ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกร
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกร ภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ วิทยากร นายทองปาน โอษฐ์แก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อสถาบัน ธ.ก.ส.สำนักงานใหญ่
2
โครงการรวบรวม 10,000 ล้านบาท สหกรณ์ที่ประสงค์ยื่นขอกู้
ผลการดำเนินงาน โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ (10,000 ล้านบาท) ข้อมูล ณ วันที่ 27 มกราคม 2558 โครงการรวบรวม 10,000 ล้านบาท ภาค สหกรณ์ที่ประสงค์ยื่นขอกู้ วงเงินที่อนุมัติ จ่ายจริง(สะสม) ต้นเงินกู้คงเหลือ จำนวน(แห่ง) จำนวนเงิน(บาท) ฝนบ. 22 190,750,000.00 13 56,100,000.00 12 43,400,000.00 ฝนล. 14 37,400,000.00 5 20,700,000.00 ฝอบ. 119 945,200,000.00 36 344,250,000.00 31 151,787,653.00 147,078,444.09 ฝอล. 66 829,500,000.00 30 493,900,000.00 28 366,400,000.00 310,500,000.00 ฝกล. ฝตอ. 39 799,500,000.00 27 707,000,000.00 25 648,798,976.00 470,798,976.00 ฝตต. 132,500,000.00 7 126,700,000.00 107,100,000.00 6 82,100,000.00 ฝตบ. 74 600,400,000.00 405,200,000.00 281,100,000.00 280,900,000.00 ฝตล. 163 1,520,200,000.00 101 1,147,700,000.00 92 887,480,000.00 90 830,700,657.48 สกน. รวม 510 5,055,450,000.00 255 3,301,550,000.00 236 2,506,766,629.00 234 2,186,178,077.57 2
3
คำชี้แจงและวิธีปฏิบัติ
9 พ.ค. 2556 คำชี้แจงและวิธีปฏิบัติ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน แก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยาง ภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ (10,000 ล้านบาท) ฝ่ายสินเชื่อสถาบัน ธ.ก.ส. Neo ครั้งที่ 2 อนุกรรมการกลั่นกรองและกรรมการธนาคาร
4
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้กับสถาบันเกษตรกร (สหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกร) วิสาหกิจชุมชนหรือองค์กรวิสาหกิจอื่นที่ทำธุรกิจ ยางพารา นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรชาวสวนยาง 2. เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ในกระบวนการสหกรณ์
5
เป้าหมาย สนับสนุนสินเชื่อให้กับสถาบันเกษตรกร(สหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร) วิสาหกิจชุมชนหรือองค์กรวิสาหกิจอื่นที่ทำธุรกิจยางพารา เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมยางพาราเพื่อจำหน่ายและเพื่อการแปรรูปวงเงิน 10,000 ล้านบาท
6
ระยะเวลาโครงการและพื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลาโครงการ 1. ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2558 2. กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ ชำระเสร็จสิ้นไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2558 3. ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2558 พื้นที่ดำเนินงาน ดำเนินการในพื้นที่ดำเนินงานของ ธ.ก.ส.สาขาทั่วประเทศ
7
วิธีการดำเนินการ 1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ) กรมส่งเสริมสหกรณ์(กสส.) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์(กตส.) สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.) และธ.ก.ส. ร่วมกันประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการ ให้แก่ส่วนงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันเกษตรกลุ่มเป้าหมาย
8
วิธีการดำเนินการ (ต่อ)
2. กษ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นในเบื้องต้นและกลั่นกรองสถาบันเกษตรกรที่จะขอกู้เงินตามโครงการ 3. กสส. ร่วมกับ ธ.ก.ส. สกย. กำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติสถาบันเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ
9
วิธีการดำเนินการ (ต่อ)
4. สถาบันเกษตรกรที่มีคุณสมบัติครบถ้วน และประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ยื่นเรื่องขอรับการสนับสนุนสินเชื่อที่สำนักงานธ.ก.ส.ทั่วประเทศ ในกรณีที่สถาบันเกษตรกรเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.อยู่แล้ว ให้ธ.ก.ส.พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้โดยเร่งด่วน แล้วรายงานให้คณะอนุกรรมการฯระดับจังหวัดเพื่อทราบ
10
วิธีการดำเนินการ (ต่อ)
ในกรณีที่ผู้ขอกู้ยังไม่ได้เป็นลูกค้าของธ.ก.ส. ให้ ธ.ก.ส.นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นในเบื้องต้นและกลั่นกรองก่อน จากนั้นส่งให้ ธ.ก.ส. พิจารณาอนุมัติเงินกู้ต่อไป ทั้งนี้ การให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรตามโครงการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการให้สินเชื่อของ ธ.ก.ส.
11
วิธีการดำเนินการ (ต่อ)
5. กสส. ร่วมกับ กตส. สกย. และธ.ก.ส. ติดตามการ ดำเนินงานโครงการ 6. ธ.ก.ส. ติดตามเร่งรัดการชำระคืนหนี้ตามโครงการ 7. กสส. ร่วมกับ กตส. สกย. และธ.ก.ส. ร่วมกันรายงาน ความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานโครงการ 8. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ติดตามและประเมิน ผลโครงการ
12
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ
1. คุณสมบัติของสถาบันเกษตรกรผู้กู้ 1. เป็นสถาบันเกษตรกร (สหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร)วิสาหกิจชุมชนหรือองค์กรวิสาหกิจอื่นที่ทำธุรกิจยางพารา ที่มีศักยภาพ มีผลประกอบการดี ไม่มีข้อบกพร่องในการดำเนินงานที่เป็นสาระสำคัญ หรือถ้ามีต้องแก้ไขจนเป็นที่พอใจแก่ธ.ก.ส. และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารจะรับขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า 2. ปัจจุบันยังดำเนินธุรกิจรวบรวม หรือแปรรูปยางอย่างต่อเนื่อง มีทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินงาน ตลอดจนมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น มีอาคารสถานที่สำหรับเก็บรักษาผลิตผลการเกษตรที่เหมาะสม มั่นคง แข็งแรง 4. คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการและเจ้าหน้าที่ของสถาบันเกษตรกรให้ความร่วมมือกับธ.ก.ส.ด้วยดีเสมอมา 5. สถาบันเกษตรกรต้องไม่มีหนี้เงินกู้ค้างชำระกับธ.ก.ส.
13
วิธีการดำเนินงานสินเชื่อ (ต่อ)
2. หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อ 1. ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการของสถาบันเกษตรกร และ ไม่เกินวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกันที่นายทะเบียนสหกรณ์เห็นชอบปีล่าสุด เอกสารประกอบในการยื่นขอกู้ตามโครงการเป็นไปตามที่ ธ.ก.ส.กำหนด 3. กรณีสถาบันเกษตรกรลูกค้าใหม่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นในเบื้องต้นและกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับจังหวัดก่อน จึงจะสามารถยื่นเสนอขอรับสินเชื่อกับธ.ก.ส.ได้ การดำเนินการอื่นๆ ให้เป็นไปตาม ระเบียบ วิธีปฏิบัติและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กับสถาบันเกษตรกรโดยเคร่งครัด สถาบันเกษตรกรต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่โครงการกำหนด
14
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ (ต่อ)
3. วัตถุประสงค์การกู้เงิน เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานโดยสถาบันเกษตรกรกู้เงิน โดยให้แยกวงเงินกู้ตามโครงการนี้ออกจากวงเงินกู้ปกติตามสัญญากู้เดิม 4. การกำหนดวงเงินกู้ตามโครงการ พิจารณาตามความจำเป็นของการใช้เงินกู้ตามแผนการดำเนินงานในส่วนของธุรกิจการรวบรวมยางและหรือธุรกิจแปรรูปยางของสถาบันเกษตรกรและศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสถาบันเกษตรกร และวงเงินกู้ตามโครงการนี้ให้พิจารณาแยกวงเงินต่างหากจากวงเงินกู้ปกติและเมื่อรวมกับวงเงินกู้อื่นตามสัญญากู้เงินเดิมในวัตถุประสงค์การใช้เงินกู้เดียวกันทั้งหมดและวงเงินกู้ตามข้อบังคับฉบับอื่นหรือเจ้าหนี้เงินกู้อื่นหรือเงินรับฝากจากสหกรณ์อื่นและบุคคลภายนอกแล้วต้องไม่เกินวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกันประจำปีที่นายทะเบียนสหกรณ์เห็นชอบปีล่าสุด
15
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ (ต่อ)
5. การจัดทำสัญญากู้เงิน ให้จัดทำสัญญากู้เงินฉบับใหม่เฉพาะโครงการนี้ แยกต่างหากจากสัญญากู้เงินปกติ ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการตามโครงการ และการตรวจสอบ 6. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธ.ก.ส.กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการเท่ากับ MLR – 1 (ปัจจุบัน MLR = 5%) โดยสถาบันเกษตรกรจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ตั้งแต่ วันที่ 1 ก.ย ถึงวันที่ 31 ธ.ค รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 7. การจัดทำประกันภัย ให้สถาบันเกษตรกรจัดทำประกันวินาศภัยตามแบบและวิธีการที่ธนาคารกำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องและจะแจ้งวิธีปฏิบัติให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
16
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ
8. หลักประกันเงินกู้ สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ให้เป็นไปตามข้อบังคับของธ.ก.ส. โดยให้ต้องมีหลักประกันตามที่ผู้มีอำนาจอนุมัติเงินกู้พิจารณากำหนด แต่อย่างน้อยต้องมีหลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้ 1 .อสังหาริมทรัพย์ จำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ 2. ผลิตผลการเกษตรมาจำนำ โดยจำนวนเงินกู้ในเวลาใดก็ตาม ต้องไม่เกิน ร้อยละแปดสิบแห่งราคาประเมินของ ผลิตผลที่นำมาเป็นหลักประกัน 3. หลักประกันอื่นตามที่ผู้จัดการกำหนด กรณีไม่สามารถจัดให้มีหลักประกันตาม 1 – 3 ได้ ผู้มีอำนาจอนุมัติเงินกู้มีอำนาจผ่อนผันไม่ต้องมีหลักประกัน โดยให้คณะกรรมการดำเนินการและผู้จัดการของสถาบันเกษตรกรผู้กู้ทั้งหมด จัดทำหนังสือค้ำประกันตามแบบที่ธนาคารกำหนด ในฐานะส่วนตัว เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้
17
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ
8. หลักประกันเงินกู้ (ต่อ) วิสาหกิจชุมชน ใช้หลักประกันเงินกู้เป็นไปตามข้อบังคับฉบับที่ 45 (ว่าด้วยสินเชื่อกลุ่มบุคคล) ยกเว้นกรณี ใช้หลักประกัน คณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้ค้ำประกัน กู้ได้ไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้แยกต่างหากจากหลักประกันตามสัญญากู้ปกติของธนาคาร
18
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ (ต่อ)
9. การชำระคืนเงินกู้ กำหนดให้ชำระคืนเสร็จสิ้นไม่เกิน 12 เดือนนับตั้งแต่วันเบิกรับเงินกู้ ทั้งนี้ ต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2558 10. การดำเนินการเมื่อสิ้นสุดโครงการ ณ วันที่ 31 ธ.ค หากผู้ขอกู้ไม่สามารถชำระคืนต้นเงินทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ธ.ก.ส.จะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา MLR บวกชั้นความเสี่ยงของลูกค้าและบวกเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 3 จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อดอกเบี้ยรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด
19
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ (ต่อ)
11. อำนาจอนุมัติเงินกู้ ธนาคารได้มอบอำนาจอนุมัติเงินกู้ตามโครงการนี้ให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติการให้สินเชื่อทั้ง 3 ระดับ ให้มีอำนาจอนุมัติเงินกู้ให้แก่ผู้กู้ตามโครงการแยกต่างหากจากวงเงินกู้ปกติ ดังนี้
20
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ (ต่อ)
อำนาจอนุมัติสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ การให้สินเชื่อ อำนาจอนุมัติเงินให้แก่ผู้กู้ตามโครงการนี้ แยกต่างหากจากวงเงินกู้ปกติ รายใดรายหนึ่งได้ไม่เกินรายละ 1.ระดับจังหวัด ไม่เกิน 40 ล้านบาท 2.ระดับฝ่ายกิจการสาขาภาค ไม่เกิน 60 ล้านบาท 3.ระดับธนาคาร ไม่เกิน 500 ล้านบาท หมายเหตุ : วงเงินกู้ที่เกิน 500 ล้านบาท ให้นำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและคณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ
21
วิธีการดำเนินงานด้านสินเชื่อ (ต่อ)
อำนาจอนุมัติวิสาหกิจชุมชน คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติการให้สินเชื่อ อำนาจอนุมัติเงินให้แก่ผู้กู้ตามโครงการนี้ แยกต่างหากจากวงเงินกู้ปกติ รายใดรายหนึ่งได้ไม่เกินรายละ 1.ระดับจังหวัด ไม่เกิน 10 ล้านบาท 2.ระดับฝ่ายกิจการสาขาภาค ไม่เกิน 50 ล้านบาท 3.ระดับธนาคาร ไม่เกิน 100 ล้านบาท
22
เอกสารประกอบการยื่นเสนอกู้เงิน
ลำดับที่ รายการเอกสาร สถาบันเกษตรกร 1 หนังสือแจ้งความประสงค์ขอกู้เงินของสถาบันเกษตรกร (สถาบัน ฯ จัดทำเอง) / 2 สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสถาบันเกษตรกร ( ) 3 แผนการดำเนินการประจำปี / แผนธุรกิจ / แผนการเบิกรับ-ชำระหนี้เงินกู้ 4 ประมาณการกระแสเงินสด 5 งบทดลอง ณ วันสิ้นเดือนล่าสุด 6 สำเนาวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกันที่นายทะเบียนสหกรณ์เห็นชอบปีล่าสุด 7 รายงานกิจการประจำปีย้อนหลัง 3 ปี 8 ข้อบังคับ ระเบียบว่าด้วยการขายผลิตผล 9 หนังสือนำส่งบัตรตัวอย่างลายมือชื่อ 10 แบบสรุปผลการวิเคราะห์วงเงินกู้ประจำปี 11 ภาพถ่ายอาคารสำนักงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมแผนที่ตั้ง 12 รายงานผู้ตรวจสอบบัญชีแบบยาว / รายงานผลการประเมินชั้นคุณภาพการควบคุมภายใน
23
เอกสารประกอบการกู้เงิน
ลำดับที่ รายการเอกสาร สนจ. / สาขา 1 หนังสือแจ้งความประสงค์ขอกู้เงินของสถาบันเกษตรกร / 2 สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสถาบันเกษตรกร 3 แผนการดำเนินการประจำปี ( ) 4 ประมาณการกระแสเงินสด ( ตารางที่ 1) 5 แผนการเบิกรับ-ชำระหนี้เงินกู้ ( ตารางที่ 2) 6 งบทดลอง ณ วันสิ้นเดือนล่าสุด 7 สำเนาวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกันที่นายทะเบียนสหกรณ์เห็นชอบปีล่าสุด 8 รายงานกิจการประจำปีล่าสุด และย้อนหลัง 3 ปี 9 ข้อบังคับ และระเบียบว่าด้วยการขายผลิตผล 10 รายงานผู้ตรวจสอบบัญชีแบบยาว / รายงานผลการประเมินชั้นคุณภาพ การควบคุมภายใน 11 ภาพถ่ายอาคารสำนักงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมแผนที่ตั้ง
24
เอกสารประกอบการกู้เงิน
เอกสารประกอบการยื่นเสนอโครงการฯ 12 คำขอขึ้นทะเบียน (กรณีลูกค้าใหม่) ( ) / 13 แบบรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์วงเงินกู้ประจำปีตามหนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสดเพื่อการขายผลิตผลการเกษตร ( เอกสารหมายเลข 5) 14 แบบสรุปผลการวิเคราะห์วงเงินกู้ประจำปีตามหนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสดเพื่อการขายผลิตผลการเกษตร ( เอกสารหมายเลข 6) 15 คำขอกำหนดวงเงินกู้ คำขอทำสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด (20-010) 16 หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสดเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมผลิตผลการเกษตร ( ) 17 ข้อตกลงต่อท้ายหนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ( ) 18 หนังสือค้ำประกัน(แบบมีคู่สมรส) ( ) หรือ หนังสือค้ำประกันแบบ ผ่อนผันไม่มีคู่สมรส (0700/98575 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552) 19 หนังสือนำส่งบัตรตัวอย่างลายมือชื่อ ( ) 20 บัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนสถาบันเกษตรกร ( ) 21 คำรับรองของพนักงาน ( )
25
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปัญหา/อุปสรรค/ข้อขัดข้อง
1. สถาบันเกษตรกรยังไม่มีเครื่องชั่งขนาดใหญ่ 2. สถาบันเกษตรกรยังไม่มีความพร้อมโกดังเก็บยาง 3. สถาบันเกษตรกรไม่มีลานรวบรวม 4. อยู่ระหว่างรอสถาบันเกษตรกรประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อให้ ความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการ/กู้เงิน ธ.ก.ส. 5. อยู่ระหว่างสถาบันเกษตรกรพิจารณาเข้ารับซื้อยางในช่วงราคาที่เหมาะสม
26
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ขอบคุณสวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.