งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเรียนรู้ในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ พ. ย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเรียนรู้ในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ พ. ย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเรียนรู้ในชั้นเรียน 427-303 สัปดาห์ที่ 3 14-16 พ. ย
การเรียนรู้ในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ พ.ย ห้อง เทอม 2/2550

2

3

4 แนวคิดทางปรัชญา-สังคม-วิทยาศาสตร์ ทีทรรศน์เกี่ยวกับเรื่องกระบวนทรรศน์ ชลลดา ทองทวี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขณะนี้กำลังศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิชาการชิ้นนี้เดิมชื่อ กระบวนทัศน์ (paradigm) : นิยามความหมาย โครงสร้าง และกระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ (paradigm shift)

5 1. กระบวนทัศน์ : นิยามความหมาย
ใน The Structure of Scientific Revolutions (ค.ศ. 1962) โทมัส เอส. คูหน์ (Thomas S. Kuhn) ซึ่งเป็นผู้ที่เริ่มต้นแนวคิดเรื่อง กระบวนทัศน์ (paradigm) นิยาม คำว่า กระบวนทัศน์ (paradigm) ในเชิงวิทยาศาสตร์ ไว้ว่า หมายถึง "กรอบแนวคิด (conceptual framework) หรือ โลกทัศน์ (worldview) ที่แตกต่างหลากหลายกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละชุมชนทางวิทยาศาสตร์ (scientific community)“

6 คำว่า paradigm แปลเป็นภาษาไทย ว่า "กระบวนทัศน์" โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ในปี พ.ศ และ คำว่า "paradigm shift" แปลเป็นภาษาไทย ว่า การเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ โดย ประสาน ต่างใจ

7 ฟริตจอฟ คาปร้า (Fritjof Capra) นิยาม คำว่า กระบวนทัศน์เชิงสังคม (social paradigm) ใน The Concept of Paradigm and Paradigm Shift (1986) ในเวลาต่อมา ว่า หมายถึง "มโนทัศน์ (concepts) ค่านิยม (value) การรับรู้ (perceptions) และ การปฏิบัติ (practices) ที่ชุมชน (community) หนึ่งมีหรือกระทำร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ (vision) แห่งความเป็นจริง ที่เป็นพื้นฐานของการจัดระบบตนเองของชุมชนนั้น" (Capra, 1986 : 3) ดังนั้น สำหรับ คาปร้า กระบวนทัศน์ จึงมีนัยยะของ ทัศนะแม่บท ที่เป็นรากฐานของทัศนะอื่น ๆ ต่อมา

8

9 โดยสรุปแล้ว จะสังเคราะห์นิยามความหมายของ กระบวนทัศน์ (paradigm) ได้ว่า หมายถึง
"กระบวนทางความคิด ทางการรับรู้ ทางวิธีคิด และการสะท้อนความคิดให้เป็นความหมายหรือให้มีคุณค่าของมนุษยชาติ ในชุมชนหนึ่ง สำหรับดำรงอยู่ ในช่วงเวลาหนึ่ง"

10 2. กระบวนทัศน์ : โครงสร้าง
อีกอน จี. กูบา (Egon G. Guba) เสนอทัศนะไว้ใน The Paradigm Dialog (ค.ศ. 1990) ว่า กระบวนทัศน์ (paradigm) หรือ ระบบความเชื่อพื้นฐาน (basic belief systems) นั้น มีโครงสร้างหลัก 3 ประการ คือ

11 1. ภววิทยา (Ontology) : อะไรคือ ธรรมชาติของความรู้ความจริง 2
1. ภววิทยา (Ontology) : อะไรคือ ธรรมชาติของความรู้ความจริง 2. ญาณวิทยา (Epistemology) : อะไรคือ ธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างผู้แสวงหาความรู้ความจริง และ ความรู้ความจริง 3. วิธีวิทยา (Methodology) : ผู้แสวงหาความรู้ความจริงควรจะแสวงหาความรู้ความจริง อย่างไร

12 คำถาม 3 ข้อ ในโครงสร้าง 3 ประการดังกล่าว สามารถตอบได้แตกต่างกันไปหลายประการ และคำตอบนั้น จะเป็นตัวกำหนดหรือจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้ความจริงของแต่ละกระบวนทัศน์ ทั้งนี้ เราไม่อาจจะตัดสินได้ว่า คำตอบใดเป็นคำตอบที่ผิดหรือถูกต้อง

13 กูบา เห็นว่า กระบวนทัศน์ (paradigm) หรือ ระบบความเชื่อพื้นฐาน(basic belief systems) นั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (human constructions) และ ดังนั้น จึงมีความผิดพลาดและจุดอ่อนข้อบกพร่อง เป็นธรรมดา ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ของ ผลงานต่าง ๆ ของมนุษย์ ในทัศนะของ กูบา กระบวนทัศน์แต่ละกระบวนทัศน์ ต่างก็เป็น "ทางเลือก (alternative)" ด้วยกันทั้งนั้น (Guba, In Guba, Ed., 1990 : 17-27)

14 บทสรุป คูห์น กล่าวถึง กระบวนทัศน์ที่แตกต่างกัน 2 กระบวนทัศน์ ว่า เปรียบเสมือน การที่คน 2 คน มอง รูปเดียวกัน แต่คนหนึ่ง มองเห็นเป็น เป็ด ขณะที่ อีกคนหนึ่ง มองเห็นเป็นรูปกระต่าย ดังภาพวาดต่อไปนี้ ที่วาดตามแนวคิดเรื่องการรับรู้ภาพ "duck-rabbit" ของ ลุดวิก วิทเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein)

15 การมองเห็นโลกและจักรวาล ด้วยกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการมองสิ่งเดียวกัน ในมุมมองใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อวิถีปฏิบัติ ให้เปลี่ยนแปลงไปด้วยทั้งกระบวน การที่เราจะยังคงเลือกกระบวนทัศน์ของ "กระต่าย" ทั้งที่ รอบตัวเราและหนทางเบื้องหน้านั้นเต็มไปด้วยน้ำ จะไม่ทำให้เราแก้ไขปัญหาหรือเดินทางไปข้างหน้าต่อไปได้ บางทีการเปลี่ยนมุมมองไปเป็น "เป็ด" จึงอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็น

16 หนังสืออ่าน ค้นคว้าเพิ่มเติม
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (บรรณาธิการ). (๒๕๔๕). มิติสุขภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อสร้างสังคมแห่งสุขภาวะ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์. (๒๕๓๗). ทฤษฎีไร้ระเบียบ : ทางแพร่งของสังคม สยาม. กรุงเทพมหานคร : คบไฟ. ประเวศ วะสี. (๒๕๔๕). วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ สู่ภพภูมิใหม่แห่ง การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

17 หนังสืออ่าน ค้นคว้าเพิ่มเติม
ประสาน ต่างใจ. (๒๕๔๕). บุพนิมิต กระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพมหานคร : วิถีทรรศน์. ฟริตจ๊อฟ คาปร้า. (๒๕๒๙). จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ. (พระ ประชา ปสนฺธมฺโม และคณะ, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง. ยุค ศรีอาริยะ. (๒๕๔๔). ทฤษฎีและความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : วิถีทรรศน์.

18 หนังสืออ่าน ค้นคว้าเพิ่มเติม
อรศรี งามวิทยาพงศ์. (๒๕๔๔). วิพากษ์ ฟริตจอฟ คาปร้า [Online]. Available: ml [๒๕๔๖, เมษายน ๒๔]. อรศรี งามวิทยาพงศ์. (๒๕๔๕). กระบวนทัศน์การพัฒนาของรัฐ : จากผู้ใหญ่ลีถึงหลุยส์ วิตตอง [Online]. Available : [๒๕๔๖, เมษายน ๒๔].

19 หนังสืออ่าน ค้นคว้าเพิ่มเติม
Capra, F. (1975). The Tao of Physics. London : Wildwood House. ________. (1982). The Turning Point. New York : Simon and Schuster. ________. (1986). The Concept of Paradigm and Paradigm Shift. Re-Vision, Vol.9 Number 1, 3. ________. (1988). Uncommon Wisdom. London : Fontana Paperbacks. ________. (1996). Web of Life. New York : Anchor Books. Kuhn, T.S. (1970). The Structure of Scientific Revolutions. (Second Edition).Chicago : The University of Chicago Press.

20 ภารกิจ ของกลุ่ม ศึกษากระบวนทัศน์ (paradigm) ด้วยการสังเคราะห์มโนทัศน์ และแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ เพื่ออธิบาย นิยามความหมาย โครงสร้าง และกระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ (paradigm shift)

21 นำเสนอ กระบวนทัศน์ (paradigm) ของสำนักคิด ทางสังคมวิทยา
งานกลุ่ม (สัปดาห์ที่ พ.ย. 2550 นำเสนอ กระบวนทัศน์ (paradigm) ของสำนักคิด ทางสังคมวิทยา

22 นำเสนอ workplan การเรียนรู้
งานกลุ่ม (สัปดาห์ที่ 5-9) นำเสนอ workplan การเรียนรู้ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ (learning process) โดยผู้เรียน

23 สัปดาห์ที่ 5 28-30 พ.ย. 50 functional,conflict
สัปดาห์ที่ ธ.ค. 50 สัปดาห์ที่ ธ.ค. 50 symbolic , exchange , phenomenology สัปดาห์ที่ ธ.ค. 50


ดาวน์โหลด ppt การเรียนรู้ในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ พ. ย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google