งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

The Comptroller General’s Department

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "The Comptroller General’s Department"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 The Comptroller General’s Department
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง การเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สุธิษา จารุเมธาวิทย์

2 หน่วยงานจะเริ่มจัดหาเมื่อใด???
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 13 กำหนดว่า “หลังจากได้ทราบยอดเงิน ที่จะนำไปใช้ในการจัดหาแล้ว ให้ส่วนราชการรีบดำเนินการ ตามขั้นตอนของระเบียบนี้ เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันที เมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ มาตรา 23 กำหนดสรุปว่า ห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว

3 ที่จะดำเนินการจัดหา ตามข้อ 13 วรรคแรก
แนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการจัดหาพัสดุก่อนพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีผลใช้บังคับ ตามหนังสือ กวพ. ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) /ว 0220 ลว. 30 มิ.ย. 2560 เพื่อให้หน่วยงานสามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ และเป็นไปตามนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายจ่ายเงินของรัฐบาล เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี พ.ศ ได้พิจารณา ร่าง พรบ. งปม. พ.ศ แล้วเสร็จก่อนเสนอ สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ในวาระที่ 2 ถือว่า ทราบยอดเงิน ที่จะดำเนินการจัดหา ตามข้อ 13 วรรคแรก ให้ส่วนราชการดำเนินการเผยแพร่ประกาศจัดซื้อจัดจ้างจนถึงขั้นตอนได้ตัวผู้ขายหรือผู้รับจ้างไว้ก่อนได้ เว้นแต่ขั้นตอนการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลง แต่จะลงนามในสัญญาเป็นหนังสือได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีผลใช้บังคับ และสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณให้แล้ว ให้กำหนดเงื่อนไขในเอกสารประกาศการจัดซื้อจัดจ้างด้วยว่า : การจัดซื้อหรือจัดจ้างครั้งนี้จะมีการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีผลใช้บังคับ และได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ จากสำนักงบประมาณแล้ว สำหรับกรณีที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อการจัดหาในครั้งดังกล่าว ส่วนราชการสามารถยกเลิกการจัดหาได้

4 แนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการจัดหาพัสดุ ก่อนพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีผลใช้บังคับ กรณีส่วนราชการ ทราบยอดเงินแล้ว แต่ยังไม่เริ่มต้นดำเนินการกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างในขั้นตอนการนำประกาศเผยแพร่สู่สาธารณชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุ ด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e - market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e - bidding) ภายในวันที่ 22 สิงหาคม ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดหาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป อนึ่ง ในการบันทึกข้อมูลในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e – GP) ส่วนราชการสามารถดำเนินการบันทึกข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องระบุรหัสงบประมาณและรหัสแหล่ง ของเงิน แต่ทั้งนี้ ส่วนราชการต้องบันทึกรหัสงบประมาณและรหัสแหล่งของเงิน ให้แล้วเสร็จก่อนดำเนินการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ

5 กฎหมายลำดับรอง (กฎหมายลูก) ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ มีผลใช้บังคับวันที่ 23 สิงหาคม 2560 กฎหมายลำดับรอง จำนวน 19 ฉบับ - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐ พ.ศ จำนวน 1 ฉบับ - กฎกระทรวง จำนวน 7 ฉบับ - ประกาศคณะกรรมการ จำนวน 11 ฉบับ คาดว่า พร้อมใช้บังคับ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2560 คาดว่า มีผลใช้บังคับ ปลายเดือนกันยายน 2560

6 ร่างระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ....

7 การใช้บังคับ - ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุ โดยใช้เงินงบประมาณ

8 การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี โดยแผนการ จัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง (2) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างโดยประมาณ (3) กำหนดระยะเวลาที่จะซื้อหรือจ้างโดยประมาณ แผนการจัดซื้อจัดจ้างให้จัดทำเป็นการล่วงหน้าทั้งปี หลังจากที่หน่วยงาน ของรัฐได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างเบื้องต้น แล้ว (ทราบยอดเงิน)ที่จะนำมาใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ให้ประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิด ประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น

9 การตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติดำเนินการตรวจสอบ คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายว่าเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือไม่ เว้นแต่ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ยื่นข้อเสนอตั้งแต่ 2 ราย ขึ้นไป มิให้ถือว่าหน่วยงานของรัฐนั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือ มีส่วนได้เสียกับหน่วยงานของรัฐอื่น

10 การจัดทำบันทึกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละโครงการ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มี การบันทึกรายงานผลการพิจารณา รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) รายงานขอซื้อขอจ้าง (๒) ร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุและร่างเอกสารเชิญชวน รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและผลการพิจารณาในเรื่องนั้น (ถ้ามี) (๓) ประกาศและเอกสารเชิญชวน หรือหนังสือเชิญชวน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) ข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย (๕) บันทึกรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ (๖) ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก (๗) สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ รวมทั้งการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง เป็นหนังสือ (ถ้ามี) (๘) บันทึกรายงานผลการตรวจรับพัสดุ

11 ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง
การตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ทำรายงานขอซื้อ/จ้าง ดำเนินการจัดหา วิธีจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป 3 วิธี (วิธีประกาศเชิญชวน วิธีคัดเลือก วิธีเฉพาะเจาะจง) ขออนุมัติสั่งซื้อ/จ้าง ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง (1) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ (2) ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น การทำสัญญา หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ

12 การจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง
หลักการ ** ก่อนการซื้อหรือจ้าง ทุกวิธี ต้องทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้าง** เจ้าหน้าที่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ

13 รายละเอียดของรายงานขอซื้อ/จ้าง
เหตุผลความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง รายการของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง เช่น คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ และจำนวนที่ต้องการซื้อ หรือแบบรูปรายการรายละเอียด และปริมาณที่ต้องการจ้าง ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ ที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ วิธีจะซื้อ / จ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อ/จ้างโดยวิธีนั้น หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง ประกาศและเอกสารเชิญชวน หนังสือเชิญชวน หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง

14 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกระทำได้ 3 วิธี ตามความในมาตรา 55 ของกฎหมาย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ดังต่อไปนี้ 1. วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ 2. วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 3 ราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้นมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่า 3 ราย 3. วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรง ในวงเงินเล็กน้อย ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 96 วรรค 2 ของกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

15 วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ทำได้ 3 วิธี
วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ทำได้ 3 วิธี 1. วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) 2. วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) 3. วิธีสอบราคา

16 วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market)
  วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e - market) คือ การซื้อหรือจ้างพัสดุที่มีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะที่ไม่ซับซ้อน เป็นสินค้าหรืองานบริการทั่วไป และมีมาตรฐาน ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อสินค้าหรืองานบริการที่กำหนดไว้ในระบบข้อมูลสินค้า (e – catalog) ทำได้ 2 แบบ ดังนี้ (1) การเสนอราคา โดยใบเสนอราคา (Request for Quotation: RFQ) คือ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท (2) การเสนอราคา โดยการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Auction) คือ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน 5,000,000 บาท

17 วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
  วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e – bidding) คือ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน 500,000 บาท โดยเป็นการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะที่มีความซับซ้อน มีเทคนิคเฉพาะ หรือเป็นสินค้าหรืองานบริการที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระบบข้อมูลสินค้า (e – catalog)

18 วิธีสอบราคา วิธีสอบราคา คือ การซื้อหรือจ้างพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีวงเงินเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000บาท กระทำได้เฉพาะกรณีสภาพพื้นที่มีข้อจำกัดในการดำเนินการซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) หรือวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) หรือหากดำเนินการซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์แล้วอาจก่อให้ เกิดความล่าช้าหรือเป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ให้หน่วยงานของรัฐรายงานเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินการ ซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ในรายงานขอซื้อขอจ้างตามข้อ 27 ด้วย

19 คณะกรรมการการจัดซื้อจัดจ้าง
ในการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดซื้อจัดจ้างขึ้น เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ (1) คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา (2) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (3) คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก (4) คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ให้คณะกรรมการการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละคณะ รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น

20 องค์ประกอบของคณะกรรมการ
ประธาน 1 คน กรรมการอื่นอย่างน้อย 2 คน แต่งตั้งจากข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ พนักงานหน่วยงานของรัฐหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ จะแต่งตั้งบุคคลอื่น แต่จำนวนกรรมการที่เป็นบุคคลอื่นจะต้อง ไม่มากกว่าจำนวนกรรมการตามวรรคหนึ่ง

21 การประชุมของคณะกรรมการ
- ประธาน + กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และประธานจะต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง องค์ประชุม - ถือเสียงข้างมาก - ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียง เพิ่มอีก 1 เสียง มติกรรมการ - กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของ คณะกรรมการ ให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย ยกเว้น - คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ - ต้องใช้มติเอกฉันท์

22 ...อำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้าง
การสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ 1. หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน .... บาท 2. ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เกิน .... บาท

23 ... เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ...
หลักเกณฑ์การพิจารณา เกณฑ์ราคา (PRICE) เกณฑ์ราคาประกอบคุณภาพ (PRICE PERFORMANCE)

24 รูปแบบของสัญญา 1. เต็มรูป
- หน่วยงานของรัฐต้องทำสัญญาตามแบบที่ คณะกรรมการนโยบายกำหนด - มีข้อความแตกต่าง เสียเปรียบ/ไม่รัดกุม - ไม่อาจทำตามแบบสัญญาได้ มีความจำเป็น ต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ 2. ลดรูป - หน่วยงานของรัฐอาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือ โดยไม่ทำตามแบบสัญญา ตามความในมาตรา 96 ของกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ 3. ไม่มีรูปแบบ - ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ส่ง สนง.อัยการสูงสุดพิจารณา 24

25 หลักประกันการเสนอราคา/หลักประกันสัญญา
ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. เงินสด 2. เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย 3. หนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศ 4. หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน 5. พันธบัตรรัฐบาลไทย

26 มูลค่าหลักประกัน ร้อยละ 5 ของวงเงินงบประมาณที่ใช้ในการซื้อ หรือจ้างในครั้งนั้น เว้นแต่ การจัดหาที่สำคัญพิเศษ กำหนดสูงกว่า ร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 * กรณีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ยื่นข้อเสนอหรือเป็น คู่สัญญา ไม่ต้องวางหลักประกัน 26

27 หลักประกันสัญญา หลักประกันที่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ที่เป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐ นำมาวางขณะทำสัญญา เพื่อประกันความเสียหายจากการผิดเงื่อนไข ตามข้อกำหนดในสัญญา ใช้เป็นหลักประกันจนกว่าจะสิ้นสุดข้อผูกพัน ตามสัญญา

28 การคืนหลักประกัน หลักประกันการเสนอราคา  คืนภายใน 15 วัน นับถัดจากวันที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐได้พิจารณา รายงานผลคัดเลือกผู้ชนะการซื้อจัดหรือจ้างเรียบร้อยแล้ว หลักประกันสัญญา  คืนโดยเร็ว / อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นข้อผูกพันแล้ว

29 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
หลัก สัญญาหรือข้อตกลงที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขไม่ได้ เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณา อนุมัติให้แก้ไขได้ (1) เป็นการแก้ไขตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามความในมาตรา 93 วรรค 5 (2) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง หากการแก้ไขนั้น ไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียประโยชน์ (3) เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ (4) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีการแก้ไขสัญญาที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียประโยชน์ หรือไม่รัดกุมพอก็ให้ส่งร่างสัญญาที่แก้ไขนั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา ให้ความเห็นชอบก่อน

30 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา(ต่อ)
- การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หากมี ความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลา ส่งมอบ หรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป - ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเพิ่มวงเงิน เมื่อรวมวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมและวงเงินที่เพิ่มขึ้นใหม่แล้ว หากวงเงินรวมดังกล่าวมีผลทำให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป จะต้องดำเนินการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ตามวงเงินรวมดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงด้วย - ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อลดวงเงิน ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามวงเงินเดิมเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง

31 ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) ค่าเสียหาย
ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) ค่าเสียหาย ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) เป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหาย ค่าเสียหาย เป็นสิทธิเรียกร้องของคู่สัญญา เมื่อมี ความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ต้องพิสูจน์ความเสียหาย

32 การกำหนดอัตราค่าปรับในสัญญา
การซื้อ/จ้าง ไม่ต้องการผลสำเร็จพร้อมกัน กำหนด ค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ 1 การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราร้อยละ ของราคางานจ้างนั้น (ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ... บาท) 2 งานก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อการจราจร กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ 0.25 ของราคางานจ้างนั้น 3

33 การคิดค่าปรับตามสัญญา
เมื่อครบกำหนดสัญญา /ข้อตกลง ยังไม่มีการส่งมอบต้องแจ้งการเรียก ค่าปรับตามสัญญา เมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ (ส่งมอบของ/งานจ้าง) ให้แจ้งสงวนสิทธิ การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย การนับวันปรับ ให้นับถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา/ข้อตกลง จนถึง วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบสิ่งของถูกต้องครบถ้วน หรือจนถึงวันที่ บอกเลิกสัญญา/ข้อตกลง (หักด้วยระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจรับใช้ไป ในการตรวจรับออกจากจำนวนวันที่ต้องถูกปรับด้วย)

34 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลาทำการ ตามสัญญา
อำนาจอนุมัติ อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เหตุเกิดจากความผิด ความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ (2) เหตุสุดวิสัย (3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย (4) เหตุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

35 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา(ต่อ)
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา(ต่อ) วิธีการ - คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุให้ส่วนราชการทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากไม่แจ้งตามที่กำหนด จะยกมา กล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองดค่าปรับ หรือขยายเวลามิได้ เว้นแต่ กรณี (1) ความผิด ความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือหน่วยงานของรัฐทราบดีอยู่แล้ว ตั้งแต่ต้น - พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง

36 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา
1. การพิจารณางดหรือลดค่าปรับ จะเป็นการพิจารณาอนุมัติให้ ในเวลาที่ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาของสัญญาหรือข้อตกลง ไปแล้ว และเป็นกรณีที่มีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว 2. การพิจารณาขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งจะเป็นการพิจารณาอนุมัติให้ก่อนที่จะครบกำหนดสัญญา และค่าปรับยังไม่เกิด

37 การบอกเลิก/ตกลงเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
เหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ต่อไปนี้ อยู่ในดุลพินิจ ของผู้มีอำนาจที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่สัญญา 1) เหตุที่กฎหมายกำหนด 2) มีเหตุเชื่อได้ว่า ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานหรือ ทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด 3) เหตุอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ หรือในสัญญาหรือข้อตกลง 4) เหตุอื่นตามที่ระเบียบรัฐมนตรีกำหนด (ค่าปรับเกินร้อยละ 10) การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้ผู้มีอำนาจ พิจารณาได้เฉพาะในกรณีที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐโดยตรงหรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของหน่วยงานของรัฐ ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป (ม.103)

38 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม หรือสอบถามผ่านช่องทาง : “จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ”
CALL CENTER โทร กองการพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง โทร ต่อ , 4588 , 4589 ,6873, 4311 หรือสอบถามผ่านช่องทาง : “จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ”


ดาวน์โหลด ppt The Comptroller General’s Department

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google