บรรยาย โดย ผอ.บรรพจน์ ทัพซ้าย โครงการเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม เรื่อง ยาเสพติดให้โทษ บรรยาย โดย ผอ.บรรพจน์ ทัพซ้าย
ยาเสพติดให้โทษ ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในการป้องกันและปราบปราม ปัจจุบันรัฐบาลมีการเร่งปราบปราม ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายยาเสพติด อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยาเสพติดยังเป็นปัญหารื้อรังมานาน ดังนั้นการปราบปรามวิธีเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงต้อง มีการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนให้ทราบถึงภัยร้ายของยาเสพติด และปลูกฝังค่านิยมให้ต่อต้านยาเสพติด เพื่อปัญหายาเสพติดจะได้หมดสิ้นไป
ความหมายของยาเสพติดให้โทษ ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีดหรือด้วยประการ ใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อ ร่างกายและจิตใจ
ประเภทของยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ เฮโรอีนแอลเอสดีแอมเฟตามีน ยาบ้ายาอี หรือ ยาเลิฟยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถ นำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้ การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่นมอร์ฟีนโคเค หรือ โคคาอีนโคเคอีน และเมทาโดนยาเสพติด
ประเภทของยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มี ยาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วยมีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติดจะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีนยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีนเพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น ยาเสพติดให้โทษ
ประเภทของยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือ สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมา ใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับ ไว้ด้วย ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และอะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ ต่อจิตประสาท อีก ๑๒ ชนิดที่สามารถนำมา ผลิตยาอี และยาบ้าได้ยาเสพติดให้โทษ
ประเภทของยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชาทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
ยาเสพติดที่แพร่หลายในประเทศไทย ยาบ้า เป็นยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่มีชื่อว่า“เมทแอมเฟตามีน” จะมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติเนื้อตัวสั่นเทา ทรงตัวไม่ได้ ถ้าเสพย์เข้าไปในปริมาณมากเกิน ร่างกายจะทนรับไม่ไหวจะทำให้เกิดอาการหัวใจวายตาย
ยาเสพติดที่แพร่หลายในประเทศไทย เฮโรอีนและฝิ่น เป็นสารเสพติดที่ได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมีทำมาจาก มอร์ฟีนซึ่งได้มาจาฝิ่น เฮโรอีนสามารถเสพโดยการนำไปละลายน้ำแล้วฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือนำไปลนไฟแล้วสูดไอระเหยเข้าทางปอด เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ร้ายแรงและติดง่ายที่สุด
ยาเสพติดที่แพร่หลายในประเทศไทย โคเคน สารเคมีที่สกัดมาจากใบของโคคาน เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทอย่างรุนแรง นิยมเสพโดยการสูดผลยาเข้าโพรง จรูก หากเสพย์เข้าไปมากๆ จะมีอาการเพ้อคลั่ง วาดระแวง กลัวคนอื่นจะมาทำร้าย มีอาการประสาทหลอน
ยาเสพติดที่แพร่หลายในประเทศไทย ยาอี เป็นสารสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์ ทั้งกระตุ้นประสารท ทำให้ประสราทหลอน ซึ่งเด็กวัยรุ่นนิยมใช้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยรุ่นที่ชอบมั่วสุมกันตามสถานบันเทิง ทั้งนี้เพราะผู้เสพย์ยาอี จะชอบเสียงดังยาอีมีฤทธ์ทำลาย เซลล์ประสาทสมองแม้จะเข้าไปเพียงเล็กน้อย
ยาเสพติดที่แพร่หลายในประเทศไทย ยาแก้ไอผสมโคเดอีน โคเดอีนเป็นสารประกอบจำพวกอัลคาลอยด์ที่มีอยู่ในฝิ่น ออกฤทธิ์ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ระงับปวด การใช้ โคเดอีนระยะยาว อาจทำให้มีอาการซึมเศร้า ขาดสมาธิ ง่วงนอน และหลับ หากใช้ในปริมาณมากจะเกิดการตัวสั่นและซักได้
ยาเสพติดที่แพร่หลายในประเทศไทย กัญชา ในการสูบกัญชา ผู้สูบมักจะเอาควัน ที่เกิดจากการเผาไหมเข้าไปในปิดแล้วพยายามกักเอาควันไว้ในปอดให้นานที่สุด ก่อนจะผ่อนลมหายใจ หากสูบกัญชาเป็นประจำให้มีผลต่อระบบความจะ ความจำเสื่อม การรับรู้เรื่องระยะทางและเวลาผิดปกติ
ลักษณะอาการของผู้ติดยาเสพติด 1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหวริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาวกางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด 2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาก้าวร้าว ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับ ยาเสพติด สูบบุหรี่จัดมีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหาย
ลักษณะอาการของผู้ติดยาเสพติด 3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดินถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง“ มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรุนแรง นอนไม่หลับ ทุรนทุราย 4. อาศัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิด ที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด
โทษของยาเสพติดให้โทษ ผลต่อตัวผู้เสพ ยาเสพติดทำให้สุขภาพของผู้เสพย์เสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้ติดเชื่อได้ง่าย ส่วนมากมักจะเป็นโรคผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร วัณโรค อารมณ์แปรปรวนง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวล บุคลิกภาพสูญเสีย ผลต่อครอบครัว ผู้ติดยาเสพติดจะขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่ห่วงใยดูแล เป็นภาระของครอบครัว ทำให้ครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่นและอาจจะเป็นตัวอย่างหรือเป็นสาเหตุทำให้สมาชิกในครอบครัวหันไปพึ่งยาเสพติดได้
โทษของยาเสพติดให้โทษ ผลต่อเศรษฐกิจและสังคม การที่มียาเสพติดแพร่ระบาด ในประเทศทำให้รัฐบาลต้องสูญเสีย งบประมาณ และเจ้าหน้าที่จำนวนมากในการป้องกัน และปราบปราม ยาเสพติด ตัวผู้เสพย์เองก็ยังมีพฤติกรรมทำให้เกิดปัญหาทางสังคมการก่ออาชญากรรม ลักเล็กขโมยน้อย หรือทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งผลกระทบของปัญญาหาเหล่านี้ อาจมีความรุนแรงจนนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
สาเหตุของการติดยาเสพติด ตัวสารและฤทธิ์ของสาร มีการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดการเสพติด เช่น ยาบ้า เฮโรอีน เป็นต้น สิ่งแวดล้อม มีส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นหรือชักนำให้หันไปเสพย์ยาเสพติด เช่น อาจเกิดจากการอยากทดลองเนื่องจากเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิดเสพย์และชักชวนให้เสพย์ หรือเกิดจาการคึกคะนองในช่วงวัยรุ่นและส่วนใหญ่เกิด จากสภาพครอบครัวที่มีปัญหา
สาเหตุของการติดยาเสพติด ตัวผู้เสพย์ สภาพร่างกาย ผู้ที่มีการป่วยซึ่งต้องใช้ยาเสพติดในการบำบัดรักษาจำนำไปสู่การติดยาเสพติดได้ สภาพจิตใจ ผู้ที่มรอารมณ์วู่วาม เปลี่ยนแปลงเร็ว ขาดความมั่นใจ มักจะหันเข้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งยึดเหนียว ส่วนผู้ที่มีสุขภาพจิด รวนเร มีความวิตกกังวลตลอดเวลา ก็จะถูกชักจูงให้เสพย์ยาเสพติด ได้ง่าย และผู้ที่ขาดความอบอุ่น หรือมีปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การงาน
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ