หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ กระบวนการจัดการกับข้อมูลข่าวสาร โดยการ นำเข้าข้อมูลดิบ มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำให้ข้อมูลเป็นสารสนเทศที่นำมาใช้ ประโยชน์ได้ สามารถนำมา - ใช้ในการวิเคราะห์จนเป็นความรู้ - ใช้ในการแก้ปัญหา และ - ใช้ในการตัดสินใจ
กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย - การรวบรวมข้อมูล - การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล - การประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศ และความรู้ที่ นำมาใช้ในการตัดสินใจ - การเผยแพร่สารสนเทศ
วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดรายละเอียดของปัญหา ขั้นตอนที่ 2 วางแผนในการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบและปรับปรุง
หลักการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ปัญหานั้นมีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับชนิดของงาน วิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งอาจไม่สามารถแก้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งได้ และการแก้ปัญหาอาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้หรือไม่ก็ได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรยึดหลักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ วิธีการแก้ปัญหานั้นมีดังนี้ คือ 1. หลักการแก้ปัญหาด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ 2. หลักการแก้ปัญหาตามวิธีการวิศวกรรม 3. วิธีการแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์ 4. การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. หลักการแก้ปัญหาด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่มีมานานมากแล้ว เป็นการ ศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้ คือ 1) เก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยการศึกษา สังเกต 2) ตั้งสมมติฐาน 3) พัฒนาวิธีการทดสอบสมมติฐาน 4) ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน 5) วิเคราะห์ผลการทดลอง 6) เขียนรายงานสรุปการทดลอง
2. หลักการแก้ปัญหาตามวิธีการวิศวกรรม วิธีนี้เหมาะกับการแก้ปัญหาในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือการสร้างสิ่งใหม่ๆ มีขั้นตอนดังนี้ 1) วิเคราะห์ปัญหา เพื่อกำหนดรายละเอียดของปัญหาให้ชัดเจน 2) สร้างแบบจำลองวิธีการแก้ปัญหา 3) คำนวณหาคำตอบ 4) นำผลลัพธ์ที่สมเหตุสมผล ไปใช้ปฏิบัติงาน
4. การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็น แก้ปัญหาโดยนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เพื่อ เพิ่มความ รวดเร็ว ถูกต้องและสามารถทำงานแบบซ้ำๆได้ง่าย การนำ คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหานั้นมีความจำเป็นต้องปรับ รูปแบบวิธีการทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเรา จำเป็นต้องสร้างระบบงานด้วยคอมพิวเตอร์ นั้นก็หมายถึงการเขียน โปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานนั่นเอง ดังนั้นในการพัฒนา ระบบงานด้วยคอมพิวเตอร์เราจึงจำเป็นต้องศึกษาและวางขั้นตอน ดังนี้
1) การวิเคราะห์งาน หลักการวิเคราะห์งาน ก่อนที่จะทำการ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. วิเคราะห์งานในส่วนที่เป็น สิ่งที่ต้องการ 2. วิเคราะห์งานในส่วนที่เป็น ผลลัพธ์ 3. วิเคราะห์งานในส่วนที่เป็น ข้อมูลนำเข้า 4. วิเคราะห์งานในส่วนที่เป็น ตัวแปร 5. วิเคราะห์งานในส่วนที่เป็น วิธีการประมวลผล
2) การเขียนผังงาน ผังงาน (flowchart ) คือ แผนภาพซึ่งแสดงลำดับ ขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้ สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่าขั้นตอนนั้นๆ มีลักษณะ การทำงานแบบใด และแต่ละขั้นตอนจะถูกเชื่อมโยงกันด้วย ลูกศรเพื่อแสดงลำดับการทำงาน ทำให้ง่าย ต่อการทำความ เข้าใจว่าในการทำงานนั้นๆ มีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับ อย่างไร
ประโยชน์ของผังงาน 1. ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียน โปรแกรมได้โดยไม่สับสน 2. ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด 3. ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 4. ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และ รวดเร็วมากขึ้น
วิธีการเขียนผังงานที่ดี 1. ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้ 2 วิธีการเขียนผังงานที่ดี 1. ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้ 2. ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา 3. คำอธิบายในภาพควรสั้นกะทัดรัด และเข้าใจง่าย 4. ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก 5. ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน 6. ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียน โปรแกรม
สัญลักษณ์ที่ใช้ในผังงาน สัญลักษณ์เกี่ยวกับสื่อ(Media Symbols) เอกสารหรือสิ่งพิมพ์ จอภาพแสดงผล ข้อมูลที่บันทึกไว้
เครื่องบันทึกข้อมูล เทปบันทึกข้อมูล การประมวลผล การประมวลผลย่อย สัญลักษณ์เกี่ยวสื่อ(ต่อ) เครื่องบันทึกข้อมูล เทปบันทึกข้อมูล สัญลักษณ์เกี่ยวกับการประมวลผล การประมวลผล การประมวลผลย่อย
การนำข้อมูลเข้าหรือออก สัญลักษณ์เกี่ยวกับการประมวลผล(ต่อ) การนำข้อมูลเข้าหรือออก การตัดสินใจ การนำเข้าข้อมูลด้วยมือหรือแป้นพิมพ์
ทิศทางการไหลของข้อมูล สัญลักษณ์พรรณนาเส้นทางข้อมูล ทิศทางการไหลของข้อมูล จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด จุดต่อหรือจุดอ้างอิง จุดต่อหรือจุดอ้างอิง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายสื่อสาร
ไข่เจียวหอมอร่อยตามต้องการ ตัวอย่างปัญหา ครูไม่มีประสบการณ์ในการทำอาหารเลยแต่อยากจะกินไข่เจียวจึงลองถามนักเรียนและสรุป เป็นขั้นตอนทำวิธีการทอดไข่เจียว ได้ดังนี้ เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้เช่น กระทะ,เตา,ตะหลิว,ไข่,ถ้วย,เครื่องปรุง,ช้อน,ส้อม นำไข่ที่เตรียมไว้ตอกใส่ถ้วยและใส่เครื่องปรุงแล้วตีไข่ให้เข้ากันกับเครื่องปรุง ตั้งไฟเตา,ตั้งกระทะและใส่น้ำมันพืชเมื่อน้ำมันเดือดแล้วให้นำไข่ที่ตีไว้เทลงไป ทิ้งไว้ซักพักเมื่อเราคิดว่าสุกแล้วให้พลิกอีกด้านขึ้นมาเพื่อที่ให้อีกด้านสุกเช่นกันเมื่อสุกแล้วตักไข่ใส่จานและให้ปิดไฟเตา ไข่เจียวหอมอร่อยตามต้องการ
ผังงาน(Flow chart)วิธีการทอดไข่เจียว ตัวอย่างผังงาน ผังงาน(Flow chart)วิธีการทอดไข่เจียว
ตั้งไฟเตา,ตั้งกระทะและใส่น้ำมันพืชเมื่อน้ำมันเดือดแล้วให้นำไข่ที่ตีไว้ เริ่ม เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้เช่น กระทะ,เตา,ตะหลิว,ไข่,ถ้วย,เครื่องปรุง,ช้อน,ส้อม กลับไปทำใหม่ ตั้งไฟเตา,ตั้งกระทะและใส่น้ำมันพืชเมื่อน้ำมันเดือดแล้วให้นำไข่ที่ตีไว้ ตั้งไฟเตา,ตั้งกระทะและใส่น้ำมันพืชเมื่อน้ำมันเดือดแล้วให้นำไข่ที่ตีไว้เทลงไป ทิ้งไว้ซักพักเมื่อเราคิดว่าสุกแล้วให้พลิกอีกด้านขึ้นมาเพื่อที่ให้อีกด้านสุกเช่นกันเมื่อสุกแล้วตักไข่ใส่จานและให้ปิดไฟเตา ไข่เจียวกินได้ไหม? ไม่ ใช่ สิ้นสุดการทำ
รับค่าเงินเดือนเข้ามา ถ้าเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ให้คิดภาษี 7% ถ้าเงินเดือนน้อยกว่า หรือเท่ากับ 15,000 ให้คิดภาษี 3% คำนวณเงินได้สุทธิโดยเอาเงินเดือนลบด้วยภาษี พิมพ์ค่าเงินเดือน ภาษี และเงินได้สุทธิหลังจากหักภาษี
ตัวอย่างการเขียนผังงาน คำนวณเงินเดือน Begin (เริ่มต้น) Salary (เงินเดือน) =0 Income (เงินได้)=0 Tax (ภาษี)=0 Income=salary-tax Read Salary (นำเข้าข้อมูลเงินเดือน) Print salary Print tax Print income Salary>15,000 No End Yes Tax=salary*3% Tax=salary*7%
กิจกรรมการเรียนรู้ ลองทำดู ให้นักเรียนเขียนผังงาน(Flow chart) แสดงขั้นตอนการเปลี่ยนยางรถ เมื่อรถยางแตกขณะขับรถ
END