ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นายแมนรัชต์ สุทธิชัยโชติ ม.6/1 นายนิพนธ์ เลิศหิรัญวงศ์ ม.6/2 ว.1
2
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
บทนำ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษจากของเสีย บรรณานุกรม
3
บทนำ บทนำ | สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม พิษ (toxic) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ พืช และสัตว์ จนทำให้สุขภาพและพลานามัยเสื่อมลงไม่สามารถมีชีวิตอย่างผาสุขหรือเจริญเติบโตได้ไม่ปกติตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่เป็นโทษเป็นอันตรายหรือให้ความเดือดร้อนแก่ร่างกาย และจิตใจ มลพิษ หรือ มลภาวะ (pollution) หมายถึง ของเสีย วัตถุอันตรายและมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษหรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้และให้หมายความรวมถึง รังสี ความร้อน แสง กลิ่น เสียงและความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษ มลสาร (Pollutants)หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ปนเปื้อนเข้าสู่ สิ่งแวดล้อมแล้วเป็นเหตุทำให้คุณสมบัติของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จนกลายเป็นมลพิษหรือมลภาวะได้ ภาวะมลพิษ (pollution situation) หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือปนเปื้อนโดยมลพิษ ซึ่งทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และมลพิษดิน มลพิษสิ่งแวดล้อม (environmental pollution) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ทำให้สุขภาพทางร่างกาย จิตใจ และสังคมเลวลง เกิดการเจ็บป่วย ไม่มีเรี่ยวแรง เกิดความไม่พึงพอใจ สั่นหลง และความหวาดหวั่น วิตก กังวล หรือไม่มีความปลอดภัย ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ หรือโดยทางอ้อมก็ได้ เช่น ผ่านทางน้ำอุปโภคบริโภค ผลิตผลทางเกษตร และผลิตผลทางอุตสาหกรรม
4
มลสารมลพิษทางน้ำ (water pollutants)
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม มลสารมลพิษทางน้ำ (water pollutants) สารมลพิษทางน้ำหมายถึงสิ่งที่เจือปนในน้ำที่เกิดจาก กิจกรรมของมนุษย์ทั้งในด้านอุปโภคบริโภค สารมลพิษจากการขนส่ง การเกษตรอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้าสารพิษที่เจือปนในน้ำที่ทั้งชนิดที่ไม่สลายตัว (non-degradable pollutants) เช่น ดีดีที ปรอท แคดเมียม และตะกั่ว เป็นต้น และสารพิษที่สลายตัวได้ด้วยวิธีการทางชีววิทยา (biodegradable pollutants) เช่น ขยะสด (gabage) น้ำทิ้งจากครัวเรือน เป็นต้น มลสารมลพิษทางน้ำแบ่งออกได้หลายชนิดคือ สารแขวนลอย (suspended solids) ได้แก่ สารที่ไม่ละลายน้ำอยู่ในรูปของแข็ง เช่น อนุภาคดิน น้ำมัน แป้ง เป็นต้น สารพวกนี้ทำให้น้ำมีสีและขุ่น ในน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม จะมีสารพิษประเภทนี้อยู่มาก สารมีพิษ (toxic agents) หมายถึง สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารประกอบอินทรีย์บางชนิด เช่น ไซยาไนด์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น สารเหล่านี้กำจัดออกได้ยากจึงไม่ควรให้มีการล้างหรือละลายสารเหล่านี้ลงในน้ำมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
5
มลพิษทางน้ำ มลพิษทางน้ำ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม สารอินทรีย์ที่ถูกออกซิไดซ์ได้ทางชีววิทยา (biologically oxidizable organic substances) ได้แก่ สารอินทรีย์ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ เช่น แป้ง น้ำตาล โปรตีน เป็นต้น สามารถกำจัดได้ โดยให้เกิดการย่อยสลายด้วย จุลินทรีย์ในน้ำ สารอินทรีย์ที่ถูกออกซิไดส์ยากหรือออกซิไดส์ไม่ได้ทางชีววิทยา (non-biodegradable organic substances) เช่น ผงซักฟอก ยาฆ่าแมลงบางชนิดและพวกอะโรแมติก (aromatic hydrocarbons) สารเหล่านี้จุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ สารประกอบไนโตรเจน และฟอสฟอรัส (nitrogen and phosphorous compounds) สารที่มีสารประกอบไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะยูโทรฟิเคชัน (eutrophication) คือ ภาวะที่ลำน้ำอุดมด้วยแร่ธาตุอาหารพืชมาก ทำให้สาหร่ายเซลเดียวเจริญมากเกินไป (algae bloom) ถือเป็นมลพิษทางน้ำอย่างหนึ่ง น้ำมันและสิ่งสกปรกลอย (oil and floating materials) ได้แก่ น้ำมันที่อยู่ในน้ำซึ่งมีทั้งส่วนที่ละลายน้ำและคราบน้ำมันที่ปกคลุมผิวน้ำ รวมทั้งสิ่งสกปรกลอยน้ำ เช่น ขยะมูลฝอย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
6
แหล่งกำเนิดมลสารมลพิษทางน้ำ (source of water pollution)
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม แหล่งกำเนิดมลสารมลพิษทางน้ำ (source of water pollution) น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม (industrial wastewater) โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เป็นแหล่งที่ปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำและทำให้เกิดปัญหามลพิษขึ้นหลายแห่งทั่วโลก อาทิ น้ำหล่อเย็น (cooling water) ซึ่งเป็นน้ำทิ้งจากการระบายความร้อนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยปกติน้ำประเภทนี้ไม่ค่อยมีสิ่งเจือปนมากนัก แต่มีอุณหภูมิตั้งแต่ องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าอุณหภูมิขณะนี้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม น้ำล้าง (wash water) เป็นน้ำทิ้งที่เกิดจากขบวนการล้างวัตถุดิบต่าง ๆ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ และทำความสะอาดโรงงาน เป็นต้น นับเป็นน้ำทิ้งที่มีสารเจือปนมาก เช่น พวกสารอินทรีย์ สารเคมี สารแขวนลอย และสารที่จมน้ำได้ น้ำทิ้งจากขบวนการผลิต (process wastewater) เป็นน้ำที่ใช้ในขบวนการผลิตและน้ำในขบวนการนี้จะกลายเป็นน้ำทิ้งเกือบทั้งหมด และปริมาณที่ใช้ในขบวนการผลิตของแต่ละโรงงานไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของโรงงาน น้ำทิ้งจากขบวนการนี้ส่วนใหญ่จะมีความสกปรกมากและสุดท้าย คือ น้ำทิ้งจากกิจกรรมอื่น ๆ (miscellancous wastewater) เช่น น้ำจากเครื่องควบแน่น (condenser water) น้ำทิ้งจากหม้อน้ำ (boiler blowdown) เป็นต้น ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ น้ำจากเครื่องควบแน่นซึ่งมีปริมาณมาก อุณหภูมิสูงและมีสิ่งสกปรกละลายปนอยู่ด้วย
7
มลพิษทางน้ำ มลพิษทางน้ำ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ปริมาณน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อการเกิดมลพิษจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และขบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำทิ้งมาก ได้แก่ โรงงานกระดาษ โรงงานน้ำตาล โรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบหรือทะเลมหาสมุทร ปริมาณน้ำทิ้งยิ่งมากก็มีโอกาสที่จะทำให้แหล่งน้ำเกิดภาวะมลพิษมากขึ้น น้ำทิ้งจากชุมชน (domestic wastewater) น้ำทิ้งหรือน้ำโสโครก มักจะเกิดจากสารซักล้างในบ้านเรือนเช่นสบู่ ผงซักฟอก ก. น้ำทิ้งจากบ้านเรือน (Sanitary wastewater) เป็นน้ำโสโครกที่ปล่อยออกจากบ้านเรือน รวมทั้งน้ำจากห้องน้ำ ห้องครัว และห้องซักเสื้อผ้า ข. น้ำทิ้งจากชุมชน คือน้ำโสโครกที่ถูกปล่อยออกมาจากชุมชน ซึ่งรวมถึงน้ำทิ้งของ บ้านเรือน ตลาด และโรงพยาบาล
8
ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ เมื่อน้ำในแหล่งน้ำต่างๆเสื่อมคุณภาพอันเนื่องมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ดังกล่าวก่อให้เกิดการปนเปื้อนสารมลพิษส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งทางด้านการเกษตรกรรม การสาธารณสุข การอุตสาหกรรม การผลิตน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และการคมนาคม กล่าวคือ ผลกระทบต่อการสาธารณสุข น้ำเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ คือโรคระบาดหลายชนิด เช่น อหิวาต์ ไข้ไทฟอยด์ โรคบิด ซึ่งเกิดจากน้ำสกปรกเป็นพาหะ แต่ถ้าเป็นน้ำเน่าเสียในแม่น้ำ ลำคลองก็จะส่งกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเป็นการบั่นทอนสุขภาพของประชาชนผู้อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ ลำคลอง และผู้สัญจรไปมา ส่วนน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารพิษเจือปน จะก่อให้เกิดโรคร้ายแรง ทำลายสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น โรคมินามาตะที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเกิดจากคนที่กินปลาที่มีสารปรอทสูงจับได้จากอ่าวมินามาตะทำให้ ผู้ป่วยมีอาการเกี่ยวกับประสาท มือเท้าชา ถ้าเป็นมาก ๆ อาจถึงทุพพลภาพและตายได้ โรค อิไตอิไต เป็นโรคที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นเช่นกันมีสาเหตุจากการปนเปื้อนของแคดเมียมที่ปล่อยจากโรงถลุงแร่ ทองแดง ตะกั่วและสังกะสี แคดเมียมจะเป็นของเหลือทิ้งออกมาในขบวนการถลุงแร่ดังกล่าว ความเป็นพิษจะเริ่มเป็นที่ไตล้มเหลว ปวดกระดูก จนถึงกระดูกผิดปกติจะพบได้มากในหญิงที่มีบุตรแล้ว อาการของโรคที่พบได้ง่ายที่สุดคือ
9
มลพิษทางน้ำ มลพิษทางน้ำ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม จะรู้สึกเจ็บจากกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกต้นขา กระดูกสันหลัง กระดูกซีกโครง บางครั้งเรียกโรคอิไตอิไต ว่าโรค โอ้ยเจ็บ ซึ่งเป็นคำอุทานเมื่อรู้สึกเจ็บปวด ถ้าเป็นมากกระดูกจะฝ่อและ ผิดรูป ถ้าเป็นหลายปีกระดูกจะผิดรูปถึงขั้นเดินไม่ได้ แต่ไอแรง ๆ กระดูกก็หักได้ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม น้ำเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในขบวนการผลิตของอุตสาหกรรม เช่น ใช้ในการหล่อเย็น ในการล้าง ในขบวนการผลิต เป็นต้น ถ้าน้ำในแหล่งน้ำมีคุณภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ อาทิ มีความขุ่นสูง ค่าความเป็นกรด-ด่างสูงหรือต่ำเกินไป และความกระด้างสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ในขบวนการผลิตต้องมีการปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำปริมาณมากในขบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมสุรา ทอผ้า และอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ เป็นต้น บางอุตสาหกรรมต้องการน้ำที่มี คุณสมบัติเฉพาะ เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ และผลิตเส้นใย ต้องการน้ำที่มีปริมาณเหล็กและแมงกานีสต่ำมาก น้ำที่ใช้ในโรงรีดเหล็กต้องการน้ำที่มีปริมาณคลอไรด์ต่ำกว่ามาตรฐานน้ำดื่ม จึงทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพน้ำค่อนข้างสูง และยังต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอุปกรณ์และเครื่องจักรที่เสียหาย เนื่องจากการใช้น้ำที่ไม่มีคุณภาพอีกด้วย จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ชัดเจนว่าถ้าน้ำไม่มีคุณภาพที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อขบวนการผลิตและในที่สุดก็ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าราคาแพง
10
มลพิษทางน้ำ มลพิษทางน้ำ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ผลกระทบต่อการผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค น้ำที่มีคุณภาพต่ำหรือน้ำเสีย จะส่งผลกระทบต่อขบวนการผลิตน้ำประปา เพราะถ้าคุณภาพลดต่ำลงค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิตเพื่อให้น้ำมีคุณภาพเข้าเกณฑ์ มาตรฐานน้ำดื่มก็จะเพิ่มขึ้น ผลก็คือราคาค่าบริการใช้น้ำก็เพิ่มตามไปด้วย นอกจากนี้การเลือกแหล่งน้ำเพื่อการประปาก็ยิ่งยาก และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย ผลกระทบต่อการคมนาคม การที่แหล่งน้ำมีตะกอน ขยะมูลฝอย ทับถมกันมากขึ้น จะทำให้แหล่งน้ำมีสภาพตื้นเขิน ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมทางน้ำ ทำให้การคมนาคมไม่สะดวก และต้องเสียงบประมาณในการ ขุดลอกคลองสูงขึ้น ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม น้ำทิ้งที่ไม่ได้ผ่านการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร และอื่น ๆ ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างระบบบำบัดน้ำทิ้ง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรวมไปถึงเกิดทัศนียภาพที่ไม่เหมาะสมด้วยเพราะกลิ่นเหม็น น้ำมีสีดำ เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตและอนามัยของประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำเน่าเหม็นนั้นด้วย
11
มลพิษทางอากาศ (air pollution)
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม มลพิษทางอากาศ (air pollution) สภาพบรรยากาศที่มีสารปนเปื้อนในบรรยากาศ ที่มีความเข้มข้นสูงกว่าปกติ ซึ่งทำให้คุณภาพอากาศเสื่อมโทรมและเกิดผลเสียหายต่อสุขภาพอนามัยของคน สัตว์ พืช และสารปนเปื้อนต่าง ๆ นี้ ได้แก่ ธาตุหรือสารประกอบในรูปของก๊าซชนิดต่าง ๆ ฝุ่นละออง ควัน เขม่า ละอองน้ำ เถ้าถ่าน สารพิษต่าง ๆ และสารกัมมันตรังสีชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ 1. มลสารมลพิษทางอากาศ (air pollutant) สารที่ทำให้อากาศสกปรกมีคุณลักษณะทางด้านกายภาพ แตกต่างกันไปและก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศมีดังต่อไปนี้
12
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ฝุ่นละออง (dust) ฝุ่นละอองเป็นอนุภาคของแข็งขนาดเล็กซึ่งมีลักษณะคล้ายสารเดิม ส่วนมากมีขนาดที่สำคัญอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาดแรก อนุกาคขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ไมครอน เป็นพวกเกลือและอนุภาคของดินเป็นส่วนมาก เห็นได้จากการที่มีพวกอลูมิเนียม ซิลิกาและคลอรีน ตลอดจนแคลเซียมในปริมาณที่สูงกว่าธาตุอื่น อย่างเห็นได้ชัด ส่วนขนาดที่สอง มีขนาดประมาณ ไมครอน ซึ่งพบว่ามีมากเมื่อใกล้ชุมชนที่มีการจราจรคับคั่งและเขตอุตสาหกรรม ส่วนชานเมืองจะไม่ค่อยพบฝุ่นขนาดเล็กมากนัก ฝุ่นขนาดเล็กพบว่ามีซัลเฟตอยู่สูงมาก และมีเกลือแอมโมเนียมปนอยุ่ด้วย ส่วนฝุ่นขนาดเล็กที่มีเกลือแอมโมเนียมซัลเฟตและเกลือไนเตรตยังมีอยู่น้อยมาก ฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นฝุ่นที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (จากการเผาไหม้ของกำมะถันที่ปนอยู่ในเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล ถ่านหิน) ถูกออกซิไดซ์เป็นกรดซัลฟิวริกแล้วทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียในอากาศ ฝุ่นที่มีแอมโมเนียมซัลเฟตเป็นส่วนประกอบนั้นมักพบได้ในประเทศอุตสาหกรรม จากผลการศึกษาจากต่างประเทศพบว่ามีความเป็นพิษต่อปอดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากรดซัลฟิวริกเท่าใดนัก ผลต่อสุขภาพของฝุ่นขนาดเล็กเชื่อว่ามีส่วนต่อโรคภูมิแพ้ การอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบน และ การกระตุ้นอาการของโรคหอบหืดและขนาดของฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดผลต่อสุขภาพ จะมีขนาดที่เล็กกว่า 10 ไมครอน
13
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbononoxide : CO) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซพิษที่ไม่มีสี กลิ่น รสยากต่อการสังเกต ละลายน้ำได้เล็กน้อย คาร์บอนมอนอกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงในเครื่องจักรยนต์ ถึงร้อยละ 90 และอีก ร้อยละ 10 เกิดจากเผาไหม้เชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งในปี 2531 มีการระบายคาร์บอนมอนอกไซด์นสู่บรรยากาศถึง 2 ล้านตัน เกือบ ร้อยละ 90 มาจากการเผาไหม้จากยานยนต์ ก๊าซชนิดนี้เป็นมลพิษที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าฝุ่นละออง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครพบว่าบริเวณถนนหลายสายมีความเข้มข้นมากเกินกว่า มาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดขึ้นคือ 10,260 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (เฉลี่ย 8 ชั่วโมง) สาเหตุของก๊าซพิษชนิดนี้ก็คือ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันซึ่งมีการระบายก๊าซนี้มาก เมื่อรถติดหรือเร่งเครื่องออก และเมื่อแล่นด้วยความเร็วต่ำ เนื่องจากจราจร ติดขัด เป็นต้น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์บนถนนจะลอยตัวได้สูงมาก ๆ จากการตรวจวัดโดยการเก็บตัวอย่างอากาศจากระดับพื้นดินจนถึงความสูง 12 เมตร (ตึก 4 ชั้น) ที่สยามสแคว์ และถนนพระรามที่ 6 (ใกล้สี่แยกอุรุพงษ์) ผลปรากฏว่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีค่าใกล้เคียงกับทุกระดับความสูงต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลังจากปล่อยท่อไอเสียรถยนต์แล้ว ก๊าซนี้ลอยตัวผสมกับอากาศได้อย่างดีและขึ้นไปได้สูงมาก เมื่ออากาศร้อนผู้ที่อาศัยในตึกชั้น 4 หรือชั้น 5 ก็ได้รับมลพิษนี้พอ ๆ กับผู้อาศัยอยู่ชั้นล่าง โดยเฉพาะอาคารสูง ๆ ที่ขนาบถนนทั้ง 2 ข้าง ซึ่งลมจะพัดวนอยู่ภายในเช่นเดียวกับหุบเขา การยกตัวของมลพิษทางอากาศสู่ที่สูงเนื่องจากความร้อนนี้ยังพาฝุ่นละอองขึ้นไปด้วยเช่นกัน
14
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม องค์ประกอบของโฟโตเคมิคัลออกซิแดนท์ (photochemical oxidant) โฟโตเคมิคัลออกซิแดนท์ เกิดจากปฏิกิริยาเคมีในอากาศระหว่างออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) ไฮโดรคาร์บอน (HC) จากไอเสียยานพาหนะและโมเลกุลของออกซิเจนทำให้เกิดการออกซิไดซ์สารต่าง ๆ ในอากาศไปเรื่อย ๆ จนไม่สามารถจะออกซิไดซ์ต่อไปได้อีกทำให้เกิดสารประกอบต่าง ๆ ได้แก่ สารประกอบไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) โอโซน (O3) และ เพอรอกซีแอซีทิลไนเทรต (Peroxy Acelyl Nitrate (PAN) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อสุขภาพทำให้แสบตา ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจและมีอันตรายต่อวัตถุประเภทยางทำให้เสื่อมสภาพ รวมทั้งเป็นอันตรายต่อพืชบางชนิด เช่น ใบยาสูบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphurdioxide, SO2) เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (S) ปะปนอยู่เช่น ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านไม้ น้ำมันดีเซล ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ในน้ำมันดีเซล เพราะในน้ำดีเซลมีกำมะถันปะปนอยู่ร้อยละ 0.5 กำมะถันจะเกิดการทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในอากาศจะได้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศจะได้ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) และซัลเฟอร์ไตรออกไซด์รวมตัวกับน้ำ (ความชื้น) จะได้กรดซัลฟิวริก (H2SO4)
15
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ไอเสียและกลิ่น (fume and oder) ไอเสียเป็นอนุภาคของแข็งที่มีขนาดเล็ก ๆ ซึ่งรวมตัวอยู่กับไอน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ การกลั่นหรือจากการทำปฏิกิริยาของสารเคมี เช่น การเผาตะกั่ว (Pb) หรือสังกะสี (Zn) จะทำให้มีไอเสียของสังกะสี หรือตะกั่วเกิดขึ้น ซึ่งมีขนาดต่ำกว่า 1 ไมครอน ไอเสียของโลหะที่พบ ได้แก่ ออกไซด์ของ สังกะสี ทองแดง แมกนีเซียม ตะกั่ว แมงกานีส และแอมโมเนียมคลอไรด์ (ZnO, CuO, MgO, Lead, PbO, MnO และ NH4Cl) เมื่อร่างกายหายใจเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ส่วนกลิ่นนั้นไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพียงแต่ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สบาย หายใจไม่สะดวกหรือเกิดความรำคาญ เนื่องจากกลิ่นนั้น ๆ เกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ เช่น จากโรงฆ่าสัตว์ โรงงานฟอกหนัง โรงงานกำจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น ปัญหากลิ่น ถือเป็นปัญหาทางด้านการสุขาภิบาลที่จะต้องบำบัดเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
16
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ (source of air pollution)
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ (source of air pollution) แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญมี 3 กลุ่มด้วยกัน คือ มลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ เกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ จำนวนยานพาหนะมากเกินไปและยานพาหนะไม่ได้มาตรฐานของการระบายไอเสีย สาเหตุแรก เกิดจากการขาดระบบขนส่งมวลชนและสินค้าที่มี ประสิทธิภาพ ทำให้มียานพาหนะมาก และการจราจรติดขัด ส่งผลให้มลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น สาเหตุที่สอง ที่เห็นได้ชัดเจน คือยานพาหนะไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ เช่น เครื่องยนต์หลวม ไส้กรองอากาศอุดตัน ท่อไอเสียชำรุดและ ดัดแปลงเครื่องยนต์บรรทุกหนักเกินกำลัง เป็นต้น จากการติดตามตรวจสอบยานพาหนะตามท้องถนนโดยกรมควบคุม มลพิษ พบว่ารถประจำทางและรถบรรทุกมีควันดำ แม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ไม่มากเมื่อเทียบกับยานพาหนะส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นปัญหาที่ ประชาชนมองเห็นได้ชัด และทำให้มองว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐไม่ประสบความสำเร็จ การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ที่ไม่สมบูรณ์ จะทำให้ก๊าซและสารพิษที่เกิดขึ้นไปปะปนกับอากาศ ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอนุภาคเล็ก ๆ ของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ไมครอน และส่วนใหญ่เป็นตะกั่วและละอองไอ (aerosol)
17
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม มลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรม เกิดจากการระบายมลพิษทางอากาศจากขบวนการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรมและการใช้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการเผาไหม้ ถ้าหากการเผาไหม้เกิดอย่างไม่สมบูรณ์ จะมีก๊าซ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็นต้น ถ้าก๊าซต่าง ๆ เหล่านี้ถูกปล่อยออกมามีค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานจะต่อให้เกิดอันตรายต่อ สุขภาพ มลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ฝุ่นละอองจากการขนส่งวัสดุและสินค้า ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างอาคารและถนน การรื้อทำลายสิ่งก่อสร้าง การเผาไหม้กลางแจ้ง สภาพถนนที่ไม่สะอาด การกวาดถนนของพนักงานเทศบาล วัสดุก่อสร้างของถนนที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง เช่น ดินลูกรัง การขนถ่าย และระบบการจำหน่าย เชื้อเพลิง และการใช้สารเคมี เป็นต้น
18
ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ (effects of air pollution)
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ (effects of air pollution) รายละเอียดของผลกระทบจากมลพิษทางอากาศมีดังนี้ ผลกระทบต่อพืช สารมลพิษที่เป็นอันตรายต่อพืช ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพอรอกซีแอซีทิลไนเทรต และเอทิลีน สารมลพิษที่มีอันตรายรองลงมาได้แก่ คลอรีน ไฮโดรเจนคลอไรด์ แอมโมเนียและปรอท สารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ต้นไม้จะทำลายสารคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตจนกระทั่งพืชตาย ทั้งนี้จะทำให้ พืชเฉา ใบเหลือง หรือเปลี่ยนเป็นสีอื่น ๆ เนื่องจากสารมลพิษทำลายคลอโรฟิลล์ และสารบางตัวทำให้ใบเปลี่ยนสีเฉพาะ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำให้ซีด แอมโมเนียทำให้ใบเหลือง ฟลูออไรด์ทำให้ใบเป็น สีน้ำตาล และโอโซนทำให้ใบเป็นสีเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังลดการเจริญเติบโต ผลกระทบต่อสุขภาพคน นับเป็นผลกระทบของสารมลพิษที่สำคัญที่สุด ปกติมลพิษ อากาศเข้าสู่ร่างกายได้ทางระบบหายใจและสัมผัสผิวหนัง เมื่อร่างกายหายใจเอาสิ่งแปลกปลอมปนเข้าไป ระบบหายใจจะกรองฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ (มากกว่า 5ไมครอน) ไว้ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กรอดจากการกรองจะเข้าไปถึงปอดทำให้เกิดการระคายเคืองได้ จึงเป็นสาเหตุที่เจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและโรคทางผิวหนัง ซึ่งฝุ่นละอองพิษ ได้แก่ แร่ใยหิน ซิลิกาและละอองไอของโลหะต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว เหล็ก แมงกานีส แวนนาเดียม จะทำให้เกิดโรค มะเร็งปอด หอบ หืด ไอ จาม ถุงลมอักเสบ และปัญหาการมองเห็น
19
ก๊าซที่มีผลกระทบต่อสุขภาพคน
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ | สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ก๊าซที่มีผลกระทบต่อสุขภาพคน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซไม่มี กลิ่น รส และละลายน้ำได้เล็กน้อยเมื่อร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จะมีอาการเวียนศีรษะหมดสติ และอาจตายได้ ความรุนแรงขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อหายใจเข้าไป ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จะรวมตัวกับฮีโมลโกลบิน (Hb) ในเม็ดเลือดแดงได้มากกว่าก๊าซออกซิเจน ถึง เท่า เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (COHb) ซึ่งลดความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ จึงทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนและตายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรนอนในรถที่ปิดกระจกและเปิดเครื่องปรับอากาศเพราะถ้าท่อไอเสียปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าในรถก็จะทำให้ตายได้
20
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ละลายน้ำได้ดี ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และกรด ซัลฟิวริก จะรบกวนระบบทางเดินหายใจของคนและสัตว์ได้ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะมีอันตรายต่อสุขภาพอนามัยยิ่งขึ้นเมื่อรวมกับฝุ่นละออง ทำให้เพิ่มความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในระบบหายใจ ฝุ่นบางชนิดเป็นสารมีพิษ และบางชนิดเป็นตัวเร่งให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์กลายเป็นกรดซัลฟิวริกได้รวดเร็วขึ้น เช่น ละอองไอของเฟอรัส แมงกานีส วานาเดียม จะเป็นอันตรายต่อปอดอย่างรุนแรง ตลอดจนเพิ่มความต้านทานการเคลื่อนที่ของอากาศภายในทางเดินหายใจ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นก๊าซชนิดหนึ่งในอากาศที่ทำให้เกิดฝนกรด ความสัมพันธ์ระหว่างการตายหรือการเจ็บป่วย เนื่องจากากรเสริมฤทธิ์กันของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
21
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม มลพิษจากขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย (solid waste and harzadous waste pollution) ของเสียหรือกากของเสียที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นกากของเสียจากชุมชน การเกษตร และอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดปัญหาในการกำจัด โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และเมืองหลักต่าง ๆ และเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบันและนับวันจะทบทวียิ่งขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณของขยะมูลฝอยเป็นอย่างมาก ในเขตเมืองจะผลิตขยะมูลฝอยประมาณปีละ 3-4 ล้านตัน ปัญหาที่ตามมาก็คือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่สามารถเพิ่มขอบข่ายการจัดการขยะมูลฝอยจำนวนดังกล่าวได้ทันทำให้เกิดการตกค้างและก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมา กากของเสีย หมายถึง เศษของเหลือใช้ที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ หรือจากชุมชน (ได้แก่ บ้านพักอาศัย ร้านค้า สำนักงาน และพาณิชยกรรม ฯลฯ) โรงงานอุตสาหกรรม (ได้แก่ กากของเสียจากขบวนการผลิต สำนักงาน คนงาน ฯลฯ) กากของเสียที่ถูกปล่อยทิ้งออกจากกิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ขยะมูลฝอย ได้แก่ เศษอาหาร เศษกระดาษ เศษผ้า ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะที่เป็นปัญหาและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อย สำหรับกากของเสียอีกประเภทหนึ่ง คือ กากของเสียอันตราย เป็นกากของเสียที่มีการเจือปนด้วย สารพิษ สารกัดกร่อน สารไวไฟ เป็นต้น ได้แก่ กากสารเคมีชนิดต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม กากของเสียทั้ง 2 ประเภท หากไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสมจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
22
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม มลพิษจากกากของเสีย มลพิษจากขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น มลพิษทางดิน มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้อาจก่อให้เกิดความสกปรกไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย ความสกปรก เหม็นเน่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์ที่เป็นพาหะ มีการปนเปื้อนของน้ำชะล้างขยะมูลฝอยต่อแหล่งน้ำ ผิวดินและน้ำใต้ดิน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วไป หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคและทำให้เกิดอัคคีภัย แหล่งกำเนิดมลพิษจากขยะมูลฝอย (source of solid waste pollution) แหล่งกำเนิดมลพิษจาก มูลฝอยที่สำคัญ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ธุรกิจ ร้านค้า สถานที่ราชการ สถานที่ก่อสร้าง สถานที่สาธารณสุข สถานที่ตั้งระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ โรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งปริมาณและลักษณะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ เหล่านี้จะมีความแตกต่างกันตามลักษณะและประเภทของกิจกรรม
23
ผลกระทบของมลพิษจากขยะมูลฝอย
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย | สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ผลกระทบของมลพิษจากขยะมูลฝอย ก. มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดมลพิษดิน น้ำ และมลพิษทางอากาศ เป็นต้น เช่น การทิ้งขยะลงแหล่งน้ำจะก่อให้เกิดภาวะมลพิษ คือน้ำเน่าเสียเกิดกลิ่นเหม็น สกปรกไม่น่าดู เป็นต้น เนื่องจากมูลฝอยทุกประเภททำให้น้ำมีค่า BOD สูง ซึ่ง ณรงค์ (2525) รายงานว่าปริมาณค่า BOD ที่เกิดจากการทิ้งมูลฝอยลงแม่น้ำ ลำคลอง ข. ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสุขภาพ กองขยะมูลฝอยเป็นแหล่งที่มีแบคทีเรียและสารต่าง ๆ มีทั้งสิ่งที่ ทำให้เกิดโรคและไม่เกิดโรคต่อสิ่งมีชีวิต ขยะจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และสะสมของเชื้อโรคและพร้อมที่จะแพร่กระจายสู่ชุมชนถ้ามีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ดังนั้นถ้าชุมชน/ท้องถิ่นใดขาดการเอาใจใส่หรือมีการกำจัดขยะโดยไม่ถูกหลักสุขาภิบาลแล้ว จะก่อให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น อหิวาต์ ไทฟอยด์ บิด และพยาธิต่าง ๆ
24
มลพิษจากของเสียอันตราย (hazardous waste pollution)
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม มลพิษจากของเสียอันตราย (hazardous waste pollution) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมี เคมีภัณฑ์ และวัตถุอันตรายเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เพื่อนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และเป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ดังจะเห็นได้จากข้อมูลปริมาณการนำเข้าสารอันตรายจากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้นจาก 1.3 ล้านตัน ในปี พ.ศ.2531 เป็น 3.0 ล้านตันในปี พ.ศ.2537 (สุปราณี, 2538) ในขบวนการใช้สารอันตรายในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ก่อให้เกิดของเสียขึ้นเป็นจำนวนมาก มีการปนเปื้อนและตกค้างในสิ่งแวดล้อมทั้งในรูปที่เป็นพิษ ไม่เป็นพิษ หรืออยู่ในรูปที่มีความเป็นพิษมากกว่าเดิม เป็นผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม สาเหตุสำคัญมาจากประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดจิตสำนึกที่ดี และขาดทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับพิษภัยของสารอันตรายกอร์ปกับความไม่รับผิดชอบของผู้ประกอบการ รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุม ยังไม่รัดกุมและขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้มีอุบัติภัยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง และเกิดขึ้นในหลายรูปแบบทั้งไฟไหม้ เกิดการระเบิด การแพร่กระจาย หรือการรั่วไหลของสารเคมี เป็นเหตุให้คนงานหรือพนักงาน และประชาชนบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงได้รับอันตรายจากสารอันตรายและก่อให้เกิดปัญหามลพิษ มีผลกระทบต่อคุณภาพของ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังเช่น กรณีไฟไหม้สารเคมีที่ท่าเรือคลองเตย รถก๊าซระเบิด ไฟไหม้ โรงงานขอนแก่นเอ็มดีเอฟบอร์ด เป็นต้น
25
สารพิษจากของเสียอันตราย (hazardous waste pollutant)
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย | สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม สารพิษจากของเสียอันตราย (hazardous waste pollutant) กากของเสียอันตรายดังกล่าวจำแนกออกได้เป็น 14 ประเภท ได้แก่ - สารอินทรีย์ตกค้างที่เป็นของเหลว (liquid organic residues) - กากตะกอนและของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์ (organic sludges and soild) - กากตะกอนและของแข็งที่เป็นสารอนินทรีย์ (inorganic sludges and soild) - กากตะกอนและของแข็งที่เป็นสารโลหะหนัก(heavy metal sludges and solid) - ตัวทำละลาย (solvents) - ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรด (acid wastes) - ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นด่าง (alkaline wastes) - ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน (off-spec products) - สารพีซีบี (PCB’s waste) - สารอินทรีย์ตกค้างที่ละลายน้ำ (aqueous organic residues) - ของเสียจากกิจกรรมการถ่ายภาพ (photo wastes) - ของเสียอันตรายชุมชน (household hazadous wastes) - ขยะมูลฝอยติดเชื้อ (infectious wastes - น้ำมัน (oils)
26
แหล่งกำเนิดมลพิษจากกากสารอันตราย (source of harzadous waste pollution)
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย | สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม แหล่งกำเนิดมลพิษจากกากสารอันตราย (source of harzadous waste pollution) แหล่งกำเนิดมลพิษจากการของสารอันตรายที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมนับเป็นแหล่งกำเนิดของเสียอันตรายที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าร้อยละ 73.3 ของกากสารอันตรายที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ถูกผลิตจากอุตสาหกรรมซึ่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ในปี พ.ศ มีโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศถึง 104,000 โรง ในจำนวนนี้มีประมาณ 16,000 โรงงาน ที่มีการผลิตของเสียอันตรายในปริมาณมาก หรือผลิตของเสียอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมชุบโลหะ อุตสาหกรรมถลุงโลหะ อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมฟอกย้อม อุตสาหกรรมกำจัดศัตรูพืช อุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นต้น กากสารอันตรายที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมดังกล่าวได้แก่ กากตะกอนโลหะหนัก กากตะกอนน้ำมัน กรด ด่าง ตัวทำละลาย กากสี เรซิน ผลิตภัณฑ์เสื่อมหรือไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น จากการคาดการณ์ปริมาณกากสารอันตรายที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมทั่วประเทศในปี 2539 มีประมาณ 1.2 ล้านตัน
27
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม พาณิชยกรรมและการบริการ กากสารอันตรายจากพาณิชยกรรม และการบริการ ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว กากตะกอนน้ำมันจากสถานที่บริการน้ำมัน กากสี น้ำมันหล่อลื่นเก่า น้ำมันไฮดรอลิก ตัวทำละลายจากอู่ซ่อม รถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ อู่รับเคาะพ่นสี ตัวทำละลาย น้ำยาทำความสะอาดจากร้านซักแห้ง น้ำยาล้างฟิล์ม น้ำเสียจากร้านล้างอัดขยายรูป ของเสียดังกล่าวมีประมาณ 137,000 ตัน/ปี หรือร้อยละ 8.4 สถานพยาบาล กากสารอันตรายจากสถานพยาบาล ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล ซากสัตว์จากคลีนิครักษาสัตว์ ของเสียจากห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีประมาณ 133,000 ตัน/ปี หรือประมาณร้อยละ 8.2 ท่าเรือและกิจการต่อเรือ ส่วนใหญ่จะเป็นกากสารอันตรายจากสินค้าสารเคมีตกค้าง ซากสารเคมีที่เกิดจากเพลิงไหม้ น้ำมันและกากน้ำมันจากการปฏิบัติการลงเรือ ฯลฯ มีประมาณ 132,000 ตัน/ปี หรือร้อยละ 8.1 บ้านเรือน ปัจจุบันชุมชนต่าง ๆ ได้มีการทิ้งกากสารอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ได้แก่ ซากถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ ภาชนะบรรจุ สารเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพจากการใช้งานในบ้านเรือนมีประมาณ 20,000 ตัน/ปี หรือร้อยละ 1.3 เกษตรกรรมและกิจกรรมอื่น ๆ การสารอันตรายจากเกษตรกรรม เช่น ภาชนะบรรจุสารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช และเคมีภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพมีประมาณ 12,000 ตัน/ปี หรือร้อยละ 0.7
28
ผลกระทบจากมลพิษจากสารอันตราย
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย | สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ผลกระทบจากมลพิษจากสารอันตราย การนำสารอันตรายเข้ามาใช้ในประเทศอย่างไม่มีขอบเขตจำกัดตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะสารอันตรายที่นำมาใช้ในด้านเกษตร อุตสาหกรรมและ การสาธารณสุข ซึ่งได้อธิบายไว้ดังต่อไปนี้ ผลกระทบจากการใช้สารอันตรายทางการเกษตร - ก่อให้เกิดการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ตลอดจนแม่น้ำสายสำคัญหลายสายทั่วประเทศ แม้ว่าในปัจจุบันนี้พบว่าการตกค้างของสารเคมีดังกล่าว จะยังมีปริมาณไม่เกินมาตรฐาน แต่หากมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะทำให้สารเคมีเหล่านี้มีโอกาสผ่านเข้าสู่ร่างกายโดยกระบวนการทางห่วงโซ่อาหาร - ทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในผลิตผลการเกษตรต่าง ๆ ทั้งในพืช สัตว์ และสัตว์น้ำ จนเป็นผลให้ผลหลายประเทศปฏิเสธการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นการ สูญเสียทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศ
29
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม - ทำให้เกิดการเสียสมดุลทางธรรมชาติ ซึ่งมีเหตุจากการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากเกินความจำเป็น เป็นผลให้มีการสะสมในห่วงโซ่อาหาร ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เช่น ทำให้ตัวห้ำและตัวเบียนซึ่งเป็นแมลงที่มีประโยชน์ในการควบคุมปริมาณศัตรูพืชในธรรมชาติต้องลดจำนวนลง และส่งผลให้เกิดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชในปัจจุบัน และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ผึ้งและนกบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมก็มีจำนวนลดลงเช่นกัน - ทำให้เกิดพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตมากมายในแต่ละปีทั้งในลักษณะความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง และก็จะนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาด้วย
30
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ผลกระทบจากการใช้สารอันตรายด้านอุตสาหกรรม - ทำให้เกิดอุบัติภัยในขณะลำเลียงขนส่งสารอันตราย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนรุนแรงกว่าอุบัติเหตุทั่วไปหลายเท่าตัว ดังเช่น กรณีรถบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลวอุบัติเหตุพลิกคว่ำบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และรถบรรทุกระเบิดประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำที่จังหวัดพังงา เป็นต้น - ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเกิดสารอันตรายไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาก็ปรากฏว่ามีเหตุการณ์เพลิงไหม้โกดังเก็บสารอันตรายอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนอกจากจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินแล้ว ยังทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบต้องเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากพิษของสารเคมีที่ฟุ้งกระจายออกมาในระหว่างการเกิดเพลิงไหม้เป็นจำนวนมากอีกด้วย - การนำสารอันตรายต่าง ๆ เข้ามาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต จะทำให้เกิดพิษภัยอันตรายต่อ สุขภาพอนามัยของคนงานที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีจำนวนผู้ได้รับพิษจากสารอันตรายในขณะทำงาน อันได้แก่ ตะกั่ว แมงกานีส ปรอท สารหนู ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฝุ่นซิลิกา ก๊าซพิษ และไอระเหยเพิ่มมากขึ้นทุกปี - กากสารอันตรายที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมเกิดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกทั้งในดิน น้ำ และอากาศ
31
มลพิษจากของเสีย มลพิษจากของเสีย
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม ผลกระทบจากการใช้สารอันตรายในงานสาธารณสุข สารเคมีที่นำเข้ามาใช้ ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารจนทำให้มีการตกค้างของสารพิษในอาหารที่ประชาชนบริโภคเข้าไป ทั้งนี้อาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเป็นความจงใจของผู้ประกอบการ เช่น การใช้สารปรุงแต่งอาหารประเภทสี กลิ่น วัตถุกันเสีย สารกันหืน และสารฟอสฟอรัส ฯลฯ ซึ่งมักจะเป็นชนิดที่ไม่ได้รับอนุญาตทางราชการ ทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษเหล่านี้ปนอยู่ในอาหารที่รับประทาน ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นก่อให้เกิดมะเร็งและเสียชีวิตในที่สุด
32
บรรณานุกรม บรรณานุกรม
| สารบัญ | บทนำ | มลพิษทางน้ำ | มลพิษทางอากาศ | มลพิษจากของเสีย | บรรณานุกรม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.