ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยChaveevan Yuvaves ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การตระหนักในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การสนับสนุนขององค์กร และศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อผู้วิจัย : นางสาว ลัดดา นิลละออง สังกัด : วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา
2
ปัญหาการวิจัย 1. การรวมตัวของประชาคมอาเซียน ก่อให้เกิดเสรีทางการค้า การเคลื่อนย้ายแรงงาน ฯลฯ
บริหารธุรกิจ อาชีวศึกษาเอกชน ช่างอุตสาหกรรม
3
ปัญหาการวิจัย 2. ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร มีความสำคัญในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4
ปัญหาการวิจัย 3. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในโลกปัจจุบัน
ปัญหาการวิจัย 3. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยี ครอบคลุมทั่วโลก บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศ
5
ปัญหาการวิจัย 4. การพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ASEAN
การอบรมพัฒนา การทำการวิจัย
6
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาการตระหนักในการเข้าสู่ ASEAN การสนับสนุนขององค์กร ศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน เพื่อศึกษาการตระหนักในการเข้าสู่ ASEAN ประกอบด้วย ทักษะด้านภาษา บทบาทเทคโนโลยี และ การเชื่อมโยงวัฒนธรรม การพัฒนาบุคลากร คุณภาพสื่อการเรียนการสอน และ การจัดสภาพแวดล้อม
7
กรอบแนวคิด การตระหนักในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การสนับสนุนขององค์กร
-ทักษะด้านภาษา - บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - การเชื่อมโยงวัฒนธรรม การสนับสนุนขององค์กร - การพัฒนาบุคลากร - สื่อการเรียนการสอน - การจัดสภาพแวดล้อม ศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8
การดำเนินการวิจัย 1. ประชากรที่ใช้ในการทำวิจัย
- ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จ. พระนครศรีอยุธยา - ประกอบด้วย 5 วิทยาลัย 2. เครื่องมือในการเกิบรวบรวมข้อมูล - ใช้แบบสอบถามปลายปิด (Multiple Choice question) แบบคำตอบหลายตัวเลือก - ใช้แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นมีลักษณะเป็นมาตราส่วน (Rating Scale) 5 ช่วง คือ มาก ปานกลาง น้อยและ น้อยที่สุด - แบบสอบถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามเขียนข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะอื่นๆ 3. การวิเคราะห์ข้อมูล - วิเคราะห์ข้อมูลตามประชากรศาสตร์ - วิเคราะห์ระดับความคิดเห็น - วิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐาน
9
สรุปผลการวิจัย 1. ทักษะด้านภาษา 2. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. ทักษะด้านภาษา ผลวิจัยพบว่า ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตระหนักในการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และมีการเตรียมความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่ ASEAN 2. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค้นคว้า ข้อมูลข่าวสารจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสำคัญ และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพรองรับประชาคมอาเซียน 3. การเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการนำความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ ของประชาคมอาเซียน เข้ามาสอดแทรกในการจัดการเรียนการสอน เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการศึกษา และเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมอาเซียน
10
สรุปผลการวิจัย 4. การพัฒนาบุคลากร 5. คุณภาพสื่อการเรียนการสอน
ผลการวิจัยพบว่า โอกาสในการศึกษาดูงาน หรือการสนับสนุนในการศึกษาต่อ ยังคงมีน้อย และอยู่ในกลุ่มของผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่ 5. คุณภาพสื่อการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า สื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและทันสมัยมีความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อหา ทักษะ และนำไปสู่จุดหมายของหลักสูตรได้เป็นอย่างดี 6. การจัดสภาพแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า การจัดสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก วิทยาลัย เป็นการส่งเสริมให้วิทยาลัยมีความโดดเด่น และเพิ่มบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.