งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
การเขียนในงานประชาสัมพันธ์ การเขียนข่าวทางหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ วิทยุ โทรทัศน์ การเขียนข่าวชี้แจงสื่อมวลชน งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ โดย ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมชลประทาน

2 การเขียนในงานประชาสัมพันธ์มีความสำคัญอย่างไร
การเขียนเป็นทักษะขั้นพื้นฐานของนักประชาสัมพันธ์ที่จะต้องทำเป็นประจำ และเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งสาร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารของหน่วยงานหรือองค์กรสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง งานเขียนที่ต้องทำเป็นประจำ ได้แก่ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์การเขียนข่าวแจก บทความ บทสัมภาษณ์ การเขียนสกู๊ปข่าวทางสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ ฯลฯ การเขียนเป็นทักษะหนึ่งและคงทนถาวรกว่าการพูด

3 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ VS การเขียนทั่วไป
วัตถุประสงค์ การเขียนทั่วไป : ให้ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มีวัตถุประสงค์มากกว่านั้น คือ เพื่อสร้างการยอมรับ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความสัมพันธ์อันดี และแก้ไขความเข้าใจผิด เป็นต้น การใช้ภาษา การเขียนทั่วไป : ความไพเราะสละสลวยเป็นสำคัญ การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มุ่งเลือกสรรถ้อยคำที่สั้นกระชับ ได้ใจความที่จะสื่อความหมายได้ชัดเจน และโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้ เข้าใจ และให้ความร่วมมือ ผู้เขียน การเขียนทั่วไป : จะเขียนในนามผู้เขียนเอง นามปากกา เจ้าของคอลัมน์ การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เขียนในนามของหน่วยงานหรือองค์กร

4 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ VS การเขียนทั่วไป
สื่อที่เผยแพร่ การเขียนทั่วไป : เนื้อหาและลักษณะการใช้ภาษาจะเป็นตัวกำหนดว่าจะเลือกใช้สื่ออะไร การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สื่อจะเป็นตัวกำหนดลักษณะการใช้ภาษาในงานเขียน เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์จะต้องพิจารณาเลือกใช้สื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงานหรือองค์กร รวมทั้งส แง่มุมเนื้อหาที่เสนอ การเขียนทั่วไป : มักเสนอเนื้อหาในแง่มุมทั้งที่เป็นบวกและลบ การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เป็นการนำเสนอเนื้อหาประเด็นต่าง ๆ ในเชิงบวกหรือเชิงสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงานหรือองค์กร

5 วัตถุประสงค์ของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
การเขียนประชาสัมพันธ์เพื่อเสนอแนวคิดขององค์กร มีวัตถุประสงค์พื้นฐาน ดังนี้ 1. การเขียนเพื่อบอกกล่าวให้ทราบ เป็นการเขียนด้วยการให้ข้อมูล (information) ข้อเท็จจริง (fact) เพื่อเผยแพร่ (publicity) ให้กลุ่มประชาชนเป้าหมายรับรู้ว่าองค์กรทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อใด เพื่ออะไร เพราะอะไร ที่ไหน เป็นต้น 2. การเขียนเพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับ เขียนเพื่อโน้มน้าว ชักจูงให้ประชาชนคล้อยตาม โดยกล่าวถึงส่วนดีให้เห็นชัดเจน ถึงการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย สังคมและประเทศชาติ เพื่อสร้างความเชื่อถือศรัทธา 3. การเขียนเพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจ ผิดเป็นการเขียนแบบอธิบาย แถลงการณ์ชี้แจงข่าว ให้มีความกระจ่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ โดยไม่เกิดความสงสัยหรือหลงเชื่อในข่าวลือ ดังนั้นอาจต้องใช้ถ้อยคำและอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้รับสาร 4. การเขียนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เป็นการนำจุดเด่นขององค์กรมากล่าว เพื่อสร้างความเลื่อมใสศรัทธาหรือภาพลักษณ์ที่ดี โดยเลือกใช้คำที่เหมาะสม มีพลัง กระตุ้นให้เกิดภาพคล้อยตาม แต่ไม่ใช่เป็นการโอ้อวดหรือโฆษณาชวนเชื่อ และการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานกับกลุ่มประชาชนเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกองค์กร

6 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
หนังสือพิมพ์ นสพ.รายวัน และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ นิตยสาร/วารสาร มีเนื้อหาที่หลากหลายทั้งบทความ สารคดี บทสัมภาษณ์ ฯลฯ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ เช่น จดหมายข่าว หนังสือ รายงานประจำปี

7 การเขียนและการจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ หรือ ข่าวแจก (Press Release / News Release) หมายถึง ข่าวสารซึ่งองค์กรจัดทำขึ้น เพื่อจัดส่งแจกจ่ายสู่หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นๆ โดยจัดพิมพ์ในรูปของเอกสารข่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นๆ นำไปเผยแพร่สู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้ทราบและเข้าใจในหน่วยงาน ตลอดจนเพื่อให้เกิดการยอมรับและภาพลักษณ์ที่ดี ข่าวประชาสัมพันธ์มักเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับ นโยบาย โครงการ กิจกรรมการดำเนินงาน ผลการปฏิบัติงาน ความเคลื่อนไหวต่างๆ ขององค์กร

8 ประเภทของข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวแจ้งให้ทราบ (Announcement Release) เช่น แจ้งนโยบาย การดำเนินงาน การเปิดสาขา และแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ เป็นการแจ้งให้ทราบรายละเอียดต่างๆ ของสิ่งที่เกิดขึ้นหรือที่จะมีขึ้น ข่าวกิจกรรมพิเศษทางการประชาสัมพันธ์ (Event Release) เช่น จัดคอนเสิร์ต แรลลี่การกุศล ข่าวกิจกรรม/โครงการรณรงค์เพื่อสังคมต่างๆ ฯลฯ เป็นการสร้างให้มีสีสัน ดึงดูดความสนใจ และมุ่งให้เกิดความนิยมต่อองค์กร ข่าวเหตุการณ์เร่งด่วน (Spot News Release) เช่น เกิดเหตุเครื่องบินขัดข้องไม่สามารถเดินทางตามกำหนดได้ ฯลฯ เป็นการแจ้งให้ประชาชนได้ทราบอย่างรวดเร็ว ไม่เน้นเสนอรายละเอียดมาก ข่าวตอบโต้เหตุการณ์ (Response News Release) เป็นการชี้แจ้งรายละเอียดด้วยเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ในประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เช่น ข่าวลือเกี่ยวกับการขาดทุน ข่าวความขัดแย้งภายในองค์กร ฯลฯ

9 ความแตกต่างระหว่างข่าวประชาสัมพันธ์กับข่าวทั่วไป
จุดมุ่งหมายของการเผยแพร่ข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์ : เพื่อเผยแพร่ข่าวสารขององค์กรเป็นหลัก ข่าวทั่วไป : มุ่งถ่ายทอดข้อเท็จจริงและสาระความรู้ที่เป็นสาธารณชนเป็นสำคัญ ทิศทางของผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ข่าวประชาสัมพันธ์ : คาดหวังผลด้านดีต่อองค์กรเสมอ ข่าวทั่วไป : อาจให้ผลด้านดีและด้านไม่ดีแก่บุคคลหรือองค์กรก็ได้ ลักษณะของแหล่งข่าวหรือการได้ข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์ : นักPRจะส่งข่าวให้สื่อมวลชน หรือเชิญสื่อร่วมฟังการแถลงข่าว ข่าวทั่วไป : นักข่าวต้องแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง

10 ความรวดเร็วหรือความทันเหตุการณ์
กลุ่มเป้าหมาย ข่าวประชาสัมพันธ์ : มุ่งเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะของตน ข่าวทั่วไป : มุ่งเผยแพร่สู่ประชาชนโดยส่วนรวม ขอบเขตของข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์ : นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องขององค์กร ข่าวทั่วไป : ครอบคลุมเนื้อหาหลายด้านของสังคมส่วนรวม ความรวดเร็วหรือความทันเหตุการณ์ ข่าวประชาสัมพันธ์ : ส่วนใหญ่สามารถรอเวลาในการเผยแพร่ได้ระยะหนึ่ง ข่าวทั่วไป : เน้นความสด รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์เสมอ

11 องค์ประกอบของข่าว    การเขียนข่าวสารที่จะประชาสัมพันธ์ หรือสารที่จะสื่อออกไปยังสื่อมวลชน ควรมีสาระสำคัญหรือองค์ประกอบ ที่เรียกว่า “ 5 W 1 H ” ดังต่อไปนี้ * ใคร (Who) ใครคือบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าว * ทำอะไร (What) เกิดอะไรขึ้น การกระทำหรือเหตุการณ์ใดที่สำคัญ * ที่ไหน (Where) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นที่ไหน * เมื่อไร (When) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นวัน เวลาใด * ทำไมและอย่างไร ( Why and How) ทำไมเหตุการณ์นั้นจึงเกิด และเกิดขึ้นได้อย่างไร * ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ความเป็นมา

12 รูปแบบและโครงสร้างของข่าวประชาสัมพันธ์
การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ใช้หลักการเขียนข่าวเช่นเดียวกับข่าวทั่วไป โดยมีวิธีการเขียน 3 รูปแบบ ได้แก่ การเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ การเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวตั้ง และการเขียนข่าวแบบผสม 1. การเขียนข่าวแจกแบบพีระมิดหัวกลับ โครงสร้างของการเขียนข่าวแจก สามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1.1 พาดหัวข่าว (Headline) เป็นส่วนสำคัญ ที่เรียกร้องความสนใจให้ผู้อ่านติดตามอ่านข่าวนั้นต่อไป และช่วยให้รู้ว่าข่าวนั้นมีประเด็นอะไรน่าสนใจ ลักษณะของพาดหัวข่าวที่ดี คือ ควรสั้น กระชับ เข้าใจง่ายและตรงจุด

13 1.2 ความนำ หรือ โปรย (Lead)
เป็นส่วนที่เขียนขึ้นในย่อหน้าแรกของข่าว เป็นข้อความที่เป็นเนื้อข่าวโดยย่อทั้งหมดว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เพราะเหตุใดหรือทำไม และอย่างไร (5Ws+1H) 1.3 ส่วนเชื่อม (Neck) เป็นส่วนเชื่อมข้อความระหว่างความนำกับเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมหรือให้เข้าใจเรื่องราวได้กระจ่างยิ่งขึ้น เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาหรือภูมิหลังของเหตุการณ์ 1.4 เนื้อหาข่าว (Body) เป็นส่วนที่ให้เนื้อหารายละเอียดของเรื่องราวทั้งหมด การนำเสนอเนื้อหาข่าวมักจะเสนอตามลำดับความสำคัญของเรื่องราว จากสำคัญสุดไปถึงสำคัญน้อยที่สุด หรืออาจนำเสนอข่าวตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ก็ได้

14 ข้อดีของการเสนอข่าวรูปแบบพีระมิดหัวกลับ
1.5 สรุป (Conclusion) ส่วนท้ายของข่าวแจกอาจจะมีการสรุปไว้ก็ได้ อาจจะเป็นจุดใดจุดหนึ่งของข่าว หรือเขียนย้ำข้อเท็จจริงเด่นๆ ที่ได้เสนอไปแล้วก็ได้ ข้อดีของการเสนอข่าวรูปแบบพีระมิดหัวกลับ สะดวกในการอ่าน สะดวกแก่การทำงานของบรรณาธิการข่าว สะดวกในการจัดหน้าหรือเข้าหน้าหนังสือพิมพ์ สะดวกกับผู้อ่านที่มีเวลาน้อย

15 2. ความนำ 3. เนื้อข่าว 4. สรุป * 1. พาดหัวข่าว *
โครงสร้างการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ

16 กรมชลฯเดินหน้าพัฒนา 3 แหล่งน้ำในลุ่มน้ำเลย (พาดหัว)
กรมชลฯเดินหน้าพัฒนา 3 แหล่งน้ำในลุ่มน้ำเลย (พาดหัว) กรมชลประทานเดินหน้าสนองพระราชดำริพัฒนา 3 แหล่งน้ำในลุ่มน้ำเลย คาดจะเริ่มก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ น้ำทบ 7.43 ล้าน ลบ.ม.ควบคู่กับอ่างเก็บน้ำน้ำลาย ล้าน ลบ.ม. หลังเพิ่งก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำเลย ล้าน ลบ.ม.แล้วเสร็จ (ความนำ) นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงการผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่ม น้ำเลยว่า ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี 2520 ทรงให้กรม ชลประทานพิจารณาวางแผนก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำน้ำเลย บ้านหัวกะโป๊ะ อ่างเก็บน้ำน้ำทบ บ้านโพนงาม และอ่างเก็บน้ำน้ำลาย บ้านภูบ่อบิด (เนื้อข่าว) ขณะนี้กรมชลประทานได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำเลยแล้วเสร็จ โดยมีความจุ ล้านลูกบาศก์เมตร และ เตรียมการก่อสร้างระบบส่งน้ำในรูปคลองเปิด ซึ่งอยู่ระหว่างจัดหาพื้นที่ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ตั้งแต่ปี เป็นต้นไป นายสัญชัยกล่าวว่า สำหรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำทบนั้น กรมชลประทานวางแผนก่อสร้างในปี โดยมีขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 7.43 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้การจัดหาที่ดินได้เกือบครบถ้วนตาม เป้าหมายแล้ว เช่นเดียวกับอ่างเก็บน้ำน้ำลาย ความจุ ล้านลูกบาศก์เมตร คาดหมายว่าจะเริ่ม ก่อสร้างได้ในปี 2562 เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้ อ.เมือง จ.เลย มีความมั่นคงด้านน้ำมากขึ้น นอกเหนือจากอาศัย อ่างเก็บน้ำน้ำหมาน ความจุ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น  นอกจากนั้น สถานที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำลายคือภูบ่อบิดยังเป็นจุดชมวิวได้ทั้ง 360 องศา เมื่อก่อสร้าง แล้วเสร็จก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน นอกจากมองทิวทัศน์ได้รอบทิศแล้ว อ่างเก็บ น้ำน้ำลายยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ จ.เลย อีกด้วย “ต่อไปพื้นที่ตรงนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด กรมชลประทานกำลังพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่ ยินยอมให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โดยให้สิทธิเข้าทำประโยชน์เป็นลำดับแรกๆ เป็นการตอบแทนความ เสียสละเพื่อส่วนรวม”อธิบดีกรมชลประทานกล่าว

17 ตัวอย่างการเขียนพาดหัวข่าวของงานชลประทาน
พาดหัวแบบ Who นำ เช่น “อธิบดีกรมชลประทานประชุมมอบนโยบาย จนท. ชลประทานทั่วประเทศ” “ สำนักบริหารโครงการพบแนวทางการพัฒนาลุ่มน้ำยม ” “ กลุ่มผู้นำชุมชนยินดีให้กรมชลประทานศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอทุ่งสง”

18 พาดหัวที่ให้ความสำคัญกับการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (What)
“ระดมพลังความคิดของชุมชน แก้ไขปัญหาน้ำในเกาะพะงัน” ซึ่งส่วนใหญ่ความสำคัญของข่าวอยู่ที่ การกระทำและผลกระทบ พาดหัวโดยใช้เงื่อนไขของเวลา ( When ) เช่น “ 13 มิ.ย. นี้ครบรอบ 115 ปีกรมชลประทาน ” “13 มิถุนายน นี้ กรมชลฯ พร้อมเปิดศูนย์ปฏิบัติการชลประทานอัจฉริยะ เพื่อการบริหารจัดการน้ำ ” พาดหัวด้วยการใช้สถานที่เป็นตัวนำ (Where) เช่น “ เขื่อนนฤบดินทรจินดาฯ จ.ปราจีนบุรีเสร็จแล้ว ” “ คลองภักดีรำไพ ระบายน้ำออกจากตัวเมืองช่วย บรรเทาปัญหาน้ำท่วม จ.จันทบุรี ”

19 การพาดหัวด้วยการนำการตั้งข้อสังเกต ตั้งคำถามและรูปแบบขั้นตอนการดำเนินงานมาเป็นการนำ (Why) เช่น
“เร่งศึกษาแนวทางผันน้ำมาเติมให้เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก” การพาดหัวโดยให้ความสำคัญอยู่ที่ความเป็นเหตุและเป็นผล ( How) เช่น “ต้องการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ชาวบ้านถวายฎีกาขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำ”

20 ตัวอย่างการเขียนข่าว
วันนี้ (12 มกราคม 2560) นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานการประชุม บูรณาการแผนบรรเทาอุทกภัยภาคใต้ และ vdo conference ร่วมกับ ผู้แทนจากกรมทางหลวงชนบท ผู้แทนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้แทนจากกรมเจ้าท่า และผู้แทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้ง สำนักงานชลประทานที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมในครั้งนี้ เพื่อนำสถานการณ์ของผลกระทบที่ เกิดขึ้น มาปรับปรุงและทบทวนแผนงานตาม area base ในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ภาคใต้อย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมกรมชลประทาน ชั้น 3 ถนนสามเสน กรุงเทพฯ ทั้งนี้ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ได้แสดงห่วงใยเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่อาจจะ ส่งผลกระทบกับระบบงานในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ รวมทั้งการระบายน้ำให้กับพื้นที่ทาง การเกษตร จึงได้ย้ำให้มีการปรับแผนที่ทางน้ำของกรมชลประทาน ให้สอดคล้องกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เน้นจุด ที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่เกิดน้ำท่วมและการปรับแผนงานตาม area base ให้มีความเข้าใจ ง่าย เพื่อความเข้าใจถึงข้อมูลให้ตรงกันในทุกหน่วยงาน

21 วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2560) นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมชี้แจงกรอบแนวทางและระยะเวลาในการจัดทำโครงการตามแนวทางสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ร่วมกับผู้บริหารกรมชลประทาน พร้อมประชุมผ่าน VDO Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 ในการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย เพื่อการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิต และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ณ ห้องประชุมกรม ชั้น 3 อาคารอำนวยการ กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพฯ โดยอธิบดีกรมชลประทาน ได้สั่งการให้สำนักงานชลประทานที่ 1-7 และชลประทานจังหวัด ดำเนินการในการกำหนดแผนชี้แจงกรอบงบประมาณ ปี 2561 ตามแผนงาน/โครงการตามแนวทางสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ วงเงินงบประมาณ 90,000 ล้านบาท แบ่งการพัฒนาพื้นที่เป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน เพื่อเป็นการบูรณาการระดับภาค โดยให้พิจารณาลักษณะงานและขอบข่ายของงานที่มีผลในระดับภาค เพื่อกลั่นกรองเป็นงบประมาณระดับภาค แล้วจึงเสนอเป็นงบประมาณขนาดใหญ่ในภาพรวมต่อไป โดยแบ่งการจัดสรรงบประมาณออกเป็น 3 ส่วน คือ Faction , Area และ Agenda ในโอกาสนี้ อธิบดีกรมชลประทาน ได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่สำนักงานชลประทานทั้ง 17 สำนัก ที่ทุ่มเทการทำงานมาโดยตลอด ทั้งในฤดูกาลเพาะปลูกปกติ รวมทั้งในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนด้วย โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ทางภาคใต้ ซึ่งสำนักงานชลประทานในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทำงานกันอย่างหนัก ในการลงไปให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที สามารถบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น และดำเนินแผนฟื้นฟูในการเยียวยา จนได้รับคำชื่นชมจากท่านนายกรัฐมนตรีผ่านมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อันเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรมชลประทานต่อไป.

22 หลักในการนำเสนอข่าวประชาสัมพันธ์
เขียนข่าวให้เป็นลักษณะเดียวกับข่าวของหนังสือพิมพ์ ข่าวที่ส่งไปจะต้องเป็นเรื่องราวที่เหมาะสมกับหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ ข่าวประชาสัมพันธ์หลายๆ เรื่องควรมีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับข่าวส่งไปด้วย เช่น ภาพผู้บริหาร(บทสัมภาษณ์) ภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น

23 องค์ประกอบของข่าวประชาสัมพันธ์ที่ดี
องค์ประกอบของข่าวประชาสัมพันธ์ที่นักข่าวใช้ในการพิจารณาเลือกรายงาน ได้แก่ ความรวดเร็ว หรือความทันต่อเหตุการณ์ ความใกล้ชิด ความเด่น หรือ ความสำคัญ ผลสืบเนื่อง หรือ ผลกระทบ ความก้าวหน้า สอดคล้องกับความสนใจของคนทั่วไป

24 รูปแบบเอกสารข่าวแจกสำหรับหนังสือพิมพ์
กระดาษเอกสารข่าวประชาสัมพันธ์นิยมใช้ กระดาษ A4 และหัวกระดาษนิยมระบุคำว่า “ข่าวประชาสัมพันธ์” หรือ “News Release” และมี Logo รวมถึงรายละเอียดสถานที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์และโทรสารไว้เสมอ โดยอาจจะอยู่ในส่วนหัวหรือส่วนล่างของกระดาษ พาดหัวข่าว (Headline) ควรพิมพ์ตัวหน้า หรือขีดเส้นใต้เพื่อความเด่นชัด ควรระบุชื่อ-นามสกุลของผู้ส่งข่าว พร้อมเบอร์ติดต่อกลับ และวัน เดือน ปีที่ส่งข่าวไว้ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสื่อมวลชนในกรณีที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ควรพิมพ์ข่าวเพียงหน้าเดียวเท่านั้น เพื่อความสะดวกและสวยงาม ในกรณีเนื้อหาข่าวมากกว่า 2 หน้า ควรระบุว่า “ยังมีต่อ”หรือ”ต่อหน้า 2”

25 ภาพข่าวประชาสัมพันธ์
ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ (Photo Release) เป็นการถ่ายภาพเหตุการณ์ บุคคล สินค้า แล้วเขียนคำบรรยายใต้ภาพ (caption) ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร (5Ws+1H)ให้น่าสนใจแล้วแจกจ่ายไปยังสื่อมวลชนต่างๆ ให้เผยแพร่ การพิจารณาคัดเลือกภาพข่าวลงเผยแพร่ทางสื่อมวลชนนั้นใช้หลักการเดียวกันกับการพิจารณาข่าวแจก ดังนั้น ต้องเลือกภาพให้ดี เขียนคำบรรยายใต้ภาพให้น่าสนใจ อย่าตกชื่อและตำแหน่งของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง บอกเรื่องราวที่อยู่ในภาพนั้น

26 Photo Release

27 องค์ประกอบหรือโครงสร้าง ของการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์
องค์ประกอบหรือโครงสร้าง ของการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์ 1.ชื่อเรื่อง 2.คำนำหรือความนำ 3.เนื้อเรื่อง 4.สรุป ภาพประกอบการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์ จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ และเชื่อถือเรื่องราวสารคดีมากขึ้น

28 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางสื่อวิทยุ
คุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุกระจายเสียงสื่อสารโดยการถ่ายทอดเสียง การผลิตรายการสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อย สามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก

29 1. ขั้นเตรียมการ 2. ขั้นซักซ้อม 3. ขั้นออกอากาศ 4. ขั้นประเมินผล
กระบวนการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง 1. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการวางแผนการจัดรายการ กำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบรายการ ตลอดจนค้นคว้าหาข้อมูลที่ใช้ประกอบการเขียนบทรายการ และกำหนดผู้ดำเนินรายการหรือผู้ประกาศ ผู้ร่วมรายการ ผู้ควบคุมเสียง เป็นต้น 2. ขั้นซักซ้อม บางรายการอาจจำเป็นต้องการทำการซักซ้อม เพื่อให้การดำเนินรายการเป็นไปอย่างสมบูรณ์ 3. ขั้นออกอากาศ 4. ขั้นประเมินผล

30 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางสื่อวิทยุ
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์ สปอตวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์

31 ข่าวประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ
ข่าวประชาสัมพันธ์ทางวิทยุกระจายเสียงส่วนใหญ่มักเป็นประเภทข่าวบริการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคม เช่น ข่าวกิจกรรมการจัดงานต่างๆ ข่าวรับสมัครงาน เป็นต้น โดยทั่วไปการเผยแพร่ข่าววิทยุกระจายเสียงมักอาศัยการเผยแพร่ผ่านศูนย์กลาง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ สำนักข่าวไทย เป็นต้น

32 รูปแบบของข่าววิทยุกระจายเสียง
1) ข่าวอ่าน ข่าวที่ผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการเรียบเรียงขึ้นจากข้อมูลและคำให้สัมภาษณ์ทั้งหมดจากแหล่งข่าว แล้วให้ ผู้ประกาศข่าวอ่านออกอากาศ 2) ข่าวประกอบเสียง ข่าวที่เรียบเรียงขึ้นโดยเกริ่นนำในตอนต้นและสอดแทรกเทปเสียงสัมภาษณ์จากแหล่งข่าวที่แท้จริงมาประกอบ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

33 โครงสร้างของข่าววิทยุกระจายเสียง
มักใช้การเขียนรูปแบบพีรามิดหัวกลับเช่นเดียวกับข่าวหนังสือพิมพ์ แต่การนำเสนอข่าววิทยุแตกต่างจากข่าวนสพ.บางประการ คือ 1) ไม่นิยมเขียนวรรคนำ 2) การเขียนพาดหัวข่าวต้องสื่อความหมายชัดเจน ด้วยประโยคที่สมบูรณ์กว่าพาดหัวข่าวนสพ. 3) เนื้อหาข่าว ต้องสั้นและกะทัดรัด

34 สปอตวิทยุฯเพื่อการประชาสัมพันธ์
การจัดทำบทสปอตวิทยุฯ ส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ วินาที มักผลิตเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ เพื่อการรณรงค์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร ซึ่งสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น บทสนทนา ประกาศ บรรยาย หรือละคร เป็นต้น โดยใช้เสียงดนตรีและเสียงประกอบมาปรุงแต่งให้เกิดความน่าสนใจ

35 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางสื่อโทรทัศน์
คุณลักษณะของสื่อวิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรทัศน์สื่อสารโดยการถ่ายทอดเสียงและภาพแสดงความเคลื่อนไหว การผลิตรายการต้องใช้เวลามาก ใช้กำลังคนมาก และเสียค่าใช้จ่ายสูง การถ่ายทำรายการวิทยุโทรทัศน์ต้องกระทำในสถานที่ที่เหมาะสมและในเวลาเฉพาะเจาะจง

36 1. ขั้นก่อนการถ่ายทำ(Pre-production)
กระบวนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ 1. ขั้นก่อนการถ่ายทำ(Pre-production) เป็นขั้นตอนสำหรับเตรียมการในทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การวางแผนรายการ การค้นคว้าข้อมูล การเขียนบท การจัดหาผู้แสดง สถานที่ถ่ายทำ ฉาก และอุปกรณ์ประกอบ เครื่องแต่งกาย ฯลฯ 2. ขั้นถ่ายทำ(Production) เป็นขั้นตอนลงมือถ่ายทำตามบทที่กำหนดไว้ 3. ขั้นหลังการถ่ายทำ(Post-Production) เป็นขั้นตอนการตัดต่อลำดับภาพและบันทึกเสียงเพื่อให้รายการสมบูรณ์ และสามารถนำมาออกอากาศได้ตามต้องการ 4. ขั้นการประเมินผล

37 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางสื่อโทรทัศน์
ข่าวประชาสัมพันธ์ ตัววิ่ง บทสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์ สกู๊ปข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์

38 ข่าวประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์
ข่าวประชาสัมพันธ์ทางวิทยุโทรทัศน์มีการนำเสนอให้มีลักษณะเหมือนข่าว โดยมีภาพจากเหตุการณ์จริงประกอบเนื้อหา ทำให้มีความน่าสนใจ ส่วนใหญ่มักนิยมเผยแพร่ข่าวหลังจากกิจกรรมหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการซื้อช่วงเวลาข่าวสังคม – ธุรกิจ เนื้อหาข่าวประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ การเปิดกิจการใหม่ การขยายการลงทุน การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด โครงการพิเศษหรือกิจกรรมเพื่อสังคม ฯลฯ

39 โครงสร้างของข่าววิทยุโทรทัศน์
1) เขียนแบบพีระมิดหัวกลับ 2) ไม่นิยมเขียนวรรคนำ 3) ความยาวของเนื้อหาข่าว โดยทั่วไปไม่เกิน1 นาที ต้องสั้น กระชับ และให้จบภายในเวลาที่กำหนด

40 งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ในการประชาสัมพันธ์
นักประชาสัมพันธ์ต้องจัดทำทำเนียบสื่อมวลชน / ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อมวลชน นักประชาสัมพันธ์ต้องตรวจสอบบัญชีรายชื่อสื่อมวลชน นักประชาสัมพันธ์ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชนเพื่อขอความร่วมมือเพื่อส่ง ข่าวสาร ทำความรู้จักกับสื่อแต่ละประเภท นักประชาสัมพันธ์สามารถติดต่อซื้อเนื้อที่ พื้นที่ หรือเวลาที่จะเผยแพร่งานประชาสัมพันธ์ ขององค์กรผ่านทางช่องทางสื่อต่าง ๆ / หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกใช้สื่อ

41 การจัดแถลงข่าว (Press conference)
เป็นการนัดสื่อมวลชนเพื่อทำการแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆของหน่วยงาน เช่น การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนและช่วงฤดูแล้ง การประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ หรือต้องการชี้แจงการทำงานของหน่วยงาน ควรใช้การจัดแถลงข่าวในกรณี ต่อไปนี้ ในกรณีที่หน่วยงานมีกิจกรรมหรือเรื่องใหม่จริงๆ ที่คิดว่ามีค่าควรแก่การเป็นข่าว ในกรณีที่ต้องการให้มีการสื่อสารสองทาง คือ เปิดโอกาสให้มีการซักถามด้วย เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด และลดความกังขาทั้งหลายให้หมดไป

42 ขั้นตอนในการจัดการแถลงข่าว
1. เชิญนักข่าว 2. จัดเตรียมสถานที่ อาหาร รับรองสื่อมวลชน 3. จัดเตรียมโต๊ะลงทะเบียน / ของที่ระลึก 4. จัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดสำหรับแจกสื่อมวลชน (Press kit) ข่าวแจก กำหนดการ คำปราศรัย คำบรรยายสรุป เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ขององค์กร ฯลฯ 5. ติดตามตรวจสอบข่าวที่ได้รับการเผยแพร่ การจัดกิจกรรม(Press briefing) สำหรับสื่อมวลชน เป็นการชี้แจงทำความเข้าใจอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อแนะนำเรื่องราวต่างๆของงานให้สื่อมวลชนฟังก่อนงานเริ่มเพื่อให้สื่อมวลชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวกิจกรรมที่เรากำลังจะจัดขึ้น รู้กำหนดการและรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน รู้จุดเด่นของงานว่าอยู่ที่ไหน ช่วงเวลาใด ทำให้สื่อมวลชนพร้อมที่จะทำงานการสื่อข่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

43 กระบวนการชี้แจงข่าว ประโยชน์ของการชี้แจงตรงประเด็น
เป็นการชี้แจงเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงาน ซึ่งเรื่องที่ชี้แจงเนื้อหารายละเอียดมากและมีความสลับซับซ้อน การชี้แจงต้องตรงประเด็น ภาษาง่าย สั้น กระชับ และได้ใจความสมบูรณ์ ซึ่งจะอธิบายก่อนที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมอื่นๆต่อไป ประโยชน์ของการชี้แจงตรงประเด็น เป็นการสื่อสารเรื่องที่ยากให้เป็นเรื่องง่ายในเวลาที่จำกัด สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการชี้แจงกับบุคคลทั้งภายในและภายนอก สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับประชาชนทั่วไป

44 จบการนำเสนอ thank you

45

46

47

48

49

50 การถ่ายภาพทำข่าว


ดาวน์โหลด ppt การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google