งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความสำคัญและทิศทางใหม่ๆ ในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความสำคัญและทิศทางใหม่ๆ ในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความสำคัญและทิศทางใหม่ๆ ในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น
ความสำคัญและทิศทางใหม่ๆ ในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ

2 “สภาพการศึกษาไทยในปัจจุบัน”

3 สภาพการศึกษาไทยในปัจจุบัน
การศึกษาดีอยู่ไกลตัว(ส่งลูกเข้าเมือง) โรงเรียนใกล้บ้านไม่มีคุณภาพหรือไม่เชื่อมั่นว่ามีคุณภาพเท่าโรงเรียนในเมือง การศึกษาไม่ตอบโจทย์ท้องถิ่น ผลักกำลังคนทิ้งถิ่น รักษาคนหนุ่มสาวไว้ไม่ได้ กลายไปเป็นแรงงานในเมือง การศึกษาตอกย้ำความด้อยโอกาสและความเหลื่อมล้ำในสังคม เด็กยากจนหลุดจากระบบการศึกษานับแสนคนต่อปี โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจน การจัดสรรทรัพยากรภาครัฐก็ยิ่งตอกย้ำเรื่องนี้ พื้นที่ยากจนกลับได้งบพัฒนาน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่เจริญกว่า

4 งบลงทุนทั้งหมด (ล้านบาท) งบลงทุนทั้งหมด ต่อหัว (บาท)
การกระจายงบประมาณลงทุนของรัฐเทียบกับระดับการพัฒนาของจังหวัด (คณะกรรมการปฏิรูป, 2554) ระดับการพัฒนา จำนวนจังหวัด ประชากร (พันคน) งบลงทุนทั้งหมด (ล้านบาท) งบลงทุนทั้งหมด ต่อหัว (บาท) สูงมาก 15 14,761.55 110,852.19 7,509.52 สูงมากไม่รวมกทม 14 9,045.30 29,212.82 3,229.61 สูง 8,751.89 31,679.24 3,619.70 ปานกลาง 16 9,878.42 34,683.82 3,511.07 ต่ำ 13 10,896.31 31,721.19 2,911.19 ต่ำมาก 18 18,747.10 52,422.50 2,796.30 รวมทั้งประเทศ 76 63,035.27 290,571.75 4,609.67

5

6 ตารางที่ 2 อัตราการคงอยู่ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2541-2552
(ที่มา : สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2552) ป.1 2541 1,110,024 100.0 ป.3 2543 1,020,289 91.9 ป.6 2546 993,575 89.5 ม.1 2547 949,929 85.6 ม.3 2549 884,073 79.6 ม.4 (สามัญ/อาชีพ) 2550 759,252 68.4 ม.6 (สามัญ/อาชีพ) 2552 607,970 54.8

7

8 อัตราการคงอยู่ของเด็กเปรียบเสมือนท่อปลายสอบของระบบการศึกษา
ป.1 100% ม.3 80% ม.6 50% มหาลัย 30% ก่อนเข้าสู่รั้วโรงเรียน เหตุปัจจัยส่วนตัว/ครอบครัว เรียนไม่ไหว ถอดใจเรียน มีภาวะบกพร่องการเรียนรู้ เด็กหลุดจากระบบก่อนม.6กว่า 5,ooo,ooo คนในช่วง 12 ปี

9 เหตุปัจจัยส่วนตัว/ครอบครัว มีภาวะบกพร่องการเรียนรู้
สาเหตุการหลุดจากท่อปลายสอบ เหตุปัจจัยส่วนตัว/ครอบครัว เรียนไม่ไหว/ถอดใจ มีภาวะบกพร่องการเรียนรู้ ความยากจน ปัญหาครอบครัว การย้ายถิ่นตามพ่อแม่ การตายจากโรคและอุบัติเหตุ เด็กหลังห้อง เด็กเรียนรู้ช้า(slow learner) เด็กอัจฉริยะ ต่างขาดการดูแล และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เด็ก LD 8-9% สมาธิสั้น (ADHD) 4-5% ออทิสติค 1-2%

10 การดูแลรักษาคุณภาพของท่อ
ทางออกคือการสร้างคุณภาพการเรียนรู้ที่เท่าเทียมไม่ว่าเด็กจะออกจากระบบ ณ จุดใด (ม.3/ม.6) ก็ไปอย่างมีอนาคต การมีวาล์วหรือท่อทางเลือกให้แก่เด็ก อาทิ การศึกษาทางเลือก การเรียนรู้อาชีพท้องถิ่น ฯลฯ การดูแลรักษาคุณภาพของท่อ (ปะผุ ล้างสนิม ขัดตะกอน) อาทิ การทำระบบคัดกรองเด็ก การวางแผนช่วยเหลือนักเรียนรายบุคคล การส่งเสริมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนรายบุคคล การจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิต ฯลฯ

11 เด็กด้อยโอกาสและเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อจังหวัด 50,000-70,000 คน

12 เด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา เด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา
จำนวนเฉลี่ยต่อจังหวัด กลุ่มเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา และเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา เด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา เด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา เด็กออกลางคันก่อนจบม.3 ประมาณ 3,000-4,000 คน แม่วัยรุ่นประมาณ 1,000-1,500 คน เด็กพ้นคดีออกมาจากสถานพินิจประมาณ คน เด็กเร่ร่อน/ถูกทอดทิ้ง/ถูกบังคับค้าแรงงาน / ค้าประเวณี 1,000-2,000 คน เด็กไร้สัญชาติ เด็กลูกแรงงานต่างด้าว 10,000-15,000 คน(กระจุกตัวในบางจังหวัด) เด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 40,000 คน เด็กยากจนพิเศษประมาณ 30, ,000 คน (รายได้ครอบครัวต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี) เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้แบบไม่รุนแรง(LD/ADHD/Autistic) ประมาณ20,000 – 30,000 คน เด็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารประมาณ 2,000 -3,000 คน เด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการออกกลางคันในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกประมาณปีละ 10,000 คน

13 ชุมชนท้องถิ่นสูญเสียมหาศาล
การศึกษาในท้องถิ่นไม่มีคุณภาพพอ – ลูกหลานไม่มีคุณภาพ แข่งไม่ได้ไม่เท่าทันชีวิต อาจกลายเป็น “เด็กเสี่ยง” สร้างปัญหากับตนเองและชุมชน (แม่วัยรุ่น เด็กก่อคดี เด็กเลื่อนลอยไม่เรียนหนังสิอ เด็กติดเกม) ลูกหลานหาอนาคตที่ดีไม่ได้ มีไม่น้อยที่ยากจน เรียนไม่ไหว ออกจากโรงเรียนก่อนจบภาคบังคับ (ม.3) กลายเป็นเด็ก “นอกระบบ” ด้อยโอกาสและยากจะมีโอกาสทำงานที่มีรายได้ดีหรือมั่นคงได้ เด็กในแต่ละตำบลเฉลี่ย คนตกอยู่ในสภาพนี้ พ่อแม่ที่มีเงินก็ส่งลูกเข้าเมืองเสียค่าใช้จ่ายมากมาย เด็กที่เข้าไปเรียนในเมืองก็ไม่รู้จักไม่ผูกพันท้องถิ่น มีแนวโน้มทิ้งถิ่นไปทำงานที่อื่น ชุมชนท้องถิ่นสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

14 ความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 80 ล้านบาทต่อตำบลต่อปี!
สูญเสียที่ 1 เด็กที่การศึกษาน้อยเฉพาะกลุ่มที่ออกก่อนจบม.3 มีเฉลี่ยอย่างต่ำราว 300 คนต่อตำบล เป็นกลุ่มที่มักเป็นแรงงานกินค่าแรงขั้นต่ำ ทำเงินตลอดอายุการทำงาน(15-60 ปี) น้อยกว่าคนจบปริญญาตรี 2 เท่าหรือ 7.5 ล้านบาท คิดเป็นความสูญเสียโอกาสทางรายได้ปีละ 50 ล้านบาทต่อตำบลต่อปีหรือกว่า 2,000 ล้านบาทตลอดช่วงอายุแรงงาน สูญเสียที่ 2 ถ้าส่วนใหญ่เข้าไปเป็นแรงงานในเมืองก็เสียค่ารถ ค่ากิน ค่าใช้จ่ายในเมืองมากกว่า 50 % ของรายได้ เหลือกลับถิ่นแค่ 50% ถ้าคิดว่ารายได้ปีละ 100,000 บาทต่อคน เท่ากับสูญเสียรายได้ออกนอกท้องถิ่นอีกปีละ 50,000 บาทต่อคนหรือปีละอีก 15 ล้านบาทหรือเกือบ 700 ล้านบาทตลอดช่วงอายุแรงงาน สูญเสียที่ 3 พ่อแม่ที่ไม่ไว้ใจโรงเรียนในท้องถิ่น ส่งลูกเข้าเมืองเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอย่างน้อย 2,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นค่ารถ ค่ากับข้าว ค่าใช้สอยของลูกที่ไปเช้า-เย็นกลับตกปีละ 30,000 บาท ถ้าคิดเฉลี่ยเด็ก 1 ใน 3 ของตำบลเข้าไปเรียนในเมือง(ประมาณ 700 คน) เท่ากับค่าใช้จ่ายครอบครัวที่ต้องเสียออกไปกับกาส่งลูกเรียนในเมืองอีกปีละกว่า 20 ล้านบาท

15 ในทางตรงข้าม......ถ้าการศึกษาในท้องถิ่นดี มีคุณภาพรักษากำลังคนไว้กับท้องถิ่นได้
รักษาคน รักษาครอบครัว ไว้กับท้องถิ่น รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากำลังคนที่มีการศึกษาสูงขึ้น ดีขึ้น สร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้สะพัดในท้องถิ่น จากการที่คนไม่หนีออกจากท้องถิ่น (ไม่ไปเป็นลูกค้า BIG-C LOTUS 7-11 แต่อุดหนุนร้านชำในชุมชน) ไม่เสียเงินออกนอกท้องถิ่นจากการไปเป็นแรงงานในเมืองหรือการส่งลูกไปเรียนในเมือง ลดปัญหาสังคมจากเด็กด้อยโอกาสที่พร้อมจะเป็นเด็กเสี่ยง เป็นแม่วัยรุ่น เป็นเด็กก่อคดี ตีกัน ลักทรัพย์ ฯลฯ

16 การลงทุนที่คุ้มค่า จากงานวิจัยจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)พบว่าการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในท้องถิ่นใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 300,000 บาทต่อปีต่อโรงเรียน สามารถยกระดับคุณภาพได้จริง คิดเป็นการลงทุนพัฒนาโรงเรียนเฉลี่ย 4 โรงเรียนต่อตำบล เท่ากับ 1,200,000 บาทต่อตำบล จากประสบการณ์ของโรงเรียนที่มีระบบดูแลเด็กด้อยโอกาส เด็กกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน โดยการตรึงเขาไว้ไม่ให้ออกกลางคันใช้เงินประมาณ 10,000 บาทต่อคนต่อปี หากคิดจำนวนเด็กด้อยโอกาส เด็กเสี่ยง คนต่อตำบลคือการลงทุนไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อปี รวมการลงทุนแค่ราว 4 ล้านต่อปีเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและดูแลเด็กด้อยโอกาสเด็กกลุ่มเสี่ยงเทียบกับความสูญเสียหรือค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจกว่า 80 ล้านบาทต่อปีเท่ากับได้กำไรกว่า 20 เท่า

17 การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่”
“แนวโน้มใหม่... การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่”

18 ข้อจำกัดของระบบราชการการศึกษา
ลักษณะของการขยายตัวเองให้ใหญ่ไปเรื่อยๆ (self-expansive) ลักษณะเช้าชามเย็นชาม (mediocrity) ลักษณะของการบริหารจัดการด้วยกฎระเบียบสูง (management by rules and regulations) ลักษณะข้อจำกัดของการไม่สามารถยืดหยุ่น (inflexibility) ลักษณะอำนาจนิยม (authoritarian) ลักษณะต่อต้านการวิพากษ์วิจารณ์ (anti-criticism) ลักษณะเปราะบางละเอียดต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (political sensitivity)

19 แนวโน้มนานาประเทศไปสู่แนวคิดเชิงพื้นที่
การไม่เอาอนาคตการศึกษาของชาติไปผูกอยู่ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการปฏิรูประบบบริหารจัดการการศึกษาของรัฐแต่อย่างเดียว แต่ใช้การเปิดพื้นที่ให้มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) จากภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ (area-based) แต่รัฐก็ยังต้องสามารถวางกลไกการกำกับติดตามและสร้างความสามารถตรวจสอบและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (accountability) ของสถานศึกษาทุกระดับต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมไปพร้อมกันด้วย

20 ข้อเสนอของ Human Development Network ธนาคารโลก
การลงทุนทางการศึกษาที่ถูกจุดทันการณ์ (Invest Early) ณ จุดที่เป็นคานงัดสำคัญของการพัฒนากำลังคน (key leverage points) การลงทุนอย่างฉลาดที่หวังผลลัพธ์ได้ (Invest Smartly) โดยเฉพาะการลงทุนไปกับการจัดการเชิงพื้นที่ที่เน้นการติดตามประเมินผลลัพธ์ความก้าวหน้าทางการศึกษาได้เป็นรูปธรรม (Outcome-based / Area-based Management) การลงทุนอย่างเท่าเทียมถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย (Invest Equally) เน้นการให้โอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพแก่ทุกคน (Quality Learning for All)

21 โครงการ Race to the Top ของอเมริกา
การใช้กลไกการเงินสนับสนุนการปฎิรูปการศึกษาของมลรัฐ (State) และท้องถิ่น (Local District) ในลักษณะการให้เงินสนับสนุนโครงการแบบแข่งขัน (competitive grants) เป็นตัวขับเคลื่อน หัวใจสำคัญของโครงการคือการเน้นงานเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ 4 ด้านที่เชื่อว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในแต่ละรัฐได้คือ การวางระบบพัฒนาประสิทธิภาพครูและผู้บริหารโรงเรียนในพื้นที่อย่างทั่วถึง การวางระบบการประเมินและทดสอบมาตรฐานการศึกษาของพื้นที่ การปิดช่องว่างลดความเหลื่อมล้ำให้ได้ด้วยการช่วยเหลือโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำในพื้นที่ก่อน การมีระบบฐานข้อมูลติดตามความก้าวหน้าทางการศึกษาของพื้นที่

22 เครื่องมือเชิงระบบของพื้นที่ที่น่าสนใจ
ระบบโรงเรียนในกำกับที่มีอิสระในการบริหารหรือ Charter School เป็นกลไก แก้ปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่มีความต้องการพิเศษ เป็นระบบที่เน้นการบริหารจัดการที่ มีประสิทธิภาพตัดทอนระเบียบราชการที่พะรุงพะรังจนผู้บริหารและครูสามารถวาง แผนการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของเด็กด้อย โอกาสแต่ละกลุ่มได้อย่างเต็มที่ จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งคือการเปลี่ยนแนวคิดให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่เข้ามาร่วมมีสิทธิที่ จะจัดการศึกษาให้บุตรหลานของตน และกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญให้โรงเรียน รัฐบาลต้องมีการปรับปรุงตัวเอง โดยเน้นให้หลักการคู่ขนานคือการมีอำนาจอิสระของ โรงเรียน (School Autonomy) ควบคู่ความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนของ โรงเรียนและการตรวจสอบได้ (School Accountability)

23 แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
การเน้นยุทธศาสตร์การใช้พื้นที่เป็นฐานและกลไกขับเคลื่อน ซึ่ง รัฐเองอาจลงทุนนำร่องในบางพื้นที่จังหวัดที่มีศักยภาพก่อนเพื่อไม่ต้อง ลงทุนครั้งเดียวเป็นจำนวนมาก การใช้กลไกการเงินเป็นเครื่องผลักดันที่รัฐอาจลงทุนร่วมกับท้องถิ่น ในรูปเงินสมทบ (matching funds) หรือการตั้งกองทุนสนับสนุนโดย อาจใช้กองทุนเดิมบางกองทุนที่มีอยู่ เช่น กองทุนพัฒนาฝีมือ แรงงาน (Skill Development Funds) รัฐอาจลงทุนผ่านกองทุนนี้โดย ปรับระบบการจัดการกองทุนให้เน้นการทำงานเชิงพื้นที่

24 แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
การเน้นจังหวัดลงทุนไปกับ “คานงัดสำคัญ” สำคัญๆ ที่ถูกพิสูจน์มาในหลายประเทศว่าเป็น “จุดเปลี่ยน” ของการศึกษา ในที่นี้ได้แก่ การพัฒนาครูและผู้บริหารรายพื้นที่ การสร้างระบบวัดประเมินผลรวมทั้งตัวชี้วัดความสำเร็จรายพื้นที่ การลงทุนกับสถานศึกษาที่ผลสัมฤทธ์ต่ำและกลุ่มเด็กด้อยโอกาสที่ฉุดคุณภาพการศึกษาและคุณภาพกำลังคนของพื้นที่โดยรวมลง และการมีฐานข้อมูลติดตามความก้าวหน้ารายพื้นที่ กรณีของไทยอาจต้องเพิ่มเรื่องที่ยังเป็นจุดอ่อน ได้แก่ การพัฒนาเด็กปฐมวัย การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นต้น การใช้นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาร่วมจัดการ เช่น ระบบ Charter School เข้าแก้ปัญหาคุณภาพ การสร้างภาวะรับผิดชอบทางการศึกษาขึ้นใหม่ในระบบ สร้างภาวะการตรวจสอบได้ (accountability) และความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กแก่สถานศึกษาทุกระดับ

25 แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
ความเคลื่อนไหวและข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เป็นไปในทิศทาง เดียวกับการทำงาน สมศ.ในการริเริ่มโครงการประเมินคุณภาพ ภายนอกเชิงพื้นที่ (Area-based Assessment) ที่มีการนำร่องใน พื้นที่ 8 จังหวัด มุ่งปรับเปลี่ยนโฉมหน้าการประเมินของสมศ.ให้กลายมาเป็น เครื่องมือของประชาคมจังหวัดให้การประเมินเป็นเครื่องมือ ตามหลังการพัฒนา แก้ปัญหาเดิมที่การประเมินไม่ถูกใช้ ประโยชน์และไม่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ เป็นเพียงการ ประเมินเพื่อให้ผ่านการประเมิน

26 แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
การประกาศนโยบายให้การปฏิรูปการศึกษาต้องทำในระดับพื้นที่ (Area- Based Approach) และถือเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติที่บูรณาการไปกับ การปฏิรูประบบการวัดและประเมินผลการศึกษาของชาติ การแก้ปัญหาเรื่องทรัพยากรการเงินและอำนาจในการบริหารจัดการของ พื้นที่ (จังหวัด) เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง เต็มที่ การทำความตกลงกับองค์กรหลักทั้งหมดของกระทรวงศึกษาธิการในการ ใช้แนวทางการบริหารจัดการแบบสถานศึกษาในกำกับหรือ Charter School ร่วมกับจังหวัดและท้องถิ่นเป็นกลไกแก้ปัญหาการศึกษาในพื้นที่

27 การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ : “การจัดการศึกษาบนฐานข้อมูล”

28 การจัดการศึกษาบนฐานข้อมูล
ช่วยวางกรอบนโยบาย : จากสภาพปัญหาที่นำไปสู่การจัดทำนโยบาย ช่วยชี้เป้า : ชี้กลุ่มเป้าหมายเฉพาะในพื้นที่เช่น กลุ่มเด็กด้อยโอกาส ช่วยวางแผน : วางแผนรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกลุ่มเป้าหมาย และการพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในท้องถิ่น ช่วยติดตาม/ประเมิน : ติดตามประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของท้องถิ่นที่จะเป็นแนวทางการพัฒนาการศึกษาต่อไป ช่วยเชื่อมต่อสร้างเครือข่าย : สร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมคนทำงานด้านเด็กและการศึกษาในระดับพื้นที่

29 การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ : “การจัดการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน”

30 แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน
1. ด้านการสร้างความเท่าเทียมกันในโอกาสและคุณภาพการศึกษา โรงเรียนมีหลากหลาย “กระจายโอกาส-ปิดช่องว่าง” คือโจทย์สำคัญ 1) โรงเรียนดีมีคุณภาพที่มักเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ในเขตเมือง 2) โรงเรียนที่มีคุณภาพระดับปานกลางที่ยังต้องการการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ 3) โรงเรียนที่ด้อยคุณภาพที่ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการมาตรการการจัดการพิเศษในการยกระดับคุณภาพ 4) โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่ยังเป็นความจำเป็นของชุมชนและต้องการการหนุนเสริมให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน

31 2. ด้านการจัดการศึกษาและการส่งเสริมการเรียนรู้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เน้นกลุ่มเป้าหมายนอกกลุ่มอายุวัยเรียน (non-age group) และกลุ่มเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา 3. ด้านการส่งเสริมการศึกษาทางเลือก ตั้งแต่การศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยง การศึกษาสำหรับเกษตรกร ไปจนถึงการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุสามารถเติบโตเป็นกำลังสำคัญให้แก่การปฏิรูปการศึกษาระดับท้องถิ่น

32 4. ด้านการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อเพื่อการเรียนรู้ ยังขาดการจัดการให้เกิดเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อเหล่านี้ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้ รวมทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษาเองก็ยังขาดการส่งเสริมในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในห้องเรียนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. ด้านการส่งเสริมการศึกษาปฐมวัยอันเป็นรากฐานการพัฒนาเด็กทุกๆ ด้าน ยังขาดการลงทุนเพื่อพัฒนาเด็ก 0-5 ปีซึ่งเป็นวัยของการพัฒนาสมอง สมรรถนะการเรียนรู้ และบุคลิกภาพ 6. ด้านการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ยังขาดการเชื่อมต่อการเรียนกับโลกการทำงานจริงที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาทุกระดับ

33 “ทิศทางสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา : 6 ยุทธศาสตร์ 2 คานงัด”

34 ด้านการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1) การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย (0-6 ปี) ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาการเรียนรู้ของครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองยุคใหม่ โดยเฉพาะการดูแลในช่วง 0-2 ปี 3) การพัฒนาการเรียนรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัวที่เป็นกลุ่มเป้า หมายเฉพาะนั่นคือกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่เป็นแรงงานในโรงงานและแรงงานในเมือง 4) การสนับสนุนของรัฐด้วยมาตรการเสริมเพิ่มเติมตามความจำเป็นผ่านกองทุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5) การผลักดันนโยบายให้เด็กเมื่ออายุถึง 3 ขวบหรือเมื่อถึงวัยที่เหมาะสมตามหลักพัฒนาการเด็กให้ได้รับการวินิจฉัยภาวะการเรียนรู้แต่เนิ่นๆ (early detection)

35 ด้านการสร้างความเท่าเทียมกันในโอกาสและคุณภาพการศึกษา
1) การปรับจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับแนวทางการจัดการที่เชื่อมต่อระหว่างการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย และเป็นการเชื่อมต่อทั้งระบบตั้งแต่การศึกษาระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา เน้นการบูรณาการบนฐานท้องถิ่น การจัดหลักสูตรและคาบเวลาเรียนที่ยืดหยุ่น การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ รวมถึงการปรับวิธีการวัดและประเมินผลให้มีความหลากหลายตามกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนและเป้าหมายการเรียนรู้ 2) การจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ 2.1) การรวมกลุ่มโรงเรียนหรือการจัดการเครือข่ายโรงเรียนเพื่อหนุนเสริมการพัฒนาคุณภาพซึ่งกันและกัน “โรงเรียนดีทุกตำบล”

36 2.2) การถ่ายโอนโรงเรียนหรือกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพ 2.3) การพัฒนาโรงเรียนจิ๋วแต่แจ๋วที่อาจอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีศักยภาพโดยพัฒนาให้เป็นโรงเรียนนวัตกรรมและเป็นพื้นที่วิจัยนำร่องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนต่างๆ 2.4)การยุบเลิกเป็นมาตรการสุดท้ายกรณีที่ไม่สามารถจัดการลักษณะใดลักษณะหนึ่งข้างต้นให้เป็นผลสำเร็จได้ 2.5) การพัฒนาโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่รวมทั้งโรงเรียนในพื้นที่เฉพาะที่มีความพร้อมให้เป็นโรงเรียนนิติบุคคลเต็มรูปเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการและการเตรียมเด็กที่มีความสามารถพิเศษเข้าสู่การเรียนระดับสูงเฉพาะทาง และมีการประกันโอกาสและการให้ทุนแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสเข้าเรียนอย่างเท่าเทียม

37 ด้านการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
1) การปรับปรุงแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการมีงานทำ ให้เด็กที่เรียนอยู่สามารถออกไปทำงานโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ หรือคนที่ทำงานอยู่สามารถกลับเข้ามาเรียนเพิ่มเติมความรู้ได้ ตลอดจนการส่งเสริม“สัมมาชีพ” ที่มีความพอเพียงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในท้องถิ่น 2) การส่งเสริมการอาชีวศึกษาที่มีรูปแบบหลากหลายขึ้น เน้นรูปแบบการเรียนรู้บนฐานการทำงานจริง (Work-based Learning) และรูปแบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ร่วมกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจ 3) การส่งเสริมการปฏิรูปการจัดการอุดมศึกษาที่หลากหลายรูปแบบและภารกิจ ทั้งเพื่อมหาวิทยาลัยความเป็นเลิศ และมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพมหาวิทยาลัยในการทำงานพัฒนาในพื้นที่ 4) การพัฒนาบทบาทของวิทยาลัยชุมชน เน้นจุดเด่นของการส่งเสริมพัฒนาอาชีพท้องถิ่น

38 ด้านการจัดการศึกษาเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย
๑) กลุ่มผู้อยู่นอกวัยเรียนหรือกลุ่มแรงงาน พัฒนารูปแบบ “ชุมชนในโรงงาน” (Plant Community) ที่นำความเป็นชุมชน และความเป็นแหล่งเรียนรู้เข้าไปถึงมือแรงงานเหล่านี้อย่างทั่วถึง และเน้นทั้งการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานและความสามารถแข่งขันของประเทศในระยะยาว การพัฒนาคุณภาพชีวิตและครอบครัว ตลอดจนการสร้างโอกาสให้ลูกหลานแรงงานในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพและมีระดับการศึกษาและโอกาสเลื่อนฐานะทางสังคมที่สูงขึ้นกว่ารุ่นพ่อแม่ของตน ๒) กลุ่มเกษตรกร เน้นการให้การศึกษาและการส่งเสริมการเรียนรู้แก่ทั้งกลุ่มเกษตรกรในภาคเกษตรดั้งเดิมและลูกหลานเกษตรกรสู่ความเป็นนักธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ ผ่านกลไกการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน

39 3) กลุ่มเด็กแรงงานต่างด้าว มุ่งการจัดการศึกษาบนหลักสิทธิมนุษยชนและการจัดการศึกษาบนฐานพหุวัฒนธรรมที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งในระบบโรงเรียนของรัฐที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนรายหัวอย่างทั่วถึงตามกฎหมาย การจัดในรูปศูนย์การเรียนเฉพาะและศูนย์การเรียนในโรงเรียน 4) กลุ่มเด็กนอกระบบการศึกษา เน้นการศึกษาทางเลือกและการศึกษานอกระบบเพื่อสร้างโอกาสการเรียนและการมีงานทำให้แก่เด็ก สนับสนุนให้เกิดกลไกจัดการศึกษาจากภาคส่วนต่างๆ เช่น โรงเรียน ชุมชน บ้านเรียน ศูนย์การเรียนชุมชน ศูนย์การเรียนในสถานประกอบการ และศูนย์การเรียนรู้เฉพาะอาชีพต่างๆ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมอย่างเข้มแข็งในการดูแลลูกหลานของชุมชนของตนเอง นอกจากนี้ ยังควรสนับสนุนให้มีการวิจัยติดตามสภาวการณ์เด็กนอกระบบการศึกษา 5) กลุ่มเด็กด้อยโอกาส มีมาตรการตอกย้ำการประกันโอกาสการศึกษา (Affirmative Action) ตั้งแต่เล็กให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนที่มีคุณภาพตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาเพื่อเตรียมคนเข้าสู่อาชีพ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในรูป“คูปองการศึกษา” หรือ “บัตรทองการศึกษา”และทุนประกอบอาชีพหรือมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ

40 ด้านการส่งเสริมการศึกษาทางเลือก
1) การจัดการศึกษาทางเลือกเฉพาะกลุ่ม มีการจัดการความรู้และสร้างชุดความรู้เกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย มีการดำเนินการด้านสิทธิและโอกาสทางกฎหมายสำหรับการศึกษาทางเลือกเฉพาะกลุ่ม มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พื้นที่วิจัย/พื้นที่ทดลองจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 2) การสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ท้องถิ่น การพัฒนาคลังความรู้ชุมชน คลังสมองชาวบ้าน การใช้สื่อพื้นบ้าน กลไกสื่อสารสาธารณะในท้องถิ่น 3) การส่งเสริมงานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมของการศึกษากับชุมชนและการศึกษาทางเลือกในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ประมวลและพัฒนาชุดความรู้สำคัญสำหรับการส่งเสริมการศึกษาเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย

41 4) การส่งเสริมหน่วยงาน/สถาบันในการฝึกอบรมและพัฒนาคนทำงานด้านการศึกษาทางเลือก มีระบบส่งเสริมกลไกการพัฒนาบนฐานท้องถิ่นที่มาจากภาคส่วนต่างๆ มีระบบพี่เลี้ยงและอาสาสมัครเพื่อการศึกษาทางเลือกรวมถึงการพัฒนาบุคลากร-วิทยากรท้องถิ่นเพื่อเกื้อหนุนทางการศึกษา 5) การเปิดพื้นที่การเรียนรู้/พื้นที่สาธารณะเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางเลือกอย่างกว้างขวางเต็มแผ่นดิน การจัดทำแผนที่การเรียนรู้ คู่มือแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นเครื่องมือประมวลแหล่งเรียนรู้และเป็นสื่อให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆ สามารถใช้เป็นช่องทางเข้าถึงความรู้และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 6) การกลไกประสานและสนับสนุนการจัดการศึกษาทางเลือกระดับท้องถิ่น 7) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปฏิรูปหลักสูตรบูรณาการบนฐานท้องถิ่น ให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการหลักสูตรท้องถิ่นและคาบเวลาเรียน รวมถึงส่งเสริมทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ และทางเลือกการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ 8) การพัฒนาและหนุนเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูชุมชน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

42 ด้านการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อเพื่อการเรียนรู้
1) การสนับสนุนการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ปรับหลักสูตรให้ยืดหยุ่นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้มากขึ้น รวมถึงการปรับวิธีการวัดผล ประเมินผล และรับรองผลการเรียนเพื่อเทียบโอนผลการเรียนที่มีสื่อเป็นฐาน 2) การขับเคลื่อนกองทุนสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เน้นการพัฒนาและใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ มีการจัดทำคลังความรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการค้นหาความรู้ และเน้นการส่งเสริมการสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น 3) การพัฒนาการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการศึกษา จัดตั้งสถาบันวิจัยระบบการเรียนรู้แห่งชาติเพื่อเป็นหน่วยประสานและสนับสนุนการวิจัยด้านการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 4) การพัฒนากลไกระดับชาติในการฝึกอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และเสริมพลังเครือข่ายขับเคลื่อนทางการศึกษาทุกรูปแบบ รวมถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาครูให้ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

43 ปลายทางคือ “7c” ที่เด็กไทยควรมี (21st Century Skills)
Communication Skills (ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านตามบริบทพื้นที่) Critical Thinking Skills (มากกว่าความคิดเชิงวิพากษ์ แต่ลากให้ถึงการคิดเป็นระบบหรือ System Thinking ที่จะเป็นทักษะสำคัญในโลกซับซ้อน เปลี่ยนไว) Creative Thinking Skills (รู้สร้างสรรค์บนฐานความรอบรู้และใฝ่รู้) Collaborative Skills (มากกว่าแค่ทำงานเป็นทีม แต่รู้จักสร้างทีม) Computing Skills (รู้เท่าก้าวทันเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นเปลี่ยนโลกได้ตลอดเวลา) Career Learning Skills (ทักษะอาชีพบวกการเรียนรู้และปรับตัวได้กับงานหลากหลาย) Cross-Cultural Understanding Skills (มากกว่าความเข้าใจ แต่ไปให้ถึงความถ่อมตัวทางวัฒนธรรม และการเคารพศักดิ์ศรีของทุกวัฒนธรรมอย่างท่าเทียม)

44 นวัตกรรมอื่นๆที่น่าสนใจสำหรับท้องถิ่น
การวางระบบจัดการดูแลรายกรณีเด็กด้อยโอกาสนอกระบบและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา (Case Management Unit-CMU) การจัดโรงเรียนทางเลือกเพื่อเด็กทุกคนในพื้นที่ตามศักยภาพของเด็ก เช่น โรงเรียนลูกชาวนามืออาชีพ โฮงเฮียนจาวบ้าน การจัดกระบวนการพัฒนาครูแบบใหม่ เช่น โครงการ Teacher Coaching จัดระบบพี่เลี้ยงร่วมเรียนรู้พัฒนาด้วยกันอย่างต่อเนื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ เช่น โครงการยุววิจัยท้องถิ่น การจัดทำข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผน และติดตามการจัดการศึกษาของท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ

45 สรุป อุปสรรคและโอกาสการสร้างองค์กรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น ทิศทางการปฏิรูปการจัดการศึกษา 2 เรื่องสำคัญ - ด้านการเรียนรู้สู่การเรียนบนฐานวิจัยหรือการเรียนด้วยการสร้างความรู้ เช่นตัวอย่างโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและโรงเรียนทำหนัง - ด้านการบริหารจัดการสู่การจัดการเชิงพื้นที่ เช่น จังหวัด/ท้องถิ่นจัดการตนเองด้านการศึกษา หัวใจการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ - 4 ไม้ผลัด (ปฐมวัย/พื้นฐาน/การมีงานทำ/การเรียนรู้ตลอดชีวิต) -4 คานงัด (ครู-ผู้บริหาร/การวัดประเมินผลระดับพื้นที่/เด็กด้อยโอกาส/การจัดการข้อมูลความจริงในพื้นที่) นวัตกรรมที่น่าสนใจและเป้าหมายปลายทางการเรียนรู้


ดาวน์โหลด ppt ความสำคัญและทิศทางใหม่ๆ ในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google