งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
(Public sector Management Quality Award) ยุคล กำเหนิดแขก ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

2 เนื้อหาในการบรรยาย 1. ความหมาย 2. ความเป็นมา
3. ผลการดำเนินงานและรางวัลที่ได้รับ 4. แนวทางการดำเนินงานในปี 2557

3 ความหมาย การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  (Public Sector Management Quality Award : PMQA)  เป็นกรอบการบริหารจัดการองค์กร ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปใช้ในการประเมินองค์กรด้วยตนเองให้มองเห็นความสำเร็จ และจุดบกพร่องที่ต้องมีการแก้ไข และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภายในองค์กร ให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากลอย่างรอบด้าน โดยครอบคลุมระบบบริหารจัดการ 7 หมวด  

4

5 ความเป็นมา กรมสรรพสามิต ได้ดำเนินการตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 พร้อมกับสามารถพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสำเร็จตามคำรับรองการปฏิบัติราชการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการดำเนิน การที่ผ่านมาถือได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับที่ดีโดยเฉพาะในปีงบประมาณ กรมสรรพ สามิตได้คะแนนประเมินรายหมวด 5 คะแนนเต็ม และคะแนนภาพรวมก็ได้ 5 คะแนนเต็มเช่นกัน

6 ผลการดำเนินงานและรางวัลที่ได้รับ
ปีงบประมาณ 2555 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เข้าตรวจประเมินรับรองการผ่านเกณฑ์ PMQA ระดับพื้นฐาน (Certified Fundamental Level:FL) กรมสรรพสามิตเนื่องจาก ได้ดำเนินการตามเกณฑ์ PMQA ครบทุกหมวด ปรากฏว่ากรมฯ ได้คะแนนประเมินรับรองการผ่านเกณฑ์ฯ เฉลี่ย (คะแนนเต็ม 100) และได้คัดเลือกผลการดำเนินงานของ หมวด 6 : การจัดการกระบวนการ ขอรับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด

7 ความเป็นเลิศด้านกระบวนการคุณภาพและนวัตกรรม
รางวัลความเป็นเลิศ ความเป็นเลิศด้านกระบวนการคุณภาพและนวัตกรรม หมวด 6 การจัดการกระบวนการ

8 ผลการดำเนินงานและรางวัลที่ได้รับ
ปีงบประมาณ 2556 กรมสรรพสามิต ยังคงดำเนินการตามเกณฑ์ PMQA และได้รับการพิจารณาคัดเลือกผลการดำเนินงานเพื่อขอรับรางวัลฯ และได้รับรางวัลความเป็นเลิศ จำนวน 2 หมวด คือ หมวด 2 : การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และหมวด 4 : การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

9 ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ หมวด 2
รางวัลความเป็นเลิศ ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ รางวัลความเป็นเลิศ ด้านการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและการจัดการความรู้ หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

10

11 ในปีงบประมาณ 2556 กรมสรรพสามิตได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ จากสำนักงาน ป.ป.ช. 2 รางวัล 1. รางวัลหน่วยงานที่ได้คะแนนสูงสุดรายดัชนี : ดัชนีการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนตามภารกิจหลักของหน่วยงาน 2. รางวัลหน่วยงานที่ได้คะแนนสูงสุดรายดัชนี : ดัชนีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการ

12

13 แนวทางการดำเนินงานในปี 2557
ผู้บริหารกรมฯ ยังมีนโยบายให้ดำเนินการตามเกณฑ์ PMQA ต่อเนื่อง เนื่องจากเกณฑ์ PMQA เป็นเกณฑ์ที่ทำให้วิธีการบริหารจัดการองค์กรมีระบบตามมาตรฐานสากล กอปรกับเพื่อขอรับรางวัลคุณภาพฯ รายหมวดจากสำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งในปีงบประมาณ 2557 กรมฯ ได้ส่งผลการดำเนินงานขอรับรางวัล 2 หมวด คือ หมวด 1 : การนำองค์กร และ หมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

14 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 คณะทำงานตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐ และผู้แทนจากสำนักงาน ก.พ.ร. ได้เข้าตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ ณ กรมสรรพสามิต โดยมีอธิบดีเป็นประธานกล่าว ต้อนรับ

15 แนวทางการดำเนินงานในปี 2557 (ต่อ)
ขณะนี้ทราบผลอย่างไม่เป็นทางการแล้ว กรมฯ ผ่านการพิจารณาได้รับ 1 รางวัลคือ รางวัลด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากผลการดำเนินงานของหมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนหมวด 1 : การนำองค์กร ต้องปรับปรุง/เพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนและส่งอีกครั้งในปี 2558 พร้อมกับหมวด 5 : การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

16 แนวทางการดำเนินงานในปี 2557 (ต่อ)
อีกทั้ง ให้ขยายเกณฑ์ PMQA ไปสู่ทุกหน่วยงานเพื่อให้การพัฒนาองค์กรเป็นองคาพยพ ซึ่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.) ได้พิจารณาคัดเลือกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ PMQA มาให้ทุกหน่วยงานดำเนิน 10 ประเด็น ดังนี้

17 สอดคล้องกับเกณฑ์ PMQA
17 หัวข้อ สอดคล้องกับเกณฑ์ PMQA 1) การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อ 3.1 ก (1) – (3) 2) การสร้างเครือข่ายหรือจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   หมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อ 3.2 ก (4) (5) และ (7)  3) การสำรวจความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อคุณภาพการให้บริการ หมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อ 3.2 ข (8) - (11) 4) การดำเนินการจัดการกับข้อร้องเรียน อย่างเป็นระบบ หมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อ 3.2 ก (6) 5) จัดทำแผนธรรมาภิบาลหรือนโยบายกำกับดูแลองค์กรที่ดีฯ หมวด 1 : การนำองค์การ ข้อ 1.2 ข (3)

18 สอดคล้องกับเกณฑ์ PMQA
18 หัวข้อ สอดคล้องกับเกณฑ์ PMQA 6) การจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องภายใต้สภาวะวิกฤต พร้อมทั้งดำเนินการตามแผน (ซักซ้อม)   หมวด 6 : การจัดการกระบวนการ ข้อ 6.2 ข (11) 7) การพัฒนามาตรฐานการให้บริการของกรมสรรพสามิต หมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อ 3.2 ก (5) 8) การปรับปรุงกระบวนการ ข้อ 6.1 ก (4-6) และข้อ 6.2 ก (10-12) 9) การจัดการความรู้ หมวด 4 : การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ข้อ 4.2 ข (9) 10) การพัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร หมวด 1 : การนำองค์การ หมวด 5 : การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และเป็นตัวชี้วัดภายใต้กรอบคำรับรองการปฎิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

19 โดยได้จัดสัมมนาเพื่อชี้แจงแนวทาง การดำเนินการและการประเมินผลให้กับ
ทุกหน่วยงานแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2557 จำนวน 2 รุ่น

20 รางวัลหน่วยงานที่มีผลงานภาพรวมดีเด่น
รางวัลผลงานโดดเด่น รางวัลจูงใจ รางวัลหน่วยงานที่มีผลงานภาพรวมดีเด่น รางวัลหน่วยงานที่มีผลงานภาพรวมดีมาก รางวัลชมเชย รางวัลหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น ในด้าน - การสร้างเครือข่ายหรือสร้างความสัมพันธ์กับ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   - การจัดทำแผนส่งเสริมธรรมาภิบาลหรือนโยบาย กำกับดูแลองค์กรที่ดีฯ

21 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

22 กรอบการประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มิติ ตัวชี้วัด น้ำหนัก (ร้อยละ) หน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ภายนอก 70 - การประเมินประสิทธิผล 1. ตัวชี้วัดที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ/ภารกิจหลักกรม 1.1 ระดับความสำเร็จของการเตรียม การปรับปรุงระบบภาษีรถยนต์ให้สอดคล้องการปล่อย CO2 (30) - สผษ. - สมฐ. 2 1.2 จำนวนภาษีสรรพสามิตที่สามารถจัดเก็บได้ (ล้านบาท) - สมฐ.1,สมฐ.2 ภาค,พื้นที่,พื้นที่สาขา,สตป. - การประเมินคุณภาพ 2. คุณภาพการให้บริการประชาชน - ระดับความสำเร็จการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ (การออกใบอนุญาตนำเข้าสุรา ยาสูบ และไพ่) (10) - กพร. - สมฐ.1, สมฐ.2 สผษ., สกม., ศูนย์เทคโนฯ

23 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
มิติ ตัวชี้วัด น้ำหนัก (ร้อยละ) หน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ภายใน 30 - การประเมินประสิทธิภาพ 3. ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ - งบลงทุน - งบภาพรวม (5)  - สคร.  - ทุกหน่วย งาน 4. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน - สคร. - ทุกหน่วย งาน 5. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ - ศูนย์เทค โนฯ  - - การพัฒนาองค์กร 6. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะองค์การ (การจัดทำแผนพัฒนาองค์การและการสำรวจออนไลน์) - ทุนมนุษย์ - สารสนเทศ - วัฒนธรรมองค์กร (10) - สบค. - ศูนย์เทคโนฯ - กพร. 7. การสร้างความโปร่งใสในการปฎิบัติราชการ 5 รวม 100

24


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google