งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สีกับสิ่งทอ Sir william H.perkin ค้นพบสีสังเคราะห์ชนิดแรกเป็นสีเบสิกคือ mauve สารที่มีสีมี 2 ประเภทคือ พิกเมนท์(pigment)และสี(dye) พิกเมนท์เป็นสารมีสีไม่ละลายน้ำและติดอยู่บนผ้าด้วยสารช่วยติด.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สีกับสิ่งทอ Sir william H.perkin ค้นพบสีสังเคราะห์ชนิดแรกเป็นสีเบสิกคือ mauve สารที่มีสีมี 2 ประเภทคือ พิกเมนท์(pigment)และสี(dye) พิกเมนท์เป็นสารมีสีไม่ละลายน้ำและติดอยู่บนผ้าด้วยสารช่วยติด."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สีกับสิ่งทอ Sir william H.perkin ค้นพบสีสังเคราะห์ชนิดแรกเป็นสีเบสิกคือ mauve สารที่มีสีมี 2 ประเภทคือ พิกเมนท์(pigment)และสี(dye) พิกเมนท์เป็นสารมีสีไม่ละลายน้ำและติดอยู่บนผ้าด้วยสารช่วยติด มักทำให้ผ้าแข็ง สีหลุดออกได้ง่าย สีเป็นสารมีขนาดเล็กสามารถละลายน้ำหรือสารทำละลาย ซึมเข้าในเส้นใยได้ ไม่ต้องใช้สารช่วยติด

2 ความทนทานของสี สีมีความทนทานดี:การที่สี,พิกเมนท์สามารถรักษาสภาพของสีไว้ได้ ในขณะการนำไปใช้
ปัจจัยที่มีผลต่อความคงทนของสี 1.โครงสร้างทางเคมีของเส้นใย เส้นใยแต่ละชนิดมีโครงสร้างทางเคมีต่างกันจึงรับสีได้แตกต่างกัน 2.โครงสร้างทางเคมีของสีหรือพิกเมนท์ 3.การเติมสารผนวก สามารถลดและเพิ่มO2ให้แก่โมเลกุลสี เพื่อให้ดูดซึมได้ดี 4.วิธีการและเทคนิคในการให้สี เช่นการมอร์แดนท์ การย้อมทับ

3 ชนิดของสีที่เหมาะสมกับเส้นใย
ฝ้าย ไดเรก ซัลเฟอร์ อะโซอิก แวต รีแอคตีฟ ลินิน เหมือนฝ้าย ไหม แอสิค ไดเรก รีแอคตีฟ ขนสัตว์ แอสิค

4 ใยสังเคราะห์ อะซิเตด ดีสเพิส อะไครลิก เบสิก อะไครลิก(mo) แอสิก
อะซิเตด ดีสเพิส อะไครลิก เบสิก อะไครลิก(mo) แอสิก ไนลอน แอสิก ไนลอน(mo) เบสิก โพลิเอสเตอร์ ดีสเพิส โพลิเอสเตอร์(mo) เบสิก,ดีสเพิส เรยอง ไดเรก เรยอง(mo) แอสิก

5 คุณสมบัติของสีและพิกเมนท์
1. ต้องเป็นสารที่มีสี เมื่อนำไปย้อม,พิมพ์สิ่งทอ สีต้องมีความทนทาน 2. สีจะต้องละลาย โมเลกุลสามารถกระจายตัว หรือสามารถเปลี่ยนเป็นสารที่ละลายในตัวกลางที่ใช้ให้สีสิ่งทอได้ 3.สีต้องสามารถซึมเข้าไปในเส้นใยได้ ภายใต้สภาวะการย้อมและหลังจากซึมเข้าไป จะต้องอยู่ภายในเส้นใยได้ ซึ่งสีสามารถดูดติดกับเส้นใยได้ด้วย แรงไอออน พันธะไฮโดรเจน แรงดึงดูดระหว่างอะตอมหรือโมเลกุลของสาร

6 คุณสมบัติของเส้นใยที่เกี่ยวข้องกับการย้อมสี
โมเลกุลเส้นใยที่เรียงตัวเป็นระเบียบ โมเลกุลของสีแทรกเข้าไปยาก โพลิเมอร์จัดเรียงตัวกับหลวมไร้ระเบียบ โมเลกุลสีแทรกเข้าไปได้ สัดส่วนของส่วนมีระเบียบต่อส่วนไร้ระเบียบมีผลต่อการย้อมสีติด คุณสมบัติของเส้นใยในการดูดซับน้ำมีผลต่อการติดสี ขึ้นอยู่กับลักษณะไอออนของเส้นใยเมื่ออยู่ในน้ำย้อม โมเลกุลของเส้นใยจะดูดติดกับโมเลกุลของสีหากสีมีนน.โมเลกุลเพิ่มขึ้น

7 ชนิดของสี สีแอสิกหรือแอนอิออนนิก เป็นสีเมื่อละลายในน้ำแตกตัวให้อนุมูลประจุลบ ใช้ย้อมเส้นใยโปรตีน ไนลอน สแปนเดกซ์ โพลิเอสเตอร์ ทนทานต่อน้ำยาซักแห้ง ไม่ทนต่อการซัก ปรับปรุงได้โดยการเติมเกลือโลหะเช่น อลูมิเนียม ทองแดง ในการย้อมทับ เป็นการเพิ่มขนาดโมเลกุลของสีทำให้ทนทานต่อแดด,การซักมากขึ้น

8 สีเบสิกหรือแคตอิออนนิก
ตรงข้ามกับสีแอสิก ใช้ย้อมไหม ขนสัตว์ ฝ้าย อะคริริค โมอะคริริก ใช้ย้อมเส้นใยโปรตีนและเซลลูโลสจะทำให้ทนต่อแสงแดด การซักและเหงื่อต่ำ

9 สีไดเรกหรือสีชนิดดูดติดเส้นใย
สีแรกที่พบคือ congo red เป็นสีละลายน้ำได้ ใช้ย้อมเส้นใยได้โดยตรงมไต้องใช้มอร์แดนท์ ใช้ย้อมเส้นใยฝ้าย ลินิน เรยอง ขนสัตว์ ไหม ไนลอน สีไม่ค่อยสดใสเท่าเบสิก ทนทานต่อแสงแดดดีมาก ไม่ทนต่อการซักและสารฟอกขาวประเภทคลอรีน ทนต่อเหงื่อไคลและสารละลายซักแห้งดีมาก

10 สีดีสเพิส เป็นสีที่ละลายน้ำได้น้อย ส่วนใหญ่มีประจุเป็นกลาง
ใช้ย้อมเส้นใยที่มีการดูดซึมน้ำน้อย สีจะอยู่ในน้ำย้อมในลักษณะของสารกระจาย เส้นใยจะดูดซึมเอาสีเข้าไป ใช้ย้อมเส้นใยอะซิเตดมีความทนทานต่อการซักต่ำ ใช้ย้อมโพลิเอสเตอร์ทนทานต่อการซักสูง ทนทานต่อเหงื่อไคล การขัดสี และสารละลายซักแห้งดีมาก

11 สีอินเกรน :สีสังเคราะห์ขึ้นภายในเส้นใย การย้อมใช้สองอ่าง อ่างแรกเส้นใยดูดสารชนิดหนึ่งไว้ ในอ่างสองจะเป็นสารอีกชนิดหนึ่ง สารชนิดแรกในเส้นใยจะทำปฎิกิริยากับสารที่สอง รวมเป็นโมเลกุลสีในเส้นใย สีมอร์แดนท์:เป็นสีย้อมที่เกิดจากการทำปฎิกิริยาระหว่างสีย้อมกับโลหะเกิดเป็นสีที่ไม่ละลายน้ำขึ้นในเส้นใย สีที่ได้มักเป็นสีตุ่น มีความทนทานต่อการซักและแสงแดดดีมากใช้ย้อมขนสัตว์ ไหม สแปนเดกซ์และเรยอง

12 สีออกซิเดชั่น:สีที่เป็นสารประกอบเมื่อซึมเข้าในเส้นใยทำปฎิกิริยาออกซิเดชั่นเกิดเป็นสารมีสีภายในเส้นใย เป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ สีรีแอคตีฟ:สีย้อมที่ทำปฎิกิริยาเกิดพันธะทางเคมีกับเส้นใย สีจะมีหมู่ทำหน้าที่พิเศษสามารถทำปฎิกิริยากัยเส้นใยรวมเป็นโมเลกุลเดียวกันใช้ย้อมใยฝ้าย ไหมและไนลอน สีจะทำปฎิกิริยากับหมู่oHของใยเซลลูโลสและกับหมู่NH2ของใยโปรตีน ส่วนใหญ่ย้อมฝ้าย ทนต่อการซักและสารละลายซักแห้ง ไม่ทนต่อสารฟอกขาวคลอลีน

13 สีซัลเฟอร์ ก่อนย้อมจะอยู่ในสภาพของสีไม่ละลายน้ำเมื่อใช้ย้อมต้องนำมาทำปฎิกิริยาreductionอยู่ในรูปละลายน้ำได้ เมื่อเส้นใยดูดซึมเข้าไปจึงนำไปทำปฎิกิริยาออกซิเดชั่นให้อยู่ในรูปสารไม่ละลายน้ำเช่นเดิม ใช้ย้อมฝ้ายและเรยอง สีที่ได้ค่อนข้างตุ่น ใช้ย้อมสีน้ำเงินเข้ม ดำ น้ำตาล ทนทานต่อการซัก ไม่ทนต่อสารฟอกขาวคลอลีน คล้ายสีแวต ต่างกันตรงถูกรีดิวส์ง่ายกว่าแต่ออกซิไดส์ยากกว่าสีแวต

14 สีแวต: เป็นสีไม่ละลายน้ำเมื่อย้อมจะถูกรีดิวส์ในสารละลายด่างแล้วออกซิไดส์กลับเหมือนสีซัลเฟอร์ ทนทานต่อการซัก ทนต่อสารฟอกขาวคลอลีน สีไม่สดใส ใช้ย้อมฝ้าย เรยอง ไนลอน ลินิน ผ้าที่ย้อมหรือพิมพ์ด้วยสีแวตสีเหลืองเมื่อถูกแดดผ้าจะเปื่อยง่าย ไหมและไนลอนจะได้รับผลนี้เร็วกว่าฝ้ายและเรยอง

15 การย้อมสี 1. ย้อมขณะเป็นเส้นใย
1.1 Solution Dying ใช้กับเส้นใยสังเคราะห์ โดยเติมสีในสารละลาย ก่อนอัดเป็นเส้นใย 1.2 Stock or Fiber Dying ย้อมขณะที่เส้นใยรวมกันแบบหลวมๆ หรือขั้นตอนการสางและหวี 1.3 Top Dying นำเส้นใยที่ได้จากการcombed พับเป็นก้อนแล้วปั้มสีลงไป นิยมมาก

16 2. ย้อมสีขณะเป็นเส้นด้าย (Yarn Dying) นิยมใช้กันมาก ย้อมด้ายเป็นใจ กลุ่ม สิ้นเปลืองน้อย
3. ย้อมเมื่อเป็นผืนผ้า ประหยัดเวลาและถูกที่สุด สีอาจซึมเข้าไม่ทั่วเส้นด้าย


ดาวน์โหลด ppt สีกับสิ่งทอ Sir william H.perkin ค้นพบสีสังเคราะห์ชนิดแรกเป็นสีเบสิกคือ mauve สารที่มีสีมี 2 ประเภทคือ พิกเมนท์(pigment)และสี(dye) พิกเมนท์เป็นสารมีสีไม่ละลายน้ำและติดอยู่บนผ้าด้วยสารช่วยติด.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google