เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง ระเบียบการนำความรู้ เครื่องและวิธีการต่างๆทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์  และ อวกาศ  ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ 

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Warehouse and Material Handling
Advertisements

ดาวเทียม "ธีออส" (THEOS) ดาวเทียมดวงใหม่บนโลกสำรวจ ของประเทศไทยดวงแรก
(Global Positioning System)
Assignment 2010/ คลังสินค้าและการขนถ่ายวัสดุ
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ระบบการสื่อสารดาวเทียม
กฎข้อบังคับสื่อสารโทรคมนาคม
การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมกับภารกิจบรรเทาสาธารณภัย
Department of Informatics, Phuket Rajabhat University. THAILAND
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมอุตุนิยมวิทยา
วิชาการจัดการทรัพยากรที่ดินเชิงบูรณาการ รูปประกอบการบรรยายเรื่อง : สารสนเทศเชิงพื้นที่ ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เรื่อง ระบบบอกตำแหน่ง (GPS)
ดาวเทียม Satellite 09/04/58 วินิจ กัลยาณพงศ์ ศูนย์เทคโนโลยีทาง การศึกษา
Footprint 24/04/58 สกศน. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วน วิศวกรรมฯ.
การสื่อสารข้อมูล.
การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา
Chapter 5 Satellite Systems
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเภทของกล้องถ่ายภาพ
กล้องจุลทรรศน์.
โรงเรียนธนรัตน์วิทยา
สื่อประเภทเครื่องฉาย
ระบบสุริยะ (Solar System)
Dark-light adaptation
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : Introduction to Data Communication and Computer Network สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
ดาวบาร์นาร์ด.
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ความสำคัญของแสง ต่อการถ่ายภาพ
โดยครูยโสธร สุขัมศรี โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เชียงราย
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล
By Poonyaporn Siripanichpong
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ 8 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง มาตรการที่ 1 มาตรการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน.
การยกเลิกใช้งานอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560
สวนรุกขชาติและศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม
การพัฒนาประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการจัดหางาน
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เทพสุริยา(เทพสุริยา)
กลไกการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แบบเอกสารกำกับการขนสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2561
การดำเนินงานคณะทำงานที่ 9 : ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบข้อมูล
วิเคราะห์หลุมบนดวงจันทร์
เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการ ท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2 ตุลาคม 2561
ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
1 E 3 S E M N G Invention & Places
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของภาชนะบรรจุ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร อ่อนประไพ
ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต
ระบบสุริยะ (Solar System)
พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
บทที่ 6 การจัดการสินค้าคงคลัง
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม 2562
บทที่ 3 ระบบสุริยะ ดาราศาสตร์ และอวกาศ 3.1 กำเนินดวงอาทิตย์และบริวาร
เก็บตกวันวาน “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”
วัดความสูงของภูเขาบนดวงจันทร์
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ พ.ศ. 2562
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย
สิ่งสนับสนุน (ห้องต่าง ๆ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก)
สังคมและการเมือง : Social and Politics
ประกาศสำนักงานประกันสังคม
Chapter 5 Satellite Systems
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 27 เมษายน 2561
ใบสำเนางานนำเสนอ:

 เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง ระเบียบการนำความรู้ เครื่องและวิธีการต่างๆทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์  และ อวกาศ  ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ  และการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วย  เช่น  การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้สำรวจและตรวจสอบสภาพอากาศของโลก เป็นต้น กล้องดูดาว ดาวเทียม ยานอวกาศ จรวด สถานีอวกาศ นักบินอวกาศ

กล้องโทรทรรศน์ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ กล้องดูดาว (elescope) หรือ กล้องโทรทรรศน์(telescope) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยายวัตถุที่อยู่ในระยะไกล และเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการดูดาวเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เรามองเห็นดวงดาวที่อยู่ไกลเป็นอย่างดี กล้องโทรทรรศน์ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. กล้องโทรทรรศน์ชนิดแสง แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ กล้องโทรทรรศน์ แบบหักเหแสง (Refractor) กล้องโทรทรรศน์ แบบสะท้อนแสง (Reflector) กล้องโทรทรรศน์ชนิดผสม (Catadioptic) 2. กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope) 3. กล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope)

กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง (Refract telescope) กาลิเลโอ เป็นบุคคลแรกที่ประดิษฐ์กล้องชนิดนี้ขึ้น ประกอบด้วยเลนส์นูนอย่างน้อยสองชิ้น คือ เลนส์วัตถุ (Objective Lens) เป็นเลนส์ด้านรับแสงจากวัตถุ และเลนส์ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่ติดตาเราเวลามอง หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดหักเหแสง  อาศัยหลักการหักเหของแสง ผ่านเลนส์ วัตถุแล้วหักเหอีกครั้ง ผ่านเลนส์ตา ซึ่งเหมาะสำหรับ สำรวจพื้นผิวของ ดวงจันทร์, ดาวเคราะห์, วงแหวนและ ดาวบริวารของดาวเคราะห์ เป็นต้น

ข้อดี เหมาะสำหรับมือใหม่ เนื่องจาก ราคาถูก (เมื่อเทียบกับแบบอื่น), เคลื่อนย้าย, ประกอบใช้งานง่าย, และเนื่องจากไม่ต้องตั้งอะไรมากนัก ทำให้บำรุงรักษาง่าย นอกจากนี้ โครงสร้างของกล้อง ก็ป้องกันฝุ่นในตัวอยู่แล้ว ข้อเสีย ขนาดสูงสุดของเลนส์วัตถุไม่มากนัก ซึ่งทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 3-5 นิ้ว ดังนั้น จึงไม่สามารถสังเกตวัตถุที่จางมากๆ นอกจากนี้ ขนาดของเลนส์วัตถุที่ใหญ่มาก จะทำให้ภาพที่ได้มีสีเพี้ยน และกล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้ มักมากับกระจกสะท้อน เพื่อช่วยให้สะดวกในการดูดาว ทำให้ภาพที่ได้กลับจากซ้ายไปขวา

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflect telescope) เซอร์ ไอเซค นิวตัน เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องชนิดนี้ เป็นบุคคลแรก บางที่เราก็เรียก กล้องแบบนี้ว่า กล้องแบบนิวโทเนียน หรือกล้องโทรทรรศน์แบบนิวตัน (Newtonian Telescope) ประกอบด้วย กระจกเว้า กระจกระนาบ และ เลนส์นูน หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง  เป็นกล้องโทรทรรศน์ ที่อาศัยหลักการ สะท้อนของแสงผ่านกระจกโค้ง (Concave Objective Mirror) แล้ว หักเหอีกครั้ง ผ่านเลนส์ตา (Eye piece) ซึ่งเหมาะสำหรับการสำรวจกระจุกดาว, เนบิวลา, วัตถุท้องฟ้า หรือกาแล็กซี่ ที่ค่อนข้างจาง เป็นต้น

ข้อดี เหมาะสำหรับทั่วไป เนื่องจาก ภาพที่ได้มีคุณภาพดี, ราคาไม่สูงมาก นอกจากนี้ ภาพที่ได้ก็เหมือนจริง (ไม่กลับข้าง) นอกจากนี้ ขนาดของหน้ากล้อง ซึ่งมีความสำคัญต่อการรับแสง กล้องชนิดนี้ ก็มีขนาดให้เลือกมากกว่า ข้อเสีย กระจกสะท้อนที่สอง ที่อยู่ภายในกล้อง ที่ทำหน้าที่สะท้อนภาพมายัง เลนส์ตานั้น จะลดพื้นที่รับแสงของกล้องแบบนี้ ทำให้ทำให้เห็นภาพวัตถุ ไม่คมชัด และกล้องแบบนี้ ก็ต้องการการดูแลรักษา โดยเฉพาะการป้องกันฝุ่น หรือน้ำค้าง เนื่องจากด้านหน้าของกล้อง เปิดออกรับแสงโดยตรง โดยไม่มีอะไรมาปิดไว้ 

กล้องโทรทรรศน์แบบผสม (Catadioptic telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์คุณภาพสูง จะใช้กระจก 2 ชุด สะท้อนแสงกลับไป-มา ช่วยให้ลำกล้องสั้น และส่วนมากจะสามารถควบคุมระบบได้เเบบดิจิตอล ดังเช่น กล้องโทรทรรศน์บนหอดูดาวต่างๆ มักจะเป็นกล้องชนิดนี้ หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดผสม  เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ หลักของการหักเหและสะท้อนแสงร่วมกัน กล้องชนิดนี้ เหมาะสำหรับ การสำรวจกระจุกดาว, เนบิวลา, วัตถุท้องฟ้า หรือกาแล็กซี่ที่ค่อนข้างจาง

ข้อดี กล้องโทรทรรศน์แบบนี้มีขนาดเล็ก (ขณะที่หน้ากล้องใหญ่ขึ้น) ทำให้เคลื่อนย้ายสะดวก, ขนาดที่ของกล้องสั้น ทำให้ติดตั้งมอเตอร์ติดตามดาวได้ง่าย เนื่องจากน้ำหนักสมดุลกว่า และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบได้ง่าย ข้อเสีย ราคาสูงกว่ากล้องแบบอื่นๆ (ในขนาดที่เท่ากัน) และภาพที่ได้ไม่คมชัด และกลับจากซ้ายไปขวา เช่นเดียวกับกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง

กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (radio telescope) เป็นกล้องที่ใช้บันทึกและวัดสัญญาณ คลื่นวิทยุจากวัตถุท้องฟ้าได้ ส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์วิทยุมี 3 ส่วนคือ ส่วนรับสัญญาณ ทำหน้าที่รับและรวมสัญญาณไปอยู่ที่จุดโฟกัสของจาน ส่วนขยายสัญญาณ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ส่งมาจากส่วนรับสัญญาณ ส่วนบันทึกสัญญาณ ทำหน้าที่แปลสัญญาณที่ถูกขยายให้ออกมาเป็นภาพ หรือรหัสบนแผ่นกระดาษ หรือจอรับภาพเป็นภาพ

กล้องโทรทรรศน์ที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วส่งขึ้นไปในอวกาศ เรียกว่า  กล้องโทรทรรศน์ที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วส่งขึ้นไปในอวกาศ เรียกว่า “ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope) ” เป็นอุปกรณ์สำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในอวกาศภายนอกในระดับวงโคจรของโลก ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา เป็นกล้องชนิดสะท้อนแสง มีขนาดความกว้างของกระจก 2.4 m โคจรรอบโลกทุกๆ 97 นาที ขนาดกว้าง 4.3 m ยาว 13.3 m รวมน้ำหนัก11 ตัน ขนส่งโดยยานดิสคัฟเวอรี ส่องได้ไกลถึง 14,000 ล้านปีแสง(กล้องปกติ 2 ล้านปีแสง) - มีอายุการใช้งานนานถึง 20 ปี ปลดระวางในปี พ.ศ. 2553

ดาวเทียม (Satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 มีชื่อว่า สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ในปี พ.ศ. 2501 โดยสหภาพโซเวียต ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก ทำหน้าที่สำรวจพื้นผิวของโลกและชั้นบรรยากาศ ดาวเทียมสปุตนิก 2 โดยมีสุนัขตัวเมียชื่อไลก้า ขึ้นไปในอวกาศและสหรัฐฯ ได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรมีชื่อว่า เอกซ์พลอเรอ (Explorer) ทำให้รัสเซียและสหรัฐฯ เป็นผู้นำทางด้านการสำรวจทางอากาศ ประเภทของดาวเทียมเมื่อแบ่งตามหน้าที่ต่างๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้ (1) ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (2) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร (3) ดาวเทียมสื่อสาร (4) ดาวเทียมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ (5) ดาวเทียมทางทหาร Sputnik 1 ไลก้า

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Satellites)  ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพบรรยากาศโลกจากมุมสูงระยะทางไกล ทำให้มองเห็นภาพรวมของสภาพอากาศซึ่งปกคลุมเหนือพื้นผิว ทำหน้าที่ ตรวจความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ เพื่อการพยากรณ์อากาศ ทำให้สามารถช่วยเตือนภัยและพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้า  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงแรก เพื่อพยากรณ์อากาศ คือ ดาวเทียมไทรอส 1 ส่งเข้าสู่วงโคจรรอบโลก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2503 วัตถุประสงค์ของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เพื่อถ่ายภาพชั้นบรรยากาศโลกประจำวัน เพื่อได้ภาพต่อเนื่องของบรรยากาศโลก และ เพื่อเก็บและถ่ายทอดข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดิน เพื่อทำการหยั่งตรวจอากาศโลกประจำวัน ไทรอส 1

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาแบ่งตามวงโคจรได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาชนิดวงโคจรค้างฟ้าหรือดาวเทียมประจำถิ่น (Geostationary Meteorological Satellite)  โคจรรอบโลกใช้เวลา 24 ชั่วโมง ไปพร้อมๆ กับการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้ตำแหน่งดาวเทียมจะสัมพันธ์กับตำแหน่งบนพื้นโลกในบริเวณเดิมเสมอ สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,800 กิโลเมตร ทำให้ได้ภาพถ่ายที่ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง คลอบคลุมทั้งทวีปและมหาสมุทร สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ โดยถ่ายภาพซ้ำเพื่อทำการเปรียบเทียบ ดาวเทียมชนิดนี้ ได้แก่ GOES-W, GOES-E, METEOSAT, GMS, INSAT และ FY-2 METEOSAT

2. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาชนิดวงโคจรผ่าใกล้ขั้วโลก (Near Polar Orbiting Meteorological Satellite) โคจรรอบโลกประมาณ 102 นาที ต่อ 1 รอบ ในหนึ่งวันจะหมุน รอบโลกประมาณ 14 รอบ และจะเคลื่อนที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ในเวลาเดิม (ตามเวลาท้องถิ่น) 2 ครั้งเป็นดาวเทียมที่มีระดับ ความสูงจากพื้นโลกเพียง 850 กิโลเมตร จึงให้ภาพรายละเอียด สูง แต่ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณแคบๆ จึงเหมาะสำหรับใช้สังเกตรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศระดับภูมิภาคได้แก่ ดาวเทียม NOAA, METEOR และ FY-1 NOAA

THEOS :Thailand Earth Observation System) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร (Earth observation satellites) เป็นดาวเทียมที่มีอุปกรณ์สำรวจแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ นอกจากนี้ยังเฝ้าสังเกตสภาวะแวดล้อมที่เกิดบนโลก ช่วยเตือนเรื่องอุทกภัย และความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น การตัดไม้ทำลายป่า การทับถมของตะกอนปากแม่น้ำ รวมไปถึงแหล่งที่มีปลาชุกชุม และอื่นๆ อีกมาก ดาวเทียมธีออส  (THEOS :Thailand Earth Observation System)  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย THEOS :Thailand Earth Observation System) LANDSAT-5 spot1 MOS 1

ดาวเทียมสื่อสาร (communication satellite :comsat) เป็นดาวเทียมที่มีอุปกรณ์สื่อสารติดตั้งอยู่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม ดาวเทียมสื่อสารของไทย ชื่อไทยคม ดาวเทียมไทยคมช่วยการติดต่อสื่อสารได้ทั่วประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีนไปจนถึงเกาหลีและญี่ปุ่น รวมทั้งชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีน เป็นดาวเทียมสื่อสารที่ประเทศไทยให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมด้านต่างๆ เช่น การถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ การประชุมทางไกล และระบบถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์สู่เสาอากาศของผู้รับในบ้านได้โดยตรง PALAPA ของอินโดนีเซีย COMSTAR ของอเมริกา THAICOM ของประเทศไทย INTELSAT : International Telecommunication Satellite Consortium

ดาวเทียมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ (Astronomical satellites ) เป็นดาวเทียมที่มีกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ดาราศาสตร์สำหรับศึกษา สำรวจ ตรวจวัด วัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ มีทั้งประเภทที่โคจรรอบโลก และประเภทที่โคจรผ่านไปใกล้ดาวเคราะห์หรือลงสำรวจดาวเคราะห์ Voyager 1 Voyager 2 Viking 1

ดาวเทียมทางทหาร (Military satellites) ดาวเทียมทั่วไปอาจใช้ประโยชน์ในทางทหารได้ด้วย ใช้ในการติดต่อระหว่างกองทัพกับฐานทัพ ใช้ในการรับสัญญาณจากสายลับ หรือจากอุปกรณ์สอดแนมอัตโนมัติที่ตั้งทิ้งไว้ในแดนข้าศึก MITEX KOMPSAT-2

ประเภทของดาวเทียมเมื่อแบ่งตามความสูงในการโคจรเทียบกับพื้นโลก (1) สูงจากพื้นโลกประมาณ 41,157 กิโลเมตร เป็นดาวเทียมที่โคจรหยุดนิ่งกับที่เทียบกับพื้นโลก (Geostationary Satellites) ส่วนมากจะเป็นดาวเทียมสื่อสาร มีคาบการโคจรประมาณ 24 ชั่วโมง (2) สูงจากพื้นโลกประมาณ 9,700-19,400 กิโลเมตร เป็นดาวเทียมที่ไม่ได้หยุดนิ่งเทียบกับพื้นโลก (Asynchronous Satellite) ส่วนมากจะเป็นดาวเทียมนำทางแบบจีพีเอส (GPS: Global Positioning System) ประยุกต์ใช้ในระบบการติดตาม บอกตำแหน่ง หรือนำร่องบนโลก มีคาบการโคจรประมาณ 12 ชั่วโมง

(3) สูงจากพื้นโลกประมาณ 4,800-9,700 กิโลเมตร เป็นดาวเทียมที่ไม่ได้หยุดนิ่งเทียบกับพื้นโลก(Asynchronous Satellite) เป็นดาวเทียมสำหรับการสำรวจและสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มีคาบการโคจรประมาณ 100 นาที (4) สูงจากพื้นโลกประมาณ 130-1940 กิโลเมตร เป็นดาวเทียมที่ไม่ได้หยุดนิ่งเทียบกับพื้นโลก(Asynchronous Satellite) ส่วนมากจะเป็นดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจทรัพยากรบนโลก รวมไปถึงดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา

ยานอวกาศ หรือกระสวยอวกาศ : Spacecraft คือ ยานพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อ ใช้สำรวจอวกาศและวัตถุท้องฟ้า มีการพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเดินทางได้ไกลขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง และประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนระบบการขนส่งอวกาศ ที่ถูกพัฒนาและออกแบบให้สามารถนำชิ้นส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ยานอวกาศแบบนี้ เรียกว่า “ กระสวยอวกาศ ” ยานอวกาศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม

ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม เนื่องจากการสำรวจบางครั้งต้องใช้เวลาเดินทางไกล มากและอันตรายต่อมนุษย์ จึงเป็นหน้าที่ของยานที่ถูกบังคับจากภาคพื้นดินบนโลก บางที่เรา เรียกยานแบบนี้ว่า Robot Scpace Craft  มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่สำรวจดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และห้วงอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ ตัวอย่างโครงการที่สร้างยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม 1. โครงการเรนเจอร์ ออกแบบให้ยานพุ่งชนดวงจันทร์ 2. โครงการลูน่าออบิเตอร์ กำหนดให้ยานไปวนถ่ายภาพรอบดวงจันทร์ 3. โครงการเซอเวเยอร์ ออกแบบให้ยานจอดลงบนพื้นอย่างนุ่มนวล โครงการเซอเวเยอร์ โครงการลูน่าออบิเตอร์ โครงการเรนเจอร์

ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม ซึ่งจะเดินทางในช่วงเวลา สั้นๆ เช่นโคจรรอบโลก มีขนาดใหญ่ จึงมีมวลมาก  การ ขับดันยานอวกาศที่มีมวลมากให้มีอัตราเร่งสูงจำเป็นต้อง ใช้จรวดที่บรรทุกเชื้อเพลิงจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่าย สูงมาก  ปัจจุบันมนุษย์เดินทางไปในอวกาศได้ไกลสุดเพียง ดวงจันทร์เท่านั้น ตัวอย่างโครงการที่สร้างยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 1) โครงการเมอร์คิวรี (Mercury) มีจุดประสงค์ คือ ส่งมนุษย์ขึ้นไปครั้งละ 1 คน ขึ้นไปโคจรในอวกาศ 2) โครงการเจมินี (Gemini)   มีจุดประสงค์ คือ นำมนุษย์ 2 คน ขึ้นไปดำรงชีพในอวกาศนานที่สุด 3) โครงการอพอลโล (Apollo) มีจุดประสงค์ คือ นำมนุษย์ ไปสำรวจ ดวงจันทร์ ใช้มนุษย์อวกาศครั้งละ 3 คน โครงการเจมินี   ยานอะพอลโล 11   โครงการเมอร์คิวรี

4) โครงการสกายแล็บ (Skylab) มีจุดประสงค์ คือ ให้มนุษย์ขึ้นไปบนสถานีลอยฟ้า เป็นโครงการที่ศึกษา เกี่ยวกับฟิสิกส์การแพทย์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ ผลกระทบของสภาพไร้แรงดึงดูดโลก 5) โครงการอพอลโล – โซยูส (Apollo- Soyuz)  มีจุดประสงค์ คือ เพื่อขึ้นไปทดสอบระบบนัดพบ และ เชื่อมต่อยานอวกาศ เป็นโครงการระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพ-โซเวียต 6) โครงการยานขนส่งอวกาศ (Space Shutle)  เพื่อใช้เป็นพาหนะสำหรับบรรทุกสิ่งของและมนุษย์ที่ขึ้นไปบนอวกาศ และเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้ประโยชน์จากอวกาศ โครงการอพอลโล – โซยูส โครงการสกายแล็บ โครงการยานขนส่งอวกาศ

ยานอพอลโล 11 (16-24 กรกฎาคม 1969)พามนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์ครั้งแรก มีลูกเรือสามคน คือ นีล อาร์มสตรอง,เอดวิน อัลดริน และ ไมเคิล คอลลินส์ ภาพนักบินอวกาศผู้ปฏิบัติภารกิจพิชิตดวงจันทร์ทั้ง 3 ท่านได้แก่ นีล อาร์มสตรอง  ไมเคิล คอลลินส์และ  เอ็ดวิน อัลดริน  เรียงจากซ้ายไปขวา 12  เมษายน  1961  ยูริ กาการิน  ชาวรัสเซีย เป็นมนุษย์คนแรกที่ขึ้นสู่อวกาศ  ขึ้นสู่วงโคจรโลกด้วยยานอวกาศวอสต็อก (Vostok) ได้ส่งให้ยูริ กาการินเดินทางโดยสวัสดิภาพ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 108 นาที ในการเดินทางรอบวงโคจรของโลกในแคปซูลที่มีขนาดความกว้างเพียง 2 เมตร ก่อนที่จะดีดตัวออกมา และกระโดดร่มลงสู่พื้นดินอย่างปลอดภัย

จรวด (Rocket) : เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนพาหนะสำหรับขนส่งอุปกรณ์หรือมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ ทั้งนี้เพราะว่าจรวดมีถังบรรจุเชื้อเพลิง อยู่ในตัวเอง  จรวดที่ใช้เดินทางไปสู่อวกาศจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมากและต่อเนื่อง หลักการส่งยานอวกาศ ความเร็วน้อยที่สุดที่ทำให้ยานอวกาศไม่ตกสู่พื้นโลก มีค่า 7.6 km/s เรียกว่า “ ความเร็วโคจรรอบโลก ” ความเร็วน้อยที่สุดที่ยานอวกาศต้องใช้เพื่อให้หลุดออกจากการโคจรรอบโลกหรือเพื่อที่จะหลุดพ้นจากแรงดึงดูดของโลก จะมีค่า 11.2 km/s เรียกว่า “ ความเร็วหลุดพ้นหรือความเร็วผละหนี ” จะลดต่ำลงเมื่อห่างจากโลกมากขึ้น

(สำรองไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว) ระบบขนส่งอวกาศ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. จรวดเชื้อเพลิงแข็ง  มีลักษณะเป็นแท่งเชื้อเพลิงแข็งเป็นสารประกอบ ของไฮโดรเจนและคาร์บอน  2. จรวดเชื้อเพลิงเหลว ประกอบด้วยไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว 3. ยานขนส่งอวกาศ เป็นห้องทำงานของนักบินทำหน้าที่ควบคุมวิถีโคจรและท่าบินของยาน  บรรทุกสัมภาระที่จะปล่อยในวงโคจร ยานขนส่งอวกาศ จรวจเชื้อเพลิงแข็ง จรวดเชื้อเพลิงเหลว (สำรองไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว)

ปฏิบัติการของระบบขนส่งอวกาศ จรวดเชื้อเพลิงแข็งจะถูกขับเคลื่อนจากฐานปล่อยให้นำพาทั้งระบบขึ้นสู่อวกาศด้วยความเร็วที่มากกว่า ค่าความเร็วหลุดพ้น เมื่อถึงระดับหนึ่งจรวดเชื้อเพลิงแข็งทั้งสองข้างจะแยกตัวออกมาจากระบบ จากนั้นถังเชื้อเพลิงภายนอกจะแยกตัวออกจากยานอวกาศ โดยตัวยานอวกาศจะเข้าสู่วงโคจรเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป ดังรูป

ได้มีการพัฒนา จรวดเชื้อเพลิงเหลว มาเป็นลำดับ กระทั่งสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการใช้จรวด สามท่อนสำหรับส่งยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มีน้ำหนักมากขึ้นสู่อวกาศ จากนั้นการศึกษาค้นคว้า ด้านอวกาศ ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก มีการแข่งขันกันระหว่างประเทศมหาอำนาจ ระหว่างรัสเซียและอเมริกา กระสวยอวกาศลำแรกที่ปล่อยใช้งานสู่อวกาศคือ กระสวยอวกาศโคลัมเบีย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2524

สถานีอวกาศเป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่โคจรไปรอบโลกในวงโคจรระดับต่ำ ที่มีความสูงจากพื้นโลกไม่เกิน 1000 กิโลเมตร โดยมีมนุษย์ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจอยู่บนสถานี ประโยชน์ที่ได้จาก สถานีอวกาศก็ คือ 1)  ศึกษาความเป็นไปได้ของการดำรงชีวิตในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง 2)  ศึกษาการทดลองต่างๆทางวิทยาศาสตร์ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง 3)  ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิด และการดำรงชีพของสัตว์เหล่านั้น เมื่ออยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง 4)  ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์  เพราะในอวกาศไม่มีชั้นบรรยากาศรบกวนหรือขวางกั้น 5)  ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา และ อุตุนิยมวิทยา  ควบคู่ไปกับระบบดาวเทียม 6)  ใช้สำหรับประโยชน์ทางการทหาร 7)  นอกจากนี้การสร้างสถานีอวกาศ ยังเป็นแนวทางที่ทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์หรือวิทยาการใหม่ๆขึ้นมาสำหรับการพัฒนาสถานีอวกาศรุ่นต่อ ๆไป สถานีอวกาศแห่งแรกของโลกคือสถานีอวกาศซัลยูตของรัสเซีย  ตามมาด้วยสกายแลบ (Skylab)  และสถานีอวกาศเมียร์  ซึ่งทั้งสาม สถานีนั้นได้ยุติโครงการและตกลงในมหาสมุทรหมดแล้ว ยังคงเหลือ เพียงสถานีเดียว คือ สถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นสถานีอวกาศ ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา ปัจจุบันยังโคจรอยู่รอบโลก

การสวมชุดอวกาศเพื่อ ปรับความดัน นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ สภาพแวดล้อมในอวกาศ :วัตถุยิ่งสูงจากพื้นโลก แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุยิ่งมีน้อยลง แสดงว่าน้ำหนักของวัตถุมีค่าน้อยกว่าเมื่ออยู่บนพื้นโลก ดังนั้นถ้าวัตถุอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะไกลมากๆ จนกระทั่งแรงโน้มถ่วงของโลกส่งไปไม่ถึง จะทำให้วัตถุไม่มีน้ำหนัก จึงกล่าวได้ว่า “ วัตถุอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก ” การสวมชุดอวกาศเพื่อ ปรับความดัน ให้สมดุลกับความดันโลหิตในร่างกาย ป้องกันพลังงานความร้อน และรังสีต่าง ๆ จากดวงอาทิตย์

มนุษย์อวกาศเมื่ออยู่ในอวกาศนานๆจะประสบปัญหา ดังนี้ 1 มนุษย์อวกาศเมื่ออยู่ในอวกาศนานๆจะประสบปัญหา ดังนี้  1.ถ้าอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อออกแรงน้อยกว่าปกติ ทำให้ กล้ามเนื้อลีบ นักบินอวกาศจึงต้องออกกำลังกายอยู่เสมอเพื่อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ระบบ สูบฉีดโลหิตทำงานเช่นเดียวกับเมื่ออยู่ในสภาพปกติ  2. เมื่ออยู่ในอวกาศนานขึ้น จะรู้สึกคลื่นไส้  ศีรษะและ ช่องอากาศในจมูกบวม กระดูกเริ่มเปราะ 3. ของเหลวในร่างกายจะเคลื่อนที่จากส่วนล่างไหลขึ้นบน เกิดการบวมและขยายของอวัยวะบางส่วนได้ 4. ความดันโลหิตในร่างกายสูงกว่าความดันภายนอกทำให้ เส้นเลือดแตกได้ การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสภาพไร้น้ำหนัก

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ 1. มีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา พัฒนา และประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภาพในช่วงคลื่น ๆ จากระยะไกล  2. ทำให้เครื่องรับและส่งสัญญาณมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วนำอุปกรณ์และเครื่องส่งสัญญาณไปประกอบเป็นดาวเทียม ที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรจรอบโลก  3. ทำให้สามารถสังเกตสิ่งต่าง ๆ บนโลกได้ระยะไกลในเวลาอันรวดเร็ว 4. ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับเอกภพ โลก ดวงจันทร์ และดาวอื่น ๆ  5. ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศ ช่วยเปิดเผยความลี้ลับในอดีต และ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ

ความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศอาจทำให้เกิดผลเสีย ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการสำรวจอวกาศสูง ในการส่งจรวดหรือยานอวกาศขึ้นสู่อวกาศมีผลกระทบกับชั้นบรรยากาศของโลก ปัญหาดาวเทียมหรือยานอวกาศที่หมดอายุการใช้งานกลายเป็นขยะอวกาศ การส่งจรวดสู่อวกาศบางครั้งผิดพลาด ทำให้สูญเสียชีวิตของนักบินอวกาศ ความก้าวหน้าทางด้านอวกาศอาจเป็นสาเหตุในการใช้เทคโนโลยีในด้านการทำลาย

ได้เวลาทำแบบฝึกหัด แล้วนะจ๊ะ