สุนทรียศาสตร์พื้นฐาน หน่วยที่ 1
การปลดปล่อยใจ หรือความรู้สึกให้เคลิ้มไปกับการรับรู้ความงามในบางช่วงเวลา การได้รับรู้ผลงานศิลปะผ่านประสาทสัมผัส ซึ่งทำให้เรารู้สึกซาบซึ้ง สะเทือนใจ หรือหดหู่ จากการอ่านบทประพันธ์ หรือบทกวีที่ซาบซึ้งกินใจ ได้ฟังเพลงที่มีจังหวะลีลา ทำนองไพเราะ รวมถึงได้ชื่นชมการแสดงอันก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นเพราะ ประสบการณ์ทางการรับรู้
ประสบการณ์ทางการรับรู้ความงามเหล่านี้ ก่อให้เกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกขึ้นในจิตใจแม้ในบางครั้งเราจะไม่สามารถอธิบายความรู้สึกและอารมณ์ที่มี ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ประสบการณ์เช่นนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับ ประสบการณ์ทางสุนทรียะ ซึ่งเป็นที่มาของการรับรู้ทางสัมผัส ที่เกี่ยวพันกับเรื่องความงามหรือ “สุนทรียศาสตร์”
บริบททางสุนทรียศาสตร์ วิชาสุนทรียศาสตร์ Aesthetics เป็นสาขาหนึ่งของอรรฆวิทยา เน้นการศึกษาด้านคุณค่า ทั้งทางจริยะ คือความดี และคุณค่าทางตรรกะ หรือคุณค่าทางความจริง ส่วนคุณค่าทางสุนทรียะ เป็นคุณค่าทางอารมณ์ ความรู้สึกว่าสิ่งใดงาม สิ่งใดไม่งาม การรับรู้และชื่นชมความงาม เป็นที่ทราบกันดีว่า สุนทรียภาพ เป็นเรื่องของจิตพิสัย ซึ่งแต่ละคนย่อมให้คุณค่าสุนทรียภาพแตกต่างกันไป
“ความงาม ความดี ความจริง เป็นสิ่งเดียวกัน” มโนทัศน์ของสุนทรียศาสตร์ มุ่งเน้นการศึกษาที่เป็นความงามในธรรมชาติ หรือความงามทางศิลปะ ด้วยถือว่าความงามเป็นวิถีหนึ่งที่อาจเป็นพาหนะนำไปสู่ความดี และสุดท้ายก็นำเข้าสู่สภาวะความจริง “ความงาม ความดี ความจริง เป็นสิ่งเดียวกัน” – พระยาอนุมานราชธน –
ปัญหาที่สำคัญของสุนทรียศาสตร์ มาจากการแบ่งแยกโลกแห่งการรับรู้ของมนุษย์ คือปัญหาเกี่ยวกับความงาม และศิลปะ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการรับรู้ของมนุษย์
การศึกษาทางสุนทรียศาสตร์ จึงครอบคลุมวัตถุต่าง ๆ ทั้งศิลปะและความงามตามธรรมชาติ รวมถึงกระบวนการรับรู้ หรือประสบการณ์ทางสุนทรียะของมนุษย์ที่มีต่อวัตถุต่าง ๆ โดยมีระเบียบแบบแผนในการศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ความรู้สึกทางการรับรู้หรือ สัญชาน Perception จึงมีความเป็นส่วนตัวสูง ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล สัญชานจึงมีไม่เท่ากันในมนุษย์แต่ละคน ความรู้สึกทางความรู้สึก และชื่นชมความงาม เป็นสุนทรียภาพของอัตวิสัย ซึ่งแต่ละคนย่อมให้คุณค่าสุนทรียภาพแตกต่างกันออกไป
นิยามของคำว่าสุนทรียศาสตร์ “สุนทรียะ” แปลว่า “งาม” และ “ศาสตร์” แปลว่า “วิชา” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) Aesthetics เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ อเล็กซานเดอร์ เบามว์การ์เทน ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งแยกออกจากทฤษฏีความรู้หรือญาณวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์
ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์ 1. ปัญหาเรื่องความงาม นักสุนทรียศึกษามีความเห็นว่า สุนทรียภาพอาจไม่ใช้ความสวยงามเพียงอย่างเดียว ความโศกเศร้า ความน่าเกลียด ความขบขัน และความน่าพิศวง ก็ทำให้เกิดอารมณ์สุนทรียะได้เช่นกัน
ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์ ความหมายในสภาวะของความงาม ความสุนทรีย์ เกิดขึ้นในตัวบุคคลใดนั้น เป็นความรู้สึกที่บริสุทธิ์โดยไม่ประสงค์สิ่งใด เป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้น จากการสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะการสัมผัส งานศิลปะในห้วงเวลาหนึ่ง ลักษณะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะจำแนกออกได้ดังนี้ รู้สึกพอใจ // รู้สึกไม่พอใจ // รู้สึกเพลิดเพลินใจ // รู้สึกทุกข์ใจ // รู้สึกกินใจ อารมณ์ หรือ ความรู้สึกดังกล่าวนี้ จะพาให้เกิดอาการลืมตัว เคลิบเคลิ้ม คล้อยตามความรู้สึกนั้น
ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์ 2. ปัญหาเรื่องประสบการณ์ทางสุนทรียะภาพ 3. ปัญหาเรื่องคุณสมบัติทางสุนทรียะ 4. ปัญหาเรื่องคุณค่า
ประสบการณ์สุนทรียะ มีลักษณะพิเศษต่างจากประสบการณ์ทั่ว ๆ ไป การรับรู้ประสบการณ์ทางสุนทรียะนั้นเกี่ยวพันกับสุนทรียเจตคติ ประสบการณ์สุนทรียะเป็นผลของการรับรู้ระดับสัญชาน เป็นลักษณะของการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปราศจากความสนใจต่อผลประโยชน์
ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์ มิติสำคัญ ในประเด็นปัญหาเรื่องประสบการณ์ทางสุนทรียะ 1. มิติในเชิงประเมินคุณค่า พื้นฐานของประสบการณ์สุนทรียะนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า น่าพึงพอใจ และควรค่าแก่การได้มาหรือได้บรรลุถึงในประสบการณ์นั้น 2. มิติในเชิงปรากฏการณ์ ประสบการณ์ทางสุนทรียะเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน 3. มิติในเชิงความหมาย เป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความหมายมิใช่เพียงการรับรู้ด้านสัมผัส พลังด้านอารมณ์ความรู้สึกและความหมายของประสบการณ์ได้ร่วมกัน 4. มิติในเชิงนิยาม-แบ่งแยกขอบเขต ประสบการณ์ทางสุนทรียะเป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากประสบการณ์อื่น ๆ
เกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ 1. กลุ่มที่ใช้ตนเองเป็นตัวตัดสิน เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ จิตพิสัยหรืออัตวิสัย ” ( Subjectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ความรู้ ความจริงและความดีงามทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงในตัวเอง หากแต่เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเท่านั้น 2. กลุ่มที่เชื่อว่า มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวที่จะใช้ตัดสินได้ เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ วัตถุพิสัยหรือปรวิสัย ” ( Objectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า มีเกณฑ์มาตรฐานตายตัวแน่นอนในทางศิลปะ ซึ่งสามารถนำไปตัดสินผลงานได้ในทุกสมัย เกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกใครหรือศิลปินคนไหน กลุ่มนี้มีความเชื่ออีกว่า สุนทรียธาตุมีอยู่จริง
การตัดสินคุณค่าความงามสามแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นเพียงขั้นแรก 3. กลุ่มที่เชื่อว่า หลักเกณฑ์ในการตัดสินสุนทรียศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “สัมพัทธพิสัย” (Relativism) เป็นกลุ่มที่มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มจิตพิสัย แต่ต่างกันตรงที่กลุ่มสัมพัทธพิสัยนั้นมีความเชื่อว่า กฎเกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม การตัดสินคุณค่าความงามสามแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นเพียงขั้นแรก ในการเข้าสู้ความซาบซึ้งของสุนทรียภาพในสิ่งแวดล้อมทั่วไปเท่านั้น ถ้าศึกษาต่อจะพบว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ที่แท้จริงนั้น คือการศึกษาเกี่ยวกับ ศิลปะ(Art) โดยทั่วไป
สุนทรียศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ด้าน 1. สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญา เน้นอารมณ์ความรู้สึกจินตนาการ ประสบการณ์เชิงสุนทรียะ ที่เป็นการรับรู้ผ่านกระบวนการของอารมณ์ความรู้สึก 2. สุนทรียศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เน้นที่เหตุผล ตรรกะ แบบแผน สองขั้วซ้ายและขวาที่แตกต่างกัน มีระดับของความเชื่อ ระดับของการรับรู้และชื่นชมต่างกัน เราอาจรับรู้หรือมีจุดยืนตรงกลาง หรือโน้มเอียง จึงต้องอาศัยประสบการณ์เชิงตรรกะ