ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ปัญหา ในเด็กวัยเรียน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข
เอกสารประกอบการบรรยายที่ 1 ปัญหา ในเด็กวัยเรียน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข
2
Outline แนวทางการประเมินเด็กวัยเรียน
โรคที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนและแนวทางการช่วยเหลือ โรคสมาธิสั้น (Attention-Deficit Hyperactive Disorder : ADHD) ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorders: LD) ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities) โรคออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ในเด็กวัยเรียนและแนวทางการช่วยเหลือ
3
ปัญหาในเด็กวัยเรียน ปัญหา การเรียน ปัญหาทาง พฤติกรรม ปัญหาทาง อารมณ์
อาการ ทางกาย
4
แนวทาง การประเมิน เด็กวัยเรียน
5
สิ่งนี้คืออะไร? พฤติกรรม สิงที่แสดงออก ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก
ประสบการณ์ในอดีต ฯลฯ
6
สิ่งสำคัญในการประเมิน
สัมพันธภาพที่ดี
7
แนวทางในการรวบรวมข้อมูล
การสัมภาษณ์ประวัติจากผู้ปกครอง และเด็ก อาการสำคัญหรือความผิดปกติที่ทำให้ต้องมาปรึกษาสาธารณสุข ผลกระทบของปัญหา ประวัติทั่วไปของเด็ก ประวัติครอบครัว ประวัติพัฒนาการ ประวัติสุขภาพของเด็ก เช่น โรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็นประจำ การฉีดวัคซีน เป็นต้น ผู้เลี้ยงดูหลัก สัมพันธภาพกับผู้ปกครอง แนวทางการเลี้ยงดู ประวัติที่โรงเรียน ผลการเรียนที่ผ่านมาและปัจจุบัน สัมพันธภาพกับครูและเพื่อน ประวัติการช่วยเหลือที่ผ่านมา และผลของการช่วยเหลือ ข้อมูลอื่นๆที่ เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหา ข้อดี จุดแข็งของเด็ก
8
แนวทางในการรวบรวมข้อมูล
แบบประเมินต่างๆและผลการประเมิน การสังเกตพฤติกรรมของเด็กและสัมพันธภาพกับผู้ปกครองในระหว่างที่ประเมิน
9
หลักในการสื่อสารกับเด็กวัยเรียน
เด็กวัยเรียนส่วนใหญ่มักจะสามารถพูดคุย เล่าเรื่องของตนเองให้ผู้อื่นฟังในการสนทนาได้ โดยทักษะในการใช้ภาษาและความอยากที่จะเล่ามีความแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน การเล่นและจินตนาการเป็นลักษณะเด่นในช่วงวัยนี้ ช่องทางในการสื่อสารกับเด็กวัยเรียนอาจจะสามารถเกิดได้จาก ทั้งการสนทนา และการเล่น เด็กวัยเรียนมีความไวต่อคำตำหนิติเตียนและวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้นอาจจะต้องพิจารณาแยกสัมภาษณ์ผู้ปกครองและเด็ก ในการสื่อสารกับเด็กวัยเรียนเพื่อซักประวัติ บุคลากรควรมีความยืดหยุ่นและใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก
10
การสื่อสารทางบวก การสื่อสารทางบวก (Positive Communication) เป็นรูปแบบและเทคนิคการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ สร้างความรู้สึก ความสัมพันธ์ที่ดี เกิดความเข้าใจ จูงใจให้ร่วมมือ ยอมรับและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การที่บุคลากรทางสาธารณสุขสามารถสื่อสารทางบวกกับเด็กวัยเรียน และแนะนำให้ผู้ปกครองและครูสามารถมีการสื่อสารทางบวกกับเด็กได้นั้นจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี และความสำเร็จในการดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน
11
การสื่อสารทางบวก ประเภทของการสื่อสาร
การสื่อสารโดยใช้คำพูด (Verbal Communication) การสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด (Nonverbal Communication)
12
หลักในการสื่อสารทางบวก
เนื้อหา: ข้อมูลที่แลกเปลี่ยนชัดเจน ไม่คลุมเครือ จุดหมายปลายทาง: เนื้อหาที่จะสื่อจะต้องตรงไปสู่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง ไม่อ้อมค้อมผ่านผู้อื่น
13
เทคนิคในการสื่อสารทางบวก
การมีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก การจัดสิ่งแวดล้อมในการสื่อสารที่ดี เริ่มต้นจากข้อดีของเด็ก สำรวจลงไปในปัญหา ฟังอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า “ทำไม” I-YOU Message
14
เทคนิคในการสื่อสารทางบวก
กระตุ้นให้บอกความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ถามความรู้สึก สะท้อนความรู้สึก ถามความคิด สะท้อนความคิด การกระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่อง ใช้ภาษากาย ชื่นชมต่อหน้าผู้อื่น ตำหนิเป็นการส่วนตัว ตำหนิที่พฤติกรรม มากกว่าตัวบุคคล ประคับประคองอารมณ์ การคาดหวังด้านบวก
15
โรคที่ส่งผลต่อ ปัญหาการเรียนและ แนวทางการช่วยเหลือ
16
โรคที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนและแนวทางการช่วยเหลือ
โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactive Disorder: ADHD) ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorders: LD) ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities: ID) โรคออทิสติก (Autism Spectrum Disorders)
17
โรคสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactive Disorder: ADHD
18
อาการที่ครูมักแนะนำให้เด็กมาตรวจ
ไม่ค่อยตั้งใจเรียน ขาดความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย ชอบคุยในห้องเรียน ขาดความรอบคอบ ทำงานไม่เรียบร้อย วอกแวกง่าย ต้องคอยกระตุ้นบ่อยๆ อยู่ไม่นิ่ง ชอบลุกเดินในห้องเรียน
19
โรคสมาธิสั้น คืออะไร? เป็นความผิดปกติของสมอง (neuropsychiatric disorder) ที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องของสมาธิและความสามารถในการควบคุม ตัวเอง
20
พบโรคนี้บ่อยแค่ไหน? - 3-5% ของเด็กวัยเรียน : 20 คน พบ 1 คน
-เด็กชาย> เด็กหญิง
21
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นสมาธิสั้น ?
22
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นได้โดย
รวบรวมประวัติอย่างละเอียด (จากครู และผู้ปกครอง) ตรวจร่างกาย การมองเห็น การได้ยิน (กรณีจำเป็น) ตรวจความจำ สมาธิ ความสามารถในการวิเคราะห์ ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ หรือ เอ็กซเรย์ที่ใช้ในการวินิจฉัย
23
การวินิจฉัยตามระบบ ICD-10
กลุ่มอาการซน สมาธิสั้น (Attention-Deficit Hyperactive Disorder : ADHD) และปัญหาพฤติกรรม (F90.) กลุ่มอาการซนสมาธิสั้น (Hyperkinetic disorders) (F90.0) สมาธิสั้นแบบทั้งขาดสมาธิและอยู่ไม่นิ่ง หรืออยู่ไม่นิ่งเด่น (ADHD/ ADHD, Combined or Hyperactive-Impulsive Type) (F 98.8) สมาธิสั้นแบบขาดสมาธิเด่นและแบบอื่นๆ (ADHD, Inattentive Type/ Other Hyperkinetic disorders) (F 90.1) สมาธิสั้นร่วมกับพฤติกรรมเกเร ก้าวร้าว (ADHD with CD) (F 90.9) สมาธิสั้น ไม่ระบุรายละเอียด (Hyperkinetic disorders, Unspecified)
24
อาการของโรคสมาธิสั้น
ขาดสมาธิ (Attention Deficit) ซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity)
25
กลุ่มอาการขาดสมาธิ 1. ไม่มีสมาธิ 2. ไม่รอบคอบ ทำงานผิดพลาด สะเพร่า
1. ไม่มีสมาธิ 2. ไม่รอบคอบ ทำงานผิดพลาด สะเพร่า 3. ขาดความตั้งใจเวลาทำงาน 4. ดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูด 5. ทำงานไม่เสร็จ ไม่มีระเบียบ 6. วอกแวกง่าย 7. หลงลืม 8. ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ 9. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิด
26
กลุ่มอาการซนอยู่ไม่นิ่ง
1. ยุกยิก อยู่ไม่สุข 2. ชอบลุกจากที่นั่ง 3. วิ่ง, ปีนป่าย, เล่นโลดโผน 4. ไม่สามารถเล่นหรืออยู่เงียบๆได้ เล่นเสียงดัง 5. พลังงานเหลือเฟือ ซนมากตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน 6. พูดมาก พูดไม่หยุด
27
กลุ่มอาการหุนหันพลันแล่น
1. โพล่งคำตอบออกมาก่อนคำถามจบ 2. ใจร้อน รอคอยอะไรไม่ค่อยได้ 3. ชอบพูดแทรกขณะผู้อื่นกำลังพูดอยู่
28
ติดต่อกันมากกว่า 6 เดือน
การวินิจฉัยโรค มีอาการใน 2 กลุ่มอาการ คือ ไม่มีสมาธิ [6ข้อขึ้นไป (5 ข้อขึ้นไป สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุ ≥ 17 ปี)] และ/หรือ ซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น [6ข้อขึ้นไป (5 ข้อขึ้นไป สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุ ≥ 17 ปี) ] ติดต่อกันมากกว่า 6 เดือน เกิดอาการก่อนอายุ 12 ปี มีอาการที่แสดงออกให้เห็นชัดเจน อย่างน้อย 2 สถานที่ ขึ้นไป เช่น โรงเรียนและบ้าน
29
การวินิจฉัยโรค รบกวนชีวิตประจำวัน
เมื่อเสียหายต่อการเรียน รบกวนการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ทำให้คนอื่นรำคาญ อาการไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงที่มีอาการของโรค schizophrenia หรือ psychotic disorder อื่นๆ และไม่สามารถอธิบายได้ดีกว่าด้วยโรคทางจิตเวชอื่นๆ
30
ชนิดของ ADHD Combined Type Predominantly Inattentive Type
Predominantly Hyperactive –Impulsive Type
32
การวินิจฉัยแยกโรค พฤติกรรมซนปกติตามวัย โรคทางกายที่มีผลต่อสมาธิ
ปัญหาการเลี้ยงดู เช่น ถูกตามใจ ขาดการฝึกระเบียบวินัย ผลข้างเคียงจากยา ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ภาวะสติปัญญาบกพร่อง มีพัฒนาการช้าทุกด้านแต่อาจมีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยได้ ปัญหาทางอารมณ์ โรคออทิซึม จะพบพัฒนาการช้าทางด้านภาษาและสังคม
33
โรคที่พบร่วม กลุ่มอาการดื้อ ต่อต้าน (ODD) 60%
กลุ่มอาการพฤติกรรมเกเร ก้าวร้าว 40% (Conduct disorders) ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) % กลุ่มความผิดปกติทางอารมณ์ % (Affective disorders) กลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety disorders) 10-30% Tourette’s disorder 2%
34
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน
สมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมเรื่องการสมาธิจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง (Dopamine and Norepinephrine turnover ต่ำกว่าปกติ ) ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้ ?
35
ปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้อง
ปัจจัยทางพันธุกรรม ถ้ามีพ่อหรือแม่ 1 คนเป็นโรคสมาธิสั้น พบว่าลูกจะเป็นโรคนี้ร้อยละ 57 ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม มารดาสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติดช่วงตั้งครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับพิษสารตะกั่ว ฯลฯ
36
ผลกระทบ สมาธิสั้น เด็ก กาย จิตสังคม ครอบครัว ความสัมพันธ์ โรงเรียน
ระบบการเรียน ครูผู้สอน สมาธิสั้น
37
ไม่รักษา...จะเป็นอย่างไร
38
Prognosis คงที่ แย่ลง หายเอง
39
การดูแลรักษา ครอบครัว พ่อแม่ โรงเรียน ครู ตัวเด็ก
40
การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือ การผสมผสานหลายๆวิธีเข้าด้วยกัน
การดูแลรักษา การปรับพฤติกรรม + ปรับวิธีการเลี้ยงดู การปรับสิ่งแวดล้อมของเด็ก การปรับการเรียนการสอน การใช้ยา การรักษาทางเลือกอื่นๆ เช่น นั่งสมาธิ กีฬา การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือ การผสมผสานหลายๆวิธีเข้าด้วยกัน
41
การอยู่กับเด็กสมาธิสั้น
เข้าใจเด็ก ธรรมชาติเด็ก ไม่ได้แกล้ง ไม่ใช่นิสัยเสีย ไม่ใช่ดื้อ หรือ ไม่อดทน ไม่ใช่สอนไม่จำ ไม่ใช่ไม่รับผิดชอบ
42
การอยู่กับเด็กสมาธิสั้น
2. หลีกเลี่ยงการตำหนิ เพิ่มการชื่นชม 3. ช่วยเด็กคิดวิธีแก้จุดอ่อน เช่น ขี้ลืม 4. ช่วยให้ใช้พลังงาน กีฬา ดนตรี ช่วยงานผู้ใหญ่ 5. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม 6.แบ่งช่วงเวลาทำงานให้สั้น
43
การรักษาด้วยยา Psychostimulant : Methylphenidate ผลข้างเคียง
Ritalin ออกฤทธิ์ 4 ชั่วโมง Concerta ออกฤทธิ์ 12 ชั่วโมง ผลข้างเคียง เบื่ออาหาร ปวดมึนศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิด วิตกกังวล น้อยใจง่าย
44
การรักษาด้วยยา Non-stimulant : Atomoxetine ผลข้างเคียง Strattera
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปัญหาการนอนหลับ
46
วิธีการช่วยเหลือในปัญหาเฉพาะ
เหม่อ ใจลอย ไม่สนใจเรียน วอกแวกง่าย อู้ ยืดยาด เฉื่อย ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ หลงลืมง่าย ขาดการวางแผนล่วงหน้า แบ่งเวลาไม่เป็น ขาดระเบียบ
47
วิธีแก้ปัญหาเหม่อ ใจลอย วอกแวกง่าย
จัดที่นั่งให้เหมาะสม ลดสิ่งที่จะทำให้วอกแวก ตกลงวิธีเตือนกับเด็ก หลีกเลี่ยงการเรียกชื่อบ่อยๆ สอนให้เร้าใจ สนุก ทำเนื้อหาให้น่าสนใจ น่าติดตาม สลับให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวบ้าง
48
วิธีแก้ปัญหาอู้ ยืดยาด เฉื่อย ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ
กำหนดเวลา สร้างแรงจูงใจ เริ่มต้นงานกับเด็ก ใช้การสัมผัสที่นุ่มนวล แบ่งงานเป็นส่วนเล็กๆ พักสั้นๆบ่อยๆ ให้เวลาทำงานนานกว่าเด็กปกติ
49
วิธีแก้ปัญหาหลงลืมบ่อย
เขียนคำสั่งให้ชัดเจน ทำเป็นเอกสารให้เด็กทบทวน ให้เด็กทบทวนคำสั่ง หรือเนื้อหาบ่อยๆ มีวิธีเตือนความจำที่เหมาะสม เช่น ป้าย, post-it, นาฬิกาปลุก มีตารางกำกับ ฝึกบ่อยๆให้เคยชิน ฝึกให้เด็กรู้จักการทำ check-list อนุญาตให้เด็กใช้อุปกรณ์บันทึกเสียง
52
วิธีแก้ปัญหาการขาดการวางแผนล่วงหน้า
สอนให้เด็กรู้จักใช้ planner ฝึกให้เด็กหยุดตัวเอง...คิดก่อนทำ
53
วิธีแก้ปัญหาการแบ่งเวลาไม่เป็น
สอนให้เด็กรู้จักการ “กะ” เวลา ฝึกบ่อยๆ เล่นเป็นเกม บันทึกเวลาการทำงานของตัวเอง ทำตารางเวลาเพื่อกำกับแต่ละกิจกรรม สอนให้ย่อยงาน แล้วกำหนดเวลาการทำงานแต่ละส่วน สอนให้รู้จักใช้นาฬิกาปลุก, timer เตือนเด็กล่วงหน้าถึงเวลาที่เหลือ สอนให้ทำ “to do list” Weekly, Monthly Planner
54
วิธีแก้ปัญหาขาดระเบียบ
สอนให้เด็กใช้แฟ้มเจาะรูสำหรับเก็บเอกสาร สอนให้เด็กทำป้ายติดบนแฟ้ม, หนังสือ, สิ่งของ ป้ายควรเป็นรหัสสี หรือตัวเลขที่เด็กดูรู้และเข้าใจง่าย มีแฟ้มสำหรับใส่การบ้านที่ต้องทำ, การบ้านที่ทำเสร็จแล้ว, การบ้านที่ต้องส่ง
55
วิธีแก้ปัญหาขาดระเบียบ
สอนให้เด็กจัดโต๊ะเรียนทุกวันก่อนกลับบ้าน จัดกระเป๋านักเรียนทุกวันก่อนนอน เลือกใช้กล่องดินสอ, กระเป๋านักเรียนที่แบ่งเป็นช่องๆไว้แล้วอย่างเป็นระเบียบ จัดห้องเรียนให้เป็นระเบียบ เป็นตัวอย่างหรือหาตัวอย่างของเด็กที่เป็นระเบียบให้เด็กได้เลียนแบบ
56
(Alternative Treatments)
การรักษาทางเลือก (Alternative Treatments) กีฬา การละเล่น ดนตรี ศิลปะ กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy), Sensory Integration (SI) Training การฝึกสติ นั่งสมาธิ Neurofeedback (EEG, HEG Biofeedback) Interactive Metronome (IM) Training Hyperbaric chamber Horse therapy
57
ช่วยพ่อแม่ และครู เข้าใจเด็ก เข้าใจตนเอง จัดการกับความทุกข์
เห็นใจกันและกัน เติมพลังให้ตนเอง อดทนกับเด็ก พัฒนาเด็ก
58
ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities: LD)
59
ลักษณะที่พบ ดูฉลาดหรือปกติในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเรียน
หลีกเลี่ยงวิชาที่ต้องใช้การอ่าน เขียน หรือคำนวณ สะกดคำไม่ได้หรือไม่ถูก อ่านช้า อ่านข้าม หรืออ่านเพิ่มคำ สับสนกับตัวอักษร เช่น ค - ด, ถ – ภ, ม – น, พ – ผ, b – d, p – q, ฯลฯ ไม่เข้าใจค่าของจำนวน เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน .... มีความบกพร่องในการรับรู้ การจับใจความ ผลการเรียนไม่คงเส้นคงวา
60
ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ คืออะไร ?
เป็นความผิดปกติในการเรียนรู้ในทักษะบางอย่างต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกันอย่างชัดเจน โดยทักษะที่บกพร่องนั้นต่ำกว่าระดับเชาวน์ปัญญาที่เด็กมีและเรียนรู้ได้
61
พบบ่อยแค่ไหน ? อัตราการเกิดโรค ประมาณ 5-10 %
62
แพทย์วินิจฉัยได้โดย ประวัติ การประเมินเพิ่มเติมโดยแบบทดสอบทางจิตวิทยา
IQ test WRAT test (the wide range achievement test)
63
การวินิจฉัยตามระบบ ICD 10
(F81.0) ความผิดปกติจำเพาะของการอ่าน (Reading Disorder/ Dyslexia) (F81.1) ความผิดปกติจำเพาะของการสะกดคำ (Specific Spelling Disorder) (F81.2) ความผิดปกติจำเพาะของทักษะทางคณิตศาสตร์ (Mathematics Disorder/ Specific disorder of arithmetical skills) (F81.3) ความผิดปกติผสมของทักษะในการเรียน (Mixed disorder of scholastic skills)
64
อาการ ความบกพร่องของการอ่าน
มีปัญหาในการจดจำและสะกดคำตามเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ อ่านหนังสือไม่ออก อ่านช้า มีความยากลำบากในการอ่านหนังสือ อ่านคำศัพท์ยากๆ ไม่ได้ เด็กสามารถเข้าใจภาษาได้ดี หากเด็กฟังหรือมีคนอ่านหนังสือให้ฟัง หรือฟังจากเทป แต่ถ้าให้อ่านเองเด็กจะอ่านไม่ได้ อ่านไม่เข้าใจหรือจับใจความไม่ได้ อ่านคำโดยสลับตัวอักษร เช่น กบ เป็น บก อ่านคำศัพท์ผิดเพี้ยนจากคำเดิม เดาคำจากตัวอักษรแรก เช่น เพื่อนอ่านเป็นพี่ เที่ยวอ่านเป็นที่ เขาอ่านเป็นขา
65
อาการ ความบกพร่องของการอ่าน
ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน มาหลัง ตัวอักษรใดอยู่ซ้ายหรือขวา ไม่สามารถแยกเสียงสระในคำได้หรือ แยกคำศัพท์ในการอ่านไม่ได้ เช่น แมลง อ่านว่า แม – ลง หรือ มะ – แลง – ลง สรุปใจความของการอ่านไม่ได้ ขาดความสนใจและหลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือ เพราะการอ่านเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก เมื่ออ่านวิชาภาษาไทยไม่ได้ วิชาอื่นๆที่ต้องใช้ทักษะการอ่านก็จะมีปัญหาเช่นเดียวกัน
66
อาการ ความบกพร่องของการเขียน -สะกดคำ
ไม่สามารถแยกขนาด รูปทรงเรขาคณิตได้ ใช้สายตาในการจดจำสิ่งของไม่ได้ หรือได้ไม่ดี เขียนพยัญชนะทั้ง 44 ตัว ได้ไม่ครบ เขียนสระทั้ง 32 ตัว ได้ไม่ครบ เขียนได้เฉพาะสระง่ายๆ เสียงเดี่ยว สะกดคำผิด มักเขียนได้เฉพาะพยัญชนะต้น แต่เลือกใช้สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง ทำให้เขียนแล้วอ่านไม่ออก การเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา การใช้การันต์ คำยากหรือคำที่มีหลายพยางค์ เด็กจะเขียนตามเสียงที่ได้ยิน เช่น พิสูจน์ – พิสูด ธรรมชาติ – ทำมะชาด
67
อาการ ความบกพร่องของการเขียน -สะกดคำ
เรียงลำดับตัวอักษร พยัญชนะ สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ ตัวการันต์ ผิดตำแหน่ง สับสนในการเขียนและการสะกดคำที่พ้องเสียง มีความบกพร่องในการใช้คำศัพท์ การแต่งประโยค การเว้นวรรค เรียงคำไม่ถูกต้อง การใช้ไวยากรณ์และการเรียบเรียงเนื้อหาไม่ดี ไม่สามารถลอกคำที่ครูเขียนบนกระดานลงสมุดของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการเขียนหนังสือและการจดงาน หรือจดงานช้า เขียนไม่เป็นคำ รูปของตัวอักษรที่เขียนอาจไม่แน่นอน ตัวอักษรที่เด็กเขียนแต่ละครั้งอาจมีรูปทรงที่แตกต่างกันไป
69
อาการ ความบกพร่องทางคณิตศาสตร์
ไม่เข้าใจความหมายของจำนวน ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่มองเห็น มีปัญหาในการจัดเรียงลำดับ ไม่สามารถจำแนกวัสดุที่มีขนาดต่างกันที่กองรวมกันอยู่ได้ ไม่เข้าใจปริมาณ เมื่อขนาดเปลี่ยนไป ไม่เข้าใจความหมายการชั่ง การตวง การวัด ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการคำนวณได้ ไม่เข้าใจลำดับตัวเลข พูดตัวเลข 1-20 กลับไปมาไม่ได้ ไม่เข้าใจคำของตัวเลข ได้แก่ หลักหน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น
70
อาการ ความบกพร่องทางคณิตศาสตร์
จำสูตรคูณ สูตรคณิตศาสตร์ และสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ไม่ได้ มีปัญหาความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (บวก ลบ คูณ หาร) มีปัญหาในการวิเคราะห์โจทย์ เป็นขั้นตอนย่อยๆ มีปัญหาในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เขียนตัวเลขกลับกัน เช่น 35 เขียนเป็น 53 คิดเลขช้า ผิดพลาด สับสนในการยืม การทดเลข มีปัญหาในการนับเงิน การทอนเงิน มีปัญหาในการอ่านแผนที่และกราฟ
71
ลักษณะงานของนักเรียน ด้านการคิดคำนวณ
72
การวินิจฉัยโรค
73
สาเหตุ ความผิดปกติของการทำงานของสมอง
ทำให้ความสามารถในการรับรู้ การเรียบเรียง การแปลความข้อมูลที่ได้รับ และการประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งออกหรือโต้ตอบเสียไป เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ทั้ง ๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ไม่ได้มีความพิการ และไม่ได้เป็นเด็กที่อยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการเรียนรู้แต่อย่างใด
75
ปัจจัยเสี่ยง การได้รับบาดเจ็บทางสมอง อาจจะเป็นการได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอดก็ได้ การบาดเจ็บนี้ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ อย่างไรก็ตามการได้รับบาดเจ็บอาจไม่รุนแรงนัก (Minimal brain dysfunction) กรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ สิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารพิษบางอย่าง การสอนของครูที่ไม่มีประสิทธิภาพ การขาดโอกาสทางการศึกษา
77
ผลกระทบ เด็กในกลุ่มนี้มักถูกมองว่าเป็นเด็กขี้เกียจ ไม่สนใจเรียน เนื่องจาก ไม่ยอมอ่าน ไม่ยอมเขียน ทั้งๆที่ดูเหมือนพูดคุยโต้ตอบด้วยปากเปล่าแล้วเด็กก็เข้าใจ และตอบได้ถูกต้อง หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะมีปัญหาทางอารมณ์ และพฤติกรรมตามมาได้
79
การดูแลรักษา ควรได้รับการประเมินโดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นหรือกุมารแพทย์ สร้างความเข้าใจกับครอบครัว โรงเรียน การช่วยเหลือด้านการเรียน ค้นหาและส่งเสริมจุดเด่นด้านอื่นๆ นอกเหนือไปจากการเรียน เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา เป็นต้น การจัดหลักสูตรสำหรับเด็กที่มี ความบกพร่องด้านการเรียน (Individualized Education Plan=IEP) การออกหนังสือรับรองความพิการ
80
การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ
พยายามให้เด็กทำงานที่สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก ให้คำสั่ง คำชี้แจงงานหรือคำสั่งชี้แจงในบทเรียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนและต้องแน่ใจว่าข้อความที่ครูถ่ายทอดให้กับเด็กเป็นที่เข้าใจของเด็ก ถ้าเด็กไม่อยู่นิ่งและมีทีท่าจะรบกวนการเรียนของเพื่อนคนอื่น ๆ ครูต้องแยกเด็กออกไปต่างหาก ยอมรับเด็ก เข้าใจเด็กและพยายามหาทางช่วยเหลือให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามหน้าที่ของครู
81
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
82
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา Intellectual Disabilities
“ภาวะปัญญาอ่อน (Mental Retardation)”
83
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา คืออะไร?
เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นใน developmental period ส่งผลให้เกิดความบกพร่อง มีข้อจำกัดด้านสติปัญญาและความสามารถในการปรับตัว ใน 3 domains หลัก ได้แก่ The conceptual domain (ความคิด) The social domain (สังคม) The practical domain (การกระทำ)
84
การวินิจฉัยตามระบบ ICD 10
(F70.) ภาวะปัญญาอ่อนระดับเล็กน้อย IQ (Mild MR) (F71.) ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลาง IQ (Moderate MR) (F72.) ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรง IQ (Severe MR) (F73.) ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมาก IQ <25 (Profound Moderate MR) (F78.) ภาวะปัญญาอ่อนแบบอื่น (Other MR) (F79.) ภาวะปัญญาอ่อนที่ไม่ระบุรายละเอียด (MR, Severity Unspecified) Specify: F7x.0 No, or minimal, impairment of behavior F7x.1 Significant impairment of behavior requiring attention or treatment F7x.8 Other impairments of behavior F7x.9 Without mention of impairment of behavior
85
การวินิจฉัยโรค มีความบกพร่องด้านสติปัญญา ซึ่งครอบคลุมความสามารถด้านต่างๆ เช่น การให้เหตุผล การแก้ไขปัญหา การวางแผน การคิดเชิงนามธรรม การตัดสินใจ การเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ความบกพร่องดังกล่าว ถูกยืนยันโดยการประเมินทางคลินิกและการทำแบบทดสอบสติปัญญาที่มีมาตรฐาน คะแนนต่ำกว่ามาตรฐาน 2 SD ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญาชัดเจน มักจะมีIQ ต่ำกว่า 70 คะแนนลงมา
87
การวินิจฉัยโรค (ต่อ) B. มีความบกพร่องด้านการปรับตัว (Adaptive functioning) เป็นผลให้ไม่สามารถมีระดับพัฒนาการ การดำรงชีวิตอิสระและการรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นปกติได้ รวมไปถึงทักษะเรื่องดำรงชีวิตตามลำพังหรือการรับผิดชอบตนเอง มีความจำกัดในการดำรงชีวิต ตั้งแต่ 1 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมด 3 ทักษะ คือ ทักษะการสื่อสาร การมีส่วนร่วมในสังคม และการดำรงชีวิตโดยอิสระในสิ่งแวดล้อมหลายแห่ง เช่น บ้าน โรงเรียน ที่ทำงานและชุมชน C. ความจำกัดเหล่านี้ เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีพัฒนาการ
88
การแบ่งภาวะบกพร่องทางสติปัญญาตามระดับความรุนแรง
ระดับความช่วยเหลือที่ต้องการและร้อยละที่พบ ระดับความรุนแรง ระดับ IQ ระดับความช่วยเหลือที่ต้องการ ร้อยละ ที่พบ บกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (Mild Intellectual disability) บกพร่องทางสติปัญญาปานกลาง (Moderate Intellectual disability) บกพร่องทางสติปัญญารุนแรง (Severe Intellectual disability) บกพร่องทางสติปัญญารุนแรงมาก (Profound Intellectual disability) 50-70 35-49 20-34 <20 ต้องการความช่วยเหลือเป็นครั้งคราว ต้องการความช่วยเหลือปานกลาง ต้องการความช่วยเหลือมาก ต้องการความช่วยเหลือตลอดเวลา 85 10 3-4 1-2
89
Mild Intellectual Disabilities
พบได้ประมาณ 85 % ของ ID ทั้งหมด มักได้รับการวินิจฉัยเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนแล้ว ส่วนใหญ่เรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือสูงกว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่สามารถทำงาน แต่งงาน ดูแลครอบครัวได้ แต่อาจต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นครั้งคราวเมื่อมีปัญหาชีวิตหรือหน้าที่การงาน มักไม่พบสาเหตุทางพยาธิสภาพ
90
Moderate Intellectual Disabilities
พบประมาณ 10 % ของ ID ทั้งหมด มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยก่อนเรียน เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี มักจะมีทักษะในการสื่อสาร แต่จะมีข้อจำกัดในการสื่อสารที่มีความซับซ้อน กิจวัตรประจำวันมักจะทำได้ภายใต้การควบคุมดูแล ต้องการการดูแลช่วยเหลือ โดยเฉพาะในส่วนของ Social cues, social judgment และ social decisions
91
Moderate Intellectual Disabilities (ต่อ)
สามารถเรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 ในวัยเรียน มักต้องการ การจัดการศึกษาพิเศษ สามารถเรียนรู้การเดินทางตามลำพังได้ในสถานที่ที่คุ้นเคย ใช้ชีวิตในชุมชนได้ดีทั้งการดำรงชีวิตและการงาน ต้องการความช่วยเหลือปานกลาง ตลอดชีวิต ประมาณร้อยละ 20 ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง
92
Severe Intellectual Disabilities
พบได้ประมาณ % ของ ID ทั้งหมด มักพบความผิดปกติของพัฒนาการตั้งแต่ขวบปีแรก มักมีพัฒนาการล่าช้าทุกด้าน โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษา สื่อความหมายได้เพียงเล็กน้อยหรือพูดไม่ได้เลย บางรายเริ่มพูดได้เมื่อเข้าสู่วัยเรียน มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่พบความเสียหายของระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนใหญ่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด หรือต้องช่วยในทุกๆด้านตลอดชีวิต
93
Profound Intellectual Disabilities
พบประมาณ 1 – 2 % ของ ID ทั้งหมด มักทราบตั้งแต่แรกคลอด ต้องการการดูแลตลอดเวลา ทักษะการสื่อสารมีจำกัด มักพบความผิดปกติของระบบประสาทสัมผัสและความพิการอื่นๆร่วมด้วย
94
สาเหตุ เกิดจากปัจจัยต่างๆ ในด้านชีวภาพ สังคม จิตวิทยา
อาจเกิดจากหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ประมาณ ร้อยละ ของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเท่านั้นที่ทราบสาเหตุ สาเหตุ แบ่งเป็น 1. กรรมพันธุ์ 2. ทางชีวภาพ 3. สิ่งแวดล้อม
95
สาเหตุทางกรรมพันธุ์ เป็นความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดมาแต่กำเนิดทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญา ร่วมกับความพิการทางกาย พบไม่เกิน 40% ของสาเหตุความบกพร่องทางสติปัญญา ตัวอย่าง เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) กลุ่มอาการโครโมโซมเอ็กซ์เปราะ (Fragile X syndrome)
96
กลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
Fragile X syndrome Down syndrome Trisomy 18 (Edwards' syndrome) Angelman syndrome William syndrome Prader - willi syndrome
97
สาเหตุทางชีวภาพ สาเหตุที่เกิดจากสิ่งต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อชีวิต ส่งผลให้พัฒนาการของสมองบกพร่องหรือหยุดชะงัก ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการเจริญเติบโตในระยะใดระยะหนึ่ง เช่น ขณะตั้งครรภ์ สาเหตุของความพิการทางสติปัญญาในขณะตั้งครรภ์ เช่น มารดาติดเชื้อ มารดาดื่มสุราหรือได้รับสารพิษขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น ขณะคลอด ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือการบาดเจ็บขณะคลอด เป็นต้น หลังคลอด ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้ เช่น การติดเชื้อทางระบบประสาท ขาดสารอาหาร ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง เป็นต้น
98
Fetal Alcohol Syndrome
เด็กที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ช่วงตั้งครรภ์
99
การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
Congenital CMV Congenital Rubella Congenital Syphilis Congenital Toxoplasmosis
100
โรคเอ๋อ หรือ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์
(Cretinism)
101
สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม
การขาดสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ เช่น ในเด็กที่ถูกละเลยทอดทิ้ง เด็กที่ถูกทารุณกรรม ในครอบครัวที่พ่อแม่มีฐานะยากจน ขาดการศึกษาขาดความรู้
102
การดูแลรักษา เป้าหมาย มิใช่ มุ่งรักษาให้หายจากโรค
เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด ให้ช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคมมากเกินไป
103
การดูแลรักษา เมื่อเกิดภาวะบกพร่องทางสติปัญญาแล้ว จะไม่อาจรักษาสมองส่วนที่เสียไปให้กลับคืนมาทำงานได้ตามปกติ สามารถจะคงสภาพ หรือฟื้นฟูสภาพทางสมองส่วนที่คงเหลืออยู่ให้ทำงานได้เต็มที่ เน้นการฟื้นฟูสมรรถภาพของสมองและร่างกาย การวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุดและการฟื้นฟูสมรรถภาพทันทีที่วินิจฉัยได้ จะช่วยหยุดยั้งความพิการมิให้เพิ่มขึ้น
104
การดูแลรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Vocational Rehabilitation)
105
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation)
การส่งเสริมป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งเสริมสุขภาพเช่นเด็กปกติ การบำบัดรักษาความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย ควรได้รับการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ เช่น อรรถบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เป็นต้น
106
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation)
ช่วงอายุ 7 – 15 ปี จัดการการศึกษาโดยมีแผนการศึกษาสำหรับแต่ละบุคคล (Individualized Educational Program : IEP) อาจเป็นการเรียนในชั้นเรียนปกติ เรียนร่วม หรือมีการจัดการศึกษาพิเศษ
107
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Vocational Rehabilitation)
อายุ ปี การฝึกวิชาชีพและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ควรช่วยเหลือให้ได้มีอาชีพที่เหมาะสม
108
การป้องกัน ระยะก่อนตั้งครรภ์
ประชาชนควรได้รับความรู้เรื่องภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ เช่น การตรวจร่างกายและรับวัคซีนของคู่สมรส การให้คำแนะนำคู่สมรสในการตั้งครรภ์ การวางแผนครอบครัว
109
การป้องกัน ระหว่างตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ
หญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนที่จำเป็นครบถ้วน ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด และการซื้อยารับประทานเอง ในระหว่างตั้งครรภ์ แนะนำการส่งเสริมสุขภาพจิตในครอบครัว การวินิจฉัยก่อนคลอด
110
การป้องกัน ระยะคลอด ควรคลอดในสถานบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
111
การป้องกัน ระยะหลังคลอด ความรักและเอาใจใส่ในครอบครัว
การให้ลูกได้ดื่มนมแม่ซึ่งมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆและมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองของลูก ระวังภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด เช่น ตัวเหลือง ให้วัคซีนป้องกันโรค ติดตามภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการดูแลลูกยามเจ็บป่วย ระวังโรคติดเชื้อ สารพิษ และการกระทบกระเทือนต่อศีรษะลูก การเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามวัยและระดับพัฒนาการ
112
โรคออทิสติก (Autism Spectrum Disorder)
113
โรคออทิสติก คืออะไร ? ความผิดปกติของพัฒนาการที่มีลักษณะสำคัญคือ มีความผิดปกติของพัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งการสื่อความหมาย และ พฤติกรรมหรือความสนใจซ้ำๆ
114
พบบ่อยแค่ไหน
115
แนวทางการวินิจฉัยของแพทย์
ประวัติ ประวัติพัฒนาการ ประวัติที่แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในพัฒนาการด้านสังคมและการสื่อสาร รูปแบบของพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ทำซ้ำๆ และคงรูปแบบเดิม ซึ่งเป็นอาการหลัก แบบคัดกรองออทิสติกสเปกตรัม PDD SQ (Pervasive Developmental Disorders Screening Questionnaire) KUS-SI ใช้ในการคัดกรองเบื้องต้น เพื่อส่งต่อวินิจฉัยต่อไป
116
แนวทางการวินิจฉัยของแพทย์
การตรวจร่างกายและสภาพจิต การตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อให้การดูแลรักษาเป็นลักษณะองค์รวม และควรตรวจละเอียดในบางระบบ เช่น ระบบประสาท แต่ส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีความผิดปกติทางร่างกาย ตรวจประเมินระดับพัฒนาการ และตรวจ สภาพจิต
117
แนวทางการวินิจฉัยของแพทย์
การทดสอบระดับสติปัญญา (Intelligence Test) พิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อประกอบในการประเมินความรุนแรง วางแผนดูแลช่วยเหลือตามความจำเป็น การประเมินระดับพัฒนาการ (Developmental Test)
118
แนวทางการวินิจฉัยของแพทย์
ตรวจการได้ยิน เพื่อคัดแยกปัญหาการได้ยิน การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography - EEG) พิจารณาตามความเหมาะสม การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ การถ่ายภาพรังสี พิจารณาตามความเหมาะสม
119
การวินิจฉัยตามระบบ ICD 10
Pervasive developmental disorders F84- F84.0 Childhood Autism F84.2 Rett's Syndrome F84.3 Other Childhood Disintegrative Disorder F84.5 Asperger’s Syndrome F84.8 Other PDDs F84.9 PDDs, unspecificed
121
อาการและอาการแสดง ด้านปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (Social Interaction)
ไม่ใช้ภาษาท่าทาง เช่น ไม่สบตา ไม่แสดงสีหน้า สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนไม่เหมาะสมกับอายุ ไม่อยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ กับคนอื่นๆ ไม่มีอารมณ์ตอบสนองกับสังคม
122
อาการและอาการแสดง (ต่อ)
ด้านภาษาและการสื่อสาร (Language and Communication) พัฒนาการในการพูดช้า หรือไม่พูดเลย ไม่สามารถเริ่มพูด หรือสนทนาต่อเนื่องได้ ใช้คำพูดซ้ำๆ หรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ ไม่มีการเล่นสมมติ หรือเล่นตามจินตนาการ
123
อาการและอาการแสดง (ต่อ)
ด้านกิจกรรมที่ทำและความสนใจ (Activities and Interest) หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ และมีความสนใจอย่างจำกัด ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์ โดยไม่ยืดหยุ่น ทำกิริยาซ้ำๆ เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว เขย่งเท้า สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วน ของวัตถุ
126
สาเหตุ พันธุกรรม สารสื่อประสาท การพัฒนาของสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์
โรคทางสมอง เช่น ลมชัก การพัฒนาของสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ สารเคมี พยาธิสภาพที่สมอง พันธุกรรม ภาวะแทรกซ้อนก่อน/หลังคลอด สารสื่อประสาท ออทิสติก การทำงานของเซลล์สมอง
127
การดูแลรักษา ครอบครัว เด็ก แพทย์ (สาธารณสุข) ครู (การศึกษา)
128
แนวทางการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
ส่งเสริมพัฒนาการ ทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กิจกรรมบำบัด แก้ไขการพูด ฯลฯ เสริมสร้างทักษะสังคม เสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆ ให้คำปรึกษา จิตบำบัด ครอบครัวบำบัด ตามสภาพปัญหาและความจำเป็น เสริมสร้างศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ช่วยเหลือครอบครัว
129
แนวทางการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ (ต่อ)
การรักษาด้วยยา และรักษาโรคที่พบร่วมด้วย ที่พบบ่อย เช่น สมาธิสั้น ปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม โรคลมชัก การบำบัดรักษาทางเลือกอื่นๆ และการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา จัดทำแผนการศึกษารายบุคคล ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม อาชีพ และการดูแลในชุมชน
130
แนวทางการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ (ต่อ)
การตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมใดก็ตาม ขึ้นอยู่กับอาการทางคลินิก (Clinical Judgment) เป็นสำคัญ เช่น แยกตัว ไม่ร่วมมือ ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ ไม่รู้กาลเทศะ ขาดทักษะสังคม เป็นต้น และปัจจัยด้านทรัพยากรสนับสนุน (Available Local Resources) ที่มีอยู่ ผลลัพธ์ ขึ้นอยู่กับ ดูแลรักษาเร็ว และต่อเนื่อง (Early Intervention, Continuity) ศักยภาพ (Level of Function) ได้แก่ ระดับสติปัญญา ภาษาพูด ทักษะสังคม
131
การรักษาด้วยยา ไม่ช่วยในเรื่องการเสริมสร้างทักษะสังคม ซึ่งเป็นปัญหาหลักในกลุ่มออทิสติก มักได้ผลในปัญหาด้านต่างๆ ดังนี้ สมาธิสั้น (Short Attention Span) อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) ก้าวร้าวรุนแรง (Aggressive) หมกมุ่น (Obsessive Preoccupation)
132
Risperidone องค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ยอมรับ สำหรับการรักษา ดังต่อไปนี้ ภาวะอารมณ์ไม่คงที่ ในผู้ป่วยออทิสติก ทั้งเด็กและวัยรุ่น ภาวะก้าวร้าว การทำร้ายตนเอง การอาละวาดเมื่อไม่ได้ดั่งใจ ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ น้ำหนักขึ้น, เจริญอาหาร, อ่อนเพลีย, ง่วงซึม, เวียนศีรษะ, น้ำลายยืด, อาการสั่น และท้องผูก แต่ความรุนแรงน้อย และมักหายไปใน 2-3 สัปดาห์
133
Methylphenidate นำมาใช้ในการรักษาอาการอยู่ไม่นิ่งในเด็กออทิสติก พบว่าได้ผลดี โดยเฉพาะในกลุ่มออทิสติกที่มีศักยภาพสูง (higher-functioning ASD) มีอัตราการตอบสนอง 49% ซึ่งน้อยกว่าการนำไปใช้ในกลุ่มสมาธิสั้น ซึ่งมีอัตราการตอบสนอง 70-80% ผลข้างเคียงจากยาที่พบได้บ่อยคือ อาการหงุดหงิดง่าย (irritability) พบได้ถึง 18% และเมื่อใช้ยาขนาดสูง มักพบอาการ เบื่ออาหาร นอนยาก และไม่สบายท้อง บางรายพบอาการแยกตัวมากขึ้นด้วย
134
SSRIs (selective serotonin reuptake inhibitors)
มีการนำมาใช้ในเด็กออทิสติก เพื่อลดอาการพฤติกรรมซ้ำๆ หรือพูดซ้ำๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล (rituals associated with anxiety) และช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว (aggression) ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบยืนยันประสิทธิภาพการรักษาในกลุ่มเด็กออทิสติก
137
ปัญหา พฤติกรรม-อารมณ์ ในเด็กวัยเรียนและ แนวทางการช่วยเหลือ
ปัญหา พฤติกรรม-อารมณ์ ในเด็กวัยเรียนและ แนวทางการช่วยเหลือ
138
เมื่อไหร่ที่ต้องให้การช่วยเหลือ?
ปัญหานั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นประจำ ปัญหานั้นไม่เคยเกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นบ่อยๆในช่วงนี้ ปัญหานั้นส่งผลเสียต่อตัวเด็ก และคนรอบข้างอย่างชัดเจน เช่น เด็กหรือเพื่อนบาดเจ็บ ผลการเรียนตกลงอย่างมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ ปัญหานั้นมีความรุนแรงมากขึ้น มีปัญหาหลายอย่างร่วมกัน
139
เด็กที่มีปัญหาอารมณ์
เด็กที่มีภาวะวิตกกังวล ภาวะกลัวในเด็กวัยเรียน เด็กกลัวการไปโรงเรียนหรือเด็กปฏิเสธการไปโรงเรียน เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย
140
เด็กที่มีภาวะวิตกกังวล
141
ภาวะวิตกกังวลคืออะไร ?
ภาวะวิตกกังวล เป็นภาวะอารมณ์ที่เกิดจากความคิดที่คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น เกิดขึ้นได้ตามปกติในเด็กวัยเรียน
142
ภาวะวิตกกังวลคืออะไร ?
ความกังวลที่อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เด็กรู้จักเตรียมพร้อม วางแผน ระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้น ถ้าความกังวลมีมากเกินไปจะเป็นผลกระทบให้เกิดความทุกข์ใจ ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ การเรียนในห้องเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน โดยเฉพาะถ้าภาวะวิตกกังวลเป็นอยู่นานจะมีปัญหากระทบต่อการเรียนและการปรับตัวได้มาก
143
ลักษณะของเด็กที่มีความวิตกกังวลผิดปกติ
มีความวิตกกังวล ครุ่นคิดเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมาก อย่างไม่มีเหตุผล ใช้เวลามากกับการพิจารณาเรื่องที่วิตกกังวล และควบคุมความกังวลได้ยาก พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่วิตกกังวล เช่น กังวลว่าครูจะดุ จะพยายามหลีกเลี่ยงการไปโรงเรียน ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องเผชิญเหตุการณ์น่าวิตกกังวล จะมีอาการแสดงทางกาย เช่น ใจเต้นแรง หายใจไม่ออก กระสับกระส่าย เหงื่อออก คลื่นไส้ ปวดหัว นอนไม่หลับ เป็นต้น การแสดงออกทางอารมณ์เครียด กระสับกระส่าย หงุดหงิด ไม่มั่นใจในความสามารถตนเอง
144
เกิดจากอะไร ? พันธุกรรม การเลี้ยงดู
คาดหวังสูง ปกป้องจนเกินไป พื้นอารมณ์ของเด็ก: พื้นอารมณ์แบบปรับตัวช้า มีประสบการณ์เลวร้ายในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและไม่ได้รับการดูแลแก้ไขอย่างถูกต้อง
145
การช่วยเหลือ ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจปัญหาร่วมกัน รวบรวมประวัติ
ให้คำปรึกษาแก่เด็กและครอบครัว ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู: ความคาดหวังที่เหมาะสม การให้กำลังใจ การเปิดโอกาสให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้เด็กเห็นถึงความกังวลของตนและผลกระทบ ปรับเปลี่ยนมุมมองและเผชิญความกังวลอย่างค่อยเป็นค่อยไป วางแผนร่วมกัน การติดตามผล
146
ภาวะกลัวในเด็กวัยเรียน
147
“กลัว” อย่างไรจึงผิดปกติ
ความกลัว เป็นภาวะปกติที่พบได้ในเด็กวัยเรียน ความกลัวที่พบได้ทั่วไปในเด็กวัยเรียนได้แก่ การกลัวความมืด กลัวผี กลัวสัตว์ต่างๆ และโดยปกติแล้วความกลัวจะลดลงตามอายุ และไม่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
148
“กลัว” อย่างไรจึงผิดปกติ
เด็กที่มีความกลัวผิดปกติที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล จะมีลักษณะดังนี้ มีสิ่งที่กลัวหรือมีสถานการณ์ที่กระตุ้นความกลัวอย่างชัดเจน เช่นกลัวการพูดหน้าชั้น กลัวแมว โดยความกลัวนั้นดูไม่สมเหตุสมผล มีการหลีกเลี่ยงสิ่งที่กลัว หรือเลี่ยงสถานการณ์ที่กลัว จนมีผลกระทบกับชีวิตประจำวัน หรือการเรียน ถ้าหลีกเลี่ยงสิ่งที่กลัวหรือสถานการณ์ที่กลัวไม่ได้ เมื่อต้องเผชิญหน้า เด็กจะมีอาการแสดงทางกาย ได้แก่ ตกใจกลัวอย่างมาก กรีดร้อง ร้องไห้ หายใจเร็ว กระสับกระส่ายหาและพยายามหาทางพาตนเองออกจากสถานที่นั้น
149
อาการกลัวที่เกิดจากภาวะทางจิตเวชเด็ก
ความกลัวที่เกิดจากโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive compulsive disorder, OCD): มักมีความกลัวเกี่ยวกับ ความสกปรก เชื้อโรค เรื่องเพศ เช่นกลัวเพศตรงข้าม กลัวท้อง หรือมีความกลัวเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เด็กมักมีความคิดว่าถ้ามือจับลูกบิดประตู มือจะโดนเชื้อโรค ทำให้เด็กป่วยหรือตาย ทำให้เด็กหลีกเลี่ยงการจับสิ่งของต่างๆ และตามมาด้วยอาการย้ำทำคือ การล้างมือบ่อยๆ ความกลัวที่เกิดจากโรคกลัว (Specific phobia): มีความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานการณ์ใดๆเป็นอย่างมาก อย่างไม่มีเหตุผลที่สมควร ร่วมกับการหลีกเลี่ยงการเผชิญกับสิ่งที่กลัว จนมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการเรียน
150
การช่วยเหลือ แยกจากกลัวปกติ ถ้าสงสัย โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD): ส่งพบแพทย์
ถ้าเป็นกลัวผิดปกติต่อส่งใดสิ่งหนึ่ง ให้เด็กเห็นถึงความกังวลของตนและผลกระทบ ซักประวัติสิ่งที่กลัว เรียงลำดับจากมากไปน้อย ฝึกเผชิญกับสิ่งที่กลัวทีละน้อย ไม่เร่งรัด ให้กำลังใจ การติดตามผล
151
เด็กกลัวการไปโรงเรียนหรือเด็กปฏิเสธการไปโรงเรียน
152
เด็กกลุ่มใดที่เสี่ยง?
เจ็บป่วยต้องหยุดเรียนมาก่อน และเป็นช่วงต้องกลับมาเรียน หรือมีประวัติหยุดเรียนบ่อยๆ มีเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในบ้าน เช่นมีบุคคลสำคัญเสียชีวิต การหย่าร้างของพ่อแม่ หรือมีความรุนแรงทำร้ายกันในครอบครัว มีภาวะทางจิตเวชเด็กเดิมอยู่ก่อน เช่น เป็นเด็กปรับตัวยาก ขี้กังวล ติดแม่ อยู่เดิม มีประวัติครอบครัวเป็นโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า
153
เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?
เป็นการปรับตัวต่อความเครียดจากสถานการณ์บางอย่างที่ผิดปกติ เด็กมีภาวะวิตกกังวลที่เป็นภาวะทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวลต่อการพลัดพราก (Separation anxiety disorder) ซึ่งจะมีอาการดังนี้ มีความกังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อผู้ปกครองหรือตนเอง เด็กมีภาวะซึมเศร้า กลุ่มเด็กหนีเรียน มีปัญหาพฤติกรรม ครอบครัวไม่ให้ความสำคัญต่อการเรียน มีปัญหาเศรษฐกิจ เก็บเด็กไว้ที่บ้าน หรือขาดการฝึกวินัย
154
การช่วยเหลือ ดูแลและให้คำปรึกษาตามสาเหตุ โดยความร่วมมือจากครอบครัวและโรงเรียน การดูแลครอบครัว: ลดความสบายเมื่ออยู่บ้าน เพิ่มท่าทีจริงจัง ลดการใช้อารมณ์ แก้ไขปัญหาการเลี้ยงดูหรือปัญหาครอบครัวที่เป็นตัวกระตุ้นให้มีอาการหรือทำให้อาการคงอยู่
155
การช่วยเหลือ ประสานกับโรงเรียน โดยการไปเยี่ยมโรงเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจ ทัศนคติ และความร่วมมือของครูในการรับเด็กจากพ่อแม่ การดูแลเด็กระหว่างวัน การจัดหาเพื่อน การจัดเตรียมสถานที่ให้เด็กพักถ้าอยู่ในห้องเรียนไม่ไหว วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเมื่อเด็กร้องอยากกลับบ้าน ระวังการมีสิทธิพิเศษมากเกินไปที่โรงเรียน ให้ความรู้ครูในเรื่องการไม่ลงโทษรุนแรง หรือพูดให้เด็กอาย และไม่แก้ปัญหาพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นระหว่างวันโดยการส่งกลับบ้าน ประสานระหว่างที่บ้านและที่โรงเรียน
156
เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย
157
ถือเป็นภาวะสำคัญและเร่งด่วนในการดูแลให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา หรือพิจารณาส่งต่ออย่างรวดเร็ว
158
สาเหตุ ภาวะซึมเศร้าในเด็ก มีสาเหตุทำให้เด็กเกิดความเครียดอย่างรุนแรง
มีโรคทางกายที่เจ็บป่วยเรื้อรัง สิ้นหวังในการรักษา รู้สึกตนเองเป็นภาระ ต้องการตอบโต้หรือแก้แค้นบุคคลสำคัญ ลงโทษผู้อื่นให้เสียใจ แต่ไม่สามารถแสดงออกได้โดยตรง เกิดอารมณ์เศร้า หรือประสาทหลอนจากการใช้สารเสพติด
159
การช่วยเหลือ หาสาเหตุ
กรณีสงสัยซึมเศร้า สงสัยโรคทางจิตเวช หรือการใช้สารเสพติด ให้ส่งพบแพทย์ รับฟัง พยายามแก้ไขความคิดที่เด็กอาจเข้าใจผิด ด้วยท่าทีที่นุ่มนวล ชี้ให้เด็กเห็นถึงผลกระทบ ช่วยเด็กหาทางเลือกอื่นๆในการแก้ไขปัญหา และช่วยเด็กวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นรูปธรรม ชี้ให้เห็นข้อดี คุณค่าในตัวเด็ก
160
การช่วยเหลือ แนะนำให้พ่อ/แม่/ผู้ปกครอง ให้อยู่ดูแลเด็ก พูดคุยกับเด็ก สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ผ่อนคลาย ไม่ตำหนิพฤติกรรมที่ผ่านมา และไม่ปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวตามลำพัง และเก็บอาวุธ ของมีคม สิ่งของ ยา ที่เด็กสามารถใช้ทำร้ายตนเองได้ ถ้าเด็กมีปัญหาพฤติกรรม เช่น ดื้อ อาละวาด หรือขู่ทำร้ายจะทำร้ายตนเอง ให้พ่อแม่/ ผู้ปกครอง จัดการพฤติกรรมด้วยอารมณ์ที่สงบ หนักแน่น ไม่ตื่นตระหนก ใช้การพูดคุยจนกว่าเด็กจะสงบ แต่ไม่ ตามใจ หรือให้สิทธิพิเศษ
161
เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
เด็กลักขโมย เด็กพูดโกหก เด็กก้าวร้าว เด็กหนีโรงเรียน เด็กติดเกม
162
เด็กลักขโมย
163
คืออะไร ? พฤติกรรม “ลักขโมย” ใช้เรียกในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ขวบ ที่หยิบสิ่งของของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่เข้าใจเรื่องสิทธิและสมบัติส่วนตัวได้เต็มที่แล้วและรู้ว่าการลักขโมยเป็นสิ่งผิด พฤติกรรมลักขโมยอาจมีลักษณะการกระทำและความมุ่งหมายแตกต่างกันไปแต่ละอายุและแต่ละราย
164
มีลักษณะใดได้บ้าง ? เด็กที่วางแผนขโมยอย่างแยบยล กับเด็กที่กระทำอย่างไม่มีการวางแผน เด็กที่นานๆ ขโมยสักครั้ง ด้วยเหตุผลต่างๆ ต่างกับเด็กที่กระทำเป็นนิสัย เด็กที่เลือกขโมยเฉพาะสิ่งที่ต้องการ กับเด็กที่ขโมยแบบไม่เลือกชนิดของสิ่งของ เด็กที่จะขโมยตามกลุ่มเพื่อน กับเด็กที่กระทำคนเดียว เด็กที่อาจขโมยเฉพาะของที่ขโมยง่ายๆ ไม่ต้องเผชิญหน้ากับเจ้าของ กับเด็กที่อาจเข้าข่มขู่โดยตรงแบบโจรปล้น
165
สาเหตุ เด็กที่ไม่ตระหนักถึงสิทธิการเป็นเจ้าของ ทั้งของตนเองและผู้อื่น ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการอบรมชี้นำ บางครอบครัวถือว่าทุกอย่างในบ้านทุกคนถือสิทธิ์ได้ หรือเด็กบางคนมาจากสภาพบ้านที่แออัด สาเหตุนี้พบตั้งแต่ในเด็กประถมต้น เด็กมีความรู้สึกอยากได้อยากมีสูง จากสภาพครอบครัวที่มีความขาดแคลนหรือการเลี้ยงดูที่ทำให้เด็กรู้สึกขาด ต้องการสิ่งของมาทดแทน
166
สาเหตุ เด็กบางคนทำเพื่อให้ตนคงสถานะได้ในหมู่เพื่อน ให้เป็นที่ยอมรับว่ามีหรือทำเป็นเหมือนกัน มักพบในเด็กที่อาจมี ปมด้อย มีทักษะในการเข้าสังคมต่ำ มีลักษณะเป็นอาชญากร ซึ่งมักทำเป็นกลุ่มแก๊ง ขโมยของมีค่าและไม่ค่อยยอมรับหรือรู้สึกว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิด
167
การช่วยเหลือ สร้างสัมพันธภาพกับเด็กเพื่อทำให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อใจ โดยอาจพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปก่อน เริ่มเข้าสู่ประเด็นโดยอาจถามเด็กว่าที่เด็กต้องมาคลินิกในวันนี้เพราะอะไร เด็กอาจตอบว่าไม่รู้ ผู้บำบัดให้คำตอบกับเด็กว่า ทางครอบครัวและโรงเรียนมีความเป็นห่วงเด็กเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรม เด็กมีอะไรที่จะให้ผู้บำบัดช่วยได้บ้าง หากเด็กยังไม่พร้อมที่จะเล่า อย่าเร่งรัด อาจให้เด็กเล่าเรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง รับฟังด้วยท่าทีที่แสดงความเข้าใจ ไม่ตำหนิ รับฟังและมีความปรารถนาดีที่จะช่วยเหลือ เน้นประเด็นเรื่องการเก็บรักษาความลับ เมื่อเด็กมีความไว้วางใจเล่าให้ฟัง ผู้บำบัดควรประเมินว่าสาเหตุของพฤติกรรมลักขโมยเกิดจากอะไร แสดงความเห็นอกเห็นใจและสอบถามถึงสาเหตุของพฤติกรรมนั้น
168
การช่วยเหลือ ช่วยเหลือตามสาเหตุของพฤติกรรมลักขโมย
หากบำบัดแล้วเด็กยังคงมีพฤติกรรมลักขโมยอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ควรส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์
169
การช่วยเหลือ การให้การปรึกษาสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
สืบค้นและหาหลักฐานให้แน่ชัดว่าเด็กขโมยจริง ไม่ซักถามหรือตำหนิเกินกว่าเหตุจนเด็กกลัว เพราะจะนำไปสู่การพูดปดของเด็กเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษ บอกให้เด็กรับรู้ว่าการขโมยเป็นสิ่งผิด ไม่เป็นที่ยอมรับของครอบครัวและสังคม ด้วยท่าทีที่สงบ ยืนยันอย่างหนักแน่นให้เด็กชดใช้หรือนำสิ่งของที่ขโมยไปคืน ทันทีที่ทราบ ควรไปเป็นเพื่อนเด็กในการคืนสิ่งของเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กนำไปคืนจริง และอธิบายให้เจ้าของร้านค้าหรือเจ้าของสิ่งของเข้าใจว่าเด็กหยิบของไปโดยไม่ได้ชำระเงินหรือไม่ได้ขออนุญาตและต้องการนำสิ่งของมาคืน ช่วยไม่ให้เด็กเกิดความอับอายเกินไป และให้เด็กได้เห็นแบบอย่างการพูดและแก้ปัญหาของพ่อแม่ ไม่ควรประจานเด็กในที่ชุมนุมชนหรือหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสและเกิดกำลังใจในการปรับปรุงตัวใหม่ หลีกเลี่ยงการบ่น วิจารณ์ หรือตราหน้าว่าอนาคตเด็กจะเป็นขโมยหรือไม่สามารถปรับปรุงตัวเองได้ เนื่องจากทำให้เด็กเกิดความโกรธแค้นมากขึ้น หรือหมดกำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
170
เด็กพูดโกหก
171
สาเหตุ ลักษณะบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม เรียกร้องความสนใจ มีความสุข ความพอใจ สนุกสนานในการสร้างเรื่องที่ไม่เป็นจริงให้ผู้อื่นเชื่อ สนใจ การอบรมเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง รับรู้ เรียนรู้ เลียนแบบจากบุคคลในครอบครัว ผู้ใกล้ชิดที่เป็นแบบอย่าง พูดไม่จริง จนติดเป็นเป็นบุคลิกนิสัย ประสบการณ์ที่ถูกลงโทษเมื่อพูดความจริง จึงใช้การพูดโกหก เพื่อให้พ้นผิด ไม่ถูกลงโทษ มีปมด้อย ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ได้รับการตำหนิดูถูกจากผู้อื่น ใช้การพูดสร้างเรื่องไม่จริงให้ตนเองไม่มีปมด้อย มีคุณค่า มีความสำคัญ ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นมากขึ้น
172
การช่วยเหลือ สร้างสัมพันธภาพกับเด็ก
เริ่มเข้าสู่ประเด็น หากเด็กยังไม่พร้อมที่จะเล่า อย่าเร่งรัด อาจให้เด็กเล่าเรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง รับฟังด้วยท่าทีที่แสดงความเข้าใจ ไม่ตำหนิ รับฟังและมีความปรารถนาดีที่จะช่วยเหลือ เน้นประเด็นเรื่องการเก็บรักษาความลับ สร้างบรรยากาศให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและเชื่อมั่น หลีกเลี่ยงคำว่าโกหก
173
การช่วยเหลือ ในขณะบำบัดอาจจำลองสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการพูดโกหก เช่น เมื่อเด็กเล่นน้ำในแก้ว และคุณเห็นว่า เด็กทำน้ำหกเลอะพื้น ลองถามว่าเกิดอะไรขึ้น ชื่นชมเมื่อเด็กยอมรับ บอกความรู้สึกและหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน หากเด็กมีลักษณะนิสัยชอบโม้ เล่าเรื่องเกินจริง บางเรื่องก็เติมแต่งจนกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งไป เพื่อให้ตนเองได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง ผู้บำบัดควรหาข้อดีที่เห็นขณะบำบัดชื่นชมและให้ความสนใจเด็ก
174
การช่วยเหลือ การให้การปรึกษาสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
คุยกับเด็กอย่างจริงจัง ให้เข้าใจชัดเจนว่าไม่ต้องการให้เด็กพูดโกหก จัดการอย่างจริงจังเมื่อเด็กพูดโกหก เด็กต้องได้รับการจัดการอย่างจริงจัง โดยไม่ตำหนิหรือลงโทษรุนแรงเกินไป แต่ในขณะเดียวกันต้องไม่ปล่อยผ่านเรื่องนี้ไปโดยไม่ได้รับการจัดการหรือทำคล้ายว่าเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ใช่ความผิดเลย ทุกครั้งที่เกิดเรื่องขึ้นต้องคุยกับเด็กอย่างตรงไปตรงมา อย่าวิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิตัวเด็ก แต่บอกให้ชัดเจนว่าสิ่งที่เด็กทำนั้นไม่ถูกต้อง ให้เด็กเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น ช่วยเด็กคิดว่าวิธีการอื่นในการการแก้ไขปัญหาแทนการโกหก บางครั้งเด็กอาจโกหกเพราะเด็กไม่รู้หรือนึกวิธีการแก้ไขปัญหาอื่นไม่ได้ ร่วมมือกับเด็กในการแก้ปัญหาเด็กจำเป็นต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำและจัดการเรื่องที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย แต่ไม่ควรปล่อยให้เด็กทำคนเดียว เพราะเด็กอาจทำคนเดียวไม่ได้ อย่าให้เด็กได้รับผลประโยชน์จากการโกหก
175
เด็กก้าวร้าว
176
เด็กก้าวร้าว เด็กเล็กๆมักจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวบ้าง ไม่มากก็น้อย โดยการมีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ แต่ถ้ามีบ่อยๆ และเป็นระยะเวลายาวนาน ก็ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข
177
เด็กก้าวร้าว เด็กโต ความก้าวร้าวจะรุนแรงกว่าในเด็กเล็ก โดยอาจเป็นความก้าวร้าวทางวาจา หรือความก้าวร้าวทางกาย เด็กวัยรุ่นอาจจะก้าวร้าวได้เป็นครั้งคราวเมื่อเผชิญกับความเครียด แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ หรือมีสิ่งกระตุ้นเพียงเล็กน้อย แสดงว่าเป็นปัญหา และต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
178
สาเหตุ สาเหตุจากตัวเด็ก เพศ ชาย > หญิง พื้นอารมณ์ ปัญหาทางภาษา
ความบกพร่องทางสมอง ความเครียด ความผิดปกติทางอารมณ์ เด็กไม่มีทางระบายพลังงานที่ซ่อนอยู่ เด็กมีความรู้สึกกลัว และรู้สึกว่าตนเองเปราะบาง
179
สาเหตุ วิธีการอบรมของพ่อแม่ และปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว การเลียนแบบ
ความก้าวร้าวที่เป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมเกเร หรือบุคลิกภาพอันธพาล
180
การช่วยเหลือ วิเคราะห์ว่าเด็กมีปัญหาหรือความเครียดด้านใด คุยกับเขา และช่วยเหลือในการแก้ปัญหา ให้โอกาสเด็กได้ระบายความรู้สึก เช่นแสดงออกมาเป็นคำพูด บอกให้ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับวิธีการก้าวร้าวที่เด็กใช้ แต่ยอมรับในตัวเขา สอนให้เด็กตระหนักในสิทธิ และความต้องการของบุคคลอื่นที่ต้องเคารพ
181
การช่วยเหลือ ในกรณีที่มีความก้าวร้าวกับบุคคลอื่น ควรเข้าไปหยุดทันที ให้ความยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย และสอนให้สามารถตกลงกันได้ด้วยสันติวิธี เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว หลีกเลี่ยงการตำหนิ ดุ ด่า บ่นหรือออกคำสั่งซ้ำๆ โดยไม่ได้ติดตามอย่างจริงจังว่าเด็กทำตามหรือไม่ วิเคราะห์กับเด็กว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรได้บ้างที่จะนำมาซึ่งพฤติกรรมก้าวร้าว สอนการแก้ปัญหาล่วงหน้า
182
การช่วยเหลือ ชมเชยเมื่อเด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดี
ให้เด็กมีโอกาสทำกิจกรรมที่แสดงถึงความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ให้เด็กมีโอกาสระบายพลังออกมาในทางที่สร้างสรรค์ เช่น ออกกำลังกาย เป็นตัวอย่างที่ดี
183
เด็กหนีโรงเรียน
184
สาเหตุ ปัญหาการเรียน เบื่อหน่ายการเรียนการสอน กฎระเบียบข้อบังคับของของโรงเรียน ปรับตัวไม่ได้ ไม่เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน การถูกชักจูงจากเพื่อน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยุ จูงใจ น่าสนใจ แหล่งที่ไปมีความสุขสนุก น่าสนใจกว่าการอยู่ในห้องเรียน ปัญหาทางอารมณ์จิตใจ สาเหตุจากครอบครัว ไม่มีความสุข ขาดความรัก ความเข้าใจ ความสัมพันธ์กับบิดามารดาไม่ดี
185
การช่วยเหลือ ศึกษาข้อมูล การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม
สร้างสัมพันธภาพกับเด็กเพื่อทำให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อใจ เมื่อเด็กมีความไว้วางใจเล่าให้ฟัง ผู้บำบัดควรประเมินว่าสาเหตุของพฤติกรรมหนีเกิดจากอะไร แสดงความเห็นอกเห็นใจและสอบถามถึงสาเหตุของพฤติกรรมนั้น รับฟังข้อคิดเห็น ให้เด็กประเมินการกระทำ ชี้ให้เห็นผลเสียที่เกิดขึ้น ร่วมหาทางเลือกที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเอง ช่วยเหลือเด็กตามสาเหตุของพฤติกรรมหนีเรียน
186
เด็กติดเกม
187
เกมคืออะไร ? เกม คือเครื่องเล่น ของเล่น หรืออุปกรณ์ การละเล่นต่างๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน
188
เด็กเล่นเกมอะไรกันบ้าง ?
เกมที่เด็กและวัยรุ่นนิยมเล่นกันในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ตู้เกมหยอดเหรียญ วิดีโอเกม เกมคอมพิวเตอร์ทั้งแบบออนไลน์และไม่ออนไลน์ เกมในมือถือ Tablet เป็นต้น
189
เด็กติดเกม
190
การเล่นเกมส่งผลต่อเด็กอย่างไร?
จริงๆแล้วการเล่นเกมอาจส่งผลดีได้หลายอย่าง เช่น ได้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน คลายเครียด ฝึกทักษะ สมาธิ การตัดสินใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ และการประสานกันระหว่างมือกับตา
191
การเล่นเกมส่งผลต่อเด็กอย่างไร?
แต่ถ้าหากเด็กหมกมุ่นและใช้เวลาในการเล่นมากจนเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงตามมามากมายได้เช่นกัน เด็กและวัยรุ่นจำนวนมากที่ติดเกมจะหมกมุ่นกับการเล่นเกมอย่างมากจนส่งผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบในการเรียน ผลการเรียนตกลง อดอาหารหรืออดนอนจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เลิกทำกิจกรรมอื่นๆที่เคยชอบ และอาจจะมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆตามมา
192
เมื่อไรจึงถือว่าติดเกม ?
มักมีพฤติกรรมคล้ายกับผู้ป่วยติดสารเสพติด และผู้ป่วยติดการพนัน คือ มีความรู้สึกเพลิดเพลินใจในเวลาที่ได้เล่นเกม มีความพึงพอใจเมื่อได้รับชัยชนะในการเล่นเกม และต้องการชัยชนะเพิ่มขึ้นอีกจึงจะได้ความพอใจเท่าเดิม
193
เมื่อไรจึงถือว่าติดเกม ?
มักใช้เวลาในการเล่นเกมนานจนเกินกว่าที่ตั้งใจในการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วก็จะมีความต้องการเล่นในระดับที่สูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ จึงมีความต้องการใช้เวลาในการเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย หรือมีอาการทางกายจากความเครียดเมื่อถูกขัดขวางไม่ให้เล่นเกม มีการดิ้นรนใฝ่หา พยายามอย่างมากเพื่อให้ได้เล่นเกม
194
เมื่อไรจึงถือว่าติดเกม ?
มีความต้องการเล่นเกมมากขึ้นในเวลาที่รู้สึกเครียด และเล่นเกมเพื่อหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากับปัญหา มีความคิดหมกมุ่นกับการเล่นเกมอย่างมาก คือหมกมุ่นคิดเกี่ยวกับเกมที่เล่นผ่านมาและคิดวางแผนเพื่อเอาชนะในการเล่นเกมครั้งต่อไป
195
เมื่อไรจึงถือว่าติดเกม ?
มีความต้องการเล่นเกมตลอดเวลาจนมีผลกระทบต่อตนเองหลายด้าน เช่น การเรียน สุขภาพ ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และสังคม เป็นต้น หากมีความพยายามที่จะลดหรือเลิกเล่นเกมก็ไม่สามารถควบคุมตนเองให้หยุดเล่นได้ ทั้งๆที่ทราบดีว่ามีผลกระทบต่อตนเองอย่างมาก
196
สาเหตุ ปัจจัยทางชีวภาพ
197
สาเหตุ ปัจจัยทางจิตสังคม
เกม เข้าถึงง่าย สนุกสนานตื่นเต้น ได้แรงเสริมด้านบวก ตอบสนองทางจิตใจ ครอบครัว ไม่มีการฝึกวินัย ขาดความใกล้ชิดผูกพัน สังคม ค่านิยมในการสนับสนุนให้เด็กเล่นคอมพิวเตอร์
198
การป้องกัน ไม่ใช่การห้ามไม่ให้เด็กเล่นเกม แต่เป็นการให้เด็กเรียนรู้การเล่นเกมอย่างถูกต้อง มีกติกา มีการตกลงกันก่อน และผู้ปกครองควรจะเอาจริงตามที่ได้มีการตกลงกันไว้
199
การป้องกัน ผู้ใหญ่ควรมีความรู้เกี่ยวกับเกม
จัดระบบการเล่นเกมตั้งแต่ต้น ให้เด็กเล่นเกมได้ตามเวลาที่ตกลงกันไว้ โดยควรจะกำหนดเวลาให้ชัดเจน การเล่นเกมต้องควบคุมได้ อยู่ในสายตาผู้ใหญ่ เป็นไปในเวลาที่กำหนด และไม่เสียหน้าที่ในด้านอื่นๆ ควรกำหนดให้เล่นเกมหลังจากที่ทำงานในหน้าที่เสร็จแล้ว และมีการปิดกั้นการเข้าถึงเกมที่มีอันตราย ผู้ปกครองจำเป็นต้องกำกับให้เป็นไปตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด
200
การป้องกัน เมื่อมีการละเมิด ให้กลับมาทบทวนว่าเกิดอุปสรรคใดที่ทำให้ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ และกำหนดมาตรการควบคุมเพิ่มเติม โดยลดการต่อรอง และไม่สนใจต่อปฏิกิริยาของเด็กที่อาจจะบ่น หรือ โวยวาย ควรมีการฝึกให้เด็กมีการควบคุมตนเองตั้งแต่เล็กๆ ประมาณตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไป เพื่อให้เด็กคุ้นเคย
201
การช่วยเหลือเมื่อเด็กติดเกมแล้ว
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กและครอบครัว การให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจแก่เด็ก การตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครอง การฝึกวินัย การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการใช้ยา อาจจะมีความจำเป็นในการควบคุมพฤติกรรมในเด็กบางราย และใช้ในการรักษาโรคทางจิตเวชที่พบร่วม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.