: หลักการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
หลักระบบสารสนเทศ Principles of information systems
Advertisements

06/11/56 บทที่ 1 ภาพรวมของ E- Commerce.
e-Office การบริหารสำนักงานสมัยใหม่
ระบบสารสนเทศในองค์กรสมัยใหม่ (ศูนย์ข้อมูล)
02:Information system e Syste m อ. ปกรณ์ วิญญู หัตถกิจ.
Seminar in Information Knowledge and Technology Management ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข
ระบบการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ eGov Data Exchange
Saving Cost Connection
E-Commerce Chapter 1 Introduction to e-commerce
การสื่อสารข้อมูล.
Management system at Dell
โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม
Information Systems Development
การบริหารความเสี่ยง ในการบริหารงานพัสดุภาครัฐ
สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
เทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
บทนำ การทำธุรกิจในปัจจุบันมีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคนในโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ
Information Technology For Life
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
Product Overview & ERP Concept
The Digital Firm : Electronic Business and Electronic Commerce
The supply chain management system at
สานพลังรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประชาชน
อาจารย์ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
The Comptroller General’s Department
บทที่ 8 การจัดซื้อ บทนำ บทบาทของการจัดซื้อ กิจกรรมต่างๆ ของการจัดซื้อ
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ระยะที่ 3
การออกแบบสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชั่น
บทที่ 6 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce
อาจารย์ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Pattanachai Huangkaew Kapchoeng Wittaya School
หัวข้อ “ทำ e-Commerce อย่างไร”
11 May 2014
การสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซ
บทที่ 9 ชีวิตง่ายๆ ในโลกดิจิทัล
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
โครงการอบรม e-commerce สำหรับประชาชน
ระบบอินเตอร์เน็ตและโครงสร้างระบบสารสนเทศ
Electronic Commerce Law กฏหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ.
กำหนดการสัมมนา CIO วันที่ 26 ธค.49 ณ MICT ชั้น ICT3 ห้องประชุม 1
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
GROUP ‘2’ slide to unlock.
เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Economics for Everyday Life)
ระบบการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ สุทธิรัตน์ รัตนโชติ 16 สิงหาคม 2559
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
การโฆษณาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่1 ความรู้ทั่วไปสำหรับ การจัดการโซ่อุปทาน
การเป็นศูนย์กลางข้อมูลแรงงานระดับจังหวัด Provincial Data
Integrated Information Technology
การวิเคราะห์ข้อมูล เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
รายวิชา IFM4401 โครงงานการจัดการสารสนเทศ 3 (ทฤษฎี2-ปฏิบัติ2-ศึกษาด้วยตนเอง5) หน่วยกิต
13 October 2007
วิชา การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับ อีคอมเมิร์ซ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์
การจัดการกระจายสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า
ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
นายเกรียงไกร แก้วมีศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี
การจัดเตรียมเอกสาร ประกอบการจัดหาพัสดุของหน่วยงาน
[ บทที่ 3 ] ระบบสารสนเทศ.
การพัฒนาเว็บไซต์ ในงานธุรกิจ
การขายสินค้าออนไลน์.
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
ชีวิตใหม่ของฝ่ายจัดซื้อ
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตใน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การขายสินค้าออนไลน์.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

887372 : หลักการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 887372 : หลักการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เนื้อหา http://staff.informatics.buu.ac.th/~kantima/887372 แนะนำรายวิชา/การวัดและประเมินผล มอบหมายงาน http://staff.informatics.buu.ac.th/~kantima/887372 หลักการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำรายวิชา/การวัดและประเมินผล การส่งงาน ต้องตรงต่อเวลาตามที่กำหนด งานที่1 กำหนดส่ง ก่อนวันสอบกลางภาควิชา 887372( Upload ) 5% ส่งภายในวันที่ 22 กพ.58 ก่อนเวลา 16.00 น. งานที่2 ให้ส่งข้อมูลเว็บ2เว็บที่ทำ กลุ่ม รหัสนิสิต ชื่อ ภายในวันที่ 23 มกราคม 2558 ก่อนเวลา16.00 น. กำหนดวันนำเสนอ พร้อมส่งเล่มรายงาน+ไฟล์นำเสนอ 15% (ตามข้อมูลประกาศบนเว็บ หรือแจ้งในชั้นเรียน หรือผ่าน reg.buu.ac.th) งานที่3 กำหนดส่ง ก่อนวันสอบปลายภาควิชา 887372( Upload ) 5% ส่งภายในวันที่ 10 พ.ค.58 ก่อนเวลา 16.00 น. เช็คชื่อเข้าเรียนทุกครั้ง 10% เวลาเรียนไม่ครบ 80% ไม่มีสิทธ์สอบ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 5% สอบกลางภาค 30% , สอบปลายภาค 30% ตัดเกรดอิงกลุ่ม

มอบหมายงาน งานที่ 1 งานเดี่ยว งานที่ 1: http://staff.informatics.buu.ac.th/~kantima/887372 งานรายบุคคล 5% ตามคำชี้แจงในห้อง : Assignment A (ภาคปกติ 01+02) , Assignment B (ภาคพิเศษ) แปลเชิงสรุป จำนวน 2 หน้าขึ้นไป ภาคปกติ กลุ่ม01 ให้ตั้งชื่อไฟล์ตามชื่อบทที่แสดงบนเว็บ และเพิ่ม _รหัสนิสิต _กลุ่ม เช่น นิสิตรหัส55160001ทำบท1 ตั้งชื่อไฟล์turban_ec2010_ch01_55160001_group01.doc ภาคปกติ กลุ่ม02 ให้ตั้งชื่อไฟล์ตามชื่อบทที่แสดงบนเว็บ และเพิ่ม _รหัสนิสิต_กลุ่ม เช่นนิสิต รหัส55160008 ทำบท8 ตั้งชื่อไฟล์ turban_ec2010_ch08_55160008_group02.doc ภาคพิเศษ3402 ตั้งชื่อไฟล์ตามชื่อบทที่แสดงบนเว็บ และเพิ่ม _รหัสนิสิต _กลุ่ม เช่นนิสิตรหัส55660090ทำบท9ให้ตั้งชื่อไฟล์ laudon_ec7_ppt09_55660090_group3401.doc - ถ้ารหัสสองตัวสุดท้าย ไม่มีบทถึง เช่น 54160228 ไม่มีบทที่ 28 ทำบทตามหลักรหัสสุดท้ายคือทำบท8 ถ้ารหัสสองตัวสุดท้าย เป็น 10-90 ให้ทำบท ตามหลักรหัส ก่อนตัวสุดท้าย เช่น 10 ทำบท 1 ถ้ารหัสสองตัวสุดท้าย เป็น 00 ให้ทำบท ตามหลักตัวเลขที่สาม นับจากหลังสุด เช่น 54160200 ให้ทำบท 2 งานที่1 กำหนดส่ง ก่อนวันสอบกลางภาค(Upload ) ส่งภายในวันที่ 22 กพ.58 ก่อนเวลา 16.00 น. 

มอบหมายงาน งานที่ 2 (งานกลุ่ม) ** ตกลงเรื่องงาน/ลักษณะงานกลุ่ม งานที่ 2 (กลุ่ม 01 จ.น.สมาชิกในกลุ่มคือ 7-8 คน) ) (กลุ่ม 02 จ.น.สมาชิกในกลุ่มคือ 8 คน) (กลุ่ม 3401 จ.น.สมาชิกในกลุ่มคือ 7-8 คน) ให้ส่งข้อมูลเว็บ2เว็บที่ทำ กลุ่ม รหัสนิสิต ชื่อ ภายในวันที่ 23 มกราคม 2558 ก่อนเวลา16.00 น. งานที่ 2:วิเคราะห์เว็บไซต์ที่เป็น E-commerce ตามข้อกำหนด 15 ข้อ Slide7-10 เว็บไซต์ที่ส่งงานและนำเสนอ ห้ามซ้ำกันโดยเด็ดขาด พร้อมจัดทำรายงาน + โปรแกรมนำเสนอ +Write CD แนบท้ายเล่มรายงาน 15% * นำเสนอหน้าชั้นเรียน เป็นกลุ่มตามลำดับที่อาจารย์จะแจ้งประกาศไว้บนเว็บ งานที่2 กำหนดวันนำเสนอ พร้อมส่งเล่มรายงาน+ไฟล์นำเสนอ (ตามข้อมูลประกาศบนเว็บ)

มอบหมายงาน งานที่ 2 (งานกลุ่ม) งานที่ 3:ค้นหาข้อมูล ทำรายงาน 5% (ห้ามตั้งชื่อไฟล์ซ้ำกันโดยเด็ดขาด) การทำการค้าขาย E-commerce บน Ebay หรือเทคโนโลยีการค้าอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต หรืออื่นๆ งานที่3 กำหนดส่งก่อนวันสอบปลาย ( Upload ) วันที่ 10 พ.ค.58 ก่อนเวลา 16.00 น.

รายละเอียด มอบหมายงานกลุ่มชิ้นที่ 2 งานที่ 2:การวิเคราะห์ SWOT เว็บไซต์ เลือกบริษัท/เว็บที่เป็น E-commerce (ต่างประเทศ) 1 บริษัท บริษัทไทย 1 บริษัท จัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยมีหัวข้อต่อไปนี้ เว็บไทย ทำหัวข้อ 15 ข้อนี้ , เว็บต่างประเทศ ทำหัวข้อ 15 ข้อนี้ 1. รายละเอียดเกี่ยวกับ Domain (เช่น www.digicert.com/whois , http://smilehost.asia/whois.html )โดยนิสิต ซึ่งจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ Domain - ปีที่เริ่มจดทะเบียน และสิ้นสุด ผู้ที่เป็นเจ้าของ - ที่อยู่ของบริษัท 2. สินค้าหรือบริการที่นำเสนอ

งานที่ 1:การวิเคราะห์ SWOT เว็บไซต์ 3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 4. รูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบบ B2C หรือ B2B หรือผสม 5. ระบบการสั่งซื้อ และระบบตะกร้า 6. วิธีการชำระเงิน และระบบความปลอดภัย 7. การขนส่ง – ส่งมอบสินค้า 8. ลักษณะการออกแบบเว็บไซต์ หน้า Home ของเว็บไซต์ ลักษณะของเมนู เช่น ความชัดเจนของภาพ คำอธิบาย ภาษาที่ใช้ 9. กลยุทธ์การตลาด 6 p (เช่น ราคา , ลด แลก แจก แถม )

งานที่ 1:การวิเคราะห์ SWOT เว็บไซต์ 10. ความถี่ในการ update สินค้า 11. พันธมิตรของเว็บไซต์ (นิสิตสามารถสังเกตจาก logo ของบริษัทอื่นที่อยู่หน้าเว็บไซต์) 12. รูปแบบการสร้าง CRM กับลูกค้า เช่น Web board, FAQ, Chat Room, E-mail 13. สถิติผู้เข้าชม (ดูจาก Visitor หรือ www.truehit.net)

งานที่ 1:การวิเคราะห์ SWOT เว็บไซต์ 14. ทดสอบกลยุทธ์การโฆษณาในเว็บค้นหา ทดสอบผลการค้นหา โดยระบุ 1. ชื่อ search engine เช่น google.com, sanook.com , bing.com (3 เว็บไซต์) 2. ระบุ key words ที่ใช้ค้นหา 4 keyword เช่น google.com, sanook.com , bing.com ขนมไทย ขนมไทย ขนมไทย อาหารหวาน อาหารหวาน อาหารหวาน …….. 3. พบว่าอยู่อันดับที่ (ให้ดูผลลัพธ์ว่าอยู่อันดับที่เท่าไหร่ หน้าอะไร ถ้าเกิน 5 หน้า ก็ให้แสดงข้อความว่าเกินหน้าที่ 5) 15. สรุป จุดอ่อน และจุดแข็ง เปรียบเทียบกับเว็บคู่แข่ง 1 เว็บ

1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่ “ความเร็ว” ทั้งในเรื่องของ การนำเสนอสินค้าและการให้บริการ การให้ต้นทุนที่ต่ำ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า ส่งผลให้การทำการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจเชิงสารสนเทศ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน

1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจ E-Commerce มีประโยชน์ร่วมกันของทั้ง ผู้ซื้อ, ผู้ขาย, ผู้ผลิต 3 ประเด็น ได้แก่ ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆ ได้ ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ลูกค้าสามารถใช้เว็บไซต์เพื่อเข้าถึงธุรกิจ E-Commerce ได้ตลอดเวลาจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ผ่านระบบอัตโนมัติได้

1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภค หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคา, คุณภาพสินค้า และข้อมูลอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างในการหาข้อมูลหรือเปรียบเทียบสินค้าได้ง่าย มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น เพียงแค่พิมพ์คำค้น (keywords) ลงในเครื่องมือค้นหา (search engine) ก็มีสินค้าออกมาให้เลือกมากมาย ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เพลง ภาพยนตร์ ซอฟต์แวร์ เพราะสามารถได้รับสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย การซื้อสินค้าบางประเภทสามารถลดพ่อค้าคนกลางได้ ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง

1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์สำหรับผู้ผลิต/ผู้ขาย ลดความผิดพลาดในการสื่อสารแบบเดิมที่ใช้ในการค้า เช่น การส่งแฟกซ์, บอกจดทางโทรศัพท์ หรือการรับใบคำสั่งซื้อแล้วพิมพ์ข้อมูลเข้าระบบ ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดมากกว่า ถ้าจะให้ดีนั้น ลูกค้าต้องสามารถทำการติดต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และส่งข้อมูลได้เลยโดยตรงซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดในส่วนนี้ไปได้ ลดเวลาในการผลิต สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวณเรื่องความต้องการของการใช้วัตถุดิบ เช่น การทำคำสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสำนักงานที่ประสานงานและบริการ เช่น การเปิดตลาดใหม่, การหาคู่ค้า, การจัดหาผู้ส่งสินค้า (Supplier) รายใหม่ ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเว็บไซต์ของบริษัท

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์1. แผนผังสรุปประโยชน์ของธุรกิจ E-Commerce ระหว่าง ผู้ผลิต/ผู้ขาย/ผู้ซื้อ เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ทั่วถึงขึ้น เพิ่มยอดขาย เพิ่มประสิทธิภาพในระบบภายในสำนักงาน ลดภาระสินค้าคงคลัง เพิ่มสินค้า/บริการใหม่ เปิดตลาดใหม่ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิต ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ ลดเวลาในการจัดซื้อ/ส่งมอบสินค้า ลดเวลาในการผลิต ลดความผิดพลาดในการสื่อสาร หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ ราคาสินค้าและบริการ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้า ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน ผ่านทางเว็บบอร์ด มีร้านค้าให้เลือกมากมาย ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ลดผู้ค้าคนกลาง ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2.ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce หรือ E-Commerce) บางครั้งเรียกกันว่า “การค้าอิเล็กทรอนิกส์” พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำ “การค้า” ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำว่าอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น โทรศัพท์, โทรสาร, โทรทัศน์ ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน (ศูนย์พัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce Resource Center: ECRC) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ กระบวนการของการซื้อ, ขาย, แลกเปลี่ยนสินค้า, บริการ และสารสนเทศ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอินเทอร์เน็ต (Gupta, 2000: 217)

2. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ขนาดการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกิจที่บรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI), ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์การ (คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งอาเซียแปซิฟิก: ESCAP, 1998) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิต, การกระจาย, การตลาด, การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (องค์การการค้าโลก World Trade Organization: WTO, 1998)

2. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ว่า เป็นการดำเนินการทางพาณิชย์โดยอาศัยสื่อ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 1) การติดต่อทางคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือระบบเครือข่าย เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีดีไอ (EDI) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (E-Mail) การสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคลและกลุ่มบุคคล และ 2) การติดต่อผ่านทางเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น โทรเลข, โทรสาร (สุรางคณา แก้วจำนง) สรุปได้ว่า พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบ (การซื้อขายสินค้าบริการ, การชำระเงิน, การโฆษณา, และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สังคมออนไลน์

3. ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

3. ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากคำว่า E-Commerce และ M-Commerce แล้วยังมีคำว่า E-Business หรือ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คำว่า E-Business จะมีความหมายที่กว้างกว่า หมายถึง การดำเนินธุรกรรม ทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะนำเน้นการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business นั่นเอง

3. ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ E-Business คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ” ต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้าและการบริการ

3. ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คำศัพท์ของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ BI = Business Intelligence: การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด, ข้อมูลลูกค้า และคู่แข่งขัน EC = E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ, การขาย, การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต CRM = Customer Relationship Management: การบริหารจัดการ, การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า, บริการ และบริษัท ระบบ CRM นี้จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินงาน และจัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า SCM = Supply Chain Management: การประสานห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ, ผู้ผลิต, ผู้จัดส่ง, ผู้ค้าส่ง, ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค ERP = Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลังและการผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ, การจัดการใบส่งของ, การจัดสินค้าคงคลัง, แผนและการจัดการการผลิต ระบบ ERP จะช่วยให้กระบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

4. ประเภทของ E-Commerce

Two major Types of E-Commerce Business-to-Consumer (B2C) : การขายสินค้าออนไลน์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า Business-to-Business (B2B): การขายสินค้าออนไลน์ระหว่างบริษัทกับบริษัท

4. ประเภทของ E-Commerce Classification of EC by Transactions or Interactions จำแนกตามลักษณะของกิจกรรมที่ดำเนินงานระหว่างองค์กรและบุคคลได้หลายประเภท ดังนี้ 1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business) หรือ B-to-B หรือ B2B 2. ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Customer) หรือ B-to-C หรือ B2C 3. ธุรกิจกับภาครัฐ (Business to Government) หรือ B-to-G หรือ B2G 4. ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer) หรือ C to C หรือ C2C 5. ภาครัฐกับประชาชน (Government to Customer) หรือ G-to-C หรือ G2C 6. ธุรกิจกับพนักงานหรือลูกจ้าง (Business to Employee) หรือ B-to-E หรือ B2E

4. ประเภทของ E-Commerce 1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business) หรือ B-to-B หรือ B2B การทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิตผู้ผลิต-ผู้ส่งออก และผู้ผลิต-ผู้ค้าส่ง การทำธุรกิจลักษณะนี้สินค้ามีจำนวนมาก รวมถึงมูลค่าของสินค้าจึงมีสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น เว็บไซต์ B2B รวบรวมผู้ผลิต/ผู้ส่งออก อุตสาหกรรมต่างๆ http://www.b2bthai.com/

4. ประเภทของ E-Commerce 2. ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Customer) หรือ B-to-C หรือ B2C คือ การค้าระหว่างผู้ค้าหรือผู้ประกอบการกับผู้บริโภค เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รวมการขายส่ง, การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์, ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) ทั้งแบบที่จับต้องได้ เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลง ขายเครื่องประดับ ขายของเล่น หรือจะเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง ซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ยังมีสินค้าประเภทบริการอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อขายหุ้น และธนาคารออนไลน์ ตัวอย่างเว็บไซต์ ebay(Thailand) และ TARAD.com บริการขายสินค้าจากผู้ประกอบการ ให้กับ ผู้บริโภค (B2C)

4. ประเภทของ E-Commerce ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ข้อมูลต่าง ๆ จะมีการแชร์หรือแจ้ง และแบ่งสรรให้ทุกแผนก/ทุกหน่วยงานในระบบรับทราบและใช้งาน ทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น ในการประกอบรถยนต์หนึ่งคัน แผนกจัดซื้อจะจัดซื้อวัตถุดิบหลายอย่างเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เช่น เครื่องยนต์ น้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่ ยางรถยนต์ เป็นต้น เมื่อสั่งซื้อเสร็จอุปกรณ์ดังกล่าวจะเก็บให้ในคลังสินค้า เพื่อรอฝ่ายการผลิตรถยนต์นำไปผลิตรถยนต์ตามที่ต้องการ และถ้าองค์กรนี้มีระบบการจัดการซัพพลายเชนที่ดี แผนกต่าง ๆ มีการแชร์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจะทำให้การสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นระบบ

4. ประเภทของ E-Commerce ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ระหว่าง B2B และ B2C ออกแบบ จัดซื้อวัตถุดิบ /ขาย การจัดส่งสินค้า B2B ธุรกิจ ผลิตรถไทย จำกัด ธุรกิจ (B-Supplier) ชิ้นส่วนรถยนต์ ตัวแทนจำหน่าย รถยนตร์ Website ลูกค้า (Customer) B2C

4. ประเภทของ E-Commerce 3. ธุรกิจกับภาครัฐ (Business to Government) หรือ B-to-G หรือ B2G คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีการประมูลออนไลน์ (E-Auction) การจดทะเบียนการค้าและการนำสินค้าเข้าออกโดยใช้อีดีไอ (EDI Electronic Data Interchange) ผ่านกรมศุลกากร การประมูลออนไลน์ (E-Auction) สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ  กรมบัญชีกลาง http://www.gprocurement.go.th/wps/portal/index_EGP

4. ประเภทของ E-Commerce 4. ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer) หรือ C to C หรือ C2C คือการประกอบธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค อาจเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง หรือประมูลสินค้า หรือการขายของมือสอง เป็นต้น http://savepay.net/auctions/ ตัวอย่างเว็บไซต์เพื่อการให้บริการธุรกิจแบบ C2C

เว็บไซต์สำหรับการเสียภาษีออนไลน์ (E-Revenue) กรมสรรพากร 4. ประเภทของ E-Commerce 5. ภาครัฐกับประชาชน (Government to Customer) หรือ G-to-C หรือ G2C ซึ่งเป็นประเภทที่ไม่ใช่เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์สำหรับการเสียภาษีออนไลน์ (E-Revenue) กรมสรรพากร http://rdserver.rd.go.th/publish/index.php

4. ประเภทของ E-Commerce 6. ธุรกิจกับพนักงานหรือลูกจ้าง (Business to Employee) หรือ B-to-E หรือ B2E เป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายภายใน (Intranet) ในการลดค่าใช้จ่ายของบริษัท เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานแบบไร้กระดาษ และการฝึกอบรมออนไลน์ ตัวอย่าง การมีระบบเครือข่ายภายใน (Intranet) สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกันภายในองค์กร

4. ประเภทของ E-Commerce 7. Business-to-Business-to-Consumer(B2B2C): เป็นรูปแบบธุรกิจ E-commerce ที่บริษัทในเครือส่งสินค้า/บริการ ไปยังลูกค้าของตน 8. Mobile commerce (M-commerce): เป็นรูปแบบธุรกรรมการค้าในระบบไร้สาย (Wireless)เช่นโทรศัพท์มือถือ 9. Location-based commerce (Lcommerce): เป็น m-commerce ที่มีเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะเวลา เฉพาะที่ 10. Collaborative commerce (C-commerce): E-commerce model เป็นการรวมกลุ่มเฉพาะธุรกิจ 11. Exchange-to-exchange (E2E): E-Commerce Model ลักษณะตลาดสองตลาดที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน

5. เป้าหมายการมีเว็บไซต์ 1.Web เพื่อการประชาสัมพันธ์ 2.Web เพื่อทดแทนแคตาล๊อค 3.Web เพื่อเป็นโชว์รูม 4.Web เพื่อเป็นงานแสดงสินค้า 5.Web เพื่อการค้า E-commerce 6.Web เพื่อเป็น E- Marketplace / E-market exchangee 7.Web เพื่อเป็นเครือข่ายการจำหน่ายของตนเอง 8.Web เพื่อเป็นช่องทางการขายให้ผู้นำเข้า

6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นเมื่อใด เริ่มนำมาใช้ในปี 1970 ด้วยนวัตกรรมใหม่ คือ การโอนเงินแบบ EFT (Electronic Fund Transfer) ในสถาบันการเงิน และองค์กรขนาดใหญ่ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กได้นำ E-commerce มาใช้เพียงเล็กน้อย ต่อมามีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเลกทรอนิกส์( Electronic Data Interchange : EDI)ระหว่างคู่ค้าโดยการส่งข้อมูลธุรกิจเช่นใบสั่งซื้อสินค้า ใบส่งของและใบเรียกชำระเงิน เนื่องจาก EDI มีค่าใช้จ่ายสูงจึงทำให้มีการใช้เฉพาะเครือข่ายธุรกิจรายใหญ่เท่านั้น เมื่อเกิด World Wide Web พร้อมบราเซอร์รุนแรกชื่อ Mosaic ในปี ค.ศ. 1993 พาณิชย์อิเลกทรอนิกส์จึงเป็นที่แพร่หลาย ตั้งแต่ปี 1995 อินเตอร์เน็ตได้ถูกนำมาพัฒนา และประยุกต์ใช้กับหลากหลาย นวัตกรรมใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงการขายสินค้าเท่านั้น

6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นเมื่อใด ปี 1999 ธุรกิจ E-commerce ได้ขยายตัวจากรูปแบบ B2C ไปเป็น B2B มากขึ้น และ เริ่มมีธุรกิจหลาย ๆ แห่งประสบกับความล้มเหลวในการนำ E-commerce มาใช้ โดยเฉพาะ e-tailing (B2C) เริ่มล้มเหลว (www.startupfailures.com) ณ เวลานั้น หลายบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบ Click and Mortor เริ่มพบกับผิดหวัง และไม่ได้ดำเนินการ E-commerce ต่อ ทั้ง ๆ ที่ E-commerce กำลังเป็นสิ่งสนใจกันทั่วไป ประสบการณ์ และโครงสร้างที่แตกต่างนับเป็นพื้นฐานของการนำ E-commerce ไปใช้ แม้กระทั่งเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงอย่าง amazon.com ก่อตั้งมาเมื่อปี 1995 มียอดขายเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ยังไม่มีกำไร จนกระทั่งปี 2002

7. แนวโน้มในอนาคตของ E-commerce ปี 1996 งานวิจัยของ www.forrester.com ได้รายงานว่าธุรกิจ B2C เติบโต $518 ล้าน ปี 2000 เพิ่มขึ้น $6.6 พันล้าน สำหรับธุรกิจแบบ B2B ปี 1997 เติบโตถึง $10 พันล้าน ปี 2004 คาดคะเนว่า ธุรกิจแบบ B2B จะเติบโตระหว่าง $2 - $7 หมื่นล้าน โดยมีการนำไปใช้ในการประมูล การซื้อขาย ซึ่งมีอัตราการเติบโตประมาณ 15-25 % ต่อเดือน ปี 2008 คาดคะเนว่า จำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าจะโตถึง 50% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด

8. Major Business Pressures and the Role of EC

8.แรงผลักดันของธุรกิจ (Business Pressures) 1. แรงกดดันด้านการตลาดและเศรษฐกิจ การแข่งขันสูง เศรษฐกิจทั่วโลก ความร่วมมือระหว่างประเทศ ต้นทุนแรงงานต่ำในบางประเทศ ลูกค้ามีอำนาจมากขึ้น

8.แรงผลักดันของธุรกิจ (Business Pressures) 2. แรงกดดันด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ลักษณะงานเปลี่ยน รัฐบาลมีกฎ ระเบียบ รัฐบาลจ้างเอกชน เพิ่มความสำคัญของจริธรรมและกฎหมาย นโยบายเปลี่ยนแปลงเร็ว

8.แรงผลักดันของธุรกิจ (Business Pressures) 3. แรงกดดันด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว มีนวัตกรรม และ เทคโนโลยีใหม่ สารสนเทศมากเกิน ต้นทุนด้านเทคโนโลยีลดลง

9.1 ข้อจำกัดของ E-Commerce ด้าน Technical ขาดความปลอดภัย การมีเสถียรภาพ และความเป็นมาตรฐานในบางระบบ มีช่องสัญญาณการสื่อสารข้อมูลไม่เพียงพอ โปรแกรมสำหรับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเร็ว การเชื่อมต่อระบบต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน ข้อจำกัดในการใช้อุปกรณ์ด้านฮาร์ดแวร์ (hardware) และ Software ร่วมกัน ผู้ขายอาจต้องการ Web Server หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่พิเศษเพื่อเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย

9.2 ข้อจำกัดของE-Commerce ด้าน Non-Technical การพัฒนาจะใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และโอกาสผิดพลาดสูง รวมถึงความล่าช้าในการพัฒนา และมีโอกาสที่จะต้องจ้างบริษัทข้างนอกเป็นผู้พัฒนาให้ ความปลอดภัยของข้อมูลโดยเฉพาะรูปแบบ B2C มีโอกาสที่จะถูกเจาะระบบได้มากขึ้น ลูกค้าอาจขาดความเชื่อมั่น หรือความมั่นใจ เพราะรูปแบบการค้าขาย ผู้ซื้อ-ผู้ขายจะไม่ได้เจอหน้ากัน ลูกค้าไม่ได้สัมผัสสินค้าจริงก่อนซื้อ อาจจะรู้สึกตัดสินใจนาน หรือยากในสินค้าบางประเภท

10. ประเด็นในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องหลายประเด็นซึ่งสรุปได้ดังนี้ โครงสร้างพื้นฐาน การมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ราคาถูก และการบริการได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ จะเป็นตัวสนับสนุนการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การรักษาความปลอดภัย ประเด็นที่สำคัญในส่วนนี้คือ การใช้เทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยเพียงพอและการมี มาตรฐานการเข้ารหัสที่เป็นสากล รวมทั้งการจัดตั้งองค์กรรับรองเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อมารองรับรหัสประจำตัวของผู้ประกอบการและผู้บริโภค

10.ประเด็นในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเงิน การศึกษาและวางมาตรการเพื่อที่ส่งเสริมการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภาคเอกชนโดยที่ภาครัฐไม่เกิดความเสียหาในเรื่องระบบการเงินการคลังของประเทศ การคุ้มครองผู้บริโภค ควรมีมาตรการที่จะรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลและการคุ้มครองการทำธุรกรรมที่ผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งการซื้อขายในและระหว่างประเทศเพื่อเตรียมรับมื้อกับ ข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

10.ประเด็นในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การตลาด จัดสัมมนา ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้สามารถนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาเป็นเครื่องมือในการแข่งขันเชิงธุรกิจในยุคที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงและหลังการเปิดการค้าเสรีในอนาคต กฎหมาย การมีกฎหมายที่มีรองรับการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยสร้าความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค ซึ่งหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งผลักดันกฎหมายต่าง ๆ ที่จะมารองรับ แต่ในระหว่างที่รอกฎหมายอยู่ผู้ประกอบการก็สามารถทำการไปได้เลย โดยสามารถนำกฎหมายที่มาอยู่มาประยุกต์ใช้ได้

11. กระบวนการซื้อขายของระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ Searching & Advertising No Transaction Transaction Ordering Payment Delivery Electronic Delivery Physical Goods http://www.ecommerce.or.th

11.1การหาข้อมูล/การโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Searching & Advertising) ขั้นตอนแรก ลูกค้าจะเข้ามาทำการสืบค้นหาข้อมูลสินค้าในอินเทอร์เน็ตหรืออาจจะช่องทางอื่นๆแล้วแต่ความสะดวก เพื่อประกอบการตัดสินใจในการที่จะซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าต่อไป

11.2 การทำธุรกรรม(Transaction) จะเริ่มตั้งแต่การทำคำสั่งซื้อ การชำระเงินค่าสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า

11.3 การทำคำสั่งซื้อ(Ordering) เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอและต้องการจะทำการซื้อสินค้าหรือจะทำธุรกรรมกันแล้ว ในฝั่งผู้ขายต้องมีระบบที่มีประสิทธิภาพรองรับอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบตะกร้าสินค้า(Shopping Carts) ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ เช่นแสดงรายละเอียดที่ดูได้ง่ายว่าได้ทำการเลือกสินค้าใดๆไว้บ้างแล้วในตะกร้า รวมแล้วค่าสินค้าเป็นเท่าไร ภาษีค่าจัดส่งต่างๆ ควรแสดงให้เห็นด้วย และต้องสามารถให้ลูกค้าสามารถเก็บข้อมูลรายการสินค้าไว้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำการสั่งซื้อภายหลัง ตัวอย่างของระบบตะกร้าที่ได้รับการยอมรับว่าดีมากคือของ Amazon.com

11.4 การชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต องค์ประกอบในการชำระเงิน 1.ลูกค้า(Customer) 2.ร้านค้า(Merchant) 3.ธนาคารที่ร้านค้าเปิดบัญชีไว้ (Acquiring Bank) 4.ธนาคารผู้ออกบัตร (Issuing Bank)  เมื่อลูกค้าใส่ข้อมูลบัตรเครดิตและกดปุ่ม “ตกลง/ส่ง” ข้อมูลในส่วนของคำสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังร้านค้า (1) ส่วนข้อมูลของบัตรเครดิตจะถูกส่งไปที่ระบบการชำระเงินของธนาคารที่ร้านค้าสมัครใช้บริการไว้(2) และถูกส่งต่อไปยังธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของบัตรว่ามีวงเงินให้ใช้งานได้หรือไม่ บัตรหมดอายุหรือยัง (3)[แต่ในที่นี้ไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้ใช้บัตรนั้นเป็นเจ้าของจริงหรือเปล่า] ถ้าบัตรยังใช้งานได้ก็จะตอบกลับมายังร้านค้าและลูกค้าว่าสามารถทำการชำระเงินในวงเงินดังกล่าวได้(4-6) หลังจากนั้นลูกค้าต้องกดปุ่มตกลงเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อยืนยันคำสั่งซื้อและชำระเงิน เมื่อร้านค้าได้รับการแจ้งการชำระเงินก็จะจัดส่งสินค้าต่อไป(7) และลูกค้าก็ชำระเงินที่ใช้ไปตามรอบบัตรเครดิตปกติ

11.5 การจัดส่งสินค้า สินค้าจะมี 2 รูปแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้(Tangible Goods) และสินค้าที่จับต้องไม่ได้(Intangible Goods) ดังนั้นการจัดส่งจึงมี 2 รูปแบบคือ ส่งโดยผ่านผู้ให้บริการสำหรับสินค้าที่จับต้องได้ เช่นเดียวกันในการจัดส่งต้องมีวิธีให้ลูกค้าให้เลือกได้หลายวิธีตามต้องการเช่นกัน ส่งพัสดุตามปกติ ส่ง EMS ส่งผ่านผู้ให้บริการรับส่งสินค้า(Courier) เช่นเดียวกันต้องมีให้เลือกทั้งแบบส่งปกติ ส่งด่วน ส่งด่วนพิเศษ ตามความต้องการของลูกค้า ส่วนสินค้าที่จับต้องไม่ได้นั้นการจัดส่งจะทำการส่งผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เลย เช่นดาวน์โหลดเพลง ซื้อข้อมูล การเป็นสมาชิกดูข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น

12. ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 1: ทำความเข้าใจว่าพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์จะเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจที่ดำเนินอยู่ได้อย่างไร เป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจในอนาคต มีบทบาทตามธุรกิจขนาดไหน เพื่อที่จะกำหนดรูปแบบ ขั้นตอนที่ 2:วิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจและวางแผน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้า ลูกค้าและพนักงาน ว่าขั้นตอนใดจะใช้สื่ออิเลกทรอนิกส์เป็นเครื่องมือ กำหนดงบประมาณ เวลา และปัจจัยที่มีผลต่อแผนงาน

12. ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 3: การเลือกระหว่างพัฒนาเองหรือจ้างบุคคลภายนอก พัฒนาเอง ต้องมีบุคลากรที่ดูแลเองได้ ต้องจ้างพนักงานเพิ่ม ลงทุนอุปกรณ์เป็นเงินเท่าไร จ้างผู้ชำนาญการดำเนินการแทนซึ่งประหยัดงบประมาณมากกว่า แต่ต้องมีการตรวจสอบ มีการประสานงานและติดตามผล ต้องศึกษาถึงประสบการณ์ของบริษัทที่ผ่านมาว่าทำแล้วประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ขั้นตอนที่ 4:การออกแบบ การออกแบบที่เรียบง่าย มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน สามารถหาข้อมูลได้ง่าย ไม่ใส่ลูกเล่น ภาพขนาดใหญ่มากเกินไป มีข้อมูลที่น่าสนใจชวนติดตาม มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี

12.ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 5: การเตรียมความพร้อมสำหรับธุรกิจแบบใหม่ ระหว่างพัฒนาระบบควรเตรียมการปรับกระบวนการในการทำธุรกิจ วางแผนเรื่องความปลอดภัยของระบบ การจัดเก็บข้อมูลลูกค้า จะเก็บแบบใด เก็บที่ไหน ใครดูแล การจัดการเรื่องการใช้ข้อมูล ขั้นตอนที่ 6:หมั่นปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ การปรับปรุงเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอเป็นหัวใจสำคัญ การดูแลเรื่องโปรโมชัน สต็อกสินค้า การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ใช้นานๆข้อมูลมากขึ้นอาจทำให้ช้า

12.ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 7: การให้บริการลูกค้า บริการลูกค้าสัมพันธ์หรือ บริการหลังการขาย สร้างระบบบริการให้ครบถ้วน การให้ข้อมูลวิธีการใช้สินค้า การให้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การรับข้อเสนอแนะจากลูกค้า ขั้นตอนที่ 8:การประชาสัมพันธ์ ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนเข้ามารู้จักเว็บไซต์เรา ประกาศทางสื่อ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ การประกาศในเว็บบอร์ดต่างๆ การวางแบรนเนอร์ในเว็บท่าต่างๆ ขั้นตอนที่ 9: กระตุ้นการใช้งาน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว