ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยTinsulanonda Visalyaputra ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ. ศ
การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการ Evaluation of Commercial Program in Vocational Certificate Curriculum B.E [Revised B.E. 2546] โดย นางสาวภุมรินทร์ ชวนชม
2
ปัญหาการวิจัย ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนค่อนข้างมาก อันสืบเนื่องมาจากระบบและวิธีการจัดการศึกษาที่ไม่สามารถสร้างและกระจายโอกาส รวมทั้งคุณภาพการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน การจัดการเรียนการสอนจะต้องสนองตอบความต้องการของภาคอุปสงค์ (Demand Side) หลายฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ในทศวรรษแรก ความเชื่อมั่นในเรื่องคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ค่านิยมระหว่างการเรียนระดับประกาศนียบัตรอาชีวศึกษากับปริญญาบัตร หรือผู้ประกอบการต้องหันไปว่าจ้างบุคคลที่สำเร็จการศึกษาสูงกว่าความต้องการที่แท้จริง เป็นต้น
3
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) สอดคล้องกับความคิดเห็นของเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ที่กล่าวไว้ว่าปัจจุบันไทยมีความต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษาอย่างมาก จากผลการศึกษาความต้องการกำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขาดแคลนกำลังคนระดับกลางหรือระดับปฏิบัติการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะผู้จบระดับ ปวช. และ ปวส. นอกจากนั้น สถาบันอาชีวศึกษาไทยที่มีหลากหลายประเภท ควรพัฒนาระบบวิเคราะห์หาความต้องการตลาดแรงงาน เพื่อเป็นฐานข้อมูลพัฒนาหลักสูตรสายอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการตลาดแรงงาน จากการนำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการไปใช้ดังที่กล่าวข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่าหลักสูตรฯ ควรมีการประเมินเพื่อให้ทราบถึงสภาพของการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษา อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการ ใน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ด้านกระบวนการของหลักสูตร ด้านผลผลิตของหลักสูตร
5
ตารางแสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับและอันดับตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีต่อการประเมินหลักสูตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการ จำแนกตามรายด้าน ด้าน (n = 11) ระดับ ความเหมาะสม อันดับ ค่าเฉลี่ย S.D. 1. ด้านบริบท 4.25 .36 มาก 1 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น 4.02 .63 2 3. ด้านกระบวนการ 3.94 .75 4 4. ด้านผลผลิต 4.00 .50 3 รวม 4.05 .53 ด้าน (n = 40) ระดับ ความเหมาะสม อันดับ ค่าเฉลี่ย S.D. 1. ด้านบริบท 4.03 .42 มาก 1 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3.66 .56 4 3. ด้านกระบวนการ 3.88 .61 2 4. ด้านผลผลิต 3.80 .58 3 รวม 3.84 .48
6
ตารางแสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับและอันดับตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อการประเมินหลักสูตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการ จำแนกตามรายด้าน ด้าน (n = 353) ระดับ ความเหมาะสม อันดับ ค่าเฉลี่ย S.D. 1. ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3.80 .64 มาก 2 2. ด้านกระบวนการ 3.92 .62 1 รวม 3.86 .60 ด้าน (n = 60) ระดับ ความเหมาะสม อันดับ S.D. 1. ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3.58 .82 มาก 3 2. ด้านกระบวนการ 3.63 .84 2 3. ด้านผลผลิต 3.70 .85 1 รวม .61
7
สรุปผลการวิจัย 1. ด้านบริบท กลุ่มผู้บริหารและครูเห็นว่าด้านบริบทของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.25, 4.02) 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น กลุ่มผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้สำเร็จการศึกษาเห็นว่าด้านปัจจัยเบื้องต้น ของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03, 3.66, 3.81, 3.58)
8
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 3. ด้านกระบวนการ กลุ่มผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้สำเร็จการศึกษาเห็นว่าด้านกระบวนการของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.95, 3.88, 3.93, 3.63) 4. ด้านผลผลิต กลุ่มผู้บริหาร ครูและผู้สำเร็จการศึกษาเห็นว่าด้านผลผลิตของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) สาขาวิชาพณิชยการ มีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.00, 3.80, 3.70)
9
ผลกระทบหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปพัฒนาหลักสูตรในด้านบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.