ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThuanthong Kwaigno ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การพัฒนาบทเรียน e-Learning เรื่อง การสร้าง weblog สำหรับนักเรียน
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practices ) การพัฒนาบทเรียน e-Learning เรื่อง การสร้าง weblog สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นางประใพวรรณ สมจันทร์ ครูพิเศษ โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
2
๑.ความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมทีนำเสนอ
รายวิชา โครงงานคอมพิวเตอร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรียน 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จึงสร้างบทเรียน e-Learning ขึ้นด้วย weblog
3
๑.ความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมที่นำเสนอ (ต่อ)
เป็นการขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหา องค์ความรู้ ให้แก่นักเรียนมากขึ้น เป็นการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้พร้อมกับโลกยุคปัจจุบัน ทำให้บทเรียนเป็นสื่อในการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4
1. เพื่อพัฒนาบทเรียน e-Learning ฯ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
๒. จุดประสงค์และเป้าหมาย จุดประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาบทเรียน e-Learning ฯ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียน e-Learning ฯ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6ที่มีต่อคุณภาพบทเรียน e-Learning ฯ
5
๒. จุดประสงค์และเป้าหมาย (ต่อ)
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน ภาคเรียนที่ 2/2557 โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน คน ซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
6
๓. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
พัฒนาตามกระบวนการการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน e-Learning ของถนอมพร เหลาจรัสแสง ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมตัว การศึกษาหลักการพัฒนาบทเรียน e-Learning และศึกษาโปรแกรมที่ใช้ ขั้นตอนที่ 2 การเลือกเนื้อหา บทเรียน e-Learning ประกอบด้วย 6 หน่วยการเรียน โดยใช้เวลาในการศึกษาจำนวน 20 ชั่วโมง
7
ขั้นที่ 4 การออกแบบหลักสูตร 1. กำหนดผลการเรียนรู้
๓. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน (ต่อ) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการวิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์สาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช และสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขั้นที่ 4 การออกแบบหลักสูตร 1. กำหนดผลการเรียนรู้ 2. กำหนดวิธีการวัดผล จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3. การทบทวนทรัพยากร 4. การออกแบบบทเรียน e-Learning
8
๓. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน(ต่อ)
ขั้นที่ 5 ขั้นการพัฒนาการเรียนการสอน 5.1 บทเรียน e-Learning 5.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.3 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน e-Learning ขั้นตอนที่ 6 ขั้นการประเมินผล ขั้นตอนที่ 7 ขั้นการบำรุงรักษา
9
๔.ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการดำเนินงาน 1. คุณภาพบทเรียน e-Learning ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 2. ประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning พบว่า คะแนนระหว่างเรียน (E1) และคะแนนหลังเรียน (E2) คือ 83.74/86.94 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4. นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26) และ S.D. มีค่าเท่ากับ 0.71
10
๔.ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ (ต่อ)
1. ได้บทเรียน e-Learning เรื่อง การสร้าง weblog สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียน e-Learning หรือบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรายวิชาอื่น ๆ หรือในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
11
๕. ปัจจัยความสำเร็จ 1. ผู้บริหาร คณะครูให้การสนับสนุนทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ สื่อและการนิเทศ ติดตามประเมินผลที่ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 2. โรงเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและจำนวนที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้ความร่วมมือ มีความตั้งใจในการเรียน ปฏิบัติและส่งผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย 4. ผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย มีความรู้ความสามารถและมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างเป็นขั้นตอนและรอบคอบ
12
๖. บทเรียนที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ 1) ควรศึกษาเนื้อหาบทเรียนในหน่วยการเรียนอื่น ๆ ที่ยากขึ้นไปอีก เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้นไป 2) ในการพัฒนาบทเรียน e-Learning ครั้งต่อไปควรมีการศึกษารูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาสื่อบทเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3) สถานศึกษาควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
13
๖. บทเรียนที่ได้รับ (ต่อ)
ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่พบจากการศึกษามีความแตกต่างกัน ควรสร้างบทเรียน e-Learning ตามความสามารถทางด้านสติปัญญาของนักเรียน 2) ควรพัฒนาบทเรียน e-Learning ร่วมกับสื่อสังคม (Social Media) ผสมผสานร่วมกัน
14
๗.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
1. การเผยแพร่แบบออนไลน์ (online) 2. การเผยแพร่แบบออฟไลน์ (offline) 3. การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (บทคัดย่อ) 4. รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Text Editor ม.4-ม.6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ประจำปีการศึกษา 2557 ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 กลุ่ม 1สหวิทยาเขต 1-4
15
ท่านคณะกรรมการทุกท่าน
Q & A ขอขอบคุณ ท่านคณะกรรมการทุกท่าน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.