ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBanyong Phatipatanawong ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
ผู้วิจัย : นางสาวพรรณภา สรสิทธิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา
ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ที่มีผลต่อการดำเนินงาน ของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผู้วิจัย : นางสาวพรรณภา สรสิทธิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา
2
ปัญหาการวิจัย ในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อที่จะได้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขัน เพราะฉะนั้นการสร้างความน่าเชื่อถือของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาเอกชน จึงกลายเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ใช้บริการหรือผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้ทราบว่าสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาเอกชนมีความสามารถมากเขาก็จะพูดต่อให้คนอื่นรับทราบ การกระทำแบบนี้เรียกว่า “กลยุทธ์ปากต่อปาก” (Word of Mouth Marketing Strategy)
3
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปากของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปากกับผลการดำเนินงาของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
4
วัตถุประสงค์ (ต่อ) 3. เพื่อศึกษาผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปากที่มีต่อผลการดำเนินงานของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 4. เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปากของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่มีจำนวนนักเรียน ระยะเวลาดำเนินงาน สถานที่ตั้ง และลักษณะของสถาบันแตกต่างกัน 5. เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่มีจำนวนนักเรียน ระยะเวลาดำเนินงาน สถานที่ตั้ง และลักษณะของสถาบันแตกต่างกัน
5
ตารางหรือผังสรุปสำคัญ
กรอบแนวคิดของกลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก และผลการดำเนินงานของสถานศึกษา กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ด้านบริการที่มีคุณภาพ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านคนแพร่ข่าว ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับคนแพร่ข่าว ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ด้านจำนวนนักเรียน/นักศึกษาเพิ่มขึ้น ด้านการเจริญเติบโตของรายได้ ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา ด้านลูกค้า
6
ผลการดำเนินงานโดยรวม
ผลการวิจัยและการอภิปรายผล กลยุทธ์การตลาดแบบ ปากต่อปาก ผลการดำเนินงานโดยรวม t P-value สัมประสิทธิ์การถดถอย ความคาดเคลื่อนมาตรฐาน ด้านบริการที่มีคุณภาพ 0.129 0.096 1.347 0.181 ด้านการสร้างบันดาลใจ 0.179 0.890 2.019 0.046* ด้านคนแพร่ข่าว 0.305 0.078 3.894 0.000* 4. ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับคนแพร่ข่าว 0.055 0.071 0.777 0.439 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
7
จากตารางข้างต้น พบว่า กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านคนแพร่ข่าว มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานของสถานศึกษาโดยรวม เนื่องจากสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานและมีการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เมื่อนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาก็จะเกิดความประทับใจ และมั่นใจในคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา ความรู้สึกเหล่านี้ก็จะถูกส่งต่อไปยังบุคคลภายนอกซึ่งเรียกว่าคนแพร่ข่าว มีการแพร่กระจายข่าวหรือข้อมูลต่อไปเรื่อยๆ บุคคลทั่วไปที่แสวงหาสถานศึกษาให้บุตรหลานศึกษาต่อ และเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้ทราบถึงชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีก็จะตัดสินใจเลือกเรียนในสถานศึกษานั้น
8
ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องสร้างแรงบันดาลใจกับคนแพร่ข่าวด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การให้สวัสดิการ ให้ผลตอบแทน และการให้รางวัลแก่คนแพร่ข่าวเพื่อบุคคลที่ให้ข่าวเกิดขวัญและกำลังใจในการนำข่าวไปแจ้งหรือบอกต่อๆ กัน
9
สรุปผลการวิจัย กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านคนแพร่ข่าว มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปในการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และการวางแผนการดำเนินงานขององค์กร และการปรับปรุงพัฒนาผลการดำเนินงานของสถานศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับสถานศึกษาอื่นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
10
ขอบคุณ และสวัสดีคะ ผู้วิจัย : พรรณภา สรสิทธิ์
ขอบคุณ และสวัสดีคะ ผู้วิจัย : พรรณภา สรสิทธิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.