรวัฒน์
ความคิดพื้นฐานทางการวิจัย
อวิชชา / ความไม่รู้ Ignorance คน / ปัญหา Problem/Human ศึกษา / วิจัย Education/ Research ความรู้แจ้ง Knowledge Wisdom ปรากฏการณ์ ธรรมชาติ Natural Phenomena.
By : Mr.Theerawat Duangsin Khlung ratchadapisake school
การอภิปราย หัวข้อ “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและเตรียม ความพร้อมรับมืออุบัติเหตุทางถนน” นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผอ.กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
การฝึกอบรมคืออะไร.
สรุปการดำเนินงาน ตามนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ
โครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 23202)
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติในด้านสังคมศาสตร์ (The Application of Statistical Package in Social Sciences) การวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
การประชาสัมพันธ์เบื้องต้นสำหรับงานสิ่งแวดล้อม Introduction to Public Relation for Environment อาจารย์น้ำทิพย์ คำแร่
Knowledge Audit and Analysis
การศึกษาชีววิทยา.
การวัดและประเมินการปฏิบัติ
การใช้งานฐานข้อมูล ACS Journals
Data mining สุขฤทัย มาสาซ้าย.
Dr. Montri Chulavatnatol
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
การวิเคราะห์ซอฟต์แวร์
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เกริ่นนำงานวิจัยเบื้องต้น
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย(ThaiLIS)
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
Scientific process skills
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
รายวิชาแหล่งสารสนเทศ หน่วยที่ 5 แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามสาขาวิชา
วิจัยทางการพยาบาล ดร.อัญชลี จันทาโภ.
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
สถานะภาพและลักษณะของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การจัดการทางการพยาบาล Management in Nursing
การใช้งานฐานข้อมูล ACS Journals
PRE 103 Production Technology
ผู้ใช้และการใช้สารสนเทศ
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การบริหารทีมงานและภาวะผู้นำ
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
สถานะภาพและลักษณะของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การวิจัยทางธุรกิจ Business Research
บทที่ 5 องค์กร การบริหารในองค์กรและการพัฒนางานอาชีพในองค์กร
ทักษะการคิดและกระบวนการคิด
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
การใช้งานฐานข้อมูล H.W. Wilson
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
การใช้งานฐานข้อมูล ACS Journals
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
Introduction to Public Administration Research Method
ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง
GSC151 ชีวิตและสภาพแวดล้อมในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
Introduction to Public Administration Research Method
สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
งานวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การใช้งานฐานข้อมูล H.W. Wilson
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แปลว่าความรู้(Knowledge) วิทยาศาสตร์คืออะไร วิทยาศาสตร์ “Science” มาจากภาษาลาติน “Scientia” แปลว่าความรู้(Knowledge) เป็นความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต สสาร พลังงาน ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจากการประจักษ์ทางธรรมชาติและจัดเข้าเป็นระเบียบ หรือวิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ

วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 3 ส่วน ที่สำคัญ คือ 1) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ ( Science Attitude) 2) กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Process of Science ) 3) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge)

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Science Attitude) หมายถึง ลักษณะหรือพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ หรือความรู้สึกของแต่ละบุคคล ความอยากรู้อยากเห็น ความมีเหตุผล มีความละเอียดรอบคอบ ความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์ ความใจกว้าง

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Science Attitude) 1. ความอยากรู้อยากเห็น - มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถ อธิบายได้ด้วยความรู้ที่มีอยู่เดิม - ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม - ช่างซัก ช่างถาม ช่างอ่าน เพื่อให้ได้คำตอบเป็นความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น - ให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตประจำวัน

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Science Attitude) 2. ความมีเหตุผล - เชื่อในความสำคัญของเหตุผล - ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ - แสวงหาสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุนั้นกับผลที่เกิดขึ้นได้ - ต้องการที่จะรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Science Attitude) 3. มีความระเอียดรอบคอบ - ใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ - ไม่ยอมรับสิ่งใดว่าเป็นความจริงทันที ถ้ายังไม่มีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้ - หลีกเลี่ยงการตัดสินใจและการสรุปที่รวดเร็วเกินไป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Science Attitude) 4. ความเพียรพยายาม - ทำกิจการงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์ - ไม่ท้อถอย เมื่อการทดลองมีอุปสรรคหรือล้มเหลว - มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการเสาะแสวงหาความรู้

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Science Attitude) 5. ความซื่อสัตย์ - สังเกตและบันทึกผลต่างๆโดยปราศจากความลำเอียงหรืออคติ - ไม่นำสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวข้องกับการตีความหมายผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ - ไม่ยอมให้ความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวมามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใดๆ - มีความมั่นคง หนักแน่น ต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์ - เป็นผู้ซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Science Attitude) 6. ความใจกว้าง - ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ และยินดีให้มีการพิสูจน์ตามเหตุผลและข้อเท็จจริง - เต็มใจที่จะรับรู้ความคิดใหม่ๆ - เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดเห็นแก่ผู้อื่น - ตระหนักและยอมรับข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน

1. วิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (The process of Science) เป็นวิธีทางการคิดที่เป็นสากลที่นักวิทยาศาสตร์นำไปแสวงหาความรู้ 1. วิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills)

1. วิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) การระบุปัญหา (Problem) การสังเกต (Observation) วิธีการทางวิทยาศาสตร์มักจะเริ่มจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เมื่อได้ข้อสังเกตบางอย่างที่เราสนใจจะทำให้ได้สิ่งที่ตามมาคือ ปัญหา (Problem) การตั้งปัญหา ได้จากการสังเกตสิ่งนั้นว่า... เป็นอะไร? เกิดขึ้นเมื่อไร? เกิดขึ้นที่ไหน? เกิดขึ้นได้อย่างไร? ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

1. วิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) การตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) การตั้งสมมติฐาน คือการคาดคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้ หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้า บนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ปรากฏการณ์ และการศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้องแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ จนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อน จึงจะทราบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ ข้อ และทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานไปพร้อมๆ กัน การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย มักนิยมใช้วลี "ถ้า…ดังนั้น" 2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้ 3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง 4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกต และสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้

1. วิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) การพิสูจน์สมมติฐาน (ทดลอง,สังเกต) การตรวจสอบสมมติฐานจะต้องยึดข้อกำหนดสมมติฐานไว้เป็นเหลักเสมอ โดยการตรวจสอบสมมติฐานนี้ได้จาก การสังเกต และการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ธรรมชาติ การทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติ หรือหาคำตอบหรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ การออกแบบการทดลอง คือการวางแผนการทดลองก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง โดยให้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้เสมอ และควบคุมปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลอง แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ - ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น คือปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดผลการทดลองหรือตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบดูว่าเป็นสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดผลเช่นกัน - ตัวแปรตาม คือผลที่เกิดจากการทดลอง ซึ่งต้อง ใช้วิธีการสังเกตหรือวัดผลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลไว้ และจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ - ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือปัจจัยอื่นๆ ที่ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มีผลต่อการทดลอง และต้องควบคุมให้เหมือนกันทุกชุดการทดลอง เพื่อป้องกันไม่ให้ผลการทดลองเกิดความคลาดเคลื่อนในการตรวจสอบสมมติฐาน

1. วิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) การสรุปผลการทดลอง (Generalization) การสรุปผล เป็นขั้นตอนที่นำเอาข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลแล้วมาสรุป พิจารณาว่า ผลสรุปนั้นเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานจะกลายเป็นทฤษฎี (Theory) และทฤษฎีนั้นก็สามารถนำไปอธิบายข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) การสังเกต (Observing) การวัด (Measuring) การจำแนกประเภท (Classifying) การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา (Using space 2 Time Relationships) การใช้ตัวเลข (Using Number) การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communicating) การลงความคิดเห็นข้อมูล (Inferring) การพยากรณ์ (Predicting) การตั้งสมมติฐาน ( Formulating Hypothesis) การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables) การทดลอง (Experimenting) การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting Data and Making Conclusion)

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) ข้อเท็จจริง เป็นหน่วยย่อยที่สุดของความรู้วิทยาศาสตร์ สังเกตได้โดยตรง ต้องคงความเป็นจริง มโนมติ ความคิดความเข้าใจที่สรุปเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเกิดจากการ สังเกต หรือการได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้น หลักการ ความจริงที่สามารถใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้ กฎ เป็นข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล หากมีผลการ ทดลองใดขัดแย้ง กฎนั้นก็ต้องล้มเลิกไป ทฤษฎี ข้อความที่ใช้ในการอธิบายหรือทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่ ในขอบเขตทฤษฎีนั้นทฤษฎีจะต้องทำนายปรากฏการณ์บางอย่างได้

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) 1. ข้อเท็จจริง (Fact) ข้อเท็จจริง เป็นความรู้วิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐาน ของการแสวงหาความรู้วิทยาศาสตร์ประเภทอื่น ๆ ที่ซับซ้อนกว่า ข้อเท็จจริงจะได้มาจากการสังเกตโดยตรง และจะต้องคงความเป็นจริงไว้โดยสามารถสาธิตทดสอบได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง ตัวอย่างของข้อเท็จจริง - น้ำแข็งลอยน้ำได้ - น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ - มองปลาในน้ำจะเห็นปลามีขนาดใหญ่และตื้นกว่าความเป็นจริง - พืชที่ไม่ได้รับแสงลำต้นจะมีสีซีด

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) ข้อเท็จจริง หรือ ความจริงเดี่ยว         คือ การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งใดๆ ที่เป็นอยู่จริงไม่เปลี่ยนแปลง  และเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตโดยตรง  หรือโดยอ้อม (ข้อเท็จจริงในธรรมชาติย่อมถูกต้องเสมอ แต่การสังเกตข้อเท็จจริงอาจผิดพลาดได้) ความรู้ที่ได้นี้  เมื่อทดสอบในสถานการณ์หรือสภาวะเดียวกันจะได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง เช่น   "น้ำไหลจากที่สูงสู่ที่ตำ"         "น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ100 องศาเซลเซียส ณ บริเวณที่ระดับน้ำทะเล"         "เกลือมีรสเค็ม"         "สเปรคตรัมของแสงอาทิตย์มี7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง" (ใช้อุปกรณ์ช่วย)         "น้ำแข็งลอยน้ำได้"

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) 2. มโนมติ (Concept) มโนมติ : ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ สังกัป หมายถึง ความคิดความเข้าใจที่สรุปเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือปรากฏการณ์หนึ่ง อันเกิดจากการสังเกตหรือการได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้น หรือปรากฏการณ์นั้น ๆ หลายแบบ แล้วใช้คุณลักษณะของสิ่งนั้น หรือ ปรากฏการณ์นั้น นำมาประมวลเข้าด้วยกันให้เป็นข้อสรุปหรือคำจำกัดความของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ ปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง มโนมติแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์และวุฒิภาวะของบุคคลนั้น การมีมโนมติจะต้องมีลักษณะ คือ มองเห็นคุณสมบัติรวมของสิ่งต่าง ๆ ในปรากฏการณ์นั้น ๆ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในปรากฏการณ์นั้น และมองเห็นแนวโน้มของสิ่งต่าง ๆ ในปรากฏการณ์นั้น ๆ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) 2. มโนมติ (Concept) ตัวอย่างมโนมติ - แมวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 4 ขา มีหนวด เลี้ยงลูกด้วยนม - พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นพืชที่เวลางอกจะมีใบเลี้ยงงอกมาเพียงใบเดียวใน แต่ละใบจะมีเส้นใบขนานกัน - รถยนต์เป็นยานพาหนะที่มี 4 ล้อ มีเกียร์ มีพวงมาลัย มีคลัตซ์ มี เบรก มีเครื่องยนต์ และใช้น้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge)  มโนมติหรือความคิดรวบยอด        คือ ความคิดหลัก ของแต่ละบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นๆ มโนมติเกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาศึกษาหรือเปรียบเทียบความแตกต่าง  สรุปรวมลักษณะที่สำคัญ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นๆ สร้างเป็นความคิดหลักในรูปที่แสดงถึงความคิด  ความเข้าใจ  ทำให้นำไปใช้ในการบรรยาย อธิบาย หรือพยากรณ์เหตุการณ์ วัตถุ  และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละคนอาจมีนโนมติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์  ความรู้เดิม  วัยวุฒิ  และ เหตุผลของบุคคลนั้นๆ ด้วยกันเป็นข้อสรุปของเรื่องนั้น 

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) 3. หลักการ (Principle) หมายถึงความจริงที่สามารถใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานมโนมติตั้งแต่ 2 มโนมติเข้าด้วยกัน ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงและทดสอบได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง มีความเป็นปรนัยและเข้าใจตรงกัน ตัวอย่างของหลักการ - ก๊าซเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว - ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะผลักกัน ขั้วต่างกันจะดูดกัน - คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันเป็นสารอาหารให้พลังงาน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) หลักการหรือ "ความจริงหลัก"   เป็นความจริงที่ใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้  โดยนำกลุ่ม มโนมติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงแล้วว่าเป็นจริงแล้วนำไปใช้อ้างอิงและพยากรณ์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องได้(หลักการต้องเป็นความจริงที่สามารถทดสอบได้และได้ผลเหมือนเดิม มีความเป็นปรนัย และเป็นที่เข้าใจตรงกัน) ตัวอย่างที่ "ทองแดง เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว" "อลูมิเนียม เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว" "เหล็กเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว" กลุ่มมโนมติ หลักการ "โลหะทุกชนิดเมื่อได้รับความร้อน จะขยายตัว" "ขั้วบวกกับขั้วบวกจะผลักกัน" "ขั้วลบกับขั้วลบจะผลักกัน" "ขั้วลบกับขั้วขั้วบวกจะดูดกัน" หลักการ  "ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะผลักกัน   ขั้วต่างกันจะดูดกัน"   ตัวอย่างที่ "แสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านอากาศไปสู่น้ำ" "แสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านอากาศไปสู่แก้ว" "แสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านแก้วไปสู่น้ำ" ดังนั้น หลักการ  "แสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางหนึ่งไปสู่ตัวกลางหนึ่ง ซึ่งมีความหนาแน่นต่างกัน"

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) 4. กฎ (Law) หมายถึงหลักการอย่างหนึ่งเป็นข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลและอาจเขียนในลักษณะรูปสมการแทนได้ ผ่านการทดสอบจนเป็นที่เชื่อถือได้มาแล้ว หากมีผลการทดลองใดขัดแย้ง กฎนั้นก็ต้องล้มเลิกไป ตัวอย่างของกฎ - กฎของบอยล์ กล่าวว่า “ถ้าอุณหภูมิคงที่ ปริมาตรของก๊าซจะเป็นสัดส่วนอย่างผกผันกับความกดดัน” - กฎความโน้มถ่วง “แรงดึงดูดระหว่างมวลจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทางระหว่างมวลและแปรโดยตรงกับผลคูณของมวล”

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) 5. ทฤษฎี (Theory) หมายถึงข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการอธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่ในขอบเขตทฤษฎีนั้น การที่นักวิทยาศาสตร์จะยอมรับว่าทฤษฎีนั้นเป็นที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 4 ประการ - ทฤษฎีนั้นต้องอธิบายกฎ หลักการ และข้อเท็จจริงของเรื่องราวทำนองเดียวกันได้ - ทฤษฎีจะต้องอนุมานออกไปเป็นกฎหรือหลักการบางอย่างได้ ทฤษฎีจะต้องทำนายปรากฏการณ์บางอย่างได้ - และทฤษฎีต้องทำนายปรากฏการณ์ที่อาจจะเกิดตามมาได้

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) 5. ทฤษฎี (Theory) ตัวอย่างของทฤษฎี ทฤษฎีจลน์ของก๊าซ มีใจความว่า “ก๊าซประกอบด้วยโมเลกุลขนาดเล็กมาก และอยู่ห่างกัน โมเลกกุลของก๊าซไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล แต่ละโมเลกุลเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ไปตามทิศทางหนึ่งจนกระทั่งชนโมเลกกุลอื่นหรือชนผนังภาชนะที่บรรจุ ทำให้ทิศทางเปลี่ยนไป ขณะเมื่อโมเลกุลชนกับผนังภาชนะโมเลกุลจะส่งแรงดันผนังภาชนะทำให้เกิดความดันโมเลกุล เมื่อชนกันเองหรือ ชนภาชนะจะไม่เสียพลังงาน พลังงานจลน์เฉลี่ยของก๊าซจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์ สำหรับก๊าซต่างชนิดกัน ถ้ามีอุณหภูมิเท่ากัน พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลจะเท่ากัน”

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of Knowledge) 5. ทฤษฎี (Theory) จากทฤษฎีจลน์สามารถอธิบายเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น การเปลี่ยนสถานะของสาร เช่น ก๊าซที่ใช้หุงต้มมีการบรรจุโดยการอัด ก๊าซด้วยความดันสูงจนกลายเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง - การขยายตัวของสารเมื่อได้รับความร้อน

วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ สาขาของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์กายภาพ เคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ พฤกษศาสตร์ สัตว์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์พฤติกรรม นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ - เกษตรศาสตร์ - แพทยศาสตร์ - วิศวกรรมศาสตร์

วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์(Pure Science) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติทุกชนิด ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยศึกษา - เป็นลักษณะที่พยายามจะตอบคำถามว่า “ทำไม” เช่น หลังฝนตกทำไมจึงเกิดรุ้งกินน้ำเกิดด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ - ปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งที่ขนาดเล็กระดับอะตอมจนถึงขนาดใหญ่ระดับจักรวาล - ทั้งสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายรวมทั้งจิตใจและสิ่งที่อยู่นอกร่างกายมนุษย์

วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical science) เคมี(Chemistry) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง สมบัติ และองค์ประกอบของสสาร ฟิสิกส์(Physics) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หรืออันตรกิริยาต่าง ๆ ของสสารหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ดาราศาสตร์(Astronomy) หมายถึง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับ เทหวัตถุท้องฟ้า โดยศึกษาถึง โครงสร้าง การกำเนิด การเคลื่อนที่ ธรณีวิทยา(Geology) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของโลก อุตุนิยมวิทยา(Meteorology) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการสังเกตการณ์ การศึกษาความเป็นมาและการพยากรณ์อากาศ

วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical science) เคมี(Chemistry) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง สมบัติ และองค์ประกอบของสสาร

วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical science) ฟิสิกส์(Physics) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หรืออันตรกิริยาต่าง ๆ ของสสารหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ

วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical science) ดาราศาสตร์(Astronomy) หมายถึง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับ เทหวัตถุท้องฟ้าโดยศึกษาถึง โครงสร้าง การกำเนิด การเคลื่อนที่

วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical science) ธรณีวิทยา(Geology) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของโลก

วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical science) อุตุนิยมวิทยา( Meteorology) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการสังเกตการณ์ การศึกษาความเป็นมาและการพยากรณ์อากาศ

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) พฤกษศาสตร์(Botany) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับพืช วิวัฒนาการ การจัดหมวดหมู่ของพืช ตลอดจนการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม สัตวศาสตร์(Zoology) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ วิวัฒนาการ การจัดหมวดหมู่ของสัตว์ ตลอดจนการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) พฤกษศาสตร์(Botany) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับพืช วิวัฒนาการ การจัดหมวดหมู่ของพืช ตลอดจนการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) สัตวศาสตร์(Zoology) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ วิวัฒนาการ การจัดหมวดหมู่ของสัตว์ ตลอดจนการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตร์พฤติกรรม(Behavioral Science) นิติศาสตร์(Legal Science) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดของกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมาย และความจำเป็นของการมีกฎหมาย เพื่อบังคับความประพฤติของคนในสังคม มนุษยศาสตร์(Anthropology) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และการแสดงออกเกี่ยวกับตัวเอง เป็นวิชาที่ว่าด้วยโลกภายในของมนุษย์ เช่นความรู้สึกนึกคิด จริยธรรม และการสื่อสาร รัฐศาสตร์(Political Science) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในการจัดระบบการเมือง การบริหาร กระบวนการทางการเมือง เศรษฐศาสตร์(Economics) หมายถึงการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ในเรื่องการทำมาหากินโดยแบ่งปันจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ทั้งในด้านการผลิต การแจกจ่าย และการบริโภค สังคมศาสตร์(Sociology) หมายถึงการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ในทางที่ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกัน ตลอดจนพฤติกรรมในการแข่งขัน

วิทยาศาสตร์พฤติกรรม(Behavioral Science) นิติศาสตร์(Legal Science) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดของกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมาย และความจำเป็นของการมีกฎหมาย เพื่อบังคับความประพฤติของคนในสังคม

วิทยาศาสตร์พฤติกรรม(Behavioral Science) มนุษยศาสตร์(Anthropology) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และการแสดงออกเกี่ยวกับตัวเอง เป็นวิชาที่ว่าด้วยโลกภายในของมนุษย์ เช่นความรู้สึกนึกคิด จริยธรรม และการสื่อสาร

วิทยาศาสตร์พฤติกรรม(Behavioral Science) รัฐศาสตร์ (Political Science) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในการจัดระบบการเมือง การบริหาร กระบวนการทางการเมือง

วิทยาศาสตร์พฤติกรรม(Behavioral Science) เศรษฐศาสตร์(Economics) หมายถึงการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ในเรื่องการทำมาหากินโดยแบ่งปันจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ทั้งในด้านการผลิต การแจกจ่าย และการบริโภค

วิทยาศาสตร์พฤติกรรม(Behavioral Science) สังคมศาสตร์(Sociology) หมายถึงการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ในทางที่ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกัน ตลอดจนพฤติกรรมในการแข่งขัน

วิทยาศาสตร์ประยุกต์(Applied Science) วิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นการนำความรู้ที่ได้จากวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มาประดิษฐ์ แก้ไข ปรับปรุง ดัดแปลง เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่มนุษย์ โดยพยายามจะตอบคำถาม “อย่างไร” รวมทั้งเพื่อก่อให้เกิดอารยธรรม และวัฒนธรรมทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ อาจรวมความรู้ในทางวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

วิทยาศาสตร์ประยุกต์(Applied Science) เกษตรศาสตร์(Agricultural Science) เป็นวิชาที่นำความรู้ในทางชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ มาประยุกต์ใช้ประกอบกันแล้วแต่ลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาการเกษตรใหม่ขึ้น เช่นการตัดแต่งยีน การปรับปรุงพันธุ์พืชต่าง ๆ วิศวกรรมศาสตร์(Engineering Science) เป็นวิชาที่นำความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ มาประดิษฐ์ คิดค้น เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แพทยศาสตร์(Medical Science) เป็นวิชาที่นำความรู้ทางเคมีมาใช้เกี่ยวกับการปรุงและการใช้สารเคมีให้เป็นสมบัติในการป้องกัน รักษา คือยานั่นเอง นอกจากนี้ยังใช้ความรู้ทางชีววิทยาเพื่อศึกษาเชื้อโรค ตลอดจนเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยก็ต้องอาศัยหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์ด้วยเช่นกัน

วิทยาศาสตร์ประยุกต์(Applied Science) เกษตรศาสตร์(Agricultural Science) เป็นวิชาที่นำความรู้ในทางชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ มาประยุกต์ใช้ประกอบกันแล้วแต่ลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาการเกษตรใหม่ขึ้น เช่นการตัดแต่งยีน การปรับปรุงพันธุ์พืชต่าง ๆ

วิทยาศาสตร์ประยุกต์(Applied Science) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering Science) เป็นวิชาที่นำความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ มาประดิษฐ์ คิดค้น เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของมนุษย์

วิทยาศาสตร์ประยุกต์(Applied Science) แพทยศาสตร์(Medical Science) เป็นวิชาที่นำความรู้ทางเคมีมาใช้เกี่ยวกับการปรุงและการใช้สารเคมีให้เป็นสมบัติในการป้องกัน รักษา คือยานั่นเอง นอกจากนี้ยังใช้ความรู้ทางชีววิทยาเพื่อศึกษาเชื้อโรค ตลอดจนเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยก็ต้องอาศัยหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์ด้วยเช่นกัน

คำถาม 1. ถ้านักศึกษาตั้งสมมติฐานว่า ระดับความลึกของน้ำมีผลต่อการออกดอกของบัววิกตอเรีย(บัวกระด้ง) นักศึกษาจะออกแบบการทดลองอย่างไร ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (the process of science) 1.1 ตัวแปรต้น มีดังนี้ 1.2 ตัวแปรอิสระ(ตัวแปรควบคุม) มีดังนี้ 1.3 ตัวแปรตาม มีดังนี้ 1.4 ออกแบบขั้นตอนการทดลองได้ดังนี้ 2. การทำโคลนนิ่งเป็นเทคโนโลยีด้านใด 3. ปัจจุบันมีการตัดแต่งยีนของพืชบางชนิดเพื่อให้มีลักษณะที่ดี เพราะเหตุใดจึงมีผู้ต่อต้าน