งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการอุบัติการณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการอุบัติการณ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการอุบัติการณ์
FSKN11

2 GFSI ระดับพื้นฐาน องค์กรควรมีกระบวนการถอดถอนและเรียกคืนทุกผลิตภัณฑ์ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการให้ข้อมูลแก่ลูกค้า

3 หัวข้อการนำเสนอ ข้อกำหนดทางกฎหมาย การจัดการกับอุบัติการณ์
การถอดถอนและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ ระบบภายในองค์กร

4 ข้อกำหนดทางกฎหมาย กฎหมายอาหารว่าด้วยอาหารและอาหารสัตว์ (General Food Law) ของสหภาพยุโรป – กฎระเบียบ (EC) 178/ 2002 มาตราที่ 19 หากผู้ควบคุมธุรกิจอาหารพิจารณาหรือมีเหตุผลที่เชื่อว่า อาหารที่ถูก นำเข้า ผลิต แปรรูป หรือจัดจำหน่าย ที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดด้าน ความปลอดภัยอาหาร อาหารที่ต้องสงสัยเหล่านี้จะต้องถูกนำเข้าสู่ กระบวนการถอดถอนจากตลาดทันที

5 คำจำกัดความ อุบัติการณ์
เหตุการณ์ที่มีข้อมูลบ่งบอกชัดเจนหรือต้องสงสัยว่ามีผลต่อความ ปลอดภัยหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการจัดการ (intervention) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

6 คำจำกัดความ การเรียกคืนผลิตภัณฑ์
กระบวนการที่ผลิตภัณฑ์ถูกเรียกคืนจากตลาด หากผลิตภัณฑ์ถึงมือ ผู้บริโภคแล้ว ผู้บริโภคจะได้รับคำแนะนำให้คืนหรือทำลายผลิตภัณฑ์ เหล่านั้น

7 คำจำกัดความ การถอดถอนผลิตภัณฑ์
กระบวนการที่ผลิตภัณฑ์ถูกดึงออกจากตลาดและร้านค้าปลีก หรือใน ครอบครองของผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้บรรจุ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า ผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่ง แต่ยังไม่ถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคจึงไม่ถูกขอร้องให้คืน หรือทำลายสินค้า

8 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถอดถอน และการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
กฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ สื่อ (รายงานข่าว 24 ชั่วโมง หรือสื่อท้องถิ่น) การใช้ฉลาก (สารก่อภูมิแพ้) การจัดการการร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพสูง ระดับการบังคับ และการสื่อสารข้ามเขต ระดับการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อน

9 การจัดการอุบัติการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด อนาคตและชื่อเสียงของบริษัทและลูกค้าจะตกอยู่ในความเสี่ยง หากการจัดการอุบัติการณ์ไม่มีประสิทธิภาพ อุบัติการณ์นี้เกิดขึ้นได้เกือบทุกวันในโรงงาน อุบัติการณ์ที่ร้ายแรงจะเกิดขึ้น แม้ว่ามีการควบคุมความ ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในโรงงานอย่างเข้มงวด การจัดการอุบัติการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ จะสำเร็จได้ด้วยการ วางแผนอย่างรอบคอบ

10 การจัดการอุบัติการณ์
แนวทางในการจัดการอุบัติการณ์ ระบุได้ เมื่อมีอุบัติการณ์สำคัญเกิดขึ้น ประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง มีระบบสนับสนุนการแยกและการกักกันผลิตภัณฑ์ในห่วงโซ่อุปทาน อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

11 สิ่งที่สำคัญ ระบุและเข้าใจถึงการเกิดอุบัติการณ์ มีการประเมินความเสี่ยง
มีทีมงานจัดการอุบัติการณ์ มีการกักกัน การตามสอบย้อนกลับ และการจัดทำเอกสาร มีการสื่อสาร มีวิธีปฏิบัติ (แผนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์)

12 แหล่งข้อมูล ลูกค้าและการทบทวนข้อร้องเรียนของลูกค้า ผู้บริโภค
การทดสอบภายในองค์กร การรายงานภายในองค์กร ผู้มีอำนาจของรัฐ ผู้แทนจำหน่าย สื่อ

13 การประเมินความเสี่ยง
อันตราย วัตถุทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ ที่มีโอกาสทำให้เกิดผลเสียต่อ สุขภาพ ความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงและผลเสียต่อสุขภาพซึ่งเป็นผลจากการ สัมผัสอันตรายทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ การประเมินความเสี่ยง การประเมินโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินผลเสียที่เกิดขึ้นหรือ อาจจะเกิดต่อสุขภาพเนื่องจากการได้รับสัมผัสอันตราย

14 การประเมินความเสี่ยง
4 ขั้นตอน การระบุอันตราย - ระบุชนิดอันตราย การอธิบายลักษณะอันตราย –ระบุลักษณะและผลของ อันตราย การประเมินการได้รับสัมผัส–ประเมินการได้รับสัมผัสของ ผู้บริโภค การอธิบายลักษณะความเสี่ยง - เปรียบเทียบผลการ ประเมินการได้รับสัมผัสกับแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงได้

15 การสื่อสารความเสี่ยง
การจัดการความเสี่ยงจะไม่มีประสิทธิภาพหากไม่มีการสื่อสาร ต้องมีสื่อกลางเพื่อการสื่อสารที่ชัดเจน ต้องมีการสื่อสารที่ถูกต้อง ต้องมีการสื่อสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

16 การถอดถอนและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
ความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สื่อสารอย่างถูกต้องและรวดเร็วที่สุดต่อลูกค้า การกักกันผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ การร่วมมือทำงานกับทุกฝ่าย รับฟังและนำเอาคำแนะนำจากลูกค้าไปใช้

17 แผนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
ทำอย่างไร ควรมีรายละเอียดที่เพียงพอ มีการบันทึกที่ดีและเข้าใจง่าย มีการทบทวนเป็นประจำ มีการทดสอบเป็นประจำ

18 ตัวอย่างที่ดีของแผนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
รายชื่อและรายละเอียดเพื่อใช้ใน การติดต่อของสมาชิกในทีม จัดการอุบัติการณ์ หน้าที่และความรับผิดชอบของ ทีมจัดการอุบัติการณ์ รายชื่อผู้ติดต่อภายในโรงงาน รายชื่อลูกค้า รายชื่อผู้แทนจำหน่าย รายชื่อหน่วยงานบังคับใช้ รายชื่อผู้ให้บริการ วิธีปฏิบัติสำหรับงานจำเพาะ บันทึกสถานะของอุบัติการณ์ รายการหน้าที่ ตัวอย่างหรือต้นแบบเอกสารสำคัญ วิธีการฝึกอบรม วิธีการทดสอบ วิธีการทบทวนแผน

19 กระบวนการสื่อสาร การรักษาข้อมูลการติดต่อให้ เป็นปัจจุบัน
ต้องมีรายละเอียดการติดต่อ ภายในและภายนอกองค์กร หน่วยงานของรัฐ ผู้ให้บริการ ทั้งนี้ต้องมีเบอร์โทรศัพท์ หลายหมายเลขพร้อมใช้ ใช้การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ต้องทราบชื่อบุคคลสำคัญที่ เป็นหลักในการติดต่อ

20 กระบวนการสื่อสาร ลำดับความสำคัญในการ สื่อสาร
ชัดเจน กระชับ เป็นที่ น่าเชื่อถือ และไม่คลุมเครือ ระบุผู้ติดต่อสื่อสารหลักใน องค์กร เตรียมความพร้อมของ บุคลากรและระบบการสื่อสาร เพื่อการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ

21 ข้อกำหนดระบบภายในองค์กร
บันทึกข้อร้องเรียนของลูกค้า ระบบการกักกันสินค้า บันทึกการตามสอบย้อนกลับสินค้า รายละเอียดการติดต่อลูกค้า บันทึกโลจิสติกส์ บันทึกการควบคุมกระบวนการ

22 คำถาม?

23 การขออนุญาตเพื่อเผยแพร่ซ้ำ
© 2012 มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐมิชิแกน และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อนุญาตให้เผยแพร่ดัดแปลงโดยต้องระบุที่มา และต้องเผยแพร่งาน ดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน (Creative Commons Attribution- Share Alike 3.0 Unported; CC-BY-SA). แหล่งที่มา: © 2009 Global Food Safety Initiative and Michigan State University,แหล่งที่มา อนุญาตให้เผยแพร่ ดัดแปลงโดยต้องระบุที่มา และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญา อนุญาตเดียวกัน (CC-BY-SA). สามารถตรวจสอบสำเนาใบอนุญาตขอเผยแพร่ ได้ที่ Creative Commons, 559 Nathan Abbott Way, Stanford, California , USA.

24 License to Reuse © 2012 Michigan State University, and Global Food Safety Initiative, licensed using Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 Unported (CC-BY-SA). Source: © 2009 Global Food Safety Initiative and Michigan State University, original at licensed using Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 Unported. To view a copy of this license, visit sa/3.0/ r send a letter to Creative Commons, 559 Nathan Abbott Way, Stanford, California 94305, USA.


ดาวน์โหลด ppt การจัดการอุบัติการณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google