งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน
ทะเบียนครอบครัว โดย อัมพร จงรักดี หัวหน้าฝ่ายทะเบียนครอบครัว พินัยกรรม และนิติกรรม

2 งานทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ
1.ทะเบียนครอบครัว 2.ทะเบียนพินัยกรรม 3.ทะเบียนชื่อบุคคล 4.ทะเบียนศาลเจ้า 5.ทะเบียนสัตว์พาหนะ 6.ทะเบียนนิติกรรม 7.ทะเบียนเกาะ 8.ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

3 ทะเบียนครอบครัว หมายถึง การจด หรือบันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ไม่ว่าจะในฐานะสามีกับภริยา หรือบิดามารดากับบุตร

4 ทะเบียนครอบครัว แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ทะเบียนการสมรส ทะเบียนการหย่า ทะเบียนการรับรองบุตร ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม บันทึกฐานะของภริยา บันทึกฐานะแห่งครอบครัว

5 กม.ที่เกี่ยวข้อง ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478
พ.ร.บ.รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 2522 พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย 2481 พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม 2489 กฎกระทรวงมหาดไทย 2478 กฎกระทรวงการต่างประเทศ ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว 2541

6 วัตถุประสงค์ของทะเบียนครอบครัว
เพื่อเป็นเอกสารทางกฎหมาย เพื่อเป็นข้อมูลทางสถิติ ด้านการเมือง ด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านความมั่นคงปลอดภัยของชาติ ด้านสาธารณสุข ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านสิทธิของประชาชน

7 1. ทะเบียนการสมรส การสมรสที่สมบูรณ์ตามกฎหมายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายว่าด้วยการสมรส ตาม ป.พ.พ. (ม ) 2. ต้องได้รับความยินยอม (ม ) 3. ต้องมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย (ม.1457) อนึ่ง การสมรสจะทำได้เมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน หรือมีคำสั่งศาลให้จดทะเบียนสมรส

8 1. ทะเบียนการสมรส 1. เงื่อนไขการสมรส ตาม ป.พ.พ. 1.1 สมรสได้เมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ หรือให้ศาลอนุญาตถ้ามีเหตุสมควร(ม.1448) 1.2 สมรสมิได้เมื่อชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต/ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ (ม.1449) 1.3 สมรสมิได้เมื่อชายหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา/ พี่น้องร่วมบิดามารดา/ร่วมแต่บิดาหรือมารดา (ม.1450)

9 1. ทะเบียนการสมรส 1.4 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ (ม.1451) 1.5 ชายหรือหญิงสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ (ม.1452)

10 1. ทะเบียนการสมรส 1.6 หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้เมื่อการสิ้นสุดการสมรสได้ผ่านไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน ยกเว้น (ม.1453) 1.6.1 คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น 1.6.2 สมรสกับคู่สมรสเดิม 1.6.3 มีใบรับรองแพทย์สาขา เวชกรรมว่ามิได้ตั้งครรภ์ 1.6.4 ศาลให้สมรสได้

11 1. ทะเบียนการสมรส 1.7 ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน และให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย (ม.1458)

12 1. ทะเบียนการสมรส 2. ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ดังนี้ (ม.1436) 2.1 บิดาและมารดา 2.2 บิดาหรือมารดา 2.3 ผู้รับบุตรบุญธรรม 2.4 ผู้ปกครอง

13 1. ทะเบียนการสมรส การให้ยินยอมให้ทำการสมรสทำได้ 3 วิธี (ม.1455) 1. ลงลายมือชื่อในขณะจดทะเบียนสมรส 2. ทำเป็นหนังสือ(ระบุชื่อผู้ที่จะสมรส&ลายมือชื่อผู้ให้ความยินยอม) 3. ทำด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน

14 1. ทะเบียนการสมรส หากชายหรือหญิงมีอายุ 17 ปีบริบุณ์แต่ไม่ถึง 20 ปี ประสงค์จดทะเบียนสมรสแต่ไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม/มีแต่ไม่อาจให้ความยินยอมได้/ไม่อยู่ในสภาพทีอาจให้ความยินยอม/โดยพฤติการณ์ไม่อาจขอความยินยอมได้ต้องร้องขอให้ศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้(ม.1456)

15 1. ทะเบียนการสมรส ถาม : ผู้เยาว์อายุ 19 ปี 10 เดือน บิดามารดาเสียชีวิตแล้ว ร้องขอจดทะเบียนสมรส นายทะเบียนจะแนะนำอย่างไร

16 1. ทะเบียนการสมรส ตอบ : มี 3 แนวทาง 1. ร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาล อนุญาต (ม.1456) 2. ให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอม(บิดาและมารดา,บิดาหรือมารดา,ผู้รับบุตรบุญธรรม) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง (ม.1436(4)) 3. รอให้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (ม.19)

17 ผลของการจดทะเบียนตามกฎหมาย มีประการ คือ 1. โมฆะ 2. โมฆียะ 3. สมบูรณ์
1. ทะเบียนการสมรส ผลของการจดทะเบียนตามกฎหมาย มีประการ คือ 1. โมฆะ 2. โมฆียะ 3. สมบูรณ์

18 1. สมรสกับคนวิกลจริต(ม.1449) 2. สมรสให้กับญาติสืบสายโลหิต(ม.1450)
1. ทะเบียนการสมรส เหตุที่การสมรสเป็นโมฆะ ได้แก่ 1. สมรสกับคนวิกลจริต(ม.1449) 2. สมรสให้กับญาติสืบสายโลหิต(ม.1450) 3. สมรสให้กับผู้ที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว(ม.1452) 4. ชายหญิงมิได้ยินยอมเป็นสามีภรรยากัน (ม.1458) - ผลการสมรสที่เป็นโมฆะจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะ และชายหญิงเหมือนกับไม่เคยสมรสกันมาก่อน(ม.1496)

19 1. ทะเบียนการสมรส บุคคลวิกลจริต ม.1449(ฎ.490/2509) มิไดหมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้า ยังหมายถึงบุคคลที่ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรู้สึกผิดชอบ ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตน รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคเนื้องอกในสมอง พูดไม่ได้ หูไม่ได้ยิน ตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสัมปชัญญะ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกอย่าง

20 ทวด ปู่,ย่า/ตา,ยาย ลุง,ป้า,น้า,อา บิดา,มารดา นาย ก. ลูก หลาน เหลน
1. ทะเบียนการสมรส ทวด ปู่,ย่า/ตา,ยาย ลุง,ป้า,น้า,อา บิดา,มารดา นาย ก. ลูก หลาน เหลน

21 1. ทะเบียนการสมรส สมรสซ้อน หมายถึง คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสกับบุคลอื่นอีก หากนายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้ ผลการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นจะเป็นโมฆะ (ม.1452) หากนายทะเบียนตรวจพบหรือมีผู้กล่าวอ้างก็ให้แนะนำผู้มีส่วนได้เสียไปยื่นคำร้องให้ศาลสั่งให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะ (ม.1497, หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท /ว 245 ลงวันที่ 25 มกราคม 2537)

22 1. ทะเบียนการสมรส สมรสซ้ำ หมายถึง สมรสคู่เดิมทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนสมรสกันหลายครั้ง แต่เมื่อคู่สมรสนำใบสำคัญการสมรสครั้งที่สองมาร้องขอจดทะเบียนหย่าตาม ม การสมรสของทั้งสองคนย่อมสิ้นสุดลงตาม ม เพราะถือว่าเป็นการแสดงเจตนาที่จะหย่ากันแล้ว เอกสารที่นำมาแสดงเป็นเพียงหลักฐานการจดทะเบียนสมรสตามวิธีปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น (ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา : หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท /ว ลงวันที่ 23 กันยายน 2542)

23 1. ทะเบียนการสมรส เหตุที่การสมรสเป็นโมฆียะ ได้แก่
1. ชายหรือหญิงอายุไม่ครบ 17 ปี(ม.1448) 2. สำคัญผิดตัวคู่สมรส(ม.1505) 3. สมรสโดยถูกกลฉ้อฉล(ม.1506) 4. สมรสโดยถูกข่มขู่(ม.1507) 5. ผู้เยาว์สมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม(ม.1454) - ผลการสมรสที่เป็นโมฆียะ มี 2 กรณี สมบูรณ์โดยผลของกฎหมาย(ม.1504,1505,1506,1507,1509) ผลของการสมรสสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน(ม.1502)

24 1. ทะเบียนการสมรส การสมรสมีผลสมบูรณ์ เมื่อ -ทำการสมรสฝ่าฝืน ม.1453 กรณีหญิงหม้ายทำการสมรสใหม่ แต่ไม่ครบ 310 วัน มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย -นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้โดยที่คู่สมรสมีอายุไม่ครบตามเงื่อนไขของกฎหมายและมิได้รับความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอม นายทะเบียนไม่มีอำนาจยกเลิกเพิกถอนทะเบียนสมรสนั้น เนื่องจากการสมรสนั้นจะสมบูรณ์ตามผลของกฎหมาย ม.1510 ว.2

25 1. ทะเบียนการสมรส ถ้านายทะเบียนตรวจพบการจดทะเบียนสมรสที่เป็นโมฆะหรือโมฆียะ ให้นายทะเบียนดำเนินการ ดังนี้ 1.ไม่ต้องดำเนินการอะไร เพราะไม่มีอำนาจ 2.แนะนำผู้มีส่วนได้เสียร้องศาล 3.ระมัดระวังกำชับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้ดี 4.บันทึกความเป็นโมฆะในทะเบียนสมรส(ม.1497/1)

26 วิธีการจดทะเบียนสมรส 1.ในสำนักทะเบียน 2.นอกสำนักทะเบียน
1. ทะเบียนการสมรส วิธีการจดทะเบียนสมรส 1.ในสำนักทะเบียน 2.นอกสำนักทะเบียน 3.ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย 4.ต่อกำนัน(ผวจ.ประกาศโดยอนุมัติ รมต.มท.) 5.ในท้องที่ห่างไกล(ขออนุมัติ ผวจ.) 6.สถานที่ซึ่งนายทะเบียนเห็นสมควร 7.สถานทูต/สถานกงสุล

27

28

29 1. ทะเบียนการสมรส กฎกระทรวงการต่างประเทศออกตามความใน พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478 ข้อ 1 เพื่อประโยชน์แก่การจดทะเบียนในเมืองต่างประเทศ ให้ที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลสยามเป็นสำนักทะเบียนตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานทูต หรือกงสุลสยามเป็นนายทะเบียน ประจำสำนักทะเบียน ณ ที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลสยามนั้น

30 1. ทะเบียนการสมรส ข้อควรรู้ 1.ไม่ต้องบันทึกฐานะแห่งครอบครัว(คร.22) แล้ว สมบูรณ์ตาม กม.ไทยแล้ว 2.ส่งเอกสารทะเบียนสมรส/หย่า/ รับรองบุตร/รับบุตรบุญธรรม/เลิกรับบุตรบุญธรรม ให้สำนักทะเบียนกลางเพื่อบันทึกลงในฐานข้อมูล

31 2. ทะเบียนการหย่า การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วย(ม.1501) 1. ความตาย 2. การหย่า 3. ศาลพิพากษาให้เพิกถอน

32 2. ทะเบียนการหย่า การหย่าทำได้ 2 วิธี(ม.1514) 1. หย่าโดยความยินยอม (ม ) 2. หย่าโดยคำพิพากษาของศาล(ม.1516)

33 2. ทะเบียนการหย่า การหย่าโดยความยินยอม - ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน (ม.1514) - ระบุการใช้อำนาจปกครองบุตร ทรัพย์สิน หนี้สิน(ถ้ามี) ในหนังสือสัญญาหย่า(ม.1520) - จะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว (ม.1515)

34 2. ทะเบียนการหย่า การหย่าโดยความยินยอม - การหย่าในสำนักทะเบียน (ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 20) - การหย่าต่างสำนักทะเบียน(ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 21)

35

36 2. ทะเบียนการหย่า การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล - ต้องนำสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุด และมีคำรับรองคดีถึงที่สุดมาแสดงด้วย (ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ ข้อ 22 , นส.มท /6213 ลว.19 พ.ค. 47)

37 2. ทะเบียนการหย่า การบันทึกเพิ่มเติมหรือแก้ไขรายการต่าง ๆ ในทะเบียนการหย่าที่อาจกระทบกระเทือนสิทธิของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ห้ามมิให้นายทะเบียนบันทึก เว้นแต่มีคำพิพากษาของศาล(ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 38 , นส.มท /ว 773 ลว. 9 เม.ย. 44)

38 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
กฎหมายบัญญัติไว้ว่า เด็กที่เกิดจากบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น(ม.1546) การที่เด็กจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ได้ต่อเมื่อ(ม.1547) 1. บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง 2. บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร 3. ศาลพิพากษาให้เป็นบุตร

39 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
ถาม : เมื่อบิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แต่ว่ามารดาเด็กเสียชีวิตแล้ว นายทะเบียนจดทะเบียนให้โดยใช้มรณบัตรของมารดาเป็นหลักฐานและให้เด็กลงลายมือชื่อให้ความยินยอมได้หรือไม่ หรือมีวีธีการอื่นใดที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรได้

40 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
ตอบ : จากคำถามเป็นกรณีที่มารดาเสียชีวิตแล้วซึ่งตรงกับหลักกฎหมายที่ว่า ไม่อาจให้ความยินยอมได้ดังกล่าว ดังนั้น บิดาจึงต้องไปร้องขอต่อศาล แล้วนำคำพิพากษาศาลมาแสดง นายทะเบียนจึงจดทะเบียนให้ได้

41 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
ถาม : เมื่อบิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แต่ปรากฏว่าเด็กอายุเพียง 2 เดือน นายทะเบียนจดทะเบียนให้โดยพิมพ์ลายนิ้วมือเด็กและให้มารดาลงลายมือชื่อให้ความยินยอมได้หรือไม่ หรือมีวิธีการอื่นใดที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรได้

42 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
ตอบ : จากคำถามเป็นกรณีเด็กอายุเพียง 2 เดือน จึงตรงกับหลักกฎหมายที่ว่าไม่อาจให้ความยินยอมได้เช่นกัน ซึ่งบิดาต้องไปร้องศาล และนำคำพิพากษามาเพื่อให้นายทะเบียนจดทะเบียนรับรองบุตรให้ได้ หมายเหตุ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ตาม นส.นร. 0601/838 ลว.30 มิ.ย. 35 (นส.มท. 0302/ว 1674 ลว. 22 ก.ค. 35)

43 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
นายทะเบียนจะจดทะเบียนรับรองบุตรได้ต่อเมื่อ(ม.1548) 1. ได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก 2. ต้องมีคำพิพากษาของศาล กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้าน หรือไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอม

44 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
ถาม บิดาเป็นชาวต่างชาติ มายื่นคำร้องจดทะเบียนรับรองบุตร เด็กและมารดาเด็กเป็นคนไทยและได้มาให้ความยินยอมด้วยตนเอง นายทะเบียนจะดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร ถาม บิดามเป็นคนไทย มายื่นคำร้องจดทะเบียนรับรองบุตร เด็กเป็นคนไทย มารดาเด็กเป็นต่างชาติ เด็กและมารดาเด็กมาให้ความยินยอมด้วยตนเอง นายทะเบียนจะดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร

45 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีการให้ความยินยอม ซึ่งกระทำได้ 2 วิธี(ม.1548) 1.ให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน 2. ทำเป็นหนังสือให้ความยินยอม

46 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตร ป.พ.พ. ม.1548 การให้ความยินยอมของเด็ก(ผู้เยาว์ไร้เดียงสา)จะต้องพิจารณาถึงความสามารถของเด็กในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียนกับเด็ก และเด็กนั้นควรรู้ผิดรู้ชอบตามปกติสามัญ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของเด็กแต่ละราย โดยไม่ต้องคำนึ่งว่าเด็กจะมีอายุเท่าใด (นส. มท. 0302/4227 ลว. 10 มี.ค. 36)

47 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
ถ้าเด็กผู้เยาว์ไร้เดียงสาหรือมารดาเด็กถึงแก่ความตายหรือไร้ความสามารถ ทำให้ไม่อาจให้ความยินยอมได้ด้วยตนเอง การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรจึงต้องมี คำพิพากษาของศาลเสียก่อนตาม ป.พ.พ. ม.1548 ว.3 (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา : นส.มท. 0302/ว 1674 ลว. 22 ก.ค. 35

48 3. ทะเบียนการรับรองบุตร
ถาม บิดามีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอน้ำยืน แม่เด็กมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอแม่ริม เด็กมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอปากช่อง ต้องการจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องไปดำเนินการที่อำเภอใด

49 4. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
ในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมีเงื่อนไขตามกฎหมาย ดังนี้ 1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และต้องมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรม 15 ปี(ม.1598/19) 2. บุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีต้องให้ความยินยอมด้วย (ม.1598/20) 3. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมถ้ามี คู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส (ม.1598/25) 4. บุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอม (ม.1598/21)

50 4. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมต้องผ่านการทดลองเลี้ยงดูไม่น้อยกว่า 6 เดือน(พ.ร.บ.การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522 ม.23 ว.2) 6. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่แล้วจะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม (ม.1598/26)

51 4. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
- ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาใน กทม. หรือต่างประเทศให้ยื่นต่ออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด (ม.20 ว.2 พ.ร.บ.การรับเด็กเป็นบุตร บุญธรรม พ.ศ.2522)

52 4. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
ผลของการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 1. บุตรบุญธรรมมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา และบิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ม.1598/28) 2. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของ บุตรบุญธรรม(ม.1598/29)

53 4. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
พ.ร.บ.การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ฉ.3)พ.ศ.2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 127 ตอนที่ 70 ก วันที่ 16 พ.ย. 2553(นส. มท /ว 1726 ลว. 24 ม.ค. 54) - การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคีให้ถือว่าเป็นการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตาม พ.ร.บ.นี้(ม. 5/1) - ต้องจดทะเบียนภายใน 6 เดือน แต่คณะกรรมการอาจพิจารณาขยายระยะเวลาออกไปอีกไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันที่พฤติการณ์พิเศษนั้นได้สิ้นสุดลง (ม.7 ว.2)

54 4. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
ข้อสังเกต 1.ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดูหากผู้รับ -พี่ร่วมบิดามารดา ร่วมบิดาหรือมารดา -ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา -ผู้ปกครองตาม กม. -บุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข 2.บุตรบุญธรรมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของผู้รับ

55 4. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
ถาม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมืองพะเยา บุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอ บางละมุง หลังจากที่ พมจ.มีคำสั่งอนุมัติให้จดทะเบียนทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้ว ต้องไปจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่อำเภอใด

56 5. ทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม
การรับบุตรบุญธรรมเป็นความสัมพันธ์ในฐานะบิดามารดากับบุตรระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมตามผลของกฎหมาย มิใช่ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตแต่อย่างใด การรับบุตรบุญธรรมจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุ 3 ประการ คือ 1. การจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม(ม.1598/31 ว.แรก) 2. บุตรบุญธรรมสมรสกับผู้รับบุตรบุญธรรม(ม.1598/32) 3. ศาลพิพากษาให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม (ม.1598/36)

57 5. ทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม
การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย(ม.1598/31 ว.4) ผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้เยาว์ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองบุตร(ม.1598/37)

58 5. ทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม
พ.ร.บ.การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ฉ.3)พ.ศ.2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 127 ตอนที่ 70 ก วันที่ 16 พ.ย. 2553(นส. มท /ว 1726 ลว. 24 ม.ค. 54) ผู้รับบุตรบุญธรรมประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อให้คำปรึกษาเยียวยาก่อน (ม.31/1)

59 6. บันทึกฐานะของภริยา เป็นการบันทึกแสดงฐานะของภริยา โดยมีหลักเกณฑ์ในการบันทึก ดังนี้ 1. สามีภริยาได้สมรสกันก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 2. ให้บันทึกเฉพาะสามีภริยาที่ร้องขอ 3. การบันทึกฐานะของภริยา บันทึกได้ 2 ชั้น คือ - เอกภริยา - อนุภริยา (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 33,34)

60 7. บันทึกฐานะแห่งครอบครัว
หมายถึง การใด ๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวที่ได้ทำขึ้นในต่างประเทศตามแบบกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นนั้นบัญญัติไว้ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งได้กระทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวให้ปรากฏหลักฐานเป็นภาษาไทยในการพิสูจน์หรือให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมาย

61 7. บันทึกฐานะแห่งครอบครัว
หลักเกณฑ์การจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว 1. กิจการที่จะร้องขอให้บันทึกต้องเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติไทย 2. ข้อความที่จะบันทึกต้องเป็นกิจการอันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัว 3. กิจการนั้นได้กระทำไว้ในต่างประเทศตามแบบกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นบัญญัติไว้ 4. ผู้มีส่วนได้เสียนำเอกสารและสำเนาอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นโดยมีคำรับรองถูกต้องพร้อมแปลเป็นภาษาไทย (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 36,37)

62 การบันทึกเพิ่มเติม หมายถึง การบันทึกเพิ่มเติมหรือแก้ไขรายการต่าง ๆ ในทะเบียนทีได้ลงรายการไว้โดย คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายร้องขอ นายทะเบียนบันทึกเพิ่มเติมในช่องบันทึก ผู้ร้องและนายทะเบียนลงลายมือชื่อ ห้ามมิให้แก้ไขรายการเดิม ห้ามนายทะเบียนรับบันทึกเพิ่มเติมที่อาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง(ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 38)

63 ข้อควรรู้ ผู้ไม่มีสิทธิเป็นพยาน 1.บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2.บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ 3.บุคคลที่หูหนวก หรือเป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง (พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478 ม.4)

64 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว ได้แก่ 1. คู่กรณีที่มีนิติสัมพันธ์กันในทะเบียนครอบครัว 2. คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ บุตรบุญธรรม หรือผู้รับบุตรบุญธรรมของบุคคลตาม 1 3. ผู้ซึ่งนายทะเบียนเห็นว่ามีหรืออาจมีประโยชน์ส่วนได้เสียเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (ข้อ 5 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541)

65 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว สำนักทะเบียน ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต เป็นสำนักทะเบียนที่รับจดทะเบียน ส่วนการทะเบียนทั่วไป สน.บท. เป็นสำนักทะเบียนกลาง (ข้อ 1 กฎกระทรวง มท.ฯ 2478)

66 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว นายทะเบียน นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต เป็นนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนอำเภอ/เขต ผอ.กองทะเบียน เป็นนายทะเบียนกลาง (ข้อ 2 กฎกระทรวง มท.ฯ 2478)

67 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว แบบพิมพ์ - คร.1 คำร้องขอจดทะเบียนและบันทึกทะเบียนครอบครัว - คร.2 ทะเบียนสมรส - คร.3 ใบสำคัญการสมรส - คร.6 ทะเบียนการหย่า - คร.7 ใบสำคัญการหย่า - คร.11 ทะเบียนรับรองบุตร - คร.14 ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม - คร.17 ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม - คร.20 ทะเบียนฐานะของภริยา - คร.22 ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว - คร.31 ใบบันทึกต่อ (ข้อ 50 ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541)

68 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว การให้บริการข้อมูลทะเบียนครอบครัว ขอดูทะเบียนครอบครัว คัดและรับรองทะเบียนครอบครัว การรับรองรายการจากข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ ขอให้สอบถามสำนักทะเบียนกลาง

69 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว การขอดูทะเบียนครอบครัว - ผู้มีส่วนได้เสีย - สำนักทะเบียนที่รับจดทะเบียน/สำนักทะเบียนกลาง - ไม่เสียค่าธรรมเนียม (ม.9 พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478 , ข้อ 10 กฎกระทรวง มท.ฯ , ข้อ 46,48 ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541)

70 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว การคัดและรับรองสำเนาทะเบียนครอบครัว - ผู้มีส่วนได้เสีย - คัดสำเนาทะเบียนครอบครัวจากทะเบียนจริง - สำนักทะเบียนที่รับจดทะเบียน/สำนักทะเบียนกลาง - ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท (ม.9 พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478 , ข้อ 10 กฎกระทรวง มท.ฯ , ข้อ 46,48 ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541)

71 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว การรับรองรายการจากข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ - ผู้มีส่วนได้เสีย - พิมพ์ (PRINT) ข้อมูลทะเบียนครอบครัวจากฐานข้อมูล - ทุกสำนักทะเบียนทั่วประเทศ/สำนักทะเบียนกลาง - ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท (ข้อ 49 ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ , นส. มท /ว 2670 ลว. 20 พ.ย. 41)

72 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว วิธีการรับรองรายการจากข้อมูลฯ -ประทับหรือเขียนข้อความในตอนล่างของข้อมูลรายการว่า ”ขอรับรองว่าเป็นรายการจากฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัว” -นายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่ที่อธิบดีกำหนด -สน.บท.-ผอ.สทท./หน.ก./หน.ศ./หน.ง./จพง.ปค. -ทปค.จ.-ปจ./จจ./จพง.ปค. -ทปค.อ.-ปอ. -สนง.เขต-หน.ฝ.ทบ./จพง.ปค. (ข้อ 49 ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ , นส. มท /ว 2670 ลว. 20 พ.ย. 41 , นส. มท /ว 6456 ลว. 3 เม.ย. 49)

73 การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว
การตรวจสอบคัดและรับรองรายการ ทะเบียนครอบครัว ขอให้สอบถามสำนักทะเบียนกลาง - ผู้มีส่วนได้เสีย - สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว - สำนักทะเบียนใดก็ได้ - ค่าธรรมเนียมรายละ 10 บาท (ข้อ 11 กฎกระทรวง มท.ฯ 2478)

74 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt ส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google