ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSopa Wattanapanit ได้เปลี่ยน 7 ปีที่แล้ว
1
การจัดการน้ำเสียในโรงพยาบาล ( Wastewater Management in Hospital )
โดย ร.ศ.อุษณีย์ อุยะเสถียร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ( ในการอบรม ” ความปลอดภัยของโรงพยาบาล ในแง่มุมของวิศวกรรมทางการแพทย์ รุ่น 2 ” ณ โรงแรมศาลายาพาวิลเลียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายานครปฐม 22-23 มกราคม 2552
2
เนื้อเรื่องที่บรรยาย
มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ที่เกี่ยวกับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด (รวมถึงโรงพยาบาล) ปริมาณน้ำเสียจากอาคารประเภทต่างๆ(รวมถึงโรงพยาบาล) ลักษณะน้ำเสีย จากบ้านพักอาศัย และจากอาคารประเภทต่างๆ ความสำคัญของพารามิเตอร์ต่างๆ หลักการของเทคโนโลยีสะอาดในการจัดการน้ำเสีย
3
เนื้อเรื่องที่บรรยาย(ต่อ)
การบำบัดทางชีวภาพ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบกวนสมบูรณ์ ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบปรับเสถียรสัมผัส ระบบคลองเวียนวน ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์
4
เนื้อเรื่องที่บรรยาย(ต่อ)
ปัญหาตะกอนไม่จมตัว ปัญหาตะกอนลอย ตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลต่างๆ แนวปฏิบัติที่ดีด้านการป้องกันและลดมลพิษ ในการจัดการน้ำเสีย สำหรับโรงพยาบาล
5
มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ตอนที่ II ระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล 3
องค์กรแสดงความมุ่งมั่นในการที่จะทำให้โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเอื้อต่อสุขภาพ เอื้อต่อ กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม. ( ที่มา: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. ธันวาคม 2549.มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี )
6
ข. การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
(1) มีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ: มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณน้ำทิ้งของโรงพยาบาล มีการดูแลรักษาระบบโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม มีการตรวจคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดตามข้อกำหนดของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดในช่วงเวลาที่ระบบรับภาระมากที่สุดมีค่ามาตรฐานตามที่หน่วยราชการกำหนด
7
ข. การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม(ต่อ)
(2) องค์กรจัดการเพื่อลดปริมาณของเสียโดยจัดให้มีระบบการนำมาใช้ใหม่ การลดปริมาณการใช้ การแปรรูปและลดการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม.
8
ข. การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม(ต่อ)
(3) มีระบบและวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ: มีภาชนะรองรับขยะที่เหมาะสม และเพียงพอ มีระบบ / อุปกรณ์ในการแยกรับ / ขนย้าย / จัดที่พัก ขยะทั่วไป / ขยะติดเชื้อ / ขยะอันตราย ที่รัดกุม มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเคลื่อนย้ายและกำจัดของเสียอย่างถูกวิธี มีกระบวนการในการกำจัดขยะติดเชื้อและขยะอันตรายอย่างเหมาะสม มีการตรวจสอบการกำจัดขยะติดเชื้อของผู้รับช่วง
9
ข. การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม(ต่อ)
(4) องค์กรร่วมมือกับชุมชนและองค์กรอื่นๆ ดำเนินการพิทักษ์ปกป้องและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการประเมินและฟังเสียงสะท้อนในการกำจัดของเสียของโรงพยาบาลที่มีผลกระทบต่อชุมชน.
10
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุม การระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 122 ตอนที่ 125ง วันที่ 29 ธันวาคม 2548 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 122 ตอนที่ 125ง วันที่ 29 ธันวาคม 2548
11
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงพยาบาล
โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่มีเตียงสำหรับรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคาร ตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป จัดเป็นอาคารประเภท ก ตั้งแต่ 10 เตียงแต่ไม่ถึง 30เตียง จัดเป็นอาคารประเภท ข
12
เกณฑ์กำหนดสูงสุดตามประเภทมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง
ดัชนีคุณภาพน้ำ หน่วย เกณฑ์กำหนดสูงสุดตามประเภทมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง วิธีวิเคราะห์ ก ข ค ง จ 1. ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) - 5-9 ใช้เครื่องวัดความเป็นกรดและด่างของน้ำ (pH Meter)
13
2. บีโอดี (BOD) มก./ล. ไม่เกิน20 ไม่เกิน30 ไม่เกิน40 ไม่เกิน50 ไม่เกิน200 ใช้วิธีการ Azide Modification ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน ติดต่อกัน หรือวิธีการอื่นที่คณะกรรมการควบคุม มลพิษให้ความเห็นชอบ
14
3.ปริมาณของแข็ง - ค่าสารแขวนลอย (Suspended Soilds)
มก./ล. ไม่เกิน30 ไม่เกิน40 ไม่เกิน50 ไม่เกิน60 กรองผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass Fibre Filter) - ค่าตะกอนหนัก (Settleable Solids) มล./ล. ไม่เกิน0.5 - วิธีการกรวยอิมฮอฟ (Imhoff cone) ขนาดบรรจุ 1,000 ลบ.ซม ในเวลา 1 ชั่วโมง - ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solid) ไม่เกิน500* ระเหยแห้งที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียส ในเวลา 1 ชั่วโมง
15
4. ค่าซัลไฟด์ (Sulfide) มก./ล. ไม่เกิน1.0 ไม่เกิน3.0 - ไม่เกิน4.0 - วิธีการไตเตรต (Titrate) 5. ไนโตรเจน (Nitrogen) ในรูป ที เค เอ็น (TKN) ไม่เกิน35 ไม่เกิน40 วิธีการเจลดาห์ล (kjeldahl) 6. น้ำมันและไขมัน (Fat , Oil and Grease) ไม่เกิน20 ไม่เกิน100 วิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย แล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน
16
ปริมาณน้ำเสียจากอาคารประเภทต่าง ๆ
( ที่มา : ข้อพิจารณาเกี่ยวกับปริมาณและลักษณะน้ำทิ้งชุมชนในประเทศไทย, เอกสารประกอบการประชุม สวสท'36, สมาคมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 2536 )
17
ประเภทอาคาร หน่วย ลิตร/วัน-หน่วย อาคารชุด/บ้านพัก ยูนิต 500 โรงแรม ห้อง 1,000 หอพัก 80 สถานบริการ 400 หมู่บ้านจัดสรร คน 180 โรงพยาบาล เตียง 800 ภัตตาคาร ตารางเมตร 25 ตลาด 70 ห้างสรรพสินค้า 5.0 สำนักงาน 3.0
18
ลักษณะน้ำเสีย น้ำเสีย มีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 1. สารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เช่น เศษข้าว ก๋วยเตี๋ยว น้ำแกง เศษใบตอง พืชผัก ชิ้นเนื้อ เป็นต้น ซึ่งสามารถถูกย่อยสลายได้ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ทำให้ระดับออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen) ลดลงเกิดสภาพเน่าเหม็นได้ ปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำนิยมวัดด้วยค่าบีโอดี (BOD) เมื่อค่าบีโอดีในน้ำสูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก และสภาพเน่าเหม็นจะเกิดขึ้นได้ง่าย
19
ลักษณะน้ำเสีย (ต่อ) 2. สารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อาจไม่ทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็น แต่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คลอไรด์ เป็นต้น 3. โลหะหนักและสารพิษ อาจอยู่ในรูปของสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์และสามารถสะสมอยู่ในวงจรอาหาร เกิดเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ปรอท โครเมียม ทองแดง ปกติจะอยู่ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชที่ปนมากับน้ำทิ้งจากการเกษตร สำหรับในเขตชุมชนอาจมีสารมลพิษนี้มาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนบางประเภท เช่น ร้านชุบโลหะ อู่ซ่อมรถ และน้ำเสียจากโรงพยาบาล เป็นต้น
20
ลักษณะน้ำเสีย(ต่อ) 4. น้ำมันและสารลอยน้ำต่าง ๆ เป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสง และกีดขวางการแทรกซึมของออกซิเจนจากอากาศลงสู่น้ำ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดสภาพไม่น่าดู 5. ของแข็ง เมื่อจมตัวสู่ก้นลำน้ำ ทำให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนที่ท้องน้ำ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน มีความขุ่นสูง มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของสัตว์น้ำ 6. สารก่อให้เกิดฟอง/สารซักฟอก ได้แก่ ผงซักฟอก สบู่ ฟองจะกีดกันการแทรกซึมของออกซิเจนในอากาศสู่น้ำ และอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
21
ลักษณะน้ำเสีย(ต่อ) 7. จุลินทรีย์ น้ำเสียจากโรงฟอกหนัง โรงฆ่าสัตว์ หรือโรงงานอาหารกระป๋อง จะมีจุลินทรีย์เป็นจำนวนมากจุลินทรีย์เหล่านี้ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิตสามารถลดระดับของออกซิเจนละลายน้ำ ทำให้เกิดสภาพเน่าเหม็น นอกจากนี้จุลินทรีย์บางชนิดอาจเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชน เช่น จุลินทรีย์ในน้ำเสียจากโรงพยาบาล
22
ลักษณะน้ำเสีย (ต่อ) 8. ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เมื่อมีปริมาณสูงจะทำให้เกิดการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของสาหร่าย (Algae Bloom) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงต่ำมากในช่วงกลางคืน อีกทั้งยังทำให้เกิดวัชพืชน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาแก่การสัญจรทางน้ำ 9. กลิ่น เกิดจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน หรือกลิ่นอื่น ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น โรงงานทำปลาป่น โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น
23
ตัวอย่างลักษณะน้ำเสียจากบ้านพักอาศัย
( ที่มา :น้ำเสียชุมชนและปัญหามลภาวะทางน้ำในเขต กทม. และปริมณฑล, ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และคณะสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2530 )
24
พารามิเตอร์ น้ำเสียจากส้วม จากห้องอาบน้ำ จากการซักผัก จากครัว ตักอาบ ฝักบัว ด้วยมือ ด้วยเครื่อง ผ่านตะแกรง ไม่ผ่าน pH 7.7 7.1 7.0 7.2 6.3 COD (mg/l) 1,500 230 400 200 560 960 2,900 BOD (mg/l) 700 120 260 70 150 540 1,800 TKN (mg/l) 300 8 38 14 12 18 PO4 (mg/l) 24 6 1 10 13 90 SS (mg/l) 45 80 60 55 210 1,200 FOG (mg/l) 480 500 520 2,700
25
ลักษณะของน้ำเสียจากอาคารประเภทต่างๆ
(ที่มา : น้ำเสียชุมชนและปัญหามลภาวะทางน้ำในเขต กทม. และปริมณฑล, ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และคณะ, สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2530) * บำบัดมาแล้วบางส่วน
27
ความสำคัญของพารามิเตอร์ต่างๆ
1. พีเอช (pH) เป็นค่าที่บอกถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเสีย โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือจุลินทรีย์ในถังบำบัดจะดำรงชีพได้ดีในสภาะเป็นกลาง คือ pH ประมาณ 6-8 2. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) เป็นค่าที่บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ถ้าค่าบีโอดีสูงแสดงว่าความต้องการออกซิเจนสูง นั่นคือมีความสกปรกหรือสารอินทรีย์ในน้ำมาก
28
ความสำคัญของพารามิเตอร์ต่างๆ(ต่อ)
3. ปริมาณของแข็ง (Solids) หมายถึงปริมาณสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสีย ทั้งในลักษณะที่ไม่ละลายน้ำและที่ละลายน้ำ (Dissolved Solids) ของแข็งบางชนิดมีน้ำหนักเบาและแขวนลอยอยู่ในน้ำ (Suspended Solids) บางชนิดหนักและจมตัวลงเบื้องล่าง (Settleable Solids) ของแข็งที่ไม่ละลายน้ำนี้อาจสร้างปัญหาในการอุดตันเครื่องเติมอากาศ และถ้าปล่อยทิ้งในปริมาณมากจะทำให้เกิดความสกปรกและตื้นเขินในลำน้ำธรรมชาติ ตลอดจนบดบังแสงแดดที่ส่องลงสู่ท้องน้ำ
29
ความสำคัญของพารามิเตอร์ต่างๆ(ต่อ)
4. ไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุจำเป็นในการสร้างเซลล์ ของสิ่งมีชีวิต ไนโตรเจนจะเปลี่ยนสภาพเป็นแอมโมเนีย ถ้าหากในน้ำมีออกซิเจนพอเพียงก็จะถูกย่อยสลายไปเป็นไนไตรต์และไนเตรต ดังนั้นการปล่อยน้ำเสียที่มีสารประกอบไนโตรเจนสูงจึงทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในลำน้ำลดน้อยลง 5. ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) คือค่าปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ด้วยวิธีการทางเคมี มักใช้เทียบหาค่าบีโอดีโดยคร่าวๆ ปกติ COD:BOD ของน้ำเสียชุมชนประมาณ 2-4 เท่า
30
ความสำคัญของพารามิเตอร์ต่างๆ(ต่อ)
6. ไขมันและน้ำมัน (Fat, Oil, and Grease) ส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ที่ใช้ในการทำอาหาร สบู่จากการอาบน้ำ ฟองสารซักฟอกจากการชำระล้าง สารเหล่านี้มีน้ำหนักเบาและลอยน้ำ ทำให้เกิดสภาพไม่น่าดูและขวางกั้นการซึมของออกซิเจนจากอากาศสู่แหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีค่าบีโอดีสูงเพราะเป็นสารอินทรีย์
31
หลักการของเทคโนโลยีสะอาดในการจัดการน้ำเสีย
ลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด เพื่อลดปริมาณน้ำเสีย ลดมลพิษในน้ำเสีย ที่จะต้องบำบัด และแยกน้ำเสียที่บำบัดยากหรือต้องใช้วิธีการบำบัดเฉพาะออกจากน้ำเสียส่วนอื่น เช่น น้ำเสียจากครัวของบ้านพักอาศัย กรณีที่ไม่ผ่านตะแกรงจะมีบีโอดี 1800 มิลลิกรัม/ลิตร น้ำมันและไขมันประมาณ 2,700 มิลลิกรัม/ลิตร หากผ่านตะแกรงจะมีบีโอดี 540 มิลลิกรัม/ลิตร น้ำมันและไขมันประมาณ 500 มิลลิกรัม/ลิตร หลังจากนั้นควรเข้าสู่บ่อดักไขมันจะสามารถกำจัดไขมันได้มากกว่าร้อยละ 60 ( เวลากักพักไม่ควรน้อยกว่า 6 ชั่วโมง) นำกลับมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่
32
การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment)
เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้
33
การบำบัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน
การบำบัดแบบใช้ออกซิเจน CHONS + O2bacteria CO2+ H2O + NH3 + SO42- + energy การบำบัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน CHONS bacteria CO2+ N2+ H2S + CH4+ H2O + energy
34
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) หากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม
35
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร(ต่อ)
บ่อปรับเสถียรสามารถบำบัดน้ำเสียจากชุมชน หรือโรงงานบางประเภท เช่น โรงงานผลิตอาหาร โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น เป็นระบบที่มีค่าก่อสร้างและค่าดูแลรักษาต่ำ วิธีการเดินระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ควบคุมระบบไม่ต้องมีความรู้สูง แต่ต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างมากจึงเป็นระบบที่เหมาะกับชุมชนที่มีพื้นที่เพียงพอและราคาไม่แพง ปกติระบบบ่อปรับเสถียรจะมีการต่อกันแบบอนุกรมอย่างน้อย 3 บ่อ
36
ที่มา: “น้ำเสียชุมชนและระบบบำบัดน้ำเสีย”, กรมควบคุมมลพิษ 2545
37
ที่มา: “น้ำเสียชุมชนและระบบบำบัดน้ำเสีย”, กรมควบคุมมลพิษ 2545
39
ตัวอย่างเกณฑ์การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
ที่มา : “การควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย”, อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 2, 2538
40
เกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria)
หน่วยบำบัด เกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria) พารามิเตอร์ ค่าที่ใช้ออกแบบ 1. บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time; HRT) 4-5 วัน ความลึกของน้ำในบ่อ 2-4 เมตร อัตราภาระบีโอดี กรัมบีโอดี5 / ตรม.-วัน* ประสิทธิภาพการกำจัด BOD ร้อยละ 50
41
2. บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond)
ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time; HRT) 7-30 วัน ความลึกของน้ำในบ่อ 1-1.5 เมตร อัตราภาระบีโอดี 34 กรัมบีโอดี5 /ตรม.-วัน* ประสิทธิภาพการกำจัด BOD ร้อยละ 70-90
42
3. บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond)
ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time; HRT) 4 -6 วัน ความลึกของน้ำในบ่อ เมตร อัตราภาระบีโอดี 45 กรัมบีโอดี 5/ตรม.-วัน* ประสิทธิภาพการกำจัด BOD ร้อยละ 80-95
43
4. บ่อบ่ม (Maturation Pond)
ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time; HRT) 5-20 วัน ความลึกของน้ำในบ่อ 1-1.5 เมตร อัตราภาระบีโอดี 2 กรัม/ตร.ม.-วัน ประสิทธิภาพการกำจัด BOD ร้อยละ 60-80
44
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ
45
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (ต่อ)
สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ร้อยละ โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic) เครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อด้วย ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ
48
ตัวอย่างเกณฑ์การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon)
ที่มา : รวบรวมจากหนังสือ "ค่ากำหนดการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย", สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 2540 และ "Wastewater Engineering", Metcalf&Eddy 1991 * "แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม" สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม 2542
49
หน่วยบำบัด เกณฑ์การออกแบบ พารามิเตอร์ ค่าที่ใช้ออกแบบ 1.บ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon) ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time: HRT) ความลึกของน้ำในบ่อ ความต้องการออกซิเจน Mixing Power 3-10 วัน 2-6 เมตร กรัมออกซิเจน /กรัม บีโอดีที่ถูกกำจัด มากกว่าหรือเท่ากับ กิโลวัตต์/100 เมตร3
50
2. บ่อบ่ม (Polishing Pond)
ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time;HRT) มากกว่าหรือเท่ากับ 1 วัน 3. บ่อเติมคลอรีน เวลาสัมผัส อัตราไหลเฉลี่ย อัตราไหลสูงสุด ความเข้มข้นของคลอรีนที่ต้องการ คลอรีนคงเหลือทั้งหมด (Total Residual Chlorine) 15- 30นาที 30 นาที 15 นาที 6 มก./ล. 0.3-2 มก./ล.(0.5-1 มก./ล.)*
51
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process)
เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ระบบเแอกทิเวเต็ดสลัดจ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
52
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์(ต่อ)
แต่การเดินระบบประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากจำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด
53
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์(ต่อ)
ในปัจจุบัน ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์มีการพัฒนาใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ระบบแบบกวนสมบูรณ์ (Completly Mix) กระบวนการปรับเสถียรสัมผัส (Contact Stabilization Process) ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) หรือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor) เป็นต้น
54
หลักการทำงานของระบบ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) และถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) โดยน้ำเสียจะถูกส่งเข้าถังเติมอากาศ ซึ่งมีสลัดจ์อยู่เป็นจำนวนมากตามที่ออกแบบไว้ สภาวะภายในถังเติมอากาศจะมีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์แบบแอโรบิค จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในที่สุด
55
หลักการทำงานของระบบ(ต่อ)
น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกสลัดจ์ออกจากน้ำใส สลัดจ์ที่แยกตัวอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังเติมอากาศใหม่ (Return Sludge) เพื่อรักษาความเข้มข้นของสลัดจ์ในถังเติมอากาศให้ได้ตามที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นสลัดจ์ส่วนเกิน (Excess Sludge) ที่ต้องนำไปกำจัดต่อไป สำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้
56
ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบกวนสมบูรณ์ (Completly Mixed Activated Sludge: CMAS)
ลักษณะสำคัญของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ จะต้องมีถังเติมอากาศที่สามารถกวนให้น้ำและสลัดจ์ที่อยู่ในถังผสมเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งถัง ระบบแบบนี้สามารถรับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (Shock Load) ได้ดี เนื่องจากน้ำเสียจะกระจายทั่วถึง และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในถังเติมอากาศก็มีค่าสม่ำเสมอทำให้จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่มีลักษณะเดียวกันตลอดทั้งถัง(Uniform Population)
58
ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบปรับเสถียรสัมผัส (Contact Stabilization Activated Sludge; CSAS)
ลักษณะสำคัญของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ จะแบ่งถังเติมอากาศออกเป็น 2 ถังอิสระจากกัน ได้แก่ ถังสัมผัส (Contact Tank) และถังย่อยสลาย (Stabilization Tank) น้ำเสียจะถูกระบายมาเข้าถังเติมอากาศถังแรก เรียกว่า Contact Tank ใช้เวลาเติมอากาศ นาที เพื่อให้แบคทีเรียดูดซึมสารอินทรีย์
59
ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบปรับเสถียรสัมผัส(ต่อ)
นำ Mixed Liquor มาเข้าถังตกตะกอนแยก Activated Sludge ออก นำ Activated Sludge ซึ่งดูดซึมสารอินทรีย์ไว้แล้วไปเข้าถังเติมอากาศถังที่สอง เรียกว่า Stabilization Tank เพื่อให้แบคทีเรียทำลาย BOD ที่ดูดซึมไว้ใช้เวลาเติมอากาศ 3-8 ชั่วโมง จนแบคทีเรียพร้อมที่จะดูดซึมสารอิทรีย์อีกจึงระบาย Activated Sludge กลับเข้า Contact Tank ทำให้บ่อเติมอากาศมีขนาดเล็กกว่าบ่อเติมอากาศของระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์ทั่วไป
61
ระบบคลองเวียนวน (Oxidation Ditch; OD)
ลักษณะสำคัญของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ รูปแบบของถังเติมอากาศจะมีลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม ทำให้น้ำไหลวนเวียนตามแนวยาว (Plug Flow) ของถังเติมอากาศ และรูปแบบการกวนที่ใช้เครื่องกลเติมอากาศตีน้ำในแนวนอน (Horizontal Surface Aerator) รูปแบบของถังเติมอากาศลักษณะนี้จะทำให้ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนละลายน้ำ ในถังเติมอากาศจะลดลงเรื่อย ๆ ตามความยาวของถัง จนกระทั่งมีค่าเป็นศูนย์ เกิดสภาวะที่เรียกว่า แอน็อกซิก (Anoxic Zone) ซึ่งจะมีระยะเวลาไม่ช่วงนี้ไม่เกิน 10 นาที
62
ระบบคลองเวียนวน (ต่อ)
สภาวะที่ไม่มีออกซิเจนละลายในน้ำทำให้ไนเตรตไนโตรเจน (NO3--N) ถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซไนโตรเจน (N2) โดยแบคทีเรียจำพวกดีไนตริฟายอิงแบคทีเรีย ทำให้ระบบสามารถบำบัดไนโตรเจนได้
64
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor)
ลักษณะสำคัญของระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ เป็นระบบแอกทิเวเต็ดจ์สลัดจ์ประเภทเติมเข้า-ถ่ายออก (Fill-and-Draw Activated Sludge) โดยมีขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสียแตกต่างจากระบบตะกอนเร่งแบบอื่น ๆ คือ การเติมอากาศ (Aeration) และการตกตะกอน (Sedimentation) จะดำเนินการเป็นไปตามลำดับภายในถังปฏิกิริยาเดียวกัน โดยการเดินระบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ 1 รอบการทำงาน (Cycle) จะมี 5 ช่วงตามลำดับ ดังนี้
65
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (ต่อ)
1.) ช่วงเติมน้ำเสีย (Fill) นำน้ำเสียเข้าระบบ 2.) ช่วงทำปฏิกิริยา (React) เป็นการลดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย (BOD) 3.) ช่วงตกตะกอน (Settle) ทำให้ตะกอนจุลินทรีย์ตกลงก้นถังปฏิกิริยา 4.) ช่วงระบายน้ำทิ้ง (Draw) ระบายน้ำที่ผ่านการบำบัด 5.) ช่วงพักระบบ (Idle) เพื่อซ่อมแซมหรือรอรับน้ำเสียใหม่
67
ตัวอย่างเกณฑ์การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge)
ที่มา : รวบรวมจากหนังสือ "ค่ากำหนดการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย", สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 2540 และ "Wastewater Engineering", Metcalf&Eddy 1991
68
0.2-0.6 กก.บีโอดี / กก. MLSS-วัน 0.8-1.1 กก. O2 / กก. BOD ที่ถูกกำจัด
หน่วยบำบัด เกณฑ์การออกแบบ พารามิเตอร์ ค่าที่ใช้ออกแบบ 1.แบบกวนสมบูรณ์ (Completely Mix) F/M Ratio กก.บีโอดี / กก. MLSS-วัน อายุสลัดจ์ (Sludge Age) 5-15 วัน อัตราภาระอินทรีย์ (Organic Loading) กก.บีโอดี / ลบ.ม.-วัน MLSS 2,500-4,000 มก./ล. เวลาเก็บกักน้ำ (HRT) 3-5 ชั่วโมง อัตราส่วนการสูบสลัดจ์กลับ 0.25-1 ความต้องการออกซิเจน กก. O2 / กก. BOD ที่ถูกกำจัด ประสิทธิภาพในการกำจัด บีโอดี ร้อยละ 85-95
69
0.2-0.6 กก.บีโอดี / กก. MLSS-วัน
2. แบบปรับเสถียรสัมผัส (Contact Stabilization) F/M Ratio กก.บีโอดี / กก. MLSS-วัน อายุสลัดจ์ (Sludge Age) 5-15 วัน อัตราภาระอินทรีย์ (Organic Loading) กก.บีโอดี / ลบ.ม.-วัน - MLSS ในถังสัมผัส ในถังปรับเสถียร 1,000-3,000 มก./ล. 4,000-10,000 มก./ล. - เวลาเก็บกักน้ำ (HRT) ในถังสัมผัส ในถังปรับเสถียร 0.5-1 ชั่วโมง 3-8 ชั่วโมง อัตราส่วนการสูบสลัดจ์กลับ - ความต้องการออกซิเจน ในถังสัมผัส ในถังปรับเสถียร กก.O2 / กก. BOD ที่ถูกกำจัด กก.O2 / กก. BOD ที่ถูกกำจัด ประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดี ร้อยละ 80-90
70
3.แบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)
F/M Ratio กก.บีโอดี / กก. MLSS-วัน อายุสลัดจ์ (Sludge Age) 10-30 วัน อัตราภาระอินทรีย์ (Organic Loading) กก.บีโอดี / ลบ.ม.-วัน MLSS 3,000-6,000 มก./ล. เวลาเก็บกักน้ำ (HRT) 8-36 ชั่วโมง อัตราส่วนการสูบสลัดจ์กลับ ประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดี ร้อยละ 75-95
71
0.05-0.3 กก.บีโอดี / กก. MLSS-วัน
4. แบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor) F/M Ratio กก.บีโอดี / กก. MLSS-วัน อายุสลัดจ์ (Sludge Age) 8-20 วัน อัตราภาระอินทรีย์ (Organic Loading) กก.บีโอดี / ลบ.ม.-วัน MLSS 1,500-6,000 มก./ล. ความจุถังต่ออัตราไหลเข้าของน้ำเข้าระบบ 8-50 ชั่วโมง ประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดี ร้อยละ 85-95
72
ปัญหาตะกอนไม่จมตัว (Bulking Sludge)
ตะกอนไม่จมตัว (Bulking Sludge)เกิดจากสภาวะที่มีจุลินทรีย์จำพวกเส้นใย (Filamentous Organism) มากเกินไป โดยจุลินทรีย์จำพวกเส้นใยเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ตะกอนจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศไม่จับตัวกันเป็นฟล็อค (Floc) เมื่อไหลไปยังถังตกตะกอนจะพบว่าตะกอนจุลินทรีย์เหล่านี้จะลอยขึ้นมาคล้ายลูกคลื่นเป็นชั้นตลอดทั่วทั้งถังตกตะกอน การควบคุมจุลินทรีย์จำพวกเส้นใยสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเติมคลอรีนหรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลงในตะกอนจุลินทรีย์ที่สูบกลับ (Return Sludge),
73
ปัญหาตะกอนไม่จมตัว (Bulking Sludge)(ต่อ)
การป้องกันการเกิดจุลินทรีย์เส้นใยในระบบนั้นต้องควบคุมให้ระบบมีสภาวะการทำงานที่เหมาะสม ได้แก่ การควบคุมค่าออกซิเจนละลายน้ำในถังเติมอากาศไม่ให้น้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และการเติมสารอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณที่พอเหมาะ การควบคุมพีเอชไม่ให้ต่ำกว่า 6.5 เป็นต้น
74
ปัญหาตะกอนลอย (Rising Sludge)
ตะกอนลอย (Rising Sludge) เกิดจากสภาวะดิไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไนไตรต์ และไนเตรต เป็นก๊าซไนโตรเจน โดยก๊าซไนโตรเจนจะสะสมตัวอยู่ใต้ชั้นของตะกอนจุลินทรีย์ในถังตกตะกอนจนมากพอที่จะดันให้ตะกอนจุลินทรีย์เหล่านั้นลอยขึ้นมาเป็นก้อนใหญ่ ๆ เมื่อลอยขึ้นมาจนถึงผิวน้ำแล้วจะแตกกระจายออกเป็นแผ่นมองเห็นฟองก๊าซเล็ก ๆ ลอยขึ้นมากับตะกอน การแก้ปัญหาตะกอนลอย ได้แก่ การเพิ่มอัตราการสูบตะกอนกลับจากถังตกตะกอนเพื่อลดระยะเวลาเก็บกักตะกอนในถังตกตะกอน หรือลดอายุสลัดจ์ (Sludge Age) โดยการเพิ่มอัตราการระบายตะกอนส่วนเกิน (Excess Sludge) ทิ้ง
75
ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ เชียงใหม่ (ระบบคลองวงเวียน)
ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ เชียงใหม่ (ระบบคลองวงเวียน) ที่มา:
76
ผลตรวจคุณภาพน้ำทิ้งปี 2547 (ก่อนแก้ปัญหา) Parameter
ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ น้ำเข้าระบบ น้ำทิ้ง ค่ามาตรฐาน ความเป็นกรดและด่าง pH 6.75 7.75 5-9 สารแขวนลอย(Suspended Solids) SS 44 mg/L 9.8 mg/L < 30 mg/L
77
สารที่ละลายได้ทั้งหมด
ตะกอนหนัก Settleable Solids 25 mg/L 5.2 mg/L * < 0.5 mg/L สารที่ละลายได้ทั้งหมด TDS 3,000 mg/L 1,024 mg/L ต้องมีค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำใช้ ตามปกติไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อลิตร
78
* ค่าBOD ของน้ำทิ้งไม่ได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง
39 mg/L 54 mg/L * < 20 mg/L TKN 26 mg/L 1.2 mg/L < 35 mg/L น้ำมันและไขมัน Grease& Oil 12.7 mg/L - mg/L < 20 mg/L * ค่าBOD ของน้ำทิ้งไม่ได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
79
1) ผลการตรวจคุณภาพน้ำทิ้งค่า BOD ได้มาตรฐาน
แก้ปัญหา: 1) ลดการใช้สารเคมีในหอผู้ป่วยลง 2) ปรับการจัดการระบบให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดในคู่มือการดูแลระบบบำบัด 3) ส่งตรวจน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดซ้ำอีกครั้ง โดยควบคุมกระบวนการจัดเก็บตัวอย่างและระยะเวลาในการส่งตัวอย่างน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐาน ผลที่ได้ 1) ผลการตรวจคุณภาพน้ำทิ้งค่า BOD ได้มาตรฐาน 2) ประสิทธิภาพของระบบดีขึ้น สังเกตได้จากสีของน้ำในคลองวงเวียนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นกว่าเดิม
80
ผลตรวจคุณภาพน้ำทิ้งล่าสุด(17 มิย 47) ปี 2547 Parameter
ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ น้ำเข้าระบบ น้ำทิ้ง ค่ามาตรฐาน ความเป็นกรดและด่าง pH 7.10 7.09 5-9 สารแขวนลอย(Suspended Solids) SS 54 mg/L 7 mg/L < 30 mg/L
81
สารที่ละลายได้ทั้งหมด
ตะกอนหนัก Settleable Solids 8 mg/L 8.4 mg/L < 0.5 mg/L สารที่ละลายได้ทั้งหมด TDS 254 mg/L 492 mg/L ต้องมีค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำใช้ ตามปกติไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อลิตร
82
BOD 28 mg/L 14 mg/L < 20 mg/L TKN 18.2 mg/L 1.97 mg/L < 35 mg/L
น้ำมันและไขมัน Grease&Oil 2.3 mg/L 0.3 mg/L < 20 mg/L ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
83
การบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลฮอด
การบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลฮอด ที่มา: ณัฐวุฒิ ใจชมชื่น ธนัน อินตา เดชา สุดใจ นิเวศน์ จินาวงค์ และสุริยา แสนหาญ. รายงานผลการศึกษาวิจัยโครงการกังหันน้ำชัยพัฒนากับผักตบชวา เพื่อการบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลฮอด. เมษายน 2550.
84
เป็นบ่อบำบัดน้ำเสียแบบ เอสบีอาร์ ( Sequencing Batch Reactor, SBR )
ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง ที่มีการเติมอากาศ เพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ และการตกตะกอนจุลินทรีย์เกิดขึ้นในถังเดียวกัน โดยลักษณะการทำงานแบบสลับช่วงเวลาเติมอากาศ ระบบนี้จะปล่อยน้ำทิ้งออกจากระบบเป็นบางช่วงเวลา คือหลังจากจุลินทรีย์ตกตะกอนแยกออกจากน้ำได้แล้วเท่านั้น
85
เรื่องร้องเรียนปัญหากลิ่นเหม็นจากบ่อบำบัดน้ำเสีย
ส่งผลกระทบต่อ เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านวังลุง ประชาชนชาวบ้านบริเวณรอบ ๆ โรงพยาบาล ผู้มารับบริการ และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลฮอด
86
ระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลฮอด
รับน้ำเสียจากโรงพยาบาล บ่อดักขยะและบ่อสูบน้ำเสีย บ่อเติมอากาศ จุลินทรีย์ย่อยสลาย (เอสบีอาร์) บ่อตากตะกอน ตะกอนใช้ทำปุ๋ยใส่ต้นไม้ คลองวนเวียน (เติมคลอรีนฆ่าเชื้อโรค) น้ำใช้รดต้นไม้ (ประหยัดน้ำประปา) สระพักน้ำ (มีกลิ่นเหม็น)
87
ทดลองเติมอากาศและปลูกผักตบชวาในสระพักน้ำ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ(ม.ค.-ต.ค. 2549)
ระยะที่ 1 ใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาเติมอากาศอย่างเดียว ขนาด 3 แรงม้า พร้อมกับปล่อยปลา ระยะที่ 2 ใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาเติมอากาศ ร่วมกับการปล่อยพืชน้ำผักตบชวา จำนวน 1 แปลง(3 ม.* 5 ม.) พร้อมกับปล่อยปลา ระยะที่ 3 ใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาเติมอากาศ ร่วมกับการปล่อยพืชน้ำผักตบชวา จำนวน 2 แปลง พร้อมกับปล่อยปลา
88
งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ
ค่าไม้ไผ่ตงเล่มใหญ่ เล่ม เป็นจำนวนเงิน บาท ค่ากังหันเติมอากาศชัยพัฒนา 1 เครื่องเป็นจำนวนเงิน 38,000 บาท ผักตบชวา หาได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ต้องใช้งบประมาณ รวม 38,200 บาท
91
ระยะการศึกษา / ประเด็นที่ศึกษา
ตารางเปรียบเทียบผลการศึกษา ระยะการศึกษา / ประเด็นที่ศึกษา สีของน้ำ กลิ่น คุณภาพน้ำทิ้ง ความพึงพอใจ ผู้ได้รับผลกระทบ ก่อนดำเนินการศึกษา มีสีขุ่น มองไม่เห็นตัวปลา มีกลิ่นเหม็นมาก BOD ค่า DO 1.2 รู้สึกไม่พึงพอใจ ร้องเรียนผู้อำนวยการโรงพยาบาล /นายอำเภอฮอด
92
ระยะที่ 1 มีการเติมอากาศโดยการใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา
ปล่อยปลา มีสีขุ่นเล็กน้อย มองเห็นตัวปลาในระดับผิวน้ำ ยังคงมีกลิ่นเหม็นอยู่ BOD ค่า DO รู้สึกไม่พึงพอใจ ระยะที่ 2 มีการเติมอากาศโดยการใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาพร้อมกับปล่อยผักตบชวาจำนวน 1 แปลง มีสีใสขึ้น มองเห็นตัวปลาในน้ำลึกได้ประมาณ 1 ฟุต ยังมีกลิ่นเหม็นอยู่แต่ไม่มาก BOD รู้สึกว่ากลิ่นเหม็นที่มีอยู่เดิมหายไปบ้าง
93
ระยะที่ 3 มีการเติมอากาศโดยการใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา พร้อมกับปล่อยผักตบชวาจำนวน 2 แปลง
มีสีขุ่นใสเพิ่มมากขึ้น มองเห็นตัวปลาในน้ำลึกได้ประมาณ เมตร ไม่มีกลิ่นเหม็น BOD ค่า DO รู้สึกดีต่อการจัดการเรื่องกลิ่นเหม็นจากบ่อบำบัดน้ำเสีย
94
คุณภาพน้ำก่อนปล่อยทิ้ง
95
คุณภาพน้ำก่อนปล่อยทิ้ง
ตัวชี้วัด คุณภาพน้ำก่อนปล่อยทิ้ง เป้าหมาย ระดับที่ปฏิบัติได้ มกราคม มิถุนายน 1. ค่า บีโอดี (ทุก 3 เดือน) 2. ค่าคลอรีนอิสระตกค้าง (ทุกวัน) 3. DO (ทุกสัปดาห์) 4. pH 5. ปริมาณของแข็ง (Solids) 5.1 ปริมาณสารแขวนลอย 5.2 ปริมาณตะกอนหนัก 5.3 ปริมาณสารละลายทั้งหมด 6. น้ำมันและไขมัน 7. ซีโอดี 8. ซัลไฟด์ (Sulfide) 9. ไนโตรเจน (TKN) 10. โคลิฟอร์มแบคทีเรีย 11. ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ไม่เกิน 20 มก. / ล. ไม่เกิน มก. / ล. ระหว่าง ไม่เกิน 30 มก. / ล. ไม่เกิน 0.5 มก. / ล. ไม่เกิน 500 มก. / ล. ไม่เกิน 120 มก./ ล ไม่เกิน 1.0 มก. / ล. ไม่เกิน 35 มก. / ล. ไม่เกิน 5,000 MPN/100 ml ไม่เกิน 1,000 MPN/100 ml 3.8 5.4 < 0.5 234 2.4 - 1.02 3.0 3500 800 0.84 3.2 306 1.10 3000 ไม่พบ
96
การประหยัดรายจ่ายค่าน้ำประปา
หลังจากดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ไปได้ระยะหนึ่ง จึงได้มีการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วไปรดน้ำต้นไม้ สนามหญ้า เฉลี่ยประหยัดค่าน้ำประปาประมาณ เดือนละ 2, บาท
97
ข้อเสนอแนะ ในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ของโรงพยาบาลชุมชน
ควรมีอัตรากำลังคน ที่รับผิดชอบดูแลระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง 1 คน มีแผนการปฏิบัติงาน ดูแลบำรุงรักษาประจำ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ทุก 3 , 6 เดือน และทุกปี ตั้งงบประมาณในการบริหารจัดการด้านการบำรุงรักษาประจำปีที่ชัดเจน
98
แนวปฏิบัติที่ดีด้านการป้องกันและลดมลพิษ ในการจัดการน้ำเสีย สำหรับโรงพยาบาล
ติดตั้งถังดักไขมันที่มีประสิทธิภาพสำหรับห้องครัวหรือห้องอาหาร มีตะแกรงกรองเศษอาหารก่อนระบายน้ำทิ้งลงบ่อดักไขมัน จัดทำรางระบายน้ำเสียโดยเฉพาะจากห้องครัวและบริเวณที่ล้างภาชนะเพื่อระบายลงบ่อดักไขมัน ตักไขมันในถังดักไขมันไปกำจัดอย่างเหมาะสมทุกสัปดาห์ หมุนเวียนน้ำทิ้งจากบางกิจกรรมที่ปลอดภัยจากเชื้อโรค ซึ่งผ่านการบำบัดแล้วมาใช้รดน้ำต้นไม้
99
แนวปฏิบัติที่ดีด้านการป้องกันและลดมลพิษ ในการจัดการน้ำเสีย สำหรับโรงพยาบาล(ต่อ)
จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพและนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำจุลินทรีย์สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติแทนสารเคมีเป็นอันตราย เป็นต้น ควบคุมการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ติดตั้งตะแกรงดักขยะก่อนน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดและมีการเก็บขยะออกจากตะแกรงดักขยะทุกวัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.