ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNuntida Kunchai ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
กระบวนการจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน (นายสมชาย อนันต์สุวรรณชัย)
กระบวนการจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน (นายสมชาย อนันต์สุวรรณชัย) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพระยืน สำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่น v Full
2
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ วันการศึกษานอกโรงเรียน เริ่มจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากนานาชาติว่าด้วยการไม่รู้หนังสือ เมื่อปี พ.ศ (ค.ศ. 1965) ดังกล่าวนี้ทำให้ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กำหนดวันที่ 8 กันยายน ของทุกปีเป็นวัน International Literacy Day
3
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ ประเทศไทยได้เริ่มจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อการรณรงค์และระลึกถึงการรู้หนังสือมาตั้งแต่ พ.ศ และกระทั่ง พ.ศ ได้จัดนิทรรศการ “วันการศึกษานอกโรงเรียน” โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือ
4
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ ภารกิจการการส่งเสริมรู้หนังสือ ซึ่งเป็นหนึ่งงานหลักของ กศน. ที่ได้เริ่มดำเนินการมา ตั้งแต่ก่อนเป็นกรมการศึกษานอกโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน ภารกิจการรู้หนังสือของ กศน. ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
5
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ - ส่งเสริมการรู้หนังสือสำหรับชาวไทยในเขตภูเขา - ส่งเสริมการรู้หนังสือไทยสำหรับกลุ่มแรงงาน
6
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ
กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน การส่งเสริมการรู้หนังสือ เทคนิคการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ 5 ขั้นตอน คือ 1. สอนการฟังก่อน 2. สอนฝึกหัดพูด 3. สอนให้หัดอ่าน 4. ฝึกเขียน 5. ฝึกคิดและวิเคราะห์
7
ภาพกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ กศน.อำเภอพระยืน
8
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การฝึกอบรมอาชีพ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การฝึกอบรมอาชีพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน 1. สาระสำคัญ 2. นโยบาย 3. เป้าหมายสาธารณะ 4. แนวทางและมาตรการ 5. ตัวชี้วัด
9
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การฝึกอบรมอาชีพ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การฝึกอบรมอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ 1. สาระสำคัญ 2. นโยบาย 3. เป้าหมายสาธารณะ 4. แนวทางและมาตรการ 5. ตัวชี้วัด
10
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การฝึกอบรมอาชีพ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การฝึกอบรมอาชีพ การฝึกอบรมอาชีพ ยกตัวอย่าง เรื่อง การทำลูกประคบ การทำลูกประคบสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรหลายๆ อย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำมานึ่งให้ร้อนประคบบริเวณปวดหรือเคล็ดขัดยอก อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตได้ดีเยี่ยม ด้วยศาสตร์แห่งการคิดค้นที่สามารถนำสาระสำคัญในสมุนไพรมาช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อีกด้วย ประโยชน์ของลูกประคบโดยรวมก็ ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัด ยอก และลดปวดได้
11
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การฝึกอบรมอาชีพ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การฝึกอบรมอาชีพ ประโยชน์ของการประคบ (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน) บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง ชั่วโมง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดอาการปวด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
12
โครงการวิชาชีพนวดแผนไทย กศน.ตำบลพระบุ
โครงการวิชาชีพนวดแผนไทย กศน.ตำบลพระบุ
13
โครงการวิชาชีพสมุนไพรลูกประคบ กศน.ตำบลพระยืน
โครงการวิชาชีพสมุนไพรลูกประคบ กศน.ตำบลพระยืน
14
โครงการ ฝึกอบรมอาชีพการทอผ้าไหมพื้นบ้าน กศน.ตำบลขามป้อม
15
โครงการ จักรเย็บเสื่อ
กศน.ตำบลบ้านโต้น
16
โครงการ เตาประหยัดพลังงานแก๊สชีวมวล
กศน.ตำบลพระบุ
17
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการศึกษาตามอัธยาศัย
สาระสำคัญสำหรับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ • การมีวิสัยทัศน์ • การคิดเชิงวิจารณญาณและการคิดใคร่ครวญ • การคิดอย่างเป็นระบบ • การสร้างคู่พันธมิตรหรือหุ้นส่วน • การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
18
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการศึกษาตามอัธยาศัย
“การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง วิธีการที่หลาก หลายที่นำไปสู่การเรียนรู้ อาจเกิดขึ้นโดยการถูกผลักดันให้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการสนทนา เกี่ยวข้องกับการ สำรวจ และขยายประสบการณ์ โดยไม่อาจทำนายล่วงหน้าได้ เป็นสิ่งที่บังเอิญเกิดขึ้น
19
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการศึกษาตามอัธยาศัย
การเรียนรู้ตามอัธยาศัย มี 3 ชนิด คือ 1. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 2. การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ 3. การเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
20
การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการเรียน
การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน 1. ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ 2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น 3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
21
การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการเรียน
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ 5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ 6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
22
การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการเรียน
ครูผู้สอน : WHERE : การออกแบบการเรียนรู้ W : Where are we heading? เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน H : Hook the student through provocative entry points ออกแบบการเรียนรู้ให้ น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ E : Explore and Enable การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้ R : Reflection and Rethink การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ E : Exhibit and Evaluate การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน เน้นสภาพความเป็นจริง
23
การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการเรียน
ครูผู้สอน : มิติการคิด : นักประเมินผลและนักออกแบบกิจกรรม การคิดอย่างนักประเมินผล การคิดอย่างนักออกแบกิจกรรม อะไรคือหลักฐานการเรียนรู้ที่เพียงพอและชัดเจน กิจกรรมอะไรทำให้ผู้เรียนเข้าใจและติดตาม อะไรคือจุดเน้นของการเรียนการสอน จะใช้สื่ออุปกรณ์ชนิดใดสำหรับหัวข้อนี้ อะไรคือจุดจำแนกผู้เรียนที่รู้และไม่รู้ จะกำหนดกิจกรรมและโครงการอย่างไร อะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินงาน จะให้คะแนนและชี้แจงประเมินผลอย่างไร จะตรวจสอบความเข้าใจผิดของผู้เรียนได้อย่างไร กิจกรรมที่ไม่ได้ผล เป็นเพราะอะไร
24
การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการเรียน
การออกแบบสื่อการเรียนรู้ การออกแบบสื่อการเรียนรู้ ( Material Design ) สิ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จัดหา จัดเตรียม และเลือกใช้ประกอบ การเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงหลักการ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้ ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม สภาพการเรียน ทรัพยากรต่าง ๆ
25
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
การออกแบบสื่อการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ หมายถึง กลุ่มของสาระการเรียนรู้หรือองค์ความรู้ที่มีลักษณะเดียวกันหรือสัมพันธ์กันนำมารวมกันเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สมรรถนะสำคัญทั้ง 5 ประการ คือ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
26
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์อีก 8 ประการ คือ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิตสาธารณะ
27
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
การออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยให้การจัดการเรียนการสอนของครูมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ให้บรรลุมาตรฐาน/ตัวชี้วัดได้ มีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักฐาน/ร่องรอยการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
28
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
หลักสำคัญในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนพึงคำนึง คือ 1. เป็นกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหน่วยการ เรียนรู้ 2. เป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การสร้างชิ้นงาน/ภารงาน ที่แสดงถึงการบรรลุมาตรฐาน และตัวชี้วัดของผู้เรียน 3. สอดคล้องกับความสามารถและธรรมชาติของผู้เรียนเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล หรือนักเรียนพิเศษ 4. เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบและจัดกิจกรรม 5. กิจกรรมควรมีความหลากหลาย เหมาะสมกับนักเรียนและเนื้อหาสาระ
29
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
หลักสำคัญในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนพึงคำนึง คือ 6. มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ 7. ควรจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงไปสู่ชีวิตจริง/ ท้องถิ่น 8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง 9. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าสู่แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียน 10. ใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นการเรียนรู้ให้กับนักเรียน 11. การสรุปความรู้ สร้างความรู้และขยายความรู้ได้ด้วยตนเอง
30
แผนการสอนแบบบูรณาการ
บูรณาการ หมายถึง การนำศาสตร์หรือความรู้วิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันนำมาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืนเพื่อนำมาจัดเป็นการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกันเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีการเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชาและเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนที่มากกว่าการให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนด
31
แผนการสอนแบบบูรณาการ
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ 1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้กระบวนการและการปฏิบัติ 2. เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน 3. เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง 4. เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ 5. เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของ วิชาต่างๆเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
32
แผนการสอนแบบบูรณาการ
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอนของครูผู้สอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (การเขียนแผนแบบบูรณาการมีมากกว่านี้ตามความเหมาะสม) ดังนี้ (1) การบูรณาการภายในวิชา มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจนำวิชาต่างๆที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น (2) การบูรณาการระหว่างวิชา มีจุดเน้นอยู่ที่การนำวิชาอื่นเข้าเชื่อมโยงด้วยกันตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไปโดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถนำเข้ามาบูรณาการด้วย กันได้ไม่จำเป็นว่าต้องทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์เข้าด้วยกันหรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้
33
แผนการสอนแบบบูรณาการ
การวางแผนการจัดทำแผนแบบบูรณาการ การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการเป็นการนำวิชาหรือสาระการเรียนรู้ต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกันซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างหัวข้อเรื่องที่มีความสอดคล้องกับวิชานั้น ๆ เข้าด้วยกัน
34
แผนการสอนแบบบูรณาการ
ประโยชน์ของการบูรณาการ 1. เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่างๆเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน 2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้งและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง 3. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม 4. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ความเข้าใจจากสิ่งต่างๆที่มีอยู่รอบตัว 5. เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกันหรือประสานงานร่วมกันอย่างมี ความสุข 6. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้
35
การสอนแบบบูรณาการ
36
วิธีการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนชุมชน
วิธีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากวิทยากร สื่อ หรือการปฏิบัติโดยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนี้ การเรียนรู้รายบุคคล การเรียนรู้รายกลุ่ม การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ การเรียนรู้ในสถานประกอบการ การเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ การศึกษาทางไกล
37
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
38
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
39
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ICT
40
สำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.