บทที่ 14 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
วิชาโครงการ รหัส & ระดับ ปวช. และ ปวส.
กระบวนการของการอธิบาย
ธนาคารมูลฝอยเคลื่อนที่
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ใช้เพื่อคลิ๊กไปสู่ หน้าถัดไป ใช้เพื่อคลิ๊กกลับ หน้าเดิม ใช้เพื่อคลิ๊กกลับสู่ หน้าหลัก ใช้คลิ๊กเมื่อต้องการ ออกจากระบบ.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
ทฤษฏีการเรียนรู้ กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ระดับความเสี่ยง (QQR)
การรักษาดุลภาพของเซลล์
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
มาทำความรู้จักกับ เห็ดปลวกฟาน.
มาทำความรู้จักกับ มาทำความรู้จักกับ เห็ดหูหนูขาว.
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
สารควบคุมการเจริญเติบโต
ชุดที่ 1 ไป เมนูรอง.
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
งานสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
Instruction design แผนจัดการเรียนรู้ Active Learning
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
พฤติกรรม (Behavior) สิ่งเร้า ภายนอก ภายใน
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิธีการกำหนดค่า Microsoft SharePoint ของคุณ เว็บไซต์ออนไลน์
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ทรัพยากรสัตว์ป่า.
แผ่นดินไหว.
บทที่ 12 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล่าวไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมดทุกท่าน ซึ่งท่านแรก ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ.
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อ.ปิยะพงศ์ ผลเจริญ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
หลุยส์ ปาสเตอร์.
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
Structure of Flowering Plant
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
ค่ารูรับแสง - F/Stop ค่ารูรับแสงที่มีค่าตัวเลขต่ำใกล้เคียง 1 มากเท่าไหร่ ค่าของรูรับแสงนั้นก็ยิ่งมีความกว้างมาก เพราะเราเปรียบเทียบค่าความสว่างที่ 1:1.
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย (Simple harmornic motion)
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
สื่อการเรียนรู้เรื่อง ความงามของศิลปะด้าน จิตรกรรม โดย นายกิตติพงษ์ คงโต โรงเรียนหนองกรดพิทยาคม.
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
การวิเคราะห์สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กบริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลอง WRF.
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 14 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช ชีววิทยา เล่ม 3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี เนื้อหาสาระ สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม คำถามท้ายบทที่ 14 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล ทดลอง อธิบาย อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และการตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช ในฤดูหนาวเราจะเห็นดอกทานตะวันสีเหลืองสดใสบานเต็มทุ่ง การเจริญเติบโตของเมล็ดทานตะวันจนมาเป็นต้นพืชที่มีดอกสวยงามเช่นนี้ เกิดจากการทำงานของสารเคมีหลายชนิดที่ควบคุมการเจริญเติมโต นอกจากนี้ยังสังเกตได้ว่าตอนเช้าดอกทานตะวันจะหันดอกเข้าหาดวงอาทิตย์ แสดงว่าดอกทานตะวันสามารถตอบสนองต่อทิศทางของแสงได้ สิ่งที่น่าสงสัยก็คือ สารเคมีเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างไรและการควบคุมการตอบสนองของพืชอย่างไรนอกจากแสงแล้วพืชยังสามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกอื่นๆอีกได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้นักเรียนจะหาคำตอบได้จากบทเรียนต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

14.1 สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช 14.1 สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 นักเรียนได้ทราบมาแล้ว การเจริญเติบโตของพืชจำเป็นต้องอาศัยน้ำแสงและสารอาหารต่างๆ ที่เหมาะสม ในบางกรณีถึงแม้พืชจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติมโตในปริมาณที่เพียงพอและได้รับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เหมาะสมแล้วก็ตามพืชก็ไม่สามารถเจริญเติมโตได้ตามปกติ ในการเจริญเติบโตของพืชจะต้องมีการสร้างสารหรือปัจจัยบางอย่างที่ควบคุมการเจริญเติบโตให้เป็นไปตามปกติเช่นเดียวกับสัตว์และมนุษย์ จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบว่ามีสารบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการควฐคุมการเจริญเติบโตของพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กิจกรรมที่ 14.1 การตอบสนองต่อแสงของปลายโคลีออพไทล์ วัสดุอุปกรณ์ 1.เมล็ดข้าวโพด 2.กระบะเพาะเมล็ด 3.ภาชนะและวัสดุสำหรับปลูก เช่น กระถาง ดิน ขุยมะพร้าว เป็นต้น 4.กล่องกระดาษทึบ 5.กระดาษตะกั่วหรือกระดาษสีดำ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กิจกรรมที่ 14.1 การตอบสนองต่อแสงของปลายโคลีออพไทล์ วิธีการดำเนินการ 1.เพาะเมล็ดในกระบะเพาะเมล็ดโดยเก็บไว้ในที่มืด 1-2วันจนเมล็ดข้าวโพดงอกมีโคลีออพไทล์ สูงประมาณ 2 cm นำมาปลูกลงในภาชนะ สำหรับปลูกจำนวน9ต้นโดยแบ่งปลูกเป็น กลุ่มล่ะ3ต้น กลุ่มที่1ตัดปลายโคลีออพไทล์ประมาณ0.5-1 cm (หมายเลข1) กลุ่มที่2นำกระดาษตะกั่วหรือกระดาษที่มีสีดำ พับเป็นหมวกครอบปลายโคลีออพไทล์ไว้(หมายเลข2) กลุ่มที่3อยู่ในสภาพปกติ(หมายเลข3) 2.นำกล่องกระดาษทึบเจาะรู้ด้านหนึ่งของกล่อง ให้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง2cmและอยู่ในระดับเดียวกับปลายโคลีออพไทล์ ของข้าวโพดนำกล่องมาครอบกระถ่างที่ปลูกต้นกล้าของข้าวโพด 3.ตั้งการทดลองนี้ไว้ใกล้หน้าต่าง หรือโคมไฟประมาณ1วันแล้วนำกล่องที่ครอบกระถ่างออกและสังเกตผลการทดลองและบันทึกข้อมูล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กิจกรรมที่ 14.1 การตอบสนองต่อแสงของปลายโคลีออพไทล์ คำถาม การเจริญของต้นกล้าของโพดทั้ง3กลุ่มเหมื่อนหรือแตกต่างกันอย่างไร ตอบ ต่างกัน กลุ่มที่1 ตัดปลายโคลีออพไทล์ออกจะหยุดการเจริญเติบโตและไม่โค้งงอเข้าหาแสง กลุ่มที่2 พืชหันเข้าหาแสงและเจริญเติบโตได้ กลุ่มที่3 สามารถเจริญเติบโตได้ดีและเข้าหาแสง นักเรียนสรุปผลการทดลองนี้ว่าอย่างไร ตอบ ต้นกล้าของพืชโค้งงอเข้าหาแสงจากโคมไฟได้เฉพาะต้นกล้าที่มีส่วนปลายโคลีออพไทล์ ที่สามารถรับแสงได้อยู่ แต่ถ้าไม่มีโคลีออพไทล์ พืชจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้และไม่โค้งงอเข่าหาแสง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1  การทดลองของชาลส์ ดาร์วิน(Charles Darwin) และฟรานซิส ดาร์วิน(Francis Darwin)ในปี พ.ศ. 2423 ชาลส์ ดาร์วินและฟรานซิว การ์วิน ได้ทดลองกับต้นกล้าของหญ้า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 ซากากการทดลองในภาพนี้ชาลส์ ดาร์วิน และฟรานซิส ดาร์วิน สรุปได้ว่าปลายยอดเป็นส่วนรับแสงทำให้ต้นกล้าเอนเข้าหาแสงได้ ปัญหาที่น่าสงสัยต่อมาคือ ปลายยอดพืชตอบสนองต่อแสงได้อย่างไร การทดลองของบอยเซนและเจนเซน (Boysen and Jensen ) ในปี พ.ศ. 2456 บอยเซน และเจนเซน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

14.1  ต่อมาบอยเซนและเซนได้ทำการทดลองเพิ่มเติม

14.1 จากการทดลองของบอยเซนและเจนเซน ทั้ง 2 การทดลองแสดงให้เห็นว่ามีสารส่งมาจากปลายยอดของพืชลำเลียงมายังด้ายล่างไปควบคุมให้ยอดพืชโค้งงอเข้าหาแสงและสารนี้จะเคลื่อนที่หนีแสงไปยังด้านตรงข้ามกับทิศทางของแสง ในปี พ.ศ. 2456 นักวิทยาศาสตร์ชาวฮังการีชื่อ อาร์แพด ปาล (Arpad Paal ) ทำการทดลองในที่มืดดังภาพ

14.1 ต่อมามีผู้อธบายว่าที่ปลายโคลีออพไทล์พืชโค้งเข้าหาแสงได้เนื่องจากบริเวณยอดแรกเกิดหรือพลูมูล(plumule) จะสร้างสารและแสงจะทำให้สารนี้แพร่จากด้านที่มีแสงมากไปด้านที่มีแสงน้อยทำให้เซลล์บริเวณที่ถูกแสงน้อยมีปริมาณสารนี้มากและจะไปกระต้นให้เกิดเซลล์บริเวณนี้ขยายตัวตามยาว สิ่งที่น่าสงสัยต่อไปก็คือ ความเข้มของสารที่โคลีออพไทล์สร้าง มีผลต่อการโค้งงอของโคลีออพไทล์พืชหรือไม่

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 ในปี พ.ศ. 2469 นักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ ชื่อ ฟริตส์ เวนต์(FritsWent) ตั้งสมมติฐานว่าถ้าปลายยอดสร้างสารควบคุมกาตอบสนองต่อแสงได้ ก็น่าจะสะสมสารนี้บนแผ่นวุ้นได้ เวนต์จึงได้ทดลองตัดปลายยอดของต้นกล้าข้าวโอ๊ด นำไปวางบนวุ้นที่ตัดเป็นแผ่นเล็กๆไว้สักครู่หนึ่ง แล้วนำชิ้นวุ้นไปวางลงบนต้นกล้าของอีกต้นหนึ่งที่ตัดปลายยอดออกไปแล้วได้ผลการมดลองเป็นดังภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 จากการทดลองของเวนต์ แสดงให้เห็นว่าความโค้งงอของยอดข้าวโอ๊ด สัมพันธ์กับความเข้มข้นของสารที่มีอยู่ในแผ่นวุ้น เวนต์ เรียกสารนี้ว่าออกซิน (auxin) ออกซินในพืชมีการเคลื่อนย้ายอย่างมีทิศทางจากปลายยอดลงสู่ด้านบน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองเพื่อเกี่ยวกับสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิดซึ่งต่อมาเรียกว่าฮอร์โมนพืช (plant hormone) ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาภาพการทดลองต่างๆ ต่อไปนี้แล้วสรุปว่าฮอร์โมนพืชเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพืชในเรื่องใดบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 ไซโทไคนินเป็นฮอร์โมนของพืชที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว โดยสารนี้มีความสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ ซึ่งต่อมาพบว่าสารนี้คือ 6-furfuryladenine เป็นสารที่มีสูตรโครงสร้างแบบพูรีน (Purine) จากคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้จึงเรียกสารนี้ว่าไคเนติน (Kinetin) หลังจากนั้นก็มีผู้พบสารที่มีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายกับไคเนตินอีก หลายชนิด จึงรวมเรียกสารเหล่านี้ว่าไซโตไคนิน ไซโตไคนินที่พบในพืชคือ ซีอะติน (Zeatin) แหล่งสร้างไซโตไคนินในพืชที่อยู่ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก นอกจากนี้พบในรูปสารอิสระในเอมบริโอ และผลที่กำลังเจริญเติบโต ผลของไซโตไคนินกับพืชจะเกิดร่วมกับสารกระตุ้นการทำงาน (co-factor) อื่นๆ ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ไซโตไคนินจะไม่แสดงผลกับพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ไซโทไคนิน ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=Rcx-AGMTFJU

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ บทบาททางสรีรวิทยาที่สำคัญของจิบเบอเรลลินคือช่วยเพิ่มความสูงของพืชที่เกิด จากการยืดตัวของข้อ การค้นพบจิบเบอเรลลินเริ่มจากการศึกษาต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanae ซึ่งมีลักษณะสูง ผอม เกิดจากเชื้อรา Gibberella fujikuroi ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2471 เมื่อสกัดสารที่เชื้อรานี้สร้างขึ้นไปทดสอบกับพืชชนิดอื่นพบว่าทำให้พืชนั้นๆมีอาการอย่างเดียวกันคือต้นผอม สูง จึงตั้งชื่อสารที่พบนี้ว่าจิบเบอเรลลิน สารที่พบชนิดแรกตั้งชื่อว่าจิบเบอเรลลินเอ ต่อมามีการพบอนุพันธ์ของกรดจิบเบอเรลลิกจากราอีกหลายชนิด การสกัดสารจิบเบอเรลลินจากพืชทำได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยแยกได้จากเมล็ดถั่วในปริมาณที่ต่ำมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

จิบเบอเรลลิน ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=QBCDbqkkWyA

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 เอทิลีน (ethylene) 1.การสร้าง ethylene ของต้นไม้ และผลของมันจะเกิดขึ้นสัมพันธ์กับการสร้าง auxin และผลของ auxin ขณะที่ผลไม้เจริญเติบโตมันจะถูกกระตุ้นด้วย auxin, gibberellins และ cytokinins ระดับของ auxin ที่พืชสร้างขึ้นมาจะมีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสูงถึงระดับหนึ่งมันจะไปกระตุ้นให้พืชสร้าง ethylene ออกมา ethylene จะไปกระตุ้นกิจกรรมของ enzymes หลายชนิดเพื่อให้เกิดกระบวนการสุกของผลไม้ 2.แป้งและกรดในผลไม้ที่ยับดิบอยู่ถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล 3.เอนไซม์ pectinase จะไปทำลาย pectins ที่ผนังเซลล์ทำให้เนื้อผลไม้นิ่ม ethylene จะทำให้เกิดการเปลี่ยน permeability ของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เอนไซม์ที่ทำลาย chlorphyll ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปใน chloroplasts และไปสลาย chlorophyll ฉะนั้น สีแดง สีเหลือง ของผลไม้ก็จะปรากฏออกมา ผลไม้สุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง สีเหลือง เนื้อจะนิ่ม และรสหวาน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 4. Ethylene ที่ถูกปล่อยออกมาจะเป็น positive feed back ยิ่งมี ethylene มาก ก็จะไปกระตุ้นผลไม้สร้าง ethylene มากขึ้นซึ่งจะไปทำให้ผลไม้สุกพร้อมกัน ขณะที่ผลไม้เริ่มจะสุกจะสร้าง ethylene ออกมาจำนวนมาก ขณะเดียวกันผลไม้ก็สร้าง CO2 ออกมาด้วย เมื่อปริมาณ CO2 มีระดับสูงจะไปยับยั้งการสร้าง ethylene ทำให้มีออกมาน้อยทำให้ผลไม้ยังไม่สุกเต็มที่ เมื่อ CO2 มีปริมาณลดลง ethylene จะมีปริมาณสูงขึ้นทันทีทำให้ผลไม้สุกเต็มที่จนสุกงอมและเริ่มเน่าซึ่งขณะนี้ CO2 มีระดับต่ำ และมีก๊าซ ethylene ระดับสูง 5. เวลาขนส่งแอปเปิลเขาจะบรรจุในห้องเย็นที่อากาศเข้าไปไม่ได้และใส่ก๊าซ CO2 ไว้ในห้องเย็น CO2 จะไปยับยั้งบทบาทของ ethylene ฉะนั้นแอปเปิลจะไม่สุก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

เอทิลีน ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=COoOkT2YHr8

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1 กรดแอบไซซิก ( abscisic acid ) 1. ทำให้การเติบโตของพืชช้าลง 2. ทำให้เกิดการพักตัว (dormancy) ของเมล็ดธัญญพืช (cereal grains) โดยไปยับยั้งการทำงานของ alpha-amylase ใน endosperm 3. ชักนำให้ตาและเมล็ดพืชพัก   ตัว และคงสภาพการพักตัวอยู่ตลอด(induces and maintains dormancy) ถ้าเมล็ดยังสร้าง abscisic acid อยู่ 4. กระตุ้นการแก่ของใบ (leaf senescence) 5.  กระตุ้นการปิดปากใบขณะที่ขาดน้ำ ลดการสูญเสียน้ำ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.1  6.  เร่งการร่วงของใบ ดอกและผล โดยไปเร่งให้ abscission layer ที่ก้านของใบ ดอก และผลแยกตัวออกจากก้านของต้นเร็วขึ้น ทำให้ใบ ดอก ผล หลุดร่วงในธรรมชาติถ้าใบอ่อนและผลยังสร้าง auxin อยู่จะทำให้มันติดอยู่กับก้านของต้น เนื่องจากเนื้อเยื่อที่ตรงก้านใบ และก้านผล ที่ติดกับเนื้อเยื่อก้านของต้นจะมีชั้นของเซลล์คั่นอยู่เรียกว่า abscission layer ยังไม่แยกตัวออก แต่เมื่อ auxin ลดปริมาณลง abscission จะแยกตัวออก ทำให้ใบ ดอก และผลหลุดร่วงลงสู่พื้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กรดแอบไซซิก ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=n_RlE8j0mBU

14.2 การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม 14.2 การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม จากที่กล่าวมาแล้วเป็นการตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อมภายใน นอกจากนี้พืชยังสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก ต่างๆ ได้ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและกระตุ้นให้พืชตอบสนองนี้ เรียกว่าสิ่งเร้า โดยทั่วไปปัจจัยกระตุ้นจะชักนำให้กระบวนการในพืชดำเนินไป แม้ว่าปัจจัยกระตุ้นนั้นอาจไม่อยู่ในสภาพเริ่มต้น หรือหมดไปแล้ว เช่น ปลายยอดจะเจริญโค้งเข้าหาแสงแม้ว่าแสงที่กระตุ้นในช่วงแรกนั้นจะไม่มีแล้ว        การตอบสนองของพืชต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกจะ มีกระบวนการเช่นเดียวกับกระบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์ที่นักเรียนทราบมาแล้ว ดังนี้          การรับสัญญาณ คือ การที่พืชหรือส่วนของพืชรับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้น เช่น กลไกการรับแสงของสารสีในกระบวนการตอบสนองต่อทิศทางของแสง เป็นต้น            การส่งสัญญาณ คือ การที่กลไกรับสัญญาณในพืชส่งสัญญาณที่รับได้ไปให้เซลล์ในส่วนของพืชที่ตอบ สนองต่อปัจจัยกระตุ้นนั้น ในช่วงศตวรรษนี้นักวิจัยได้พยายามศึกษาลักษณะของสัญญาณที่ส่งไป ซึ่งรวมทั้งกระแสไฟฟ้า และสารเคมีต่างๆ              ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.2 การตอบสนองของพืช คือ การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของพืชที่ทำให้เกิดการตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้น พืชตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นในหลายรูปแบบ ซึ่งรวมทั้งการตอบสนองทางชีวเคมี สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา เป็นต้น แต่การตอบสนองที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดคือ การเคลื่อนไหว การตอบสนองของพืชที่แสดงออก ให้เห็นลักษณะของการเคลื่อนที่ อาจแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ 1. ทรอปิกมูฟเมนต์ (tropic movement) หรือการเบน (tropism) เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตของพืชอย่างมีทิศทางที่สัมพันธ์กับสิ้งเร้าภายนอก -การตอบสนองต่อสารเคมี เช่นการงอกของหลอกเรณู -การตอบสนองต่อการสัมผัสสิ่งเร้า เช่นการเกี่ยวพันของมือเกาะของตำลึง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 14.2 2. แนสติกมูฟเมนต์ (nastic movement) เป็นการเคลื่อนไหวของพืชที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างไม่มีทิศทางที่แน่นอนที่สัมพันธ์กับสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวของพืชแบบนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเต่ง หรือการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำภายในเซลล์ เช่นโคนก้านใบมีลักษณพองออกเป็นกระเปาะเรียกว่า พัลไวรัส ของใบไมยราบ ที่มีขนาดใหญ่ผนังเซลล์บางมีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กิจกรรมที่14.2การตอบสนองของพืชต่อแรงโน้มถ่วง วัสดุอุปกรณ์ 1. เมล็ดถั่วดำหรือถั่วแดง 2. กล่องพลาสติกใส 3. กระดาษเยื่อ และกระดาษลูกฟุก 4. เข็มหมุด 5. พลาสติกสีดำ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กิจกรรมที่14.2การตอบสนองของพืชต่อแรงโน้มถ่วง วิธีการทดลอง 1.นำเมล็ดถั่วดำ หรือเมล็ดถั่วแดงขนาดใหญ่แช่น้ำ 1 คืนแล้วเลือกเมล็ดที่กำลังงอกที่ขนาดเท่ากันจำนวน 6 เมล็ด 2. เตรียมกล่องพลาสติกใส แล้วนำกระดาษเยื่อวางในกล่องพลาสติสพรมน้ำพอชื้อแล้วปูด้วยกระดาษลูกฟุกให้ความยาวของกระดาษเท่ากับความยาวของกล่องพลาสติก ส่วนด้านกว้างน้อยกว่าความกว้างกล่องพลาสติก 0.5 cm. 3. ใช้เข็มหมุดตรึงเมล็ดถั่วกับกระดาษลูกฟุกที่อยู่ในกล่องให้อยู่กับที่ในตำแหน่งต่างๆกัน ปิดฝากล่องและตะแคงกล่อง 4. นำพลาสติกสีดำมาคลุมกล่องพลาสติกใสหรือนำไปเก็บไว้ที่มืด 5. สังเกตการเจริญเของต้นกล้าทุกๆ วันเป็นเวลา 3 วัน วาดภาพทุกครั้งที่สังเกต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

คำถามกิจกรรมที่14.2การตอบสนองของพืชต่อแรงโน้มถ่วง การทดลองนี้มีสมมติฐานว่าอย่างไร ตอบ พืชจะงอตามแสง ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรควบคุมของการทดลองนี้คืออะไร ตอบ ต้นแปรต้น แสง ตัวแปรตาม ทิศทางการงอของต้นพืช ตัวแปรควบคุมอากาศ แรงโน้มถ่วง นักเรียนจะอธิบายและสรุปการทดลองนี้ว่าอย่างไร ตอบ จากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้พืชเคยการตอบสนอง ในการทดลองถ้าไม่ใช้พลาสติกสีดำมาคุมกล่อง ผลการทดลองจะเหมือนกันหรือไม่ ตอบ ไม่เหมือนกัน เนื่องจากพืชจะงอลงตามแรงโน้มถ่วง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 14 1.มีผู้ศึกษาการงอกของมันฝรั่ง พบว่าเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมจะงอกต้นเล็กๆ จากหัวดังภาพที่ 1 และถ้าตัดยอดต้นมันฝรั่งที่งอกออกมาพบว่าจะเกิดต้นเล็กๆ จากตาที่อยู่ถัดไปดังภาพที่ 2 แต่ถ้าตัดหัวมันฝรั่งออกเป็นส่วนๆ ตามขวางโดยให้แต่ละส่วนมีตาติดอยู่ ผลการทดลองจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 14 2. ถ้าปักชำพืชให้งอกรากเร็วขึ้น โดยเอาไปจุ่มออกซิน ก่อนนำไปปลูก นักเรียนคิดว่า ออกซิน ควรเข้มข้นประมาณเท่าใด 3. จงศึกษาการทดลองนี้แล้วตอบคำถามมีผู้ทดลองเพาะต้นกล้าของถั่วพันธุ์เตี้ย กับถั่วพันธุ์สูง ตัดยอดออก แล้วนำแผ่นวุ้นไปวางดังการทดลองในภาพ เมื่อทดลองไป 2 สัปดาห์ พบว่าการทดลองที่ 1 และ 3 ต้นถั่วมีความสูงขึ้นมาก พอๆกัน แต่ชุดการทดลองที่ 2 มีความสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นักเรียนสรุปผลการทดลองอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 14 4. ในการเตรียมอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  จะต้องใส่ทั้งออกซิน และไซโทไคนิน เพราะเหตุใด 5.  ถ้าตัดปลายโคลีออฟไทล์ ต้นกล้าของข้าวโพดไปวางบนแผ่นวุ้น แล้วนำวุ้นมาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แล้วทำการทดลองกับต้นกล้าข้าวโพด 2 ต้น ที่ตัดปลายโคลีออพไทล์ออก ดังในภาพ 5.1 ผลการทดลองจะเป็นเช่นไร เพราะเหตุใด 5.2 ถ้านำการทดลองไปไว้ในที่มืด ผลการทดลองจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี เฉลยคำถามท้ายบทที่ 14 1.มีผู้ศึกษาการงอกของมันฝรั่ง พบว่าเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมจะงอกต้นเล็กๆ จากหัวดังภาพที่ 1 และถ้าตัดยอดต้นมันฝรั่งที่งอกออกมาพบว่าจะเกิดต้นเล็กๆ จากตาที่อยู่ถัดไปดังภาพที่ 2 แต่ถ้าตัดหัวมันฝรั่งออกเป็นส่วนๆ ตามขวางโดยให้แต่ละส่วนมีตาติดอยู่ ผลการทดลองจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด ตอบ ผลการทดลองพบว่าชิ้นส่วนที่ตัดออก ตาที่ติดอยู่จะงอกเป็นต้นเล็กๆ เพราะไม่มีออกซิน มายับยั้งการเจริญของตา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี เฉลยคำถามท้ายบทที่ 14 2. ถ้าปักชำพืชให้งอกรากเร็วขึ้น โดยเอาไปจุ่มออกซิน ก่อนนำไปปลูก นักเรียนคิดว่า ออกซิน ควรเข้มข้นประมาณเท่าใด ตอบ ควรมีความเข้มข้น 10-5 ppm ถึง 10-3 ppm 3. จงศึกษาการทดลองนี้แล้วตอบคำถามมีผู้ทดลองเพาะต้นกล้าของถั่วพันธุ์เตี้ย กับถั่วพันธุ์สูง ตัดยอดออก แล้วนำแผ่นวุ้นไปวางดังการทดลองในภาพ เมื่อทดลองไป 2 สัปดาห์ พบว่าการทดลองที่ 1 และ 3 ต้นถั่วมีความสูงขึ้นมาก พอๆกัน แต่ชุดการทดลองที่ 2 มีความสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นักเรียนสรุปผลการทดลองอย่างไร ตอบ การทดลองนี้สรุปได้ว่า  เมล็ดถั่วถึงแม้จะเป็นพันธุ์เตี้ยแต่ถ้าหากได้รับจิบเบอเรลลิน ก็สามารถเจริญเติบโต ขยายตัวตามยาวทำให้ลำต้นสูงขึ้นใกล้เคียงกับถั่วพันธุ์สูง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี เฉลยคำถามท้ายบทที่ 14 4. ในการเตรียมอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  จะต้องใส่ทั้งออกซิน และไซโทไคนิน เพราะเหตุใด ตอบ ออกซินและไซโทไคนินกระตุ้นให้เนื้อเยื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ และชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเป็นลำต้นและราก 5.  ถ้าตัดปลายโคลีออฟไทล์ ต้นกล้าของข้าวโพดไปวางบนแผ่นวุ้น แล้วนำวุ้นมาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แล้วทำการทดลองกับต้นกล้าข้าวโพด 2 ต้น ที่ตัดปลายโคลีออพไทล์ออก ดังในภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี เฉลยคำถามท้ายบทที่ 14 5.1 ผลการทดลองจะเป็นเช่นไร เพราะเหตุใด ตอบ ปลายโคลีออพไทล์ จะโค้งเข้าหาแสง 2 ปลาย เพราะปลายโคลีออพไทล์ ที่มีชิ้นวุ้น X ออกซินจะลำเลียงลงมาด้านล่างซึ่งอยู่ตรงข้ามกับแสง เซลล์ของปลายโคลีออพไทล์ เมื่อได้รับออกซินจะขยายตัวตามยาวกว่าด้านที่ไม่มีออกซิน หรือรับออกซินน้อย ทำให้ปลายโคลีออพไทล์โค้งเข้าหาแสง ส่วนปลายโคลีออพไทล์ที่มีชิ้นวุ้น y ออกซินจะลำเลียงมาสู่ด้านล่างในด้านที่มีชิ้นวุ้น y คือ ด้านที่มีแสง เมื่อออกซินลำเลียงมาสู่ด้านล่าง แล้วจะเคลื่อนที่หนีแสงไป อยู่ด้านตรงข้ามกับแสง เซลล์ของปลายโคลีออพไทล์ ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับแสงจะขยายตัวตามยาวกว่าอีกด้าน ทำให้ปลายโคลีออพไทล์โค้งเข้าหาแสงเช่นกัน 5.2 ถ้านำการทดลองไปไว้ในที่มืด ผลการทดลองจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด ตอบ ออกซินจะถูกลำเลียงมาด้านล่าง ทำให้ยอดพืชด้านที่แท่งวุ้นอยู่มีปริมาณ ออกซินมาก เซลล์จะขยายตัวตามยาวทำให้ยอดพืชโค้งเข้าหากัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี