งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คลื่นเสียง(Sound Waves)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คลื่นเสียง(Sound Waves)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คลื่นเสียง(Sound Waves)

2 คลื่นเสียง เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุและเรียกวัตถุที่สั่นสะเทือนว่าแหล่งกำเนิดเสียง คลื่นเสียง (Sound Waves) เป็นคลื่นตามยาว เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปในอากาศ จะพบว่าการถ่ายทอดพลังงานเสียงของโมเลกุลของอากาศนั้น โมเลกุลเคลื่อนที่กลับไปกลับมา (เกิดการสั่น) มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มาจากแหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ประมาณ 20-20,000 เฮิรตซ์

3 อัตราเร็วเของเสียงสียง
อัตราเร็วของเสียง V = t เมื่อ V คือ อัตราเร็วเสียงในอากาศหน่วยเมตรต่อวินาที t คือ อุณหภูมิอากาศหน่วยองศาเซลเซียส ตารางแสดงอัตราเร็วของเสียงที่อุณหภูมิต่าง ๆ อุณหภูมิของอากาศ (องศาเซลเซียส) อัตราเร็วเของเสียงสียง (เมตรต่อวินาที) 20 100 500 1,000 343 391 631 931

4 อัตราเร็วของเสียงที่ 20 0C (เมตรต่อวินาที)
ตารางแสดง อัตราเร็วของเสียงในตัวกลางชนิดต่าง ๆ ชนิดของตัวกลาง อัตราเร็วของเสียงที่ 20 0C (เมตรต่อวินาที) คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน อากาศ ไนโตรเจน เอธิลแอลกอฮอล์ น้ำ ทองคำ เงิน ทองแดง เหล็ก 267 329 344 346 1207 1498 1743 2610 3560 5130

5 ธรรมชาติของเสียง

6 1. ระดับเสียง (Pitch) เสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ เรียกว่า อินฟราโซนิก(Infra Sonic) มนุษย์เราได้ยินเสียงในช่วงความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ เรียกว่า โซนิก(Sonic) คลื่นที่มีความถี่สูงกว่า 20,000 เฮิรตซ์ เรียกว่า อัลตราโซนิก(Ultra Sonic)

7 2. คุณภาพเสียง เสียงจากเครื่องดนตรีต่างๆเล่นโน้ตตัวเดียวกัน แต่เราก็สามารถแยกออกได้ว่าเสียงไหน เป็นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดใด ทั้งนี้ เพราะคุณภาพของเสียง โดยมากเครื่องดนตรีจะส่งเสียงที่มีหลายๆความถี่ออกมาพร้อมๆกัน ซึ่งจำนวนฮาร์โมนิค หรือแอมพลิจูดของแต่ละฮาร์โมนิคไม่เท่ากัน ความถี่แต่ละฮาร์โมนิคที่ปล่อยออกมารวมทั้งความถี่มูลฐานจะผสมผสานกันเป็นเสียงเฉพาะของเครื่องดนตรีชนิดนั้น

8 3. ความดังของเสียง ความเข้มเสียง (Intensity : I)
คืออัตราการถ่ายทอดพลังงานของเสียง ต่อพื้นที่ที่ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของเสียง I  แทนความเข้มเสียง มีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร (W/m2) P  แทนกำลังของแหล่งกำเนิดเสียง มีหน่วยเป็นวัตต์ (W) A  แทนพื้นที่ที่เสียงตกกระทบ มีหน่วยเป็นตารางเมตร (m2) ความเข้มของเสียงจะลดลง เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ห่างออกไป จากแหล่งกำเนิดเสียง

9 ระดับความเข้มเสียง (Intensity Level)
ระดับความเข้มเสียง (Intensity Level) เป็นตัวเลขเปรียบเทียบกับความเข้มเสียงในหน่วยเดซิเบล (dB)   คือ ระดับความเข้มเสียง หน่วยเป็นเดซิเบล (decibel , dB)   I0 คือ ความเข้มเสียงต่ำสุดที่มนุษย์ได้ยินมีค่า วัตต์ต่อตารางเมตร หรือ 0 เดซิเบล I คือ ความเข้มเสียงที่ระยะใด ๆ (W/m2) โดยทั่วไปการกำหนดมาตรฐานในการบอกระดับความเข้มของเสียงจะใช้หน่วยเป็นเบล โดยมีหลักว่า ความเข้มของเสียงต่ำที่สุดที่หูคนปกติเริ่มได้ยินมีค่า วัตต์ต่อตารางเมตร มีระดับความเข้มเสียงเป็น 0 เบล เรียกว่า ขีดเริ่มของการได้ยิน

10 ระดับเสียง(หน่วยเดซิเบล)
ระดับความเข้มเสียงในหน่วยเดซิเบลที่มาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ กัน แหล่งกำเนิดเสียง ระดับเสียง(หน่วยเดซิเบล) ขีดเริ่มต้นของการได้ยิน ใบไม้ไหว เสียงเงียบภายในห้อง เสียงกระซิบ เสียบเงียบในห้องสมุด การพูดคุย การจราจรในตัวเมือง รถไฟใต้ดิน เสียงหวูดของรถจักรไอน้ำ เสียงจรวดหรือยานอวกาศทะยานขึ้นฟ้า 10 20 30 40 60 70 90 100 180

11 สมบัติของเสียง การสะท้อน (Reflection)
เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่ง ไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทันทีทันใด คลื่นบางส่วนหรือทั้งหมดจะเด้งกลับเรียกว่าการสะท้อนเสียง เสียงสะท้อนจะดังที่สุดเมื่อมุมที่รับเสียงสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ ของเสียงวัตถุที่มีผิวเรียบจะสะท้อนเสียงได้ดีกว่าวัตถุที่มีผิวขรุขระ ตามปกติเมื่อคลื่นเสียงตกกระทบแก้วหู การสั่นสะเทือนของแก้วหูและความรู้สึกที่เราได้ยินเสียงจะติดประสาทหูอยู่นานประมาณ 1/10 วินาที ดังนั้นเมื่อเราตะโกนใกล้หน้าผา คลื่นเสียงจากเราจะเคลื่อนที่ไปกระทบหน้าผาแล้วสะท้อนกลับ ถ้าคลื่นเสียงเดินทางกลับมาสู่หูเราช้ากว่า 1/10 วินาที หูเราจะแยกเสียงตะโกนและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ เราเรียกว่า เกิดเสียงก้อง

12 สมบัติของเสียง สมบัติของเสียง การหักเห (Refraction)
เมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ทำให้อัตราเร็วของเสียงเปลี่ยนไป และทิศทางการเคลื่อนที่ของเสียงเปลี่ยนไปด้วย ถ้ามุมหักเหของเสียงโตกว่า 90 องศา ทิศทางของคลื่นเสียงจะกลับเข้าสู่ตัวกลางเดิม เกิดการสะท้อนกลับหมด การเกิดฟ้าแลบโดยไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง

13 สมบัติของเสียง สมบัติของเสียง การเลี้ยวเบน (Diffraction)
เป็นความสามารถของคลื่นเสียงที่จะเดินทางอ้อมสิ่งกีดขวางหรือเลี้ยวเบนผ่านช่องว่างมาได้ คลื่นเสียงที่มีความถี่และความยาวคลื่นมาก สามารถเดินทางอ้อมสิ่งกีดขวางได้เป็นอย่างดี ถ้าสิ่งกีดขวางมีขนาดใหญ่กว่าความยาวคลื่นของคลื่นเสียงมาก ๆ คลื่นเสียงก็จะ อ้อมสิ่งกีดขวางได้ยากขึ้น

14 สมบัติของเสียง สมบัติของเสียง การแทรกสอด (Interference)
เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงตั้งแต่ 2 แหล่งขึ้นไปเมื่อมารวมกันอาจทำให้เกิดเสียงดังขึ้นกว่าเดิมหรือค่อยลงกว่าเดิมก็ได้ คลื่นเสียงที่มีความถี่ต่างกันเล็กน้อย(ไม่เกิน 7 เฮิรตซ์) เมื่อเกิดการแทรกสอด จะได้ยินเสียงบีตส์ (Beats) การเกิดบีตส์ของคลื่นเสียง 2 คลื่น

15 ปรากฏการณ์ทางเสียง ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler Effect)
ปรากฏการณ์ของเสียงที่เกิดขึ้น เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เข้าหาและออกห่างจากผู้สังเกต ผู้สังเกตจะได้ยินเสียงที่ระดับแตกต่างกัน เป็นปรากฏการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราเร็วของการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดเสียง ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เข้าหาผู้ฟังด้วยความเร็วคงที่ผู้ฟังจะได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงกว่า ความถี่ของแหล่งกำเนิดเสียง กรณี ผู้สังเกตหยุดนิ่ง แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ กรณีผู้สังเกตเคลื่อนที่ โดยแหล่งกำเนิดหยุดนิ่ง

16 ปรากฏการณ์ทางเสียง ปรากฏการณ์ทางเสียง
เรโซแนนซ์ (Resonance) เป็นปรากฏการณ์ที่วัตถุใดๆ ถูกทำให้สั่นด้วยความถี่ซึ่งตรงกับความถี่ธรรมชาติ (Natural frequency) ของวัตถุนั้น ทำให้วัตถุเกิดการสั่นอย่างรุนแรง ขณะเกิดเรโซแนนซ์วัตถุมีการสั่นสะเทือนรุนแรง เนื่องจากสะสมพลังงานไว้มากจึงทำให้เกิดเสียงดังมากขึ้น มนุษย์ได้นำหลักการเกิดเรโซแนนซ์ของเสียงไปใช้ในการทำให้เสียงของเครื่องดนตรีบางชนิด  เช่น กีตาร์ ไวโอลิน ซอ เป็นต้น โดยให้เส้นเอ็นพาดไปบนกล่องไม้หรือกล่องโลหะที่ภายในกลวงเมื่อสีหรือดีดจะเกิดเสียงดังมากขึ้น

17 หูและการได้ยิน หูส่วนนอก ประกอบด้วย - ใบหู ทำหน้าที่ในการรับเสียง
- ช่องหู (Auditory canal) ทำหน้าที่ในการกำทอนเสียง (resonance) แล้วส่งไปยังเยื่อแก้วหู - เยื่อแก้วหู (tympanic membrane) ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับความดันเสียง

18 หูและการได้ยิน หูส่วนกลาง หูและการได้ยิน ทำหน้าที่ปรับคลื่นเสียง
เพื่อให้เข้าไปกระตุ้นหูชั้นใน โดยการเปลี่ยนพลังงานเสียงจากอากาศ ให้ผ่านช่องหูชั้นกลางเข้า เป็นการสั่นสะเทือนของของเหลว กระดูกสามชิ้น (Ossicles) ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงที่มากระทบแก้วหูให้เป็นคลื่นของเหลวขึ้นในหูส่วนใน หลอดยูสเตเชียน (eustachian) ปกติช่องนี้จะปิด แต่ในขณะเคี้ยวหรือกลืนอาหารท่อนี้จะเปิด อากาศภายในหู ส่วนกลาง จึงสามารถติดต่อกับภายนอกได้ เป็นการปรับความดัน 2 ด้านของเยื่อแก้วหูให้เท่ากัน ทำให้การได้ยินดีขึ้น

19 หูและการได้ยิน หูส่วนใน หูและการได้ยิน ประกอบด้วย
หลอดครึ่งวงกลม 3 หลอด (semicircular canals) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสมดุลของร่างกาย กระดูกรูปหอย (cochlea) ภายในบรรจุของเหลวมีเยื่อบาซิลาร์ (basilar) มีปลายประสาทที่ไวต่อเสียง เมื่อสัญญาณมาถึงสมอง สมองทำหน้าที่แปลความเพื่อให้เกิดความหมาย การแปลความหมายของสมอง จะทำให้คนเราได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ ได้นอกจากนี้สมองยังควบคุมการตอบสนองสิ่งเร้าซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพต่างๆ ที่แต่ละบุคคลประสบมา เสียงนั้นอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้ เช่น ทำให้หัวใจเต้นแรงทำให้ร้องไห้ หรือหัวเราะ นอกจากนี้ยังไปกระตุ้นส่วนต่าง ๆ ของสมองเช่น ส่วนความจำภาพ ส่วนความจำเสียง ซึ่งได้สะสมไว้ตั้งแต่เกิด ถ้าสมองส่วนความจำเสียงถูกทำลาย บุคคลนั้นจะได้ยินแต่เสียงโดยไม่รู้ความหมาย

20 หูและการได้ยิน ปลายประสาทในหูส่วนใน จะเปลี่ยนพลังงานเสียงไปเป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วเคลื่อนที่ไปตามเส้นประสาทรับเสียงไปยังศูนย์รับเสียงในแกนสมองและผ่านศูนย์รับทอดพลังงานไฟฟ้าหลายจุดในสมองไปจนถึงกลีบสมองเพื่อประมวลข้อมูลจากประสบการณ์ที่เคยได้ยินมา เพื่อรู้ความหมายของเสียง ดังนั้นเราจะได้ยินรับรู้ความหมายและสามารถพูดตอบโต้เข้าใจได้ต้องมีอวัยวะรับเสียงที่ดีตั้งแต่หูส่วนนอก หูส่วนกลางและหูส่วนใน และยังต้องมีศูนย์รับรู้ในสมองดีด้วย ดังนั้นคนหูตึง หรือหูหนวกถ้าไม่เคยรู้ความหมายของเสียงเลยจึงพูดไม่ได้ เช่น คนเป็นใบ้หรือคนปัญญาอ่อน เป็นต้น

21 หูและการได้ยิน ผลกระทบของมลพิษทางเสียง หูและการได้ยิน
มลพิษทางเสียงที่มีต่อหูคือภาวะที่เสียงดังเกินไปซึ่งคนเราไม่ต้องการที่จะได้ยิน สาเหตุและการเกิดมลพิษทางเสียง 1) แหล่งกำเนิดของเสียงรบกวนประเภทอยู่กับที่ ได้แก่ สถานประกอบการต่าง ๆ เช่น โรงภาพยนตร์ โรงงานอุตสาหกรรม อู่ซ่อมรถยนต์ 2) แหล่งกำเนิดเสียงรบกวนประเภทเคลื่อนที่ ได้แก่ เสียงที่เกิดจากยานพาหนะ ทั้งทางบก ทางน้ำ ผลกระทบของมลพิษทางเสียง - ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน - ผลกระทบของเสียงทางด้านจิตใจ - ผลกระทบของเสียงต่อสุขภาพโดยทั่วไป - ผลกระทบของเสียงต่อการทำงาน - ผลกระทบของเสียงต่อการพูดคุยและการติดต่อสื่อสาร

22 การส่งเสียงระยะไกลและการบันทึกเสียง
การเปลี่ยนรูปพลังงานเสียงไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้เราสามารถส่งเสียงไปได้ในระยะไกล ๆ การบันทึกเสียงบนแผ่นเสียง a) เครื่องเขียนเสียง b) เข็มครูดแผ่นดีบุก เกิดร่องเสียง

23 แถบบันทึกเสียง (Cassette Tape)
ให้เสียงผ่านไมโครโฟน เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ผ่านเครื่องขยายสัญญาณไฟฟ้า เพื่อให้มีพลังงานสูงขึ้น แล้วผ่านไปยังหัวบันทึกเสียง ภายในประกอบด้วยขดลวดพันรอบวงแหวนเหล็ก เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะทำให้วงแหวนเหล็กมีอำนาจเป็นแม่เหล็กและเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นในช่องแคบ ๆ ระหว่างขั้วของวงแหวน ความเข้มของสนามแม่เหล็กจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณไฟฟ้าของเสียง เมื่อแถบบันทึกเสียงเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก จะทำให้สารแม่เหล็กบนแถบเกิดการเหนี่ยวนำเป็นแม่เหล็ก การบันทึกเสียงและผลิตเสียงจากเทป

24 คอมแพคดิสก์ (Compact Disc)
คอมแพคดิสก์ทำด้วยอะลูมิเนียมเคลือบผิวด้วยพลาสติกใส ผิวหน้าของแผ่นจะมีลักษณะเป็นหลุมเล็ก ๆ ไม่สม่ำเสมอ จำนวนมากมาย ซึ่งเกิดจากการบันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งใช้ยิงเลเซอร์ให้ไปกระทบผิวหน้าของแผ่น ตามลักษณะของข้อมูลที่บันทึก เมื่อกระทบกับข้อมูลที่บันทึกลำแสงจะเกิดการสะท้อน และเมื่อแสงสะท้อนผ่านหลอดไฟโตดีเทคเตอร์ จะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งจะแปลงต่อไปเป็นสัญญาณเสียง

25 อัลตราโซนิกส์ ด้านการเดินเรือ
เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง อัลตราโซนิกส์ คือเสียงที่มีความถี่สูงมากกว่า 20,000 เฮิรตซ์ อัลตราโซนิกส์ ด้านการเดินเรือ โซนาร์ (Sound Navigation Ranging, SONAR) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความลึกของใต้ท้องทะเลลึกหรือวัตถุที่อยู่ในน้ำ โดยการส่งคลื่นเสียงเดินผ่านน้ำทะเลไป ลงกระทบผิวใต้ทะเล มหาสมุทร    หรือวัตถุใต้น้ำคลื่นเสียงจะสะท้อนเครื่องรับและเครื่องรับสามารถคำนวณระยะทางได้

26 เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง
อัลตราโซนิกส์ด้านการแพทย์ ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในภาชนะหรือในอาหารต่าง ๆ เช่น นมสด เพื่อให้ปลอดจากเชื้อต่าง ๆ โดยที่รักษาสารอาหารต่าง ๆ ไว้ได้ ใช้ในการตรวจเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาศัยการสะท้อนกลับของอัลตราโซนิกส์แล้วขยายสัญญาณให้ปรากฎภาพบนจอ (ตรวจดูเด็กทารกในครรภ์มารดา เพราะไม่มีอันตรายเหมือนการใช้เอกซเรย์ ) เครื่องยิงอัลตราโซนิกส์ทำลายก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือในไต แทนการผ่าตัด การตรวจครรภ์ด้วยอัลตราโซนิกส์

27 อัลตราโซนิกส์

28 อัลตราโซนิกส์ อัลตราโซนิกส์กับสิ่งที่มีชีวิต ค้างคาว
ใช้อัลตราโซนิกส์ในการนำทาง(Echo Location) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้แสง เพราะค้างคาวสามารถบินในห้องที่มีสิ่งกีดขวางมากมายในเวลากลางคืนได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว โดยไม่ชนอะไรเลยแม้แต่เส้นลวดเล็ก ๆ ที่ขึงไว้ทั่วห้อง แต่ในเวลากลางวันถ้าปิดอวัยวะทำเสียงหรือปิดหูไว้ ค้างคาวไม่สามารถบินได้ดี แม้แต่ในห้องที่มีสิ่งกีดขวงเพียงเล็กน้อย และบินชนแม้กระทั่งผนังห้อง ค้างคาวส่งเสียงอัลตราโซนิกส์ ที่มีความถี่สูงระหว่าง 10, ,000 เฮิรตซ์

29 อัลตราโซนิกส์

30 ห้องไร้เสียงสะท้อน เป็นห้องที่มีผนังภายในบุด้วยวัสดุดูดกลืนเสียงสามารถดูดกลืนเสียงที่มาตกกระทบได้หมด หรือเกือบหมด ทำให้ปราศจากเสียงรบกวนจากภายนอก และเสียงสะท้อนจากภายในห้อง ซึ่งเรียงสภาพนี้ว่าสนามไร้เสียงเสรี ประโยชน์ของห้องไร้เสียงสะท้อนใช้เป็นห้องวัดความถี่ขีดเริ่มในการได้ยินของหู

31 การใช้เสียงแทนรังสีเอกซ์
มีผู้ประดิษฐ์เครื่องมือเรียกว่า "เอ็กโคคาร์ดิโอสโคป"(Echo-cardioscope) เพื่อใช้ตรวจดูอวัยวะภายในได้สำเร็จ เครื่องมือนี้จะส่งเสียงที่มีความถี่สูงเข้าสู่ร่างกาย เสียงที่สะท้อนจากอวัยวะภายใน จะถูกนำมาสังเคราะห์เกิดเป็นภาพอวัยวะภายในที่มองเห็นได้บนจอ

32 หูคอมพิวเตอร์ ชุดอุปกรณ์ประกอบด้วยส่วนที่ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณวิทยุ สัญญาณวิทยุดังกล่าวจะถูกส่งไปยังตัวรับและตัวกระตุ้นที่ฝังอยู่ในกระดูกด้านหลังใบหู ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณวิทยุให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกถ่ายทอดไปตามสายไฟเล็ก ๆ ทำให้คนหูหนวกสามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ ได้เหมือนคนปกติ

33 ระบบการตรวจสอบเสียงใช้ในการเปิดประตู
เครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกเสียงของบุคคลหนึ่ง ๆ ไว้ โดยการบันทึกคำพูดที่เหมาะสมที่สุด 4 ประโยค เมื่อบุคคลนั้นต้องการจะผ่านเข้าไปในที่ลับเฉพาะ จะต้องมีการบันทึกเลขประจำตัวลงบนบัตรแล้วพูดตามประโยคที่เคยบันทึกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้พูดซ้ำประโยคใดประโยคหนึ่งใน 4 ประโยคนั้น ถ้าเสียงที่พูดออกไปเหมือนกับเสียงที่บันทึกเอาไว้ประตูก็จะเปิดออก

34 ระบบเสียงในโรงภาพยนตร์
เทคโนโลยีที่ใช้ในวงการภาพยนตร์ มีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบเสียงแบบโมโนโฟนิก(Monophonic sound system ) คือระบบเสียงที่มีช่องทางเสียง (Channel) เพียงช่องเดียวเท่านั้น สำหรับการฟังระบบเสียงโมโนโฟนิกจะใช้ลำโพงเพียงตัวเดียว หรือจะมากกว่า 1 ตัว แต่ทุกตัวจะให้เสียงเดียวกันทั้งหมด ระบบเสียงแบบสเตอริโอโฟนิก( Stereophonic sound system ) เป็นระบบเสียงที่ประกอบด้วยช่องทางเสียง 2 ช่อง สำหรับการฟังจะต้องใช้ลำโพง 2 ตัว แต่ละตัวจะให้เสียงในแต่ละช่องทาง สำหรับระบบ Stereo ในโรงหนัง จะประกอบด้วยช่องทางเสียง 3 – 4 ช่อง โดยมี 2 ช่อง เป็นสัญญาณเสียงซ้าย - ขวา และมีสัญญาณเสียง Effect อยู่ด้านหลัง (Surround) และมีสัญญาณเสียงบทพูด (Dialogue) อยู่ด้านหน้า เพื่อดึงดูดความสนใจให้อยู่บริเวณจอภาพ

35 ระบบเสียงในโรงภาพยนตร์
SRD : Special Recording Digital เป็นระบบเสียงดิจิตอล DTS : Digital Theatre System เป็นระบบเสียงดิจิตอลที่บันทึกข้อมูลลงในแผ่นซีดีรอม และใช้เปิดไปพร้อมกับการฉายภาพยนตร์ SDDS : Sony Dynamic Digital Sound เป็นระบบเสียงดิจิตอล คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทโซนี่ THX : Tomilinson Holmoan Experiment

36 คำถาม 1. เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร 2. เสียงก้องคืออะไร
1. เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร 2. เสียงก้องคืออะไร 3. คุณภาพเสียงหมายถึงอะไร 4. ระดับความเข้มเสียงวัดได้อย่างไร 5. SONAR คืออะไร มีประโยชน์ทำสิ่งใดบ้าง 6. นักศึกษาคิดว่าคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง ๆ ทำให้แก้วแตกได้หรือไม่ จงอธิบาย 7. คลื่นเสียงอินฟราโซนิกส์ (infrasonic) หมายถึงอะไร เกิดมาได้อย่างไร 8. จงอธิบายหลักการบันทึกเสียง และหลักการทำงานของแผ่นซีดี 9. เครื่องเสียงระบบโมโนกับระบบสเตอริโอแตกต่างกันอย่างไร 10. จงอธิบายประโยชน์ของอัลตราโซนิกส์ ในด้านต่อไปนี้ 10.1 ด้านการประมง 10.2 ด้านการแพทย์ 10.3 ด้านสุขภาพและความงาม


ดาวน์โหลด ppt คลื่นเสียง(Sound Waves)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google