งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทิศทางและกลยุทธ์ของการอุดมศึกษาไทย เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทิศทางและกลยุทธ์ของการอุดมศึกษาไทย เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทิศทางและกลยุทธ์ของการอุดมศึกษาไทย เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

2 เค้าโครงการนำเสนอ การศึกษาในอาเซียน: ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา
อาเซียน: การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 การศึกษาในอาเซียน: ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา อุดมศึกษาไทย: ทิศทางและกลยุทธ์ ภาพอนาคต: ความพร้อมของอุดมศึกษาไทย

3 อาเซียน: การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
ความเป็นมา สมาชิกผู้ก่อตั้ง ปี 2510: อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย สมาชิกเพิ่มเติม ปี 2527: บรูไน ดารุสซาลาม ปี 2538: เวียดนาม ปี 2540: ลาว พม่า ปี 2542: กัมพูชา

4 อาเซียน: การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
วัตถุประสงค์ของอาเซียน ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก ธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง เสริมสร้างเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาชน พัฒนาสังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมความร่วมมือกับภายนอกและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ

5 อาเซียน: การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
หลักการพื้นฐานของอาเซียน การตัดสินใจ โดยหลักฉันทามติ (Consensus) การไม่แทรกแซง ในกิจการภายใน ของกันและกัน (Non-Interference) การร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน (Prosperity)

6 อาเซียน: การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
ภาพรวมอาเซียน (2008) อาเซียน พื้นที่ ล้าน ตร.กม. ประชากร ล้านคน GDP รวม 1.50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ: ASEAN6 (91.1%) CLMV (8.9%) มูลค่าการค้า (ภายในอาเซียน) 458 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าสำคัญของอาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(EU25) จีน อเมริกา การท่องเที่ยว 65.4 ล้านนักท่องเที่ยวในอาเซียน: อาเซียน (46.3%) ยุโรป (12.6%) จีน (6.8%) ญี่ปุ่น (5.5% ) และอื่นๆ Source: ASEANstats, ASEAN Secretariat

7 อาเซียน: การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2020 AS EA N Vi si on วงสมานฉันท์ แห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (A Concert of Southeast Asian Nations) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต (A Partnership in Dynamic Development) ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน (A Community of Caring and Sharing Societies) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก (An Outward-Looking ASEAN)

8 อาเซียน: การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
ข้อตกลงร่วม 9th ASEAN Summit ประกาศการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2020 ที่ประกอบด้วย สามเสาหลักได้แก่ APSC, AEC และ ASCC 12th ASEAN Summit เลื่อนเวลา การรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียนเร็วขึ้นเป็นภายในปี 2015 13th ASEAN Summit รับรองกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) รับรอง AEC Blueprint 14th ASEAN Summit รับรอง APSC Blueprint รับรอง ASCC Blueprint Bali Concord II Cebu Declaration AEC Blueprint APSC Blueprint ASCC Blueprint

9 อาเซียน: การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน การพัฒนาทางด้านการเมือง เช่น ส่งเสริมประชาธิปไตย การสร้างบรรทัดฐานร่วมกันในด้านต่างๆ เช่น ไม่สะสมอาวุธ ไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างความเชื่อใจ การแก้ไขปัญหาภายในโดยสันติ การสร้างสันติภาพและการป้องกันข้อพิพาท ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างของการพัฒนา

10 การศึกษาในอาเซียน: ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา
กลไกด้านการศึกษาในอาเซียน ASEAN+3 Summit ASEAN Summit ASEAN+3 Education Ministers Meeting (ASED+3) ASEAN Education Ministers Meeting (ASED) Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO) AUN SEAMEO RIHED ASEAN+3 Senior Officials Meeting on Education (SOM-ED+3) ASEAN Senior Officials Meeting on Education (SOM-ED)

11 การศึกษาในอาเซียน: ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา
หน่วยขับเคลื่อนด้านการศึกษา คณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน 26 มหาวิทยาลัยสมาชิกจากสิบประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ASEAN คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ผู้แทนระดับสูงด้านอุดมศึกษาจากสิบประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น SEAMES, ASAIHL, UNESCO Bangkok SEAMEO

12 การศึกษาในอาเซียน: ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา
กิจกรรมความร่วมมือ AUN การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ (ทุนศึกษาระยะสั้น-ระยะยาว ระดับป.โท-เอก) การแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรม (ASEAN Youth Cultural Forum / AUN Education Forum and Young Speakers Contests) การจัดอบรม (Training Series on Quality Assurance) การร่วมวางระบบและเครื่องมือด้านการอุดมศึกษา (AUN Quality Assurance / ASEAN Credit Transfer System) การพัฒนาหลักสูตร (ASEAN Studies Programme) การจัดประชุมและสัมมนาวิชาการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น (AUN Rectors’ Meeting / ASEAN-China Rectors’ Conference) SEAMEO RIHED กระบวนการบูรณาการการอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ -การพัฒนาระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA Credit Transfer System) -การจัดตั้งเครือข่ายของหน่วยงานการประกันคุณภาพการศึกษาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ -การประชุมผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบเรื่องการอุดมศึกษาของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ -การศึกษาวิจัยเรื่องระบบการประกันคุณภาพอุดมศึกษาของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การบริหารจัดการและการกำกับนโยบายอุดมศึกษา -การประชุมปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชีย -การศึกษาดูงานในด้านการกำกับนโยบายมหาวิทยาลัย ณ สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก

13 การศึกษาในอาเซียน: ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา
บทบาทของการศึกษาในประชาคมอาเซียน To develop human resources through closer cooperation in education and life-long learning, and in science and technology, for the empowerment of the peoples of ASEAN and for the strengthening of the ASEAN Community. ASEAN Charter: Article 1, No. 10 Strengthen the role of education in building the ASEAN Community by 2015 Forge a common identity and building a caring and sharing society which is inclusive and where the well-being, livelihood, and welfare of the peoples are enhanced Declaration on Strengthening Cooperation on Education

14 การศึกษาในอาเซียน: ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา
บทบาทของการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ หัวหิน เสาการเมืองและความมั่นคง สร้างความเข้าใจและความตระหนักเรื่องกฎบัตรอาเซียนผ่านหลักสูตรอาเซียนศึกษาและการแปลเป็นภาษาต่างๆ ในอาเซียน เน้นหลักประชาธิปไตย เคารพสิทธิมนุษยชน และสันติภาพในหลักสูตรโรงเรียน สนับสนุนให้เกิดความเข้าใจและความตระหนักในความหลากหลายในอาเซียน จัดให้มีการประชุมร่วมของผู้บริหาร/ผู้นำโรงเรียน เสาเศรษฐกิจ พัฒนาทักษะฝีมือภายในประเทศ พัฒนาระบบข้อมูลด้านการศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยนในอาเซียน สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในอาเซียน พัฒนามาตรฐานด้านอาชีพ ผลักดันให้มีการพัฒนามาตรฐานทักษะร่วมกันของอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษา เสาสังคมและวัฒนธรรม พัฒนาเนื้อหาร่วมด้านอาเซียน  จัดทำหลักสูตรด้านศิลปะและวัฒนธรรมของอาเซียน เสนอให้ภาษาในอาเซียนเป็นวิชาเลือก  ส่งเสริมโครงการระดับภูมิภาค สนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพในชุมชน  ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดให้มีการประชุมวิจัยด้านการศึกษาของอาเซียน  จัดกิจกรรมวันอาเซียน ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันและความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

15 อุดมศึกษาไทย: ทิศทางและกลยุทธ์
กรอบนโยบายด้านการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักของทุกระดับสูงกว่าร้อยละ 55 เพิ่มกำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 10 คนต่อประชากร 10,000 คน แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ ) รอยต่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา การแก้ปัญหาอุดมศึกษาในปัจจุบัน ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การเงินอุดมศึกษา  การพัฒนบุคลากรในอุดมศึกษา เครือข่ายอุดมศึกษา การพัฒนาอุดมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภายใต้ โครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ นโยบายของรัฐบาล ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ ปรับปรุงระบบกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการ นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมทางการศึกษา เรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ จัดตั้งโรงเรียนดีประจำตำบล พัฒนาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก (กศน.ตำบล) พัฒนาคุณภาพครูผ่านโครงการ Teacher channel สร้างขวัญและกำลังใจครู สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

16 อุดมศึกษาไทย: ทิศทางและกลยุทธ์
ความท้าทายต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ประชาคมอาเซียน การเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเสรี การยอมรับในมาตรฐานการศึกษาและปริญญาร่วมกัน การยอมรับคุณสมบัติของบริการวิชาชีพร่วมกัน การให้บริการการศึกษาโดยเสรี การศึกษาข้ามพรมแดน คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระดับนานาชาติ

17 อุดมศึกษาไทย: ทิศทางและกลยุทธ์
สภาพปัจจุบันที่มีผลต่ออุดมศึกษาไทย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มองโลกในลักษณะที่เป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงกับกระแสโลก เน้นการกระทำที่พอประมาณบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ประชากรมีอายุยืนยาว อัตราการเป็นภาระของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เร่งใช้ประโยชน์จากวัยแรงงานในการเร่งพัฒนาด้านต่างๆ การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ความพยายามในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือและขณะเดียวกันยังมีการแข่งขันระหว่างกันในกลุ่มอาเซียน เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน และต้องปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความรวดเร็วของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้จากทั่วโลก ส่งผลให้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีในการสร้างโอกาสและการเข้าถึงบริการทางการศึกษา

18 อุดมศึกษาไทย: ทิศทางและกลยุทธ์
สภาพปัจจุบันที่มีผลต่ออุดมศึกษาไทย (ต่อ) ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ และ มีการแข่งขันสูง สร้างคนให้ตรงกับความต้องการของภาคการจ้างงานและมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากล วิกฤติทางการเมือง ของประเทศไทย การแบ่งขั้วทางการเมืองที่ชัดเจนภายใต้ทัศนคติที่แตกต่างกันสุดขั้วและไม่มีจุดยืนตรงกลาง ใช้ระบบการศึกษาสร้างปัญญาให้แก่ประชาชน บนพื้นฐานเคารพกติกาของสังคม เคารพผู้อื่น และเคารพหลักการของการปกครอง พลังงานและสิ่งแวดล้อม อัตราการใช้พลังงานของโลกในภาพรวมจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะโลกร้อนและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมากขึ้น สร้างความตระหนักและตื่นตัวในเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นฐานความรู้ในการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน

19 ภาพอนาคต: ความพร้อมของอุดมศึกษาไทย
วิกฤติและโอกาสของการศึกษาไทย วิกฤติ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยต่างชาติมาตั้ง วิทยาเขตในประเทศสมาชิกอาเซียน การแข่งขันในการจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น ประเทศสมาชิกอาเซียนยังไม่มีระบบการถ่ายโอนหน่วยกิต และการรับรองคุณวุฒิระหว่างกัน การเคลื่อนย้ายคนโดยเสรีอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค การเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ยาเสพติดและอาชญากรข้ามชาติเข้าสู่ประเทศไทย โอกาส ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ โดยเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศนอกกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของหน่วยงานระหว่างประเทศด้านการศึกษาในระดับภูมิภาคหลายองค์การ ประเทศไทยมีนโยบายที่ชัดเจนในการเป็น ศูนย์การศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โอกาสในการรับนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้น

20 ภาพอนาคต: ความพร้อมของอุดมศึกษาไทย
บทบาทภาคอุดมศึกษา ระดับ ภูมิภาค การทำ Mutual Recognition Arrangement (MRA) การพัฒนาระบบ การถ่ายโอนหน่วยกิต และการประกันคุณภาพในภูมิภาค ระดับ ประเทศ การเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษา การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ระดับกระทรวง มาตรฐานอุดมศึกษา การส่งเสริมการเคลื่อน ย้าย นศ./อจ./นักวิจัย การแลกเปลี่ยน การเยือน ระดับ สถาบัน การพัฒนาหลักสูตร ให้มีความเป็นสากล การพัฒนาบุคลากร ศักยภาพการวิจัยและการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก

21 ภาพอนาคต: ความพร้อมของอุดมศึกษาไทย
กิจกรรมสนับสนุนการเป็นประชาคมอาเซียน การจัดทำยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อม สู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 การแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซีย-ไทย (โครงการนำร่อง) การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ สกอ. และหน่วยงานที่รับผิดชอบการอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน การประชุมเตรียมความพร้อมอุดมศึกษาไทยเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนและการเปิดเสรีการค้าบริการด้านอุดมศึกษาในปี พ.ศ. 2558

22 Terima Kasih (Brunei, Indonesia, Malaysia, Singapore) Kop jai (Laos)
Source: ASEAN Secretariat ( ASEAN University Network ( SEAMEO RIHED ( Office of the Higher Education Commission ( ( Terima Kasih (Brunei, Indonesia, Malaysia, Singapore) Kop jai (Laos) Salamat Po (Philippines) Or kun (Cambodia) Jae zu tin bar tae (Myanmar) Cam On (Viet Nam) Kop Khun (Thailand)


ดาวน์โหลด ppt ทิศทางและกลยุทธ์ของการอุดมศึกษาไทย เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google