Pattanachai Huangkaew Kapchoeng Wittaya School

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Law)
Advertisements

Introduction to webmaster Introduction to webmaster 1. บริการที่พบใน Internet 2. เป้าหมายของการพัฒนาเว็บไซต์ 3. ปัญหาของเว็บมาสเตอร์
Internet, & Network โดย ศน.ไพฑูรย์ ปลอดอ่อนและ อ.ศรชัย เกษมสุข.
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะ ประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับ บุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น.
Saving Cost Connection
การสื่อสารข้อมูล.
บทที่ 9 ความปลอดภัยระบบเครือข่าย
การบริหารการทดสอบ O-NET
โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
เทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
บทนำ การทำธุรกิจในปัจจุบันมีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคนในโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ
Information Technology For Life
U C S m a r t Smart Organizing Solution by Unified Communication
บทที่ 8 เครือข่ายการสื่อสารทางไกลระหว่างประเทศ
การประชุมหัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์
บทที่ 6 โลกของเครือข่าย.
ระบบการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Payment System
: หลักการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
Intrusion Detection / Intrusion Prevention System
จัดทำโดย นายณัฐศุภญกร ตานาคา ปวส.2/5 การตลาด นางสาวสุพัตรา แจ่มมั่งคั่ง ปวส.2/5 การตลาด นางสาวสุวนันท์ ธรรมจิตร ปวส.2/5 การตลาด
The Digital Firm : Electronic Business and Electronic Commerce
The supply chain management system at
อินเทอร์เน็ตและบริการออนไลน์
บทที่ 11 กฎหมายและจริยธรรม ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
สานพลังรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประชาชน
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต Internet Technology
การเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ
บทที่ 6 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce
4.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
Road to the Future - Future is Now
การใช้คอมพิวเตอร์ในสังคมสารสนเทศ
บทที่ 5 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน จาก สมศ.
บทที่ 10 ภัยร้ายในยุคไซเบอร์ (Danger in Internet)
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
การบริหารความปลอดภัยสารสนเทศ
ระบบอินเตอร์เน็ตและโครงสร้างระบบสารสนเทศ
Electronic Commerce Law กฏหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ 2550
จริยธรรมและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology law)
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
การพัฒนาศูนย์พึ่งได้ (OSCC)
ระบบการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ สุทธิรัตน์ รัตนโชติ 16 สิงหาคม 2559
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
งานวันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
เพื่อเข้าถึงแหล่งงบประมาณ
กฎหมายอาญา(Crime Law)
ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
Chapter 9 กฎหมายพาณิชย์ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส Edit
การบริหารโครงการ ด้วยระบบปฏิทินกิจกรรมแบบเบ็ดเสร็จ Project management with integrated calendar system โดย ... ธนาภรณ์ ฉิมแพ / ประจักษ์ สุขอร่าม / จารุวรรณ.
การสื่อสารจากกระทรวงไปสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
เรื่อง การทอผ้าห่มสี่เขา/ตะกอ
ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต
แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560
เรื่อง ทฤษฎีการค้นหาในการฝึกสุนัข
การพัฒนาข้อมูลสาเหตุการตาย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์
โปรแกรมการออกหนังสือรับรองการเกิด สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
องค์กรออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ Certificate Authority
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
หมวด 2 : การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วีระโชติ รัตนกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
บทที่ 7 การใช้คอมพิวเตอร์ในสังคมสารสนเทศ
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๐ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายปริญญา เพ็งสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Pattanachai Huangkaew Kapchoeng Wittaya School

Chapter กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Law คลิกที่นี่เพื่อดูวีดีโอ>>>>

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการจัดทำ “โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ” ดำเนินการโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม

1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ 1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange Law- EDI) เพื่อรับรองสถานะ ทางกฎหมาย ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆโดยเฉพาะในวงการค้า การขนส่งระหว่างประเทศทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลา และสถานที่ โดยการใช้มาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปในรูปแบบ(format) และโครงสร้างข้อมูลที่ส่งถึงกัน

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ประโยชน์ของกฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์กำลังคน และ เวลา ลดความผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพในธุรกรรม ขยายโอกาสทางธุรกิจ

ปัญหากฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาทางกฎหมาย ลายเซ็น ลายลักษณ์อักษร จะรวมถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่ ยากแก่การระบุเอกสารต้นฉบับ พยานหลักฐาน เนื่องจากข้อมูลมาจากหลายส่วน เช่น จานบันทึก หรือพิมพ์ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ การเกิดขึ้นของสัญญา ที่ไหน เมื่อไร

2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Signatures Law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือ ชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใดๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความ เชื่อมั่น มากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 1. การติดต่อทางคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือระบบเครือข่าย เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบอีดีไอ (EDI) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-mail) การสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล เช่น iCQ การสนทนาโต้ตอบระหว่างกลุ่มบุคคลบนเครือข่าย เช่น chat/IRC การใช้เทคโนโลยี WAP ใน Mobile phone อื่นๆ

วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(ต่อ) 2. การติดต่อผ่านทางเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร

สาระสำคัญขอบเขตกฎหมายลายเซ็นทางอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของเอกสารที่จำเป็นต้องลงลายชื่อดิจิตอล การรับรองความถูกต้อง และการยกเลิกการรับรอง การรับรองความถูกต้องของหน่วยงานที่รับผิดชอบ การลงลายมือชื่อของนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา การจดแจ้งทะเบียน ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่รับรองความถูกต้อง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และหน่วยงานที่รับรองความถูกต้อง

3. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law) เพื่อกำหนด กลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงิน ระหว่าง สถาบันการเงินและระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบ การทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

พัฒนาการของ เงิน การแลกเปลี่ยนสินค้า (Trade by Barter) เงินตรา (Chattel money) --> เหรียญ ธนบัตร เงินพลาสติก (Plastic Money) เงินอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Money)

สาระสำคัญของกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบและการพิสูจน์ ถึงการแสดงเจตนาและในการชำระเงิน สิทธิของ เจ้าหนี้ และลูกหนี้ ที่ไม่สามารถชำระเงินได้ ระยะเวลาในการใช้คำสั่งให้ ชำระ ยกเลิกการชำระเงิน ความรับผิดชอบในความเสียหายจากการโอนเงิน การใช้การโอนเงินโดยมิชอบ ข้อกำหนดการโอนเงินระหว่างประเทศ

4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) เพื่อก่อให้เกิด การรับรอง สิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผย หรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ ในระยะ เวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ ในทาง มิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่าง สิทธิขั้นพื้นฐานใน ความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ

5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Crime Law) เพื่อกำหนดมาตรการ ทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใดกำหนดว่าเป็นความผิด ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกัน สิทธิ เสรีภาพและการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม

ตัวอย่างคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมเงินในบัญชีลูกค้าของธนาคาร การโจรกรรมความลับของบริษัทต่างๆ ที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การปล่อยไวรัสเข้าไปในคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลงเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการก่อวินาศกรรม การขโมยโดเมนเนม (Domain Name) ซึ่งไม่มีรูปร่าง การตัดต่อภาพ หมิ่นประมาท

กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย การแอบเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ ผู้รับเงินโฆษณา แบนเนอร์ การแอบใช้ Internet Account เว็บของ ISP แห่งหนึ่ง ถูกพนักงานที่ไล่ออกไป แก้ไขเป็นเว็บโป๊ และส่ง e-mail ในนามของผู้บริหาร ไปด่าผู้อื่น พนักงานใช้ e-mail ขององค์กร ไปในทางเสียชื่อเสียง

ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 1. ปัญหาด้านพยานหลักฐาน เพราะพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและกระทำได้ง่าย แต่ยากต่อการสืบหา รวมทั้งยังสูญหายได้ง่าย เช่น ข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่อง (Hard Disk) นั้น หากระหว่างการเคลื่อนย้ายได้รับความกระทบกระเทือนหรือเกิดการกระแทก หรือเคลื่อนย้ายผ่านจุดที่เป็นสนามแม่เหล็ก ข้อมูลที่บันทึกใน Hard Disk ดังกล่าวก็อาจสูญหายได้

ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 2. ปัญหาด้านอำนาจในการออกหมายค้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน เพราะการค้นหาพยานหลักฐานใน Hard Disk นั้นต้องกำหนดให้ศาลมีอำนาจบังคับให้ผู้ต้องสงสัยบอกรหัสผ่านแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำการสืบสวนเพื่อให้ทำการค้นหาหลักฐานใน Hard Disk ได้ด้วย 3. ปัญหาด้านขอบเขตพื้นที่ เพราะผู้กระทำความผิดอาจกระทำจากที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเทศไทย ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลไทย ดังนั้น กฎหมายควรบัญญัติให้ชัดเจนด้วยว่าศาลมีเขตอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำผิดได้ถึงไหนเพียงไร และถ้ากระทำความผิดในต่างประเทศจะถือเป็นความผิดในประเทศไทยด้วยหรือไม่

ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 4. ปัญหาประเด็นเรื่องอายุของผู้กระทำความผิด เพราะผู้กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ส่วนมาก โดยเฉพาะ Hacker และ Cracker นั้น มักจะเป็นเด็กและเยาวชน และอาจกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเพราะความคึกคะนองหรือความซุกซนก็เป็นได้

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544      เหตุผลในการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” คือเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรม หรือสัญญา ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ ได้แก่ การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อ กล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือ ชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้ว กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์แล้ว เป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2545 โดยคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นผู้ดูแลการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ โดยมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการค้าของกฎหมายดังนี้

เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 1. มาตรา 7 ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทาง กฏหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” 2. มาตรา 9 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน”

เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 4. มาตรา 23 ระบุไว้ว่า “การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล หากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้น แต่ถ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ส่งไปยังระบบข้อมูลอื่นของผู้รับข้อมูล ซึ่งมิใช่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลกำหนดไว้ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้น”

เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 5. มาตรา 25 ระบุถึงบทบาทของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้อำนาจหน่วยงานรัฐบาลสามารถสร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ในการให้บริการประชาชนได้ โดยต้องออกประกาศ หรือกฎกระทรวงเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่มา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นการสื่อสารทางหนึ่ง ในทางกฎหมายก็ต้องรับรองสิ่งที่ได้ติดต่อกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เหมือนสิ่งที่พูด สิ่งที่เขียน เหมือนที่เวลาด่าใครแล้วมีความผิด การใช้คอมพิวเตอร์ด่าก็มีความผิดเช่นกัน

ประเภทผู้ให้บริการตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider) ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

ประเภทของข้อมูลที่ต้องเก็บรักษา ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้ “ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา ฐานความผิด โทษจำคุก สูงสุด โทษปรับสูงสุด (บาท) 5 เข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ 6 เดือน 10,000 บาท 6 การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึง 1 เดือน 7 เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ 2 ปี 40,000 บาท 8 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ 3 ปี 60,000 บาท 9 การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ 5 ปี 100,000 บาท 10 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา ฐานความผิด โทษจำคุก สูงสุด โทษปรับสูงสุด (บาท) 11 การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail) 100,000 ไม่เกิน 100,000 บาท 12 การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่ง 1 ปี 2 หมื่นบาท 13,17 การกระทำต่อความมั่นคง - ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลฯ 1 ปี – 10 ปี 2 หมื่นบาท – 2 แสนบาท - กระทบต่อความมั่นคง 3 ปี – 15 ปี 6 หมื่นบาท- 3 แสนบาท - อันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิต ประหารชีวิต / จำคุกตลอดชีวิต / 10 ปี-20 ปี

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา ฐานความผิด โทษจำคุก สูงสุด โทษปรับสูงสุด (บาท) 14 ความรับผิดของผู้ให้บริการ 2 ปี - 5 ปี 4 หมื่นบาท – 1 แสนบาท 15 การตัดต่อภาพผู้อื่น 3 ปี 6 แสนบาท

หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: www.mict.go.th ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) :http://htcc.police.go.th กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: http://ict.police.go.th สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: www.royalthaipolice.go.th กรมสอบสวนคดีพิเศษ: http://www.dsi.go.th/dsi/index.jsp เว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA) http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php