การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research ดร.เดชา บัวเทศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี dechaphd089@gmail.com
ที่มาของความรู้ มาได้ 4 ทาง คือ 1. จากประสบการณ์ 2. จากเหตุผล 3. จากผู้รู้ และ 4. จากการหยั่งรู้
ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ การปฏิบัติ/การกระทำกับข้อมูลที่แจงนับไม่ได้ เน้นการสร้างแนวคิด การให้ความหมาย/การตีความเพื่อให้เกิดความเข้าใจในมนุษย์และสังคม ใช้หลากหลายวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนา และการเข้าไปมีส่วนร่วม
ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ ให้ความสำคัญกับข้อมูลประเภทอัตชีวประวัติ โลกทัศน์ และความรู้สึกนึกคิดของปัจเจกบุคคลเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูงในการวิเคราะห์ แต่ใช้การอุปมานเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการทำวิจัยในสภาพธรรมชาติ : ไม่มีการจัด หรือการควบคุมสภาพแวดล้อม ผู้วิจัยจะสรุปปัญหาด้วยตรรกะแบบอุปนัย (Induction) มองภาพรวมรอบๆ ด้าน (Holistic Perspective) เน้นข้อมูลเชิงคุณภาพ เน้นกระบวนการพลวัต (Dynamic)
ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นที่บริบท (Contextual) วิธีการวิจัยมีความยืดหยุ่นสูง เน้นความรู้สึกร่วม ความเข้าใจ (Empathy and insight) คุณภาพของผู้วิจัย: ต้องเป็นกลาง
วัตถุประสงค์ที่ต้องใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นความเข้าใจและความหมายในสิ่งที่กำลังทำวิจัย ไม่ใช่ความถูกต้อง โดยไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบสมมติฐาน และความมีนัยสำคัญทางสถิติ
ความแตกต่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ อะไร คือ ความแตกต่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความแตกต่างในลักษณะของข้อมูล ต้องการหาข้อมูลประเภท “ทำไม” และ “อย่างไร” มากกว่าแค่ใครทำอะไรเท่านั้น ให้ความสำคัญกับความหมายในทัศนะของ “ผู้ตอบ” ไม่ใช่ “ผู้ศึกษา”
ความแตกต่างในการเก็บข้อมูล เน้นการวิจัยภาคสนาม จำนวนหน่วยการศึกษาไม่มาก ไม่มีโครงสร้างคำถามตายตัว
ความแตกต่างในการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่จำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูง เน้น การอธิบายระบบโดยรวม
ข้อเด่น ข้อดี และข้อจำกัด ต้องการข้อมูลที่รอบด้าน มีการอธิบายปรากฏการณ์อย่างลึกซึ้ง ต้องการเข้าใจระบบความคิด ระบบความเชื่อของผู้ตอบโดยตรง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่ม ค้นหาสาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เก็บข้อมูลจากบุคคลที่ได้เลือกสรรมาอย่างดีแล้ว ข้อดี สนับสนุนข้อมูล/สมมติฐานของการวิจัยเชิงปริมาณให้คำตอบที่ชัดเจนและหนักแน่นยิ่งขึ้น สามารถทำวิจัยในกลุ่มคนขนาดเล็กหรือมีข้อจำกัดบางประการ เป็นงานวิจัยที่เอื้อต่อการวิจัยในลักษณะที่เป็นนามธรรม ข้อจำกัด เป็นงานที่เกี่ยวกับสถานการณ์เฉพาะ ความแม่นตรงเชื่อถือวิธีการเก็บรวบรวมยากจะทดสอบ ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและประชากรที่ศึกษา ไม่มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลที่แน่นอน จึงยากต่อการนำไปใช้ซ้ำ
ขั้นตอนการทำวิจัย
องค์ประกอบและขั้นตอนในการวางแผน การวิจัยเชิงคุณภาพ • ปัญหาชั่วคราว • เลือกพื้นที่ • เวลาศึกษา • ตัวแปรต่างๆ ที่ศึกษา สมมติฐานชั่วคราว • ได้ปัญหาวิจัย • สัมภาษณ์ • สังเกตแบบมีส่วนร่วม • ข้อมูลเอกสาร • ปรับวิธีการเก็บ • ปรับสมมติฐาน สมมติฐาน การเก็บข้อมูล การวางแผน รูปแบบ • วิธีเขียนแสดงหลักฐาน • การพิมพ์ • การตรวจสอบ • ฯลฯ ลดทอนขนาดข้อมูล • จัดทำให้เป็นระบบ • การแสดงหลักฐาน • ตรวจสอบข้อมูล / ทฤษฎี • การสรุป การเขียนรายงาน การวิเคราะห์แปลผล
ชื่อเรื่องของการวิจัย การตั้งชื่อโครงการวิจัยอาจทำได้โดยการนำเอามิติ ต่างๆ ของการวิจัยมา ประกอบกัน อย่าใช้เพียงมิติเดียว สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญใน การศึกษา ลักษณะของการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรเป้าหมายหรือสถานศึกษา ปีที่ทำการศึกษา เป็นต้น สิ่งที่จะช่วยให้การตั้งชื่อโครงการสะท้อนให้เห็นว่า งานวิจัยนี้เกี่ยวกับอะไรก็คือ คำสำคัญ (Key word) ต่างๆ ควรจะปรากฏในชื่อเรื่องด้วย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคำที่แสดงให้เห็นถึงประเด็นที่จะทำการวิจัย หรือขอบเขตของการวิจัย
ชื่อเรื่องของการวิจัย องค์ประกอบของชื่อเรื่องวิจัยนั้นควรเขียน ให้เป็น KPM K = Knowledge P = Process M = Management และที่สำคัญต้องมองหาตัว ของ “วัฒนธรรม” ให้เจอ
ลักษณะหัวข้อวิจัย (Research Title) 1. ต้องมีประเด็นทางวัฒนธรรมการพัฒนาท้องถิ่น ตาม คำสำคัญ (Key word) เช่น ภูมิปัญญา ค่านิยม จริยธรรม วิถีชีวิต อาชีพ ประเพณี บรรทัดฐาน จารีต ภาษา ชาติพันธุ์ ปัจจัยการดำรงชีวิต ศิลปะ ฯลฯ 2. ต้องเป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือ นวัตกรรม (Innovation orientated) 3. ต้องมีมูลค่าเพิ่ม (Value – added orientated) 4. ต้องเป็นหัวข้อที่ร้อนแรง น่าสนใจ (Inspiration orientated) 5. ต้องทันสมัย อยู่ในกระแส (Modernity orientated) 6. ต้องมีพลังขับเคลื่อน (Potential orientated)
พลังขับเคลื่อนมี 6 แนวทาง คือ 1. ต้องเป็นพลวัต (Dynamic) ทำทุกอย่างให้มีความเคลื่อนไหว 2. ต้องมีพลัง (Potential) ที่ครอบคลุมทุกขอบเขตของงานวิจัยนั้นๆ 3. ต้องมีพรมแดน (Frontier) ทะลุขอบเขตเนื้อหา หรือ Holistic หรือองค์รวม 4. พบ/เพิ่มความรู้ใหม่ (Innovative) ได้ความรู้ หรือ นวัตกรรมใหม่ 5. พร้อมใช้ (Applicability) นำไปใช้ได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เช่น ตอบ คำถามสังคม/ชาติ 6. เพิ่มมูลค่า (Value – added) ยกจากหิ้งสู่ห้าง
การเพิ่มมูลค่า (Value – added) มี 6 อย่าง Commercial Value มีมูลค่าเชิง พาณิชย์ Social Value มีมูลค่าทางสังคม Cultural Value มีมูลค่าทาง วัฒนธรรม Aesthetic Value มีมูลค่าด้านความ งดงาม Inspiration Value มีคุณค่าทางแรง บันดาลใจ Environmental Value มีคุณค่า ทางด้านสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างหัวข้อวิจัย วิสาหกิจชุมชน : รูปแบบการส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยการมีส่วน ร่วมของชุมชนกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก การท่องเที่ยวชุมชน : แนวทางการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และสถานประกอบการในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ตัวอย่างหัวข้อวิจัย การทำนาข้าวจ่อม : ภูมิปัญญาท้องถิ่นใน การทำนาข้าวจ่อมของเครือข่ายเกษตรกรรม ทางเลือก อำเภอขุนยวม จังหวัด แม่ฮ่องสอน กระเทียม : รูปแบบที่เหมาะสมในการ พัฒนาคุณภาพกระเทียมโดยไม่ใช้สารเคมี ของชุมชนบ้านแม่สุริน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตัวอย่างหัวข้อวิจัย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : รูปแบบการจัดการ ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะภูกระแต โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หนี้สิน : รูปแบบการจัดการหนี้สินเชิงบูรณา การเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนบ้านดง ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
ตัวอย่างหัวข้อวิจัย ขยะ : ยุทธศาสตร์การจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านนาบอน หมู่ 2 ต.ทุ่งงาม อ.เสริมงาม จ.ลำปาง กลุ่มอาชีพ : รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการตนเองของกลุ่มอาชีพในพื้นที่โครงการ พระราชดำริหมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพง กิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
ตัวอย่างหัวข้อวิจัย เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น : การพัฒนากระบวนการจัดทำแผนแม่บทเศรษฐกิจชุมชน ท้องถิ่น บ้านป่าไม้แดง หมู่ 2 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ บ้านญ้อ : การฟื้นฟูและอนุรักษ์ภาษา,ตำนาน,ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการละเล่น พื้นบ้านญ้อ บ้านท่าขอนยาง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อย่างมีส่วนร่วม
องค์ประกอบในการทำวิจัย ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา/ภูมิ หลัง คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์/ความมุ่งหายของการวิจัย ขอเขตการวิจัย (วิธีวิจัย/เนื้อหา/เวลา/พื้นที่/ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง) ความสำคัญของการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Frame work)
V shape ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา/ ภูมิหลัง ต้องรู้ว่า ระดับโลก ??? ระดับทวีป ??? V shape ระดับประเทศ ??? ระดับเขต/จังหวัด ??? ระดับพื้นที่วิจัย ??? ต้องรู้ว่า - สภาพของประเด็นที่กำลังทำการวิจัย เป็นอย่างไร????? - สภาพนั้นมีการจัดการปัญหาอะไรไปแล้วบ้าง?????? - ผลเป็นอย่างไร +1/0/-1 - ถ้าเราไม่แก้ไขจะเป็นอย่างไร????
คำถามการวิจัย/วัตถุประสงค์/ความมุ่งหาย ของการวิจัย ตัวอย่าง คำถามการวิจัย 1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาของ............มีอะไรบ้าง และเป็นอย่างไร 2. แนวทาง/รูปแบบ/วิธีการดูแลสุขภาพของ..........ควรมีรูปแบบที่เหมาะอย่างไร 3. ผลของการพัฒนา................เป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาของ............ 2. เพื่อหาแนวทาง/รูปแบบ/วิธีการดูแลสุขภาพของ.......... 3. เพื่อนำเสนอผลของการพัฒนา................
ขอบเขตการวิจัย มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ วิธีวิจัย....... เนื้อหา....... เวลา......... พื้นที่....... ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง .......(สอดคล้องกับบทที่ 3)
ความสำคัญของ การวิจัย ตัวอย่าง 1. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวางแผน กำหนดแนวทาง วิธีการในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 2. เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์หรือแนวทางในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกันการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ที่มีองค์กรต่างๆ ในชุมชนเป็นผู้กำหนดมาตรการการดำเนินงานร่วมกัน 3. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ได้นำนโยบาย ข้อมูล ยุทธศาสตร์ และองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน
ชื่อเรื่อง .....การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว นิยาม ศัพท์เฉพาะ รูปแบบ หมายถึง ................ การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง ......... การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หมายถึง ........... การดูแลสุขภาพ หมายถึง .............. การป้องกันโรค หมายถึง ............. วัด หมายถึง .............
กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Frame work) สภาพปัจจุบัน ปัญหาของ การจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด พื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว กำหนดแนวทางการพัฒนา รูปแบบการจัดการ สิ่งแวดล้อมในวัดพื้นที่อำเภอ วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว การพัฒนารูปแบบการ จัดการสิ่งแวดล้อมในวัดพื้นที่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัด สระแก้วโดย คณะสงฆ์ พระสงฆ์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการจัดการ สิ่งแวดล้อมในวัดพื้นที่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัด สระแก้ว
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม คุณลักษณะทางประชากร เพศ อายุ การศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ สภาพเศรษฐานะ สภาพการเจ็บป่วย เข้าใจ (ระดับการรู้แจ้ง) - การอ่านและการทำความเข้าใจกับตัวเลขและตัวหนังสือ - ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง - การสื่อสารและโต้ตอบ - การตัดสินใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง เข้าถึง รูปแบบกิจกรรมการดุแลสุขภาพตนเอง ทั้งระดับบุคคลและระดับกลุ่ม นำไปใช้ได้ (มีความแตกฉานทางสุขภาพ) - มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง - บอกต่อหรือแนะนำให้ผู้อื่นได้
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. ทบทวนเพื่อเพิ่มความรู้และความมั่นใจให้แก่ผู้วิจัย 2. ทบทวนในเชิงเนื้อหาสาระ เพื่อทำให้เห็นภาพโดย กว้างของงานวิจัยที่จะทำ 3. ทบทวนในเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงถึงการ พัฒนาของประเด็นที่จะทำการวิจัย 4. ทบทวนในเชิงทฤษฏี เพื่อเปรียบเทียบว่าทฤษฏีต่างๆ นั้นกล่าวถึงประเด็นปัญหาที่จะทำวิจัย 5. ทบทวนในเชิงวิธีการศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นว่างานวิจัย แต่ละชิ้นที่ทำมีวิธีการศึกษาอย่างไร 6. ทบทวนในเชิงบูรณาการ เพื่อสรุปว่า ณ ขณะใด ขณะหนึ่งมีอะไรบ้างที่รู้กันแล้ว
รายการที่จะ ทบทวนวรรณกรรม ชื่อเรื่อง .....การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว รายการที่จะ ทบทวนวรรณกรรม ตัวอย่าง 1. แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อม 2. แนวคิดการอนามัยสิ่งแวดล้อม 3. การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล 4. แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามหลักพระพุทธศาสนา 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5.1 งานวิจัยในประเทศ 5.2 งานวิจัยต่างประเทศ
บทบาทและหน้าที่ของทฤษฏีใน งานวิจัย มี 2 หน้าที่ คือ 1 บทบาทและหน้าที่ของทฤษฏีใน งานวิจัย มี 2 หน้าที่ คือ 1. ทฤษฏีมีหน้าที่อธิบายปรากฏการณ์ Explanation of the phenomenon) 2. ทฤษฏีมีหน้าที่เป็นแนวทางของระบบ คิด (Guideline of the Paradigm)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. งานวิจัยภายในประเทศ (10- 15 เรื่อง) 2. งานวิจัยต่างประเทศ (5 เรื่อง) ความใหม่ไม่เกิน 5 ปี ยกเว้น ไม่มีจริงก็พออนุโลม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง จรัญญา วงษ์พรหม (2557) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์หลักคือ การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทและ การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3) เพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุ และ 4) เสนอแนวทางที่เหมาะสมเพื่อพัฒนากิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการวิจัย (Research = R) กระบวนการพัฒนากิจกรรม (Development = D) ผสมผสานกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการบนฐานของชุมชน (Community–based Action Research-CAR) ซึ่งเป็น งานวิจัยปฏิบัติการที่อยู่บนฐานข้อมูลและความคิดของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ประกอบด้วย 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา ในตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้การเก็บข้อมูลแบบ วิธีผสมผสาน (Mixed Methods) ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และการวิจัยเชิงปริมาณเป็น องค์ประกอบในการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุและครอบครัวเพื่อต้องการได้ข้อมูลตัวเลขเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูงอายุมีความสุขความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถสนองตอบต่อคุณภาพชีวิตใน 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา/การเรียนรู้ 2. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านการจัดกิจกรรมสัญจรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และกิจกรรมสานวัยใส่ใจผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยและกลุ่มปฏิบัติการหลักร่วมดำเนินการกับชุมชน 3. เกิดการบูรณาการความรู้และกิจกรรมในชุมชนผ่านการสรุปบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ร่วมกัน 4. เกิดความยั่งยืนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนโดยการดำเนินการต่อเนื่องของชุมชน ที่ประกอบด้วย แกนนำผู้สูงอายุ คนวัยอื่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง จรัญญา วงษ์พรหม (2557) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษาบนฐานความคิด 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา ในตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัด ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีความสุขความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม 2) เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านการจัดกิจกรรมสัญจรและกิจกรรมสานวัยใส่ใจผู้สูงอายุ 3) เกิดการบูรณาการความรู้และกิจกรรมในชุมชนผ่านการสรุปบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน 4) ความยั่งยืนเกิดจากการดำเนินงานที่ต่อเนื่องของชุมชนโดยมีแกนนำผู้สูงอายุ คนวัยอื่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง รัชสถิต สุจริต ชมพูนุท โมราชาติ และสุรีย์ ธรรมิกบวร (๒๕๕๗) กล่าวว่า การสร้างและนำเสนอแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่พึงประสงค์สงค์สำหรับประชาชน มี 5 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางการให้ความรู้เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ 2) แนวทางการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและทำอย่างต่อเนื่อง 3) แนวทางการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความปลอดภัยทางถนน 4) แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ ของภาคีเครือข่าย 5) แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเคร่งครัด
ระเบียบวิธีวิจัย
บทนี้จำให้ได้ว่า มี 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1. ขอบเขตการวิจัย 2. วิธีดำเนินการวิจัย และมีประเด็นย่อยๆ 9 ประเด็น
1. ขอบเขตการวิจัย 2. วิธีดำเนินการวิจัย 1.1 วิธีวิจัย 1. ขอบเขตการวิจัย 1.1 วิธีวิจัย 1.2 เนื้อหาการวิจัย 1.3 ระยะเวลา 1.4 พื้นที่วิจัย 1.5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. วิธีดำเนินการวิจัย 2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล 2.3 การตรวจสอบเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
ขอบเขตการวิจัย 1. วิธีการวิจัย (Method scope) บอกว่าจะใช้วิธีไหน เช่น บอกว่า การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิง คุณภาพ 2. ด้านเนื้อหา (Content scope) ไปตามจุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ 3. ระยะเวลาการวิจัย (Duration scope) บอกว่าจะเริ่มการวิจัยตั้งแต่เมื่อไร ถึง เมื่อไร หรือตั้งแต่ได้รับการอนุมัติ เป็น ต้น 4. พื้นที่ในการวิจัย (Area scope) ต้องชัดเจนโดยเริ่มจากพื้นที่ใหญ่ไปหาเล็ก เช่น ประเทศ - > ภาค - > อำเภอ - > หมู่บ้าน
5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เลือกได้ 4 แบบ คือ 5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เลือกได้ 4 แบบ คือ 5.1 Theoritical (เลือกไปตามทฤษฏี) เช่น ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ 5.2 Snowboling (เลือกแบบการบอกต่อ) 5.3 non – representative (เลือกโดยบังเอิญ) 5.4 Purposive (เลือกแบบเจาะจง)
จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่าไรถึงจะพอ ?????? ต้องมีจำนวนมากพอ ที่สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ มักจะใช้จำนวนในอัตราส่วน Key Informant : 1 : 20% Casual Informant : 3 : 60% General Informant : 1 : 20%
1. กลุ่มผู้รู้ (Key Informants) แบ่ง เช่นเป็น 3 กลุ่ม - กลุ่มผู้รู้ภาครัฐ (Government) - กลุ่มผู้ภาคเอกชน (Private sector) - กลุ่มผู้รู้ภาคชุมชน (Community sector) 2. กลุ่มผู้ (Casual Informants) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม - กลุ่มผู้ปฏิบัติเป็นหัวหน้างานแต่ปฏิบัติด้วย เช่น หัวหน้าช่างในงานก่อสร้าง หรือหัวหน้าคนทอผู้รู้เรื่องราวทั้งหมดทุกขั้นตอน - กลุ่มผู้ปฏิบัติอย่างเดียว เช่น ช่างปูน ช่างไม้ ช่างสี หรือกลุ่มทอผ้าที่อาจเป็นคนย้อม คนมัด หรือ จัดลาย คนทอ เป็นต้น
3. กลุ่มผู้รู้ทั่วไป (General Informants) ผู้ที่อยู่วงนอกงานวิจัยนั้นๆ แต่ได้เคย สัมผัส หรือสัมพันธ์บ้าง แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ - กลุ่มผู้สัมผัส สัมพันธ์เสมอๆ - กลุ่มผู้สัมผัสห่างๆ
2. วิธีดำเนินการวิจัย 2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. วิธีดำเนินการวิจัย 2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล 2.3 การตรวจสอบเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมูล 2.4 การวิเคราะห์ข้อ
การสร้างเครื่องมือ การสร้างเครื่องมือ ต้องยึดความมุ่ง หมายให้แน่น และต้องสร้างออกมาเป็นชุด ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
1. แบบสำรวจ (Survey form) 2. แบบสังเกต (Observation form) 1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Tool or Instrument) ต้องตอบจุดมุ่งหมาย ต้องจัดเป็นหมวดหมู่ ต้อง บอกว่าเครื่องมือชุดใดตอบคำถาม และจุดมุ่งหมายข้อ ใด และใครเป็นผู้ตอบคำถาม 1. แบบสำรวจ (Survey form) 2. แบบสังเกต (Observation form) 3. แบบสัมภาษณ์ (Interview form)/ประเด็นสัมภาษณ์ เชิงลึก 4. ประเด็นสนทนากลุ่ม (Focus group) 5. ประเด็นประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop)
1. แบบสำรวจ (Survey form) ในการสำรวจนั้น มี 5 ด้านคือ 1.1 ด้านนิเวศวิทยา (Ecological Setting ) 1.2 ด้านภูมิศาสตร์กายภาพ ( Physical geography setting) 1.3 ด้านเศรษฐกิจ- สังคม – วัฒนธรรม ( Eco – Socio – Culture setting ) 1.4 ด้านวิถีชีวิต (Way of life setting) 1.5 ด้านการเข้าถึงข้อมูล (Accessibility setting )
2. แบบสังเกต (Observation form) 2.1 Participant Obs 2.2 Non Participant Obs การสังเกต มีอยู่ 5 วิธี สังเกตทุกอย่างที่ขวางหน้า มองหาสิ่งที่เด่นในเหตุการณ์นั้นๆ เช่น คู่รัก - คู่สามี มองหาสิ่งที่ขัดแย้งกัน คู่ตรงข้ามกัน เช่น ดำ - ขาว มองหาสิ่งที่เป็นปัญหาของกลุ่มคนที่เรา สังเกต มองหาสิ่งที่ขาดและส่วนที่เกิน
สิ่งที่นักวิจัยต้องสังเกต การกระทำ (acts) เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กิจกรรม (activities) เหตุการณ์ สถานการณ์ หรือ กิจกรรมที่กระทำในลักษณะต่อเนื่องแบบแผนปฏิบัติ อย่างเป็นกระบวนการ มีขั้นตอน ความหมาย (meaning) คือ การที่บุคคลอธิบาย หรือให้ความหมายเกี่ยวกับการกระทำหรือกิจกรรม ความสัมพันธ์ (relationship) คือลักษณะความ เกี่ยวข้องระหว่างบุคคล ลักษณะยึดโยงกัน แบบแผน การมีส่วนร่วม (participation) การปรับตัว การยอม ตามกลุ่มการเข้าร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม ใน สถานการณ์ต่างๆ สภาพสังคม (setting) คือ สภาพสนาม
3. แบบสัมภาษณ์ (Interview form) 3.1 แบบมีโครงสร้าง (Structured form) 3.2 แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured form) เป็นการคุย แบบธรรมชาติไม่เป็นทางการ สามารถ ยึดหยุ่นได้ การสัมภาษณ์ (Interview) - Informal Intv - Formal Intv
3. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept interview) เป็นการค้นหาข้อมูล แบบเจาะลึก เพื่อให้ได้รายละเอียดของ ขั้นตอนและกระบวนการทั้งหมด การ สัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการเก็บข้อมูล โดยใช้ แบบสัมภาษณ์ทั้งมีโครงสร้างและไม่มี โครงสร้างและสัมภาษณ์เจาะลึกในประเด็น หลัก เช่น ขบวนการใช้ภูมิปัญญา ขบวนการผลิตเป็นสินค้า เป็นต้น
บันทึกย่อ บันทึกภาคสนาม การบันทึก บันทึกย่อ บันทึกภาคสนาม
การทำบันทึก จำ จดข้อความสำคัญ Diary (บันทึกภาคสนาม) - สภาพเหตุการณ์ - เหตุการณ์ที่ตกบันทึก - ผลการวิเคราะห์เบื้องต้น - ความรู้สึกส่วนตัว - ข้อมูลที่ต้องการ Eardropping
4. การสนทนากลุ่ม ( Focus group) โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลจาก กลุ่มต่างๆ ประมาณ 7- 8 คน โดยตั้งกรอบ แนวคิดและรูปแบบการสนทนาให้ครอบคลุม การเก็บข้อมูลแบบการสนทนาในกลุ่มนี้ จะทำให้ ผู้วิจัยสามารถศึกษาและสังเกตพฤติกรรมต่างๆของ ชุมชนชั้นนำ หรือประชากรเป้าหมาย จะทำให้ ทราบว่า 5W นั้นเป็นแนวใด ผู้วิจัยสามารถ เก็บรวบรวมข้อมูลได้ในลักษณะที่ใหม่สดๆที่สุด การเตรียมตัว เตรียม เนื้อหาวิชาการ เช่น ความรู้เชิงทฤษฏีแนวคิด หลักวิธีวิทยา ข้อมูลเอกสาร ระเบียบวิจัยและ บุคลิกภาพ การเตรียมผู้ช่วยการวิจัย เป็นการเตรียมพร้อมให้ผู้ช่วยการวิจัยมีความ พร้อมหรือมีคุณสมบัติ 3 อย่างคือ เค้า โครงการวิจัย เนื้อหาการวิจัยและรายละเอียด การวิจัย
5. การประชุมเชิงปฏิบัติการ ( Work Shop) โดยเลือกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแต่ละกลุ่มเข้า ร่วมประชุม สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อหา แนวทางเพื่อบรรลุตามความมุ่งหมาย วิธีนี้ เป็นวิธีการที่นิยมใช้มากในการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participation Action Research : PAR)
เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก อยู่ในบรรยากาศเป็นส่วนตัว เป็นการสื่อความหมายแบบโต้ตอบกันทั้ง 2 ฝ่าย ต้องใช้เทปบันทึกเสียง ไม่มีคำถามตายตัว ถามกี่คน? : หยุดเมื่อคำตอบเริ่มเหมือนกันมากขึ้น และสรุปผลได้ในที่สุด
การตรวจสอบข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม มี 2 แบบ คือ 1. การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ส่วน ใหญ่จะใช้ตรวจสอบเครื่องมือก่อนการ เก็บรวบรวมข้อมูล ประมาณ 3-5 คน 2. การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) มี 4 วิธี
1. การตรวจสอบข้อมูลสามเส้าด้านข้อมูล เป็นการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลในด้านเวลา สถานที่ และบุคคล เพื่อพิจารณาว่า ถ้าเก็บ ข้อมูลต่างเวลา ต่างสถานที่ และผู้ให้ข้อมูลต่าง คนจะยังได้ข้อมูลเหมือนเดิมหรือไม่ 2. การตรวจสอบข้อมูลสามเส้าด้านผู้วิจัย เป็นการตรวจสอบข้อมูลว่าถ้าเปลี่ยนผู้เก็บข้อมูล เป็นผู้ช่วยผู้วิจัยรวม 3 คนแล้ว ข้อมูลที่ได้ควร จะตรงกัน 3. การตรวจสอบข้อมูลสามเส้าด้านวิธีการ เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากวิธีการเก็บข้อมูล 3 วิธีที่ต่างกันแล้วจะได้ผลเหมือนเดิม เช่น ใช้ วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการใช้เอกสาร
4. การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory triangulation) คือ การตรวจสอบว่า ถ้าผู้วิจัยใช้ แนวคิดทฤษฎีที่ต่างไปจากเดิมจะทำให้ การตีความข้อมูลแตกต่างกันมากน้อย เพียงใด อาจทำได้ง่ายกว่าในระดับ สมมติฐานชั่วคราว (working hypothesis) และแนวคิดขณะที่ลงมือ ตีความสร้างข้อสรุปเหตุการณ์แต่ละ เหตุการณ์ ปกตินักวิจัยจะตรวจสอบสาม เส้าด้านทฤษฎีได้ยากกว่าตรวจสอบด้าน อื่น
ความเชื่อถือและไว้วางใจในคุณภาพ ของการวิจัยเชิงคุณภาพ ความเชื่อถือได้ (Credibility): ความสอดคล้องของ ข้อมูล และการตีความของผู้วิจัย เกี่ยวกับความจริงกับความคิดของผู้ให้ข้อมูลว่าสอดคล้องกันหรือไม่ การพึ่งพากับเกณฑ์อื่น (Dependability): ใช้ นักวิจัยหลายคนร่วมสังเกต
ความเชื่อถือและไว้วางใจในคุณภาพ ของการวิจัยเชิงคุณภาพ การถ่ายโอนผลการวิจัย (Transferability): สามารถใช้ผลงานนี้ไปอ้างอิงกับงานอื่นที่คล้ายคลึงกันได้ การยืนยันผลการวิจัย (Confirm ability) : เปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นที่คล้ายกัน ทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การตอบปัญหา/คำถาม ตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือทดสอบ สมมุติฐานของการวิจัย โดยใช้กรอบ แนวคิด ทฤษฏี มาช่วยการวิเคราะห์ ข้อมูล
หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ กระทำพร้อมๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูล กระทำ พร้อมๆ กันไปตลอดระยะเวลาของการเก็บ รวบรวมข้อมูล อาศัยข้อมูลที่เป็นบริบทของปรากฎการณ์นั้นๆ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อความ เข้าใจถึงความหมายและความสัมพันธ์ คำนึงถึง 1) ทัศนะคนใน หมายถึง ผู้ที่ให้ข้อมูลที่อยู่ใน สถานการณ์นั้นจริงๆ 2) ทัศนะคนนอก หมายถึง มุมมองของผู้วิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) 1) การจำแนกและจัดระบบข้อมูล (Typology and Taxonomy) เป็นการนำข้อมูลที่ ได้มาจำแนกและจัดหมวดหมู่ออกให้เป็นระบบ เช่น ข้อมูลหมวดบุคลากร ข้อมูลหมวด งบประมาณ ข้อมูลหมวดวัสดุอุปกรณ์ ข้อมูล หมวดงบประมาณ เป็นต้น 2) การวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ เกิดขึ้น มาวิเคราะห์เพื่อหาบทสรุปร่วมกันของ เรื่องนั้นๆ
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) 3) การเปรียบเทียบเหตุการณ์ (Constant Comparison) เป็นการนำข้อมูล ที่ได้มาไปเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบกับ เหตุการณ์อื่น เพื่อหาความเหมือนและความ แตกต่างกันที่เกิดขึ้น เช่น เปรียบเทียบ หน่วยงานหนึ่งกับอีกหน่วยงานหนึ่งที่ประสบ ผลสำเร็จทางการบริหาร เป็นต้น 4) การวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) เป็นการนำข้อมูล ทีได้มาทำการวิเคราะห์ออกให้เห็นเป็น ส่วนๆ เช่น วิเคราะห์การบริหารงานของ องค์การออกเป็น 7 หมวด ตามกรอบของ PMQA เป็นต้น
5) การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) เป็นการนำเอกสารหรือ หลักฐานต่างๆ มาวิเคราะห์ โดยมุ่ง พรรณนาและอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น วิเคราะห์การปกครองสมัย พ.ศ.2475 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น 6) การวิเคราะห์สาเหตุและผล (Cause and Effect Analysis) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์ให้เห็นว่าจากผลมาจากเหตุ คือ วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น ย้อนกลับมาให้เห็นว่า เกิดมาจากเหตุปัจจัยใดบ้าง หรือวิเคราะห์ เหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์จากเหตุไปหา ผล คือ วิเคราะห์ให้เห็นว่าเมื่อเหตุนี้เกิดขึ้น ได้นำไปสู่ผลที่เกิดขึ้นอะไรบ้าง
7) การสร้างจินตนาการเชิงสังคมวิทยา (Sociology Imaginary) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดย เปลี่ยนมุมมอง การวิเคราะห์ไปยังมุมมอง อื่นๆ เพื่อดูผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นว่าเป็น เช่นใด เช่น เปลี่ยนมุมมองการวิเคราะห์ จากมุมมองค่านิยม มาเป็นการวิเคราะห์ มุมมองด้านวัฒนธรรม เป็นต้น
ความรู้ความจริงจากทฤษฎีและหลักการ การสรุปแบบอนุมาน หรือ นิรนัย หรือ deductive เป็นการใช้เหตุผลจากทฤษฎี หลักการไปลงข้อสรุป เขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้ ตัวอย่าง ดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอม (ความรู้เดิม หรือประโยคอ้าง) ดอกมะลิมีสีขาว (ความจริงย่อย) ดอกมะลิมีกลิ่นหอม (ข้อสรุป) ดังนั้น ข้อสรุปแบบอนุมาน จะเป็นจริง ก็ต่อเมื่อความรู้เดิมหรือประโยคอ้างเป็นจริง จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงว่า ในการวิจัย หากเราอ้างทฤษฎี หลักการที่ไม่เป็นจริง จะทำให้การลงข้อสรุปในการวิจัยไม่เป็นจริง เพราะ การวิจัย คือการแสวงหาความรู้ความจริงที่เป็นระบบ ที่ให้ผลที่เชื่อถือได้ ความรู้เดิม ความรู้ใหม่ ความรู้ความจริงจากทฤษฎีและหลักการ ความจริงย่อย ลงข้อสรุป
การลงข้อสรุปจากหลักการหรือความจริง ที่นำมาเป็นประโยคอ้าง ต้องเป็นประโยคที่เป็นความจริง ไม่เช่นนั้นการลงข้อสรุปก็จะผิดพลาดไปด้วย เช่น ผู้หญิงทุกคนชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ความรู้เดิม หรือประโยคอ้าง) สร้อยระย้าเป็นผู้หญิง (ความจริงย่อย) สร้อยระย้าชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ข้อสรุป) จะเห็นได้ว่าข้อสรุปนี้ไม่ถูกต้อง เพราะความรู้เดิมที่นำมาอ้าง ที่ว่าผู้หญิงทุกคนชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม ไม่เป็นความจริง ผู้หญิงไม่ได้ชอบซื้อสินค้าที่มีของแถมทุกคน
การสรุปแบบอุปมาน หรือ อุนัย หรือ inductive เป็นการสรุปจากความจริงย่อย เป็นประโยคอ้าง เพื่อลงข้อสรุปเป็นความจริงใหม่ ถ้าประโยคอ้างเป็นจริง ข้อสรุปนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นจริง เขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้ ความจริงย่อย 1 ความจริงย่อย 2 ลงข้อสรุป ความจริงย่อย 3 ความจริงย่อย 4 ตัวอย่าง แม่ชอบชื้อสินค้าที่มีของแถม (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง) พี่สาวชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง) เพื่อนผู้หญิงชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง) ป้าชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง) ผู้หญิงชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ข้อสรุป)
การสรุปแบบอุปมาน น่าจะใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพค่อนข้างมาก ดังนั้น ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะต้องใช้ความระมัดระวังให้ได้ข้อมูลจากพื้นที่การวิจัยที่แน่ใจว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง มิฉะนั้นจะส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัย ถ้าข้อมูลที่ได้มามิใช่ข้อมูลจริงการสรุปผลก็จะผิดพลาดไปด้วย
การเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ - เขียนเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาทางการ - ต้องระวังการบรรยายเพราะมีผลต่อการตีความ - เป็นการเขียนแบบเล่าเรื่อง (Narrative)
คุณสมบัติของนักวิจัยคุณภาพ - Collaborative - Sensitive - Integrity - Reflexivity - Skill theoretical social
จรรยาบรรณนักวิจัย รับผิดชอบต่อผู้ให้ข้อมูล รักษาความลับผู้ให้ข้อมูล ให้เกียรติและปกป้องสวัสดิภาพ ต้องได้รับความยินยอม ให้ค่าตอบแทนผู้ให้ข้อมูล รับผิดชอบต่อองค์กร รับผิดชอบต่อผลงานวิจัย
จบการนำเสนอ