อันตรายจากการประกอบอาชีพ ที่เกี่ยวกับเสียงดัง 1 อันตรายจากการประกอบอาชีพ ที่เกี่ยวกับเสียงดัง 22/5/2016
เนื้อหา ลักษณะของเสียง ประเภทของเสียง อันตรายที่เกิดจากเสียงดัง 22/5/2559 เนื้อหา 2 ลักษณะของเสียง ประเภทของเสียง อันตรายที่เกิดจากเสียงดัง อันตรายที่เกิดจากความสั่นสะเทือน อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016 วิชาอาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน: สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 2
1. อันตรายจากเสียง (Noise) 3 วิทยา อยู่สุข, 2549 เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนิน, 2554 ขวัญหทัย ยิ้มละมัย และรัตนวดี ทองบัวบาน, 2556 อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.1 ลักษณะของเสียง 4 เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ส่งผ่าน ตัวกลาง (ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ) ผ่านเข้าสู่หูของ ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการได้ยิน ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แบ่ง ลักษณะเสียงออกเป็น 2 ชนิด เสียงที่ไม่รบกวน (Sound) เสียงที่ฟังแล้วเกิดความเพลิดเพลิน ไม่รู้สึกว่ารบกวน เช่น เสียงเพลง เสียงดนตรี เป็นต้น 2. เสียงรบกวน (Noise) เสียงที่เราไม่ต้องการ รบกวนการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ส่งผลให้เกิดโรคจากการทำงาน คือ การสูญเสียสมรรถภาพในการได้ยิน อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.2 ประเภทของเสียง 5 ในงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แบ่งเสียง ออกเป็น 3 ประเภท 1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (Continuous Noise) เป็น เสียงดังที่เกิดต่อเนื่อง 1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state noise) มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 3 dB เสียงเครื่องจักรเดินต่อเนื่อง เสียงจากเครื่องทอผ้า เสียงพัดลม เสียงแอร์ 1.2 เสียงต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non steady-state noise) ระดับเสียงเปลี่ยนแปลง เกินกว่า 10 dB เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน เครื่องเจียระไน เสียงไซเรน เป็นต้น อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016 5
1.2 ประเภทของเสียง (ต่อ) 6 ในงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แบ่งเสียง ออกเป็น 3 ประเภท 2. เสียงดังเป็นระยะ (intermittent noise) เป็นเสียง ดังที่ไม่ต่อเนื่อง มีความดังหรือเบาสลับไปมาเป็น ระยะๆ เช่น เสียงเครื่องปั๊มอัดลม เสียงการจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา 3. เสียงกระทบหรือกระแทก (impulse or impact noise) เสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วใน เวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงเสียง มากกว่า 40 dB เช่น การตอกเสาเข็ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบหรือเคาะอย่างแรง เป็นต้น อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.3 นิยามเกี่ยวกับเสียง ความดังของเสียง ความถี่ของเสียง 7 ความดังของเสียง หน่วยที่ใช้วัด คือ เดซิเบล (Decibel: dB) การวัดเสียงที่คนงาน เกี่ยวข้องนั้นปกติจะใช้สเกล เอ(A-weighting) เพราะเป็น สเกลที่มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับการตอบสนอง ของหูคน ดังนั้นหน่วยของ เสียงที่วัด จึงเป็น เดซิเบล (เอ) dB(A) การประเมินเสียงนั้น เมื่อมี การเพิ่มจำนวนเครื่องจักร เป็นสองเท่า มิได้หมายความ ว่า ระดับเสียงจะดังขึ้นเป็น สองเท่า แต่จะเพิ่มขึ้นเพียง 3 dB ความถี่ของเสียง จำนวนคลื่นเสียงที่วิ่งผ่าน จุดหนึ่งๆ ในเวลา 1 วินาที หน่วยที่ใช้วัด คือ รอบต่อ วินาที / เฮิรตซ์ (Hertz: Hz) ปกติความถี่ที่มนุษย์ สามารถได้ยิน คือ ประมาณ 20 – 20,000 Hz ความถี่ของการพูดคุย สนทนาอยู่ระหว่าง 500 – 2,000 Hz อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.4 กลไกการได้ยิน หู ชั้นนอ ก หูชั้นใน หูชั้น กลาง กระดูก โกลน 8 กระดูก โกลน กระดู กทั่ง กระดูก ค้อน หู ชั้นนอ ก หู แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย หูส่วนนอก หูส่วนกลาง และหูส่วนใน หูแต่ละส่วนดังกล่าวต่างก็มีหน้าที่เกี่ยวข้องในกระบวนการได้ยิน โดย หูส่วนนอกจะรับ และส่งคลื่นเสียงไปยังหูส่วนกลาง ซึ่งจะไปกระทบเยื่อแก้วหู จุดนี้นับว่าเป็นจุดแรกในการส่งสัญญาณของกระบวนการได้ยิน หูส่วนกลางประกอบด้วยเยื่อแก้วหู และโครงสร้างอื่น ๆ จะอยู่ถัดเยื่อแก้วหูเข้าไปภายในหูชั้นกลางนั้น จะเต็มไปด้วยอากาศ และมีกระดูกหู 3 ชิ้น ยึดติดต่อกันเป็นสายโซ่ คือมีกระดูกค้อน ทั่ง และโกลน กระดูกชิ้นที่ 3 หรือ กระดูกโกลนนั้น จะขยายเสียง จะเชื่อมติดกับหูชั้นใน หูชั้นใน ที่เกี่ยวข้องกับการรับเสียง ประกอบด้วยอวัยวะรูปก้นหอย (cochlea) ซึ่งมีของเหลวอยู่เต็มและมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เซลล์ขน (organ of corti) ที่ละเอียดอ่อนจำนวนมากมายซึ่งไวต่อเสียงอยู่ในของเหลวนั้น เมื่อเยื่อแก้วหูสั่น กระดูกทั้ง 3 ชิ้นของหูชั้นกลาง ก็จะเคลื่อนไหวส่งต่อไปยังหูชั้นในทำให้ของเหลวที่อยู่ภายในสั่นไปด้วย เมื่อของเหลวนั้นสั่นเซลล์ขนที่ละเอียดอ่อนนั้น ก็จะถูกกระตุ้นแล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อรับทราบและสั่งการเพื่อตอบสนองในกรณีที่ได้รับเสียงที่ดังเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้เซลล์ขนหรือเซลล์ประสาทเสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย แล้วก่อให้เกิดการสูญเสีย การได้ยินในที่สุด อย่างไรก็ตามการเสื่อมสภาพของเซลล์ขนดังกล่าวนั้น อาจจะเกิดขึ้น เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นก็ได้ ซึ่งจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยทั่วไปจะพบว่า ความสามารถหรือความชัดเจนของการรับฟังเสียงนั้นจะลดลง หูชั้นใน เยื่อ แก้วหู ประกอ บด้วย เซลล์ขน หูชั้น กลาง 8
9 NPRU
1.5 ความดันเสียงและระดับความดังเสียงที่พบในสิ่งแวดล้อม 10 22/5/2016
1.5 ความดันเสียงและระดับความดันเสียงที่พบในสิ่งแวดล้อม (ต่อ) 11
1.5 ความดันเสียงและระดับความดันเสียงที่พบในสิ่งแวดล้อม (ต่อ) 12
1.6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเสียง ในโรงงานและสถานประกอบการ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2546 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 18 แหงกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 13
1.6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเสียง ในโรงงานและสถานประกอบการ (ต่อ) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 และ 103 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 22/5/2016 14 NPRU
1.6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเสียง ในโรงงานและสถานประกอบการ (ต่อ) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทการจัดให้มีการแสดงดนตรีเตนรำ รำวง รองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่นๆ ในทํานองเดียวกัน พ.ศ. 2548 ออกโดยอาศัยอำนาจประกอบข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2544 ขอ 7 ขอ 8 ขอ 9 และขอ 17 ระดับเสียงภายในสถานประกอบการตลอดระยะเวลาการทำการ ตองมีค่าเฉลี่ยของระดับเสียงไมเกิน 90 เดซิเบลเอ มีค่าสูงสุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ไมเกิน 110 เดซิเบลเอ และระดับเสียงที่ออกนอกอาคารสถานประกอบการต้องไมกอเหตุรำคาญ รบกวนประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียง อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016 15
1.7 อันตรายของเสียงต่อผู้ประกอบอาชีพ 16 ระยะเวลาที่ได้รับเสี่ยงต่อวัน ความไวต่อเสียงของแต่ละคน อายุ ความเข้มของเสียง ระยะเวลาที่สัมผัสเสียง ผลร่วมของการสูญเสียการได้ยินกับโรคหู ชนิดของเสียง สภาพแวดล้อมของเหล่งเสียง ระยะทางจากหูถึงแหล่งเสียง 1. เสียงทำให้เกิดการ สูญเสียการได้ยิน การสูญเสียการได้ยิน แบบชั่วคราว (temporary hearing loss) การสูญเสียการได้ยิน แบบถาวร (permanent hearing loss) อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.7 อันตรายของเสียงต่อผู้ประกอบอาชีพ (ต่อ) 17 1.1 การสูญเสียการได้ยิน แบบชั่วคราว (temporary hearing loss) ได้รับเสียงที่ดังสม่ำเสมอ และต่อเนื่องที่มีความ เข้มสูงมาก (100 dB(A) หรือสูงกว่า) ความถี่ของเสียง ที่พบว่าก่อให้เกิดการสูญเสียการ ได้ยินเพียงชั่วคราวเป็นส่วนใหญ่ คือ ที่ความถี่ 4,000 Hz และ 6,000 Hz ปกติการสูญเสียการได้ยินนี้ จะเกิดขึ้นภายในช่วง 2 ชั่วโมงแรกของการทำงาน และพบว่าการได้ยินของหูจะกลับคืนสู่สภาพปกติ ได้ ภายใน 1 หรือ 2 ชั่วโมง หรืออาจจะเป็นวัน หลังจากได้ออกจากบริเวณที่ทำงานที่มีเสียงดัง แล้ว อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.7 อันตรายของเสียงต่อผู้ประกอบอาชีพ (ต่อ) 18 1.2 การสูญเสียการได้ยิน แบบถาวร (permanent hearing loss) จะเกิดขึ้นเมื่อหูได้รับเสียงที่มีความเข้มสูงมากเป็น ประจำเป็นระยะเวลานานหลายปี การสูญเสียการ ได้ยินแบบถาวรจะไม่มีโอกาสคืนสู่สภาพการได้ยิน ปกติได้ และไม่มีทางรักษาให้หายได้เลย ช่วงความถี่ของเสียงที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ ยินแบบถาวรอยู่ระหว่าง 3,000 Hz และส่วนใหญ่ จะพบที่ความถี่ 4,000 Hz ในระยะเริ่มต้น พนักงานอาจจะมีความรู้สึกมีเสียง ดังในหู หูอื้อ หรือไม่ได้ยินเสียงไปชั่วระยะหนึ่ง หลังจากได้ออกจากบริเวณงานที่มีเสียงดังแล้ว สำหรับการสูญเสียการได้ยินนี้ จะเกิดขึ้นทีละ น้อยๆ จนพนักงานแทบจะไม่มีความรู้สึกว่ามีอะไร เกิดขึ้นเลยทำให้ไม่สนใจ 22/5/2016
1.7 อันตรายของเสียงต่อผู้ประกอบอาชีพ (ต่อ) 19 2. เสียงทำให้เกิดการรบกวน การพูด และกลบ เสียงสัญญาณต่าง ๆ เสียงที่มีความเข้มไม่สูงพอที่จะทำให้เกิดการสูญเสีย การได้ยิน สามารถทำให้การสนทนาเป็นไปด้วยความ ยากลำบาก และกลบเสียงสัญญาณต่างๆ ได้ เช่น เสียงสัญญาณ ไฟไหม้ เสียงเตือนภัยหรือเสียงตะโกนเตือนภัยของ เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น อาจจะทำให้คู่สนทนาหรือผู้รับข่าวสารได้รับข้อมูลที่ ไม่ชัดเจน หรือไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะเป็นผลทำ ให้การทำงานผิดพลาด หรือประสิทธิภาพของงานที่ ทำนั้นลดลงไปได้ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.7 อันตรายของเสียงต่อผู้ประกอบอาชีพ (ต่อ) 20 3. เสียงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน ร่างกาย และจิตใจ เสียงสามารถทำให้เกิดการเสียสมดุลของร่างกาย และทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้ เสียงที่ดังขึ้นทันทีทันใด ก็จะทำให้คนที่อยู่ในบริเวณ นั้น เกิดปฏิกิริยาตกใจที่ร่างกายไม่สามารถควบคุม ได้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเสียงอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิด เส้นเลือดตีบ ความดันโลหิตสูง ม่านตาขยายกว้าง และกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว ทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน เกิดความรำคาญ เบื่อ หน่าย เบื่องาน มีผลต่อสภาพจิตใจ อาจกลายมาเป็น โรคทางกายได้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเสียงอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดเส้นเลือดตีบ ความดันโลหิตสูง ม่านตาขยายกว้างและกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว ปกติแล้วปฏิกิริยาเหล่านี้จะกลับคืนสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าการเกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เกิดขึ้นซ้ำซากตามลักษณะของเสียง และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลที่ไวต่อเสียงมาก ๆ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016 20
1.8 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับเสียง 21 1. เครื่องวัดความดังของเสียง (Sound Level Meter) เป็นเครื่องมือในการวัดระดับเสียง ในที่ทำงาน สามารถวัดระดับเสียง ได้ตั้งแต่ 40 – 140 เดซิเบล เครื่องวัดเสียงที่สามารถวัดระดับ เสียงได้ 3 ข่ายถ่วง น้ำหนัก (Weighting Networks) คือ A ,B และ C ข่ายที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ ข่าย A เพราะเป็นข่ายตอบสนองต่อเสียง คล้ายคลึงกับหูคนมากที่สุด หน่วย วัดของเสียงที่วัดด้วยข่าย A คือ เดซิ เบลเอ (dBA) อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.8 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับเสียง (ต่อ) 22 2. เครื่องประเมินปริมาณเสียง (Audio Dosimeter) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบให้สามารถบันทึก ระดับเสียงทั้งหมดที่พนักงานได้รับ และ คำนวณค่าเฉลี่ยของระดับความดังตลอด การทำงานของเครื่อง นิยมใช้ในการตรวจวัดเสียงที่ คนงานมีการย้ายงานไป ตำแหน่งระดับเสียงที่มีความ แตกต่างกันมาก หรือมีการ ทำงานในหลายตำแหน่ง อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.8 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับเสียง (ต่อ) 23 3. เครื่องแยกความถี่ของเสียง (Octave Band Analyzer) เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียง สามารถ วิเคราะห์ความดังเสียงในแต่ละความถี่ได้ (เครื่องมือวัดระดับเสียงทั่วไป ไม่สามารถทำ ได้) ผลการตรวจวัดไปใช้ประโยชน์ในการวาง แผนการควบคุมเสียง (Noise Control) เช่น การเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียงหรือการปิดกั้น ทางผ่านของเสียง และการเลือกปลั๊กอุดหู หรือที่ครอบหูที่เหมาะสมได้ เป็นต้น อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.8 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับเสียง (ต่อ) 24 4. เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก ( Impulse or Impact Noise Meter) เสียงกระทบหรือกระแทกเป็นเสียงที่เกิดขึ้นใน ระยะเวลาสั้นๆ แล้วหายไปเหมือนกับเสียงปืน เช่น เสียงตอกเสาเข็ม เครื่องวัดระดับเสียง โดยทั่วไป อาจมีความไวไม่เพียงพอในการ ตอบสนองต่อเสียงกระแทก จึงควรใช้เครื่องวัด เสียงกระทบหรือกระแทกโดยเฉพาะ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.8 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับเสียง (ต่อ) 25 5. เครื่องวัดระดับการได้ยินของหู (Audiometer with Audio metric Booth) เป็นเครื่องตรวจวัด ความสามารถในการได้ยินของ หูทั้ง 2 ข้างด้วยเครื่องวัด สมรรถภาพการได้ยิน (Audiometer) เพื่อหาระดับ เริ่มได้ยิน (Hearing threshold) ารอ่านผลการตรวจการได้ยินเพื่อการเฝ้าระวัง 1. ระดับการได้ยินปกติ หมายถึง ระดับเริ่มได้ยินเสียงของหู (Hearing threshold) เมื่อทำการวัดการได้ยินทางอากาศด้วยเสียง บริสุทธิ์ที่ความถี่ 500 - 6000 Hz มีค่าไม่เกิน 25 dB 2. ระดับการได้ยินที่ต้องเฝ้าระวัง หมายถึง ระดับเริ่มการได้ยินเสียงของหู (Hearing threshold) เมื่อทำการตรวจการได้ยิน ทางอากาศด้วยเสียงบริสุทธิ์ที่ความถี่ 500 — 6000 Hz แล้วมีการได้ยินระดับเสียงมากกว่า 25 dB ในความถี่ใดความถี่ หนึ่งที่ 500 — 6000 Hz 3. ระดับการได้ยินที่ผิดปกติสำหรับ NIHL หมายถึง ระดับการได้ยินของลูกจ้างที่มีค่าเฉลี่ยระดับการได้ยินที่ 500 1000 2000 และ 3000 Hz มากกว่า 25 dB หรือ มีค่าเฉลี่ยระดับการได้ยินที่ 4000 และ 6000 Hz มากกว่าหรือเท่ากับ 45 dB การตรวจการได้ยินในสถานประกอบการ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016 25
1.9 หลักการป้องกันอันตรายจากเสียง 26 โรงงาน/สถานประกอบการที่มีปัญหาเรื่อง เสียงดัง ควร มีโครงการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน โดยมี รายละเอียดดังนี้ การตรวจวัดวิเคราะห์ระดับความดังของเสียง แยกความถี่และความดังของเสียงในสถาน ประกอบการว่ามีมากน้อยเพียงใด กำหนดมาตรฐานที่จะควบคุมไม่ให้เกิดการ สูญเสียการได้ยินของคนงาน หาวิธีลดเสียงจากแหล่งกำเนิด วิธีควบคุมเสียงที่ เกิดและผ่านมาสู่คน กำหนดระยะเวลาการสัมผัสเสียง อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.9 หลักการป้องกันอันตรายจากเสียง 27 โรงงาน/สถานประกอบการที่มีปัญหาเรื่อง เสียงดัง ควร มีโครงการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน โดยมี รายละเอียดดังนี้ การวัดระดับในการได้ยินของคนงาน (Audiometry) ในแผนกที่มีเสียงดัง ใช้อุปกรณ์ PPE การปรับเช็คเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ เช่น เครื่องวัดเสียง การบันทึกรายงานผล เพื่อเป็นข้อมูลในการ วิเคราะห์ อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016
1.10 หลักการควบคุมอันตรายจากเสียง 1. แยกคนงานออกจากบริเวณที่เป็นต้น กำเนิด เช่น ลดจำนวนคนที่ทำงานกับเครื่องจักร สำรวจหาระดับเสียงที่มากเกินไป แล้วกัน ไม่ให้คนงานเข้าไปบริเวณนั้นนานเกินไป แหล่งกำเนิด (Sources) 2. ทางผ่าน (Path) 2. ลดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร คือ ติดตั้งเครื่องจักรที่ไม่สั่นสะเทือนมาก ติดตั้งเครื่องจักรบนฐานที่แข็งแรง ใช้ วัสดุยืดหยุ่น เช่น สปริงหรือแผ่นยางรอง กันการกระเทือน 3. ผู้ปฏิบัติงาน (Receiver) อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016 28
1.10 หลักการควบคุมอันตรายจากเสียง (ต่อ) 3. ใช้วัสดุดูดเสียง ที่มาจากทิศทางต่างๆ ป้องกันไม่ให้เสียงเกิดการสะท้อนกลับ ความดังเสียงทั้งหมด = ความดังโดยตรง + ความดังจากการสะท้อน แหล่งกำเนิด (Sources) 2. ทางผ่าน (Path) 4. หาเครื่องจักรที่มีเสียงดังน้อยมาทดแทน ซ่อมแซมเครื่องจักรที่ชำรุด/เก่าขาดการบำรุงรักษา หยอดน้ำมันหล่อลื่นลดการเสียดสี ขันนอต หรือสกรูส่วนที่หลวมให้แน่น หรืออาจทากล่องครอบแหล่งเสียง 3. ผู้ปฏิบัติงาน (Receiver) อาชีวอนามัย <อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน : สาขาวิชาอาชีอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2016 29
1.10 หลักการควบคุมอันตรายจากเสียง (ต่อ) 5. หากระบวนการผลิต/วิธีการทำงาน ใหม่มาแทน เช่น การทุบโลหะเสียงดังมาก ใช้วิธีบีบอัด แทน ขัดผิวโลหะอาจใช้สารเคมีทำความ สะอาดแทน แหล่งกำเนิด (Sources) 2. ทางผ่าน (Path) 6. ลดระยะเวลาในการสัมผัสกับเสียง โดย กำหนดคนเข้าไปทำงานในที่มีเสียงดังมากไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด เช่น ดังมากกว่า 95 dB ทำไม่เกินวันละ 4 ชม. ดัง 100 dB ไม่เกิน 2 ชม. ดังเกินกว่า 115 dB ไม่ควรให้คนเข้าไป 3. ผู้ปฏิบัติงาน (Receiver) 22/5/2016 30
1.10 หลักการควบคุมอันตรายจากเสียง (ต่อ) แหล่งกำเนิด (Sources) ที่อุดหู (Earplug) ที่ครอบหู (Earmuff) 2. ทางผ่าน (Path) 7. ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ที่อุดหู (Ear plug) ที่ครอบหู (Ear muff) ต้องศึกษาลักษณะการใช้งาน เช่น ต้องการลดเสียงลงมาให้ต่ำกว่า มาตรฐานไม่เกิน 10-12 dB ใช้ Ear plug 3. ผู้ปฏิบัติงาน (Receiver) 22/5/2016 31