งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่8 การเขียน Storyboard.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่8 การเขียน Storyboard."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่8 การเขียน Storyboard

2 Storyboard คือการเขียนกรอบแสดง เรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉาก หรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูด และแต่ละอย่าง นั้นมีลำดับของการปรากฏ ว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่าง ละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเม ชันหรือหนังขึ้นมาจริงๆ

3 ประโยชน์ของ Storyboard

4 สิ่งสำคัญที่อยู่ในStoryboard
1. Subject หรือCharacter ไม่ว่าจะ เป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือตัวการ์ตูน ฯ และที่ สำคัญคือพวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร 2. กล้อง ทำงานอย่างไร ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพ และการเคลื่อนกล้อง 3. เสียง พวกเขากำลังพูดอะไรกัน มีเสียงประกอบ หรือเสียงดนตรีอย่างไร

5

6 ขั้นตอนการเขียน storyboard
1. คิด Theme หลักของเรื่อง Theme หลักของเรื่องจะเป็นอะไรที่สั้น ๆ แค่แนวคิดที่จะ นำเสนอจบในประโยคเดียว ยกตัวอย่างเช่น “ทายาทร้อยล้าน ตามหารักแท้” “เป็ดน้อยผจญภัย” “สงครามพิชิต จ้าวอสูร” “รักเกิดในตลาดสด” ฯลฯ

7 2. เขียนเรื่องย่อ เรื่องย่อคืออะไร เรื่องย่อคือ เรื่องเล่าย่อ ๆ ของทั้งเรื่อง รวบ ใจความหลักของทั้งเรื่อง ถ้านึกภาพไม่ออกว่าเรื่องย่อเป็นอย่างไร สามารถดูตัวอย่างได้ที่หลังแผ่น DVD ส่วนใหญ่การเขียนเรื่องย่อ มักจะให้จบใน หนึ่งหน้า A4 ไม่ ควรทิ้งตอนจบไว้ให้เป็นปริศนา 3. บท บทคือตัวหนังสือที่เล่าเรื่องราวของการดำเนินเนื้อเรื่องที่อ่าน แล้วเห็นภาพเป็นฉากๆ มีการบอกมุมกล้อง เทคนิคถ่ายทำ และ บท พูดไว้อย่างชัดเจน

8 4. เขียน Story board เมื่อได้บทลงตัวแล้ว เราก็จะมาเขียน Story board ตัวStory board จะประกอบด้วย ด้านที่เป็นภาพ และด้านที่ เป็นตัวอักษรอธิบายภาพ เสียงประกอบหรือเสียงพูดจากบทด้วย

9

10 5. Shooting Board เมื่อเราได้ Story board แล้วค่อยมาแตกเป็น shooting board อีกครั้ง Shooting board จะเหมือนกับ Story board แต่ความละเอียดสูงกว่า มีทุกภาพที่จะอยู่ใน Animation ของเรา เพื่อจะให้คนทำต่อทำได้อย่างถูกต้อง

11 ตัวอย่าง Shooting board

12 6. Animation เมื่อเราได้ Shooting board เรียบร้อยแล้ว  ก็ลง มือทำ animation โดยอาจจะทำแบบคร่าวๆ ก่อน แล้วค่อย ลงรายละเอียดทีหลัง

13 ขนาดภาพและมุมกล้อง การกำหนดขนาดภาพและมุมกล้องที่ดีใน Story board จะ ช่วยให้ผลงานมัลติมีเดียสื่อความหมายได้ดีตามไปด้วย ซึ่ง ขนาดภาพและมุมกล้องที่สำคัญๆ มีดังนี้

14 Camera : Close up ใช้สำหรับเจาะรายละเอียดบนใบหน้า หรือ ส่วน
อื่นๆ เพื่อเน้นความสำคัญในรายละเอียดของวัตถุ นั้นๆ ขนาดของภาพจะเห็นประมาณ หัวถึงคาง

15 Camera : Extreme Close Up
เป็นภาพขนาดใกล้มาก เก็บรายละเอียดเล็กๆ เช่น เม็ดเหงื่อบนจมูก ภาพสะท้อนในดวงตา บางทีเป็น ฉากซูมให้เห็นผิวหนังก็ได้

16 Camera : Medium Shot จะเริ่มตั้งแต่หัวถึงเอว หรือจะลงมาถึงเข่าก็ได้ ซึ่ง ภาพขนาดนี้ จะเน้นที่ตัววัตถุโดยรวม เห็นรายละ เอียดโดยรวม สามารถถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของ วัตถุได้ในระดับหนึ่ง

17 Camera : Long Shot เป็นภาพระยะไกล เห็นรายละเอียดของสภาพแวด
เป็นภาพระยะไกล เห็นรายละเอียดของสภาพแวด ล้อม ว่าทำอะไรที่ไหน ส่วนใหญ่จะใช้เล่าเกี่ยวกับ สถานที่ และ เวลา

18 Camera : Extra Long Shot
เป็นภาพขนาดกว้างมาก บางทีอาจแทบไม่เห็นตัว วัตถุเลยก็ได้ เน้นสถานที่อย่างเดียว ให้เห็นถึง ความกว้าง ความใหญ่ ความสูง หรือ ความแตกต่าง ระหว่างสถานที่กับวัตถุ

19 Camera : Bird eye view ภาพแทนสายตาของนก (ภาพมุมสูง) เวลามองวัตถุ สามาถถ่ายทอดความรู้สึกได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหดหู่ หรือ ดูต่ำต้อย บางทีก็ใช้ภาพมุมสูงเพื่อให้เห็นความอลังการของฉากก็ได้ เช่น ภาพคนใส่สูทดำ เป็นร้อยๆ คน มีคนใสสีแดงอยู่คน เดียว อย่างนี้ใช้ภาพมุมสูงจะเห็นได้ชัดมาก

20

21 Camera : Worm eye view ภาพที่กล้องอยู่ต่ำกว่าวัตถุ (ภาพมุมต่ำ) ภาพมุมนี้สามารถบอกว่า วัตถุดูน่ากลัว หรือยิ่งใหญ่ แค่ไหนได้

22 Camera : Pan เป็นเทคนิคการเคลื่อนกล้องจากซ้าย ไป ขวา หรือ ขวามาซ้ายก็ได้ เราจะเรียกว่าแพน ใช้ในหลายกรณีมากๆไม่ว่าจะเป็นบอกเรื่องราว เชื่อมระหว่างสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง

23 Camera : Tilt เป็นเทคนิคการเคลื่อนกล้องจากบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบนใช้ในหลายกรณีมากๆไม่ว่าจะเป็นบอกเรื่องราว เชื่อมระหว่างจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง

24 Camera : Over-shoulder Shot
ภาพผ่านไหล่ ใช้ในฉากที่มีตัวแสดงมากกว่าหนึ่งขึ้นไป คือภาพที่เห็นตัวแสดงโดยมองจากมุมมองที่ผ่านไหล่ตัวละครอีกตัวหนึ่ง

25 THANK YOU


ดาวน์โหลด ppt บทที่8 การเขียน Storyboard.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google